<CENTER>วิธีการเอาชนะความหวาน</CENTER>
รศ.ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่
คณบดีคณะการแพทย์แผนตะวันออก
มหาวิทยาลัยรังสิต
คน ไทยชอบรสหวานโดยเฉพาะหวานแบบน้ำตาล ความชอบแบบนี้ไม่จำกัดแต่คนไทยเท่านั้น แต่เป็นความชอบของคนทั้งโลก โดยเฉพาะกับคนอเมริกันที่เผชิญกับปัญหาที่บริโภคน้ำตาลมากเกินไป กลายเป็นอาการของคนติดหวานซึ่งเป็นศัพท์คำใหม่คือ ซูการ์โฮลิค (sugarholic) เพิ่มมาอีกคำหนึ่ง นอกเหนือจากศัพท์ที่ฮิตอยู่ก่อนหน้านี้คือ คนติดบุหรี่ (smoker) หรือสิงอมควัน และคนติดแอลกอฮอล์ (alcoholic)
คน ติดหวานมักจะมีปัญหาสุขภาพตามมามากมายไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ทั้งนี้เฉพาะน้ำตาลที่บริโภคเข้าไปในรูปแบบต่างๆ เช่น เครื่องดื่ม อาหาร ของขบเคี้ยว ฯลฯ จะทำให้พลังงานหรือแคลอรีมากเกินไป จะก่อให้เกิดปัญหาหลักตามมาคือ ความอ้วนหรือน้ำหนักมากเกินไป และยังมีโรคต่างๆเกิดขึ้นตามมามากมาย เช่น เบาหวาน หัวใจ ความดัน สิว ประจำเดือนไม่ปกติ ต้อกระจก โรคประสาท มะเร็ง กระดูกพรุน ซึมเศร้า ติดเชื้อง่ายและอ่อนเปลี้ยเพลียแรง บางคนเรียกน้ำตาลว่า เป็นนักฆ่าที่เยือกเย็น เพราะการบริโภคมากเกินไปจะทำให้ความอยากในการรับประทานอาหารลดลงจากปกติ ก่อให้เกิดการพร่องสารอาหารอื่นแทนที่จะได้รับอย่างเพียงพอทั่วถึง และมีปัญหาทุโภชนาการในที่สุด
เป็นที่ทราบกันแล้วว่ากระบวนการปรุง อาหารโดยเฉพาะเมื่อผ่านความร้อน เช่น การหุงต้ม และกระบวนการอื่นๆ อาจจะทำลายสารอาหาร เช่น โปรตีน ไวตามิน เกลือแร่โดยเฉพาะพวก สังกะสี โครเมียม แม็กนีเซียม แคลเซียม และบางครั้งก็กำจัดไยอาหารออกไป ไม่ใช่แค่กระบวนการเท่านั้นที่ทำให้พร่องสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ในการรับประทานน้ำตาลมากเกินไปจะทำให้ร่างกายต้องเผาผลาญน้ำตาลทิ้งโดยต้อง ใช้สารอาหารต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นโดยดึงมาจากกล้ามเนื้ออันเป็นเหตุให้ กล้ามเนื้อขาดสารอาหาร ดังนั้นในกระบวนการเผาผลาญเป็นสาเหตุให้เกิดการพร่องสารอาหารได้ในที่สุด
อาหาร พวกคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง ถ้าเรานำไปปรุงอาหารหรือผ่านกระบวนการต่างๆจะเป็นการช่วยย่อยอาหารให้เล็กลง ซึ่งบางครั้งก็จะทำลายสารอาหารอื่นที่ปนอยู่ด้วย เช่น โปรตีน ไวตามิน และเกลือแร่ นอกจากนี้แป้งที่ถูกย่อยจนเล็กลงจะก่อให้เกิดเป็นน้ำตาลได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเมื่อรับประทานเข้าไปก็ได้น้ำตาลมากเกินไปทำให้ไม่อยากรับประทาน อาหารชนิดอื่นและก่อให้เกิดการพร่องสารอาหารอื่นโดยปริยาย
ทำไมเราจึงชอบรับประทานน้ำตาลกันจัง ?
