วิธีดูพระวัดพลับ กรุกระรอกเผือก พิมพ์พุงป่องใหญ่ สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Chailai65, 30 เมษายน 2018.

  1. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    69
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่ พระองค์นี้จัดอยู่ในสภาพสวยมากเนื่องจากพิมพ์มีความชัดลึก และมีเนื้อพระค่อนข้างเยอะทำให้มีปีกรอบองค์พระทั้งด้านข้าง ด้านบนและด้านล่างองค์พระ และหลังอูมมาก น่าจะเกิดจากปั้นเนื้อพระเป็นก้อนกลมรีใหญ่กดลงบนแม่พิมพ์และกดด้วยแรงค่อนข้างเยอะจนปรากฏรอยนิ้วมือด้านข้าง ทำให้พิมพ์ติดชัดเจน และด้วยเวลานานเกือบสองร้อยปีพระจึงมีการหดตัวของปูนเปลือกหอยทำให้ด้านข้างพิมพ์พระเป็นสันลึก ผิวด้านนอกมีความหนึกแกร่งเนื่องจากมีคราบกรุน้ำปูนที่เกิดจากความร้อนในกรุคลุมองค์พระออกสีเหลืองอ่อนที่เรียกว่าฟองเต้าหู้ คล้ายคราบกรุของพระสมเด็จบางขุนพรหม มีเม็ดผดคราบกรุคล้ายหนังปลากระเบน และทับซ้อนขึ้นมาเป็นชั้นๆเป็นเม็ดใสกว่าเนื้อองค์พระ ส่วนเนื้อพระด้านในมีวรรณสีขาวคล้ายกับสมเด็จวัดระฆัง มีเม็ดมวลสารผงพุทธคุณสีขาว มีเม็ดผงก้านธูปสีดำ มีเม็ดแดง และมวลสารอื่นๆให้เห็นด้วยตาเปล่า

    เอกลักษณ์ของพิมพ์พุงป่องใหญ่ มีเศียรคล้ายผลมะตูม มีหูบายศรีขนาดใหญ่ทั้งสองข้าง หากพิมพ์ติดชัดๆจะมีพระเกศคล้ายหมวกแยกจากพระเศียร มีเส้นลำคอลึกเชื่อมระหว่างพระเศียรและลำตัวซึ่งจะช่วงท้องสูงเด่นคล้ายมีพุงป่อง และช่วงแขนจะแบ่งเป็น5ท่อน เส้นขีดระหว่างแข้งจะต้องมีความชัดลึกเช่นกัน

    temp_hash-78b9ac9207a86f9a5aa6a2c78d5d1fca-jpg.jpg

    temp_hash-43a968d397ff016fef9a1772e5e0013b-jpg.jpg

    lrm_export_20180824_213703-jpg.jpg

    สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระมีความคมชัดเนื่องจากมีการใช้มวลสารขนาดใหญ่กว่าพิมพ์ปั้นเป็นก้อน และใช้แรงกดค่อนข้างเยอะทำให้เห็นรอยนิ้วมือผู้กดแม่พิมพ์ด้านข้างด้านหลังองค์พระจนอูมนูนสูงขึ้นมา ส่วนอีกสาเหตุคือปัจจุบันพระวัดพลับมีอายุการสร้างเกือบ200ปี ทำให้เนื้อปูนมีการหดตัวแห้ง สันองค์พระจึงเป็นแนวตั้งฉากกับผนัง

    lrm_export_20180824_213632-jpg.jpg

    ใต้คราบกรุบางๆจะเห็นมวลสารที่ผสมในองค์พระเหมือนกับสมเด็จวัดระฆัง รอยนิ้วมือปรากฏชัดเนื่องจากผู้กดพิมพ์คงต้องการให้พระมีพิมพ์คมชัดให้มากที่สุด

    lrm_export_20180824_213619-jpg.jpg

    ด้านหลังเห็นตะไคร่เสมาสีดำที่นำมาผสมในองค์พระด้วย

    lrm_export_20180824_213643-jpg.jpg

    หากผมมีเวลาจะถ่ายภาพเพื่อขยายให้ดูมวลสารต่างๆชัดๆ วันนี้แค่เอามาให้ดูคร่าวๆกันก่อนครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2018
  2. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    69
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ประวัติและวิธีการดู พระวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) บางกอกน้อย กรุงเทพฯ โดย ราม วัชรประดิษฐ์

