วิธีการสร้างบุญบารมี ที่ได้ผลดี

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย ไม้ขีด, 14 กันยายน 2012.

  1. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญมรณัสสติว่า [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]มรณัสสติ [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]([/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]การระลึกถึงความตาย[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]) [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]อันบุคคลทำให้มากแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่พระนิพพานเป็นที่สุด[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT]อันมรณัสสติกรรมฐานนั้น แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย ซึ่งแม้จะได้บรรลุมรรคผลแล้วก็ยังไม่ยอมละ เพราะยังทรงอารมณ์มรณัสสตินี้ควบคู่ไปกับวิปัสสนา เพื่อความอยู่เป็นสุข ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ตถาคตนึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าและออก[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New]
    [/FONT]มรณัสสติกรรมฐานนั้น โดยปรกติเป็นกรรมฐานของผู้ที่มีพุทธจริต คือคนที่ฉลาด การใคร่ครวญถึงความตายเป็นอารมณ์ก็คือการพิจารณาถึงความจริงที่ว่า ไม่ว่าคนและสัตว์ทั้งหลาย เมื่อมีเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว เฒ่าแก่แล้วก็ตายไปในที่สุด ไม่อาจจะล่วงพ้นไปได้ทุกผู้คน ไม่ว่าจะเป็นคนยากดี มี จน เด็ก หนุ่มสาว เฒ่าแก่ สูงต่ำ เหลื่อมล้ำกันด้วยฐานันดรศักดิ์อย่างใด ในที่สุดก็ทันกันและเสมอกันด้วยความตาย
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ผู้ที่คิดถึงความตายนั้น เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในชีวิต ไม่มัวเมาในชีวิต เพราะเมื่อคิดถึงแล้วย่อมเร่งกระทำความดีและสร้างบุญกุศล เกรงกลัวต่อบาปกรรมที่จะติดตามไปในภพชาติหน้า[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT]

    ผู้ที่ประมาทมั่วเมาต่อทรัพย์สมบัติยศศักดิ์ตำแหน่งหน้าที่นั้นเป็นผู้ที่หลง เหมือนกับคนที่หูหนวกและตาบอด ซึ่งโบราณกล่าวตำหนิไว้ว่า [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]หลงลำเนาเขาป่ากู่หาพอได้ยิน หลงยศอำนาจย่อมหูหนวกและตาบอด[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT]และกล่าวไว้อีกว่า [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]หลงยศลืมตาย หลงกายลืมเนา[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT]และความจริงก็มีให้เห็นอยู่ทุกวันนี้ ที่บางท่านใกล้จะเข้าโลงแล้ว ก็ยังหลงและมัวเมาในอำนาจวาสนา ตำแหน่งหน้าที่ จนลืมไปว่าอีกไม่นานตนก็จะต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แล้วทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนได้หลงใหลมัวเมาเฝ้าแสวงหาหวงแหนเกาะแน่นอยู่นั้น ก็จะต้องสลายไปพร้อมกับความตายของตน สูญเปล่าไม่ได้ตามติดกับตนไปด้วยเลย แล้วไม่นานผู้คนที่อยู่เบื้องหลังก็ลืมเลือนตนไปเสียสิ้น ดูเหมือนกับวันเวลาทั้งหลายที่ตนได้ต่อสู้เหนื่อยยากขวนขวายจนได้สิ่งดังกล่าวมา ก็ต้องโมฆะสูญเปล่าไปโดยหาสาระ ประโยชน์อันใดมิได้เลย
    มรณัสสติกรรมฐานนั้น เมื่อพิจารณาไปนาน ๆ จิตจะค่อย ๆ สงบและระงับจากนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ ในที่สุดจิตก็เข้าถึงอุปจารสมาธิ และความจริงกรรมฐานกองนี้เป็นเพียงสมถภาวนาเท่านั้น แต่ก็ใกล้วิปัสสนา เพราะอารมณ์จิตที่ใช้นั้นเป็นการพิจารณาหาเหตุและผลในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งหากพลิกการพิจารณาว่า อันชีวิตของคนและ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กันยายน 2012
  2. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    สัตว์ ตลอดจนสรรพสิ่งทั้งหลายไม่อาจทรงตัวตั้งมั่นอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมมีความตายเป็นที่สุด เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้แล้ว ก็เป็นวิปัสสนาภาวนา
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อใกล้จะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอีก ๓ เดือน ได้ทรงปลงอายุสังขาร แล้วตรัสสอนพระอานนท์พร้อมหมู่ภิกษุทั้งหลายว่า

    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]อานนท์ ตถาคตได้เคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่า สัตว์จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น สัตวจะได้ตามปรารถนาในสังขารนี้แต่ที่ไหนเล่า [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New]

    [FONT=Angsana New,Angsana New]การที่จะขอให้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นแล้ว ที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว และที่จะต้องมีการแตกดับเป็นธรรมดาว่าอย่าฉิบหายเลย ดังนี้ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะมีได้ เป็นได้ [/FONT]
    [FONT=Angsana New,Angsana New]การปรินิพพานของเราตถาคตจักมีในกาลไม่นานเลย ถัดจากนี้ไปอีก ๓ เดือน เราจักนิพพาน ฯลฯ [/FONT]
    [FONT=Angsana New,Angsana New]สัตว์ทั้งปวงที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่ ทั้งที่เป็นคนพาลและบัณฑิต ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้า เปรียบเสมือนภาชนะ ดินที่ช่างหม้อได้ปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกและที่ยังดิบ ล้วนแต่มีการแตกทำลายไปในที่สุดฉันใด ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็ล้วนแต่มีความตายเป็นเบื้องหน้าฉันนั้น [/FONT]
    [FONT=Angsana New,Angsana New]วัยของเราแก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว เราจักต้องละพวกเธอไป ที่พึ่งของตัวเอง เราได้ทำแล้ว [/FONT]
    [FONT=Angsana New,Angsana New]ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาซึ่งจิตของตนเถิด ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาท ก็สามารถที่จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New]​


    [/FONT]และในวันมหาปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้ตรัสพระปัจฉิมโอวาทที่เรียกกันว่า [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]อัปปมาทธรรม[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT]สั่งสอนพระสาวกเป็นครั้งสุดท้าย จนดูเหมือนว่าพระธรรม ๘๔[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New],[/FONT][/FONT]๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่ทรงสั่งสอนมานานถึง ๔๕ พรรษา ได้ประมวลประชุมรวมกันในพระปัจฉิมโอวาทนี้ว่า
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ตถาคตขอเตือนท่านทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New]
    [/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กันยายน 2012
  3. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    ๒[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]. [/FONT][/FONT]มีจิตใคร่ครวญถึงอสุภกรรมฐาน อสุภ
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ได้แก่สิ่งที่ไม่สวยไม่งาม เช่น ซากศพ คือให้มีจิตพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า ร่างกายของคนและสัตว์อันเป็นที่นิยมรักใคร่เสน่หา และเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหาราคะ กามกิเลส ว่าเป็นของสวยของงาม เป็นที่เจริญตาและใจ ไม่ว่าร่างกายของตนเองและของผู้อื่นก็ตาม แท้ที่จริงแล้วก็เป็น[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]อนิจจัง [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ทุกขัง [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]คือทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้
    วันเวลาย่อมพรากความสวยสดงดงามให้ค่อย ๆ จากไปจนเข้าสู่วัยชรา ซึ่งจะมองหาความสวยงามใด ๆ หลงเหลืออยู่มิได้อีกเลย และในทันใดที่ตายลงนั้น แม้แต่ผู้ที่เคยสนิทสนมเสน่หารักใคร่ อันรวมถึงสามี ภริยาและบุตรธิดา ต่างก็พากันรังเกียจในทันใด ไม่ยอมเข้าใกล้ บ้านของตนเองที่อุตส่าห์สร้างมาด้วยความเหนื่อยยากก็ไม่ยอมให้อยู่ ต้องรีบขน ๆ ออกไปโดยไวไว้ที่วัด แล้วซากเหล่านั้นก็เน่าเปื่อยสลายไป เริ่มตั้งแต่เนื้อหนังค่อย ๆ พองออก ขึ้นอืด น้ำเลือด น้ำเหลืองก็เริ่มเน่า แล้วเดือดไหลออกจากทวารทั้งหลาย เนื้อหนังแตกปริแล้วร่วงหลุดออกจนเหลือแต่กระดูก ส่งกลิ่นเน่าเหม็นเป็นที่น่ารังเกียจ สะอิดสะเอียน หาความสวยงามน่ารักเสน่หาใดๆ มิได้อีกเลย ทั้งไร้คุณค่าและประโยชน์ คงมีค่าแค่เป็นอาหารแก่หมู่หนอนเท่านั้น แล้วในที่สุดกระดูกก็กระจัดกระจายเรี่ยราดอยู่ตามดินและทราย แตกละเอียดผุพังเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยแก่พืชผักต่อไป หาตัวหาตนของเราที่ไหนมิได้เลย สังขารของเราในที่สุดก็เป็นเช่นนี้ ไม่มีอะไรคงเหลือไว้เลย

    [/FONT]
    [/FONT]
    ๓[FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]. [/FONT][/FONT]มีจิตใคร่ครวญถึงกายคตานุสสติกรรมฐาน
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]บางทีเรียกกันง่าย ๆ ว่า [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]กายคตาสติกรรมฐาน[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]เป็นกรรมฐานที่มีอานิสงส์มาก เพราะสามารถทำให้ละ [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]สักกายทิฐิ[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]อันเป็นสังโยชน์ข้อต้นๆ ได้โดยง่าย และเป็นกรรมฐานที่เกี่ยวกับการพิจารณาร่างกายให้เห็นสภาพตามความเป็นจริง ซึ่งมักพิจารณาร่วมกับอสุภกรรมฐาน มรณัสสติกรรมฐาน ซึ่งพระอริยะเจ้าทุกๆ พระองค์ที่จะบรรลุพระอรหัตผลได้จะต้องผ่านการพิจารณากรรมฐานทั้งสามกองนี้เสมอ มิฉะนั้นแล้วจะเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนามิได้

    ทั้งนี้เพราะบรรดาสรรพกิเลสทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นความโลภ ความหลง และความโกรธ ต่างก็เกิดขึ้นที่กายนี้ เพราะว่าความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนและของตน จึงได้เกิดกิเลสดังกล่าวขึ้น การพิจารณาละกิเลสก็จะต้องพิจารณาละที่กายนี้เอง
    [/FONT]
    [/FONT]
     
  4. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    มรรค ผล และนิพพาน ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนเลย แต่มีอยู่พร้อม ให้รู้แจ้งเห็นจริงได้ที่ร่างกายอันกว้างศอกยาววาและหนาคืบนี่เอง การพิจารณา ก็คือให้มีจิตใคร่ครวญให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงที่ว่า อันร่างกายของคนและสัตว์ที่เฝ้าทะนุถนอมรักใคร่ว่าสวยงาม เป็นที่สนิทเสน่หาชมเชยรักใคร่ซึ่งกันและกันนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นของปฏิกูล สกปรกโสโครก ไม่สวยไม่งาม ไม่น่ารักใคร่ทะนุถนอม เป็นมูตร คูถ เพราะเป็นที่บรรจุไว้ซึ่งสรรพสิ่งทั้งหลายที่เป็นพืชผักและบรรดาซากศพของสัตว์ที่บริโภคเข้าไป
    ภายในกระเพาะนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นที่รวมฝังซากศพของบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้นเอง พืชและสัตว์ที่บริโภคเข้าไปก็ล้วนแต่เป็นของที่สกปรก ที่ขับถ่ายออกมาจากทวารทั้งหลายก็เป็นของที่สกปรกโสโครก ซึ่งต่างก็พากันรังเกียจว่าเป็น [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ขี้[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT]มีสารพัดขี้ ซึ่งแม้แต่จะเหลือบตาไปมองก็ยังไม่กล้าที่จะมอง แต่แท้ที่จริงแล้วในท้อง กระเพาะ ลำไส้ภายในร่างกายของทุกผู้คนก็ยังคงมีบรรดาขี้เหล่านี้บรรจุอยู่ เพียงแต่มีหนังห่อหุ้มปกปิดเอาไว้ทำให้ไม่สามารถมองเห็นได้จากภายนอกเท่านั้นเอง
    แต่เราท่านทั้งหลายก็พากันกกกอด คลึงเคล้า เฝ้าชมเชยก้อนขี้เหล่านี้ว่าเป็นของสวยงาม น่ารักน่าใคร่เสน่หายิ่งนัก เมื่อมีการขับถ่ายออกมาจากทวารหูก็เรียกกันว่าขี้หู ขับถ่ายออกมาทางตาก็เรียกขี้ตา ที่ติดอยู่กับฟันก็เรียกขี้ฟัน ที่ออกมาทางจมูกก็เรียกว่าขี้มูก รวมความแล้วบรรดาสิ่งที่ขับออกมาพอพ้นร่างกายในทันใดนั้นเอง จากเดิมที่เป็นของน่ารักน่าเสน่หา ก็กลายมาเป็นของที่น่ารังเกียจไปโดยพลัน กลายมาเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากรักอยากเสน่หาเพราะว่าเป็นขี้ และก็ไม่มีใครอยากจะเป็นเจ้าของด้วย เมื่อไม่มีใครยอมรับเป็นเจ้าของ สิ่งที่ขับถ่ายออกมาทางผิวหนังจึงหาเจ้าของมิได้ ซึ่งต่างก็โทษกันว่าขี้ของใครก็ไม่ทราบได้ นานมาก็กลายมาเป็น [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]ขี้ไคล[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT]ดังนี้เป็นต้น
    นอกจากสิ่งที่ขับถ่ายออกมาจะน่ารังเกียจดังกล่าวแล้ว แม้แต่สังขารร่างกายของคนเราเมื่อได้แยกแยะพิจารณาไปแล้ว ก็จะเห็นความจริงที่ว่า เป็นที่ประชุมรวมกันของอวัยวะชิ้นต่างๆ ที่เป็นตา หู จมูก ลิ้น เนื้อ ปอด ตับ ม้าม หัวใจ กระเพาะอาหาร ลำไส้ หนัง พังผืด เส้นเอ็น เส้นเลือด น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำตา น้ำปัสสาวะ ฯลฯ รวมกันเรียกว่าอาการ ๓๒ ซึ่งต่างก็ห้อยแขวนระเกะระกะยางโตงเตงอยู่ภายใน เมื่อแยกหรือควักออกมาดูทีละชิ้น จะไม่มีชิ้นใดที่เรียกกันว่าสวยงามน่ารัก น่าพิศวาสเลย กลับเป็นของที่น่ารังเกียจ ไม่สวย ไม่งาม ไม่น่าดู
     
