ว่าด้วยเรื่องจระเข้

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 20 ตุลาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD class=smalltext><CENTER>[​IMG]</CENTER>
    เยาวดี คุปตะพันธ์
    สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มก.
    <DD>จระเข้มิใช่สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ มิใช่มีแต่หนังที่ทำกระเป๋าและเข็มขัดเท่านั้น แต่เนื้อของจระเข้มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีคุณค่าทางเภสัชวิทยาด้วย ถ้าผู้บริโภคเห็นคุณค่าของจระเข้ จระเข้จะมีสิทธิเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้ในอนาคตอันใกล้นี้ <DD>ย้อนหลังไปประมาณ 60 ปี ใครเลยจะคาดคิดว่าธุรกิจการเลี้ยงจระเข้จะทำรายได้ให้กับผู้เลี้ยงอย่างมากมายมหาศาลดังเช่นปัจจุบัน ก่อนอื่นมาลองทำความรู้จักกับจระเข้โดยสังเขป <DD>แต่เดิมจระเข้เป็นสัตว์ศาสตร์ที่ยังอยู่ในขอบเขตจำกัดไม่แพร่หลายนัก บรรดานักวิทยาศาสตร์ นักเคมี นักชีววิทยา นักอนุรักษ์ป่าและธรรมชาติ อีกทั้งผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย ยังคงต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจระเข้อยู่เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากเชื่อว่า จระเข้เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ร่วมสมัยกับไดโนเสาร์ที่มีขนาดโตไล่เลี่ยกัน
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>โดยหลักวิชาการได้แบ่งสัตว์เลื้อยคลาน (Reptiles) ออกเป็น 4 อันดับ (ORDER) ด้วยกัน <DD>1. คีโลเนีย (Chelonia) ได้แก่ เต่า ตะพาบน้ำ ฯลฯ สัตว์ในอันดับนี้มีอยู่ประมาณ 210 ชนิด <DD>2. รินโคซิฟาเลีย (Rhychocephalia) สัตว์ในอันดับนี้ได้สูญพันธุ์จากโลกไปเกือบหมด เมื่อประมาณ 160 กว่าปีมาแล้ว คงมีเหลืออยู่เพียงชนิดเดียวเท่านั้นคือ กิ้งก่าตัวตารา (Turtara หรือ Sphenedon punetatus) อาศัยอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ <DD>3. สคิวมาตา (Squamata) ได้แก่ จิ้งเหลน เหี้ย ตะกวด กิ้งก่า ฯลฯ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2,800 ชนิด และงูอีกประมาณ 1,700 ชนิด <DD>4. โครโคดีเลีย (Crocodylia) ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานจำพวกจระเข้ชนิดต่าง ๆ <DD>จระเข้ดำรงชีวิตอยู่ทั้งในน้ำและบนบก โดยอาศัยอยู่ในน้ำในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ สำหรับเวลากลางวันจะนอนอ้าปากผึ่งแดดบนบก อาจมีบ้างในบางตัวที่หลบเข้าอยู่ในร่มไม้หรือลงไปแช่น้ำ แต่ก็เป็นเพียงชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น <DD>ประเทศไทยเริ่มมีการค้าขายกับประเทศต่าง ๆ ราวปลายศตวรรษที่ 20 ทำให้สินค้าพื้นเมืองต่าง ๆ เริ่มเป็นที่น่าสนใจ และหนังจระเข้ก็เป็นอีกชนิดหนึ่งที่ได้กลายเป็นสินค้าที่มีค่า ทั้งความนิยมและความต้องการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จระเข้ในธรรมชาติจึงถูกล่าจับด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อเอาหนังจระเข้มาขายโดยไม่เลือกประเภทและขนาด นานวันเข้าจึงทำให้ปริมาณจระเข้ตามธรรมชาติลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนเกือบสูญพันธุ์ไป <DD>ปี พ.ศ. 2489 นายอุทัย ยังประภากร ได้เล็งเห็นปัญหานี้ เป็นคนแรกที่เริ่มเพาะจระเข้ ถึงแม้จะเกิดวิกฤติการณ์เกี่ยวกับการเลี้ยงมากมายก็ตาม แต่ปัจจุบันก็ได้ประสบผลสำเร็จ จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในชื่อฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์ที่สมุทรปราการ ในฐานะเป็นผู้ศึกษาค้นคว้า เชี่ยวชาญ ทั้งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเพาะ และขยายพันธุ์สัตว์ป่าในเชิงพาณิชย์ [​IMG] <DD>รัฐบาลได้มีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2535 