    budd2636.jpg

    ถ้าจะพูดถึงพระเครื่องเก่าแก่ในแถบกรุงเทพฯ-ธนบุรีแล้ว ชื่อ "พระวัดพลับ" ต้องติดในโผต้นๆ เพราะเป็นพระที่มีอายุความเก่ามากกว่า 200 ปี มากกว่า "พระสมเด็จวัดระฆังฯ" พระดังระดับประเทศ ที่อยู่ฝั่งธนบุรีเช่นกันอีกด้วย

    ด้วยเนื้อหามวลสารแล้ว สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างโดย ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เจ้าตำรับพระผง พระอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

    วัดพลับ หรือชื่อเป็นทางการว่า "วัดราชสิทธาราม" เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ (ฝั่งธนบุรี) นับเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระบูชา เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดพระเนื้อผงที่เรียกได้ว่าเป็นยอดนิยม เรียกขานกันในนาม "พระวัดพลับ"

    มีเรื่องราวเล่าขานต่อๆ กันมา ถึงต้นสายปลายเหตุของการค้นพบว่า ...

    กาลครั้งหนึ่ง ได้มีกระรอกเผือกตัวหนึ่งมาวิ่งเล่นอยู่ที่บริเวณลานวัดพลับ ด้วยความสวยงามของมัน เป็นที่สะดุดตาของพระสงฆ์ สามเณร และชาวบ้านในบริเวณนั้นอย่างมาก จึงช่วยกันไล่จับ เจ้ากระรอกเผือกก็ได้หนีเข้าไปในโพรงพระเจดีย์ ชาวบ้านก็ช่วยกันกระทุ้งโพรงเพื่อให้กระรอกเผือกออกมา แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น ได้ปรากฏพระพิมพ์จำนวนมากไหลออกมาจากโพรงพระเจดีย์ ถึงขนาดต้องเอากระบุงหลายใบมา รองใส่และเก็บรักษาไว้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการแตกกรุครั้งแรกและครั้งยิ่งใหญ่

    ต้องขอบคุณเจ้ากระรอกเผือกตัวน้อย ที่นำพาไปพบกับสุดยอดวัตถุมงคล 'พระวัดพลับ' และนี่ก็คงเป็นที่มาของชื่อกรุพระเจดีย์ว่า 'กรุกระรอกเผือก' นั่นเอง

    ต่อมาท่านเจ้าอาวาสวัดพลับจึงเปิดกรุพระเจดีย์อย่างเป็นทางการ ปรากฏว่ามีโพรงใหญ่อยู่กลางพระเจดีย์ และพบ "พระวัดพลับ" อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบ "พระสมเด็จอรหัง" อีกจำนวนหนึ่งด้วย มีทั้งพิมพ์สามชั้นและพิมพ์ฐานคู่ สำหรับพระสมเด็จอรหังนั้น สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เป็นผู้สร้าง
    มาทำความรู้จักตำนาน สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน) วัดพลับจากคลิป

    ก่อนที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะไปครองวัดมหาธาตุเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดพลับมาก่อน ประกอบกับพระวัดพลับเป็นพระเนื้อผงสีขาว และมีส่วนผสมคล้ายคลึงกับพระสมเด็จอรหังมาก จึงสันนิษฐานได้ว่า "พระวัดพลับ" ก็น่าจะสร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เจ้าตำรับพระผงเช่นกัน

    ทำความรู้จักประวัติ สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน) วัดพลับจากคลิป


    เอกลักษณ์ของพระกรุวัดพลับ
    ถึงแม้ว่าลักษณะองค์พระจะดูง่ายๆ ไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ "พระวัดพลับ" สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้มากมาย เมื่อมองแล้วจะเกิดความรู้สึกลึกซึ้งนุ่มนวล กอปรกับพุทธคุณอันเลิศล้ำ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างสูงในเวลารวดเร็ว ปัจจุบันแทบจะหาดูหาเช่าของแท้ได้ยากมากๆ