  5. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    แต่สิ่งเหล่านี้ก็รวมประกอบอยู่ภายในร่างกายของเราทุกผู้ทุกคน โดยมีหนังหุ้มห่อปกปิดอยู่โดยรอบ หากไม่มีผืนหนังหุ้มห่อและสามารถมองเห็นภายในได้แล้ว แม้จะเป็นร่างกายของคนที่รักสุดสวาดขาดใจ ก็คงจะต้องเบือนหน้าหนีอกสั่นขวัญหาย บางทีอาจจะต้องถึงขั้นจับไข้ไปเลย ซึ่งอาจจะต้องถึงขั้นทำพิธีปัดรังควาญเรียกขวัญกันอีก
    หากจะถือว่าน่ารักน่าเสน่หาอยู่ที่ผืนหนังหรือแผ่นหนังรอบกาย ก็ลองลอกออกมาดูก็จะเห็นว่าไม่สวยงามตรงไหนแต่อย่างใด แต่ที่นิยมยกย่องรักใคร่หลงใหลกันอยู่ ก็คือผิวหรือสีของหนังชั้นนอกสุดเท่านั้น ถ้าได้ลอกหรือขูดผิวชั้นนอกสุดออกมาให้เหลือแต่หนังแท้แดงๆ แล้ว แม้จะเป็นหนังสดสวยของนางงามจักรวาล ผู้คนก็คงจะต้องเบือนหน้าหนี
    จึงเป็นที่แน่ชัดว่า คนสวย คนงาม ก็คงสวยและงามกันแค่ผิวหนังชั้นนอกสุด รักและเสน่หาที่ผิวหนัง ซึ่งเป็นของฉาบฉวยนอกกาย หาได้สวยงามน่ารักเข้าไปถึงตับ ไต ปอด หัวใจ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ น้ำเลือดน้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ ภายในร่างกายด้วยไม่
    ส่วนผู้ที่ผิวหรือสีของหนังดำด่าง ไม่สดใสน่าดู ก็พยายามทาลิปสติก แต่งหน้าแต่งตา ทาสี พอกแป้งย้อม และดึงกันเข้าไปให้เต่งตึง และออกเป็นสีสันต่างๆ แล้วก็พากันนิยมยกย่องชวนชมกันไป แต่ที่จริงแล้วก็เป็นความหลง โดยหลงรักกันที่แป้งและสีที่พอก หลอกให้เห็นฉาบฉวยอยู่แค่ผิวนอกเท่านั้น เมื่อมีสติพิจารณาเห็นความเป็นจริงอยู่เช่นนี้ หากจิตมีกำลังก็จะทำให้นิวรณ์ ๕ ประการค่อยๆ สงบระงับทีละเล็กละน้อย โดยเฉพาะจิตจะไม่เดือดร้อนกระวนกระวายแส่ส่ายไปในอารมณ์รักๆ ใคร่ๆ ในที่สุดจิตก็จะสงบเยือกเย็นลงจนถึงขั้นอุปจารสมาธิได้ หากสติมีกำลังพอก็อาจถึงขั้นปฐมฌานได้
    กายคตานุสสติกรรมฐานนั้น ความจริงก็เป็นเพียงสมถภาวนาที่ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ถึงขั้นปฐมฌาน แต่ก็เป็นสมถภาวนาที่เจือไปด้วยวิปัสสนาภาวนา เพราะเป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลตามสภาพเป็นจริงของสังขารธรรมหรือสภาวธรรม
    ซึ่งหากได้พลิกการพิจารณาอาการ ๓๒ ดังกล่าวให้รู้แจ้งเห็นจริงว่าอาการ ๓๒ ดังกล่าวนั้นไม่มีการทรงตัว เมื่อเกิดมีอาการ ๓๒ ขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจจะตั้งมั่นอยู่ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่
     
  6. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    ตัวเราและของเราแต่อย่างใด ร่างกายไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น ต่างก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ดังนี้ก็เป็นวิปัสสนา
    กายคตานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่เมื่อได้พิจารณาไปแล้ว ก็จะเห็นความสกปรกโสโครกของร่างกายจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า ไม่น่ารักน่าใคร่ จึงเป็นกรรมฐานที่มีอำนาจทำลายราคะกิเลส และเมื่อได้รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวมากๆ เข้า จิตก็จะมีกำลังและเกิดความเบื่อหน่ายในร่างกายทั้งของตนเองและผู้อื่น จึงเป็นการง่ายที่ [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]นิพพิทาญาณ[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT]จะเกิดขึ้น และเมื่อได้เกิดขึ้นแล้วจนมีญาณทัสสนะเห็นแจ้งอาการพระไตรลักษณ์ว่า ร่างกายเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราไม่ใช่เขาแต่อย่างใด จิตก็จะน้อมไปสู่ [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]สังขารุเปกขาญาณ[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT]ซึ่งมีอารมณ์อันวางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในร่างกายและคลายกำหนัดในรูปนามขันธ์ ๕ เรียกว่าจิตปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทาน [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]- [/FONT][/FONT]ขันธ์ ๕ ซึ่งจะนำไปสู่การละ [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]สักกายทิฐิ[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT]อันเป็นการละความเห็นผิดในร่างกายนี้เสียได้ และถ้าละได้เมื่อใด ก็ใกล้ที่จะบรรลุความเป็นพระอริยะเจ้าเบื้องต้นในพระพุทธศาสนาคือเป็น [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]พระโสดาบัน[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT]สมจริงตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]การเจริญกรรมฐานกองนี้จะไม่ห่างมรรค ผล และนิพพาน[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New]
    [/FONT]ฉะนั้น กายคตานุสสติกรรมฐาน จึงเป็นกรรมฐานเครื่องที่จะทำให้บรรลุพระอรหันต์ได้โดยง่าย ซึ่งในสมัยพระพุทธกาล ท่านที่บรรลุแล้วด้วยพระกรรมฐานกองนี้มีเป็นจำนวนมาก ในสมัยที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ใหม่ๆ ได้เสด็จไปพบพราหมณ์สองสามีภารยา ซึ่งมีบุตรที่สุดสวยชื่อว่า [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]นางมาคัณฑิยา[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT]พราหมณ์ทั้งสองชอบใจในพระพุทธองค์ จึงได้ออกปากยกนางมาคัณฑิยาให้เป็นภรรยา
    พระพุทธองค์ไม่ทรงรับไว้และมองเห็นนิสัยของพราหมณ์ทั้งสองที่จะได้บรรลุมรรคผล จึงได้ทรงแสดงพระธรรมให้ฟัง โดยยกเอากายคตานุสติกรรมฐานขึ้นมาเทศน์ ซึ่งได้ตรัสตำหนิโทษแห่งความสวยงามแห่งรูปกายของนางมาคัณฑิยาว่า พระพุทธองค์ทรงเห็นว่าเป็นของปฏิกูล มูตรคูถเน่าเหม็น หาความสวยงามใดๆ มิได้เลย
    พราหมณ์ทั้งสองพิจารณาตามก็ได้ดวงตาเห็นธรรม ส่วนนางมาคัณฑิยาผูกโกรธ ต่อมาเมื่อนางได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน กรุงโกสัมพี ก็ได้จองล้างจองผลาญพระพุทธองค์อย่างไม่มีที่สิ้นสุดเพราะแรงพยาบาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กันยายน 2012
  7. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    อีกท่านหนึ่งก็คือนางอภิรูปนันทา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าเขมกะศากยะ ก็จัดว่ามีรูปงามที่สุดในสมัยนั้น และพระนางทรงภาคภูมิหลงใหลในความงดงามของพระนางยิ่งนัก แต่ด้วยบุญบารมีที่เคยได้สร้างสมอบรมมาแล้วเป็นอันมากในอดีตชาติ เป็นเหตุให้พระนางได้สดับพระธรรมของพระพุทธองค์จากพระโอษฐ์ ซึ่งได้ทรงเทศน์กายคตานุสติกรรมฐานควบคู่ไปกับมรณัสสติกรมมฐาน แล้วทรงเนรมิตรูปกายของสาวงามที่งามยิ่งกว่าพระนางให้ปรากฏขึ้น ให้พระนางได้มองเห็น แล้วบันดาลให้รูปเนรมิตนั้นค่อยๆ เจริญวัย แก่ แล้วชราโทรมๆ ลงจนตายไปในที่สุด แล้วก็เน่าเปื่อยสลายไปต่อหน้า
    พระนางก็น้อมเอาภาพนิมิตนั้นเข้ามาเปรียบเทียบกับร่างกายของพระนาง จนเห็นว่าอันร่างกายอันงดงามของพระนางนั้นหาได้งามจริงไม่ ทั้งเป็นอนิจจังและอนัตตา หาสาระแก่นสารที่พึ่งอันถาวรอันใดมิได้เลย จนพระนางได้บรรลุพระอรหันต์ในขณะนั้นเอง และพระนางเขมาเทวีที่ยิ่งด้วยรูปโฉม และเป็นพระมเหสีองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ในทำนองเดียวกันนี้เอง
    [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]๔[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]. [/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]มีจิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน [/FONT][/FONT]

    คือนอกจากจะมีจิตใคร่ครวญถึงความเป็นจริงของร่างกายดังกล่าวมาในข้อ [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]([/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]) [/FONT][/FONT]แล้ว พึงพิจารณาแยกให้เห็นความเป็นจริงที่ว่า อันที่จริงร่างกายของเราเองก็ดี ของผู้อื่นก็ดี ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใดเลย เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ มาประชุม เกาะกุมรวมกันเพียงชั่วคราวเท่านั้นเอง ได้แก่ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ แล้วสิ่งเหล่านี้ก็ทนอยู่ในสภาพที่รวมกันเช่นนั้นไม่ได้ นานไปก็เก่าแก่แล้วแตกสลายตายไป ธาตุน้ำก็กลับไปสู่ความเป็นน้ำ ธาตุดินก็กลับไปสู่ความเป็นดิน ธาตุลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม และธาตุไฟก็กลับไปสู่ความเป็นไฟตามเดิม
    เนื้อตัวร่างกายของเรา เมื่อได้แยกส่วนออกมาดูแล้ว ก็มิได้มีตัวตนที่ตรงไหนแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงเนื้อ กระดูก ตับ ไต ไส้ กระเพาะ เส้นเอ็น หนัง พังผืด เนื้อเยื่อ มันสมอง ไขข้อ ฯลฯ มาเกาะกุมกัน ตัวตนของเราไม่มี ครั้นเมื่อแยกแยะอวัยวะย่อยๆ ดังกล่าวออกไปจากหน่วยย่อยๆ ของชีวิต คือเซลล์เล็กๆ ที่มาเกาะกุมรวมกัน ก็จะเห็นว่าเซลล์เองก็เนื่องมาจากแร่ธาตุทั้งหลายซึ่งไม่มีชีวิตจิตใจมารวมกันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ ไม่มีตัวตนของเราแต่อย่างใด
    แม้แร่ธาตุต่าง ๆ นั้น ก็เนื่องมาจากพลังงานโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่านั้น หาใช่ตัวตนของเราแต่อย่างใดไม่ ที่หลงกันอยู่ว่าตัวเราของเราหาที่ไหนมิได้เลย ทุกสรรพสิ่งที่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 กันยายน 2012
  8. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    ดิ้นรนแสวงหา สะสมกันเข้าไว้ ในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจาก ซึ่งป่วยการที่จะกล่าวไปถึงสมบัติที่จะนำเอาติดตัวไปด้วย แม้แต่เนื้อตัว ร่างกายที่ว่าเป็นของเราก็ยังเอาติดตัวไปด้วยไม่ได้ และก็เป็นความจริงที่ได้เห็นและรู้จักกันมานานนับล้านๆ ปี คนแล้วคนเล่า
    ท่านทั้งหลายที่ได้เคยยิ่งใหญ่ด้วยยศศักดิ์อำนาจวาสนาและทรัพย์สมบัติในอดีตกาล จนเป็นถึงมหาจักรพรรดิมีสมบัติสร้างสมมาด้วยเลือดและน้ำตาของผู้อื่นจนค่อนโลก แต่แล้วในที่สุดก็ต้องทิ้งต้องจากสิ่งเหล่านี้ไป แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของท่านที่เคยยิ่งใหญ่ จนถึงกับเป็นผู้ที่ไม่อาจจะแตะต้องได้ แต่แล้วก็ต้องทอดทิ้งจมดินและทราย จนในที่สุดก็สลายไปจนหาไม่พบว่าเนื้อ หนัง กระดูก ขน เล็บ ตับ ไต ไส้ กระเพาะของท่านว่าอยู่ที่ตรงไหน คงเหลืออยู่แต่สิ่งที่เป็นดิน น้ำ ลม และไฟ ตามสภาพเดิมที่ก่อกำเนิดมาเป็นตัวของท่านเพียงชั่วคราวเท่านั้น แล้วตัวของเราท่านทั้งหลายก็เพียงเท่านี้มิได้ยิ่งใหญ่เกินไปกว่าท่านในอดีต จะรอดพ้นจากสัจธรรมนี้ไปได้หรือ
    ในเมื่อความเป็นจริงก็เห็นๆ กันอยู่เช่นนี้แล้ว เหตุใดเราท่านทั้งหลายจึงต้องพากันดิ้นรนขวนขวายสะสมสิ่งที่ในที่สุดก็จะต้องทิ้ง จะต้องจากไป ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายวันเวลาอันมีค่าของพวกเราซึ่งก็คงมีไม่เกินคนละ ๑๐๐ ปี ให้ต้องโมฆะเสียเปล่าไปโดยหาสาระประโยชน์อันใดมิได้ เหตุใดไม่เร่งขวนขวายสร้างสมบุญบารมีที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในชาติหน้า
    แม้หากว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่มีจริงดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ อย่างเลวพวกเราก็เพียงเสมอตัว มิได้ขาดทุนแต่อย่างใด หากสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนเอาไว้ว่ามีจริงดั่งที่ปราชญ์ในอดีตกาลยอมรับ แล้วเราท่านทั้งหลายไม่สร้างสมบุญและความดีไว้ สร้างสมแต่ความชั่วและบาปกรรมตามติดตัวไป เราท่านทั้งหลายไม่ขาดทุนหรอกหรือ เวลาในชีวิตของเราที่ควรจะได้ใช้ให้เป็นประโยชน์ กลับต้องโมฆะเสียเปล่าก็สมควรที่จะได้ชื่อว่าเป็น [FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]"[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]โมฆะบุรุษ[/FONT][/FONT][FONT=Angsana New,Angsana New][FONT=Angsana New,Angsana New]" [/FONT][/FONT]โดยแท้
     
