ศาสนาอยู่ที่กายกับใจ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย paang, 24 ตุลาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="50%" align=center border=0><TBODY><TR><TD height=16>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD>
    พระพิสาลพัฒนาทร (ถาวร จิตตถาวโร)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หลักศาสนา ศาสนาไม่ใช่เรื่องอยู่ที่โน่นที่นี่ ศาสนานั้นเป็นเรื่องกายกับใจ สิทธัตถราชกุมารเป็นคนธรรมดาไม่ใช่เป็นเทวดา เมื่อสิทธัตถราชกุมารเป็นคนธรรมดาก็แสดงว่ามีกายกับใจ เมื่อมีกายกับใจแล้วยังมีการแต่งงานได้ราหุล เข้าใจในหลักการครองเรือน ครองตนจนที่สุดทางดำเนินก็เลือกได้ว่า
    ออกบวช เมื่อบวชแล้วก็ไม่ได้ว่าจะบรรลุทันที ใช้เวลาทำความพากความเพียรอยู่ ๖ ปี กว่าจะได้เป็นศาสดาเจ้าของศาสนาเป็นเจ้าของคำสอนใช้เวลาอยู่ถึง ๖ ปี เมื่อท่านโกณฑัญญะเป็นพระสงฆ์รูปแรกเมื่อ มีพระสาวกเกิดขึ้นแล้วการกระจาย การประกาศความจริง ก็มีอยู่ จากวันนั้นถึงวันนี้ ดังที่หมู่เราได้ยิน
    ได้ฟังได้เห็น ได้ดู ได้ อยู่ใกล้ ได้รับรู้ ได้สัมผัส ได้เข้าใจ หลักศาสนาจึงปรากฏอยู่เท่าทุกวันนี้

    หลักศาสนาจึงปรากฏเด่นชัดอยู่เท่าทุกวันนี้ พุทธสาวกเกิดขึ้นพระธรรมนั้นปรากฏตั้งแต่โน่นอายุ ๓๖ ปีกระจ่างแจ้งในพระทัยของพระองค์ ตั้งแต่ อายุ ๓๖ ปี คือ ๓๖ พรรษา ความจริงจึงปรากฏขึ้น น้ำพระทัย จึงเปี่ยม ด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา นี่คือหลักที่เข้าใจได้ง่ายว่าศาสนานี้ไม่ได้อยู่ที่โน่นแต่ อยู่ที่กายกับใจนี่แหละ เมื่อกายกับใจรู้อยู่ว่า คืออะไร มีฐานะอย่างไร มีความจริงอย่างไร นี่แหละคือหลักศาสนา ศาสนามีลักษณะเหมือนกันหมด เช่นทุกบ้านก็มีคน ทุกบ้านก็มีคนแก่ ทุกบ้านมีคน เจ็บ ทุกบ้านมีคนก็ต้องมีคนตาย มีการหาน้ำที่จะรักษาโรคหายได้ฉมัง ไม่ว่ามะเร็งหรือเอดส์ ถ้าบ้านที่มีคนแล้วไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย น้ำในบ้านนั้นแหละจะรักษาโรคทุกชนิดได้หมด ถ้ามีบ้านใด คนบ้านนั้นไม่แก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย น้ำกินน้ำใช้บ้านนั้นแหละจะเป็นยาวิเศษ จะรักษาโรคเอดส์ โรคมะเร็ง โรคร้าย ๆได้ ทั้งนั้นนี่คือหลักแห่งความจริงคือศาสนา

    พระพุทธเจ้าพระองค์เข้าใจในเรื่องกายกับใจ พอเข้าใจในกายกับใจได้แล้ว สิ่งที่นำมาประกาศว่ารูปได้แก่ ส่วนที่ปรากฏอยู่เวลานี้ นั่งเวลานี้ เวทนาความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ สุข ทุกข์ที่อยู่กับเรา เสวยอารมณ์สุขอารมณ์ทุกข์ที่เกิดอยู่กับเรา สัญญาความจำได้หมายรู้ จำได้บ้าง จำไม่ได้บ้าง จำผิด ๆ ถูก ๆ
    สังขารซึ่ง เน้นในเรื่องของการปรุงแต่งของจิต เรียกว่า สังขาร สังขารจิต หมายถึง การปรุงแต่งของจิต จิตสังขาร ปุญญาภิสังขาร เรียกว่าปรุงแต่เรื่องดี อปุญญาภิสังขาร เรียกว่า ปรุงแต่งเรื่องที่ไม่ดี ปรุงแต่งสิ่งที่ไม่ดี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือ ความรู้ที่มีอยู่โดยทั่ว ๆ ไป รู้เจ็บ รู้ปวด รู้สุข รู้ทุกข์ รู้หนาว รู้ร้อน รู้ว่าเวทนา ไม่ทรมานความรู้ที่มีอยู่นี่แหละ เรียกว่า วิญญาณ เมื่อร่างกายนี้หมดสภาพแล้วก็ไปก่อภพใหม่ ภูมิใหม่ ตามฐานะที่จะพึงไปได้เป็นวิญญาณ พึงกำหนดได้ในลักษณะอย่างนี้ แล้วพิจารณาต่อไป