    เนื้อหามวลสารของพระวัดพลับและพระสมเด็จวัดระฆังฯ จะดูคล้ายคลึงกันมาก คือ เนื้อขององค์พระเป็นสีขาว มีความหนึกนุ่ม และมีรอยแตกร้าวแบบไข่นกปรอท จะมีความแตกต่างกันตรงที่พระวัดพลับบางองค์จะมีรอยรานของเนื้อพระอันเกิดจากความร้อน ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังฯจะไม่ปรากฏรอยรานเลย แต่ก็ไม่ถือเป็นเอกลักษณ์สำหรับพระวัดพลับทุกองค์

    การพิจารณาผิวของ "พระวัดพลับ" ที่บรรจุอยู่ในกรุเจดีย์กระรอกเผือกเป็นเวลานานนับร้อยกว่าปีนั้น ให้ดูที่สีผิวขององค์พระจะค่อนข้างขาว ปรากฏเป็นคราบน้ำ ตกผลึกเป็นสีขาวและสีเหลืองอ่อนเจือปนที่เรียกกันว่า 'ฟองเต้าหู้' สันนิษฐานว่า เกิดจากคราบน้ำในกรุหรือคราบน้ำฝนที่รั่วไหลเข้าไปในกรุ ทำปฏิกิริยากับเนื้อพระที่มีส่วนผสมของปูนขาว เมื่อกาลเวลาผ่านไปจึงเกิดเป็นหินปูน พระบางองค์ดูเหมือนมีเนื้องอกขึ้นจากพื้นผิวขององค์พระเป็นเม็ดๆ อันเกิดจากสภาพของกรุพระเจดีย์ ซึ่งตอนกลางวันได้รับความร้อน พระในกรุก็จะอมความร้อนไว้ เมื่อกระทบกับน้ำที่ซึมเข้ามาในกรุผสมกับปูนขาว จึงกลายเป็นปูนเดือดบนองค์พระและตกตะกอนเป็นเม็ดๆ คล้ายเนื้องอก แต่จะเป็นที่พื้นผิวเท่านั้นไม่ได้เกิดจากเนื้อขององค์พระ เมื่อขูดเอาเนื้องอกส่วนนั้นออก ผิวขององค์พระก็จะเรียบเหมือนเดิมทุกประการ

    พระวัดพลับที่พบมีมากมายหลายพิมพ์ และได้รับการขนานนามกันไปต่างๆ ตามพุทธลักษณะขององค์พระ อาทิ
    • พิมพ์วันทาเสมา หรือพิมพ์ยืนถือดอกบัว
    • พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่
    • พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ชะลูด
    • พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก
    • พิมพ์พุงป่องใหญ่ พิมพ์ 1
    • พิมพ์พุงป่องใหญ่ พิมพ์ 2
    • พิมพ์พุงป่องเล็ก เข่าชั้นเดียว
    • พิมพ์พุงป่องเล็ก เข่าสองชั้น
    • พิมพ์สมาธิใหญ่
    • พิมพ์สมาธิใหญ่ แขนโต
    • พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง
    • พิมพ์พระภควัมบดีใหญ่
    • พิมพ์พระภควัมบดีเล็ก
    • ฯลฯ
    พระเครื่องพิมพ์ต่างๆของวัดราชสิทธาราม(วัดพลับ)


    นอกจากจะพบที่ 'กรุกระรอกเผือก วัดพลับ' แล้ว ได้มีการค้นพบบรรจุอยู่ใน 'กรุพระเจดีย์ วัดโค่ง จังหวัดอุทัยธานี' สันนิษฐานว่า ได้มีการนำไปบรรจุไว้แต่มีจำนวนไม่มากนัก และเนื่องด้วยสภาพกรุพระเจดีย์ทั้งสองแตกต่างกัน ส่งผลให้สภาพพื้นผิวขององค์พระทั้งสองวัดมีความแตกต่างกัน คือ "พระวัดพลับ กรุกระรอกเผือก วัดพลับ" องค์พระจะเป็นสีขาว และมักจะมีฟองเต้าหู้หรือเนื้องอก