  9. yamie

    yamie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    1,640
    ค่าพลัง:
    +1,520
    พี่คะ รบกวนสอบถามอะไรหน่อยนะคะ คือ มันยังคาใจแต่เช้ามา เพราะ ความรู้สึกหดหู่ใจ ที่ไม่สามารถทำอะไรได้ คือ มันเป็นคำถามย้อนมาหาเราว่า เราบาปไหมที่ทำแบบนั้น ที่ทิ้งเขาไว้ใต้ต้นไม้แบบนั้น
    เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อเช้า ยาไปตลาด แล้วขากลับขี่รถมอเตอร์ไซด์เล็กกลับมาบ้าน ระหว่างทางที่เรามองท้องถนนสายตาเราก็ไปสบสายตาเจ้านกน้อย นอนกลางถนน นกกระจอกคะ สงสัยจะถูกชน แต่เขายังไม่ตาย เหมือนเขาขาหัก ขยับปีกไม่ได้ แต่ยังมีลมหายใจมองเรา ตอนแรกยาขี่รถผ่านไปได้ประมาณร้อยเมตร แต่ดวงตาที่เขามองเรา มันทำให้ยาขี่รถไปต่อไม่ได้ ต้องย้อนกลับมา ตรงนั้น มีคนนั่งทานข้าวต้มและเติมน้ำมันอยู่สองคน เขาคงสังเกตุยาตอนขาไปว่าขี่รถผ่าน เพราะไม่ได้ขี่เร็วนัก พอยาขี่กลับแล้วจอดรถใกล้ที่เขาทานข้าวต้มกัน แล้ววิ่งไปอุ้มเจ้านกตัวนั้น ออกมาจากถนนไม่ให้ถูกรถเหยียบ คือในใจบอกตัวเองว่า ถ้าเขาไม่เจ็บมากยาจะนำเขามารักษา ( อืม ที่ผ่านมาก็เคยดูแลเจ้านกพวกนี้ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือ พลัดหลงจากแม่เขารอดทุกตัว ถ้ามีโอกาสได้พบเห็น ) พอยาอุ้มเขามาวางพื้นที่กิ่งไม้ใหญ่ๆต่ำๆ สภาพเขาคอง่องแง่งแบบทรงตัวไม่อยู่แต่ยังหายใจ ตาเขายังมองที่เรา ( คนที่ทานข้าวต้มไม่รู้จะมองยาด้วยสายตาแบบไหนนะ คงว่าบ้าหรือเปล่า แต่เขาก็เปรยให้ได้ยินว่าอุตส่าห์ย้อนกลับมาอุ้มนกออกจากถนนเนาะ ) คือ จริงๆยาก็คงไม่แคร์สายตาคนกลุ่มนั้น แต่ยาแคร์สายตาเจ้าลูกนกตัวนั้น ยาดูอาการแล้วมันคงไม่รอดแน่ๆ คือ ยาคิดว่าถ้ายาเอาเขากลับบ้าน แล้วเขามาตายในมือยาเอง ยาจะบาปกว่านี้แน่เลย เพราะ อาจเป็นยาที่ทำร้ายชะตาชีวิตเขา แต่พอยาวางเขาทิ้งไว้โคนต้นไม้ ยากับรู้สึกไม่สบายใจ เหมือนเราละทิ้งเขาไว้แบบนั้น เมื่อเช้าเล่าให้แฟนฟัง ตอนนั่งรถผ่านต้นไม้และร้านข้าวต้มตรงนั้น ยาเปรยให้แฟนฟัง เขาก็บอกว่าดีแล้ว เราทำได้แค่นี้ ยาไม่รู้อะไรกันที่มันผิด ยาผิดที่ไม่นำเขากลับมาบ้าน หรือ ผิดที่ปล่อยเขาไว้ใต้ต้นไม้ให้ชีวิตเขาจากไปลำพัง เศร้าคะ เลยทำให้ใจเราหดหู่ เพราะ เสียใจที่ตัวเองไม่ตัดสินใจนำเขามาบ้าน มาช่วยเขาให้เต็มที่ เผื่อเขาจะมีโอกาสรอดชีวิต เสียใจที่ด่วนตัดสินใจว่าเขาอาจจะไม่รอด จึงทิ้งไว้ใต้ต้นไม้แบบนั้น แล้วสุดท้าย สิ่งที่เราทำเมื่อเช้ามันคือบาปหรือบุญกันแน่ จริงๆยาควรขี่รถผ่านเขาไปแล้วก็จบใช่ไหมคะ ไม่ควรกลับรถมาหาเขาเลย อะไรกันที่มันถูกต้อง ยาจะบาปไหมคะ ที่ทำไปวันนี้กับชีวิตเล็กๆที่หวังพึ่งพาเรา
     
  10. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    บาปไม่บาป ดูที่เจตนา ถ้าเจตนาดีก็ไม่บาปหนอกครับ เพราะจิตเราไม่คิดทำร้ายเขานี้ครับ
    ถ้าจิตยังเป็นกังวลก็ทำบุญแผ่เมตตาให้นกตัวนั้นสิครับ ได้สบายใจขึ้น
     
  11. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    คิริมานนทสูตร
    เจ้าพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์
    (จันทร์ สิริจนฺโท)

    เส้นทางเดินสายใด ก็ไม่เที่ยงแท้ ยั่งยืน เท่าเส้นทางเดินสายธรรม
    พิมพ์แจกเผยแพร่เป็นธรรมทาน เนื่องในโอกาสได้ไปร่วมงานถวายกฐินสงเคราะห์โลกแด่ หลวงตา มหาบัว
    ณ วัดป่าบ้านตาด อ
    .เมือง จ.อุดรธานี
    เมื่อวันเสาร์ที่
    3 พฤศจิกายน พุทธศักราชที่ 2550
    อดิศักดิ์
    , ฉัตรแก้ว, ไตรเทพ (อินทรทูต)

    สารบัญ
    คิริมานนทสูตร
    ..................................................................................................................................................3
    เจ้าพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์
    (จันทร์ สิริจนฺโท) ......................................................................................................... 3
    ความเป็นมาของคิริมานนทสูตร
    ............................................................................................................................... 3
    คิริมานนท์อาพาธหนัก
    .......................................................................................................................................... 3
    ขอพระพุทธองค์สงเคราะห์ให้ทุกขเวทนาหาย
    ............................................................................................................. 3
    หลักคำสอนที่ ๑
    ................................................................................................................................................... 3
    ละรูปนามเพราะเป็นของนอกกายและคุมไม่ได้
    ...................................................................................................... 3
    หลักคำสอนที่ ๒
    .................................................................................................................................................. 4
    ละอัตตาด้วยการพิจารณาอัฏฐิกสัญญา มรณสติ อสุภนุสสติ
    ..................................................................................... 4
    เจริญอสุภกรรมฐาน เพื่อพ้นจากกิเลสตัณหา
    ......................................................................................................... 5
    หลักคำสอนที่ ๓
    .................................................................................................................................................. 6
    ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางไปพระนิพพาน
    ............................................................................................................ 6
    การถึงพระนิพพาน คือการพ้นทุกข์
    ..................................................................................................................... 6
    ผู้ปรารถนาพระนิพพาน ต้องศึกษาให้รู้แจ้ง
    ........................................................................................................... 6
    ผู้ไม่รู้แจ้งในพระนิพพาน ไม่ควรสั่งสอนพระนิพพานแก่ผู้อื่น
    ..................................................................................... 7
    ผู้ปรารถนาพระนิพพาน ต้องแสวงหาครูที่ดีที่รู้แจ้งพระนิพพานจริง
    ............................................................................ 7
    บุคคลไม่รู้พระนิพพานไม่ควรเป็นครูสั่งสอนผู้อื่นจะเป็นบาปหนัก
    .............................................................................. 7
    ผู้รู้กับไม่รู้ ได้รับทุกข์เหมือนกัน หากทำบาป ส่วนผู้จะได้สุขในนิพพาน ต้องรู้เท่านั้น
    ..................................................... 8
    การรู้จัก นรก สวรรค์ แลพระนิพพาน ควรรู้ในเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่
    ............................................................................... 8
    บุคคลที่ปรารถนาพ้นทุกข์ ได้สุข หรือพระนิพพาน ควรให้ได้เมื่อยังมีชีวิตอยู่
    ............................................................... 8
    ทำตัวเราให้เหมือนแผ่นดินหรือปล่อยวาง จึงได้ชื่อว่าถึงพระนิพพานดิบ
    ...................................................................... 9
    การปล่อยวางจิต คือ ให้ละโลภ โกรธ หลง
    ............................................................................................................ 9
    จิตใจไม่ใช่ของเรา ถ้าถึงพระนิพพานแล้ว ต้องวางจิตใจคืนไว้ให้แก่โลกตามเดิม
    ............................................................ 9
    ผู้ปฏิบัติอริยมรรคให้เต็มที่ จึงจะวางใจให้เหมือนแผ่นดินได้
    .................................................................................... 10
    ผู้จะถือเอาความสุขในนิพพาน ต้องวางความสุขในโลกีย์ให้หมด
    .............................................................................. 11
    ผู้จะถึงพระนิพพาน ต้องพ้นจากกุศลธรรมและอกุศลธรรม...................................................................................... 11
     
  12. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    จิตและตัณหาเป็นที่มาของสุขและทุกข์ ซึ่งต้องวางให้หมดจึงจะถึงนิพพานได้
    ............................................................. 12
    อรหัต์หรือการเข้าถึงพระนิพพาน เป็นของมีไว้สำหรับโลก
    ...................................................................................... 12
    กิเลสและตัณหาล่อลวงให้จิตไม่หลุดพ้นจากวัฏสงสาร
    ........................................................................................... 13
    ผู้มีความรู้ความฉลาดสักปานใด ไม่ควรถือตัวว่าเป็นผู้ยิ่งกว่าผู้มีศีล
    .......................................................................... 13
    การที่จะถึงพระนิพพาน ต้องละกิเลสเสียให้สิ้น
    ..................................................................................................... 14
    การรักษาศีล บำเพ็ญภาวนา จะเกิดอานิสงส์จริง เมื่อจะยกตนให้พ้นจากกิเลส
    ............................................................ 14
    การบวชเพื่อระงับกิเลสเท่านั้น จึงจะเป็นทางสู่พระนิพพาน
    .................................................................................... 15
    พาลชนสั่งสอนได้น้อย เพราะถือว่าตนดีแล้ว
    ....................................................................................................... 15
    ผู้ต้องการพระนิพพานแล้ว ไม่ควรจะถือว่าตัวรู้ตัวดี
    .............................................................................................. 15
    ผู้มีปัญญาเลือกรักษาศีล ข้อวัตรแต่เล็กน้อย ก็ย่อมได้รับความสุขกายสบายใจ
    ............................................................ 15
    ดับกิเลสตัณหาได้มากเท่าไร ก็เป็นบุญเป็นกุศลมากเท่านั้น
    .................................................................................... 16
    บุญกุศล สวรรค์ และนิพพาน เกิดจากตัวเราเอง ไม่มีผู้ใดนำมาให้
    ............................................................................ 16
    จะไปสวรรค์ พระนิพพาน ต้องไปด้วยตนเอง จะพาเอาคนอื่นไปด้วยไม่ได้
    ................................................................. 17
    อยากรู้ว่าได้รับความสุขหรือทุกข์ ให้สังเกตที่ใจของเรา ในเวลาที่ยังไม่ตาย
    ................................................................ 17
    สวรรค์ นิพพานต้องทำเอง ด้วยการดับกิเลสตัณหา พระพุทธเจ้าบอกให้รู้แต่ทางไปเท่านั้น
    ........................................... 18
    การตกนรกและขึ้นสวรรค์จะเอาตัวไปไม่ได้ เอาแต่จิตไป
    ........................................................................................ 18
    สิ่งที่จะช่วยให้พ้นจากทุกข์ได้มีแต่อำนาจแห่งกุศลผลบุญเท่านั้น
    .............................................................................. 19
    สุข ทุกข์ อยู่ที่ใจ
    ........................................................................................................................................... 19
    ผู้ที่รู้เห็นจิตใจของผู้อื่นได้นั้น มีแต่พระพุทธเจ้าแลพระอรหันต์เท่านั้น
    ....................................................................... 19
    หากดับกิเลสทั้งห้าได้ขาด คือ โลถะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ ก็เข้าถึงพระนิพพาน
    ................................................. 20
    เมื่อตนยังไม่หลุดพ้น ก็ไม่ควรจะสั่งสอนผู้อื่น
    ....................................................................................................... 21
    คฤหัสถ์ก็ดี นักบวชก็ดี ที่กล่าวว่าตัวรู้ ตัวเห็น และพูดจากับผีได้ เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิภายนอกศาสนา ไม่ควรเชื่อถือเอาเป็นครู
    เป็นอาจารย์
    ................................................................................................................................................ 21
    พระปาติโมกข์แลธุดงควัตรที่ทรงบัญญัติไว้ ก็เพื่อเป็นเครื่องดับกิเลสตัณหา
    ............................................................... 22
    การดับกิเลสให้สิ้นเชิง ให้เลือกประพฤติตามความปรารถนา
    ................................................................................... 22
    ในอนาคต กุลบุตรที่เลื่อมใสในพุทธศาสนาสามารถบวชได้ แม้ไม่มีพระภิกษุ
    .............................................................. 22
    คิริมานนท์กำหนดรูปนามตามพระธรรมเทศนา จึงได้บรรลุอรหันต์........................................................................... 22
     
