เรื่องเด่น ศาสนาเซน แท้จริง คือปลายกิ่งก้านของพุทธศาสนานั้นเอง “หลวงตามหาบัว”ได้อธิบายไว้แจ่มแจ้งแล้วพิจารณาเถิดของจริง!!!

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 12 กรกฎาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    ศาสนาเซน แท้จริง คือปลายกิ่งก้านของพุทธศาสนานั้นเอง “หลวงตามหาบัว”ได้อธิบายไว้แจ่มแจ้งแล้วพิจารณาเถิดของจริง!!!

    51529_4178.jpg



    เรื่อง "ศาสนาเซน คือ กิ่งก้านพุทธศาสนาส่วนปลาย"
    (คติธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
    เรา (หลวงตามหาบัว)ก็เคยพูดแล้วว่าเซนนี้ออกจากพุทธ คือเซนนี่ผู้พิจารณาทางด้านปัญญา จิตใจผ่านได้ด้วยพิจารณาทางด้านปัญญา ทีนี้พวกที่มาตามหลังก็เลยเอาเรื่องปัญญานี้มาเป็นศาสนาเซนเสียเลย ไม่ได้คำนึงถึงว่าผู้หลุดพ้นมาจากแง่ไหน ๆ ของพุทธศาสนา ความจริงเป็นกิ่งก้านของพุทธศาสนาตอนปลาย คือตอนละเอียดเกี่ยวกับวิปัสสนา แล้วก็เลยเอานี้เป็นศาสนาเลย ใครมาปฏิบัติตามศาสนาเซนต้องใช้ปัญญาๆ แล้วผิดไปเลย อันนี้ผิดเข้าใจเหรอ พิสูจน์ดังที่ว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนไว้นี้ ศีล สมาธิ ปัญญา


    050705-1-2.jpg




    050705-2-1.jpg

    ศีลเป็นเครื่องอบรมจิตใจให้อบอุ่นไม่เดือดร้อนวุ่นวาย เพราะเหตุที่ว่าตนทำศีลให้ด่างพร้อยหรือขาดทะลุไป จิตก็ไม่เป็นกังวลเพราะจิตของเราบริสุทธิ์ เวลาเข้าสมาธิจิตก็รวมได้ง่าย เพราะมันไม่วอกแวกไปหาสิ่งระแคะระคายที่เจ้าของทำศีลด่างพร้อย
    นี้พิจารณาทางสมาธิ พอจิตเป็นสมาธิจิตมีกำลังเต็มเหนี่ยว เรียกว่า จิตในสมาธินี้เป็นจิตที่พอกับอารมณ์ทั้งหลาย ไม่อยากดู ไม่อยากเห็นไม่อยากได้ยินได้ฟัง ไม่หิวโหยในอารมณ์ต่าง ๆ เพราะจิตเป็นสมาธิมีความสงบตัว ความสงบตัวนี้เป็นอาหารของจิต จิตจึงไม่ไปหาคืบคลานกับอาหารภายนอกซึ่งเป็นฟืนเป็นไฟเผาตัวเอง ทีนี้เวลาจิตเข้าสู่ความสงบนี้จิตก็มีกำลังไม่หิวโหยกับอารมณ์
    พาพิจารณาทางด้านปัญญา เอ้า ทำงานนี้ก็ทำ ทำงานนี้ก็ทำตามสั่ง สั่งให้ทำอะไรก็ทำ เพราะจิตไม่เถลไถลไปหาอารมณ์นั้นนี้ เพราะความหิวโหยในอารมณ์ จิตมันอิ่มอารมณ์แล้วไม่ไป สั่งทำงานอะไรก็ทำ ทีนี้ก็ทำเรื่อยเป็นวิปัสสนาไปเรื่อย นี่ สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา สมาธิเป็นเครื่องหนุนปัญญาให้เดินได้อย่างคล่องตัว ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ จิตเมื่อปัญญาได้ซักฟอกแล้วย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงโดยชอบ นั่น ๓ ขั้น ถ้าพูดตามบาลีไปเลยก็ว่า สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส ศีลเป็นเครื่องอบรมสมาธิให้มีความแน่นหนามั่นคงมากขึ้น ๆ สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา สมาธิเป็นเครื่องอบรมปัญญาให้เดินได้คล่องตัว คือ ทีแรกศีลอบรมสมาธิให้มีความสงบเย็นได้เร็ว สมาธิมีกำลังแล้วหนุนปัญญาให้เดินได้คล่องตัว ทีนี้ปัญญาเป็นเครื่องอบรมจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงโดยชอบ ต่อเนื่องกันไปอย่างนี้ นี่ละท่านสอน สอนพระทุกองค์ เวลาบวชแล้วสอนธรรมข้อนี้


    050705-2-2.jpg




    050705-3-1.jpg

    เรื่องศาสนาพระพุทธเจ้ามีมาก่อนแล้ว เรื่องผู้ที่บรรลุพวก "ขิปปาภิญญา" มีแต่พวกปัญญารวดเร็วผ่านออก ๆ จากพุทธศาสนา ผ่านออก ๆ ผู้ที่ไม่รวดเร็วก็หนุนกันไปตั้งแต่ ศีล สมาธิ ไปเรื่อย ๆ ผ่านออก ๆ นี่เรียกว่า "ศาสนาที่สมบูรณ์แบบ" คือ "พุทธศาสนา" มีทั้ง ก.ไก่ ก.กา มีทั้งประถมมีทั้งมัธยมตลอดดอกเตอร์เข้าใจไหม นี่ขึ้นเป็นขั้น ๆ ทีนี้(ศาสนาเซน)ไปทางโน้นไปหาขั้นดอกเตอร์เลย ผู้ที่ควรแก่ขั้นนั้นมันก็ไปได้ ผู้ไม่ควรแก่นั้น ก.ไก่ ก.กา มันยังไม่ได้มันจะไปเอาดอกเตอร์มาจากไหนเข้าใจไหม นี่ละศาสนาเซนเป็นขั้นดอกเตอร์ของพุทธศาสนา เป็นขั้นที่จะหลุดจะพ้นด้วยปัญญาอยู่แล้ว ก็เท่านั้นละ
    ที่มา : FB : เพจ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น


    050705-3-2.jpg



    เรียบเรียงโดย



    กิตติ จิตรพรหม : สำนักข่าวทีนิวส์

    -----------------------------
    http://www.tnews.co.th/contents/334093
     
  2. MonYP

    MonYP เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,320
    กระทู้เรื่องเด่น:
    32
    ค่าพลัง:
    +681
    เซนไม่ได้แยกออกจากศานาพุทธครับ ดังนั้นไม่น่าจะใช้คำว่าศาสนาเซน ซึ่งอาจจะทำให้พุทธศาสนิกชนไทยเข้าใจผิดกันไป เพราะส่วนมากพุทธศาสนิกชนชาวไทยไม่ค่อยจะสนใจศึกษาคำสอนในพุทธศาสนาของตนเองซักเท่าไร
    ด้วยจิตคารวะ
     
  3. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    [​IMG]
    พระพุทธเจ้าทรงประทานดอกบัวแก่พระมหากัสสปะต้นตำนานนิกาย ฌาน จีนเรียกฉาน ญี่ปุ่นเรียก เซ็น
    เซ็นหรือเซนเป็น นิกายหนึ่งของพระพุทธศาสนามหายาน(แต่ค่อนข้างเรียบง่ายแบบเถรวาท) ก่อตั้งโดย ปรมาจารย์โพธิธรรม(จีนเรียกตั๊กม้อโจ้วซือ) เป้นสังฆปรินายกองค์ที่๒๘
    มีความเป็นมาดังนี้
    เซ็นไม่นิยมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรืออิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ เซ็นจะเน้นการฝึกปฏิบัติ ฝึกการใช้ปัญญา และสมาธิ เพื่อให้ เกิดพุทธิปัญญาจนเข้าใจหลักธรรมด้วยตนเอง จุดมุ่งหมายของเซ็น คือการตระหนักรู้ในพุทธภาวะ การบรรลุธรรมในแบบเซ็นจะเรียกว่า "ซาโตริ" หรือภาวะรู้แจ้ง ซึ่งเป็นภาวะที่ อวิชชา ตัณหา อุปทาน มลายหายไปสิ้น เมื่อบรรลุแล้วก็จะเข้าสู่ความหลุดพ้น ทุกสิ่งกลายเป็นสุญญตา หรือ "ความว่าง" ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น แม้แต่พระนิพพาน จุดเด่นอีกประการหนึ่งของเซ็นคือการไม่ยึดติดในรูปแบบพิธีกรรม หรือแม้แต่พระไตรปิฎก เซนถือว่า การบรรลุมรรคผลนั้น ไม่ได้อยู่ที่ตัวบทอักษร หรือความรู้ด้วนปริยัติ เพราะตัวอักษรหรือภาษามีข้อจำกัด ไม่สามารถอธิบายความเป็นจริงทั้งหมดได้ และการหลุดพ้นในแบบเซ็น ก็ไม่ต้องมีขั้นตอน ไม่จำเป็นต้องเจริญไตรสิกขาตามลำดับมาเลย ใครก็ตามที่ตระหนักรู้แก่นแท้ข้องจิตใจตน ก็บรรลุเป็นอรหันต์ได้เลย

