ศึกษา’พุทธศาสนา’เริ่มที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ : โดย น.พ.วิชัย เทียนถาวร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 29 เมษายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b8b8e0b897e0b898e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b899e0b8b2e0b980e0b8a3e0b8b4e0b988e0b8a1e0b897e0b8b5e0b988.jpg

    เนื่องจากผู้เขียนเป็นหมอเฉพาะทางด้านหู คอ จมูก เมื่อได้อ่านหนังสือเรื่องแก่นพุทธศาสนาของหลวงปู่ พุทธทาสภิกขุ ในหัวข้อที่ว่าศึกษาพุทธศาสนาต้องเริ่มที่ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ก็มีความรู้สึกตามภาษาวัยรุ่นที่ว่า “โดน” ทันที คือ มีความสนใจมากเป็นอย่างยิ่งมีแรงบันดาลใจ อยากอ่านอยากรู้อยากเห็นและอยากทำความเข้าใจให้กระจ่างว่ามันมีความสำคัญยิ่งอย่างไร? เพราะในความรู้สึกของแพทย์ในฐานะเป็นนักวิทยาศาสตร์สุขภาพก็รู้เข้าใจเพียงว่า “ตา หู คอ จมูก” นั้น หมอเฉพาะทางด้านอวัยวะความรู้สึกเฉพาะทางเป็นหมอ Sub Board เป็น Special Sense ที่หมอเรียนตั้งแต่หัวจรดเท้า แต่ “หมอตา” และ “หมอหู คอ จมูก” เรียนเฉพาะอวัยวะพิเศษสุด คือ เรียนแพทยศาสตร์ใช้เวลา 6 ปี เป็นแพทย์ฝึกหัด 1 ปี แล้วต่อด้วยแพทย์เฉพาะทางหมอตา 3 ปี หมอหู คอ จมูก อีก 3 ปี ได้วุฒิบัตรที่ภาษาอังกฤษเรียนสอบได้ Board (บอร์ด) เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านพิเศษจริงๆ แล้วยังมีการเรียนการสอนจำเฉพาะทางเข้าไปอีกต้องเรียนต่ออีก 1-2 ปี เช่น เป็นหมอด้านกระจกตา (cornea) หมอเลนส์แก้วตา (Lense) หรือหมอหู คอ จมูก ก็จะมีย่อยลงมาอีก เช่น หมอเก่งด้าน Head neck หมอเก่งด้านภูมิแพ้ (Allergy) หมอเก่งทางประสาทหู โดยเฉพาะที่เรียกว่า หมอ “Neuro Oto”เป็นต้น

    หลวงปู่พุทธทาสท่านกล่าวว่า สิ่งแรกผู้ที่ศึกษาพุทธศาสนาจะต้องสนใจเหมือนกับว่า…เราจะเรียนหนังสือ เราก็ต้องเริ่มเรียน ก.ไก่ ข.ไข่…ก อากา ก อิกิ เอ บี ซี อะไรตามนั้น ฉันใด ถ้าเราจะลงมือศึกษาพุทธศาสนาก็ต้องให้ลงมือศึกษาเริ่มต้นที่… “ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ” ฉันนั้น ท่านบอกว่าอย่าเข้าใจว่าเป็นคำ ครึ ล่ะ เป็นคำของคนครึกระงุ่มง่ามอยู่ในวัด เรื่องตา หู คอ จมูก ลิ้น กาย ใจ มันเป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่งในพุทธศาสนา

    เรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ใช่ใหม่? มันจึงมีปัญหาต่างๆ นานาเกิดขึ้นมาได้? สมมุติว่าถ้าเราไม่มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็ไม่มีทางที่จะเกิดปัญหาอะไรเลย ลองคิดดูในข้อนี้ให้เห็นเสียก่อนว่า…ถ้าเราเกิดมาไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็น… “ตัวการ” หรือเป็น “พระเอก” ในบท “ผู้ร้าย” ที่จะทำให้เกิด “ปัญหา” เกิดปัญหาอย่างไร เพราะว่าในโลกนี้หรือที่เรียกโลก โลกทั้งหลาย มันไม่มีอะไร นอกจาก “รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์” คือของคู่กันกับ “ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ”

    ฉะนั้น ขอร้องให้ช่วยจำคำ 6 คู่นี้ไว้ให้ดีที่สุดเถิด ถ้าอยากจะเป็นนักศึกษาพุทธศาสนา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้จำง่ายแล้ว…รูปที่จะมากระทบตา เสียงที่จะมากระทบหู กลิ่นที่จะมากระทบจมูก รสที่จะมากระทบลิ้น สัมผัสผิวหนังที่จะมากระทบผิวหนัง แล้วก็ความรู้สึกที่จะมากระทบใจ ก็เป็นครบ 2 คู่ ประกอบกันอยู่เป็นเรื่อง…ทั้งโลก

