วิธีฝึกสมาธิที่ทำให้มีความสุขจริง ๆ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Apinya Smabut, 7 กุมภาพันธ์ 2019.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,396
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    คำตอบคือ ทำยังไงก็ได้
    ให้จิตของเราเคยชินกับการนึกถึง

    "บุญกุศลอยู่ตลอดเวลา"

    ทำไปถึงเป็นอย่างนั้น งั้นผมก็ต้องขออธิบายดังนี้ครับ...

    วิธีฝึกสมาธิที่ทำแล้วทำให้มีความสุขที่แท้จริง
    คือทำแล้วจิตมีความสุขจริง ๆ น่ะครับ แบบไม่ได้มโนไปเอง
    นั่นก็คือการที่จิตของเรา "ชอบ" ในเรื่องบุญกุศล หรือการเสียสละ

    จิตที่รักชอบในเรื่องของบุญกุศลหรือการเสียสละนี้
    ไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหน หากพูดถึงเรื่องนี้แล้วล่ะก็
    ใจเราจะ "อิน" ต่อเรื่องนั้น ๆ มาก
    พอ ๆ กับที่เรา "อิน" ไปกับละครหลังข่าวนั่นแหละ

    ยกตัวอย่างง่าย ๆ
    เคยไหมครับที่เราได้ไปช่วยงานบุญหรืองานสาธารณะประโยชน์อะไรสักอย่าง
    แรก ๆ อาจจะเหนื่อย แต่พอทำไปสักพัก เราจะรู้สึกสนุก
    เกิดชอบขึ้นมาซะอย่างนั้น แล้วก็สามารถที่จะทำงานนั้น ๆ ได้อย่างยาวนาน
    โดยที่ไม่รู้สึกว่าเหนื่อยมากนัก รู้สึกแค่เพลีย ๆ เล็กน้อย
    แต่ความสนุกไปกับงานนั้นมีมากกว่า ก็เลยสามารถทำไปได้เรื่อย ๆ
    ยิ่งทำยิ่งสนุก มีความสุข ทำได้ทั้งวัน
    นั่นแหละครับสมาธิ

    พอเราได้สมาธิตรงนี้แล้ว เรื่องการรู้ลมหายใจก็จะตามมาเอง
    ถ้าเราต้องการรู้ลมหายใจเราก็จะรู้ได้ไม่ยาก ไม่ต้องบังคับ มันรู้เอง
    ลมเข้า ลมออก รู้เอง

    แล้วการรู้ลมหายใจนี้
    หลังจากที่จิตเป็นสมาธิแบบนั้นแล้ว
    มันจะช่วยให้สมาธิของเราแน่นหนามั่นคงขึ้น

    สังเกตุง่าย ๆ
    ตอนที่เรากำลังสนุกกับการทำงานนั้น ๆ อยู่
    ต่อให้สมองมันจะคิดไปกี่อย่างก็ตาม
    แต่อารมณ์ใจของเราก็ยังนิ่งมั่นคงในเรื่องกุศลอยู่
    คือ จิตเกาะกุศลอยู่ตลอดเวลา
    ไม่ว่าเราจะคิด ทำ พูด อะไรก็ตาม จิตเป็นกุศลตลอด

    แล้วมันเป็นไปได้หรือที่จิตจะเป็นกุศลตลอดเวลา
    ทั้ง ๆ ก็ไม่ได้นั่งหลับตานิ่ง ๆ

    คำตอบคือ เป็นไปได้ครับ

    ดูอย่างพวกที่เล่นเกมส์นั่นสิ
    พวกนั้นเล่นเกมส์ได้อย่างเมามันส์ เขาก็ยังสามารถที่จะเคลื่อนไหว พูดคุยได้
    ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นจิตของเขากำลังสนุกกับการเกาะในเรื่องของเกมส์อยู่ จิตเป็นสมาธิในเกมส์

