วิธีฝึกสมาธิด้วย วาโยกสิณ หรือ กสิณลม (เหาะเหินเดินอากาศได้ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Apinya Smabut, 6 พฤษภาคม 2019.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    วาโยกสิณ

    เรื่องของ กสิณลม สมัยก่อนท่านให้จับอาการไหวของพวกใบไม้ต่าง ๆ แล้วก็นำเอาการไหวนั้นเอามาเป็นนิมิต

    แต่เนื่องจากว่า บางขณะลมสงัด ถ้าหากว่านิมิตยังไม่ทรงตัว เราก็ทำต่อไม่ได้ จากที่เคยฝึกมา ให้ใช้พัดลมเปิดเบา ๆ ให้ลมนั้นกระทบร่างของเรา จับอาการกระทบเป็นระลอก ๆ ของลมนั้นเป็นนิมิตได้

    หรือว่าถ้ามีความคล่องตัวแล้ว ใช้ลมหายเข้า ลมหายใจออกของเรา เป็นนิมิตก็ได้

    เรื่องของวาโยกสิณ เราสามารถจะไปที่ไหน ๆ ก็ได้ ด้วยกำลังของวาโยกสิณอย่างที่โบราณเขาใช้คำว่า "เหาะไป" แต่ว่าความจริงแล้ว ถ้าหากว่ามีคนเห็นเราอยู่ตรงหน้าแล้ว เราไปด้วยกำลังของวาโยกสิณจริง ๆ ถ้าไม่ได้อธิษฐานให้ไปช้า ๆ

    อย่างเช่น ถ้านั่งอยู่ตรงนี้ คิดว่าเราจะไปกรุงเทพฯ คนที่นั่งอยู่ตรงนี้ จะเห็นเราหายไปเฉย ๆ แล้วไปปรากฏที่กรุงเทพฯ แต่จริง ๆ แล้ว เราลอยไปด้วยอำนาจของวาโยกสิณ เพียงแต่ว่าลอยไปเร็วมาก มันก็เลยเหมือนกับหายวับจากจุดนี้ไป ไปปรากฏที่อีกจุดหนึ่ง หรือว่าที่ไหนไม่มีลม มันร้อนอบอ้าว อธิษฐานให้มีลม ให้มันเย็นสบายได้

    ถ้าหากว่าการกำหนดในวาโยกสิณ เมื่ออาการของลม มากระทบผิวกายเป็นระลอก ก็ให้กำหนดอาการกระทบอย่างนั้น พร้อมกับคำภาวนาว่า วาโยกสิณัง วาโยกสิณัง

    ถ้าหากว่าเป็นอุคหนิมิตของกสิณลม อันนี้จับยากสักนิดหนึ่ง เพราะว่าเรามองลมไม่เห็น แต่พอจับอาการกระทบไปเรื่อย ๆ มันจะเริ่มเห็นขึ้นมา เหมือนอย่างกับเราเห็นไอแดดที่มันเต้นเป็นตัวในเวลาร้อนมาก ๆ หรือเหมือนกับไอน้ำ ที่เราต้มน้ำหรือว่าหุงข้าว แล้วไอนั้นลอยขึ้นมาเป็นระลอก ๆ อย่างนั้น

    ระยะแรก ๆ มันจะนึกได้แค่ชั่วคราว พอถึงเวลาหลับตาลง ไม่ทันอึดใจภาพก็หายไป ให้ลืมตาดูใหม่พร้อมกับคำภาวนาใหม่ ทำดังนี้ไปเรื่อย ๆ บางทีเป็นเดือนเป็นปี เป็นหมื่นเป็นแสน เป็นล้านครั้ง กว่าภาพนั้นจะปรากฏได้ ทั้งหลับตาและลืมตา

    เมื่ออุคหนิมิตนี้ปรากฏขึ้น เราต้องเพิ่มความระมัดระวัง เพิ่มสติ จะหลับจะตื่น จะยืน จะนั่ง เอากำลังใจส่วนหนึ่ง จดจ่ออยู่กับภาพกสิณ พร้อมกับคำภาวนาเสมอ

    พอทำไป ๆ สีสันของกสิณนั้นก็จะอ่อนลง จางลง จนกระทั่งกลายเป็นสีขาวทั้งหมด จากสีขาวก็ค่อยใสขึ้น สว่างขึ้น จนกระทั่งสว่างเจิดจ้า เหมือนเอากระจกสะท้อนแสงใส่ตาของเรา

    ถ้าเป็นปฏิภาคนิมิตแล้ว จะอธิษฐานให้ภาพนั้นใหญ่ ให้เล็ก ให้มา ให้หายไป มีความคล่องตัวได้ตามต้องการ

    ให้เราพยายามทำกสิณในลักษณะนี้ให้ทรงตัวให้ได้ เมื่อเป็นปฏิภาคนิมิตแล้ว เราก็ลองอธิษฐานใช้ผลดู คือจับภาพกสิณให้สว่างเจิดจ้าเต็มที่ กำหนดอธิษฐานให้หาย ให้มา จนคล่องตัว

    ถ้าหากว่าเป็นกสิณลม ก็เอาระยะใกล้ ๆ ในจุดที่คนเขามองไม่เห็น เพื่อคนเขาจะได้ไม่แตกตื่น อย่างเช่นอธิษฐานว่า จะไปในดงไผ่นั้น ก็เข้าสมาธิเต็มที่ แล้วคลายกำลังใจออกมา อธิษฐานแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง พอเข้าสมาธิเต็มที่แล้ว ร่างกายก็จะไปอยู่ในสถานที่ที่ต้องการนั้น ๆ

    -------------------------------------------------------------------

    ทั้งหมดนี้เถรีตัดข้อความมาจากหนังสือกรรมฐาน ๔๐ ของพระอาจารย์เล็ก ในหัวข้อ ธาตุกสิณ ๔ อาโลกกสิณ อากาสกสิณ ซึ่งปกติเนื้อหาจะกล่าวถึงกสิณหลายอย่างรวมกัน แต่เถรีคัดลอกมาแต่เฉพาะกสิณลมเท่านั้น (ซึ่งแทรกสลับไปมาอยู่กับกสิณกองอื่น) ดังนั้นว่า ถ้าใครไปค้นแล้วอาจจะงง ๆ ว่าทำไมเนื้อหาที่ยกมาจึงไม่ได้เรียงเหมือนในต้นฉบับ

    ในเรื่องของกสิณนั้น หลวงพ่อได้บอกด้วยว่า การที่เราอธิษฐานกสิณในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ถ้าอธิษฐานผิดในลักษณะนั้น ผลของกสิณจะไม่เกิด


    ที่มา วัดท่าขนุน
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...