    พระองค์พิจารณาว่าส่วนผมเกิดตรงไหน ส่วนขน เล็บ หนัง ฟันอยู่ตรงไหน มีลักษณะอย่างไร เกสา โลมานขา ทันตา ตโจ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ลองพิจารณาร่างกาย ใหม่ ๆ เป็นอย่างไร ใช้นาน ๆเข้าเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้กรรมฐานงานใดมากไปกว่าการให้ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ไม่ได้ให้งานใดมาก ไปกว่านี้ ไม่ได้ให้อะไรมากไปกว่านี้ จึงต้องระวัง จึงต้องรักษา จึงต้องใส่ใจ จึงต้องสนใจ จึงต้องเอาใจใส่ผม ขน ที่ เล็บ ฟัน หนัง เราจะต้องเอาใจใส่ มีอะไรอยู่ตรงนี้ที่เราต้องเข้าใจ ส่วนของผมเกิดขึ้นส่วนไหน ส่วนของขนเกิดขึ้น ส่วนไหนของร่างกาย ส่วนของหนัง ส่วนของเล็บ ส่วนของฟันอยู่อย่างไร และมีลักษณะ อย่างไรทุกคนยอมรับว่าสวยงาม ทุกคนยอมรับว่าเป็นธรรมชาติทุกคนไม่ปฏิเสธถ้าไม่งามก็แต่งเติมเสริม ถ้าไม่งามก็ดัดแปลง แต่งเติมอยู่นี่แหละ ทุกคนเป็นอย่างนี้ไม่ได้เป็นอย่างอื่น ไม่ได้มีอย่างอื่น ทุกคนแต่งเติม เสริม

    แต่พระพุทธเจ้าของเรานั้นให้พิจารณา ให้พิจารณาตรงกันข้ามไม่ได้เป็นอย่างอื่น ไม่ได้มีอย่างอื่นให้ พิจารณาตรงกันข้าม ส่วนของผม ส่วนของขน ส่วนของเล็บ ส่วนของฟัน ก็ไล่กลับไปกลับมาว่าจริงๆ คืออะไรใช้ได ัคุ้มหรือใช้ไม่คุ้ม ใช้ได้ดีหรือใช้ไม่ได้ดี จะใช้ได้นานเท่าไรหรือใช้ได้กี่มากน้อย ฟันก็ร่วงผมก็ ร่วงหนังก็หย่อนยาน ที่ตึงก็คือหูตึงเท่านั้นที่ยังอยู่แต่หูตึงก็ใช้ไม่ได้นั่นแหละ ส่วนอื่นมันหย่อนมันยานหมด แต่ว่าส่วนที่ตึงก็มีหูตึง แต่ใช้ประโยชน์ไม่ค่อยดีไม่ค่อยได้ พิจารณาดูว่าความจริงของสังขารเป็นอย่างไร

