เรื่องเด่น ศาลเจ้าแม่ทับทิม ความเชื่อของชาวจีนใหหนำ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 15 กุมภาพันธ์ 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    0b8b2e0b981e0b8a1e0b988e0b897e0b8b1e0b89ae0b897e0b8b4e0b8a1-e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b980e0b88a.jpg

    ชาวจีนนับได้ว่าเป็นกลุ่มชนที่มีบทบาทด้านการค้าของไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล กระทั่งปัจจุบันเราจะพบว่าร้านค้าต่าง ๆ ที่มีอยู่นั้นส่วนใหญ่จะสืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่เป็นคนจีนทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นร้านทอง ห้างสรรพสินค้าหรือแม้แต่บริษัทต่าง ๆ

    8b2e0b981e0b8a1e0b988e0b897e0b8b1e0b89ae0b897e0b8b4e0b8a1-e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b980e0b88a-1.jpg

    นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2385 เป็นต้นมามีชาวจีนได้อพยพเดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยกระจายอาศัยตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ชาวจีนส่วนใหญ่ที่อพยพเข้ามานั้นจะอาศัยการเดินทางโดยเรือสำเภาเป็นพาหนะผ่านแหลมอินโดจีนเข้าสู่อ่าวไทย

    ส่วนในภาคเหนือของประเทศไทยก็มีชาวจีนเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางการค้าขาย เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง กระทั่งได้แพร่หลายไปเกือบทุกจังหวัดในเวลาต่อมา

    การเดินทางเข้ามาค้าขายในประเทศไทยของชาวจีน ซึ่งเรามักเรียกว่า “ชาวจีนโพ้นทะเล” นั้นหลังจากที่การค้ามีความเจริญรุ่งเรืองแล้วผนวกกับที่ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนมาเป็นเวลานาน จึงได้รวบรวมชาวจีนที่ค้าขายด้วยกันก่อตั้งศาลเจ้าขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นสถานที่เพื่อพบปะพูดคุยของชาวจีนหลังจากที่ว่างเว้นจากการค้าขาย

    ศาลเจ้าของชาวจีนจะมีบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งขึ้นมา มีรูปปั้นของเทพเจ้าที่ชาวจีนนับถือประดิษฐานอยู่ อาทิ เจ้าแม่ทับทิม เจ้าแม่เทียนโห้ว เจ้าแม่ปุนเถ้ากงและเจ้าเยียตี้กง ฯลฯ ซึ่งเทพเจ้าต่าง ๆ นั้นชาวจีนจะให้ความเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างมากแตกต่างกันไปแต่ละองค์ โดยเฉพาะเจ้าแม่ทับทิม ชาวจีนจะให้ความเคารพเลื่อมใสสูงสุด

    การกำเนิดเจ้าแม่ทับทิม หรือ ตุ้ยบุ้ยเต๋งเหนี่ยง ตามตำนานกล่าวว่า สมัยราชวงศ์ฮั่นในสมัยกษัตริย์ฮั่นกวงบู๊ตี๋ (ระหว่าง พ.ศ.537 – 610) เจ้าแม่ทับทิมได้รับการยกย่องและแต่งตั้งให้เป็นเทพยดาแห่งความเมตตาการุณย์ ช่วยคุ้มครองมวลมนุษย์ให้พ้นจากสรรพภัยและขจัดความทุกข์ยาก ต่อมาในปลายราชวงศ์เหม็ง (ประมาณ พ.ศ.2167) ที่เกาะไหหนำ มีหมู่บ้านชื่อตุ้ยบ้วย ซึ่งที่นี่เองมีครอบครัวของชาวประมงที่ยากจนครอบครัวหนึ่งมีหัวหน้าครอบครัวแซ่พัว เป็นคนที่ขยันขันแข็ง ซื่อสัตย์มัธยัสถ์ ยึดอาชีพหาปลาเพื่อเลี้ยงครอบครัว

