เรื่องเด่น วิธีการมอบตัวเป็นศิษย์ใน สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย picko, 14 มิถุนายน 2018.

  1. picko

    picko เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2014
    โพสต์:
    635
    กระทู้เรื่องเด่น:
    97
    ค่าพลัง:
    +2,126
    Untitled-1.jpg

    วิธีการมอบตัวเป็นศิษย์ใน สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี


    สำหรับท่านที่สนใจในการเรียนกรรมฐานหรือปฏิบัติสมาธินั้น ควรที่จะมอบตัวเป็นศิษย์แด่ครูบาอาจารย์หรือผู้อบรม ในการมอบตัวนี้ไม่ต้องการอามิสบูชา หรือลาภสักการะแม้แต่ ดอกไม้ ธูป เทียน และสิ่งของทั้งปวง โดยวิธีการมอบตัวเป็นศิษย์นั้นก็เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย สามารถช่วยชี้แนะหรือกำกับการฝึกปฏิบัติสมาธิให้สัมฤทธิ์ผล ท่านสามารถทำพิธีมอบตัวกี่ครั้งก็ได้ หรือจนกว่าท่านจะรู้สึกมีความคืบหน้าในสมาธิ เช่นสามารถเข้า ฌาน 1 ได้ เห็นนิมิตพิสดาร หรือมีศรัทธาและรู้ตัวว่าท่านเป็นศิษย์อย่างแท้จริง
    ให้จงจำไว้ว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับตัวท่านเอง แม้ว่าครูบาจะดีพร้อมขนาดไหน แต่ศิษย์เองก็ยังต้องหมั่นฝึกฝนด้วยเช่นกัน จึงจะประสบความสำเร็จได้


    เริ่มพิธีการ
    1. ให้เริ่มพิธีการนี้เมื่อท่านต้องการจะทำการฝึกสมาธิ โดยวันและเวลานั้นตามแต่สะดวก วิธีนั่งนั้นให้นั่งพับเพียบเพื่อแสดงความเคารพก่อน และผ่อนคลายกายและใจ
    2. พิธีการนั้นเรียบง่าย สำคัญเพียงแค่จิตใจที่แน่วแน่ และลงมือทำ สามารถปฏิบัติในห้องพระ ตามสถานที่สงบ หรือห้องนอนตามสะดวก
    3. เมื่อพร้อมแล้วให้ตั้งนะโม 3 จบ

    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    4. ให้ทำการท่องจำศีลเบื้องต้นทั้ง 10 ข้อให้ขึ้นใจดังนี้


    กายกรรม 3 คือ

    1. ห้ามฆ่าคนหรือสัตว์ด้วยมือของตนเอง หรือสั่งคนอื่นฆ่า

    2. ห้ามทำการลักทรัพย์ด้วยมือของตนเอง หรือ สั่งคนอื่นลักทรัพย์แทนตน

    3. ห้ามทำชู้ด้วยคู่เมียคู่ผัวเขา


    วจีกรรม 4 คือ

    1. ห้ามกล่าวคำเท็จ

    2.ห้ามกล่าวคำเพ้อเจ้อ

    3.ห้ามกล่าวคำนินทา

    4.ห้ามกล่าวคำหยาบช้า


    มโนกรรม 3 คือ

    1.ห้ามมีจิตอิจฉาริษยาเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน

    2.ห้ามมีใจพยาบาท อาฆาต เบียดเบียน ผู้อื่น

    3.ห้ามเห็นคนอื่นเป็นคนไม่ดีทั้งหมด


    ข้ออธิบาย: กรรมทั้ง10 อย่างนี้ คือศีลเบื้องต้นอันเป็นข้อเตือนสติไม่ให้กระทำในสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายทั้งกาย วาจา และใจควรแก่การสังวรของมนุษย์ชาติทุกขณะจิตผู้มีศีลหรือรับศีลแล้ว ต้องไม่พยายามละเมิดและเมื่อทำผิดศีลแล้วจะต้องรู้จักสำนึกผิด เกิดความละอายเกรงกลัวต่อบาป มีความอดทนเพียรพยายามที่จะใช้สติพิจารณารู้เท่าทันกิเลส ไม่ให้กระทำกรรมชั่วร้ายเหล่านี้ และไม่คอยจับผิดผู้อื่น เพื่อเป็นการชำระล้างให้มนุษย์ผู้นั้นสะอาดและบริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา และใจ ปราศจากมลทินอันเป็นอุปสรรคกีดขวางกั้นจิต ในการเจริญสมาธิเพื่อยกระดับจิตให้สูงขึ้น

