วุฒิธรรม ๔ ประการ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อภิราม, 3 ตุลาคม 2010.

  1. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    [​IMG]


    วุฒิธรรม ๔ ประการ
    ธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม

    วุฒิธรรม <!--sizec--><!--/sizec-->แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องเจริญ หรือธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม เป็นหลักธรรมที่เกื้อกูลต่อการศึกษาเพื่อพัฒนาปัญญาให้เจริญขึ้น

    วุฒิธรรมประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ คือ

    . สัปปุริสสังเสวะ (คบสัตบุรุษ) หมายถึง <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->“หาครูดีให้พบ” <!--colorc--><!--/colorc-->การเลือกครูดีนั้น ต้องพิจารณา ๒ เรื่องใหญ่เป็นสำคัญ คือ ต้องพิจารณาจากการมีความรู้จริงและการมีนิสัยดีจริง เราจึงจะแน่ใจได้ว่าท่านจะสามารถสอนได้จริงทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพราะครูคือต้นแบบ และต้นแบบเป็นสิ่งสำคัญ

    . สัทธัมมัสสวนะ (ฟังธรรม) หมายถึง <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->“ฟังคำครูให้ชัด” <!--colorc--><!--/colorc-->เมื่อเราได้พบครูดีแล้ว สิ่งสำคัญอันดับที่สองก็คือ ต้องฟังคำครูให้เข้าใจ อย่าให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพี้ยนความหมาย ฟังแล้วต้องได้ “คำจำกัดความ” ของเรื่องนั้นๆ ออกมาอย่างชัดเจนการให้คำจำกัดความ คือ การกำหนดความหมายที่ถูกต้องและชัดเจน ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ เพื่อให้ครูและนักเรียน เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน วิธีการหาคำจำกัดความแบบง่ายๆ ก็คือ การตั้งคำถามในเรื่องที่เรียนด้วยคำว่า “อะไร”

    . โยนิโสมนสิการะ (ตริตรองธรรม) หมายถึง <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->“ตรองคำครูให้ลึก” <!--colorc--><!--/colorc-->เมื่อเราได้พบครูดีแล้ว ได้ฟังคำครูชัดเจนแล้ว แต่จะเข้าใจความรู้ของครูได้ลึกซึ้งมากน้อยแค่ไหน ก็อยู่ที่การนำความรู้กลับมาไตร่ตรองให้ลึกซึ้ง การตรองคำครูให้ลึก คือ การไตร่ตรองให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องถึงวัตถุประสงค์ของธรรมะในเรื่องนั้นๆ วิธีการหาวัตถุประสงค์ก็ทำได้ง่ายๆ ด้วยการตั้งคำถามว่า “ทำไม”

    . ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม) หมายถึง <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->“ทำตามครูให้ครบ” <!--colorc--><!--/colorc-->เมื่อเราหาครูดีพบแล้ว ฟังคำครูชัดเจนแล้ว ตรองคำครูอย่างลึกซึ้งแล้ว สิ่งที่ต้องทำให้ได้ก็คือ ต้องปฏิบัติจริงให้ได้เหมือนครู คนที่ได้ครูดีแล้วเอาดีไม่ได้ก็เป็นเพราะ “ทำตามคำครูไม่ครบ” เพราะถ้าทำครบ ผลงานก็ต้องออกมาดีเหมือนที่ครูทำ วิธีการที่จะทำตามคำครูได้ครบนั้น มีทางเดียว ก็คือ ต้องรับเอานิสัยที่ดีของครูมาเป็นนิสัยของตนให้ได้ ยิ่งถ้าเป็นเรื่องการเรียนธรรมะด้วยแล้ว ต้องเอานิสัยทุ่มชีวิตเป็นเดิมพันในการทำความดีตามอย่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    จะเห็นได้ว่า <!--coloro:#556B2F--><!--/coloro-->“วุฒิธรรม ๔ ประการ” คือขุมทรัพย์ทางปัญญาที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมอบไว้ให้<!--colorc--><!--/colorc-->แก่พวกเรา เพื่อเป็นหลักในการเรียนรู้วิชาทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นทั้งทางโลกและทางธรรม ขอเพียงแต่พวกเราตั้งใจศึกษาให้ครบทั้ง อะไร ทำไม อย่างไร และผลเป็นอย่างไร แล้วลงมือปฏิบัติอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน แล้วความสุขและความเจริญในชีวิตย่อมบังเกิดขึ้นตามมาทันที

    ขอขอบพระคุณ
    ที่มา : วุฒิธรรม 4 ประการ คืออะไร? - DMC Forum
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2010
  2. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    วุฒิธรรม ๔ ประการ ธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม..

    เป็นความรู้ และสาระธรรมที่ดี แก่สมาชิก..อนุโมทนาด้วยครับ​
     
  3. รัก_D

    รัก_D เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2008
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +1,096
    เป็นแบบอย่างที่ครอบคลุมหลายๆด้านครับ เป็นสิ่งที่ดีมากครับ อนุโมทนาด้วยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...