วิธีแต่งกลอนและแผนผัง

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย บุษบากาญจ์, 2 ธันวาคม 2013.

  1. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ที่มา วิธีแต่ง กลอนสุภาพ และแผนผังกลอนสุภาพ พร้อมคำอธิบายเข้าใจง่าย

    กลอนสุภาพ

    31 กรกฎาคม 2011 at 3:37 pm
    filed under
    กลอนสุภาพ

    เป็นกลอนประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะคำประพันธ์ของภาษาไทย ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบๆ ซึ่งนับได้ว่ากลอนสุภาพเป็นกลอนหลักของกลอนทั้งหมด เพราะเป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด หากเข้าใจกลอนสุภาพ ก็สามารถเข้าใจกลอนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น คำประพันธ์ ที่ต่อท้ายว่า “สุภาพ” นับว่าเป็นคำประพันธ์ที่แสดงลักษณะเป็นไทยแท้ ด้วยมีข้อบังคับในเรื่อง “รูปวรรณยุกต์” ในกลอนสุภาพนอกจากมีบังคับเสียงสระเป็นแบบแผนเช่นกลอนปกติแล้ว ยังบังคับรูปวรรณยุกต์เพิ่ม จึงมีข้อจำกัดทั้งรูปและเสียงวรรณยุกต์ เป็นการแสดงไหวพริบปฏิภาณและความแตกฉานในการใช้ภาษาไทยของผู้แต่งให้เด่นชัดยิ่งขึ้น คำประพันธ์กลอนสุภาพนิยมเล่นกันมากตั้งแต่สมัยอยุธยา จวบจนถึงปัจจุบัน ในต้นรัตนโกสินทร์นั้นงานกลอนสุภาพเด่นชัดในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเฟื่องฟูถึงขนาดมีการแข่งขันต่อกลอนสด กลอนกระทู้ ตลอดรัชสมัยมีผลงานออกมามากมาย เช่น กลอนโขน กลอนนิทาน กลอนละคร กลอนตำราวัดโพธิ์ เป็นต้น บทพระราชนิพนธ์เรื่อง เงาะป่า ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ ยังมีกวีท่านอื่นที่มีชื่อเสียง เช่น สุนทรภู่ เป็นต้น และในสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็มีปราชญ์กวีทางกลอนสุภาพที่สำคัญหลายท่านเช่นกัน

    กลอนสี่

    31 กรกฎาคม 2011 at 5:11 pm
    filed under
    กลอนสี่

    กลอนสี่ เป็นคำประพันธ์ประเภทกลอน ใน 1 บท มี 2 บาท 1 บาท มี 2 วรรค วรรคละ 4 คำ กลอน 4

    ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 4 ที่เก่าที่สุดพบในมหาชาติคำหลวงกัณฑ์มหาพน (สมัยอยุธยา) แต่ต่อมาไม่ปรากฏในวรรณคดีไทยมากนัก มักแทรกอยู่ตามกลอนบทละครต่าง ๆ

    ตัวอย่างกลอน 4 ในวรรณคดีไทยที่พบมี 2 แบบ คือ

    กลอน 4 แบบที่ 1
    กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งจะประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง

    O O O O O O O O
    O O O O O O O O
    สัมผัส แบบกลอนทั่วไป คือ คำสุดท้ายวรรคหน้าสัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง และคำสุดท้ายวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบทก็เช่นเดียวกัน คือ คำสุดท้ายวรรคที่สี่ของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สองของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)

    ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 1
    เหวยเหวยอีจันทรา ขึ้นหน้าเถียงผัว
    อุบาทว์ชาติชั่ว ไสหัวมึงไป
    นางจันทาเถียงเล่า พระองค์เจ้าหลงไหล
    ไล่ตีเมียไย พระไม่ปรานี
    เมียผิดสิ่งใด พระไล่โบยตี
    หรือเป็นกาลี เหมือนที่ขับไป
    — บทละครครั้งกรุงเก่า เรื่อง สังข์ทอง
    กลอน 4 แบบที่ 2
    คณะ กลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งประกอบด้วย 4 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง

    O O O O O O O O
    O O O O O O O O
    O O O O O O O O
    O O O O O O O O
    สัมผัสนอก ในทุกบาท คำสุดท้ายของวรรหน้า สัมผัสกับคำที่สองของวรรคหลัง มีสัมผัสระหว่างบาทที่สองกับสาม คือ คำสุดท้ายวรรที่สี่สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่หก ส่วนสัมผัสระหว่างบทนั้นจะแตกต่างจากแบบแรก เนื่องจากให้คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สี่ของบทถัดไป (ดูตัวอย่าง)