    วันหนึ่งชายแซ่พัวได้ออกทะเลเพื่อหาปลาตามปกติ โดยมีแหทำเป็นช้อนผูกติดไว้กับหัวเรือ ทว่าในคืนนี้ไม่ว่าเขาจะพายเรือทวนน้ำหรือพายเข้าหาฝั่งก็ไม่ได้ปลาแม้สักตัวเดียว คงมีเพียงแต่ท่อนไม้ท่อนหนึ่งที่ติดมาทุกครั้ง ด้วยความโมโหเขาจึงเหวี่ยงท่อนไม้นั้นออกไป
    แล้วจึงช้อนปลาเหมือนเดิม แต่ช้อนเท่าไหร่ก็ไม่ได้ปลาคงมีเพียงไม้ท่อนเดิมที่ติดขึ้นมาทุกครั้ง ทำให้ชายแซ่พัวหวนคิดขึ้นได้ว่า ไม่ว่าเขาจะเหวี่ยงไม้ท่อนนี้ทิ้งไปแต่เหตุไฉนไม้ท่อนนี้จึงกลับเข้ามาติดแหของเขาได้อีก เขาจึงรีบว่ายน้ำขึ้นฝั่งแล้วกลับมาพิจารณาไม้ท่อนนั้นด้วยความมหัศจรรย์ใจ จากนั้นเขาจึงได้อธิษฐานบนบานศาลกล่าวต่อไม้ท่อนนั้นว่า

    “ตัวข้าฯ ตั้งแต่เกิดมาจนป่านนี้ยังไม่เคยเห็นท่อนไม้ใดที่จะมีอภินิหารจนถึงกับลอยทวนน้ำได้ ฉะนั้นหากท่านศักดิ์สิทธิ์และมีศักดานุภาพจริง ก็ควรจะให้ความสงสารและช่วยให้ตัวข้าฯ ให้พรุ่งนี้สามารถหาปลาได้เต็มช้อนแห ข้าฯจะระลึกพระคุณอันยิ่งใหญ่ที่ทรงการุณย์
    แก่ข้าฯ ด้วยการนำท่อนไม้นี้กลับไปแกะสลักเป็นเทวรูปแจ้าแม่ พร้อมกับจะได้ทำการกราบไหว้บูชาบวงสรวงทุกค่ำเช้า”

    8b2e0b981e0b8a1e0b988e0b897e0b8b1e0b89ae0b897e0b8b4e0b8a1-e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b980e0b88a-2.jpg

    จากนั้นในวันรุ่งขึ้น ชายแซ่พัวก็ได้ออกไปหาปลาด้วยความมั่นใจ คล้ายกับปาฏิหารย์ ครั้งนี้ภายในช้อนแหเต็มไปด้วยปลานานาชนิดทั้งตัวใหญ่ตัวน้อย เขานำเรือดันช้อนแหอีกเพียง 2 – 3 ครั้งท้องเรือลำน้อยก็เต็มไปด้วยปลา เขาปลาบปลื้มปิติยิ่งนัก เขารีบนำเรือกลับ
    บ้านด้วยจิตใจแสนสุขและอ้มเอมในอภินิหารของท่อนไม้นั้น

    6 เดือนผ่านไป การทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยการจับปลาได้สร้างความเจริญจนทำให้ชายแซ่พัวกลายเป็นผู้มีฐานะร่ำรวย แต่สิ่งหนึ่งที่เขาไม่ได้ลืมก็คือการกราบไหว้บูชาท่อนไม้ซึ่งถือเป็นตัวแทนของเจ้าแม่ และเพื่อเป็นการแสดงถึงเดชบารมีของเจ้าแม่และเป็นที่พึ่งแก่ผู้ตกทุกข์ ชาวประมงแซ่พัวจึงได้นำท่อนไม้แกะสลักเป็นรูปเจ้าแม่และตั้งศาลของเจ้าแม่ตุ้ยบ้วยขึ้น เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 (ตรงกับเดือน 12 ของไทย) และได้เชิญพระวิญญาณของเจ้าแม่ มาประทับเพื่อคุ้มครองและประสิทธิ์ประสาทแก่ปวงชนพร้อมสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยาก และอำนวยความสำเร็จให้บังเกิดแก่ผู้ที่วิงวอนขอร้องให้รอดพ้นจากภัยพิบัติ และในคืนนั้นเองก็ได้มีการจัดสุราอาหารคาวหวาน เชิญแขกเหรื่อญาติพี่น้องมิตรสหายมาร่วม โดยชาวจีนถือว่า สุราคือน้ำอมฤต และอาหารคือเครื่องทิพย์ ที่จะยังความสุขความเจริญความสำเร็จให้บังเกิดแก่ผู้มาร่วมงาน และกำหนดเอาวันทำพิธีนี้ถือเป็นวันกำเนิดของเจ้าแม่ สืบมาจนถือปัจจุบัน