โดยกำหนดให้จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย จระเข้น้ำเค็ม และตะโขง ทั้ง 3 ชนิด เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎหมาย <DD>แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงและค้าขายสัตว์ป่าคุ้มครองได้ หากสัตว์ป่าชนิดนั้นสามารถทำการเพาะเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ โดยได้ออกประกาศกฎหมายกระทรวงตามมาตรา 17 และมาตรา 18 ของพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 กำหนดให้จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย และจระเข้น้ำเค็ม เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดเพาะพันธุ์ได้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีองค์กรสหประชาชาติเข้ามาร่วมดูแล และมีหน่วยงานบริหารภายในร่วมกันรับผิดชอบ ได้แก่ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Species Survival Commission หรือ SSC) และคณะกรรมการทำงานด้านอนุรักษ์สัตว์ป่าว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศพันธุ์พืชและสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรือเรียกกันว่า ไซเตส (CITES : Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) ซึ่งเป็นองค์กรนานาชาติที่คุ้มครองพันธุ์พืชและสัตว์ป่าโดยกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก และไซเตสยังเป็นผู้ออกใบรับรองในการจำหน่ายเนื้อจระเข้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายสากลด้วย <DD>ประเทศไทยมีสถานเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์จระเข้ เพื่อนำจระเข้มาฆ่าชำแหละใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ทดแทนจระเข้ตามธรรมชาติที่มีจำนวนลดน้อยลง ดังนี้ <DD>1. บริษัทฟาร์มจระเข้และสวนสัตว์สมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นฟาร์มจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก <DD>2. ฟาร์มจระเข้สวนสามพราน จังหวัดนครปฐม <DD>3. ฟาร์มงูบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา <DD>4. ฟาร์มแสงอาทิตย์ จังหวัดอุทัยธานี <DD>5. ฟาร์มจระเข้นครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ <DD>6. พิมพ์ใจเบิร์ด กรุงเทพมหานคร <DD>7. ศรีราชา ไทยเกอร์ซู (สวนเสือศรีราชา) จังหวัดชลบุรี [​IMG] คุณประโยชน์ของจระเข้
    <DD>จระเข้ถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจมากกว่า 60 ปีแล้ว โดยที่จระเข้จะถูกนำมาแปรรูป หนังจระเข้ได้กลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียง รวมทั้งเนื้อจระเข้ที่นำมาบริโภคจนเป็นที่นิยมของชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวจีน ตามประวัติศาสตร์จีนกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ที่ชาวจีนบริโภคเนื้อจระเข้ ปัจจุบันได้มีการวิเคราะห์เนื้อจระเข้ พบว่ามีคุณค่าทางโภชนาการดังตารางที่ 1
    <CENTER>ตารางที่ 1 เปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของเนื้อจระเข้กับเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ </CENTER>
    <CENTER><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width="75%" border=5><TBODY><TR><TH> </TH><TH>โปรตีน (%)</TH><TH>ไขมัน (%)</TH><TH>พลังงาน (แคลอรี)</TH></TR><TR><TD>เนื้อจระเข้</TD><TD><CENTER>21.1</CENTER></TD><TD><CENTER>1.9</CENTER></TD><TD><CENTER>102</CENTER></TD></TR><TR><TD>เนื้อวัว</TD><TD><CENTER>19.3</CENTER></TD><TD><CENTER>16.0</CENTER></TD><TD><CENTER>221</CENTER></TD></TR><TR><TD>เนื้อหมู</TD><TD><CENTER>20.8</CENTER></TD><TD><CENTER>18.5</CENTER></TD><TD><CENTER>250</CENTER></TD></TR><TR><TD>เนื้อไก่</TD><TD><CENTER>20.2</CENTER></TD><TD><CENTER>10.2</CENTER></TD><TD><CENTER>173</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width="95%" border=0><TBODY><TR><DD>จากตารางที่ 