  13. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    คิริมานนทสูตร
    เจ้าพระคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์
    (จันทร์ สิริจนฺโท)

    ต้นฉบับคิริมานนทสูตรนี้ อุบาสิกาทองดำกับอุบาสิกาทองย้อย ได้ไปฟังที่จังหวัด
    (คิดว่าทางภาคเหนือ) มีความชอบใจจึง
    ได้จ้างช่างให้จารึกเป็นหนังสือแปลร้อย ๑๒ ผูก ฝากเข้ามาให้เจ้าคุณอุบาลี ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสในสมัยนั้น เจ้าคุณอุบาลี
    ได้อ่านแลตรวจดูตลอดเห็นว่าเป็นสุภาษิตจับใจ จึงได้แปลงจากไทยเหนือเป็นภาษาไทยกลาง เมื่อ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๑ เพื่อจะ
    ได้ฟังทั่วกันให้เป็นทาง รุ่งเรืองแห่งปัญญาต่อไป
    เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา สาวตฺถียํ วิหรติ เชตวเน
    อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ตตฺร โข อายสฺมา คิริมานนฺโท อาพาธิโก โหตีติ

    ความเป็นมาของคิริมานนทสูตร
    บัดนี้จักแสดงพระสูตรอันหนึ่ง อันโบราณาจารย์เจ้าหากกำหนดไว้ว่า คิริมานนทสูตรอ้างเนื้อความว่า ครั้งปฐมสังคายนา
    พระมหาสังคาหกเถรเจ้าทั้งหลาย ๕๐๐ องค์ หย่อนโอกาสไว้ให้พระอานนท์องค์หนึ่ง ได้เข้ามาสู่ที่ประชุมพร้อมแล้ว คอยพระ
    อานนท์องค์เดียวกำลังเจริญสมถวิปัสสนาอยู่ ยังไม่ได้สำเร็จพระอรหันต์ ครั้นพระอานนทเถรเจ้าได้สำเร็จพระอรหันต์แล้วก็เข้า
    จตุตถฌาน เอาปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ไปปรากฏบนอาสนะท่ามกลางสงฆ์ให้พระสงฆ์สิ้นความสงสัยในอรหันตคุณที่ถ้ำสัตตบัณณ
    คูหา ปฏิญานตนในอเสขภูมิด้วยประการฉะนี้แล้ว พระมหาสังคาหกเถรเจ้าทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน จึงได้อาราธนา
    เชื้อเชิญให้พระอานนท์ขึ้นนั่งเหนือธรรมาสน์แสดง พระสุตตันตปิฎก ยกคิริมานนทสูตรนี้ขึ้นเป็นที่ตั้งลำดับไว้อย่างนี้ พระมหากัสส
    ปะเถรเจ้าจึงถามพระอานนท์ว่า
    อานนฺท ดูกรอานนท์ พระสูตรอันชื่อว่าคิริมานนทสูตรนั้น พระพุทธเจ้าแสดงแก่บุคคลผู้ใด แลตรัส
    เทศนา ณ ที่ไหน ปรารภอะไรให้เป็นเหตุจึงได้ตรัสเทศนา มีวิตถารพิสดารอย่างไร
    ? ขอให้พระอานนท์เจ้าจงแสดงต่อไปในกาลบัดนี้

    คิริมานนท์อาพาธหนัก
    ขอพระพุทธองค์สงเคราะห์ให้ทุกขเวทนาหาย
    อถ โข อายสฺมา อานนทฺโท
    ลำดับนั้น พระอานนท์เถรเจ้าผู้นั่งอยู่บนธรรมาสน์ได้โอกาส แต่พระสงฆ์แล้ว จึงวิสัชนาพระ
    สูตรนี้ มีคำปฏิญญาในเบื้องต้นว่า
    เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ ข้าพเจ้าผู้มีชื่อว่าอานนท์ หากได้สดับมาแต่พระอบแก้ว กล่าวคือ พระโอษฐ์
    แห่งพระพุทธเจ้าดำเนินความว่า
    เอกํ สมยํ สมัยกาลคาบหนึ่ง พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จสำราญพระอิริยาบถอยู่ ณ
    พระเชตะวันวิหาร อันเป็นอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวายใกล้กรุงสาวัตถี ในกาลครั้งนั้น พระผู้เป็นเจ้าชื่อว่า คิริมานนท
    เถระ ผู้มีอายุ อาพาธิโก เกิดอาพาธหนัก เหลือกำลังที่จะอดกลั้น พระผู้เป็นเจ้าจึงให้เชิญข้าพเจ้าผู้ชื่อว่าอานนท์เข้าไปยังสำนักแห่ง
    ตนแล้วจึงกล่าวว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ ข้าพเจ้าผู้ชื่อว่าคิริมานนท์นี้ บังเกิดอาพาธหนักเหลือกำลังที่จะพึงอดกลั้น ไม่สามารถจะ
    ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้
    ขอนิมนต์ท่านอานนท์นำเอาอาการอาพาธอันร้ายแรงแห่งข้าพเจ้าไปกราบทูลให้สมเด็จพระผู้
    มีพระภาคเจ้าทรงทราบ เพื่อทรงมหากรุณาสงเคราะห์ให้ทุกขเวทนาเจ็บปวด ซึ่งเบียดเบียนอยู่ในร่างกายของข้าพเจ้าผู้มี
    ชื่อว่าคิริมานนท์นี้ระงับอันตรธานหายเถิด
    ข้าพเจ้าผู้มีชื่อว่าอานนท์รับเถรวาทีแล้วก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูล
    อาการแห่งอาพาธแลทุกขเวทนาตามคำสั่งของพระคิริมานนท์ให้ทรงทราบทุกประการ

    หลักคำสอนที่ ๑​
    ละรูปนามเพราะเป็นของนอกกายและคุมไม่ได้
    อถ โข
    ในกาลครั้งนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อได้ทรงทราบอาการแห่งพระผู้เป็นเจ้าคิริมานนท์ดังนี้แล้วจึงตรัสแก่
    ข้าฯ อานนท์ว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ท่าน จงกลับคืนไปสู่สำนักของท่านคิริมานนท์โดยเร็ว แล้วพระองค์ตรัสต่อไปว่า วิสุทฺธ จิตฺเต
    อานนทฺ เทฺว สญฺญา สุตฺวา โส อาพาโธ ฐานโส ปฏิปสฺสมฺเภยฺย
    ดังนี้ ดูกรอานนท์ท่าน เมื่อท่านไปถึงสำนักพระคิริมานนท์แล้ว
    ท่านจงไปบอก
    สัญญา ๒ ประการคือ รูปสัญญา ๑, นามสัญญา ๑, คือว่ารูปร่างกาย ตัวตน ทั้งสิ้นก็ดี คือ นาม ได้แก่ จิต
     
  14. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    เจตสิก ทั้งหลายก็ดี ก็ให้ปลงลงธุระเสีย อย่าถือว่า รูป ร่างกาย จิตเจตสิก เป็นตัวตน แลอย่าเข้าใจว่า เป็นของของตน
    ทุกสิ่งทุกอย่างความจริงหากเป็นของภายนอกสิ้นทั้งนั้น
    ดูกรอานนท์ ถ้าหากว่ารูปร่างกายเป็นตัวตนเราแท้ เมื่อเขาแก่เฒ่าชราตามัว หูหนวก เนื้อหนังเหี่ยวแห้ง ฟันโยกคลอน
    เจ็บปวดเหล่านั้น เราก็จักบังคับได้ตามประสงค์ว่า อย่าเป็นอย่างนั้น อย่าเป็นอย่างนี้ นี่เราบังคับไม่ได้ตามประสงค์ เขาจะเจ็บ จะไข้
    จะแก่ จะตาย เขาก็เป็นไปตามหน้าที่ของเขา เราหมดอำนาจที่จะบังคับบัญชาได้ เมื่อตายเราก็จะพาเอาไปสักสิ่งสักอันก็ไม่ได้ ถ้า
    เป็นตัวตนของเราแล้ว เราก็คงจะพาเอาไปได้ตามความปรารถนา ดูกรอานนท์ ถึงจิตเจตสิกเป็นของเรา ก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของของ
    ตน หากว่าจิตเจตสิกเป็นเรา หรือเป็นของเรา ก็จักบังคับได้ตามประสงค์ว่า จิตของเราจงเป็นอย่างนี้ จงเป็นอย่างนั้น จงสุขสำราญ
    ทุกเมื่อ อย่าทุกข์อย่าร้อนเลย ดังนี้ ก็จักพึงได้ตามความปรารถนา นี่หาเป็นเช่นนั้นไม่ เขาจะคิดอะไรเขาก็คิดไป เขาจะอยู่จะไป ก็
    ตามเรื่องของเขา
    เพราะเหตุร่างกาย จิตใจเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของของตน ให้ปลงธุระเสีย อย่าเข้าใจ ถือเอาว่า
    เป็นตัวตน แลของของตนเถิด

    ดูกรอานนท์ ท่านจงไปบอกซึ่งสัญญาทั้งสองประการ คือ รูปแลนาม นี้เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน แลไม่ใช่ของของ
    ตน ให้พระคิริมานนท์แจ้งทุกประการ เมื่อพระคิริมานนท์แจ้งแล้ว อาพาธ ความเจ็บปวด แลทุกขเวทนา ก็จักหายจาก
    สรีระร่างกาย
    แห่งพระคิริมานนท์สิ้นเสร็จหาเศษบ่มิได้ จักหายโดยรวดเร็วด้วย ถนฺเต อริยกสฺสป ข้าแต่พระอริยกัสสปะผู้เป็น
    ประธานในสงฆ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่ข้าฯ ผู้ชื่อว่าอานนท์ ด้วยประการดังนี้แล