    ตัวอย่าง กลอน 4 แบบที่ 2
    จักกรีดจักกราย จักย้ายจักย่อง
    ไม่เมินไม่มอง ไม่หมองไม่หมาง
    งามเนื้องามนิ่ม งามยิ้มงามย่าง
    ดูคิ้วดูคาง ดูปรางดูปรุง
    ดั่งดาวดั่งเดือน ดั่งจะเลื่อนดั่งจะลอย
    พิศเช่นพิศช้อย พิศสร้อยพิศสุง
    ช่างปลอดช่างเปรื่อง ช่างเรืองช่างรุ่ง
    ทรงแดดทรงดุ่ง ทรงวุ้งทรงแวง
    — กลบทจาตุรงคนายก, ศิริวิบุลกิตติ, หลวงปีชา (เซ่ง)
    สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่กวีมักจัดให้มีสัมผัสระระหว่างคำที่สองและคำที่สามของทุกวรรค

    ตย.กลอนสี่อื่นๆ
    สงสัยมานาน……………ขันขานก็บ่อย
    อีกทั้งเรียงร้อย………….ถ้อยคำภาษา
    สอบถามเรื่อยไป………..มีใครบ้างนา
    รู้บ้างไหมหนา………….ว่ากลอนอะไร ฯ

    นี่คือตัวอย่าง……………..ท่านวางเอาไว้
    กลอนสี่นี่ไง……………….เชื่อได้เลยเธอ
    พี่นุพบเห็น………………..ประเด็นเสนอ
    บอกเล่าไว้เออ……………..เผื่อเธอสนใจ ฯ

    มีคำสัมผัส…………………รึงรัดที่ไหน
    ค่อยสังเกตไป………………มองให้ดีดี
    ในวรรคที่สอง……………..ค่อยมองดูซี
    อีกทั้งวรรคสี่……………….คำมีรับกัน ฯ

    วรรคสามก็ด้วย……………ต่างช่วยแต่งฉันท์
    วรรคสี่ก็พลัน………………จัดสรรส่งไป
    สัมผัสหลายที่……………..ดูสิตรงไหน
    ยากง่ายยังไง………………ขอให้แต่งดู ฯ

    ที่แต่งผ่านมา………………ถือว่าพลาดอยู่
    เพราะความไม่รู้…………..อดสูอยู่นา
    ค่อยเป็นค่อยไป……………ค่อยใช้ปัญญา
    ค่อยแก้ปัญหา……………..ค่อยมาคุยกัน…ฯ
    = = = = = =

    ๐ วันว่างห่างงาน รำคาญยิ่งนัก
    อยู่บ้านผ่อนพัก สักนิดผ่อนคลาย
    ๐ หยิบหนังสืออ่าน ผ่านตาดีหลาย
    กลอนสี่ท้าทาย หมายลองเขียนดู
    ๐ หากท่านใดว่าง ร่วมทางฝึกรู้
    กลอนได้เชิดชู อยู่อย่างมั่นคง
    ๐ เสียงไม่บังคับ จับสัมผัสส่ง
    สี่คำเจาะจง ลงมือกันเลย

    หมายเหตุ ลอกมาให้ไม่หมด ลองเข้าเว็บดูนะ มีวิธีแต่งกลอนทุกประเภทเลย เผื่อลืมเลือนกันจะได้ค้นหากันได้ ร่วมกันรักษาไว้นะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • klon4.jpg
      klon4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      10.3 KB
      เปิดดู:
      8,359
  2. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    กลอนหก

    1 สิงหาคม 2011 at 2:26 pm
    filed under
    กลอนหก

    ลักษณะคำประพันธ์

    ๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
    วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
    วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
    แต่ละวรรคมี ๖ คำ จึงเรียกว่า กลอนหก
    ๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้



    คำท้ายวรรคสดับ กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
    คำท้ายวรรครับ กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
    คำท้ายวรรครอง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
    คำท้ายวรรคส่ง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี


    ๓. สัมผัส
    ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
    คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครับ)
    คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง)
    และคำที่สองหรือที่สี่ของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)
    สัมผัสระหว่างบท ของกลอนทุกประเภท คือ
    คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส
    ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)

    ข้อสังเกต
    กลอนหกไม่เคร่งสัมผัสในวรรคมากนัก อาจย้ายที่สัมผัสจากคำที่สองไปคำที่สี่ได้ หรือ
    จะไม่มีสัมผัสสระเลย ใช้การเล่นคำตามช่วงจังหวะก็ได้ดังกลอนตัวอย่าง เช่น
    ทุกวรรค – ทุกบท – ทุกตอน
    ตัวอย่าง กลอน๖ อื่นๆ