สาเหตุ ที่เราชอบรับประทานน้ำตาลเพราะร่างกายจำเป็นต้องใช้น้ำตาลหรือสารอาหารกลุ่ม คาร์โบไฮเดรตเพื่อเป็นแหล่งพลังงาน โดยเฉพาะส่วนของสมองที่ต้องใช้พลังงานมาก ในขณะที่ลิ้นของคนจะชอบรับรสหวาน
ใน สมัยโบราณคนเราจำเป็นต้องรับประทานคาร์โบไฮเดรตมาก เนื่องจากมีการใช้พลังงานมากโดยเฉพาะพลังกาย แต่ในปัจจุบันพฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป มีการใช้พลังงานลดลง แต่พฤติกรรมการรับประทานยังคงเหมือนเดิม แถมชอบรับประทานหวานเป็นพิเศษ หรือมีโอกาสรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยแล้วมากขึ้นซึ่งมีส่วนประกอบเป็น น้ำตาลในปริมาณมาก ทำให้พลังงานที่ได้รับเข้ามาจากน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งแตกต่างจากโบราณที่มักบริโภคชนิดที่ไม่ปรุงแต่งหรือย่อยแล้วมากเกินไป ทำให้มีโอกาสได้น้ำตาลในปริมาณน้อยกว่า
คาร์โบไฮเดรตคืออะไร ?
คาร์โบ ไฮเดรตคือสารอาหารที่มีองค์ประกอบเป็นโซ่ของธาตุคาร์บอน ถ้านำมาปรุงหรือผ่านกระบวนการย่อยต่างๆ จะทำให้โซ่ของธาตุคาร์บอนขาดออกจากกันทำให้โซ่สั้นลง และจะมีรสหวาน ยกตัวอย่างน้ำตาลทรายที่เรามักใช้ประกอบอาหารและเครื่องดื่ม จะประกอบด้วยโมเลกุลที่มีธาตุคาร์บอนอยู่ 2 อะตอม คือ น้ำตาลฟรุ้คโตสและน้ำตาลกลูโคส เป็นต้น โดยปกติแล้ว การบริโภคคาร์โบไฮเดรตในสมัยก่อนมักจะไม่มีการปรุงหรือย่อยมากมายหลายขั้น ตอน ซึ่งจะช่วยปลดปล่อยน้ำตาลออกมาช้าๆเพื่อเข้าสู่กระแสเลือดนับเป็นการชะลอให้ ช้าลง ในขณะที่ไม่ทำลายสารอาหารอื่นด้วย เช่น โปรตีน และสารอาหารอื่นๆที่มีคุณค่าต่อร่างกาย แต่ในปัจจุบันมีการย่อยคาร์โบไฮเดรตก่อนรับประทานคือผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การบด การใช้ปฏิกิริยาเคมี อันเป็นสาเหตุให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดเกิดขึ้นและเกิดอย่างรวด เร็วอย่างรวดเร็วทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ในขณะที่กระบวนการย่อยเหล่านี้จะไปทำลายสารอาหารอื่น เช่น โปรตีน เยื่อไยและสารอาหารอื่นๆด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการปรับสมดุลของน้ำตาลในเลือดจำเป็นต้องมีการลดระดับน้ำตาล ลงโดยเซลต่างๆ จะต้องเอาน้ำตาลไปเผาผลาญเพื่อให้เกิดพลังงาน นอกจากนี้ปัญหาจากการที่ระดับน้ำตาลมากเกินไป นอกจากจะทำให้ระบบฮอร์โมนเสียสมดุลแล้ว ยังเป็นกลไกสำคัญในการกระตุ้นสร้างสารพิษขึ้นในร่างกายด้วย
โรคต่างๆที่เกิดจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป
ผล จากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปโดยเฉพาะการรับประทานอาหารพวกแป้งหรือกลุ่ม คาร์โบไฮเดรตเกินความจำเป็นจะเป็นสาเหตุก่อโรคที่เป็นกันมาก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเริ่มจากอ้วนหรือน้ำหนักเกิน ตามมาด้วยความดันโลหิตสูงและระดับโคเลสเตอรอลสูง ในที่สุดก็จะมีความเสี่ยงของโรคหัวใจล้มเหลวและโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับกลุ่มที่ 2 เริ่มจากอ้วนหรือน้ำหนักเกิน ตามด้วยระดับน้ำตาลคือกลูโคสในเลือดสูงและในที่สุดก็เกิดโรคเบาหวานตามมา
,,วิธีการเอาชนะความหวาน,,
ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย ทิกเกอร์_ทิกเกอร์, 30 สิงหาคม 2009.