    หลักคำสอนที่ ๒​
    ละอัตตาด้วยการพิจารณาอัฏฐิกสัญญา มรณสติ อสุภนุสสติ
    ตทนสฺตรํ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเทศนาแก่ข้าฯ สืบต่อไปว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ ตัวตนเราก็ดี ตัวตนแห่ง
    ผู้อื่นก็ดี ตัวตนแห่งสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายก็ดีก็มีอยู่แต่กองกระดูกสิ้นด้วยกันเสมอกัน ทุกตัวคนแลสัตว์ จะหาสิ่งใด เป็นแก้ว เป็น
    แหวน เป็นแท่งเงิน แท่งทอง แต่สักสิ่งสักอันก็หาไม่ได้ จะหาเอาอันใดเป็นตัวเป็นตน เป็นจิตเป็นเจตสิก แห่งบุคคลผู้ใดสักอันหนึ่ง
    ก็ไม่มี ล้วนเป็นอนัตตาหาแก่นสารมิได้ บุคคลหญิงชายคฤหัสถ์ นักบวชทั้งหลายมาพิจารณาเห็นแจ้งชัดในรูปนาม จิตเจตสิก โดย
    เป็นอนัตตาดังนี้แล้ว ก็จักมีอานิสงส์ ไม่มีส่วนที่จะพึงประมาณได้ เหมือนดังสุภัททสามเณร ท่านพิจารณาแต่คำว่า
    อฏฺฐิมิญฺชํ ท่าน
    ถือเอาเยื่อในกระดูกเท่านั้น หรืออัฏฐิกสัญญาอย่างเดียวเป็นอารมณ์ ก็ผ่องใส รุ่งเรือง เห็นแจ้งในร่างกายของตน จนได้บรรลุธรรม
    วิเศษ เหตุถือเอาอัฏฐิกสัญญาเป็นอารมณ์ เห็นอนัตตาแจ่มแจ้งด้วยประการดังนี้
    ดูกรอานนท์
    มรณสัญญา พิจารณาความตายก็ดี อัฏฐิกสัญญา พิจารณากองกระดูกก็ดี ปฏิกูลสัญญา พิจารณาร่างกาย
    นี้โดยเป็นของพึงน่าเกลียด สะอิดสะเอียน เต็มไปด้วยหมู่หนอนแลสัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก ตามลำไส้น้อยไส้ใหญ่ ตามเส้นเอ็น
    ทั่วไปในร่างกาย แลเต็มไปด้วยเครื่องเน่าของเหม็นมีอยู่ในร่างกายนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายนี้นับว่าเป็นของเปล่า ไม่มีอะไรเป็น
    ของเราสักสิ่งสักอัน เกิดมาสำคัญว่าเป็นสุข ความจริงก็หาสุขอย่างนั้นเอง ถ้าจะให้ถูกแท้ต้องกล่าวว่าเกิดมาเพื่อทุกข์ เกิดมาเจ็บ
    เกิดมาไข้ เกิดมาเป็นพยาธิเจ็บปวด เกิดมาแก่ เกิดมาตาย เกิดมาพลัดพรากจากกัน เกิดมาหาความสุขมิได้ ความสุขนั้นถ้า
    พิจารณา ดูให้ละเอียดแล้ว มีน้อยเหลือประมาณไม่พอแก่ความทุกข์ นอนหลับนั้นแลนับว่าเป็นความสุข แต่เมื่อพิจารณาดูให้
    ละเอียดแล้ว ซ้ำเป็นทุกข์ไปเสียอีก ถ้าผู้ใดพิจารณาเห็นตามดังเราตถาคตแสดงมานี้ เป็นนิมิตอันหนึ่ง ครั้นจดจำได้แน่นอนในตน
    แล้ว ก็เป็นเหตุให้ได้มรรคผลนิพพานในปัจจุบันนี้โดยไม่ต้องสงสัย
    ดูกรอานนท์
    นักปราชญ์ทั้งหลายผู้ฉลาดด้วยปัญญา ท่านบำเพ็ญอสุภานุสสติกรรมฐาน ปรารถนาเอาพระ
    นิพพานเป็นที่ตั้งนั้น ท่านย่อมถือเอาอสุภะในตัว เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ถ้ายังเอาอสุภะภายนอกเป็นอารมณ์อยู่แล้ว
    ยังไม่เต็มทางปัญญาเพราะยังอาศัยสัญญาอยู่ ถ้าเอาอสุภะในตัวเป็นอารมณ์ของกรรมฐานได้ จึงเป็นที่สุดแห่งทางปัญญา
    เป็นตัววิปัสสนาญาณได้
    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ใดปรารถนาพระนิพพานจงยังอสุภกรรมฐานในตนให้เห็นแจ้งชัดเถิด ครั้นไม่เห็นก็
    ให้พิจารณาปฏิกูลสัญญาลงในตนว่า แม้ตัวของเรานี้ ถึงยังมีชีวิตอยู่ก็หากเป็นของน่าพึงเกลียด พึงเบื่อหน่ายยิ่งนัก ถ้าหากว่าไม่มี
    หนังหุ้มห่อไว้แล้ว ก็จะพึงเป็นของน่าเกลียดเหมือนอสุภแท้ หากมีหนังหุ้มห่อไว้จึงพอดูได้ อันที่แท้ตัวตนแห่งเรานี้ จะตั้งอยู่ได้ก็
    ด้วยลมอัสสาสะ ปัสสาสะเท่านั้น ถ้าขาดลมหายใจเข้าออกแล้ว ตัวนี้ก็จักเน่าเปื่อยผุพังไป แต่นั้นก็จักเป็นอาหารแห่งสัตว์ทั้งหลาย
    มีหนอน เป็นต้น จักมาเจาะไชกิน
    ส่วนลมหายใจเข้าออกซึ่งเป็นเจ้าชีวิตนั้นเล่า ก็เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ของของตัว เขาอยากอยู่ เขาก็อยู่ เขาอยากดับ

    เขาก็ดับ เราจะบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนา ถ้าขาดลมหายใจเข้าออกแล้ว ความสวยงามในตน แลความสวยความงามภายนอก
     
  15. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    คือ บุตรภรรยาแลข้าวของเงินทอง และเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งปวงก็ย่อมหายไปสิ้นด้วยกันทั้งนั้น เหลียวซ้ายแลขวา จะได้เห็น
    บุตรภรรยาแลนัดดาหามิได้ ต้องอยู่คนเดียวในป่าช้า หาผู้ใดจักเป็นเพื่อนมิได้
    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ใดมาพิจารณาเป็นอสุภกรรมฐาน ๓๒ โกฏฐาสเห็นซากผีดิบในตนเชื่อว่า ได้ถือเอาความสุขในทาง
    พระนิพพาน
    วิธีเจริญอสุภกรรมฐานตามลำดับ คือ
    ให้ปลงจิตลงในเกสา ให้เห็นเป็นอสุภะ แล้วให้สำคัญในเกสานั้นว่าเป็นอนัตตา
    แล้วให้เอาโลมาตั้งลง ปลงจิตให้เห็นเป็นอสุภะ เป็นอนัตตา
    แล้วเอานขา ทันตา ตั้งลงปลงจิตให้เห็นเป็นอสุภะ เป็นอนัตตา
    แล้วให้เอาตโจตั้งลงตามลำดับไป จนถึงมัตถเก มัตถลุงคังเป็นที่สุด พิจารณาให้เห็นเป็นอสุภะ เป็นอนัตตาโดยนัย
    เดียวกัน
    ดูกรอานนท์ เราตถาคตแสดงมานี้โดยพิสดาร ให้กว้างขวางทั้งเบื้องต้นแลเบื้องปลาย แท้จริงบุคคลผู้มีปัญญารู้แล้ว ก็ให้
    สงเคราะห์ลงในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่านั้น
    บุคคลผู้มีปัญญาจะเจริญอสุภกรรมฐาน ท่านมิได้เจริญแต่ต้นลำดับไปจนถึง
    ปลาย เพราะเป็นการเนิ่นช้า ท่านยกอาการอันใดอันหนึ่งขึ้นพิจารณาสงเคราะห์ลงในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านก็ย่อม
    ได้ถึงมรรคผลนิพพานโดยสะดวก

    เจริญอสุภกรรมฐาน เพื่อพ้นจากกิเลสตัณหา
    การที่เจริญอสุภกรรมฐานนี้ ก็เพื่อจะให้เบื่อหน่ายในร่างกายของตน อันเห็นว่าเป็นของสวยของงาม ทั้งวัตถุภายนอกแล
    ภายในให้เห็นเป็นของเปื่อยเน่าผุพัง จะได้ยกตนให้พ้นจากกิเลสตัณหา ผู้มีปัญญารู้แล้วไม่ควรชื่นชมยินดีในรูปตนแลรูปผู้อื่น ทั้งรูป
    หญิงรูปชาย ทั้งวัตถุข้าวของดีงามประณีตบรรจงอย่างใดอย่างหนึ่งเลย เพราะว่าความรักทั้งปวงนั้นเป็นกองกิเลสทั้งสิ้น
    ถ้าห้ามใจ
    ให้ห่างจากกองกิเลสได้ จึงจะได้รับความสุขทั้งชาตินี้แลชาติหน้า
    ถ้าหากใจยังพัวพันอยู่ในกองกิเลสแล้ว ถึงแม้จะได้รับ
    ความสุขสบายก็เพียงชาตินี้เท่านั้น เบื้องหน้าต่อไปไม่มีทางที่จะได้เสวยสุข มีแต่ได้เสวยทุกข์โดยถ่ายเดียว ผู้มีปัญญาเมื่อได้เจริญ
    อสุภานุสสติกรรมฐาน เอาวัตติงสาการ ๓๒ เป็นอารมณ์ ก็ควรละกองกิเลสตัณหาให้ขาดสูญ เมื่อรู้แล้วปฏิบัติตาม จึงจะเป็นผลเป็น
    กุศลต่อไป เมื่อรู้แล้วไม่ปฏิบัติตามก็หาผลอานิสงส์มิได้ เพราะละกิเลสตัณหามิได้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตกเข้าไปในกองเพลิง เมื่อรู้
    ว่าเป็นกองเพลิงก็รีบหลีกหนีออก จึงจะพ้นความร้อน ถ้ารู้ว่าตัวตกเข้าอยู่ในกองเพลิงแต่มิได้พยายามที่จะหลีกหนี จะพ้นจากความ
    ร้อนความไหม้อย่างไรได้ ข้ออุปมานี้ฉันใด
    บุคคลผู้รู้แล้วว่าสิ่งนี้เป็นโทษ แต่มิได้ละเสียก็มิได้พ้นจากโทษ เหมือนกับผู้ไม่พ้น
    จากกองเพลิงฉะนั้น

    ดูกรอานนท์ ผู้รู้แล้วและมิได้ทำตามนั้น จะนับว่าเป็นคนรู้ไม่ได้ เพราะไม่เกิดมรรคเกิดผลสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลยเราตถาคต
    อนุญาตตั้งศาสนธรรมคำสอนไว้นี้ ก็เพื่อว่าเมื่อรู้แล้วว่าสิ่งใดเป็นโทษให้ละเสีย มิได้ตั้งไว้เพื่ออ่านเล่น ฟังเล่น พูดเล่น เท่านั้นเลย
    บุคคลทั้งหลายได้เสวยทุกข์ในมนุษย์แลในอบายภูมินั้น ไม่ใช่สิ่งอื่นเลย เป็นเพราะกิเลส ราคะ ตัณหา นั้นอย่างเดียว ถ้าบุคคลผู้ยัง
    ไม่พ้นจากกิเลส ราคะ ตัณหา ได้ตราบใด ก็ยังไม่เป็นผู้พ้นจากอบายทุกข์ได้จนตราบนั้น
    บุคคลผู้มิได้พ้นจากกิเลสราคะตัณหา
    นั้น จะทำบุญให้ทานสร้างกุศลอย่างแข็งแรงเท่าใดก็ดี ก็จักได้เสวยความสุขในมนุษยโลก แลเทวดาโลกเพียงเท่านั้น ที่จะ
    ได้เสวยสุขในพระนิพพานนั้นเป็นอันไม่ได้เลย ถ้าประสงค์ต่อพระนิพพานแท้ ให้โกนเกล้าเข้าบวชในพระศาสนา ไม่ว่า
    บุรุษหญิงชาย

    ถ้าทำได้อย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติใกล้ต่อพระนิพพาน เพราะว่าเมืองนิพพานนั้นปราศจากกิเลสตัณหา เมืองมนุษย์แลเมือง
    สวรรค์เป็นที่ทรงไว้ซึ่งกิเลส ตัณหา ไม่เหมือนเมืองพระนิพพาน ผู้มีปัญญาเมื่อปรารถนาความสุขในพระนิพพาน จงออกบวชใน
    พระพุทธศาสนา แล้วตั้งใจเจริญสมถวิปัสสนา อย่าให้หลงโลกหลงทาง ถ้าไม่รู้ทางพระนิพพาน มีแต่ตั้งหน้าปรารถนาเอาเท่านั้น ก็
    จักหลงขึ้นไปในอรูปพรหม ชื่อว่าหลงโลกหลงทางไปในภพต่างๆ ให้ห่างจากพระนิพพานไป การทำบุญกุศลทั้งหลายนั้น มิใช่ว่าจะ
    ทำให้บุญนั้นพาไปในที่อื่น ทำเพื่อระงับกิเลสอย่างเดียว
    อย่าเข้าใจว่าทำบุญกุศลแล้ว บุญกุศลนั้นจักยกเอาตัวนำเข้าไปสู่พระ
    นิพพานเช่นนั้นหามิได้ ทำเพื่อระงับกิเลสตัณหา แล้วจึงจักไปพระนิพพานได้ กิเลสตัณหานั้นมีอยู่ที่ตัวของเรา ถ้าเราไม่
    ทำให้ดับ ใครจะมาช่วยดับได้ ต้นเหง้าเค้ามูลของกิเลสตัณหาอยู่ที่เรา ถ้าเราดับไม่ได้ ก็ไม่ถึงซึ่งความสุขในพระนิพพาน

    เท่านั้น
     
  16. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    หลักคำสอนที่ ๓
    ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางไปพระนิพพาน
    ตทนนฺตรํ
    ในลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ นิพฺพานํ นครํ นาม อันชื่อว่าเมืองพระ
    นิพพานย่อมตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลก โลกมีที่สุดเพียงใด พระนิพพานก็ตั้งอยู่ที่สุดเพียงนั้น พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่ เป็น
    ที่บรมสุข หาที่เปรียบมิได้ คำว่าที่สุดแห่งโลกนั้น จะถือเอาอากาศโลกหรือจักรวาลโลกเป็นประมาณนั้นมิได้ อากาศโลกแลจักรวาล
    โลกนั้นมีที่สุดเบื้องต่ำก็เพียงใต้แผ่นดิน แผ่นดินนี้มีน้ำรอง ใต้น้ำนั้นมีลม ลมนั้นหนาได้ ๙ แสน ๔ หมื่นโยชน์สำหรับรองน้ำไว้ ใต้
    ลมนั้นลงไปเป็นอากาศหาที่สุดมิได้ ที่สุดโลกเบื้องต่ำก็เพียงลมเท่านั้น อันว่าที่สุดแห่งจักรวาลโลกเบื้องขวางนั้น มีอนันตจักรวาล
    เป็นเขต นอกอนันตจักรวาลออกไปก็เป็นอากาศว่าง อยู่ จึงว่าโดยขวางมีอนันตจักรวาลเป็นที่สุด
    อันว่าที่สุดแห่งจักรวาลโลกเบื้องบนนั้นมีอรูปพรหมเป็นเขต เพราะอรูปพรหม ๔ ชั้นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นนิพพาน
    พรหมหรือนิพพานโลก
    นิพพานโลกนี้เป็นที่ไม่สิ้นสุด ส่วนว่านิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีนามว่า โลกุตรนิพพาน เป็น
    นิพพานที่สุดที่แล้ว
    ต่ออรูปพรหม ๔ ชั้นขึ้นไปก็เป็นแต่อากาศว่างๆ อยู่ จึงว่าที่สุดเบื้องบนเพียงอรูปพรหมเท่านั้น จะเข้าใจเอา
    เองว่า ลมรองน้ำ แลอนันตจักรวาลแลอรูปพรหมเป็นที่สุดของโลก เมืองพระนิพพานคงตั้งอยู่ในที่สุดของโลกเหล่านั้น ดังนี้
    พระพุทธเจ้าตรัสห้ามเสียว่า อย่าพึงเข้าใจอย่างนั้นเลย ที่ทั้งหลายเหล่านั้น ใครๆ ก็ไม่สามารถจักไปถึง ด้วยกำลังกายหรือด้วย
    กำลังพาหนะ มียานช้าง ยานม้าได้ อย่าเข้าใจว่า เมืองนิพพานตั้งอยู่ในที่สุดของโลกเหล่านั้น หรือตั้งอยู่ในที่แห่งนั้นแห่งนี้ อย่า
    เข้าใจว่าตั้งอยู่ในที่ใดที่หนึ่งเลย แต่ว่า
    พระนิพพานนั้น หากมีอยู่ในที่สุดของโลก เป็นของจริงไม่ต้องสงสัย ให้ท่านทั้งหลาย
    ศึกษาให้เห็นโลก รู้โลกเสียให้ชัดเจนก็จักเห็นพระนิพพาน พระนิพพานตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลกนั้นเอง
    การถึงพระนิพพาน คือการพ้นทุกข์
    ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายถึงที่สุดโลก ออกจากโลกได้แล้ว จึงชื่อว่า ถึงพระนิพพาน แลรู้ตนว่าเป็นผู้พ้นทุกข์