    พวกหื่นกาม พวกนี้ก็สามารถที่จะเคลื่อนไหวได้ พูดได้
    ทั้ง ๆ จิตกำลังเกาะอกุศลอยู่ จิตเป็นสมาธิในเรื่องของกาม
    ถามว่าพวกนี้เป็นสมาธิระดับไหน ก็ถ้าเป็นพวกที่หื่นแบบไม่สนใจรอบข้าง
    นั่นสมาธิระดับสูงเลยล่ะครับ แต่มันใช้ผิดทางเท่านั้น
    เหมือนกับมีเงินนั้นแหละ อยู่ที่ว่าจะใช้ให้เกิดโทษหรือเกิดคุณกับตัวเองเท่านั้น

    อีกเคสก็คือพวกที่ชอบทะเลาะวิวาทนั้นแหละครับ
    พวกนี้เวลาโกรธขึ้นมา ไม่สนหน้าสนหลังหรอก
    ตะบี้ตะบันลุยแหละอย่างเดียว
    หรือไม่ก็พวกแค้นฝังหุ่น โกรธไม่หาย
    นั่นแหละครับสมาธิ จิตชอบเกาะในเรื่องที่โกรธ
    จิตเกาะอกุศลจนเคยชิน เกาะจนเป็นฌานไปเลย
    ถามว่าสมาธิสูงแค่ไหน ก็ต้องบอกว่าสูงมาก
    เพียงแต่ใช้สมาธิในทางที่ผิดเท่านั้น

    แต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้นก็คือสมาธิตัวเดียวกันนั่นแหละ
    ถ้าสมาธิเกาะกุศลมาก ๆ จิตเต็มไปด้วยกุศล ก็คือ นักบุญ
    ถ้าสมาธิเกาะอกุศลมาก ๆ จิตเต็มไปด้วยอกุศล ก็คือ โรคจิต
    สมาธิตัวเดียวกัน แต่ใช้คนละทางเท่านั้น

    แล้วถ้าเกิดจิตไปชอบในเรื่องเรียนละ
    ก็ต้องบอกว่าพวกนี้ เวลาอ่านหนังสือ จะไม่สนโลกภายนอกเลยครับ
    ใครเรียกก็ไม่ได้ยิน ถึงได้ยินก็เหมือนไม่ได้ยิน คือ อ่านหนังสือจนลืมโลกไปเลย
    ต่อเมื่อเลิกอ่านนั่นแหละถึงจะถอนจากสมาธิออกมารับรู้โลกภายนอกอีกครั้ง

    ทีนี้อาจจะมีคนสงสัยว่า
    ถ้าเป็นสมาธิแบบนั้นคนทั่วไปก็สามารถทำได้นิ
    แล้วทำไมต้องไปฝึกนั่งสมาธิกันให้ยุ่งยากด้วย?

    ก็ต้องบอกว่าใช่ครับ คนทั่วไปสามารถทำได้
    แต่ที่ต้องฝึกสมาธิกันนั้นก็เพียงแค่ "ให้เวลา" กับมันเท่านั้นครับ
    บวกกับเพิ่มการรู้ลมหายใจไปด้วยอีกนิดหนึ่ง จะทำให้สมาธิแน่นหนามั่งคงขึ้น

    และสมาธิระดับที่คนทั่วไปมีนั้นก็มีทั้งสูงบ้างต่ำบ้าง
    แต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ถ้าทำถูก ทำต่อเนื่องนานพอ
    ระดับสมาธิก็จะเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ครับ

    ที่นี้หากสมาธิมาถึงระดับนี้แล้วต้องทำยังไงต่อ
    ถ้าพอใจแค่สมาธิระดับนี้ก็พอแค่นี้ก็ได้ครับ ทำแล้วมีความสุขดีแล้ว
    แค่นี้ก็พอ อันนี้ก็ไม่ต้องไปฝึกอะไรเพิ่มเติมอีกครับ เพราะแค่นี้ก็ดีแล้ว

