วิธีอ่านบาลี

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย paang, 27 มกราคม 2007.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325

    การอ่านคำบาลีนี้ยังมีหลายท่านที่อ่านไม่สู้จะถูกนัก เพราะว่ายังไม่เคยชินต่อคำเหล่านี้ดังนั้นเพื่อกันความผิดพลาดในเวลาออกเสียงจึงได้พิมพ์ถวายพระสังฆาธิการทุกท่านดังต่อไปนี้

    1. พยัญชนะที่ไม่มีสระอาศัยอยู่ด้วย ให้อ่านออกเสียงสระ อะ เช่น


    นโม ออกเสียงว่า นะโม
    ปฏิปทา ออกเสียงว่า ปะฏิปะทา
    อนาฤลา ออกเสียงว่า อะนากุลา



    2. พยัญชนะที่ไม่มีสระอาศัยอยู่ แต่มีตัวสะกดอยู่หลัง มี พินทุ ( ฺ) อยู่ ใต้ตัวสะกดนั้นพินทุนั้นเท่ากับไม้หันอากาศ เช่น


    อคฺคโต ออกเสียงว่า อัคคะโต
    ธมฺมทฺธโร ออกเสียงว่า ธัมมัทธะโร



    3. พยัญชนะที่มีสระอาศัยอยู่ มีตัวสะกดอยู่หลัง มีพินทุ ( ฺ ) อยู่ใต้ ตัวสะกดนั้นให้อ่านออกเสียงเท่ากับตัวนั้นเป็นตัวสะกดเฉยๆ เช่น


    ภิกฺขโร ออกเสียงว่า ภิกขะโร
    โมคฺคลฺลานํ ออกเสียงว่า โมคคัลลานัง
    ปุญญกฺเขตฺตํ ออกเสียงว่า ปุญญักเขตตัง



    4. ศัพท์ที่ลงท้ายด้วย ตฺวา ตฺวาน ปัจจัย ต้องออกเสียงตัว ตฺ สะกด และออกเสียงตัวของมันเองด้วย แต่เสียงนั้นสั้น เช่น


    กตฺวา ออกเสียงว่า กัตวา
    คเหตฺวา ออกเสียงว่า คะเหตวา
    สุตฺวา ออกเสียงว่า สุตวา



    โปรดสังเกตุว่า ต้องมีพินทุ ( ฺ ) อยู่ใต้ตัวสะกดด้วย ถ้าไม่มีพินทุ ให้ ออกเสียงตามตัวของมันเอง เช่น

    สุตวา ออกเสียงว่า สุตะวา


    5. มีคำอยู่สองสามคำ ซึ่งต้องอ่านออกเสียงทั้งเป็นตัวสะกดและตัว ของมันเอง แต่ตัวของมันเองนั้นสั้นมาก เช่น

    ภวตฺวนฺตราโย ออกเสียงว่า ภะวัตวันตะราโย
    สกฺยปุตฺโต ออกเสียงว่า สักยะปุตโต
    ตุณหี ออกเสียงว่า ตุณหี
    ภาคยํ ออกเสียงว่า ภาคยัง
    ตสฺมา ออกเสียงว่า ตัสหมา
    ตสฺมิ ํ ออกเสียงว่า ตัสหมิง
    ภทฺรานิ ออกเสียงว่า ภัททรานิ

    6. ถ้ามีตัว ร อยู่ท้ายตัวสะกด ให้ออกเสียงกล้ำกัน เช่น


    ตดฺร ออกเสียงว่า ดัตตระ
    พฺรหฺมานํ ออกเสียงว่า พรำมานัง
    พฺราหฺมเฌ ออกเสียงว่า พรามมะเฌ
    อินฺทฺริยานิ ออกเสียงว่า อินทริยานิ (ไม่ใช่อินชียานิ)



    7. พยัญชนะตัวใดที่มีพินทุ (.) อยู่ใต้ตัวของมันเอง ให้อ่านออกเสียง ตัวของมันเองเท่านั้น เช่น


    ทฺวิ ออกเสียงว่า ทะวิ
    เทฺว ออกเสียงว่า ทะเว
    กาเตฺว ออกเสียงว่า กาตเว
    จิตฺตเกฺลเสหิ ออกเสียงว่า จิตตักเลเสหิ
    จกฺขฺวายตนํ ออกเสียงว่า จักขวายะตะนัง



    8. พยัญชนะตัวใด มีนิคหิต ( ํ) อยู่ข้างบนไม่มีสระอยู่ด้วย ( ํ ) นั้น เท่ากับ อัง เช่น


    พุทธํ ออกเสียงว่า พุทธัง
    อกํสุ ออกเสียงว่า อะกังสุ
    อุปาทานํ ออกเสียงว่า อุปาทานัง



    9. พยัญชนะตัวใดที่มี นิคหิต ( ํ ) อยู่บน และมีสระอยู่ด้วย
    นิคหิตนั้น เท่ากับ ง สะกด เช่น

    ธมฺมจาริ ํ ออกเสียงว่า ธัมมะจาริง
    กาตุ ํ ออกเสียงว่า กาตุง



    10. คำใดมีตัวสะกดด้วย เอยฺย ให้อ่านออกเสียง ไอ๊ยะ สั้นๆ เช่น


    ภาเสยฺย ออกเสียงว่า ภาไส๊ยยะ
    กเรยฺย ออกเสียงว่า กะไร๊ยยะ



    11. คำใดที่สะกดด้วย อิยฺ ให้อ่าน อี โดยใช้ฟันล่างและฟันบนกดกัน และออกเสียง เช่น


    นิยฺยานิโก ออกเสียงว่า นียยานิโก



    12. พยัญชนะตัว ฑ นางมณโฑ ในภาษาบาลีให้ออกเสียงตัว ด เด็ก หมด เช่น
    ปณฺฑิโต ออกเสียงว่า ปันดิโต
    มณฺฑน ออกเสียงว่า มันดะนะ ​


    [​IMG]ที่มา : http://www.mindcyber.com<!-- End main-->
     
  2. T D-Da

    T D-Da เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2005
    โพสต์:
    64
    ค่าพลัง:
    +286
    แล้วคำแปลล่ะคะ มีไหมคะ
     
  3. nontacha

    nontacha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +391
    ขอบคุณค่ะ กำลังหาวิธีอ่านคาถาอยู่พอดีเลยค่ะ
     
  4. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ว่าง ๆ จะมาสอนเพิ่ม
     
  5. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    กราบนมัสการเรียนปุจฉา พระคุณเจ้าเจ้าค่ะ

    คำว่า ปฏิสังยุต คือ /หมายถึง อะไรค่ะ หาความหมายแล้วมันกว้างมาก ไม่เข้าใจเจ้าค่ะ
     
  6. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
  7. srisagase

    srisagase สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +1
    เป็นสิ่งที่ดีมากครับ
     
  8. อธิมุตโต

    อธิมุตโต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    4,741
    ค่าพลัง:
    +13,087
    ปฏิสังยุต แปลว่า ซึ่งเกี่ยวเนื่อง ซึ่งประกอบ เป็นคุณศัพท์

    ตัวอย่างเช่น

    อัตตวาทปฏิสังยุตตทิฏฐิ แปลความว่า ทิฏฐิอันเกี่ยวเนื่องด้วยการปรารภตนเอง
     
  9. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...