    แล้ว แลอยู่สุขสำราญบานใจทุกเมื่อ หาความเร่าร้อนโศกเศร้าเสียใจมิได้
    ถ้า
    ผู้ใดยังไม่ถึงที่สุดโลก ยังออกจากโลกไม่ได้ตราบ
    ใด ก็ชื่อว่ายังไม่ถึงพระนิพพาน จะต้องทนทุกข์น้อยใหญ่ทั้งหลาย เกิดๆ ตายๆ กลับไปกลับมาหาที่สุดมิได้อยู่ตราบนั้น บุคคล
    ทั้งหลายเป็นผู้ต้องการพระนิพพาน แต่หารู้ไม่ว่าพระนิพพานนั้นเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน ชั้นแต่ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นทางจะ
    ไปสู่พระนิพพานก็ไม่เข้าใจ เมื่อไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจแล้ว จักไปสู่พระนิพพานนั้นก็เป็นการลำบากยิ่งนักหนา เปรียบเหมือนคน ๒
    คน ผู้หนึ่งตาบอด ผู้หนึ่งตาดี จะว่ายข้ามน้ำมหานทีอันกว้างใหญ่ ในคนทั้ง ๒ นั้นผู้ใดจักถึงฝั่งข้างโน้นก่อน คนผู้ตาดีต้องถึงก่อน
    ส่วนคนผู้ตาบอดนั้นจะว่ายข้ามไปถึงฝั่งฟากโน้นได้แสนยากแสนลำบาก บางทีจะตายเสียในท่ามกลางแม่น้ำ เพราะไม่รู้ไม่เห็นว่าฝั่ง
    อยู่ที่ไหน ข้ออุปมานี้ฉันใด คนไม่รู้ไม่แจ้งว่าพระนิพพานอยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร ทางจะไปก็ไม่เข้าใจ เป็นแต่อยากได้ อยากไป อยาก
    ถึงพระนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนั้น การได้การถึงของผู้นั้นก็ต้องเป็นของลำบากยากแค้นอยู่เป็นธรรมดา บางทีจะตายเสียเปล่า จัก
    ไม่ได้เห็นเงื่อนเค้าของพระนิพพานเลย
    ผู้ศึกษาพึงเข้าใจว่าพระนิพพานอยู่ที่สุดของโลก ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางไปพระ
    นิพพาน
    ถ้ารู้อย่างนี้ยังมีทางที่จะถึงพระนิพพานได้บ้าง แม้เมื่อรู้แล้วอย่างนั้น ก็จำต้องพากเพียรพยายามเต็มที่ จึงจะถึงเหมือน
    คนตาดีว่ายข้ามน้ำ ก็ต้องพยายามจนสุดกำลังจึงจะข้ามพ้นได้ มีอุปไมยเหมือนกันฉะนั้น

    ผู้ปรารถนาพระนิพพาน ต้องศึกษาให้รู้แจ้ง
    ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งลายผู้ปรารถนาพระนิพพาน ควรศึกษาให้รู้แจ้ง ครั้นรู้แจ้งแล้วจักถึงก็ตาม ไม่ถึงก็ตาม ก็
    ไม่เป็นทุกข์แก่ใจ ถ้าไม่รู้แต่อยากได้ย่อมเป็นทุกข์มากนัก
    เปรียบเหมือนบุคคลอยากได้วัตถุสิ่งหนึ่ง แต่หากไม่รู้จักวัตถุสิ่งนั้น
    ถึงวัตถุสิ่งนั้นจะมีอยู่ในที่จำเพราะหน้า ก็ไม่อาจถือเอาได้ เพราะไม่รู้ ถึงจะมีอยู่ ก็มีเปล่าๆ ส่วนตัวก็ไม่หายความอยากได้ จึงเป็น
    ทุกข์ยิ่งนัก ผู้ปรารถนาพระนิพพาน แต่ไม่รู้จักพระนิพพานก็เป็นทุกข์เช่นนั้น
    จะถือเสียว่าไม่รู้ก็ช่างเถอะ เราปรารถนาเอาคงจะ
    ได้ คิดอย่างนั้นก็ผิดไป ใช้ไม่ได้
    แม้แต่ผู้รู้แล้วตั้งหน้าบากบั่นขวนขวายจะให้ได้ ให้ถึง ก็ยังเป็นการยากลำบากอย่างยิ่ง บุคคลผู้
    ไม่รู้ไม่เห็นพระนิพพานและจะถึงพระนิพพาน จักมีมาแต่ที่ไหน อย่าว่าแต่พระนิพพานเลย แม้จะกระทำการสิ่งใดก็ดี เป็นต้นว่า
    ช่าง
    เงิน ช่างทอง ช่างเหล็ก ช่างไม้ ช่างวาดเขียนต่างๆ เป็นต้น ต้องรู้ด้วยใจหรือเห็นด้วยตาเสียก่อน จึงจะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ
    ได้ ผู้ปรารถนาพระนิพพานก็ต้องศึกษาให้รู้จักพระนิพพานไว้ก่อนจึงจะได้ จะมาตั้งหน้าปรารถนาเอาโดยความไม่รู้นั้น

    จะมีทางได้มาแต่ที่ไหน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กันยายน 2012
  17. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    ดูกรอานนท์
    บุคคลทั้งหลายควรจะศึกษาให้รู้แจ้งคลองแห่งพระนิพพานไว้ให้ชัดเจนแล้ว ไม่ควรประมาท แม้
    ปรารถนาจะไปก็ไป แม้ไม่ปรารถนาจะไป ก็อย่าไป ครั้งเห็นดีแล้ว จิตประสงค์แล้ว ก็ให้ปฏิบัติในคลองแห่งพระนิพพาน
    ด้วยจิตอันเลื่อมใสก็อาจจักสำเร็จ ไม่สำเร็จก็จักเป็นอุปนิสัยปัจจัยต่อไป
    ผู้ที่ไม่รู้ แม้ปรารถนาจะไปหรือไม่ไป อยู่ใกล้ที่นั้น
    บ่อยๆ ก็ไม่อาจถึง เพราะเข้าใจผิดคิดว่าอยู่ที่นั้นที่นี้ ก็เลยผิดไปจากจิตที่คิด หลงไปหลงมาอยู่ในวัฏสงสาร ไม่มีวันที่จะถึงพระ
    นิพพานได้

    ผู้ไม่รู้แจ้งในพระนิพพาน ไม่ควรสั่งสอนพระนิพพานแก่ผู้อื่น
    ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่แจ้ง ไม่เข้าใจในพระนิพพาน ไม่ควรจะสั่งสอนพระนิพพานแก่ท่านผู้อื่น ถ้าขืนสั่ง
    สอนก็จะพาท่านหลงหนทาง จักเป็นบาปเป็นกรรมแก่ตน
    ควรจะสั่งสอนแต่เพียงคลองแห่งทางมนุษย์สุคติ สวรรค์สุคติ เป็นต้น
    ว่าสอนให้รู้จักทาน ให้รู้จักศีล ๕ ศีล ๘ ให้รู้คลองแห่งกุศลกรรมบถ ให้รู้จักปฏิบัติมารดาบิดา ให้รู้จักอุปัชฌาย์อาจารย์ ให้รู้จัก
    ก่อสร้างบุญกุศลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น เพียงเท่านี้ก็อาจจะได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ พอสมควรอยู่แล้ว
    ส่วน
    ความสุขในโลกุตรนิพพานนั้น ผู้ใดต้องการจริง ต้องรักษา ศีล ๕ ศีล ๑๐ ศีลปาติโมกข์เสียก่อน จึงชื่อว่าเข้าใกล้ทาง มี
    โอกาสที่จักได้ถึงโลกุตรธรรมนิพพานโดยแท้
    แม้ผู้เจริญคลองพระนิพพานนั้น ก็ให้รู้จักท่านผู้เป็นครูว่า รู้แจ้งทางพระนิพพาน
    จริง จึงไปอยู่เล่าเรียน ถ้าไปอยู่เล่าเรียนในสำนักของท่านผู้ไม่รู้แจ้ง ก็จักไม่สำเร็จโลกุตรนิพพานได้ เพราะว่าคลองแห่งโลกุตรธรรม
    นิพพานนี้ เล่าเรียนได้โดยยากยิ่งนัก ด้วยเหตุสัตว์ยินดีอยู่ในกามคุณอันเป็นข้าศึกแห่งพระนิพพานโดยมาก
    ภนฺเต อริยกสฺสป ข้า
    แต่พระอริยกัสสปะ ผู้มีอายุ พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ด้วยประการดังนี้ ขอให้พระสงฆ์ทั้งหลายจงทราบด้วยพล
    ญาณแห่งตน ดังแสดงมานี้เถิด

    ผู้ปรารถนาพระนิพพาน ต้องแสวงหาครูที่ดีที่รู้แจ้งพระนิพพานจริง
    ตทนนฺตรํ
    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่าบุคคลทั้งหลายผู้ปรารถนาซึ่งพระ
    นิพพานควรแสวงหาซึ่งครูที่ดี ที่อยู่เป็นสุขสำราญ มิได้ประมาทเพราะพระนิพพานไม่เหมือนของสิ่งอื่น อันของสิ่งอื่นนั้น เมื่อผิดไป
    แล้วก็มีทางแก้ตัวได้ หรือไม่สู้เป็นอะไรนัก เพราะไม่ละเอียดสุขุมมาก ส่วน
    พระนิพพานนี้ละเอียดสุขุมที่สุด ถ้าผิดแล้วก็เป็นเหตุ
    ให้ได้รับทุกข์เป็นหนักหนา ทำให้หลงโลก หลงทาง ห่างจากความสุข ทำให้เสียประโยชน์เพราะอาจารย์ ถ้าได้อาจารย์ที่
    ถูกที่ดี ก็จะได้รับผลที่ถูกที่ดี ถ้าได้อาจารย์ที่ไม่รู้ไม่ดีไม่ถูกต้อง ก็จักได้รับผลที่ผิด เป็นทุกข์ พาให้หลงโลกหลงทาง พาให้
    เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารสิ้นกาลนาน
    เปรียบเหมือนผู้จะพาเราไปที่ตำบลใดตำบลหนึ่ง แต่ผู้นั้นไม่รู้จักตำบลนั้น แม้เรา
    เองก็ไม่รู้ เมื่อกระนั้น ไฉนเขาจึงจะพาเราไปให้ถึงตำบลนั้นได้เล่า ข้ออุปมานี้ฉันใด อาจารย์ผู้ไม่รู้พระนิพพานและจะพาเราไปพระ
    นิพพานนั้น ก็จะพาเราหลงโลกหลงทางไปๆ มาๆ ตายๆ เกิดๆ อยู่ในวัฏสงสาร ไม่อาจจะถึงพระนิพพานได้ เหมือนคนที่ไม่รู้จัก
    ตำบลที่จะไปและเป็นผู้พาไปก็ไม่อาจจะถึงได้ มีอุปไมยฉะนั้น
    ผู้คบครูบาอาจารย์ที่ไม่รู้ดีและได้ผลที่ไม่ดี มีในโลกมิใช่น้อย
    เหมือนดังพระองคุลิมาลเถระไปเรียนวิชาในสำนักครูผู้มีทิฏฐิอันผิด ได้รับผลที่ผิด คือเป็นมหาโจร ฆ่าคนล้มตายเสียนับ
    ด้วยพัน
    หากเราตถาคตรู้เห็น มีความเวทนาสงสารมาข้องอยู่ในข่ายสยัมภูญาณ จึงได้ไปโปรดทรมานให้ละเสียซึ่งพยศอันร้าย เป็น
    การลำบากมิใช่น้อย ถ้าไม่ได้พระตถาคตแล้ว พระองคุลิมาลก็จักได้เสวยทุกข์อยู่ในวัฏสงสารสิ้นชาติเป็นอันมาก