    แต่ถ้าอยากจะได้สมาธิที่สูงขึ้นกว่านี้อีกก็ต้อง "ให้เวลา" กับมันอีกนิดหนึ่ง
    นั่นก็คือ ให้อยู่ในสมาธิให้ได้นานที่สุดในแต่ละวัน ตั้งแต่ตื่นยันหลับ
    ให้จิตเกาะแต่ในเรื่องกุศลอยู่ตลอดเวลาให้ได้
    สังเกตุ ถ้าจิตเป็นสมาธิจริง ๆ จิตจะมีความแน่นหนามั่นคงมาก

    ( *** นึกไม่ออก ก็นึกถึงตอนที่เราโกรธให้ใครสักคนนั่นแหละครับ
    จิตเกาะความโกรธแน่นหนามั่นคงมาก แน่นจนขี้เกียจพูด
    ไม่ใช่พูดไม่ออกนะ แต่จิตแน่นมากจนขี้เกียจขยับปากอ่ะ
    ถ้าไม่อาละวาดก็นั่งนิ่งหน้าบูดอยู่อย่างนั้นได้ทั้งวัน
    ที่จริงไม่ได้หน้าบูดหรอก แต่ความที่จิตมันเกาะความโกรธจนเป็นสมาธิ
    จิตมันแน่นมาก จิตเริ่มแยกกับประสาท ก็เลยขี้เกียจขยับกล้ามเนื้อ
    แต่บางทีก็เผลอขยับกล้ามเนื้อใบหน้าให้เข้าหากันโดยไม่รู้ตัวนะ
    เพราะตอนนั้นจิตกำลังรวมตัว
    ก็เลยเหมือนหน้าบูด และเพราะความที่จิตเกาะอกุศล
    ทำให้สมองหลั่งสารแห่งความเคลียดมากเกินไป
    ถ้าอยู่แบบนั้นไปนาน ๆ ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้)

    และด้วยความที่จิตมีความแน่นหนามั่นคงนี้
    ถ้าเกาะในเรื่องของอกุศล จะทำให้จิตเศร้าหมองได้มาก
    คือเป็นโรคซึมเศร้าได้เร็วดีมาก
    ยิ่งสมาธิสูงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งซึมเศร้าได้เร็วมากเท่านั้น ถ้าจิตดันไปเกาะอกุศล
    โดยเฉพาะเรื่องที่ทำให้น้อยใจ เศร้าใจ เสียใจ อะไรแบบนั้น

    ดังนั้นนี้จึงเป็นเหตุผลที่เราต้องเกาะบุญเกาะกุศลไว้ตลอดเวลา
    เพราะเรื่องบุญกุศล เรื่องการสละออก การช่วยเหลือ
    เรื่องพวกนี้ ยิ่งเราคิด ยิ่งเราอินไปกับมันเท่าไหร่ จิตของเราก็ยิ่งสว่าง
    ปลอดโปร่ง สว่างไสวมากเท่านั้น

    จิตที่เกาะในเรื่องกุศลจริง ๆ จะไม่มีความเศร้าหมอง ไม่ซึมเศร้า

    ไอ้ที่ซึมเศร้านะ ยิ่งคิดก็ยิ่งวิตกจริตน่ะ หนัก ๆ ก็อาจจะเป็นบ้าได้
    นั่นก็เพราะจิตมันเกาะอกุศลคือความเศร้าหมองครับ
    ถ้าบอกว่าไม่จริง เราไม่ได้คิดเรื่องอกุศลเลย แต่จิตก็ยังเศร้าหมองได้
    อันนี้ไม่ใช่ครับ เราเข้าใจผิด

    ไอ้ที่เราคิดเรื่องบุญเรื่องกุศลอยู่ แต่เราก็ยังเศร้าหมองได้นั้น
    นั้นก็เพราะเราคิดในเรื่องกุศลด้วยสมอง แต่จิตเราเกาะอกุศลอยู่ครับ เราจึงเศร้าหมอง
    นี้เป็นสาเหตุที่ว่าทำไม เราคิดถึงบุญแล้วทำไมจิตเราถึงเศร้า ยังมีความไม่สบายใจอยู่
    นั่นก็เพราะสมองเราคิดถึงบุญก็จริง แต่จิตเรายังเป็นอกุศลอยู่นั่นเองครับ
    เพราะตัวเราจริง ๆ ก็คือจิต ส่วนสมองก็คือร่างกาย คนละส่วนกัน