-
-
1.ทุโภชนาการ
ในภาวะปัจจุบัน มีคนกลุ่มหนึ่งที่รับประทานมากเกินไปแต่อยู่ในสภาพขาดสารอาหารคือ “ทุโภชนาการ” คนเหล่านี้จะไม่ปรับสมดุลของสารอาหาร กล่าวคือไปเน้นการบริโภคแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปและมักขาดสารอาหารใน กลุ่มไวตามินบี ธาตุโครเมียม สังกะสี แม็กนีเซียมและแคลเซียม ด้วยเหตุนี้จึงเกิดธุรกิจการขายผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น แป้ง แล้วมีการเติมเพิ่มสารอาหารต่างๆให้เพียงพอที่จะป้องกันการเกิดโรคขาดสาร อาหารชนิดอื่นๆที่ไม่มีองค์ประกอบอยู่ในแป้ง วิธีการเติมเพิ่มเช่นนี้ เรียกว่า การฟอร์ติฟาย (fortified) สำหรับอีกกระบวนการหนึ่งมีการเติมสารอาหารในอาหารนั้นๆ การเติมลงไปเพื่อทดแทนส่วนที่พร่องไป เรียกกระบวนการเช่นนี้ว่า เอ็นริชเม้นท์ (enrichment)
2.โรคอ้วนและน้ำหนักเกิน
ความ อ้วนและน้ำหนักเกินเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีพลังงานมากเกินไป และจะก่อให้เกิดโรคยอดฮิตที่เสียชีวิตกันมาก 5 ใน 10 โรค คือ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก เบาหวาน โรคเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร และมะเร็ง
3.โรคหัวใจและหลอดเลือด
อาการ ต่างๆที่เกิดขึ้นคือ ความดันโลหิตสูง การแข็งตัวของเลือดซึ่งก่อให้เกิดการอุดตันหลอดเลือดได้ง่าย การอักเสบภายใน หัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดสมอง
4.เบาหวาน
โรค เบาหวานที่เป็นกันมาก โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป คือชนิดที่ 2 ซึ่งพบว่าคนอเมริกันเป็นถึง 16 ล้านคน และในภาพรวมของโลกคาดว่าในอีก 25 ปีข้างหน้า จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเนื่องจากโรคนี้ จาก 16 ล้านคนในปีปัจจุบันเป็น 50 ล้านคนต่อปี และจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคมหาศาล ทั้งๆที่โรคชนิดนี้สามารถป้องกันได้โดยการเลือกอาหารที่ถูกต้อง และควบคุมปริมาณแป้งหรือกลุ่มคาร์โบไฮเดรตไม่ให้มากเกินไป
5.ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือไฮโปไกลซีเมีย (hypoglycemia)
การ ที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่าปกติเป็นระยะๆในผู้ป่วยเบาหวานจะรบกวนการ ทำงานของฮอร์อินซูลิน กลูคากอน คอร์ติซอล และฮอร์โมนที่เร่งการเจริญเติบโต ผลอันนี้เป็นสาเหตุของการอยากรับประทานน้ำตาลมากขึ้น
6.โรคอักเสบต่างๆ
การ บริโภคน้ำตาลมากเกินไปจะทำให้โรคที่เกิดจากการอักเสบมีอาการหนักมากขึ้น เช่น ไขข้ออักเสบ หอบหืด การระคายเคืองในช่องท้องและโรคหัวใจ
7.โรคที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร
ผล จากการเกิดการอักเสบในร่างกายและจากการที่เชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดีบางชนิดก่อ ให้เกิดการหมักของน้ำตาลในระบบการย่อยอาหาร เป็นสาเหตุก่อให้เกิดนิ่ว แผลในกระเพาะ ท้องผูก ลำไส้โป่งอักเสบ เชื้อยีสระบาด และอาการปวดท้องชนิดปวดๆหายๆ ซึ่งบางทีเรียกว่า โรคประสาทเครียดของกระเพาะหรือลำไส้
8.ระบบภูมิคุ้มกันลดลง
ระดับ น้ำตาลในร่างกายที่มากเกินไปจะไปกดการสร้างเม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และพบว่าดับน้ำตาลที่สูงจะทำให้การอักเสบซ้ำของหูและทางเดินปัสสาวะได้ง่าย
9.มะเร็ง
น้ำตาล และคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยแล้ว จะเร่งการเจริญเติบโตของเซลโดยการเพิ่มระดับของฮอร์โมนอินซูลิน ดังนั้นคนอ้วนและผู้ป่วยเบาหวานจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูงกว่าคน ปกติ
10.สิว