    เนื่องจาก การสำรวมในศีล คือการสำรวมกาย วาจา ใจ ให้งดเว้นจากการคึกคะนอง คิดฟุ้งซ่าน และจิตใจว้าวุ่น จึงเกิดความสงบเป็นพื้นฐานเบื้องต้นดังที่ว่า “ ศีลที่บุคคลรักษาดีแล้ว ย่อมเป็นรากฐานที่ดีของการปฏิบัติสมาธิ ”

    5. หลังจากท่องศีลเบื้องต้น ให้ต่อด้วยนะโม 3 จบอีกครั้ง
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    6. (โดยตั้งใจให้ดี) ระลึกถึงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ด้วยความเคารพพร้อมบทสวดดังนี้


    ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
    อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
    มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

    ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริต ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา


    7. ทำการพนมมือสวดมนต์บทที่จะกล่าวต่อไปนี้ และน้อมนำ จิตใจกล่าวเป็นวาจาต่อหน้าพระพุทธรูป หรือหากไม่มีก็ให้เป็นพระพุทธรูปในนิมิตดังนี้

    “ พนมนิ้วต่างธูปเทียนเหนือเศียรนี้

    น้อมศีรษะอัญชุลีแทนบัวขาว

    ใต้แสงธรรมล้ำพิสุทธิ์ผุดผ่องพราว

    ประนมกรจรดเกล้าภาวนา

    ขอถวายกายใจไว้เป็นศิษย์

    ยึดพระพุทธด้วยจิตศรัทธากล้า

    ยึดพระธรรมคำสอนชี้มรรคา

    ปฏิปทาพระสงฆ์ผู้ส่งทาง

    ขอให้ครูอบรมบ่มนิสัย

    นำศิษย์ให้รู้คิดทำจิตว่าง

    ลดกิเลสภายในให้เบาบาง

    ใจสว่างทางสงบพบนิพพาน ”


    8. ก่อนการนั่งสมาธิเพื่อการมอบตัวนี้ ขออธิบายประโยชน์ในการปฏิบัติจิตเรียนกรรมฐานหลังมอบตัวแล้วคือ

    1. เกิดความเชื่อมั่นตัวเองมากขึ้นที่มีครูอาจารย์เป็นที่พึ่งทางใจ และปราศจากความลังเลสงสัยในการเรียนกรรมฐาน

    2. ลดความยึดมั่นถือตน เพื่อมิให้เป็นคนดื้อด้าน จะได้สงบกาย สงบใจ พร้อมที่จะรับคำบรรยายของครูอาจารย์ด้วยความเคารพยำเกรงเป็นการเพิ่มความศรัทธา

    3. สายสัมพันธ์แห่งธรรมนี้ ครูอาจารย์ย่อมสงเคราะห์ให้ท่านแจ้งในอริยมรรคอริยผล ตามควรแก่อัธยาศัย และปกป้องคุ้มครองให้พ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง

    9. บทอธิษฐานก่อนปฏิบัติฝึกสมาธิ

    ขอน้อมระลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี ( ด้วยคาถา ธัมมังอรณัง ) ผู้ประพันธ์พระคาถาอาราธนาบารมี คุณพระศรีรัตนตรัยบทนี้

    โดยระหว่างกล่าวคำอธิษฐานคาถาบทนี้ ขอให้จินตนาการ น้อมนำ จิตใจไปตามความหมายของบทคาถาคือ


    ได้เห็น บารมีพระพุทธกำลังเข้าบังข้างซ้าย ของร่างกาย

    บารมีพระธรรมกำลังเข้าบังข้างขวาของร่างกาย

    บารมีพระสงฆ์กำลังครอบคลุมบังทั้งร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดทั่วทั้งร่างกายของเราลงมา