    วิธีสังเกตุง่าย ๆ คือ
    ตอนที่เราทำงานเพื่อสาธารณะประโยชน์ ทำบุญ เราสนุก เพลิน ทำได้ทั้งวัน ไม่ปวดหัว = สมาธิ
    กับตอนที่เราพยายามคิดถึงบุญกุศล แต่จิตก็ยังเศร้าหมอง วิงเวียน ปวดขมับ = ไม่มีสมาธิ

    นั่นก็คือ การฝึกสมาธิ ไม่ใช่การฝึกสมอง
    เพราะถ้ายิ่งใช้สมองคิด ยิ่งคิดยิ่งปวดหัว มึน วิงเวียน แต่ไม่ได้สมาธิ
    แต่ถ้าเราฝึกสมาธิได้จริง ๆ สมองจะได้รับการพัฒนาไปด้วย
    ผลคือ สดชื่น ปลอดโปร่ง สว่างไสวในจิต

    แวะไปไกลละ.....
    กลับมาที่การเพิ่มระดับสมาธิกันครับ
    เป้าหมายในพระพุทธศาสนาของเรา สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการฝึกสมาธิ

    สมาธิก็มีตั้งแต่ระดับ

    1.ขณิกสมาธิ
    2.อุปจาระสมาธิ
    3.อัปปนาสมาธิ

    ขั้นอัปปนาสมาธิก็มีตั้งแต่
    ฌาน 1-4 เป็นรูปฌาน
    ฌาน 5-8 เป็นอรูปฌาน

    ที่พิเศษจริง ๆ สำหรับพระโพธิสัตว์บารมีเข้มก็คือฌานที่ 5
    ไม่ใช่ "อากาสานัญจายตนฌาน" แต่เป็น "ปัญจมฌาน"
    เป็นฌานต่อจากฌาน 4 เป็นความชำนาญขั้นที่ 5 มีเฉพาะพระโพธิสัตว์บารมีเข้มเท่านั้น
    ส่วนเรา ๆ ท่าน ๆ ที่ปราถนาเป็นสาวก ไม่จำเป็นต้องไปฝึกก็ได้
    เราเอาถึงฌาน 4 ก็พอ เพราะอรูปฌาน 5-8 ก็เป็นกำลังของฌาน 4 นั่นแหละ

    เข้าถึงฌาน 4
    ง่าย ๆ เลยก็คือ ให้จิตเกาะอยู่ในอารมณ์ของกุศลตลอดเวลา
    เพราะถ้าจิตเกาะอกุศล จิตจะต่อต้าน ไม่อาจจะเข้าถึงจุดสุดท้ายได้

    ให้จิตเป็นกุศลตลอดเวลา ทั้งกลางวันกลางคืน ตั้งแต่ตื่นยันหลับ
    จนจิตรู้ลมหายใจได้เองโดยอัตโนมัติ
    แล้วก็ทรงอารมณ์นั้นไว้ทั้งวัน ไม่ต้องไปบังคับให้คิด ให้มันเป็นไปเอง
    เมื่อจิตมีความเข้มข้นมากพอ ก็จะเข้าถึงฌาน 4 ได้ไม่ยาก
    ยืน เดิน นั่ง นอน พูด คิด ดื่ม กิน ทำอะไรก็ตาม ให้จิตเป็นกุศลตลอดนั่นแหละ
    ให้จิต มีความ "ชอบ" ในเรื่องกุศล มีความ "อิน" ในเรื่องบุญกุศล การเสียสละ
    ยิ่ง "อิน" เท่าไหร่ สมาธิก็ยิ่งเข้มข้นขึ้น เข้มแข็งขึ้น