    ด้วยความที่ เซ็น เป็นนิกายที่ส่งผ่านปรัชญาการดำเนินชีวิตที่นำไปใช้ได้จริงสู่ผู้ปฏิบัติอย่างถึงแก่นและเป็นธรรมชาติ ไม่ได้อิงกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือคัมภีร์ แต่เน้นให้ใช้ปัญญา เพื่อให้เห็นสัจจธรรมด้วยตนเอง เซ็นจึงเป็น ธรรมชาติ ที่อยู่รอบๆตัวเรา ผู้ศึกษาเซนจึงไม่จำกัดว่าจะเป็นคนศาสนาไหน ทำให้มีการศึกษาเซ็นอย่างกว้างขวาง ทั้งในหมู่ชาวพุทธ คริสต์ และ อิสลาม ปัจจุบันเซ็นได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทั้งในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป อเมริกา สำหรับในประเทศไทยของเรา ก็มีพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงให้ความสนใจเซ็น เช่น ท่าน พุทธทาสภิกขุ ท่าน ว. วชิระเมธี เป็นต้น

    การปฏิบัติเซ็น

    วิธีการปฏิบัติเซ็น แบ่งได้เป็น 3 ประการคือ

    ซาเซ็น (Zazen) หมายถึงการนั่งสมาธิอย่างสงบและเพ่งสมาธิ
    ซันเซ็น (Sanzen) หรือ วิธีการแห่งโกอัน โกอัน หมายถึง เอกสารข้อมูลที่รับรู้กันโดยทั่วไป (public document) มักจะเป็นเรื่องราวของอาจารย์เซ็นในอดีต หรือบทสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์ มักเป็นปริศนาธรรม ใช้เป็นเครื่องมือทำลายความคิดทางตรรกะ เพื่อที่จะช่วยนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความเป็นจริงแห่งเซ็น
    ม็อนโด (Mondo) คือการถามและการตอบอย่างอย่างทันทีทันใด โดยไม่ใช้ระบบความคิดหรือเหตุผลไตร่ตรองว่าเป็นคำตอบที่ดีหรือไม่ อาจารย์จะเป็นผู้ตั้งคำถามและพิจารณาคำตอบที่ลูกศิษย์ตอบในขณะนั้น

    ประวัติของนิกายเซน
    พระมหากัสสป
    ความเป็นมาของนิกายได้ท้าวความไปถึงครั้งพุทธกาล คือ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎ ทรงชูดอกไม้ขึ้นดอกหนึ่งท่ามกลางธรรมสภา โดยมิได้ตรัสอะไรเลย ที่ประชุมไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย เว้นแต่พระมหากัสสปนั่งยิ้มน้อยๆ อยู่ พระศาสดาจึงตรัสว่า กัสสป ตถาคตมีธรรมจักษุได้ และนิพพานจิต ตถาคตมอบหมายให้แก่เธอ ณ บัดนี้ และได้มอบบาตรและจีวรให้พระมหากัสสป เซ็นจึงเคารพพระกัสสปว่า ผู้ให้กำเนิดนิกาย

    พระอานนท์
    พระอานนท์ เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 2 ของนิกายเซน สำหรับพระอานนท์นี้ มีตำนานเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พระอานนท์ผู้มีความจำเป็นเลิศ และเป็นผู้ได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่าผู้ใด ยังเป็นพระโสดาบัน ไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่มีภาระกิจจะต้องเข้าร่วมสังคายนาพระไตรปิฏก จึงได้เร่งบำเบ็ญเพียรปฏิบัติธรรมอย่างหนักเพื่อให้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งอ่อนล้า และล้มตัวลงนอน จึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนนั้นเอง หลังจากที่ การสังคายนาพระไตรปิฎกเสร็จสิ้นลงแล้ว พระมหากัสสปจึงได้มอบบาตรและจีวรของพระพุทธเจ้าให้แก่พระอานนท์


    พระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ)
    ต่อมาเซ็นได้มีการสืบต่อไปอีก 28 องค์ โดยแต่ละช่วงที่รับสืบทอด ก็จะได้รับบาตรและจีวรของพระพุทธเจ้าเป็นสัญลักษณ์ของสังฆปรินายก สืบต่อกันมาจนถึงพระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ) "พระโพธิธรรม" เดิมเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นคันธารราช ประเทศอินเดีย หลังจากที่ได้บรรลุธรรมแล้ว ก็เดินทางจากอินเดียเข้าสู่ประเทศจีน และได้สถาปนาเซ็นขึ้น ในประเทศจีน ช่วงเวลานั้น แม้ในประเทศจีนจะมีพระพุทธศาสนาสถาปนาขึ้นแล้ว แต่พุทธบริษัททั้งหลายปฏิบัติธรรมกันแต่เพียงผิวเผิน การสวดมนต์ภาวนา ศึกษาธรรม ก็มิได้ทำอย่างจริงจังกระทั่งเล่าเรียนพระไตรปิฎก ก็หวังเพียงประดับความรู้ หรือไม่ก็ใช้เป็นข้อถกเถียงเพื่ออวดภูมิปัญญา

    พระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ)
    ครั้งหนึ่ง พระเจ้าเหลียงบู้ตี๊ พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาพุทธศาสนามาก ทรงถือศีลกินเจอยู่เป็นประจำ เมื่อข่าวการมาถึงของพระอาจารย์ตั๊กม๊อถูกรายงานไปยังราชสำนัก พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงปิติยินดี ยิ่งจึงได้มีพระกระแสรับสั่งให้อาราธนาเข้าเฝ้าทันที ในปีนั้นเองพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้รับนิมนต์จากพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ไปยังนานกิงนครหลวงเพื่อถกปัญหาธรรม
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ได้ตรัสถามพระอาจารย์ตั๊กม๊อว่า
    "ตั้งแต่ข้าพเจ้าครองราชย์มา ได้สร้างวัดวาอาราม โบสถ์วิหาร และพระคัมภีร์มากมาย อีกทั้งอนุญาตให้ผู้คนได้บวช โปรยทาน ถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนทะนุบำรุงพระศาสนามากมาย ไม่ทราบว่าจะได้รับบุญมากน้อยเพียงใด? "
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า
    "ไม่ได้เลย"
    พระเจ้าเหลี่ยงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า
    "อริยสัจ คืออะไร? "
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่มี"
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า
    "เบื้องหน้าข้าพเจ้านี้ คือใคร?"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่รู้จัก"
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงได้ยินคำตอบเช่นนั้น ไม่ค่อยพอพระทัย
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ เห็นว่า พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงสั่งสมภูมิปัญญายังไม่แก่กล้าพอที่จะบรรลุได้ จึงทูลลาจากไป
    เว่ยหลาง
    ท่านเว่ยหลาง หรือในภาษีจีนกลาง "ฮุ่ยหนิง" เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 พื้นเพเป็นชาวมณฑลกว่างตง
    บิดาเป็นชาวเมือง ฟั่นหยาง ถูกถอดออกจากราชการและได้รับโทษเนรเทศไปอยู่เมืองซินโจวและถึงแก่กรรมขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงยังเล็กๆอยู่ สองแม่ลูกพากันโยกย้ายไปอยู่กว่างโจว
    ท่านฮุ่ยเหนิงประกอบอาชีพตัดฟืนไปขายเพื่อเลี้ยงดูมารดา
    เว่ยหลาง
    วันหนึ่งขณะที่นำฟืนไปส่งให้แก่เจ้าจำนำรายหนึ่งในตลาดพลันก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ของชายคนหนึ่งอยู่ที่หน้าร้าน ซึ่งท่านฮุ่ยเหนิงเอาฟืนไปส่งนั่นเอง
    ชายคนนั้นสาธยายมนต์มาถึงถ้อยคำที่ว่า
    "พึงทำจิตมิให้มีความยึดถือผูกพันในทุกสภาวะ"
    เมื่อได้ยินถ้อยคำเช่นนี้จิตใจของท่านฮุ่ยเหนิงก็สว่างโพลงในพุทธธรรม จึงถามชายคนนั้นว่า
    "ท่านกำลังสวดอะไร"
    "เรากำลังสวดวัชรสูตร"
    "ท่านไปเรียนมาจากที่ไหน"
    "เราเรียนมาจากท่านอาาจารย์หงเหย่น แห่งวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมย เมืองฉีโจว ท่านมีศิษย์อยู่เป็นพันๆ คน โดยสั่งสอนให้ศิษย์ทั้งหลายบริกรรมพระสูตรนี้ เพื่อจักได้ค้นพบธรรมญาณแห่งตนและเข้าถึงความป็นพุทธะ"
    ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงกำลังซักไซร้ เรื่องราวด้วยความสนใจและแสดงความประสงค์ที่จะเดินทางไปเฝ้าพระอาจารย์หงเหย่น เพื่อเรียนพรระสูตรนี้ท่านมีความตั้งใจแน่วแน่มากจนชายใจบุญผู้อารีอยากสนับสนุนจึงให้เงินท่านฮุ่ยเหนิง 10 ตำลึงเพื่อนำไปให้มารดาไว้ใช้สอย ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงไม่อยู่ และหลังจากที่ได้จัดแจงให้มีผู้ดูแลมารดาแล้วท่านก็มุ่งหน้าเดินทางไปยังวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมยทันที ใช้เวลาเกือบสามสิบวันจึงถึงจุดหมาย
    เมื่อเข้าไปนมัสการพระอาจารย์หงเหยิ่น ท่านก็ถามว่า
    "เจ้ามาจากไหนหรือ และต้องการอะไร"
    "กระผมเป็นคนเมืองซินโจว มณฑลกว่างตง กระผมต้องการมากราบท่านอาจารย์และต้องการหาหนทางความเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเท่านั้น นอกจากนี้แล้วกระผมไม่ต้องการอะไรเลย"
    "เธอเป็นชาวกว่างตงหรือ เป็นคนป่าคนดงยังจะหวังเป็นพุทธะได้ยังไงกัน"
    "ทิศเหนือทิศใต้เป็นเพียงแบ่งทิศทาง แต่หาได้แบ่งแยกความเป็นพุทธะไม่กระผมแตกต่างไปจากท่านอาจารย์ก็ตรงที่ร่างกายเท่านั้นแต่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะไม่แตกต่างกันเลย"