    เราพูดได้โดยไม่ต้องเชื่อใครไม่กลัวผิดไม่ผิดว่าหรือถ้าพูดภาษานักเลงหน่อยก็ได้ที่ว่าไม่มีทางผิดได้เลย ถ้าเราไม่มี…ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่มีเรื่องหรือเรื่องก็ไม่มี หรือว่า ถ้าเรามีแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ฉะนั้นคำว่า “โลกๆๆ ในพระพุทธศาสนาท่านระบุไปยัง 6 อย่างนี้แผ่นดินนี้จะมีความหมายอะไร ถ้าไม่มีลักษณะให้มาเป็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ฉะนั้นอะไรๆ ในโลกที่มี “ความหมาย” มีคุณค่าขึ้นมาได้ก็เพราะมันเกิดมากระทบกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วมีเรื่องใช้คำอย่างนี้ก็แล้วกันว่า…มันมีเรื่อง

    ฉะนั้นเราจึงรู้ว่ามันมีข้างใน คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ข้างนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ แล้วมันก็จับคู่กัน “ข้างนอกกับข้างใน” จะยกตัวอย่างเรื่อง…ตา ดังนี้ : ตากับรูป รูปอยู่ข้างนอก ตาอยู่ข้างใน คือ คนพอมันถึงกันเข้าเกิดวิญญาณทางตา นี่วิญญาณเพื่อเกิดเดี๋ยวนี้ วิญญาณตอนนั้นก็ไม่มี “วิญญาณ” ในพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้

    ถ้าวิญญาณในศาสนาอื่นเป็นตัวเป็นตนเป็นเจตภูต เป็นชีโวอะไรของเขามีอยู่อย่างอื่นในความหมายอย่างอื่นเข้าออกร่างกายนี้ไปเดี๋ยวมาเดี๋ยวนั้นเป็นวิญญาณอย่างอื่น ถ้าเป็นวิญญาณอย่างพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคู่เหล่านี้กระทบกัน เมื่อมากระทบรูปเกิด “วิญญาณ” ทางตา เมื่อหูกระทบเสียงวิญญาณทางหู เมื่อกลิ่นกระทบจมูกก็เกิดวิญญาณทางจมูก เมื่อรสกระทบลิ้นก็เกิดวิญญาณทางลิ้น เมื่อโผฏฐัพพะกระทบกายก็เกิดวิญญาณทางผิวกาย ความรู้สึกมากระทบใจ ก็เกิดวิญญาณทางจิต มะโนนี่วิญญาณ เมื่อมองข้างในกับของข้างนอกถึงกันเขาก็เกิด “วิญญาณ” หน้าที่ทั้งเรื่องดีและไม่ดี

    เมื่อ “วิญญาณ” ทำหน้าที่รู้สึกอยู่ทางตาหรือทางหูก็ตาม มันทำหน้าที่รู้สึกอยู่อย่างนั้น 3 อย่าง คือ ตากับรูปกับวิญญาณ 3 อย่างนี้ทำหน้าที่อยู่นั่นแหละ คือ สิ่งที่เรียกว่า “ผัสสะ”

    เรื่อง “สัมผัส” นี้สำคัญมาก คือ เป็นที่เกิดแห่ง “ปัญหา” ทั้งปวงทุกอย่างสารพัดอย่างเป็นเรื่องลึกละเอียดเกินไป ไม่อาจอธิบายลงลึกเพียงขอให้ทราบล่วงหน้าเพียงว่า พระพุทธเจ้า ท่านตรัสเรื่อง “ผัสสะ” ไว้ในฐานะเป็นตัวตั้งต้นแห่งปัญหาทุกชนิด ไม่ว่าปัญหาอะไรทั้งนั้นมากจาตัว “ผัสสะ” นี่นั่นเอง

    เมื่อมี “ผัสสะ” แล้วมันก็มี “เวทนา” คือ รู้สึกถูกใจ ไม่ถูกใจรู้สึกสุขหรือเป็นทุกข์ หรือเฉยๆ “เวทนา” นี้คือ “เวทนา ซึ่งเกิดอยู่เป็นประจำ นี่พอเกิดเวทนาแล้ว มันก็เกิด “ความอยาก” ไปตามเวทนานั้นๆ ถ้าเวทนามันมาแต่ความสวยงาม เอร็ดอร่อย หอมหวาน มันก็เกิดความอยากจะได้ ถ้ามันไม่เป็นอย่างนั้นเกิดอยากจะฆ่าเสียจะทำลายเสีย ถ้ามันยังไม่เป็นอย่างไรแน่ ก็ได้แต่สงสัยไว้ก่อน มัวเมา อาลัยอาวรณ์ ทึ่งและสนใจไว้ก่อนนี่ว่าเกิดอยากได้นั้น “โลภะหรือราคะ” ที่ไม่อยากได้ ไม่ชอบ อยากจะทำลายเสีย นั้นคือ “โทสะหรือโกธะ” ที่ไม่รู้จะทำอะไร แต่สนใจอยู่ก่อน นี้ก็เป็น “โมหะ” นี่ราคะ โทสะ โมหะ มันเกิดขึ้นมาอย่างนี้เป็น “ทุกข์” ทั้งสิ้น

