ศีลธรรมเกิดจากกระบวนการทางชีววิยาในสมอง มากกว่าการอบรมเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย 123, 3 เมษายน 2010.

  1. 123

    123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2004
    โพสต์:
    216
    ค่าพลัง:
    +864
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 เมษายน 2553 11:01 น.



    ศีลธรรมเกิดจากกระบวนการทางชีววิยาในสมอง มากกว่าการอบรมเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อม


    เดลิเมล์ – นักวิจัยพบ “เข็มทิศศีลธรรม” ในสมองสามารถควบคุมได้ด้วยสนามแม่เหล็ก เท่ากับว่าความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู ศาสนาหรือปรัชญา แต่มาจากปัจจัยทางชีววิทยาในสมอง

    นักวิจัยพบ ‘เข็มทิศศีลธรรม’ ในชีวิตจริง อยู่บริเวณด้านหลังหูขวา ซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมว่าเราจะตัดสินพฤติกรรมของผู้อื่นอย่างไร

    บริเวณดังกล่าวจะทำงานหนักขึ้นเมื่อเราใคร่ครวญว่าการกระทำของคนอื่นถูกหรือผิด

    ในการทดลองพิเศษ นักวิจัยสามารถใช้แม่เหล็กทรงพลังรบกวนการทำงานของสมองบริเวณนั้น และทำให้กลุ่มตัวอย่างมีศีลธรรมน้อยลง สะท้อนว่าความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของคนเราไม่ได้อิงกับการเลี้ยงดู ศาสนาหรือปรัชญา แต่มาจากกระบวนการทางชีววิยาในสมอง

    “เรามักคิดว่าศีลธรรมคือพฤติกรรมที่ดีงาม ดังนั้น การที่สามารถใช้สนามแม่เหล็กกับสมองบางส่วน และเปลี่ยนแปลงวิจารณญาณของคนจึงเป็นเรื่องน่าทึ่งอย่างยิ่ง” ดร.ไลแอน ยัง ผู้นำการวิจัยกล่าว

    นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตส์(เอ็มไอที) สหรัฐฯ ใช้เทคนิคที่เรียกว่า การกระตุ้นสมองเฉพาะที่ด้วยสนามแม่เหล็ก เพื่อรบกวนสมองส่วนที่ควบคุมเข็มทิศศีลธรรม โดยเทคนิคนี้ม่มีการรุกล้ำเข้าสู่ร่างกาย แต่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กในส่วนเล็กๆ ของกระโหลกศีรษะ และทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ในสมองตามมา กระแสไฟฟ้านี้จะรบกวนเซลล์สมองบริเวณใกล้เคียง และขัดขวางไม่ให้เซลล์สมองทำงานปกติ

    ในการทดลองแรก อาสาสมัคร 12 คนได้รับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า 25 นาทีก่อนที่จะได้ดูสถานการณ์ที่มีความยุ่งเหยิงทางศีลธรรม

    ในทุกสถานการณ์จากทั้งหมด 192 สถานการณ์ อาสาสมัครจะถูกขอให้ตัดสินว่าตัวละครได้คะแนน 1 แต้มสำหรับพฤติกรรมที่ ‘ต้องห้ามอย่างแรง’ จนถึง 7 แต้มสำหรับพฤติกรรมที่ ‘ยอมรับได้อย่างแท้จริง’

    ในการทดลองที่ 2 อาสาสมัครได้รับสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ขณะที่ถูกขอให้ตัดสินพฤติกรรมของตัวละครในสถานการณ์

    ในทั้งสองการทดลอง สนามแม่เหล็กทำให้อาสาสมัครมีศีลธรรมน้อยลง โดยในสถานการณ์หนึ่งที่ผู้ชายปล่อยให้แฟนเดินข้ามสะพานที่ตัวเองรู้ว่าไม่ปลอดภัย แต่สุดท้ายผู้หญิงไม่ได้รับอันตรายใดๆ

    ภายใต้เงื่อนไขปกติ อาสาสมัครส่วนใหญ่จะลงความเห็นว่าพฤติกรรมของชายคนดังกล่าวรับไม่ได้ แต่หลังจากถูกกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็ก อาสาสมัครมีแนวโน้มมองไม่เห็นความผิด และตัดสินชายคนนั้นในประเด็นว่าแฟนของเขาปลอดภัยหรือไม่เพียงอย่างเดียว

    อีกสถานการณ์หนึ่งที่เด็กหญิงสองคนเข้าไปในโรงงานเคมี โดยที่เด็กหญิงคนหนึ่งขอให้เพื่อนเติมน้ำตาลในถ้วยกาแฟของตน แต่เพื่อนกลับเติมผงในกระปุกที่ติดป้ายว่า ‘สารพิษ’ ให้ กระนั้น เด็กหญิงไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด

    ผลปรากฏว่าอาสาสมัครที่เข็มทิศศีลธรรมถูกรบกวนมีแนวโน้มมองว่าพฤติกรรมของเด็กหญิงคนที่ 2 รับได้เพราะเพื่อนไม่ได้รับบาดเจ็บ แม้รู้อยู่แล้วว่าผงดังกล่าวมาจากกระปุกที่ติดป้ายว่าเป็นสารพิษก็ตาม

    ในการทดลองทั้งหมด การกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบหรือที่ไตร่ตรองดีแล้วซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอันตราย จะถูกมองว่ารับได้ทางศีลธรรม หากเรื่อง ‘จบลงอย่างมีความสุข’ ทั้งนี้ จากรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารโปรซีดดิ้งส์ ออฟ เดอะ เนชันแนล อะคาเดมี ออฟ ไซนส์

    อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักวิจัยได้พบส่วนของสมองส่วนที่ควบคุมศีลธรรมจรรยา ปีที่แล้วนักวิจัยอเมริกันได้พบ ‘จุดพระเจ้า’ ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...