    ส่วน "พระวัดพลับ กรุวัดโค่ง" ผิวขององค์พระจะมีขี้กรุสีน้ำตาลแก่ และขี้กรุจะแข็งมากเหมือนกับขี้กรุของพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม

    ถึงแม้การสร้างองค์พระของ 'พระวัดพลับ' จะดูแบบง่ายๆ ไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้มากมาย เมื่อมองแล้วจะเกิดความรู้สึกลึกซึ้งนุ่มนวล ซึ่งอาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งนอกเหนือจากความเก่าและพุทธคุณอันเลิศล้ำ ที่ทำให้พระวัดพลับได้รับความนิยมอย่างสูง

    ปัจจุบันแทบจะหาดูหาเช่ายากเอามากๆ ทีเดียว

    มาส่องดูพระกรุวัดพลับกับเซียนพระ โทน บางแคและพจน์ ท่าพระจันทร์ สอนดูพระวัดพลับกัน


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2018
  3. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    69
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    เปรียบเทียบเอกลักษณ์พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่

    ?temp_hash=78b9ac9207a86f9a5aa6a2c78d5d1fca.jpg

    เปรียบเทียบพระที่ได้รางวัลอันดับ1-3 ในนิตยสารท่าพระจันทร์
    ?temp_hash=de103ceb3cf24a4f87dc0109d6220350.jpg
    118-1-jpg.jpg
    118-3-jpg.jpg

    พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่ วัดราชสิทธาราม ของ เคี้ยง ยศเส ด้านล่างสวยแบบนี้สีกาอ่างไทยรัฐบอกว่าหลายแสน
    https://www.thairath.co.th/content/529660
    ?temp_hash=7fd78cf8d39aca4980e01047ff72a966.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2020
  4. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    69
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ลักษณะแม่พิมพ์ พระวัดพลับพิมพ์พุงป่องใหญ่
    พระวัดพลับเป็นพระที่ไม่มีเส้นกรอบบังคับแม่พิมพ์และเส้นซุ้มแต่อย่างใด จึงทำให้พระมีรายละเอียดหรือพื้นที่ และขนาดขององค์พระแตกต่างกันไป ทำให้พระบางองค์ดูต้อสั้น หรือบางองค์ดูชะลูด ประการสำคัญหากการเหลือพื้นที่ด้านข้าง ด้านบน ด้านล่างลักษณะสมดุลย์จะทำให้พระมีสัดส่วนสวยงามมากกว่า พระที่มีพื้นที่รอบๆองค์พระน้อยซึ่งจะทำให้พระมีขนาดเล็ก

    พระเกศ พิมพ์พุงป่องใหญ่
    พระเกศจะปรากฏมุ่นพระเมาลีหรือฐานของเกศทุกองค์ เกือบเป็นเส้นตรงและหนา ปรากฏอยู่เหนือพระเศียรองค์พระ แต่จะไม่ชิดติดเป็นเนื้อเดียวกับเศียรจะมีช่องว่างห่างกันอยู่นิดหนึ่ง สำหรับองค์นี้เป็นประเภทพระเกศเฉียง
    พระบางองค์หากเห็นพระเกศไม่ชัดเจนมากนัก เนื่องจากพระเกศชิดขอบพระเกินไป ทำให้ไม่เห็นบางส่วนหรือทั้งหมดของพระเกศ

    พระพักตร์ พิมพ์พุงป่องใหญ่
    มีลักษณะหน้าใหญ่ คางสอบแหลม พระกรรณทั้งสองข้างเส้นใหญ่และหนา พระกรรณซ้ายองค์พระยาวประบ่า และมีเส้นพระศอ(เส้นคอ) ซึ่งจะหนาหรือบางเกิดจากน้ำหนักในการกดพิมพ์พระ ตลอดจนการหดตัวของเนื้อปูนเปลือกหอยและการสัมผัสการใช้งาน

    temp_hash-610f31af9069d753e8299b9c25baf031-jpg.jpg
    พระอังสา(หัวไหล่)และลำพระองค์(ลำตัว)
    ลักษณะหัวไหล่ซ้ายและขวาเป็นแนวเกือบระนาบเดียวกัน ลำตัวมีลักษณะของความกลม นูนและป่อง โดยเน้นส่วนของพระอุระ และลำพระองค์ ตลอดถึงช่วงพระอุทรให้นูนสูงเป็นพิเศษ

