+ ว่างจากความทุกข์ +

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พนมกุเลน, 12 กันยายน 2012.

  1. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    [​IMG]


    เรื่องไม่ดีต่างๆ สารพัด ที่มันเกิดขึ้นกับชีวิตของเราในแต่ละวัน

    หากเราเอามันมาสะสมไว้ในความคิด แล้วคอยคิดถึงมันบ่อยๆ ไม่นาน มันก็เป็นขยะหมักหมมในใจ

    แต่ถ้าเราเพียงแต่มองดูมันเฉยๆ แล้วคิดว่า มันเป็นแค่กอสวะที่ลอยน้ำผ่านมา เดี๋ยวก็ผ่านไป

    มันก็ไม่มีอะไร ที่จะมาเน่าเหม็นตกค้างอยู่ในใจเรา

    [​IMG]

    ความว่าง

    เรื่องความว่าง ถือเป็นหัวใจหรือแก่นของพระพุทธศาสนา

    ความว่างตามหลักพระพุทธศาสนาคือ ความว่างจากกิเลส (ความโลภ ความโกรธ ความหลง)


    ว่างจากตัณหา (ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น)

    ว่างจากสุข ว่างจากทุกข์ ว่างจากความรู้สึกว่า มีตัวเรา ของเรา

    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรารู้จักมองดูโลกโดยความเป็นของว่าง


    "สุญญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต"

    มีใจความว่า "เธอจงมองดูโลกโดยความเป็นของว่าง มีสติอยู่อย่างนี้ทุกเมื่อ และเมื่อเธอมองเห็นโลกอยู่ในลักษณะอย่างนี้ ความตายก็จะค้นหาตัวเธอไม่พบนี้อย่างหนึ่ง


    และอีกอย่างหนึ่งมีใจความว่า ถ้าใครเห็นโลกโดยความเป็นของว่างอยู่แล้วผู้นั้นจะอยู่เหนือ อำนาจของความทุกข์ ซึ่งมีความตายเป็นประธาน"

    "นิพฺนานํ ปรมํ สัญญํ"

    "นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ"

    ว่างอย่างยิ่ง คือนิพพาน นิพพานคือ เครื่องนำมาซึ่งความสุขอย่างยิ่ง -อธิบายเป็นภาษาชาวบ้าน-

    *นิพพาน* ที่แปลว่า ดับไม่เหลือทุกข์นั้น มีความหมายลึกลงไปว่า **ว่างอย่างยิ่ง**

    สภาวะนิพพาน ไม่สามารถอธิบายให้เห็นภาพได้
    (มีเพียงผู้ปฏิบัติเท่านั้นรู้ได้ด้วยตนเอง) นิพพานอยู่เหนือทุกข์เหนือสุข

    สรุปแบบโลกๆ ว่า
    พระพุทธองค์ทรงสอนให้มนุษย์ ทำความเข้าใจความจริงของชีวิตว่า ขันธ์๕ มีลักษณะเป็นกฎไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง ไม่จีรัง


    มีความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา เป็นทุกข์ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น จนเกิดอัตตายึดว่า นี่ตัวกู-ของกู

    ปุถุชนอย่างเรา ที่ัยังต้องทำงานเลี้ยงชีพ การปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็มีความสุขเพียงพอแก่ฐานานุรูป ส่วนหนทางดับทุกข์ หรืออริยมรรค มีอุบายวิธี คือ สติปัฏฐาน๔

    [​IMG]

    ลองศึกษาความว่าง
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    ที่มา
    http://www.dhammajak.net


    [​IMG]

    เข้าใจทุกข์..เข้าใจธรรมการเข้าใจทุกข์...ให้รอบด้านไม่ใช่เรื่องง่าย คนทั่วไปเขาก็เข้าใจทุกข์ไปตามสติปัญญาอย่างโลกๆ ของเขา คือ..เข้าใจว่า ถ้าเมื่อ
    ใด..'เรา'..ได้รับอารมณ์ที่เลวก็เป็นทุกข์


    ถ้าเมื่อใด..'เรา'..ได้รับอารมณ์ที่ดีก็เป็นสุข

    ส่วนนักปฏิบัติในเบื้องต้นจะเห็นว่า..ความสุขและความทุกข์ทั้งหลายยังเป็นของที่แปรปรวน..เอาเป็นเครื่องให้ความสุขที่ถาวรไม่ได้

    ต่อเมื่อใดผู้ปฏิบัติสามารถคุ้มครองจิตได้ด้วยสติปัญญา จิตไม่เกิดความอยาก ไม่เกิดความยึดถือ และไม่เกิดความดิ้นรนทางใจ เมื่อนั้น จิตจะไม่ทุกข์..

    แต่เมื่อใดจิตเกิดความอยาก เกิดความยึดถือ และเกิดความดิ้นรนทางใจ เมื่อนั้น จิตจะเป็นทุกข์..


    ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้จึงพยายามรักษาจิตอย่างเป็นชีวิตจิตใจ ต่อเมื่อปฏิบัติมากเข้าจึงจะเข้าใจ..'อริยสัจจ์'..ได้อย่างลึกซึ้งหมดจด..

    คือ..ได้เห็นความจริงว่า ขันธ์ทั้งปวง แม้แต่จิตที่เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานนั่นแหละ เป็นตัวทุกข์ เข้าใจได้อย่างนี้..'จิตจะเกิดปล่อยวางจิต'..แล้วได้พบกับสภาวะธรรม

    แห่งความสิ้นตัณหา หรือวิราคะ..

    และสิ้นความดิ้นรนทางใจ หรือวิสังขาร..นี่เอง คือความเข้าใจ..'อริยสัจจ์'..อย่างแจ่มแจ้งถึงที่สุด..

    สรุปแล้ว....ไม่ว่าจะเจริญวิปัสสนา ด้วยการรู้อารมณ์รูปนาม อย่างใดในสติปัฏฐาน ก็ทำให้ผู้ปฏิบัติ..มีสติระลึกรู้ สภาวะของรูปนามและมีปัญญา


    เข้าใจ ความเป็นจริงของรูปนามว่า..มีลักษณะเป็นไตรลักษณ์ได้ทั้งสิ้น..

    และในที่สุด..

    'จิตจะเห็นแจ้งอริยสัจจ์ แล้วปล่อยวางความถือมั่นในรูปนาม ได้ทั้งสิ้น' ....ฯ

    ~พระปราโมทย์ ปาโมชโช~


    ขอนอบน้อมแด่ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์

    http://www.chonburiguide.com/4109/ธรรมะวันนี้/หลักธรรมคำสอน/เข้าใจทุกข์เข้าใจธรรม.html

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  2. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    [​IMG]

    ยศและลาภ หาบไป ไม่ได้แน่

    มีเพียงแต่ ต้นทุน บุญกุศล

    ทรัพย์สมบัติ ทิ้งไว้ ให้ปวงชน

    แม้ร่างตน เขาก็เอา ไปเผาไฟ

    เมื่อเจ้ามา มีอะไร มาด้วยเจ้า

    ใยมัวเมา โลภลาภ ทำบาปใหญ่

    [​IMG]

    มามือเปล่า แล้วจะ เอาอะไร

    เจ้าก็ไป มือเปล่า เหมือนเจ้ามา

    ควรเร่งสร้าง กรรมดี หนีกรรมชั่ว

    ไม่พาตัว พาใจ ใฝ่ตัณหา

    หมั่นเจริญศีล สมาธิ และปัญญา

    จึงจะพา ให้พ้นทุกข์ สุขนิรันดร์
     

แชร์หน้านี้

Loading...