    บุคคลไม่รู้พระนิพพานไม่ควรเป็นครูสั่งสอนผู้อื่นจะเป็นบาปหนัก
    ดูกรอานนท์
    บุคคลผู้ไม่รู้พระนิพพาน ไม่ควรเป็นครูสั่งสอนท่านผู้อื่นในทางพระนิพพานเลย ต่างว่าจะสั่งสอนเขา
    จะสั่งสอนว่ากระไร เพราะตัวไม่รู้ เปรียบเหมือนบุคคลไม่เคยเป็น ช่างวาด ช่างเขียน หรือช่างต่างๆ มาก่อนแล้ว และอยากเป็นครู
    สั่งสอนเขา จะบอกแก่เขาว่ากระไร เพราะตัวเองก็ไม่รู้ไม่เข้าใจ จะเอาอะไรไปบอกไปสอนเขา จะเอาแต่คำพูดเป็นครู ทำตัวอย่างให้
    เขาเห็นเช่นนั้นไม่ได้จะให้เขาเล่าเรียนอย่างไร เพราะไม่มีตัวอย่างให้เขาเห็นด้วยตา ให้รู้ด้วยใจ เขาจะทำตามอย่างไรได้
    ตัวผู้เป็น
    ครูนั้นแลต้องทำก่อน ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่ควรเป็นครูสอนเขา ถ้าขืนเป็นครู ก็จักพากันฉิบหาย หลงโลกหลงทาง เป็นบาป
    เป็นกรรมแก่ตัวหนักหนาทีเดียว
    พระพุทธเจ้าตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ดังนี้แล

    ตทนนฺตรํ
    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ อันว่า บุคคลผู้จะสอนพระนิพพานนั้น
    ต้องให้รู้แจ้งประจักษ์ชัดเจนว่า พระนิพพานมีอยู่ในที่นั้นๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้นๆ ต้องให้รู้แจ้งชัด จะกล่าวแต่เพียงวาจาว่า

    นิพพานๆ ด้วยปาก
     
  18. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    แต่ใจไม่รู้แจ้งชัดเช่นนั้น ไม่ควรเชื่อถือเลย
    ต้องให้รู้แจ้งชัดในใจก่อนจึงควรเป็นครูเป็นอาจารย์สอนท่าน ผู้อื่นต่อไป จะเป็น
    เด็กก็ตาม ผู้ใหญ่ก็ตาม ถ้ารู้แจ้งชัดซึ่งพระนิพพานแล้ว ก็ควรเป็นครูเป็นอาจารย์ แลควรนับถือเป็นครูเป็นอาจารย์ได้
    แม้จะเป็นผู้ใหญ่สูงศักดิ์ สักปานใดก็ตาม ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วไม่ควรนับถือเป็นครูเป็นอาจารย์เลย
    ผู้รู้กับไม่รู้ ได้รับทุกข์เหมือนกัน หากทำบาป ส่วนผู้จะได้สุขในนิพพาน ต้องรู้เท่านั้น

    ดูกรอานนท์ ถ้าอยากได้สุขอันใด ก็ควรรู้จักสุขอันนั้นก่อนจึงจะได้ เมื่ออยากได้สุขในพระนิพพาน ก็ควรรู้จักสุขในพระ
    นิพพาน อยากได้สุขในมนุษย์แลสวรรค์ ก็ให้รู้จักสุขในมนุษย์แลสวรรค์นั้นเสียก่อนจึงจะได้ ถ้าไม่รู้จักสุขอันใด ก็ไม่อาจยังความสุข
    อันนั้นให้เกิดขึ้นได้ ไม่เหมือนทุกข์ในนรก
    อันทุกข์ในนรกนั้นจะรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ถ้าทำกรรมที่เป็นบาปแล้ว ผู้ที่รู้หรือผู้ที่
    ไม่รู้นรกเหมือนกัน
    ถ้าไม่รู้จักนรกก็ยิ่งไม่มีเวลาพ้นจากนรกได้ ถึงจะทำบุญให้ทานสักปานใดก็ไม่อาจพ้นจากนรกได้ แต่มิใช่ว่า
    ทำบุญให้ทานไม่ได้บุญ ความสุขที่ได้แต่การทำบุญนั้นมีอยู่ แต่ว่าเป็นความสุขที่ยังไม่พ้นจากทุกข์ในนรก เมื่อยังไม่รู้ไม่เห็นนรก
    ตราบใด ก็ยังไม่พ้นจากนรกอยู่ตราบนั้น ครั้นได้เข้าถึงนรกแล้ว เมื่อได้รู้ทางออกจากนรกได้แล้ว ปรารถนาจักพ้นจากนรกก็พ้นได้
    เมื่อไม่อยากพ้นก็ไม่อาจพ้นได้ ต้องรู้จักแจ้งชัดว่า นรกอยู่ในที่นั้นๆ มีลักษณะอาการอย่างนั้นๆ แลควรรู้จักทางออกจากนรกให้แจ้ง
    ชัด
    ทางออกจากนรกนั้นคือ ศีล ๕ ศีล ๑๐ ศีลพระปาติโมกข์ นั่นเอง เมื่อรู้แล้วอยากจะออกให้พ้นก็ออกได้ ไม่อยากจะออกให้
    พ้นก็พ้นไม่ได้ ผู้ที่รู้กับผู้ที่ไม่รู้ ย่อมได้รับทุกข์ในนรกเหมือนกัน
    ส่วนความสุขในมนุษย์แลสวรรค์ แลพระนิพพานนั้นต้องรู้จัก
    จึงจะได้
    ถ้าไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่ได้เลย มีอาการต่างกันอย่างนี้

    การรู้จัก นรก สวรรค์ แลพระนิพพาน ควรรู้ในเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่
    ดูกรอานนท์
    เมื่ออยากรู้จักนรก สวรรค์ และพระนิพพาน ก็ควรให้รู้เสียในเวลาก่อนที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่ออยากพ้น
    ทุกข์ในนรก ก็รีบออกให้พ้นเสียแต่เมื่อยังไม่ตาย
    เมื่ออยากได้สุขในมนุษย์หรือในสวรรค์หรือในนิพพาน ก็ให้รีบขวนขวายหาสุข
    เหล่านั้นไว้ แต่เมื่อยังไม่ตาย จะถือว่าตายแล้วจึงจักพ้นทุกข์ในนรก ตายแล้วจึงจักไปสวรรค์ ไปพระนิพพานดังนี้ เป็นอันใช้ไม่ได้
    เสียประโยชน์เปล่า อย่าเข้าใจว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ สุขอย่างหนึ่ง เมื่อตายไปแล้ว มีสุขอีกอย่างหนึ่ง เช่นนี้เป็นความที่เข้าใจผิดโดยแท้

    เพราะจิตมีดวงเดียว เมื่อมีชีวิตอยู่ก็จิตดวงนี้ เมื่อตายไปแล้วก็จิตดวงนี้ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ได้รับทุกข์ฉันใด แม้เมื่อตายไป
    แล้วได้รับทุกข์ฉันนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่มีความสุขฉันใด แม้เมื่อตายไปแล้วก็ได้รับความสุขฉันนั้น
    ไม่ต้องสงสัย เมื่อยังมี
    ชีวิตอยู่ยังไม่รู้ไม่เห็นซึ่งความทุกข์แลความสุขมีสภาวะปานดังนี้ เมื่อตายไปแล้ว ยิ่งจะซ้ำร้าย จะมีทางรู้ทางเห็นด้วยอาการอย่างไร
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาแก่ข้าฯ อานนท์ ด้วยประการฉะนี้

    ตทนนฺตรํ
    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์

    บุคคลผู้ใดมิได้ทำบุญ ให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น ไว้สำหรับตัวเสียก่อนแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
    บุคคลผู้ใดอยากได้ความสุข แต่มิได้กระทำตนให้ได้รับความสุขไว้ก่อนแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เข้าใจเสียว่าตายไปแล้วภาย
    หน้าจึงจักได้รับความสุข เช่นนี้ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
    บุคคลผู้ใดอยากให้ตนพ้นทุกข์ แต่ไม่ได้กระทำตนให้พ้นทุกข์เสียแต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ข้าใจเสียว่าตายไปแล้วจึงจักพ้น
    ทุกข์ดังนี้ ผู้นั้นก็เป็นคงหลง
    บุคคลผู้ใดที่ทำความเข้าใจว่า เมื่อยังมีชีวิตอยู่นี้เป็นอย่างหนึ่ง ตายไปแล้วเป็นอีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้นั้นก็เป็นคนหลง
    บุคคลผู้ใดเข้าใจเสียว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ ไม่เป็น ก็ช่างเถิดไม่เป็นไร ตายไปแล้วภายหน้า หาก
    จักรู้ จักเห็นจักได้ จักเป็น ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
    บุคคลผู้ใดเข้าใจว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ สุขก็ช่างเถิด ตายไปแล้วหากจักได้สุข ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
    บุคคลผู้ใดถือเสียว่าเมื่อยังมีชีวิตอยู่นี้ ทุกข์ก็ช่างเถิดไม่เป็นไรตายไปแล้วหากจักได้สุข ผู้นั้นก็เป็นคนหลง
    บุคคลผู้ใดถือเสียว่าเมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ จะทุกข์ก็ดี จะสุขก็ดี จะชั่วก็ดี ก็ช่างเถิด ตายไปแล้วจักไปเป็นอะไรก็ช่าง
    เถิด ใครจักตามไปรู้ไปเห็น ผู้นั้นก็เป็นคงหลง
    บุคคลที่ปรารถนาพ้นทุกข์ ได้สุข หรือพระนิพพาน ควรให้ได้เมื่อยังมีชีวิตอยู่
    ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายปรารถนาอยากพ้นทุกข์ หรือปรารถนาอยากได้สุขประการใด ก็ควรให้ได้ถึงเสียแต่ในชาตินี้
    ถ้าถือเอาภายหน้าเป็นประมาณแล้ว ชื่อว่าเป็นคนหลงทั้งสิ้น แม้ความสุขอย่างสูงคือพระนิพพาน ผู้ปรารถนาก็พึงรีบขวนขวายให้
     
  19. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    ได้ให้ถึงเสีย แต่เมื่อเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ ดูกรอานนท์
    อันว่าความสุขในพระนิพพานนั้นมี ๒ ประเภท คือ ดิบ ๑ สุก ๑ ได้ความ
    ว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่ ได้เสวยสุขในพระนิพพานนั้น ได้ชื่อว่าพระนิพพานดิบ เมื่อตายไปแล้วได้เสวยสุขในพระ
    นิพพานนั้น ได้ชื่อว่าพระนิพพานสุก พระนิพพานมี ๒ ประการเท่านี้ นิพพานโลกีย์ นิพพานพรหม เป็นนิพพานหลง ไม่
    นับเข้าไปในที่นี้
    พระนิพพานดิบนั้นเป็นของสำคัญ ควรให้รู้ ให้เห็น ให้ได้ ให้ถึงเสียก่อนตาย ถ้าไม่ได้พระนิพพานดิบนี้แล้ว ตาย
    ไปจักได้พระนิพพานสุกนั้นไม่มีเลย ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจก็ยิ่งไม่มีทางได้ แต่รู้แล้ว เห็นแล้ว พยายามจะให้ได้ ให้ถึงก็แสนยากแสน
    ลำบากยิ่งนักหนา ผู้ใดเห็นว่าพระนิพพานมีอย่างเดียว ตายแล้วจึงจะได้ ผู้นั้นชื่อว่าคนหลง ส่วนพระนิพพานดิบนั้น จักจัดเอา
    ความสุขอย่างละเอียดเหมือนอย่างพระนิพพานสุกนั้นไม่ได้ แต่ก็เป็นความสุขอันละเอียดสุขุม หาสิ่งใดเปรียบมิได้อยู่แล้ว แต่หาก
    ยังมีกลิ่นรสแห่งทุกข์กระทบถูกต้องอยู่ จึงไม่ละเอียดเหมือนพระนิพพานสุก เพราะพระนิพพานสุก ไม่มีกลิ่นรสแห่งทุกข์จะมากล้ำ
    กราย ปราศจากสรรพสิ่งทั้งปวง แต่พระนิพพานดิบนั้นต้องให้ได้ไว้ก่อนตาย