1 พบว่า เนื้อจระเข้มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ ผู้ที่เคยบริโภคเนื้อจระเข้กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า รสชาติดี โดยเฉพาะเนื้อบริเวณโคนหางชื่อเรียกว่า "บ้องตัน" เป็นเนื้อส่วนที่อร่อยมากที่สุด และราคาแพงที่สุดด้วย (แพงกว่าเนื้อบริเวณอื่น ๆ) โดยมีความเชื่อว่า การบริโภคเนื้อจระเข้จะทำให้กลไกการทำงานของร่างกายดีขึ้น และสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคภัยไข้เจ็บ เนื่องจากเนื้อจระเข้มีคุณสมบัติในการเป็นยารักษาโรค โดยใช้เป็นส่วนประกอบผสมกับตัวยาสมุนไพรเพื่อใช้รักษาโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ และโรคเบาหวาน ตลอดจนช่วยบำรุงเลือดลม ทำให้กระดูกและเอ็นแข็งแรง ช่วยปรับสภาพความสมดุลของร่างกาย และยังช่วยให้อายุยืนด้วย <DD>สำหรับคนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า จระเข้จะมีประโยชน์เฉพาะส่วนหนังเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วทุกส่วนของจระเข้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น <DD>กระดูกและฟัน ใช้เป็นส่วนผสมของยากวาดคอเด็ก <DD>ไขมัน นำไปใช้เป็นน้ำมันทาถูนวด สำหรับแก้รอยฟกช้ำ น้ำร้อนลวกไฟลวก ตลอดจนใช้ทำยารักษาโรคผิวหนังและแผลสด <DD>อุ้งมือและอุ้งเท้า นำมาตุ๋นทำเป็นอาหารบำรุงสุขภาพ ช่วยป้องกันโรคตับแข็ง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไต <DD>มังกรตุ๋นโสม (อวัยวะเพศจระเข้เพศผู้) สรรพคุณช่วยบำรุงไต และเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศคงความเป็นหนุ่มสาวอยู่เสมอ <DD>ไข่จระเข้ มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคตับ โรคความจำเสื่อม และช่วยชะลอความแก่ <DD>เลือดจระเข้ นำมาตากแห้ง ทำเป็นผงรักษาโรคมะเร็งได้ <DD>การนำเนื้อจระเข้มารับประทาน จะช่วยป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว และทำให้ร่างกายได้รับคุณค่าทางอาหารสูงสุด <DD>สำหรับกระแสการรับประทานเนื้อจระเข้ในประเทศไทยเกิดขึ้นสองครั้งด้วยกันคือ ในช่วงปี พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นยุคเศรษฐกิจกำลังเฟื่องฟูมาก คนมีฐานะดีจะสรรหาอะไรแปลก ๆ มารับประทานกัน ส่วนครั้งที่สองคือ ในช่วงปี พ.ศ. 2539-2540 เกิดมีปัญหาเรื่องโรควัวบ้า กับโรคไข้หวัดไก่ คนเลยเริ่มมอง ๆ กันว่า ถ้าไม่รับประทานเนื้อสัตว์สองชนิดนี้แล้ว จะรับประทานเนื้ออะไรทดแทน ทำให้เนื้อจระเข้เข้ามามีบทบาทในการบริโภคเช่นกัน <DD>ในปัจจุบันได้มีบริษัทแห่งหนึ่งผลิตเนื้อจระเข้เพื่อจำหน่าย โดยใช้จระเข้อายุ 3-4 ปี ซึ่งยังไม่มีฮอร์โมนเพศ นำเนื้อจระเข้สดแช่แข็งจำหน่าย ซึ่งเป็นเนื้อจระเข้น้ำจืดจากฟาร์มเพาะเลี้ยงที่ได้รับการรับรองจากกรมประมง และจดทะเบียนกับ CITES โดยเนื้อจระเข้นี้ จะถูกนำมาแช่แข็งในอุณหภูมิ -18<SUP>o</SUP>ซ. และบรรจุด้วยระบบสุญญากาศ จึงสะอาดปลอดภัยสามารถนำไปประกอบอาหารได้โดยไม่เสียคุณค่าทางโภชนาการ วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าบางแห่งในกรุงเทพมหานคร โดยบรรจุแพ็คละ 250 กรัม และ 500 กรัม <DD>อย่างไรก็ตาม เนื้อจระเข้ถือเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ทั้งด้านคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ที่หลายคนอาจมองข้าม ซึ่งบางครั้งอาจเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับคนไทยในการบริโภคเนื้อจระเข้ แต่เมื่อได้ศึกษาลงไปจะเห็นว่า เนื้อจระเข้มีคุณประโยชน์นานัปการที่เป็นเหตุผลที่ทำให้ชาวไทยอาจจะหันมารับประทานเนื้อจระเข้กันมากขึ้นในอนาคตอันใกล้</DD></TR></TBODY></TABLE></CENTER></DD></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...