    สองหนึ่ง เป็นสอง ตรองไว้
    กลอนหก ยกให้ คู่สอง
    หาคำ งดงาม ทำนอง
    สอดคล้อง ขานรับ จับวาง

    หัดแต่ง เติมแต้ม แนมรัก
    อกหัก รักจาก ถากถาง
    โศกเศร้า เว้าวอน สอนพลาง
    หลายอย่าง ปนเป เล่ห์กลอน

    ระวัง กลอนพา วารี
    น้ำมี ขาดเนื้อ เบื่อหลอน
    คัดสรรค์ ให้ถูก ขั้นตอน
    ตรวจย้อน อักขระ วิธี

    ได้ผล กลอนหก ยกนิ้ว
    ยิ่งอ่าน หน้านิ่ว ลุกหนี
    เนื้อหา ทำไม อย่างนี้
    เหมือนผี หลอกหลอน กลอนประตู
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • klon62.jpg
      klon62.jpg
      ขนาดไฟล์:
      14 KB
      เปิดดู:
      8,792
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ธันวาคม 2013
  3. makigochan

    makigochan ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    6,248
    ค่าพลัง:
    +68,023
    ขอบพระคุณมากค่ะ จะได้นำมาศึกษาค่ะ
     
  4. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    กลอนแปด

    1 สิงหาคม 2011 at 2:27 pm
    filed under
    กลอนแปด เป็นคำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือ กลอนสุภาพ



    กลอนแปด


    ลักษณะคำประพันธ์

    ๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค
    วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
    วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง
    แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด

    ๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้

    คำท้ายวรรคสดับ กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง
    คำท้ายวรรครับ กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี
    คำท้ายวรรครอง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
    คำท้ายวรรคส่ง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี
    ๓. สัมผัส
    ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
    คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ)
    คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง)

    สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ
    คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ)

    ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้
    หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม
    ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะในแต่ละวรรคนั่นเอง ดังตัวอย่าง
    อันกลอนแปด – แปด คำ – ประจำวรรค
    วางเป็นหลัก – อัก ษร – สุนทรศรี

    ตัวอย่างกลอนแปด
    เรื่องกานท์กลอนอ่อนด้อยค่อยค่อยหัด
    แม้นอึดอัดขัดใจอย่าไปเลี่ยง
    ทีละวรรคถักถ้อยนำร้อยเรียง
    แม้ไม่เคียงเยี่ยงเขาจะเศร้าไย

    วางเค้าโครงโยงคำค่อยนำเขียน
    เฝ้าพากเพียรเจียรจารนำขานไข
    จะถูกนิดผิดบ้างช่างปะไร
    เขียนด้วยใจใฝ่รักอักษรา

    แม้ไม่เก่งเพลงกลอนยังอ่อนด้อย
    แต่ใจรักถักถ้อยร้อยภาษา
    แม้ถ้อยคำนำเขียนไม่เนียนตา
    อย่าโมโหโกรธาต่อว่ากัน

    ทุกทุกวรรคถัก-ร่ายหมายสืบสาน
    ทุกอักษรกลอนกานท์บนลานฝัน
    อาบคุณค่าช้านานแห่งวารวัน
    เป็นของขวัญค่าล้นเพื่อชนไทย….
    “victoria secret klonthaiclub.com“

    …เด็กอัญมณีมีเสน่ห์ ทั้งสวยเท่ห์มากมายชายและหญิง
    แสงระยิบระยับวับวาวจริง ดั่งมนต์สิงอยู่รูปจูบแก้วพลอย

    …ไม่เป็นสองรองใครไทยประดิษฐ์ งามวิจิตรเหลี่ยมพราวราวสุดสอย
    มีเพชรนิลกลิ่นนางมิจางรอย ใจเฝ้าคอยถอยเพชรเก็จมณี…
    “ตะวันฉาย klonthaiclub.com“

    ข้อสังเกต
    กลอนทุกประเภทบังคับเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ สัมผัสนอกระหว่างวรรค เฉพาะวรรค
    ที่สอง (วรรครับ) และวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) นั้น จะรับสัมผัสที่คำที่สามหรือคำที่ห้าย่อมได้เสมอ
    ส่วนสัมผัสในนั้นจะใช้สัมผัสสระหรืออักษรก็ได้ และสัมผัสสระจะใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับ
    สระเสียงยาวก็ได้ เช่น
    “อ่านเขียนคล่องท่องจำตามแบบครู”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • klon8.jpg
      klon8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.3 KB
      เปิดดู:
      13,143
  5. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    กลอนเปล่า