    ทำตัวเราให้เหมือนแผ่นดินหรือปล่อยวาง จึงได้ชื่อว่าถึงพระนิพพานดิบ
    ดูกรอานนท์
    อันว่าพระนิพพานนั้น พึงให้ดูอย่างแผ่นดิน พระธรณี มีลักษณะอาการฉันใด ก็ให้ตัวเรามีลักษณะ
    อาการฉันนั้น ถ้าทำได้เช่นนั้น ก็ได้ชื่อว่าถึงพระนิพพานดิบ
    ถ้าทำไม่ได้ แต่พูดว่าอยากได้ จะพูดมากมายเท่าไรๆ ก็ตาม ก็ไม่
    อาจที่จะได้จะถึงเลย ถ้าปรารถนาจักถึงพระนิพพานแล้ว ต้องทำจิตใจของตนให้เหมือนแผ่นดินเสียก่อน ไม่ใช่เป็นของทำได้ด้วย
    ง่าย ต้องพากเพียรลำบากยากยิ่งนักจึงจักได้ จะเข้าใจว่าปรารถนาเอาด้วยปากก็คงจักได้ อย่างนี้เป็นคนหลงไป ใช้ไม่ได้ ต้องทำตัว
    ทำใจให้เป็นเหมือนแผ่นดินให้จงได้
    ลักษณะของแผ่นดินนั้นคนแลสัตว์ทั้งหลายจะทำร้ายทำดี กล่าวร้ายกล่าวดีประการใด
    มหาปฐพี นั้นก็มิได้รู้โกรธ รู้เคือง ที่ว่าทำใจให้เหมือนแผ่นดินนั้น คือว่าให้วางใจเสีย อย่าเอื้อเฟื้ออาลัยว่าใจของตน ให้
    ระลึกอยู่ว่า ตัวมาอาศัยอยู่ไปชั่วคราวเท่านั้น เขาจะนึกคิดอะไรก็อย่าตามเขาไป ให้เข้าใจอยู่ว่า เราอยู่ไปคอยวันตาย
    เท่านั้น ประโยชน์อะไรกับวัตถุข้าวของและตัวตน อันเป็นของภายนอก แต่ใจซึ่งเป็นของภายในและเป็นของสำคัญ ก็ยัง
    ต้องให้ปล่อย ให้วาง อย่าถือเอาว่าเป็นของๆ ตัว กล่าวไว้แต่พอให้เข้าใจเพียงเท่านี้โดยสังเขป
    การปล่อยวางจิต คือ ให้ละโลภ โกรธ หลง
    ดูกรอานนท์ คำที่ว่าให้ปล่อยวางจิตใจนั้น คือว่าให้ละความโลภ ความโกรธ ความหลง ปลงเสีย ซึ่งการร้ายและ
    การดีที่บุคคลนำมากล่าว มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ อย่ายินดี อย่ายินร้าย แม้ปัจจัย
    เครื่องบริโภค เป็นต้นว่า อาหารการกิน ผ้าผ่อน เครื่องนุ่งห่ม แลที่อยู่ที่นอน เภสัชสำหรับแก้โรค ก็ให้ละความโลภ ความหลงใน
    ปัจจัยเหล่านั้นเสีย ให้มีความมักน้อยในปัจจัย แต่มิใช่ว่าจะห้ามเสียว่า ไม่ให้กิน ไม่ให้นุ่งห่ม ไม่ให้อาศัยในสถานที่ ไม่ให้กินหยูก
    กินยา เช่นนั้นก็หามิได้ คือ ให้ละความโลเลในปัจจัยเท่านั้น คือว่า เมื่อได้อย่างดีอย่างประณีต ก็ให้บริโภคอย่างดีอย่าง
    ประณีต ได้อย่างเลวทรามต่ำช้า ก็ให้บริโภคอย่างเลวทรามต่ำช้า ตามมีตามได้ ไม่ให้ใจขุ่นมัวด้วยความโลภ ความโกรธ
    ความหลง อย่างนี้แล ชื่อว่าปล่อยวางใจเสียได้ ถ้ายังเลือกปัจจัยอยู่ คือ ปล่อยให้ความโลภ ความโกรธ ความหลงเข้าครอบงำ
    เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ชื่อว่ายังถือจิตใจอยู่ ยังไม่ถึงพระนิพพานได้เลย ถ้าละความโลภ โกรธ หลง ใน
    ปัจจัยนั้นได้แล้ว จึงชื่อว่าทำตัวให้เป็นเหมือนแผ่นดิน เป็นอันถึงพระนิพพานได้โดยแท้ มีคำสอดเข้ามาในนี้ว่าเหตุไฉนจึงมิให้
    ถือใจเมื่อไม่ให้ถือเช่นนั้น จะให้เอาใจไปไว้ที่ไหน เพราะไม่ใช่ใจของคนอื่น เป็นใจของตัวแท้ๆ ที่จะเป็นอยู่ได้ทุกวันนี้ ก็เพราะมีใจนี้
    เอง ถ้าไม่มีใจนี้แล้วก็ตายเท่านั้น จะให้วางใจเสียแล้ว จะรู้จะเห็นอะไร
    ?

    จิตใจไม่ใช่ของเรา ถ้าถึงพระนิพพานแล้ว ต้องวางจิตใจคืนไว้ให้แก่โลกตามเดิม
    มีคำวิสัชนาไว้ว่า ผู้ที่เข้าใจว่า ใจนั้นเป็นของๆ ตัวจริง ผู้นั้นก็เป็นคนหลง ความจริงไม่ใช่จิตของเราแท้ ถ้าหากเป็นจิตใจ
    ของเราแท้ก็คงบังคับได้ตามประสงค์ว่า อย่าให้แก่ อย่าให้ตาย ก็คงจะได้สักอย่าง เพราะเป็นของตัว อันที่แท้จิตใจนั้นหากเป็นลมอัน
    เกิดอยู่สำหรับโลก ไม่ใช่จิตใจของเรา โลกเขาตั้งแต่งไว้ก่อนเรา เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับลม จิตใจ ณ กาลภายหลัง ถ้าหากว่า เป็น
    จิตใจของเรา เราพาเอามาเกิด ครั้น เกิดขึ้นแล้วจิตใจนั้นก็หมดไป ใครจะเกิดขึ้นมาได้อีก นี่ไม่ใช่จิตใจของใครสักคน เป็นของมีอยู่
    สำหรับโลก ผู้ใดจะเกิดก็ถือเอาลมนั้นเกิดขึ้น ครั้นได้แล้ว ก็เป็นจิตของตน ที่จริงเป็นของสำหรับโลกทั้งสิ้น ที่ว่าจิตใจของตนนั้นก็
    เพียงให้รู้ซึ่งการบุญ การกุศล การบาป การอกุศล และเพียงให้รู้ทุกข์ สุข สวรรค์ แลพระนิพพาน ถือไว้ให้ถึงที่สุดเพียง
    พระนิพพานเท่านั้น ถ้าถึงพระนิพพานแล้ว ต้องวางจิตใจคืนไว้แก่โลกตามเดิมเสียก่อน ถ้าวางไม่ได้ เป็นโทษ ไม่อาจถึง
    พระนิพพานได้ มีคำแก้ไว้อย่างนี้

     
  20. ไม้ขีด

    ไม้ขีด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,421
    ค่าพลัง:
    +3,023
    ตทนนฺตรํ
    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายที่หลงขึ้นไปบังเกิดใน
    อรูปพรหมอันปราศจากความรู้นั้น ก็ล้วนแต่บุคคลผู้ปรารถนาพระนิพพาน แต่ไม่รู้จักวางใจให้สิ้นให้หมดทุกข์นั้นเอง
    ไม่
    รู้จักวางจิตวิญญาณอันตนเข้ามาอาศัยอยู่ด้วยกับลมของโลก ทำความเข้าใจว่าเป็นจิตของตัว แลเข้าใจว่าพระนิพพานมีอยู่ในเบื้อง
    บนนั้น ตัวก็นึกเข้าใจเอาจิตของตัวขึ้นไปเป็นสุขอยู่ในที่นั้น ครั้นตายแล้ว ก็เลยพาเอาตัวขึ้นไปอยู่ในที่อันไม่มีรูป ตามที่จิตตนนึกไว้
    นั้น
    ดูกรอานนท์
    ผู้ที่หลงขึ้นไปอยู่ในรูปพรหมแล้ว แลจักได้ถึงโลกุตรนิพพานนั้นช้านานยิ่งนักเพราะว่าอายุของอรูป
    พรหมนั้นยืนนัก
    จะนับว่าเท่านั้นเท่านี้มิอาจนับได้ จึงชื่อว่านิพพานโลกีย์ต่างกัน แต่มิได้ดับวิญญาณเท่านั้น ถ้าหากดับวิญญาณ
    ก็เป็นพระนิพพานโลกุตรได้
    ส่วนความสุขความสำราญในพระนิพพานทั้ง ๒ นั้น ก็ประเสริฐเลิศโลกเสมอกันไม่ต่างกัน แต่
    นิพพานโลกีย์เป็นนิพพานที่ไม่สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อสิ้นอำนาจของฌาณแล้ว ยังต้องมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ร้ายแลดี คุณแล
    โทษสุขแลทุกข์ ยังมีอยู่เต็มที่
    เพราะเหตุนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะปรารถนานิพพานพรหมไม่มีเลย ย่อมมุ่งต่อโลกุตรนิพพานด้วยกัน
    ทั้งนั้น
    แต่ไม่รู้จักปล่อยวาง วิญญาณจึงหลงไปเกิดเป็นอรูปพรหม ส่วนโลกุตรนิพพานนั้นปราศจากวิญญาณ วิญญาณยังมีที่ใด
    ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็มีอยู่ในที่นั้น โลกุตตรนิพพานปราศจากวิญญาณ จึงไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย มีแต่ความสุข
    สบายปราศจากอามิส หาความสุขอันใดจะมาเปรียบด้วยพระนิพพานไม่มี ขึ้นชื่อว่า ความเกิด ความตาย ความร้าย ความดี บาป
    บุญ คุณ โทษ สุข ทุกข์ ความทุกข์ยาก ลำบาก เข็ญใจ ทุกข์ โศก โรค ภัย ไข้ เจ็บ สิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่มีในพระนิพพานเลย
    พระพุทธเจ้าตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้แล

    ตทนนฺตรํ
    ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ปรารถนาพระนิพพานแต่ยัง
    ปล่อยวางใจไม่ได้ ยังอาลัยถึงความสุขอยู่ คิดว่าพระนิพพานอยู่ที่นั้นที่นี้ จะเอาจิตแห่งตนไปเป็นสุขในที่แห่งนั้น ครั้นจักปล่อย
    วางใจเสียก็กลัวว่าจะไม่มีอันใดนำไปให้เป็นสุข ถือใจอาลัยสุข เหตุนั้นจึงมิได้พ้นพระนิพพานพรหม ดูกรอานนท์ เราตถาคตแสดง
    ว่าให้ปลงใจ ให้วางใจนั้น เราชี้ข้อสำคัญเอาที่สุดมาแสดงเพื่อให้รู้ให้เข้าใจได้ง่าย
    การวางใจ ปลงใจนั้นคือ วางสุข วางทุกข์ วาง
    บาป บุญ คุณ โทษ วางโลภ โกรธ หลง วางลาภยศ นินทา สรรเสริญ ทั้งหมดทั้งสิ้นเหมือนดังไม่มีหัวใจ จึงชื่อว่าทำให้
    เหมือนแผ่นดิน ถ้ายังทำไม่ได้ อย่าหวังว่าจักได้โลกุตรนิพพานเลย
    ถ้าทำตัวให้เหมือนแผ่นดินได้ในกาลใด พึงหวังเถิดซึ่งโล
    กุตรนิพพาน คงได้คงถึงในกาลนั้น โดยไม่ต้องสงสัย พระนิพพานเป็นของได้ด้วยยากยิ่งนัก แสนคนจะได้แต่ละคนก็ทั้งยาก

    ผู้ปฏิบัติอริยมรรคให้เต็มที่ จึงจะวางใจให้เหมือนแผ่นดินได้
    ดูกรอานนท์ ผู้มิได้กระทำอริยมรรคปฏิปทาให้เต็มที่ ยังเป็นปุถุชนหนาไปด้วยกิเลส หาปัญญามิได้ แลจักวางใจทำตัวให้
    เป็นเหมือนแผ่นดินนั้นไม่อาจทำได้เลย เหตุที่เขาวางใจไม่ได้ ก็เพราะเขายังถือตัว ถือใจอยู่ว่าเป็นของๆ ตัวแท้ จึงต้องทรมานทน
    ทุกข์อยู่ในโลก เวียนว่ายตายเกิดแล้วๆ เล่าๆ ไม่มีสิ้นสุด ดูกรอานนท์
    ผู้ที่วางใจทำตัวให้เป็นเหมือนแผ่นดินได้นั้น มีแต่บุคคล
    ผู้เป็นนักปราชญ์ และเป็นสัตบุรุษจำพวกเดียวเท่านั้น เพราะท่านไม่ถือตนถือตัว ท่านวางใจเป็นเป็นเหมือนแผ่นดินได้
    ท่านจึงถึงพระนิพพาน
    ส่วนผู้ที่ถือตัวถือใจปล่อยวางมิได้นั้น ล้วนแต่เป็นคนโง่เขลาสิ้นเท่านั้น บุคคลที่เป็นสัตบุรุษ ท่านเห็นแจ้ง
    ชัดซึ่งอนัตตา ท่านถือใจของท่านไว้ ก็เพียงแต่ให้รู้บาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ แลไม่ใช่ประโยชน์ รู้ศีล ทาน การกุศล แลอกุศล รู้
    ทางสุข ทางทุกข์ ในมนุษย์ และสวรรค์ และพระนิพพานเท่านั้น ครั้นถึงที่สุด ท่านก็ปล่อยวางเสียตามสภาวะแห่งอนัตตา
    ส่วนคน
    โง่เขลานั้นถือตนถือตัว ถือว่าร่างกายเป็นอัตตาตัวตน จึงปล่อยวางมิได้

    ดูกรอานนท์ อันว่า
    บุคคลที่ถือใจนั้น ย่อมเป็นคนมักโลภ มักโกรธ มักหลง บุคคลจำพวกใดที่ตกอยู่ในอำนาจแห่ง
    ความโลภ ความโกรธ ความหลงนั้น จะเป็นนักบวชก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม ก็หาความสุขมิได้ เบื้องหน้าแต่ตายไป ก็หา
    ความสุขในมนุษย์แลสวรรค์มิได้เลย
    ย่อมมีอบายเป็นที่ไป ณ เบื้องหน้าโดยแท้ ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลาย ผู้ปรารถนาเข้าสู่
    พระนิพพาน จงวางเสียซึ่งใจ อย่าอาลัยความสุข การวางใจก็คือการวางสุข วางทุกข์ แลบาป บุญ คุณ โทษ ร้าย ดี ซึ่งเป็นของ
    สำหรับโลกนี้เสียให้สิ้น สิ่งเหล่านี้สร้างไว้สำหรับโลกนี้เท่านั้น เมื่อต้องการพระนิพพานแล้ว ต้องปล่อยวางไว้ในโลกนี้สิ้นทั้งนั้น จึงจะ
    ได้ความสุขในพระนิพพานแล้ว ต้องปล่อยวางไว้ในโลกนี้สิ้นทั้งนั้น จึงจะได้ความสุขในพระนิพพาน ซึ่งเป็นความสุขอย่างยิ่ง เป็น

    ความสุขอันหาส่วนเปรียบมิได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...