    กระทั่งเมื่อชาวจีนเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยก็ได้มีการตั้งศาลเจ้าแม่ตุ้ยบ้วย หรือ ศาลเจ้าแม่ทับทิมขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ซึ่งปัจจุบันมีศาลเจ้าแม่ตุ้ยบ้วยอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทยประมาณ 25 ศาลซึ่งศาลเจ้าแม่ตุ้ยบ้วยที่อยู่เชิงสะพานซังฮี้ ชาวจีน
    สร้างขึ้นตั้งแต่ปีแรกที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ชาวจีนถือว่าเป็นศาลเจ้าแม่ตุ้ยบ้วยศาลแรกในประเทศไทย

    ศาลเจ้าแม่ตุ้ยบ้วยหรือ ศาลเจ้าแม่ทับทิมนั้นเป็นที่ประดิษฐานของเทพยดา 4 องค์ด้วยกันคือ เจ้าแม่ทับทิม เจ้าแม่เทียนโห้ว เจ้าแม่ปุนเถ้ากงและเทพเจ้าเยียตี้กง ในการจัดพิธิสมโภชศาลเจ้าแม่ทับทิมจะจัดขึ้นปีละ 4 ครั้ง โดยครั้งแรกจัดขึ้นในวันตรุษจีนเล็ก คือหลังเทศกาลตรุษจีนประมาณ 15 วัน ชาวจีนเรียกว่า “วันงวดเซียว” ครั้งที่ 2 จัดขึ้นในช่วงวันเกิดเจ้าแม่เทียนโห้ว ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 (ประมาณปลายเดือนเมษายนถึงต้นพฤษภาคม) ครั้งที่ 3 จัดในวันเกิดของเจ้าแม่ทับทิมตรงกับวันลอยกระทง ขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ส่วนครั้งสุดท้ายเป็นพิธีใหญ่จัดขึ้นเพื่อแก้บนขอลูกหลานที่มีบนบานศาลกล่าวต่อเจ้าแม่ทับทิม โดยจะจัดในช่วงหลังวันเกิดของเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งจะอยู่ระหว่างปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี

    ในพิธีสมโภชศาลเจ้าแม่ทับทิมนี้จะมีการเบิกพระเนตรเทพยดาทุกองค์แล้วอัญเชิญโพธิญาณของเจ้าแม่ไปสิงสถิตย์องค์เทวรูปทุกองค์ นอกจากนี้ยังมีพิธีลุยไฟของเจ้าแม่ซึ่ง 3 ปีจะทำพิธีลุยไฟหนึ่งครั้ง ในวันรุ่งขึ้นก็จะทำพิธีจินเปี้ยว หรือสืบชะตา จากนั้นก็จะอัญเชิญเทพยดาทุกองค์ออกไปเยี่ยมลูกหลานแล้วกลับมาทำพิธีไหว้โป๊ยเซียน ในกลางคืนจะมีเจ้าภาพรับแสดงงิ้ว แสดงมังกรและเชิดสิงโต

    พิธีสมโภชศาลเจ้าแม่ตุ้ยบ้วยหรือเจ้าแม่ทับทิม เป็นศรัทธาความเชื่อของคนเชื้อสายจีนด้วยเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมุ่งให้คนทำความดีละเว้นความชั่ว นอกจากนั้นยังมีความหมายเพื่อแสดงความเคารพเลื่อมใสและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ได้สร้างศาลเจ้าขึ้นมา อาจเรียกได้ว่าเป็นพลังเหนือธรรมชาติที่แสดงออกถึงความศรัทธาต่อความเชื่อของชาวจีน