    วงพระกร(วงแขน)
    การวาดวงแขนหรือแนวเส้นของวงพระกร ได้รับผลกระทบมาจากลักษณะของลำพระองค์โดยเฉพาะ มีการแบ่งเป็นช่วงหักศอกถึง 3 ท่อนคล้ายอุ้มท้อง หากพระที่กดพิมพ์ได้ชัดจะเห็นช่วงหักศอกถึง 5 ท่อน เช่นพระองค์นี้ โดยการกอดกระชับของวงแขนเป็นเส้นใหญ่และหนา
    • การวางแขนซ้ายขององค์พระ จะมีช่วงการหักศอกแต่ไม่มากนัก ทำให้มีสัณฐานเป็นเส้นโค้งนิดๆ การข้อศอกเล็กน้อย เส้นแขนจะใหญ่และหนากว่าด้านขวา แต่เนื่องจากพระองค์นี้มีคราบกรุคลุมบริเวณท่อนบนแขนขวาจึงทำให้ดูใหญ่ขึ้น
    • การวางแขนขวาขององค์พระ ท่อนบนดูเล็กและสั้น กางศอกเล็กน้อย เส้นขอบด้านนอกจะเป็นเส้นตรงแล้วหักศอกในส่วนของข้อศอก ส่วนเส้นขอบด้านในดูจะเป็นเส้นเว้าโค้งตามลักษณะของลำพระองค์
    • การประสานมือจะเป็นเส้นตรงหนาและใหญ่ วางชิดติดขอบพระเพลาด้านบน ส่วนของข้อมือจะคอดเล็ก
    temp_hash-610f31af9069d753e8299b9c25baf031-jpg.jpg

    พระเพลา(ตัก)

    มีหลายลักษณะ ทั้งประเภทพระเพลาตรง พระเพลาเอียงและแอ่นโค้งตรงกลาง เกิดจากลักษณะการกดพิมพ์พระ พร้อมทั้งเรื่องของขอบพระเข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับพระองค์นี้มีพระเพลาตรงและมีเส้นพระเพลาลึกชัด มีการวางพระบาทขวาเฉียงขึ้นบน แบะพระบาทซ้ายเป็นแนวระนาบด้านล่าง ซึ่งเรียกว่า"ขัดสมาธิราบ"

    temp_hash-610f31af9069d753e8299b9c25baf031-jpg.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2020
  5. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    69
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    ลักษณะมวลสารของพระวัดพลับ
    เป็นพระเนื้อผงขาวมีส่วนผสมหลักเป็นปูนสุกขาว ที่ได้จากการเผาเปลือกหอยทะเลแล้วนำมาบดให้ละเอียดกลายเป็นปูนขาว ผสมผสานเข้ากับเกสรดอกไม้ ผงวิเศษทั้ง5 ได้แก่ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงตรีนิสิงเหและผงพุทธคุณ มีน้ำมันตังอิ้วเป็นตัวประสาน เมื่อส่องมองเนื้อพระจะพบว่าเนื้อพระมีความละเอียด แกร่งแข็ง สีออกขาว
    ?temp_hash=3f52909bb30eaff326bd3fc909f0254d.jpg

    พร้อมทั้งปรากฏมวลสารสีเหลืองอันน่าเกิดจากเกสรดอกไม้ จุดขาวขุ่นจากเปลือกหอยที่บดไม่ละเอียด จุดสีแดงอิฐและจุดสีดำผสมแทรกอยู่ในเนื้อพระ
    ?temp_hash=b53a94220e77a2749ecca3cd14694ee6.jpg