    ท่านสังฆปริณายกรู้ทันทีว่าเด็กหนุ่มบ้านอกคนนี้ ได้รู้สัจธรรมระดับหนึ่งแล้วแต่เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เขา จึงแสร้งดุให้เขาเงียบเสียง แล้วให้ไปช่วยทำงานในครัว

    วันหนึ่งท่านอาจารย์เรียกประชุมศิษย์ทั้งหมด ให้แต่ละคนเขียน "โศลก" บรรยายธรรมคนละบทเพื่อทดสอบภูมิธรรม "ชินเชา (ชินชิ่ว)" หัวหน้าศิษย์ เป็นผู้ที่ใคร ๆ ยกย่องว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมะอย่างลึกซึ้งกว่าคนอื่น และมีหวังจะได้รับมอบบาตรและจีวรจากท่านอาจารย์แน่ ๆ ได้แต่งโศลกบทหนึ่ง เขียนไว้ที่ผนังว่า

    "กาย คือต้นโพธิ์
    ใจ คือกระจกเงาใส
    จงหมั่นเช็ดถูเป็นนิตย์
    อย่าปล่อยให้ฝุ่นละอองจับ"

    ท่านอาจารย์อ่านโศลกของชินเชาแล้ว ชมเชยต่อหน้าศิษย์ทั้งหลายว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมอย่างลึกซึ่ง (แต่ตอนกลางคืนเรียกเธอเข้าไปพบตามลำพังบอกว่าชินเชา "ยังไม่ถึง" ให้พยายามต่อไป) เว่ยหล่างได้ฟังโศลกของหัวหน้าศิษย์แล้ว มีความรู้สึกเป็นส่วนตัวว่า ผู้แต่โศลกยังเข้าใจไม่ลึกซึ้ง จึงแต่โศลกแก้ เสร็จแล้ววานให้เพื่อนช่วยเขียนให้ เพราะเว่ยหล่างอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ โศลกบทนั้นมีความว่า

    "เดิมที ไม่มีต้นโพธิ์
    ไม่มีกระจกเงาใส
    เมื่อทุกอย่างว่างเปล่าตั้งแต่ต้น
    ฝุ่นละอองจะลงจับอะไร"

    ท่านอาจารย์รู้ทันทีว่า ผู้เขียนโศลกเป็นผู้เข้าถึงสัจธรรมสูงสุดแล้ว จึงถามใครเป็นคนแต่ง พอทราบว่าเว่ยหล่างเด็กบ้านนอกแต่ง จึงสั่งให้ลบทิ้ง พร้อมดุด่าต่อหน้าศิษย์อื่นๆ ว่า หนังสือยังอ่านไม่ออกสะเออะจะมาเขียนโศลก แต่พอคล้อยหลังศิษย์อื่น ท่านอาจารย์เรียกเว่ยหล่างเข้าพบมอบบาตรและจีวรให้ (มอบตำแหน่ง) แล้วสั่งให้รีบหนีไปกลางดึก
    รินไซเซน
    รินไซเซนเป็นเซนหนึ่งในห้าสายหลักของเซนสายใต้ ปรมาจารย์ของเซนสายนี้คือท่าน หลินจิ อี้เสวียน ท่านเป็นศิษย์ของปรมาจารย์ ฮวงโป ซนสายนี้รุ่งเรืองทั้งในและนอกประเทศจีน ในญี่ปุ่น ท่านเมียวอัน เออิไซ เป็นผู้นำเข้าไปเผยแผ่ ในญี่ปุ่น ในราวปีค.ศ. 1191 ท่านติช นัท ฮันห์ ปรมาจารย์เซนยุคปัจจุบัน ชาวเวียดนาม ก็เป็นหนึ่งในผู้สืบทอดเซนสายนี้ เซนสายนี้มีลักษณะเด่นคือ มีการใช้การตวาด การฟาดตี หรือคำพูดที่รุนแรง ในการกระตุ้นให้ผู้ศึกษาบรรลุธรรมอย่างฉับพลัน จนมีคำกล่าวในญี่ปุ่นว่า เซนสายรินไซ เป็นเซนสำหรับ โชกุน ส่วนเซนสายโซโต ซึ่งนุ่มนวลกว่า เป็นเซนสำหรับชาวบ้าน

    รินไซ
    การบรรลุธรรมของท่านรินไซ
    ท่านรินไซได้ไปเป็นศิษย์ของท่านฮวงโปอยู่ 3 ปี ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด วันหนึ่งเพื่อนของท่านให้ไปถามท่านอาจารย์ฮวงโปว่า

    "แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออะไร ?"

    คำตอบที่ท่านได้รับก็คือ ถูกท่านฮวงโปตีด้วยไม้เท้า 3 ทีโดยไม่อธิบายอะไรเลย ท่านรินไซน้อยใจจึงคิดจะลาไปยังสำนักอื่น ท่านฮวงโปจึงแนะนำให้ไปหาพระอาจารย์ต้ายู้ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเคาอัน ท่านต้ายู้พอทราบเรื่องราวทั้งหมด จึงบอกกับท่านรินไซว่า

    "ที่ท่านฮวงโปตีเจ้านั้น ก็เพื่อปลดเปลื้องเจ้าให้ออกจากความทุกข์ต่างหากเล่า"

    ท่านรินไซพิจารณาแล้วก็รู้แจ้งว่า

    "พุทธธรรมนั้น น้อยนิดยิ่งนัก ไม่มีอะไรมากไปกว่าการทำใจไม่ให้เป็นทุกข์เท่านั้น"

    ไม่มีความทุกข์เหลืออยู่อีกเลยเพราะหยุดคิดปรุงแต่งด้วยกิเลสเสียแล้ว ท่านได้กลับไปหาท่านฮวงโปอีกครั้ง และเล่าให้ฟังถึงการสนทนาธรรมและสิ่งที่ท่านได้รับจากท่านต้ายู้ ท่านอาจารย์ฮวงโป จึงคิดจะทดลองดูว่า ศิษย์รู้แจ้งในธรรมจริงแท้แค่ไหน จึงกล่าวว่า

