ศาลาวัดคูเต่าศาสนสถานรางวัล...ยูเนสโก

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย aprin, 16 ธันวาคม 2011.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    ในประเทศไทยมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายที่ได้รับการยกย่องจนถูกจัดให้ อยู่ในธรรมเนียบมรดกสำคัญระดับนานาชาติชนิดนับไม่ถ้วน และที่สำคัญยังมีอีกมากมายหลายแห่งที่เข้าคิวรอการผลักดันสนับสนุนจากหน่วย งานต่างๆ เพื่อให้ได้รับการบันทึกหรือรับรองจากองค์กรสากลในการประกาศให้โลกได้รับรู้ ถึงความมีอารยะและประวัติศาสตร์ที่มีความเป็นมาอันยาวนานของดินแดนแห่งนี้

    จังหวัด “สงขลา” เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ความเป็นมาหลายร้อยปี ดังนั้นที่นี่จึงได้รับการขนานนามว่าเป็น “เมืองเก่า” ทรงคุณค่าที่เปี่ยมล้นไปด้วยเรื่องราวที่ควรศึกษาและอนุรักษ์ ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมประเพณี รวมถึงมรดกทางศาสนา โดยล่าสุด “ศาลาโบราณสถาน” แห่ง “วัดคูเต่า” ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ ๖ ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ได้รับรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ค.ศ.๒๐๑๑ จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก)

    ณ วัดคูเต่า แห่งนี้ถือเป็นหนึ่งในศาสนสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่งใน จ.สงขลา ภายในอาณาบริเวณของวัดประกอบไปด้วยอาคารเสนาสนะต่างๆ อายุรวมได้หลักหลายร้อยปี ซึ่งถือเป็นมรดกตกทอดทางสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมอันทรงค่า โดยเฉพาะอุโบสถวัดนั้นได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร

    ภายในวัดมีถาวรวัตถุเก่าแก่ทั้งอุโบสถกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สร้าง พ.ศ.๒๔๔๖ โครงสร้างก่ออิฐถือปูนและไม้รอบด้วยกำแพงแก้ว มีซุ้มประตูก่ออิฐถือปูนขาว ยอดเป็นจตุรมุขแกะลายกนก และซุ้มสีมาลายกนก หน้าบันเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และพระพรหมทรงหงส์ มีลายกนกและรูปสัตว์ประกอบ ภายในมีจิตรกรรมรูปพระเวสสันดรชาดก ศาลาการเปรียญกว้าง ๑๔.๕๐ เมตร ยาว ๒๑.๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ กุฏิสงฆ์จำนวน ๗ หลัง โครงสร้างเป็นอาคารไม้และตึก อาคารห้องสมุดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้าง พ.ศ.๒๕๒๐ ศาลากว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๕๓ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๔ โครงสร้างคอนกรีตเริมเหล็ก สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถ ปางสมาธิ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗

    “พระอธิการมาโนช กตบุญโญ” เจ้าอาวาสวัดคูเต่า บอกว่า การที่วัดได้รับรางวัลนั้นคงต้องยกความดีให้แก่พุทธบริษัทในชุมชนทุกคน เพราะได้ร่วมกันอนุรักษ์สิ่งดีงามที่บรรพบุรุษสร้างไว้เมื่อครั้งอดีตให้ อยู่ตกทอดมาจวบจนถึงปัจจุบัน และที่สำคัญเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าศาสนาในโบราณกาล ณ ที่แห่ง นี้รุ่งเรืองเพียงใด ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการสืบทอดให้สัญลักษณ์ทางศาสนาแห่งนี้ให้คง อยู่สืบไปชั่วลูกชั่วหลาน

    "ทุกสิ่งทุกอย่างที่ยังคงตั้งตระหง่านในชุมชนแห่งนี้ได้เพราะการร่วมแรงร่วม ใจของชาวพุทธในพื้นที่ทุกคนที่ยังคงรักษามรดกธรรมของบรรพชนให้คงอยู่ไว้ ดังนั้นรางวัลนี้เป็นความภาคภูมิใจของทุกคน" พระอธิการมาโนช กตบุญโญ กล่าว