น้ำตาลจะขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเอสโต รเจน และเทสโทสเทอร์โลน และยังทำให้เชื้อแบคทีเรียที่ผิวเจริญเติบโตได้ดี ก่อให้เกิดความสกปรก และเป็นสิวได้ง่าย
11.อาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือนหรือพีเอ็มเอส (premenstrual syndrome, PMS)
น้ำตาล จะกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนอินซูลินและเอสโตรเจนมากขึ้น ผลตามมาคือการมีอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือนสองสามวัน เช่น ปวดเกร็งของมดลูกหรือปวดท้องเม็นส์ อารมณ์หงุดหงิด ขี้โมโห นอกจากนี้น้ำตาลยังรบกวนต่อกระบวนการกำจัดฮอร์โมนส่วนเกินเหล่านี้ด้วย
12.สุขภาพจิตเสื่อม
เป็น ที่ทราบกันแล้วว่า สมองไวต่อน้ำตาล ถ้าน้ำตาลมากไปอาจก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าอารมณ์แปรปรวน สมาธิไม่ดี อาจก่อให้เกิดการติดแอลกอฮอล์หรือเหล้า และยาเสพย์ติด ดังนั้นต้องคำนึงอยู่เสมอว่าสมองต้องการสารอาหารที่สม่ำเสมอถึงจะไม่ผิดปกติ -
หลักการเอาชนะความหวาน
ควรจะใช้เวลา 3-12 เดือน เพื่อเอาชนะความอยากรับประทานหวานเป็นประจำ โดยใช้วิธีปรับพฤติกรรมทางด้นบวก แทนที่จะปฏิเสธหรือหยุดรับประทานน้ำตาลทันที โดยการปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. รับประทานอาหารให้สม่ำเสมอทุกมื้อ
ก. ควรรับประทานอาหารตามมื้อ ทุก 3-4 ชั่วโมง แต่ละมื้อควรให้มีสัดส่วนของพลังงานจากสารอาหาร คาร์โบไฮเดรต/โปรตีน/ไขมัน เป็นอัตราส่วน 40/30/30
ข. ควรรับประทานอาหารชนิดไม่แปรรูปหรือผ่านกระบวนการปรุงอาหารมากเกินไป เช่น ผัก ผลไม้ ธัญญพืช และเนื้อหรือโปรตีน
ค. ไม่ควรอดอาหาร
ง. ควรรับประทานอาหารไม่มากเกินไปในแต่ละมื้อ
จ. ควรเน้นการรับประทานอาหารเช้าให้ได้สารอาหารและจัดให้เป็นมื้อหนักที่สุดในขณะที่มื้อเย็นควรเบาสุด
ฉ. ของขบเคี้ยวควรเน้นชนิดมีโปรตีนสูง
การ ที่เรารับประทานอาหารสม่ำเสมอจะไม่ก่อให้เกิดน้ำหนักเกินหรืออ้วนได้เลย ยังถือได้ว่าเป็นการเพิ่มกระบวนการเผาผลาญอาหาร ก่อให้เกิดพลังงาน และเป็นการลดความไม่สม่ำเสมอของระดับน้ำตาลในเลือดซึ่งจะส่งผลให้ลดความอยาก รับประทานหวาน บางครั้งที่เราอดอาหารจะเป็นสาเหตุให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอันจะส่งผลให้ การอยากรับประทานหวานเพื่อทดแทน
2.รับประทานอาหารพวกโปรตีนทุกมื้อ
การ รับประทานอาหารโปรตีนสม่ำเสมอจะทำให้ระดับน้ำตาลสม่ำเสมอคงที่ โดยรับประทานโปรตีน 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อมื้อ และหลังจากนั้น 1 เดือนอาจลดปริมาณลงมาเป็น 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โปรตีนจะช่วยสร้างเสริมกล้ามเนื้อของร่างกาย
3.รับประทานอาหารไขมันทุกมื้อ
ควร รับประทานไขมันที่ดี โดยเฉพาะไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น ในเมล็ดธัญญพืช น้ำมันรำ น้ำมันงา น้ำมันมะกอก ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง
4.หลีกเลี่ยงอาหารหวาน และพวกแป้งที่ย่อยแล้ว
เนื่อง จากความหวานจากน้ำตาลหรือแป้งที่ย่อยแล้ว จะทำให้เราออกรับประทานอาหารชนิดอื่นลดลง ดังนั้นการที่เรารับประทานที่สม่ำเสมอจะทำให้ความอยากหวานหรือน้ำตาลลดลง อาหารพวกแป้งถ้าไม่จำเป็นอย่าไปผ่านกระบวนการย่อยด้วยวิธีต่างๆ เช่น การบดละเอียด เป็นต้น และที่สำคัญต้องเตือนใจตัวเองเสมอเมื่อคิดจะรับประทานหวาน ถ้าจำเป็นที่จะต้องรับประทานหวาน ควรรับประทานร่วมกับโปรตีนและไขมัน เพื่อลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด และพยายามหาสารที่ให้รสหวานที่ดีกว่าน้ำตาล เช่น ผลไม้ หรืออาหารอื่นๆที่ใส่น้ำตาลน้อย