    "เจ้าต้ายู้นี่มันเพ้อเจ้อเหลือเกิน มาคราวหน้าถ้าพบกันอีกต้องตีเสียให้เข็ด"

    "จะรอถึงคราวหน้าทำไม ทำไมไม่ตีเสียเลยคราวนี้"

    ท่านรินไซกล่าวตอบ ว่าแล้วท่านก็ตบหน้าท่านฮวงโปฉาดใหญ่ ความปล่อยวางเกิดขึ้นในขณะเดียวกันทั้งศิษย์และอาจารย์ ท่านฮวงโปเพียงแต่พูดว่า

    "เจ้าบ้าคนนี้ มันกำลังลูบหนวดเสือ"


    บทสรุป
    จะเห็นได้ว่านิกายเซ็นเป็นนิกายที่เร็วและแรง เน้นการบรรลุธรรมแบบฉับพลัน มีโกอานท้าทายดึงดูดผู้มีปัญญา มาไขปริศนาธรรม เพื่อฝึกฝนวิธีคิดแบบอริยะ ทำลายความคิดทางตรรกะ เพื่อให้เห็นสัจธรรม เซ็นจึงพุ่งตรงไปที่แก่นของพุทธศาสนา เป็นนิกายที่เน้นให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงประสบการณ์ของสภาวะธรรม และ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นธรรมชาติ ที่สุด มิใช่แต่เพียงท่องจำ แล้วนำไปใช้แบบฝืนธรรมชาติ การศึกษาเซ็น จำเป็นต้องละทิ้งความยึดมั่นถือมั่นไปเสียก่อน แม้แต่การยึดมั่นถือมั่นใน พระไตรปิฎก หรือ แม้แต่พระพุทธเจ้า ดังภาพวาดอันโด่งดังของท่านเว่ยหลาง ที่กำลังฉีกคัมภีร์ อยู่ ส่วนคำสอนของลูกศิษย์ของท่าน ไปไกลยิ่งกว่านั้นเสียอีก ท่านว่าไงน่ะหรือ "พบพระพุทธเจ้าบนนถนน ... จงฆ่าเสีย" มีใครไขปริศนาธรรมข้อนี้ได้ไหมครับ ?

    ด้วยความศรัทธาในวิถีแห่งเซ็น เว็บไซต์แห่งนี้จึงได้รวบรวมโกอัน หรือ นิทานเซน เข้าไว้ด้วยกัน บางเรื่อก็แปลมาจากเว็บภาษาอังกฤษ บางเรื่องก็ยกที่เขาแปลไว้แล้วมานำเสนอ พร้อมกับคลิปประกอบที่เกี่ยวข้องให้เพื่อนๆดูกันเพลินๆ ให้เกิดปัญญา สวัสดีครับ

    ส่วนศาสนาที่หลวงตาว่า น่าจะเป็นศาสนาเชน หรือไชน เป็นลัทธิแก้ผ้า
    ศาสนาเชน, ไชนะ หรือ ชินะ (แปลว่า ผู้ชนะ) หรือ เดียรถีย์นิครนถ์ (แปลว่า ศาสนานอกพุทธศาสนา) (อังกฤษ: Jainism) เป็นศาสนาในประเทศอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งในลัทธิสำคัญทั้งหก ที่เกิดร่วมสมัยกับ พระพุทธเจ้า
    800px-Mahavir.jpg

    มหาวีระศาสดาศาสนาเชนที่จะมีรูปปั้นคล้ายพระพุทธรูปแต่จะแก้ผ้า
    ศาสนาเชนเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ คือไม่นับถือพระเจ้าหรือเทพเจ้า ถือหลักการไม่เบียดเบียน หรืออหิงสาอย่างเอกอุ ถือว่าการบำเพ็ญตนให้ลำบากคืออัตตกิลมถานุโยค เป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรมที่ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทางกาย วาจา ใจ

    มีศาสดาคือพระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร หรือ องค์ตีรถังกร(ผู้สร้างทางข้ามพ้นไป)โดยศาสนิกเชนถือว่าเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ของศาสนาเชน จึงถือว่าศาสนาเชนเก่าแก่กว่าศาสนาพุทธ

    ศาสนาเชนเกิดขึ้นในอนุทวีปอินเดียเมื่อประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. ศาสนานี้คัดค้านศาสนพิธีและความเชื่อในคัมภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์ ปัจจุบันเชนมีศาสนิกชนประมาณ 6 ล้านคน ทั่วอินเดีย โดยมากมีฐานะดี เพราะเป็นพ่อค้าเสียส่วนใหญ่
    หลักปรัชญาของศาสนา
    ศาสนาเชนเป็นศาสนาทวินิยม กล่าวคือ มองสภาพความจริงว่ามีส่วนประกอบ 2 สิ่งที่มีสภาวะเที่ยงแท้เป็นนิรันดร คือ 1.ชีวะ ได้แก่ วิญญาณ หรือสิ่งมีชีวิต หรือ อาตมันซึ่งเป็นอัตตา จริงแท้(ตรงข้ามกับศาสนาพุทธที่เป็นอนัตตา) 2.อชีวะ ได้แก่ อวิญญาณ หรือสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่สสารวัตถุต่างๆ

    สสารประกอบด้วยองค์ประกอบขั้นพื้นฐาน 5 ประการ คือ 1. การเคลื่อนไหว(ธัมมะ) 2. การหยุดนิ่ง(อธัมมะ) 3.อวกาศ(อากาศ) 4.สสารและ5.กาลเวลา โดยทั้งหมดเป็นนิรันดรและปราศจากการเริ่มต้น

    สรรพสิ่งทั้งหมดยกเว้นชีวะ(วิญญาน) เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เวลาและเอกภาพเป็นสิ่งนิรันดร ไม่มีรูป โลกคงมีอยู่ไม่มีวันจบสิ้น เป็นสภาพนิรันดร ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่สภาวะเปลี่ยนแปลงคงอยู่ตลอดกาล อวกาศเป็นสิ่งขยายไร้รูป เป็นที่รองรับเนื้อที่ทั้งมวลของเอกภาพ และเอกภาพมีรูปร่างเหมือนคนยืนกางขา เอามือเท้าสะเอว รูปร่างเพรียว เอวแบน ตรงกลางเอกภาพมีที่สถิตแห่งดวงวิญญาณ เป็นบริเวณที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทุกชนดมีอยู่ เหนือบริเวณตอนกลางของเอกภาพขึ้นไป คือ โลกชั้นบน โลกชั้นนี้มีสองส่วน มีสวรรค์ 16 ชั้น มีเขตของท้องฟ้า 14 เขต ชั้นบนที่สุดของเอกภาพเป็นที่ตั้งของ สิทธศิลา ซึ่งเป็นสถานที่มีลักษณะบริเวณโค้ง เป็นที่สถิตของวิญญาณที่หลุดพ้นออกจากกายที่อยู่บนโลกมนุษย์

    คัมภีร์ทางศาสนา
    คือ คัมภีร์อาคมะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิทธานตะ และคัมภีร์กัลปสูตร มีอยู่ 45 เล่ม ในปัจจุบันเหลืออยู่แค่37 เล่ม คัมภีร์ของศาสนาเชนเป็นเรื่องที่ยากแก่การศึกษาค้นคว้า เพราะไม่ค่อยเปิดเผยแก่สาธารณชนเหมือนศาสนาอื่น โดยการพยายามจะเก็บซ่อนคัมภีร์ไว้อย่างมิดชิด ประกอบด้วยอังคะ 12 อังคะหรือ ส่วน แบ่งอุปางคะ 11 ส่วน คือ มูลสูตร 4 เล่ม เป็นเจตสูตร 6 เล่ม เป็นคูสิกสูตร 2 เล่ม และเป็นปกิณกะ 10 เล่ม แต่อังคะที่ 12 คือคัมภีร์ฤทธิวาทได้สูญหายไป