    1 สิงหาคม 2011 at 2:31 pm
    filed under
    กลอนเปล่า – กลอนเปลือย

    กลอนเปล่า ( Blank words ) มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น กลอนอิสระ กลอนปลอดสัมผัส คำร้อยไร้ฉันทลักษณ์ เป็นคำประพันธ์รูปแบบใหม่ ที่มีลักษณะกำกึ่งระหว่างร้อยกรองกับร้อยแก้ว ดังนั้นจึงเป็นการเรียบเรียงถ้อยคำ โดยไม่มีลักษณะบังคับทางฉันทลักษณ์ท่ตายตัว แต่ก็ไม่ใช่ความเรียงเขียนติดต่อกันไปอย่างร้อยแก้ว จะมีการแบ่งเป็นช่วงเป็นวรรค ที่ได้จังหวะงดงาม สั้นหรือยาวก็แล้วแต่เนื้อความ การแบ่งข้อความเป็นวรรคเป็นช่วงนี่เอง ทำให้ดูแล้วมีลักษณะเหมือนกลอน กลอนเปล่าจะมุ่งเน้นเนื้อหามากกว่า
    รูปแบบ ไทยได้รับอิทธิพลกลอนเปล่ามาจากตะวันตก ผ้ท่นำกลอนเปล่ามาใช้ในไทย คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอย่หัว รัชกาลท่ 6 โดยใช้เป็นบทสนทนาของบทละครท่แปลมาจากบทละครของเช็คสเปียร์ เช่น เร่อง โรเมโอและจูเลียต เช่น

    “ นามนั้นสำคัญไฉนที่เราเรียกกุหลาบนั้น
    แม้เรียกว่าอย่างอื่นก็หอมรื่นอย่เหมือนกัน
    โรเมโอก็ฉันนั้น, แม้โรเมโอมิใช่นาม,
    ก็คงจะยังพร้อม บริบูรณ์ ด้วยสิ่งงาม
    โดยไม่ต้องใช้นามโรเมโอ, ทิ้งนามไกล “

    ต่อมา จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนบทร้อยกรอง ชื่อพิราบขาว ในลักษณะของกลอนเปล่า แต่เปลี่ยนแปลงไปจากของเดิม ในความหมายของตะวันตก ทำให้มีผู้เรียกว่า กลอนเปลือย
    กลอนเปล่า-กลอนเปลือย จึงเป็นงานเขียนท่ใช้ถ้อยคำให้กระทัดรัด จัดเป็นบรรทัด มีความสั้น ยาว ไม่เท่ากัน หรือจัดเป็นรูปใดรูปหนึ่งคล้ายร้อยกรอง เพียงแต่ไม่มีสัมผัสบังคับเท่านั้น เช่น

    ตัวอย่างที่ ๑ มีรูปแบบ - สัมผัส คล้ายกาพย์ยานี มีการใช้ภาพพจน์
    สีเทาแห่งราตรี
    มืดมนมีความเหว่ว้า
    ลมหนาวพัดผ่านมา
    มองนภาน่าหวั่นใจ
    หริ่ง หริ่ง เรไรร้อง
    ดั่งนวลน้องครวญคร่ำไห้
    มองจันทร์ผ่องอำไพ
    ดั่งดวงใจอาลัยเอย

    ตัวอย่างที่ ๒ มีรูปแบบ – สัมผัส คล้ายกลอนแปด
    ตอนนี้…ฉันรู้เธอสงสัย
    ว่าทำไม…ฉันเปลี่ยนไปไม่เหมือนก่อน
    ดูเงียบ ๆ … เรียบง่ายไม่ซับซ้อน
    ดูเฉยชากับทุกตอนที่ผ่านไป
    …อยากบอกเธอไม่มีใครทำให้เปลี่ยน
    แต่เรื่องเรียนฉันเคยเขียนความฝันไว้
    อนาคตวาดไว้สูงฉันต้องไป
    ใช่เธอทำผิดใจ
    หรือหัวใจ… ข้างในมีใครแทน

    ตัวอย่างที่ ๓ เป็นร้อยแก้วธรรมดา มุ่งเน้นอารมณ์
    แม่จ๋า …
    หนูหนาวเหลือเกิน
    ทำไมเราไม่มีเสื้อกันหนาวเหมือนคนอื่น
    แม่จ๋า …
    หนูหิวเหลือเกิน
    ทำไมเราไม่มีข้าวกินเหมือนคนอื่นเขา
    ………………………..
    ก็เรามันจนนี่ลูก…
    แม่ตอบ…
    น้ำตาแม่หลั่งไหล … อาบแก้ม
    ………………………
     

แชร์หน้านี้

Loading...