วิธีสร้างบุญบารมี โดยสมเด็จพระญาณสังวร ตอน สร้างบุญด้วยการรักษาศีล

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 18 ธันวาคม 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,438
    วิธีสร้างบุญบารมี โดยสมเด็จพระญาณสังวร ตอน สร้างบุญด้วยการรักษาศีล
    [​IMG]
    ศีล แปลว่า ปกติหมายถึง ปกติกาย ปกติวาจา ปกติใจ เพราะมีใจคิดงดเว้นจากโทษทางกาย ทางวาจาที่ ควรงดเว้น ดังเช่นที่ระบุไว้ในศีล ๕ ศีลจึงสำเร็จด้วยวิรัติเจตนา แปลว่า เจตนาคิดงดเว้น คำว่า วิรัติกับคำว่า เวรมณีแปล ว่า งด เว้นเหมือนกัน วิรัติโดยทั่วไปมี๓ คือ

    ๑. สัมปัตตวิรัติความเว้นจากวัตถุที่จะพึงล่วงได้ อันมาถึงเฉพาะหน้า คือไม่ได้รับถือศีลมาก่อน แต่เมื่อได้พบ สัตว์มีชีวิตที่จะฆ่าได้ไปพบทรัพย์ที่จะลักได้แต่ก็เว้นได้ไม่ฆ่า ไม่ลัก เป็นต้น ความคิดงดเว้นได้อย่างนี้ก็เป็นศีลเหมือนกัน แต่ถ้างดเว้นเพราะไม่ได้โอกาส ไม่จัดว่าเป็นศีล

    ๒. สมาทานวิรัติความงดเว้นด้วยอำนาจการถือเป็น กิจวัตร การรับถือศีลที่เรียกว่า สมาทานศีล เพราะคำว่าสมาทาน แปลว่าการรับถือ จะสมาทานด้วยตนเองคือตั้งจิตว่าจะงดเว้นจากโทษข้อนั้น ๆ เองก็ได้จะสมาทานด้วยรับจากผู้อื่น ซึ่งเป็นผู้มี ศีลเช่นจากพระภิกษุสามเณรก็ได้ถึงแม้จะรับจากผู้อื่นก็มิใช่จะรับ แต่ปาก ต้องตั้งใจรับจึงจะได้ศีล ก่อนแต่รับศีลจากผู้มีศีล มีธรรมเนียมของสรณะและศีลดังกล่าวแล้ว

    ๓. สมุจเฉทวิรัติความเว้นด้วยตัดขาดมีอันไม่ทำอย่างนั้น เป็นปกติตามภูมิของคนผู้ปฏิบัติท่านกล่าวว่าเป็นวิรัติของ พระอริยเจ้า แต่เมื่อจะอธิบายใหฟังทั่ว ๆ ไป ก็อาจอธิบายได้ว่า คือเว้นจนเป็นปกติของตนจริง ๆ

    สรุปเบญจศีล คือ
    ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต

    ๒. เว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ใหด้วยจิต้ คิดลัก

    ๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๔. เว้นจากการกล่าวเท็จ

    ๕. เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้ง แห่งความประมาทเบญจธรรม แปลว่า ธรรม ๕ ประการ คำว่า ธรรม แปลว่าทรงไว้หรือดำรงรักษาไว้ในที่นี้หมายถึงส่วนที่ดีจึงมี ความหมายว่า ทรงคือรักษาไว้หรือดำรงรักษาไว้๕ ประการ ในที่นี้หมายถึงธรรมที่คู่กันกับศีล ๕ เรียกว่า กัลยาณธรรม แปลว่า ธรรมงาม เป็นเครื่องบำรุงจิตใจให้งดงาม สร้าง อัธยาศัยนิสัยที่ดีศีลเป็นเหตุให้งดเว้นไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษ ถ้ามีเพียงศีลก็มีเพียงงดเว้นได้จากโทษ แต่ก็ยังมิได้ทำคุณความดี ต่อเมื่อมีธรรมอยู่ด้วยจึงจะเป็นเหตุให้ทำคุณความดียกตัวอย่าง เช่น รักษาศีล ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เดินไปพบคนนอนหลับอยู่ใน ทางรถไฟมีรถไฟแล่นมาแต่ไกล ควรจะปลุกบอกเขาได้แต่ไม่ ปลุกบอก อย่างนี้ศีลไม่ขาดเพราะมิได้ไปฆ่าเขา แต่ขาดธรรม คือเมตตา ต่อเมื่อปลุกให้เขารีบหลีกออกเสียจากรางด้วยเมตตา จิต จึงจะชื่อว่ามีธรรม ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสทั้งศีลทั้งธรรมคู่ กันไว้ในที่หลายแห่งว่า “มีศีลมีกัลยาณธรรม” ดังนี้
    ๑. เมตตากรุณา คู่กับศีลสิกขาบทที่๑
    ๒. สัมมาอาชีวะ คู่กับศีลสิกขาบทที่๒
    ๓. ความสำรวมในกาม คู่กับศีลสิกขาบทที่๓
    ๔. ความมีสัจจะ คู่กับศีลสิกขาบทที่๔
    ๕. ความมีสติรอบคอบ คู่กับศีลสิกขาบทที่๕

    เบญจธรรมนี้ไม่ต้องขออย่างขอศีล ให้ปฏิบัติอบรม บ่มเพาะปลูกให้มีขึ้นประจำจิตใจด้วยตนเอง ได้มีพุทธภาษิต ตรัสไว้ที่แปลความว่า “พึงประพฤติสุจริตธรรม ไม่ประพฤติ ทุจริตธรรม ผู้ประพฤติธรรมโดยปกติย่อมอยู่เป็นสุข ทั้งโลกนี้ ทั้งในโลกอื่น”

    ศีล เป็นความดีที่สูงกว่าทานขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง มีความ หมายกว้าง ๆ ว่า ความประพฤติงดเว้นจากการเบียดเบียนกัน และกันให้เดือดร้อน เรียกว่าอภัยทาน แปลว่าให้อภัย คือให้ ความไม่มีเวรมีภัยแก่ใคร ๆ เรียกว่าเป็นบุญ เพราะเป็นเครื่อง ชำระล้างโทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย เพราะศีลคือความ เว้นจากความประทุษร้ายเขา เมื่อรักษาศีลไว้ได้ก็เป็นอันชำระใจ ในข้อนี้
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญ...รับพระผงกริ่งนาคราช.557837/page-8#post9870446
     

แชร์หน้านี้

Loading...