วิธีแยก พระสังกัจจายน์วัดพรหมบุรี ปีพ.ศ.๒๔๙๖ กับ พระสังกัจจายน์วัดอัมพวัน ปีพ.ศ.๒๕๑๓

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย montrik, 13 พฤษภาคม 2019.

  1. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,119
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,075
    วิธีแยก พระสังกัจจายน์วัดพรหมบุรี ปีพ.ศ.๒๔๙๖ กับ พระสังกัจจายน์วัดอัมพวัน ปีพ.ศ.๒๕๑๓

    สังเกตตามลูกศรนะครับ ที่ใต้ฐานพระด้านล่าง วัดพรหมบุรี ขอบจะเป็นปลายมน ส่วนวัดอัมพวัน ฐานล่างมุมจะเป็นฉาก ด้านซ้ายเราหรือขวาองค์พระ จะมีส่วนเว้าเข้าไปเล็กน้อยครับ ถือว่า เป็นเอกลักษณ์จุดสังเกตได้ครับ
    พระวัดพรหมบุรี ที่พบเจอนั้นจะมีหลังเรียบ และหลังอูมครับ ส่วนวัดอัมพวัน ที่พบเจอนั้นจะมีแค่หลังเรียบครับ เนื้อหาจะแตกต่างกันด้วยจากตัวการผสมตัวประสานเนื้อนะครับ แต่มวลสารหลักยังคงมีผงมวลสารวัดระฆังครับ พระวัดพรหมบุรีมีการจารเปียก เป็น "ยันต์เฑาะว์ " ลายมือท่านหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม ครับ และ พระเณร ลูกวัด ที่ได้รับอนุญาติในพิธีให้ช่วยจารพระ ลายมือจึงไม่เหมือนกันครับ...

    การสร้างพระ จากข้อมูลที่สืบค้นได้
    ดังนี้

    แม่พิมพ์สร้างจากหินมีดโกน หรือหินลับมีด จึงเรียกว่าบล๊อกหินมีดโกน (การตัดขอบพระมีทั้งแบบตัดชิดและตัดห่างเนื่องจากคนที่มาช่วยงานกดพระวัดพรหมบุรีมีเยอะมาก แม่พิมพ์ทำจากหินมีดโกน และยังมีการถอดพิมพ์เพื่อใช้ในการกดพระ ใช้การปั้นเนื้อเป็นลูกอมหรือคล้ายการปั้นแป้งที่ทำขนมบัวลอย แล้วจึงนำไปกด ลงบนแม่พิมพ์ เมื่อทำการรีดไล่ลมจนเนื้อเต็มพิมพ์แล้วจึงทำการเอาพระออกจากแม่พิุมพ์ แล้วนำไปผึ่งจนแห้ง ขนาดความหนาบางจึงไม่เท่ากัน เป็นฝีมือชาวบ้านล้วนๆครับ พระวัดพรหมบุรี นั้นยังมีการถอดแม่พิมพ์ แกะแม่พิมพ์ใกล้เคียงกัน หลายพิมพ์ การแก้ไขแม่พิมพ์ระหว่างการกดพระด้วย..ต้องใช้ความชำนาญในการสังเกต และได้เคยเห็นองค์จริง และพระจำนวนมากๆ

    พระวัดพรหมบุรี มีการสร้างเนื้อมวลสารหลายแบบหมดก็ผสมขึ้นใหม่ และมีหลากหลายพิมพ์ มีการสร้างพระเป็นจำนวนมาก ตากเต็มลานวัดพรหมบุรี พระด้านหลัง จึงมีรอยของไม้กระดาน หลังเป็นรอยผ้าอาบ ตากบนถาด ตากบนกระด้ง ตากจนไก่ในวัดพรหมบุรี นึกว่าเป็นอาหาร มาขุยเขี่ย จนชาวบ้านที่มาช่วยงาน เรียกขนามพระวัดพรหมบุรีว่า """ พระสมเด็จไก่เขี่ย วัดพรหมบุรี""

    พระวัดพรหมบุรีเป็นพระยุคแรกของ หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ปี พศ.๒๔๙๖

    พระที่พบเจอ มีทั้งเนื้อผงน้ำมันผสมว่าน เนื้อผงน้ำมันผสมผง ผงน้ำมันนั้นยังมีอีกหลายแบบ เนื้อผงใบลานคลุกรัก เนื้อผงใบลานผสมผงมวลสารวัดระฆัง เนื้อว่านล้วนและ เนื้อว่านสบู่เลือด
    เนื้อดินมีการสร้างหลายแบบ เผาออกมาหลายสีครับเช่น สีดำ สีเทา สีอิฐ เนื่อจากการรับอุณหภูมิความร้อนไม่เท่ากันครับ

    ตามประวัติการสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ พระชุดวัดพรหมบุรีถือเป็นพระรุ่นแรกหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน การสร้าง ชุดวัดพรหมบุรีนั้นคือ ในปีพศ.๒๔๙๖ สมัยที่ท่านได้ประจำพรรษาอยู่วัดพรหมบุรี

    มีปรับปรุงการสร้างโบสถ์วัดพรหมบุรีที่ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา จึงได้ดำเนินการจัดสร้างโบสถ์หลังใหม่ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโมท่านจึงคิดที่จะสร้างพระไว้แจกแก่ญาติโยมที่มาช่วยบริจาคเป็นที่ระลึกและตอบแทนในการมาช่วยการสร้างโบสถ์วัดพรหมบุรี ท่านได้ไปขอความเมตตาต่อพระราชโมลีเจ้าอาวาสวัดระฆัง ขอให้เป็นเจ้าพิธีในการจัดสร้างพระราชโมลีได้มอบมวลสารผงของสมเด็จโตที่เก็บ ไว้และได้ออกหนังสือรับรองให้เ มื่อวันที่ ๑๓ พ.ย. ปีพศ.๒๔๙๕ นอกจากนั้นยังมีผงเก่าๆที่ท่านได้รวบรวมไว้เช่น ๑.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน

    ๒.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู ๓.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ๔.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเชย วัดปากน้ำ(หรือวัดท่าควาย)

    ๕.ผงธูปจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เมื่อ รวบรวมผงที่นำมาสร้างพระแล้วได้นำมาสร้างเป็นพระพิมพ์แบบต่างๆ ได้แก่ พิมพ์สมเด็จสามชั้นขาโต๊ะใหญ่ ,จัมโบ้ สมเด็จเจ็ดชั้น พิมพ์สมเด็จสามชั้น,สมเด็จสามชั้นขาโต๊ะเล็กและจิ๋ว,พระขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว,ขุนแผนนั่งซุ้ม,ขุนแผนพรายกุมาร ,พิมพ์พระประจำวันต่างๆ,พระพุทธชินราช และแบบอื่นๆอีกหลายพิมพ์ ซึ่งแต่และพิมพ์นั้น ได้มีการสร้างไว้ไม่ทราบจำนวน เพราะมีการสร้างโบสถ์แล้วเสร็จในปีพศ.๒๕๐๓ และสร้างวัดอัมพวันด้วยมีการนำแม่พิมพ์ของวัดพรหมบุรีไปสร้างพระวัดอัมพวันด้วย จำนวนการสร้างนั้นไม่ต่ำกว่า๔๐พิมพ์และหลากหลายเนื้อยังมีนำพระกรุมาถอดพิมพ์อีกด้วย

    เมื่อ แล้วเสร็จได้นำพระเหล่าส่วนหนึ่งไปให้หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา ปลุกเสกเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ปีพศ.๒๔๙๖ เสร็จแล้วนำมาปลุกเสกอีกที ที่วัดพรหมบุรีในวันที่ ๑๙ มกราคม ปีพศ.๒๔๙๖โดยมีเกจิที่ร่วมปลุกเสก เช่น

    ๑. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

    ๒. หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา

    ๓. หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว สิงห์บุรี

    ๔. หลวงพ่อจ่าย วัดรุ้ง อ่างทอง

    ๕.หลวงพ่อเขียว วัดเสาธงทอง อ่างทอง

    ๖. หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน ลพบุรี

    ๗.หลวงพ่อโม วัดจันทาราม ชัยนาท

    ๘.หลวงพ่อปลั่ง วัดภิญโญ ลพบุรี

    ๙.หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร เกจิรูปอื่นๆอีก รวมทั้งสิ้น ๒๑ รูป เสร็จแล้วได้นำออกแจกจ่ายญาติโยมที่ร่วมทำบุญ โดยจะแจกพระพร้อมกับใบปลิวรายละเอียดการสร้าง

    ก่อนที่หลวงพ่อจะได้ทำการจัดสร้างพระนั้น ท่านได้ไปศึกษาและเรียนวิชากับเกจิ ตามรายชื่อดังนี้ พ.ศ.๒๔๙๓ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม พุทธสโร) วัดหนองโพธิ์ พ.ศ.๒๔๙๔ หลวงพ่อลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม และท่านเจ้าคุณอริยคุณาธร (เส็ง ปุสโส) วัดเขาสวนกวาง พ.ศ.๒๔๙๕ ศึกษาทำเครื่องรางของขลัง น้ำมันมนต์ กับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และ พระครูวินิจสุตคุณ (หลวงพ่อสนั่น) วัดเสาธงทอง และ หลวงพ่อจาด วัดบ้างสร้าง พ.ศ.๒๔๙๖ ศึกษาปฏิบัติกรรมฐาน กับท่านเจ้าคุณอาจารย์พระราชย์พระราชสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
    พระทั้งหมดที่นำมาลงเพื่อการศึกษาร่วมกัน และพระที่นำมาลง มิใช่พระทั้งหมดของวัดพรหมบุรี