    ข้อปฏิบัติทางศาสนา
    ข้อปฏิบัติที่จะบรรลุโมกษะฬน มีอยู่ 3 ประการ คือ

    ความเชื่อที่ถูกต้อง ได้แก่ เชื่อในศาสดาทั้ง 24 องค์ของศาสนาเชน เชื่อในเชนศาสตร์ เชื่อในคัมภีร์ของศาสนาเชน และเชื่อในนักบวชผู้สำเร็จผลในศาสนาเชน
    ความรู้ที่ถูกต้อง ได้แก่ รู้สิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง และด้วยความแน่ใจ
    ความประพฤติที่ถูกต้อง ได้แก่ หลักอนุพรต 5 (เปรียบได้กับศีล 5 ของศาสนาพุทธ )อันเป็นหลักธรรมขั้นพื้นฐาน
    1. อหิงสา การไม่เบียดเบียน ไม่ทำลายชีวิต 2. สัตยะ ไม่พูดเท็จ 3. อัสเตยะ ไม่ลักขโมย 4. พรหมจรยะ การไม่ประพฤติผิดในกาม 5. อปริครหะ การพอเพียงไม่โลภ

    ข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือน
    เว้นจากการฆ่าสัตว์
    เว้นจากการพูดเท็จ
    เว้นจากการลักฉ้อ
    สันโดษในลูกเมียตน
    มีความปรารถนาพอสมควร
    เว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นอาหาร
    อยู่ในเขตของตนตามกำหนด
    พอดีในการบริโภค
    เป็นคนตรง
    บำเพ็ญพรตประพฤติวัตรในคราวเทศกาล
    รักษาอุโบสถ
    บริบูรณ์ด้วยปฏิสันถารต่ออาคันตุกะ
    ข้อปฏิบัติของบรรพชิต[แก้ไขต้นฉบับ]
    เพิ่มเติมจากข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือนอีก 3 ข้อคือ

    ห้ามประกอบเมถุนธรรม
    ห้ามเรียกสิ่งต่างๆว่าเป็นของตนเอง
    กินอาหารหลังเที่ยงได้ แต่ห้ามกินยามราตรี
    จุดหมายสูงสุดทางศาสนา
    จุดหมายสูงสุดของศาสนาเชนคือการบรรลุไกวัลย์ ด้วยการ"นิรชระ"หรือการทำลายกรรม เพราะการกระทำซึ่งเป็นเหตุให้เกิด"พันธะ"การถูกผูกมัด(เปรียบได้กับอุปาทาน การยึดมั่นถือมั่นของศาสนาพุทธ) เป็นการการบำเพ็ญตนให้หลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากสังสาระ การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งอาจเปรียบได้กับโมกษะของศาสนาพราหมณ์หรือนิพพานของศาสนาพุทธ ในศาสนาพราหมณ์ เมื่อวิญญานหลุดพ้นแล้วจะไปรวมอยู่กับพรหม ส่วนศาสนาเชน เมื่อวิญญานหลุดพ้นแล้ว ก็จะไปอยู่ในส่วนหนึ่งของเอกภาพที่เรียกว่า "สิทธศิลา" ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุขนิรันดร ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก

    นิกายของศาสนาเชน
    เมื่อพระมหาวีระสิ้นไปแล้วศาสนิกก็แตกแยกกันปฏิบัติหลักธรรม จากหลักธรรมที่เรียบง่ายก็กลาย เป็นยุ่งเหยิง พ.ศ. 200 ก็แตกเป็น 2 นิกาย คือ

    นิกายทิคัมพร นุ่งลมห่มฟ้า แบ่งแยกออกเป็นนิกายย่อยอีก 5 นิกาย
    นิกายเศวตัมพร นุ่งขาวห่มขาว แบ่งแยกออกเป็นนิกายย่อยอีก 84 นิกาย
     
  4. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    [​IMG]
    พระพุทธเจ้าทรงประทานดอกบัวแก่พระมหากัสสปะต้นตำนานนิกาย ฌาน จีนเรียกฉาน ญี่ปุ่นเรียก เซ็น
    เซ็นหรือเซนเป็น นิกายหนึ่งของพระพุทธศาสนามหายาน(แต่ค่อนข้างเรียบง่ายแบบเถรวาท) ก่อตั้งโดย ปรมาจารย์โพธิธรรม(จีนเรียกตั๊กม้อโจ้วซือ) เป้นสังฆปรินายกองค์ที่๒๘
    มีความเป็นมาดังนี้
    เซ็นไม่นิยมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรืออิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ เซ็นจะเน้นการฝึกปฏิบัติ ฝึกการใช้ปัญญา และสมาธิ เพื่อให้ เกิดพุทธิปัญญาจนเข้าใจหลักธรรมด้วยตนเอง จุดมุ่งหมายของเซ็น คือการตระหนักรู้ในพุทธภาวะ การบรรลุธรรมในแบบเซ็นจะเรียกว่า "ซาโตริ" หรือภาวะรู้แจ้ง ซึ่งเป็นภาวะที่ อวิชชา ตัณหา อุปทาน มลายหายไปสิ้น เมื่อบรรลุแล้วก็จะเข้าสู่ความหลุดพ้น ทุกสิ่งกลายเป็นสุญญตา หรือ "ความว่าง" ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น แม้แต่พระนิพพาน จุดเด่นอีกประการหนึ่งของเซ็นคือการไม่ยึดติดในรูปแบบพิธีกรรม หรือแม้แต่พระไตรปิฎก เซนถือว่า การบรรลุมรรคผลนั้น ไม่ได้อยู่ที่ตัวบทอักษร หรือความรู้ด้วนปริยัติ เพราะตัวอักษรหรือภาษามีข้อจำกัด ไม่สามารถอธิบายความเป็นจริงทั้งหมดได้ และการหลุดพ้นในแบบเซ็น ก็ไม่ต้องมีขั้นตอน ไม่จำเป็นต้องเจริญไตรสิกขาตามลำดับมาเลย ใครก็ตามที่ตระหนักรู้แก่นแท้ข้องจิตใจตน ก็บรรลุเป็นอรหันต์ได้เลย

    ด้วยความที่ เซ็น เป็นนิกายที่ส่งผ่านปรัชญาการดำเนินชีวิตที่นำไปใช้ได้จริงสู่ผู้ปฏิบัติอย่างถึงแก่นและเป็นธรรมชาติ ไม่ได้อิงกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือคัมภีร์ แต่เน้นให้ใช้ปัญญา เพื่อให้เห็นสัจจธรรมด้วยตนเอง เซ็นจึงเป็น ธรรมชาติ ที่อยู่รอบๆตัวเรา ผู้ศึกษาเซนจึงไม่จำกัดว่าจะเป็นคนศาสนาไหน ทำให้มีการศึกษาเซ็นอย่างกว้างขวาง ทั้งในหมู่ชาวพุทธ คริสต์ และ อิสลาม ปัจจุบันเซ็นได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทั้งในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป อเมริกา สำหรับในประเทศไทยของเรา ก็มีพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงให้ความสนใจเซ็น เช่น ท่าน พุทธทาสภิกขุ ท่าน ว. วชิระเมธี เป็นต้น

    การปฏิบัติเซ็น

    วิธีการปฏิบัติเซ็น แบ่งได้เป็น 3 ประการคือ

    ซาเซ็น (Zazen) หมายถึงการนั่งสมาธิอย่างสงบและเพ่งสมาธิ
    ซันเซ็น (Sanzen) หรือ วิธีการแห่งโกอัน โกอัน หมายถึง เอกสารข้อมูลที่รับรู้กันโดยทั่วไป (public document) มักจะเป็นเรื่องราวของอาจารย์เซ็นในอดีต หรือบทสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์ มักเป็นปริศนาธรรม ใช้เป็นเครื่องมือทำลายความคิดทางตรรกะ เพื่อที่จะช่วยนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความเป็นจริงแห่งเซ็น
    ม็อนโด (Mondo) คือการถามและการตอบอย่างอย่างทันทีทันใด โดยไม่ใช้ระบบความคิดหรือเหตุผลไตร่ตรองว่าเป็นคำตอบที่ดีหรือไม่ อาจารย์จะเป็นผู้ตั้งคำถามและพิจารณาคำตอบที่ลูกศิษย์ตอบในขณะนั้น

    ประวัติของนิกายเซน
    พระมหากัสสป
    ความเป็นมาของนิกายได้ท้าวความไปถึงครั้งพุทธกาล คือ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎ ทรงชูดอกไม้ขึ้นดอกหนึ่งท่ามกลางธรรมสภา โดยมิได้ตรัสอะไรเลย ที่ประชุมไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย เว้นแต่พระมหากัสสปนั่งยิ้มน้อยๆ อยู่ พระศาสดาจึงตรัสว่า กัสสป ตถาคตมีธรรมจักษุได้ และนิพพานจิต ตถาคตมอบหมายให้แก่เธอ ณ บัดนี้ และได้มอบบาตรและจีวรให้พระมหากัสสป เซ็นจึงเคารพพระกัสสปว่า ผู้ให้กำเนิดนิกาย