    พระพุทธเจ้าของเรานั้นพระองค์ให้พิจารณาง่าย ๆ ตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่เราเคยมีเคยได้ ตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่เราเคยเป็นเคยอยู่เคยเห็นเคยรู้ พระพุทธเจ้ากลับมองตรงกันข้ามว่า เป็นอสุภะ เป็นของไม่สวยไม่งาม เป็นของปฏิกูลโสโครก คือ กลับตาลปัตรกับความรู้สึกของเรา โดยทั่ว ๆ ไป เรียกว่าย้อนศรกันเมื่อย้อนศรกันแล้วเป็นอย่างไร เกิดความรู้สึกตรงกันข้าม ที่เคยหลงขน หลงผม หลงหนัง หลงเล็บหลงฟัน ก็เกิดความรู้สึกว่า จริง ๆ มันไม่น่าเลย ถ้าผมร่วงลงมาใส่จานข้าวจะเป็นอย่างไร ถ้าขนร่วงลงมาใส่จานข้าวจะเป็นอย่างไร ถ้าฟันร่วงออกมาจากปากหลุดลงไปในภาชนะใส่จานข้าวจะเป็นอย่างไร แม้แต่เล็บที่เราขูด เราทา เราแต่ง เราเติม เราเสริมอยู่ทุกวัน ถ้ากระเด็นมาใส่จานภาชนะข้าวที่เราต้องฉันต้องใช้ ตัวเราเอง เกิดความรู้สึกอย่างไร ลองนึกตามว่าเป็นไปได้แค่ไหน พระพุทธเจ้าของเรานั้นได้พิจารณาให้เห็นตรงกันข้าม ให้พิจารณาตรงกันข้ามของสิ่งที่มีอยู่เป็นอย่างไร เหวลึก ๆ นี่ถมเท่าไรก็ไม่เต็ม หมู เป็ด ไก่ วัว ควาย เอาลงไปเท่าไรก็ไม่เต็ม ปาก น้อย ๆ นี่ใส่ลงไป ดีก็เท่านั้น เลวก็เท่านั้น หยาบก็เท่านั้น ประณีตก็เท่านั้น เสร็จแล้วเป็นอย่างไรออกมาแล้วก็ปฏิกูลโสโครกเหมือนกันหมด เป็นอุจจาระ เป็นปัสสาวะ ส่วนอื่นใดก็มาหล่อเลี้ยงร่างกาย ให้พออยู่ พอกิน พอเป็น พอไปได้ พระพุทธเจ้าให้พิจารณาให้เห็นตรงกันข้ามว่า จำเจ ซ้ำซาก อยู่อย่างนี้แหละ วันแล้ว วันเล่า เดือนแล้วเดือนเล่าปีแล้วปีเล่าก็อย่างนี้อยู่ อาหารที่มีรสเด็ด ราคาแพง ภัตตาคารไหนอย่างไร เหมือนกันที่สุดออกมาส่วนหนึ่งเป็นอุจจาระเป็นปัสสาวะ ส่วนหนึ่งเรียกเป็นการบำรุงธาตุขันธ์พออยู่ได้ไปวันหนึ่ง ๆ
    นั่งพิจารณาในตัวเองนี่แหละ ไม่ได้ไปพิจารณาที่โน่นที่นี่ นั่งพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้ พุง ศาสนา ดูตรงกายกับใจ เมื่อนั่งดูได้ เดินดูได้ ยืนดูได้ นอนดูได้ ความละเอียดของใจก็เกิดขึ้น ความละเอียดของเหตุของผลก็เกิดขึ้น ส่วนของรูปก็นั่งดูอยู่ทุกวัน ใช้ทุกวัน กินทุกวันถ่ายทุก
    วัน ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกเรียกว่า รูป อยากแก่ไหม อยากหรือไม่อยาก ยอมรับหรือไม่ยอมรับ มันก็แก่ อยากเจ็บไหม จะอยากเจ็บหรือไม่อยากเจ็บมันก็เจ็บ เจ็บโน่น ปวดนี่ เจ็บนี่ปวดนั่นอยู่ทั้ง
    ปีทั้งชาติ

    นั่นแหละ อยากจากไหม ไม่อยากจากก็จาก จากยังไม่ตายก็มี ไม่ต้องรอ ไม่ต้องอยากชาตินี้ มันอยากของมันอยู่ตลอดเวลา มันเป็นของมันตลอดเวลา ทำไม บางคนยังไม่ตาย จากกันไปคนละหนคนละแห่ง อยู่บ้านโน้นเมืองนี้ อยู่ประเทศโน้นประเทศนี้ ยังไม่ตายเลยจากกันแล้ว จากแบบไม่รู้สึกตัว เสื่อมแบบไม่รู้สึกตัวเจ็บโดยไม่รู้สึกตัว ตายแบบไม่รู้สึกตัว จากไปทีละเล็กทีละน้อย ทีละนิดทีละหน่อย สังเกตดู จากไปเรื่อย ๆ พอจากไปเรื่อยเป็นอย่างไร แล้วที่สุดก็ไปตามเนื้อผ้าของมัน คือตาย

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="50%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ศาสนาอยู่ตรงนี้