    พอจิตจะเข้าถึงฌาน 4 จริง ๆ
    จิตจะไม่สนใจอย่างอื่นเลย แม้แต่ร่างกาย
    มันจะเหลือเพียงจุดเล็ก ๆ เท่านั้นในความรู้สึก
    เหลือเพียงจุดเล็ก ๆ ที่รู้สึกว่าเป็นตัวเรา
    นอกนั้น ไม่ถือเป็นสาระ จิตไม่สน
    ตอนนั้นก็ไม่ต้องไปพยายามขยับร่างกายอะไรครับ
    ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติ
    ไม่ต้องไปบังคับ ควบคุม ไม่ต้องไปพยายามคิดอะไรทั้งนั้น
    ปล่อยให้จิตเข้าสู่สมาธิไปตามธรรมชาติของมันเท่านั้นพอ
    แล้วจิตก็จะรวมตัวกันเข้ามาเรื่อย ๆ
    จนในที่สุดก็เหลือเพียงจุดเดียว
    มีแค่สติรู้ตัวเท่านั้น นอกนั้นทุกอย่างดับหมด
    จิตมีความสุข นิ่งอยู่อย่างนั้นอย่างเดียว
    นอกนั้นไม่มีอะไรเหลือ ทุกอย่างหายหมด

    ถ้ามาถึงตรงนี้แล้ว แรก ๆ หลายคนอาจจะคิดว่าตัวเองตายแล้ว
    เพราะมันหาร่างกายไม่เจอ มีแต่สติจริง ๆ นอกนั้นหายไปหมด
    บ้าน อากาศ คน สิ่งของ ร่างกาย ลมหายใจ ทุกอย่างหายไปจากความรู้สึกทั้งหมด
    เหลือแค่สติเท่านั้น จึงทำให้อาจคิดว่าเราตายไปแล้ว
    ขอให้ไม่ต้องกลัว เพราะเป็นแบบนี้ทุกคน
    บางคนอาจจะวิตกกังวลขึ้นมานิดหนึ่ง จนทำให้หลุดออกจากสมาธิได้
    แล้วถ้าจิตจะรวมตัวกันอีกก็ไม่ต้องไปห้ามมันครับ ปล่อยให้มันเข้าไปเลย

    จากนั้นก็พยายามเข้าออกสมาธิอย่างนั้นให้ได้ทุกวัน ซ้อมเข้าซ้อมออกบ่อย ๆ
    ทำให้ชำนาญ ทำให้คล่องตัว ให้นึกเมื่อไหร่ก็เข้าได้เมื่อนั้น

    มีฌาน 4 แล้วได้อะไรบ้าง
    ถามว่าถ้าทำถึงฌาน 4 แล้วเราจะได้อะไรบ้าง
    ก็ต้องบอกว่ามี 3 อย่างหลัก ๆ

    1. เอาสมาธินี้ไปพิจารณาทางด้านปัญญาก็จะทำให้เข้าถึงความเป็นพระอริยะเจ้าได้เร็วมาก
    2. เอาไปฝึกกสิณ ก็จะทำให้สามารถมีอิทธิฤทธิ์ได้
    3. เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็เข้าฌานหนึความเจ็บป่วยได้ หรือจะกำหนดวันตายก็ได้

    ก็มีเท่านี้แหละครับ วิธีการฝึกสมาธิ
    ย้ำอีกครั้ง การฝึกสมาธิเพื่อให้มีความสุขจริง ๆ นั้น
    นั่นก็คือ การที่จิตของเรานึกถึงเรื่องบุญกุศล
    ชอบในเรื่องบุญกุศล หรือการเสียสละ จนเคยชิน
    ยิ่งชอบ ยิ่งอิน สมาธิก็ยิ่งเข้มข้นขึ้น ยิ่งสดชื่น ปลอดโปร่ง
    อารมณ์มีความแน่นหนามั่นคง
    และทรงอารมณ์นั้นให้ได้ตลอดเวลา
    ทั้งหมดก็มีเท่านี้แหละครับ
    หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ^ ^
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...