    พระอานนท์
    พระอานนท์ เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 2 ของนิกายเซน สำหรับพระอานนท์นี้ มีตำนานเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พระอานนท์ผู้มีความจำเป็นเลิศ และเป็นผู้ได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่าผู้ใด ยังเป็นพระโสดาบัน ไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่มีภาระกิจจะต้องเข้าร่วมสังคายนาพระไตรปิฏก จึงได้เร่งบำเบ็ญเพียรปฏิบัติธรรมอย่างหนักเพื่อให้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งอ่อนล้า และล้มตัวลงนอน จึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนนั้นเอง หลังจากที่ การสังคายนาพระไตรปิฎกเสร็จสิ้นลงแล้ว พระมหากัสสปจึงได้มอบบาตรและจีวรของพระพุทธเจ้าให้แก่พระอานนท์


    พระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ)
    ต่อมาเซ็นได้มีการสืบต่อไปอีก 28 องค์ โดยแต่ละช่วงที่รับสืบทอด ก็จะได้รับบาตรและจีวรของพระพุทธเจ้าเป็นสัญลักษณ์ของสังฆปรินายก สืบต่อกันมาจนถึงพระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ) "พระโพธิธรรม" เดิมเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นคันธารราช ประเทศอินเดีย หลังจากที่ได้บรรลุธรรมแล้ว ก็เดินทางจากอินเดียเข้าสู่ประเทศจีน และได้สถาปนาเซ็นขึ้น ในประเทศจีน ช่วงเวลานั้น แม้ในประเทศจีนจะมีพระพุทธศาสนาสถาปนาขึ้นแล้ว แต่พุทธบริษัททั้งหลายปฏิบัติธรรมกันแต่เพียงผิวเผิน การสวดมนต์ภาวนา ศึกษาธรรม ก็มิได้ทำอย่างจริงจังกระทั่งเล่าเรียนพระไตรปิฎก ก็หวังเพียงประดับความรู้ หรือไม่ก็ใช้เป็นข้อถกเถียงเพื่ออวดภูมิปัญญา

    พระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ)
    ครั้งหนึ่ง พระเจ้าเหลียงบู้ตี๊ พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาพุทธศาสนามาก ทรงถือศีลกินเจอยู่เป็นประจำ เมื่อข่าวการมาถึงของพระอาจารย์ตั๊กม๊อถูกรายงานไปยังราชสำนัก พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงปิติยินดี ยิ่งจึงได้มีพระกระแสรับสั่งให้อาราธนาเข้าเฝ้าทันที ในปีนั้นเองพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้รับนิมนต์จากพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ไปยังนานกิงนครหลวงเพื่อถกปัญหาธรรม
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ได้ตรัสถามพระอาจารย์ตั๊กม๊อว่า
    "ตั้งแต่ข้าพเจ้าครองราชย์มา ได้สร้างวัดวาอาราม โบสถ์วิหาร และพระคัมภีร์มากมาย อีกทั้งอนุญาตให้ผู้คนได้บวช โปรยทาน ถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนทะนุบำรุงพระศาสนามากมาย ไม่ทราบว่าจะได้รับบุญมากน้อยเพียงใด? "
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า
    "ไม่ได้เลย"
    พระเจ้าเหลี่ยงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า
    "อริยสัจ คืออะไร? "
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่มี"
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า
    "เบื้องหน้าข้าพเจ้านี้ คือใคร?"
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่รู้จัก"
    พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงได้ยินคำตอบเช่นนั้น ไม่ค่อยพอพระทัย
    พระอาจารย์ตั๊กม๊อ เห็นว่า พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงสั่งสมภูมิปัญญายังไม่แก่กล้าพอที่จะบรรลุได้ จึงทูลลาจากไป
    เว่ยหลาง
    ท่านเว่ยหลาง หรือในภาษีจีนกลาง "ฮุ่ยหนิง" เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 พื้นเพเป็นชาวมณฑลกว่างตง
    บิดาเป็นชาวเมือง ฟั่นหยาง ถูกถอดออกจากราชการและได้รับโทษเนรเทศไปอยู่เมืองซินโจวและถึงแก่กรรมขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงยังเล็กๆอยู่ สองแม่ลูกพากันโยกย้ายไปอยู่กว่างโจว
    ท่านฮุ่ยเหนิงประกอบอาชีพตัดฟืนไปขายเพื่อเลี้ยงดูมารดา
    เว่ยหลาง
    วันหนึ่งขณะที่นำฟืนไปส่งให้แก่เจ้าจำนำรายหนึ่งในตลาดพลันก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ของชายคนหนึ่งอยู่ที่หน้าร้าน ซึ่งท่านฮุ่ยเหนิงเอาฟืนไปส่งนั่นเอง
    ชายคนนั้นสาธยายมนต์มาถึงถ้อยคำที่ว่า
    "พึงทำจิตมิให้มีความยึดถือผูกพันในทุกสภาวะ"
    เมื่อได้ยินถ้อยคำเช่นนี้จิตใจของท่านฮุ่ยเหนิงก็สว่างโพลงในพุทธธรรม จึงถามชายคนนั้นว่า
    "ท่านกำลังสวดอะไร"
    "เรากำลังสวดวัชรสูตร"
    "ท่านไปเรียนมาจากที่ไหน"
    "เราเรียนมาจากท่านอาาจารย์หงเหย่น แห่งวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมย เมืองฉีโจว ท่านมีศิษย์อยู่เป็นพันๆ คน โดยสั่งสอนให้ศิษย์ทั้งหลายบริกรรมพระสูตรนี้ เพื่อจักได้ค้นพบธรรมญาณแห่งตนและเข้าถึงความป็นพุทธะ"
    ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงกำลังซักไซร้ เรื่องราวด้วยความสนใจและแสดงความประสงค์ที่จะเดินทางไปเฝ้าพระอาจารย์หงเหย่น เพื่อเรียนพรระสูตรนี้ท่านมีความตั้งใจแน่วแน่มากจนชายใจบุญผู้อารีอยากสนับสนุนจึงให้เงินท่านฮุ่ยเหนิง 10 ตำลึงเพื่อนำไปให้มารดาไว้ใช้สอย ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงไม่อยู่ และหลังจากที่ได้จัดแจงให้มีผู้ดูแลมารดาแล้วท่านก็มุ่งหน้าเดินทางไปยังวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมยทันที ใช้เวลาเกือบสามสิบวันจึงถึงจุดหมาย
    เมื่อเข้าไปนมัสการพระอาจารย์หงเหยิ่น ท่านก็ถามว่า
    "เจ้ามาจากไหนหรือ และต้องการอะไร"
    "กระผมเป็นคนเมืองซินโจว มณฑลกว่างตง กระผมต้องการมากราบท่านอาจารย์และต้องการหาหนทางความเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเท่านั้น นอกจากนี้แล้วกระผมไม่ต้องการอะไรเลย"
    "เธอเป็นชาวกว่างตงหรือ เป็นคนป่าคนดงยังจะหวังเป็นพุทธะได้ยังไงกัน"
    "ทิศเหนือทิศใต้เป็นเพียงแบ่งทิศทาง แต่หาได้แบ่งแยกความเป็นพุทธะไม่กระผมแตกต่างไปจากท่านอาจารย์ก็ตรงที่ร่างกายเท่านั้นแต่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะไม่แตกต่างกันเลย"

    ท่านสังฆปริณายกรู้ทันทีว่าเด็กหนุ่มบ้านอกคนนี้ ได้รู้สัจธรรมระดับหนึ่งแล้วแต่เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เขา จึงแสร้งดุให้เขาเงียบเสียง แล้วให้ไปช่วยทำงานในครัว

    วันหนึ่งท่านอาจารย์เรียกประชุมศิษย์ทั้งหมด ให้แต่ละคนเขียน "โศลก" บรรยายธรรมคนละบทเพื่อทดสอบภูมิธรรม "ชินเชา (ชินชิ่ว)" หัวหน้าศิษย์ เป็นผู้ที่ใคร ๆ ยกย่องว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมะอย่างลึกซึ้งกว่าคนอื่น และมีหวังจะได้รับมอบบาตรและจีวรจากท่านอาจารย์แน่ ๆ ได้แต่งโศลกบทหนึ่ง เขียนไว้ที่ผนังว่า