    ศาสนาอยู่ตรงนี้ ศาสนานี้เป็นเรื่องค้นดูความจริงที่เกิดอยู่กับกายกับใจ ด้วยรูปด้วยเสียงด้วยกลิ่นด้วยรส ด้วยการสัมผัสถูกต้องใด ๆ ต่างก็เป็นเรื่องศาสนาทั้งนั้น ไม่ปฏิเสธศาสนาอยู่ที่กายกับใจ ไม่ได้อยู่วัดโน้นวัดนี้ ไม่ได้อยู่ที่อาจารย์รูปโน้นอาจารย์รูปนี้ อยู่ที่กายกับใจแท้ ๆ การยอมรับกายกับใจเป็นที่
    ตั้งของศาสนา การเข้าใจในเรื่องกายกับใจอย่างถ่องแท้เป็นที่มาของศาสนา
    การวางไว้ด้วยเหตุด้วยผลเป็นเรื่องของปัญญาที่เกิดขึ้นจากศาสนาคือใจ ช่างเห็นจริงเห็นจัง เห็นแจ้งเห็นชัด ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่าอยู่ที่เรา อกฺขาตาโร ตถาคตา แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ได้แต่เป็นเพียง ผู้บอกเท่านั้น ความละเอียดของปัญญาก็เริ่มจะเห็นความจริงกับใจเจ้าของ ครูบาอาจารย์ท่านชี้ว่านั้นนะนี่นะ ถูกนะ ไม่ถูกนะ ความจริงเกิดขึ้น ความมีเหตุมีผลเกิดขึ้น ความเข้าใจของเราก็มีขึ้น ดีขึ้น ชัดเจน ปัญญาเกิดขึ้นในลักษณะอย่างนี้ จึงรู้ว่าศาสนานี้เป็นเรื่องของความละเอียดของปัญญา เข้าใจในความจริง คือ กายกับใจตัวเอง ไม่ได้อยู่วัดโน้น ไม่ได้อยู่วัดนี้ ไม่ได้อยู่อาจารย์รูปโน้นอาจารย์รูปนี้ มีอยู่เท่ากันหมด แตกต่างความละเอียด ความหยาบของการฝึกการปฏิบัติ ขยันน้อยขยันมาก หยาบน้อยหยาบมาก ละเอียดน้อยละเอียดมาก ความจริงก็
    ปรากฏกับแต่ละท่านแต่ละคน ศาสนาจึงเต็มไปด้วยเหตุด้วยผลดังที่กล่าวมานี้ครูบาอาจารย์ท่านเมตตา ท่านกรุณาทุกสิ่งทุกอย่างแล้วท่านทั้งหลายลองพิจารณาทบทวนความจริงของชีวิต คุ้ม ไม่คุ้ม ภูมิคุ้มกันดี หรือไม่ ภูมิต้านทานดีหรือไม่ความเข้าใจในหลักศาสนาดีหรือไม่ รู้เหตุแห่งความเสื่อม รู้ผลแห่งความเจริญ รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้บุคคล รู้ชุมชนซึ่งเป็นหัวใจศาสนาว่าด้วยความดีที่ออกมาจากใจ ซึ่งจะยกซึ่งกันและกันให้สูงขึ้น ศาสนาอยู่ตรงนี้แหละ

    เหตุแห่งความเสื่อมคืออะไร เหตุแห่งความเจริญคืออะไร รู้ตน หมายถึงรู้ตัวเรามีลักษณะอย่างไรู้เวลานั้นเวลานี้ควรทำอะไร รู้ประมาณมากหรือน้อย รู้บุคคลที่เราต้องไปด้วย อยู่ด้วย กินด้วย ถ่ายด้วย เดินทางร่วมด้วย ใช้ประโยชน์ร่วมกันด้วย รู้ชุมชน ถ้ารู้ชุมชนได้ อย่างมีเหตุมีผลและปรับตัวเองได้
    แล้ว ศาสนาเย็น ไม่ก่อความร้อนความวุ่นวายให้กับใครต่อใครไม่สร้างปัญหาต่อไปเรื่อย ๆหากคุณสมบัติ ของใจมีศาสนาครบ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้บุคคล รู้ชุมชนได้แล้ว อยู่ที่ไหนก็อยู่เถอะไปที่ไหน ก็ไปเถอะ ทำอะไรก็ทำเถอะล้วนแล้วแต่เป็นธรรมทั้งนั้น เป็นของจริงทั้งนั้น ศาสนานั้นมีลักษณะเป็นอย่างนี้ ศาสนานั้นมีความจริงเป็นอย่างนี้ ศาสนานั้นมีความเข้าใจเป็นอย่างนี้ ผู้ปฏิบัติจึงเห็นจริงเห็นแจ้ง เห็นชัดลงไปว่าอยู่ตรงนี้เอง ไม่ใช่อยู่ที่อื่นอยู่ตรงที่กายกับใจเรานี่แหละ ควบคุมพฤติกรรมรับผิดชอบการกระทำคำพูดของตัวเอง การปฏิบัติก็จะละเอียดขึ้น ศาสนานี้ก็จะเบิกบานอยู่ในหัวใจเราผู้ฝึกผู้ปฏิบัติ สมที่เป็น ชาวพุทธโดยแท้ จึงไม่ไปที่อื่นนอกจากกายกับใจ นั่ง นึกนั่งน้อม ให้เห็นจริงเห็นจัง ผม ขน เล็บ ฟัน หนังเนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น จนเห็นสัจธรรมในชีวิตของตนเองว่าอย่างนี้ เท่านี้ แค่นี้


     

แชร์หน้านี้

Loading...