5.เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง
เพื่อ จะเลี่ยงอาหารพวกแป้งที่ย่อยแล้ว เพราะจะปล่อยน้ำตาลมาเร็วเกินไป ควรเป็นอาหารที่มีกากใยเพราะจะลดการปลดปล่อยน้ำตาลออกมา และที่สำคัญอาหารเหล่านี้จะให้สารอาหารที่ครบถ้วน
6.ควรจะเสริมสารอาหาร
เนื่อง จากน้ำตาลเป็นสาเหตุทำให้ขาดสารอาหาร ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเสริมอาหารต่อร่างกาย เช่น ไวตามินบีโครเมียม สังกะสี โปแตสเซียม และกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว คือ โอเมก้า 3 ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบในร่างกาย
7.ปรับพฤติกรรมการรับประทานที่โต๊ะอาหาร
ควรเคี้ยวช้าๆในแต่ละคำ เป็นการลดการปลดปล่อยน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดให้ช้าลง
8.การออกกำลังกาย
การ ออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ จะทำให้ผอมลง ดูอ่อนกว่าวัยและอายุยืนยาว จิตใจแจ่มใสไร้กังวล และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในภาวะปกติสม่ำเสมอ การออกกำลังกายจะทำให้การทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน เพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับว่าจะช่วยปรับระดับน้ำตาลที่สูงให้ลงมาปกติได้ เพราะฮอร์โมนนี้จะเป็นตัวนำเอาน้ำตาลไปใช้ในเซลของร่างกายได้ดีขึ้น พบว่าการออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และช่วยนำเอาน้ำตาลไปใช้เพื่อก่อให้เกิดพลังงานโดยไม่จำเป็นต้องอาศัย ฮอร์โมนอินซูลิน
9.การแก้ปัญหาเรื่องอาการอ่อนเพลีย
การ อยากรับประทานน้ำตาลบางครั้งเกิดจากที่ร่างกายอ่อนล้าหรือทรุดโทรมก็ได้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่มาจากสาเหตุดังข้อที่กล่าวมาข้างต้นก็ได้ ดังนั้นควรแก้ให้ถูกจุดก็จะดี
10.ปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ
ต้อง เข้าใจว่าปัจจุบันเราอยู่ท่ามกลางธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม มีผลิตภัณฑ์กลุ่มหนึ่งที่มีการเติมน้ำตาลมากเกินไป โดยเฉพาะกับคนไทยและเด็กไทยในทุกวันนี้ กำลังถูกโปรโมตให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก และมีการบริโภคอย่างสม่ำเสมอเสียด้วย โดยที่ไม่คำนึงถึงคุณค่าที่แท้จริงที่ควรจะเป็น ปัญหาที่เกิดตามมาชัดมากคือโรคอ้วน และโรคเบาหวาน ดังนั้นเราต้องเข้าใจปัจจัยคุกคามเหล่านี้ และหาทางปรับความสมดุลของร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณให้ดี จะได้ลดภัยคุกคามเหล่านี้ให้น้อยลง บางครั้งคนข้างเคียงหรือเพื่อนๆก็คงต้องช่วยกันเตือนเกี่ยวกับการรับประทาน น้ำตาลมากเกินไปได้
ถ้าเราสามารถปรับพฤติกรรม และปรับความสมดุลของชีวิตให้เหมาะสมโดยเฉพาะตามวิถีแห่งการแพทย์แผนตะวันออก แล้ว เราจะดูแลและป้องกันตัวเองได้โดยไม่เกิดโรคภัยต่างๆอันเป็นผลเนื่องมาจากการ รับประทานน้ำตาลมากเกินไป ทุกคนคงอยากให้น้ำหลักลดลง รับประทานน้ำตาลลดลง สิวลดลง กระปรี้กระเปร่ามีชีวิตชีวา มีพลังมากขึ้น และสามารถควบคุมตัวเองได้ และที่สำคัญคือลดความเสี่ยงการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆได้มากมาย ทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น วิถีการกินอยู่แบบไทยแบบดั้งเดิมนั้นดีอยู่แล้ว เพียงแต่ปรับให้เข้ากับยุคสมัย แล้วเราจะชนะใจตนเองและชนะความหวานในที่สุด
..............................................................................................
Click ดูที่มา