    บารมีพระอรหันต์บังเกศาอยู่ที่ผมเรา

    จากนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้า 5 พระองค์

    ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ บังหน้า บังหลัง

    โดยเริ่มพระคาถาดังนี้

    พุทธังบังข้างซ้าย ธัมมังบังข้างขวา

    สังฆังบังกายา อรหันต์บังเกศา

    อะหังพุทโธ ธามะนะโม

    พุทธายะ นะมะพะทะ

    มะอะ อุ อุอะมะ


    อะมะอะ สาธุฯ


    ขอบารมีคุณพระศรีรัตนตรัย คุณบิดามารดา คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์และผู้มีพระคุณทุกท่าน เจ้าที่ เจ้าทาง เจ้าเขาเจ้าป่า เจ้าเรือน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โปรดช่วยคุ้มครองให้ตัวข้าพเจ้าพ้นจากภัยพิบัติอันตรายทั้งปวง และโปรดส่งเสริมให้สติปัญญาของข้าพเจ้าเจริญยิ่งๆขึ้น
    **พระคาถาบทนี้ ยังเหมาะกับการใช้ทุกวันก่อนออกจากบ้านก่อนเดินทาง และภาวนาไปจนเกิดความเคยชิน ก็จะฝังแน่นในใจ


    10. บทแผ่เมตตาก่อนการปฏิบัติสมาธิ
    บทแผ่เมตตา

    หมู่สัตว์ทั่วทั้ง พรหมโลก เทวโลก มนุษย์โลก นรกโลก และทั่วทุกอบายภูมิทุกรูปทุกนามจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย

    ขอให้ทุกรูปทุกนามจงมีแต่ความ สุขกาย สุขใจ อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

    ขอให้ทุกรูปทุกนามจงมีแต่ความสบายกาย สบายใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยพิบัติทั้งหลายนั้นเทอญฯ

    (ขอให้ภาวนาสม่ำเสมอ ทุกโอกาสที่อำนวย จนฝั่งแน่นติดใจประทับอยู่ในความทรงจำเกิดความเคยชินจนเป็นนิสัย ฝึกจนรู้สึกว่า แม้ไม่ได้ภาวนา ใจก็ยังแผ่เมตตาอยู่ จะทำให้ท่านพ้นจากจิตใจพยาบาทอาฆาต มีแต่นิสัยที่อ่อนโยน มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีใจกว้าง ไม่เห็นแก่ตัว ไปไหนก็จะมีแต่คนเอ็นดูและเมตตา ทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ปราณีช่วยคุ้มครองภัยด้วย)


    11. ต่อไปนี้คือการนั่งสมาธิ จะใช้วิธีใดก็ได้ตามสะดวก เช่นนั่งสมาธิตามแบบอานาปานสติ หรือจะเดินจงกรมก็ได้เช่นกัน
    12. บทแผ่เมตตาหลังจากฝึกปฏิบัติสมาธิจิตแล้ว

    ในขณะจิต “ นิ่ง ” จิตใจของผู้ปฏิบัติจะไม่มี อคติจิตใจเกิดกุศล ดังนั้น หลังจากการปฏิบัติจิตแล้ว ควรกล่าวอธิษฐานดังนี้

    “ ด้วยกุศลผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้ทำจิตสงบไปชั่วขณะหนึ่งนี้

    ขอถวายกุศลนี้แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกโพธิเจ้าทุกๆพระองค์ พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ พระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ เทพ พรหม ผู้สำเร็จทุกท่าน บิดามารดา ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ญาติมิตร เพื่อนสาราสัตว์น้อยใหญ่ เจ้ากรรมนายเวร

    ขอบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก จงช่วยปกป้องคุ้มครองมวลมนุษย์ทั้งโลกให้รอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งหลาย ผลร้ายที่จะเกิดแก่ประเทศไทย จงกลายเป็นผลดี

    และโปรดแผ่พลังจิต แผ่บารมี ช่วยให้ข้าพเจ้าเกิดปัญญาเห็นธรรมด้วยเทอญ ”


    โพสต์เมื่อ 1st November 2016 โดย Sittha Intachai
     
  2. น้ำใส ใจจริง

    น้ำใส ใจจริง สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +2
  3. ice5509876

    ice5509876 พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2015
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +77
    สาธูครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...