    "กาย คือต้นโพธิ์
    ใจ คือกระจกเงาใส
    จงหมั่นเช็ดถูเป็นนิตย์
    อย่าปล่อยให้ฝุ่นละอองจับ"

    ท่านอาจารย์อ่านโศลกของชินเชาแล้ว ชมเชยต่อหน้าศิษย์ทั้งหลายว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมอย่างลึกซึ่ง (แต่ตอนกลางคืนเรียกเธอเข้าไปพบตามลำพังบอกว่าชินเชา "ยังไม่ถึง" ให้พยายามต่อไป) เว่ยหล่างได้ฟังโศลกของหัวหน้าศิษย์แล้ว มีความรู้สึกเป็นส่วนตัวว่า ผู้แต่โศลกยังเข้าใจไม่ลึกซึ้ง จึงแต่โศลกแก้ เสร็จแล้ววานให้เพื่อนช่วยเขียนให้ เพราะเว่ยหล่างอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ โศลกบทนั้นมีความว่า

    "เดิมที ไม่มีต้นโพธิ์
    ไม่มีกระจกเงาใส
    เมื่อทุกอย่างว่างเปล่าตั้งแต่ต้น
    ฝุ่นละอองจะลงจับอะไร"

    ท่านอาจารย์รู้ทันทีว่า ผู้เขียนโศลกเป็นผู้เข้าถึงสัจธรรมสูงสุดแล้ว จึงถามใครเป็นคนแต่ง พอทราบว่าเว่ยหล่างเด็กบ้านนอกแต่ง จึงสั่งให้ลบทิ้ง พร้อมดุด่าต่อหน้าศิษย์อื่นๆ ว่า หนังสือยังอ่านไม่ออกสะเออะจะมาเขียนโศลก แต่พอคล้อยหลังศิษย์อื่น ท่านอาจารย์เรียกเว่ยหล่างเข้าพบมอบบาตรและจีวรให้ (มอบตำแหน่ง) แล้วสั่งให้รีบหนีไปกลางดึก
    รินไซเซน
    รินไซเซนเป็นเซนหนึ่งในห้าสายหลักของเซนสายใต้ ปรมาจารย์ของเซนสายนี้คือท่าน หลินจิ อี้เสวียน ท่านเป็นศิษย์ของปรมาจารย์ ฮวงโป ซนสายนี้รุ่งเรืองทั้งในและนอกประเทศจีน ในญี่ปุ่น ท่านเมียวอัน เออิไซ เป็นผู้นำเข้าไปเผยแผ่ ในญี่ปุ่น ในราวปีค.ศ. 1191 ท่านติช นัท ฮันห์ ปรมาจารย์เซนยุคปัจจุบัน ชาวเวียดนาม ก็เป็นหนึ่งในผู้สืบทอดเซนสายนี้ เซนสายนี้มีลักษณะเด่นคือ มีการใช้การตวาด การฟาดตี หรือคำพูดที่รุนแรง ในการกระตุ้นให้ผู้ศึกษาบรรลุธรรมอย่างฉับพลัน จนมีคำกล่าวในญี่ปุ่นว่า เซนสายรินไซ เป็นเซนสำหรับ โชกุน ส่วนเซนสายโซโต ซึ่งนุ่มนวลกว่า เป็นเซนสำหรับชาวบ้าน

    รินไซ
    การบรรลุธรรมของท่านรินไซ
    ท่านรินไซได้ไปเป็นศิษย์ของท่านฮวงโปอยู่ 3 ปี ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด วันหนึ่งเพื่อนของท่านให้ไปถามท่านอาจารย์ฮวงโปว่า

    "แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออะไร ?"

    คำตอบที่ท่านได้รับก็คือ ถูกท่านฮวงโปตีด้วยไม้เท้า 3 ทีโดยไม่อธิบายอะไรเลย ท่านรินไซน้อยใจจึงคิดจะลาไปยังสำนักอื่น ท่านฮวงโปจึงแนะนำให้ไปหาพระอาจารย์ต้ายู้ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเคาอัน ท่านต้ายู้พอทราบเรื่องราวทั้งหมด จึงบอกกับท่านรินไซว่า

    "ที่ท่านฮวงโปตีเจ้านั้น ก็เพื่อปลดเปลื้องเจ้าให้ออกจากความทุกข์ต่างหากเล่า"

    ท่านรินไซพิจารณาแล้วก็รู้แจ้งว่า

    "พุทธธรรมนั้น น้อยนิดยิ่งนัก ไม่มีอะไรมากไปกว่าการทำใจไม่ให้เป็นทุกข์เท่านั้น"

    ไม่มีความทุกข์เหลืออยู่อีกเลยเพราะหยุดคิดปรุงแต่งด้วยกิเลสเสียแล้ว ท่านได้กลับไปหาท่านฮวงโปอีกครั้ง และเล่าให้ฟังถึงการสนทนาธรรมและสิ่งที่ท่านได้รับจากท่านต้ายู้ ท่านอาจารย์ฮวงโป จึงคิดจะทดลองดูว่า ศิษย์รู้แจ้งในธรรมจริงแท้แค่ไหน จึงกล่าวว่า

    "เจ้าต้ายู้นี่มันเพ้อเจ้อเหลือเกิน มาคราวหน้าถ้าพบกันอีกต้องตีเสียให้เข็ด"

    "จะรอถึงคราวหน้าทำไม ทำไมไม่ตีเสียเลยคราวนี้"

    ท่านรินไซกล่าวตอบ ว่าแล้วท่านก็ตบหน้าท่านฮวงโปฉาดใหญ่ ความปล่อยวางเกิดขึ้นในขณะเดียวกันทั้งศิษย์และอาจารย์ ท่านฮวงโปเพียงแต่พูดว่า

    "เจ้าบ้าคนนี้ มันกำลังลูบหนวดเสือ"


    บทสรุป
    จะเห็นได้ว่านิกายเซ็นเป็นนิกายที่เร็วและแรง เน้นการบรรลุธรรมแบบฉับพลัน มีโกอานท้าทายดึงดูดผู้มีปัญญา มาไขปริศนาธรรม เพื่อฝึกฝนวิธีคิดแบบอริยะ ทำลายความคิดทางตรรกะ เพื่อให้เห็นสัจธรรม เซ็นจึงพุ่งตรงไปที่แก่นของพุทธศาสนา เป็นนิกายที่เน้นให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงประสบการณ์ของสภาวะธรรม และ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นธรรมชาติ ที่สุด มิใช่แต่เพียงท่องจำ แล้วนำไปใช้แบบฝืนธรรมชาติ การศึกษาเซ็น จำเป็นต้องละทิ้งความยึดมั่นถือมั่นไปเสียก่อน แม้แต่การยึดมั่นถือมั่นใน พระไตรปิฎก หรือ แม้แต่พระพุทธเจ้า ดังภาพวาดอันโด่งดังของท่านเว่ยหลาง ที่กำลังฉีกคัมภีร์ อยู่ ส่วนคำสอนของลูกศิษย์ของท่าน ไปไกลยิ่งกว่านั้นเสียอีก ท่านว่าไงน่ะหรือ "พบพระพุทธเจ้าบนนถนน ... จงฆ่าเสีย" มีใครไขปริศนาธรรมข้อนี้ได้ไหมครับ ?

    ด้วยความศรัทธาในวิถีแห่งเซ็น เว็บไซต์แห่งนี้จึงได้รวบรวมโกอัน หรือ นิทานเซน เข้าไว้ด้วยกัน บางเรื่อก็แปลมาจากเว็บภาษาอังกฤษ บางเรื่องก็ยกที่เขาแปลไว้แล้วมานำเสนอ พร้อมกับคลิปประกอบที่เกี่ยวข้องให้เพื่อนๆดูกันเพลินๆ ให้เกิดปัญญา สวัสดีครับ

    ส่วนศาสนาที่หลวงตาว่า น่าจะเป็นศาสนาเชน หรือไชน เป็นลัทธิแก้ผ้า
    ศาสนาเชน, ไชนะ หรือ ชินะ (แปลว่า ผู้ชนะ) หรือ เดียรถีย์นิครนถ์ (แปลว่า ศาสนานอกพุทธศาสนา) (อังกฤษ: Jainism) เป็นศาสนาในประเทศอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล เป็นหนึ่งในลัทธิสำคัญทั้งหก ที่เกิดร่วมสมัยกับ พระพุทธเจ้า
    800px-Mahavir.jpg