    เนื่องจากประวัติการสร้างพระแล้ว มีการแจกออกไปให้กับผู้ที่มาร่วมทำบุญในคราวนั้นมีส่วนหนึ่งที่แจกไม่หมดคงค้างอยู่ที่วัดและส่วนหนึ่งได้นำเข้าบรรจุเก็บไว้มีส่วนหนึ่งตกค้างนอกวัดที่บ้านกรรมการวัด เมื่อสร้างโบสถ์แล้วเสร็จมิได้ส่งพระคืนวัด ซึ่งมีคนไปเหมามาและทำหนังสือรวมเล่มออกมาแล้วอ้างว่าเป็นทั้งหมดของวัดพรหมบุรี ทั้งที่ไม่ได้ศึกษาประวัติความเป็นมาของการสร้างพระวัดพรหมบุรี พระที่ตกค้างในวัดและที่ท่านหลวงพ่อจรัญแจกออกไประหว่างการสร้างมีมากมายหลายเนื้อหลายพิมพ์ ในปัจจุบันนี้ มีการสะสม ไม่คล้ายกัน จึงขอให้พิจารณา ด้วยสติปัญญา ความรู้ พื้นฐาน ของท่านเองด้วยนะครับ แยกแยะ แม่พิมพ์ มวลสารและธรรมชาติของพระครับ ยังไม่ปรากฏว่ามีพระวัดพรหมบุรี เก๊ครับ แต่มีการทำหนังสือรวมเล่ม ยัดพระวัดอื่นมาเป็นวัดพรหมบุรี และย้ายวัดอัมพวัน เป็นวันพรหมบุรี เปลี่ยนรุ่นเป็นพศ.การสร้าง ซึ่งเข้าใจว่า การแก้ไขนี้คงยากครับเพราะมีบุคคลหลงเชื่อกลุ่มที่จัดทำหนังสือพระ และพระถูกจัดจำหน่ายไปเป็นจำนวนมากครับ
    สะสมพระ
    แม่พิมพ์ต้องมาก่อน พิมพ์ทรงถูกต้อง ในขบวนการผลิตหรือสร้างพระ ย่อมมีพิมพ์ต้น ลองพิมพ์ กว่าจะผสมสูตรลงตัว ในระหว่างการกดพิมพ์ ผู้สร้าง หรือผู้กดพิมพ์ ทดลองทำหรือกดพระ อาจจะมีการแซะตบแต่งแก้ไข เพื่อเพิ่มความสวยงามในแม่พิมพ์ เสมอ จึงมีทั้งตำหนิ และการผิดเพี้ยนในบางจุด ..พระ มีทั้งบล๊อกหน้า และบล๊อกหลัง บางวัด มีเฉพาะบล๊อกหน้า พระพิมพ์ ต้องสังเกต และเคยเห็นพระ ในวัดเดียวกัน มิใช่ไม่รู้ไม่เรียนไม่ศึกษา ใช้แต่ปากพูด อายุ เนื้อหา ธรรมชาติ ปรากฏตามกาล การถอดพิมพ์ มิใช่ง่าย ในพระเนื้อดิน เนื้อผง
    ลับหลังลูกศิษย์ที่ศรัทรามักสวดกันเองทุกสาย เพราะชอบคิดว่าตนนั้นโชคดีแล้ว ได้พระมา เหมามาเยอะ เมื่อมีเยอะก็จะทำให้ตนนั้นเก่งพระของหลวงพ่อ ร้อยทั้งร้อยที่ไม่มีข้อมูลอะไรลึกจริง เล่นไปขายหากินบนชื่อเสียงที่ตนเองไม่ได้สร้างไว้ เหมาได้ก็มาช่วยแชร์ ก็เอาออกมาขายให้คนอื่น ยัดพระย้ายวัดย้ายรุ่น กล้า เรียกตัวเองว่าสายตรงหลวงพ่อกันแทบทั้งนั้น เป็นสายตรงแต่แยกแยะพระไม่ได้ พระมีกี่พิมพ์กี่เนื้อ พระที่ท่านสร้างมวลสารดีผสมผงวัดระฆังแทบทุกรุ่น มีทั้ง พระสวย และไม่สวย การสร้างทั้งฝีมือชาวบ้าน และจ้างช่างมา
    นำลงไว้เพื่อเป็นวิทยาทานศึกษาพระร่วมกันครับ

    ขอบคุณข้อมูลจาก
    น้องจ้ำ
    Panas W.
    FB_IMG_1557701225673.jpg FB_IMG_1557701243113.jpg FB_IMG_1557701252367.jpg FB_IMG_1557701257241.jpg FB_IMG_1557701277741.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...