    เนื้อมวลสารของวัดพลับอาจมีความแตกต่างกัน เนื่องจากการผสมมวลสารที่มีสัดส่วนแตกต่างกันไปในแต่ละครก คือมีทั้งเนื้อละเอียดหรือเนื้อละเอียดกึ่งหยาบ และเนื้อหยาบหรือเนื้อก้นครก

    เนื้อละเอียด มีส่วนผสมหลักจากปูนขาวของเปลือกหอย บดร่อนจนละเอียด เมื่อผสมกับน้ำจนอ่อนตัวและผึ่งให้แห้ง เนื้อจะผนึกเข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างแนบแน่น พร้อมทั้งมวลสารอื่นๆที่ละเอียดเข้ามาผสมกลมกลืนเข้ากันในขณะที่ยังเหลว แม้บางส่วนจะมีส่วนผสมของผงวิเศษต่างๆ เกสรดอกไม้และอื่นๆเมื่อผสมกันแล้วแทนที่จะดูหยาบ กลับดูเป็นความซึ้งและกลมกลืนอย่างลงตัว

    พื้นผิวขององค์พระ จะปกคลุมเนื้อพระสีขาว ประกอบไปด้วย
    • คราบกรุ พระวัดพลับถูกบรรจุกรุในเจดีย์สูง ทำให้เกิดคราบขี้กรุปกคลุมตามผิวบางองค์น้อยมาก บางองค์มีคราบกรุบางๆสีขาวอมเหลืองหรือน้ำตาลอ่อนๆฉาบอยู่ตามผิวพระ คราบกรุเกิดจากความร้อนอบอ้าวภายในกรุ ทำให้ของเหลวภายในเนื้อพระถูกขับออกมาเป็นคราบบางๆ บางองค์อาจมีคราบกรุสีน้ำตาลเข้มคล้ายคราบกรุสมเด็จบางขุนพรหมหนังปลากระเบนหรือฟองเต้าหู้ทำให้ดูแท้ง่ายขึ้นไปอีก
    ?temp_hash=3f52909bb30eaff326bd3fc909f0254d.jpg
    • คราบแป้ง เกิดจากการผุดตัวของน้ำปูนขาวที่เป็นส่วนผสมของเนื้อพระ ผุดขึ้นมาปกคลุมตามพื้นผิว
    • รอยเหนอะบนเนื้อพระ คือ พื้นผิวขององค์พระที่มีลักษณะเป็นคลื่นสูงๆต่ำๆมักปรากฏเฉพาะด้านหน้าขององค์พระ เกิดจากการกดพิมพ์พระในขณะที่เนื้อพระมีส่วนผสมของน้ำค่อนข้างเยอะกว่าปกติ เมื่อเอาพระออกจากพิมพ์จึงเกิดความหนืดของเนื้อติดพิมพ์ขึ้นมา
    ?temp_hash=3f52909bb30eaff326bd3fc909f0254d.jpg
    • การแตกลายงา หรือรอยปริร้าวของเนื้อพระ เป็นการแตกลายงาที่ใหญ่และเห็นด้วยตาเปล่าได้ชัด คล้ายกับท้องนาหน้าแล้ง ซึ่งเกิดจากการเซ็ทตัวตามอายุความเก่าของพระกับความร้อนภายในกรุ
    • เนื้องอก เป็นส่วนช่วยพิจารณาแยกแยะความเก๊แท้ได้เป็นอย่างดี เกิดจากปฏิกิริยาความร้อนภายในกรุกับการหดตัว และการผุดตัวออกสู่ผิวขององค์พระ เมื่อสัมผัสกับความเย็นและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในกรุ จึงเกิดการเซ็ทตัวรวมกันเป็นก้อนคล้ายเนื้องอก สัณฐานของเนื้องอกเป็นเม็ดตูมเต่งสดใส พร้อมทั้งความหนึกนุ่มอยู่ในตัว ไม่แห้งซีดแข็งกระด้างเหมือนที่มีในพระปลอม ซึ่งพระปลอมไม่สามารถทำได้ใกล้เคียง
    ?temp_hash=3f52909bb30eaff326bd3fc909f0254d.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2020
  6. Chailai65

    Chailai65 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2017
    โพสต์:
    69
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +106
    :):):)
     

แชร์หน้านี้

Loading...