    สิ่งที่เจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ปลื้มปีติคือ มีชาวพุทธมากมายเริ่มหันมาให้น้ำหนักและความสำคัญของมรดกทางศาสนา ทำให้วันนี้วัดเริ่มมีคุณค่ามากขึ้น เห็นได้จากการเดินทางเข้ามาศึกษาเรื่องราวรวมถึงประวัติอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นรางวัลที่ได้รับจึงเป็นดั่งสัญญาณที่กระตุกต่อมความสนใจให้แก่พุทธ ศาสนิกชนหันหน้ากลับมาเข้าวัดมากขึ้นอีกครั้ง ซึ่งล่าสุดชุมชนได้ร่วมกันจัดตลาดนัดแบบย้อนยุคโบราณขึ้นที่วัดในทุกๆ วันพฤหัสบดี เพื่อนำร่องกิจกรรมจูงใจนักท่องเที่ยวและชาวพุทธเข้ามาร่วมภาคภูมิใจ


    “ความภูมิใจแห่งชุมชน”


    “ชาญวิฑูร สุขสว่าง” รองนายก อบต.แม่ทอม ในฐานะเจ้าของความคิดบูรณะและนำเสนอผลงานกับยูเนสโก กล่าวว่า ประวัติความเป็นมาของวัดคูเต่า เดิมวัดคูเต่าตั้งอยู่หมู่ ๓ ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา และเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ ได้เปลี่ยนมาอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบางกล่ำ วัดคูเต่าเป็นวัดโบราณวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ริมคลองอู่ตะเภา ก่อนออกสู่ทะเลสาบ ก่อสร้างก่อน พ.ศ.๒๓๙๙ (ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด) โดยพระอุปัชฌาแก้ว และเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๓๙๙ พระอุปัชฌาแก้วมรณภาพเสียก่อน หลังจากนั้นได้หยุดการก่อสร้างไประยะหนึ่ง

    ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๕ พระอุปัชฌาหนู ได้ทำการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยในอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังพระเวสสันดรชาดก โดยช่างภูมิปัญญาท้องถิ่นในสมัยนั้น และภายในวัดยังมีใบเสมา มณฑปบัว ศาลาการเปรียญ ศาลาท่าน้ำ หอระฆัง กูมไม้ทรงไทย วัดคูเต่าตั้งอยู่ในพื้นที่ ๑๕ ไร่ ๓ งาน ๑๓ ตารางวา บริจาคโดยนายสร้าง (ไม่ทราบนามสกุล) ซึ่งเป็นชาวจีนมาตั้งฐิ่นฐานอยู่ใน ต.คูเต่า ต่อมา พระอุโบสถวัดคูเต่าได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร โดยได้ปฏิสังขรณ์ใหม่เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘

    ชาญวิฑูร ระบุด้วยว่า เดิมต้องการสร้างจิตสำนึกของชุมชนให้หวงแหน และรู้คุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน จนนำมาสู่การร่วมแรงร่วมใจในการบูรณะรักษาศาลาเก่าแก่ของวัดแห่งนี้ กอปรกับในห้วงนั้นมีผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอาศรมศิลป์ กรุงเทพฯ เดินทางลงมาในพื้นที่ จึงขอคำปรึกษาในเรื่องการดำเนินการ เนื่องจากเป็นโบราณสถานเก่าแก่มีอายุร้อยปี จึงอยากอนุรักษ์ไว้คู่กับชุมชน กระทั่งได้รับรางวัลจากยูเนสโก ซึ่งคาดว่าจะมีการรับมอบรางวัลประมาณเดือนพฤศภาคม พ.ศ.๒๕๕๕

    http://www.komchadluek.net/detail/20111216/117815/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A5...%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%81.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...