    8b2e0b981e0b8a1e0b988e0b897e0b8b1e0b89ae0b897e0b8b4e0b8a1-e0b884e0b8a7e0b8b2e0b8a1e0b980e0b88a-3.jpg

    สิ่งของศักดิ์สิทธิ์ในศาลเจ้าแม่ทับทิม
    โคมเทพยดาฟ้าดิน หรือ โคมสวรรค์ (คี กง เดง)

    ความเชื่อ องค์เง็กเซียนฮ่องเต้ถือว่าเป็นเทพแห่งสวรรค์ได้ประทานโคมไฟนี้แด่เจ้าแม่ทับทิมเพื่อนำเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนสรวงสวรรค์ลงมาโปรดลูกหลานบนโลกมนุษย์

    ความหมาย เป็นสิ่งก่อเกิดแสงสว่างแห่งชีวิต อันได้แก่ ความรู้ สติ ปัญญา ความเจริญรุ่งเรือง ให้ปรากฏแก่บุคคลและครอบครัว

    โคมจีนคู่หน้าศาลเจ้า (เดง ลั่ง)
    ความเชื่อ เป็นโคมจีนอันศักดิ์สิทธิ์ที่เจ้าแม่ทับทิมประทานให้ ทุกศาลเจ้าจะมีโคมจีนคู่ประดับไว้หน้าประตูทางเข้าศาลเจ้า เพื่อส่องแสงสว่างให้ลูกหลานทุกคน

    ความหมาย โคมจีนคู่นี้จะบันดาลให้ผู้เป็นเจ้าของและครอบครัวมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจแสงสว่างจากโคมไฟ จะเห็นหนทางนำไปสู่การดำเนินชีวิตอันรุ่งโรจน์ทุกด้าน ประกอบกิจการค้าก็จะเจริญรุ่งเรือง บุตรหลานที่ร่ำเรียนหนังสือจะก้าวหน้ามีการศึกษาดี

    โคมจีนคู่หน้าโรงงิ้ว (เดง ลั่ง)
    ความเชื่อ เป็นโคมจีนอันศักดิ์สิทธิ์ที่ส่องสว่างให้เจ้าแม่ทับทิมและองค์เจ้าต่างๆ ได้ทอดพระเนตรเห็นการแสดงงิ้วได้อย่างเบิกบานสำราญร่วมกับลูกหลานทุกคน
    ความหมาย มีความหมายเหมือนโคมจีนคู่หน้าศาลเจ้า

    ผ้าแดงสิริมงคลหน้าศาลเจ้า (อ่าง โบ๋)
    ความเชื่อ สีแดงเป็นสีมงคล เป็นผ้าที่เจ้าแม่ทับทิมประทานมาให้ลูกหลาน
    ความหมาย เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เป็นเจ้าของและครอบครัวพบแต่ความสุข เป็นสิริมงคลเกิดขึ้นในครอบครัว เช่น การแต่งงาน การเปิดกิจการใหม่ ทำให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้น

    ผ้าแดงดอกเจ้า (กง อ่าง กง ฮวย)
    ความเชื่อ เป็นผ้าแดงศักดิ์สิทธิ์ที่เทพยดาได้สิงสถิตย์อยู่ภายใน ทำให้เกิดแต่สิ่งที่เป็นมงคล
    ความหมาย ผู้เป็นเจ้าของเมื่อนำไปไว้ที่ศาลเจ้าจีนประจำบ้าน จะทำให้ตนเองและครอบครัวมีเทพยดาทุกองค์ปกป้องคุ้มครองให้อยู่ดีมีสุข เจริญก้าวหน้า

    บทความโดย
    จักรพงษ์ คำบุญเรือง

    ขอบคุณที่มา
    https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/916982
     

แชร์หน้านี้

Loading...