    มหาวีระศาสดาศาสนาเชนที่จะมีรูปปั้นคล้ายพระพุทธรูปแต่จะแก้ผ้า
    ศาสนาเชนเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ คือไม่นับถือพระเจ้าหรือเทพเจ้า ถือหลักการไม่เบียดเบียน หรืออหิงสาอย่างเอกอุ ถือว่าการบำเพ็ญตนให้ลำบากคืออัตตกิลมถานุโยค เป็นทางนำไปสู่การบรรลุธรรมที่ ผู้ที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดทางกาย วาจา ใจ

    มีศาสดาคือพระมหาวีระ หรือ นิครนถนาฏบุตร หรือ องค์ตีรถังกร(ผู้สร้างทางข้ามพ้นไป)โดยศาสนิกเชนถือว่าเป็นศาสดาองค์ที่ 24 ของศาสนาเชน จึงถือว่าศาสนาเชนเก่าแก่กว่าศาสนาพุทธ

    ศาสนาเชนเกิดขึ้นในอนุทวีปอินเดียเมื่อประมาณศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. ศาสนานี้คัดค้านศาสนพิธีและความเชื่อในคัมภีร์พระเวทของศาสนาพราหมณ์ ปัจจุบันเชนมีศาสนิกชนประมาณ 6 ล้านคน ทั่วอินเดีย โดยมากมีฐานะดี เพราะเป็นพ่อค้าเสียส่วนใหญ่
    หลักปรัชญาของศาสนา
    ศาสนาเชนเป็นศาสนาทวินิยม กล่าวคือ มองสภาพความจริงว่ามีส่วนประกอบ 2 สิ่งที่มีสภาวะเที่ยงแท้เป็นนิรันดร คือ 1.ชีวะ ได้แก่ วิญญาณ หรือสิ่งมีชีวิต หรือ อาตมันซึ่งเป็นอัตตา จริงแท้(ตรงข้ามกับศาสนาพุทธที่เป็นอนัตตา) 2.อชีวะ ได้แก่ อวิญญาณ หรือสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่สสารวัตถุต่างๆ

    สสารประกอบด้วยองค์ประกอบขั้นพื้นฐาน 5 ประการ คือ 1. การเคลื่อนไหว(ธัมมะ) 2. การหยุดนิ่ง(อธัมมะ) 3.อวกาศ(อากาศ) 4.สสารและ5.กาลเวลา โดยทั้งหมดเป็นนิรันดรและปราศจากการเริ่มต้น

    สรรพสิ่งทั้งหมดยกเว้นชีวะ(วิญญาน) เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เวลาและเอกภาพเป็นสิ่งนิรันดร ไม่มีรูป โลกคงมีอยู่ไม่มีวันจบสิ้น เป็นสภาพนิรันดร ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่สภาวะเปลี่ยนแปลงคงอยู่ตลอดกาล อวกาศเป็นสิ่งขยายไร้รูป เป็นที่รองรับเนื้อที่ทั้งมวลของเอกภาพ และเอกภาพมีรูปร่างเหมือนคนยืนกางขา เอามือเท้าสะเอว รูปร่างเพรียว เอวแบน ตรงกลางเอกภาพมีที่สถิตแห่งดวงวิญญาณ เป็นบริเวณที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทุกชนดมีอยู่ เหนือบริเวณตอนกลางของเอกภาพขึ้นไป คือ โลกชั้นบน โลกชั้นนี้มีสองส่วน มีสวรรค์ 16 ชั้น มีเขตของท้องฟ้า 14 เขต ชั้นบนที่สุดของเอกภาพเป็นที่ตั้งของ สิทธศิลา ซึ่งเป็นสถานที่มีลักษณะบริเวณโค้ง เป็นที่สถิตของวิญญาณที่หลุดพ้นออกจากกายที่อยู่บนโลกมนุษย์

    คัมภีร์ทางศาสนา
    คือ คัมภีร์อาคมะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิทธานตะ และคัมภีร์กัลปสูตร มีอยู่ 45 เล่ม ในปัจจุบันเหลืออยู่แค่37 เล่ม คัมภีร์ของศาสนาเชนเป็นเรื่องที่ยากแก่การศึกษาค้นคว้า เพราะไม่ค่อยเปิดเผยแก่สาธารณชนเหมือนศาสนาอื่น โดยการพยายามจะเก็บซ่อนคัมภีร์ไว้อย่างมิดชิด ประกอบด้วยอังคะ 12 อังคะหรือ ส่วน แบ่งอุปางคะ 11 ส่วน คือ มูลสูตร 4 เล่ม เป็นเจตสูตร 6 เล่ม เป็นคูสิกสูตร 2 เล่ม และเป็นปกิณกะ 10 เล่ม แต่อังคะที่ 12 คือคัมภีร์ฤทธิวาทได้สูญหายไป

    ข้อปฏิบัติทางศาสนา
    ข้อปฏิบัติที่จะบรรลุโมกษะฬน มีอยู่ 3 ประการ คือ

    ความเชื่อที่ถูกต้อง ได้แก่ เชื่อในศาสดาทั้ง 24 องค์ของศาสนาเชน เชื่อในเชนศาสตร์ เชื่อในคัมภีร์ของศาสนาเชน และเชื่อในนักบวชผู้สำเร็จผลในศาสนาเชน
    ความรู้ที่ถูกต้อง ได้แก่ รู้สิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง และด้วยความแน่ใจ
    ความประพฤติที่ถูกต้อง ได้แก่ หลักอนุพรต 5 (เปรียบได้กับศีล 5 ของศาสนาพุทธ )อันเป็นหลักธรรมขั้นพื้นฐาน
    1. อหิงสา การไม่เบียดเบียน ไม่ทำลายชีวิต 2. สัตยะ ไม่พูดเท็จ 3. อัสเตยะ ไม่ลักขโมย 4. พรหมจรยะ การไม่ประพฤติผิดในกาม 5. อปริครหะ การพอเพียงไม่โลภ

    ข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือน
    เว้นจากการฆ่าสัตว์
    เว้นจากการพูดเท็จ
    เว้นจากการลักฉ้อ
    สันโดษในลูกเมียตน
    มีความปรารถนาพอสมควร
    เว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นอาหาร
    อยู่ในเขตของตนตามกำหนด
    พอดีในการบริโภค
    เป็นคนตรง
    บำเพ็ญพรตประพฤติวัตรในคราวเทศกาล
    รักษาอุโบสถ
    บริบูรณ์ด้วยปฏิสันถารต่ออาคันตุกะ
    ข้อปฏิบัติของบรรพชิต[แก้ไขต้นฉบับ]
    เพิ่มเติมจากข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือนอีก 3 ข้อคือ

    ห้ามประกอบเมถุนธรรม
    ห้ามเรียกสิ่งต่างๆว่าเป็นของตนเอง
    กินอาหารหลังเที่ยงได้ แต่ห้ามกินยามราตรี
    จุดหมายสูงสุดทางศาสนา
    จุดหมายสูงสุดของศาสนาเชนคือการบรรลุไกวัลย์ ด้วยการ"นิรชระ"หรือการทำลายกรรม เพราะการกระทำซึ่งเป็นเหตุให้เกิด"พันธะ"การถูกผูกมัด(เปรียบได้กับอุปาทาน การยึดมั่นถือมั่นของศาสนาพุทธ) เป็นการการบำเพ็ญตนให้หลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากสังสาระ การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งอาจเปรียบได้กับโมกษะของศาสนาพราหมณ์หรือนิพพานของศาสนาพุทธ ในศาสนาพราหมณ์ เมื่อวิญญานหลุดพ้นแล้วจะไปรวมอยู่กับพรหม ส่วนศาสนาเชน เมื่อวิญญานหลุดพ้นแล้ว ก็จะไปอยู่ในส่วนหนึ่งของเอกภาพที่เรียกว่า "สิทธศิลา" ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุขนิรันดร ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก

    นิกายของศาสนาเชน
    เมื่อพระมหาวีระสิ้นไปแล้วศาสนิกก็แตกแยกกันปฏิบัติหลักธรรม จากหลักธรรมที่เรียบง่ายก็กลาย เป็นยุ่งเหยิง พ.ศ. 200 ก็แตกเป็น 2 นิกาย คือ

    นิกายทิคัมพร นุ่งลมห่มฟ้า แบ่งแยกออกเป็นนิกายย่อยอีก 5 นิกาย
    นิกายเศวตัมพร นุ่งขาวห่มขาว แบ่งแยกออกเป็นนิกายย่อยอีก 84 นิกาย
     

แชร์หน้านี้

Loading...