    ถ้าอยากจะรู้พุทธศาสนาต้องในใจเรื่องนี้ที่มีอยู่จริง ถ้าอย่างนั้นไม่มีทาง ถ้าอยากรู้พุทธศาสนาต้องเรียนลงไปที่ตัว “ความทุกข์” และ “เหตุทำให้เกิดทุกข์” แล้วก็ความดับทุกข์และก็ทางให้ถึงความดับทุกข์ที่มันมีอยู่ในชีวิตจริงๆ ของแต่ละอันๆ นี้เรียกว่า “เวทนา” ให้เกิด “ตัณหา” คือ ความอยากเมื่อเกิดตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นในจิตแล้ว มันก็จะเกิดความรู้สึกเองตามธรรมชาติ คือ รู้สึกเป็นตัวฉันตัวกูก็ได้ ผู้อยากเป็นเจ้าของเรื่องขึ้นมา ผลอย่างนี้แล้วก็เรียกว่า อุปาทาน ยึดถือเป็นตัวตน ยึดถือเป็นของๆ คน กลายเป็นหิ้วของหนัก ตัวตนก็หนักไปตามแบบตัวตนของตน หนักไปตามแบบของตน ความรู้สึกยึดถือมันมีแต่ 2 อย่างเท่านั้นว่า “เป็นตัวตนหรือเป็นของตน” นี้อะไรๆ มันก็เอามาเป็นของตนหมด เอาโลกนี้มาเป็นของตน เลยเป็นปัญหา “ทั้งโลก” ในปัจจุบัน หรือเอาความเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้นเป็นของ “ธรรมชาติ” มาเป็นของตน ตัวก็ได้มีความทุกข์เพราะเกิดแก่เจ็บตายสมน้ำหน้ามัน ถ้าอยากไปเอามาเป็นของตน มันก็ไม่มีเรื่องเท่านั้นเอง

    [​IMG] [​IMG]

    นี่ “อุปาทาน” เป็นเหตุให้ยึดถือว่ามี “ตัวตน” ที่จะเป็นเจ้าของอะไรๆ ต่างๆ แล้วก็ยึดเอามาเป็นของตน พอมี “อุปาทาน” แล้วไม่ได้แล้วมันก็เป็นทุกข์ คือ มันหิ้ว มันหอบ มันแบกของหนักแล้ว อะไรๆ ก็เป็นเรื่องของคนหมด เรื่องได้เรื่องเสีย เรื่องกำไรเรื่องขาดทุน เรื่องแพ้เรื่องชนะ เรื่องศักดิ์ศรี เรื่องอะไรเป็นตัวตน เป็นของตนหมด มันก็มี “ปัญหา” นั่นเอง

    ถ้าไม่มีความรู้สึกว่าเป็น “ของตน” หรือ “ตัวตน” มันก็ไม่มีความทุกข์แก่จิตใจแต่มี “ปัญญา” รู้ว่าจะทำอย่างไรเรื่องนี้ควรทำอย่างไรก็ทำไป โดยไม่ต้องไปยึดถือให้เป็นตัวตนของตน ก็ไม่มีความทุกข์ ฉะนั้นเราจึงอยู่ในโลกนี้ได้แล้วปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างดีที่สุดได้ โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ ไม่ใช่ว่าถ้าต้องทำงานตามหน้าที่แล้วจะมีความทุกข์ไปทั้งหมด มันอยู่ที่ว่ายึดถือด้วยความโง่เขลาหรือไม่ ถ้ายึดถือด้วยความเป็นตนของตน มันก็หนักอึ้งไปหมด ผูกติดกับมัน ถ้าไม่ยึดถือรู้จักปล่อยวาง ละวาง ทำไปตามสติปัญญามันก็ไม่หนักอะไร ผ่อนคลาย สบายใจขึ้น แล้วมันก็ไม่ทุกข์อะไร เรื่องมันมีเท่านี้แหละ ถ้าว่ามันเป็น หัวใจของพระพุทธศาสนา คือเรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท มันมีเท่านี้

    อิทัปปัจจยตาเป็นหัวใจพุทธศาสนาอย่างยิ่ง : ขอให้ฝึกกำหนดให้ดีๆ เถอะ ถ้าว่าต้องการเรื่องหัวใจของพุทธศาสนาแล้วมันมีเท่านี้ แล้วหลักธรรมะนี้เรียกว่า “อิทัปปัจจยตา” ขอให้ช่วยกันจำหน่อยเถิดแม้มันจะเป็นคำแปลกหู ฟังแล้วรกรุงรังก็ขอให้ช่วยฝึกหัดจำหน่อย เพราะมันเป็นคำที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา : เรื่อง อิทัปปัจจยตา แปลว่า “เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น : เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดนี่เป็น วิทยาศาสตร์อย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา ที่เรียนวิทยาศาสตร์ทางฟิสิกส์ เคมี ก็ลองมาจับกันดู จะพบว่ามันตรงกับ… “กฎของอิทัปปัจจยตา” เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้ยังเกิดแล้วก็มาถือว่าเป็นของตัวตน มันก็เป็นคนขี้โกง มันเป็นของธรรมชาติเกิดขึ้นตามกฎของธรรมชาติ แล้วยึดเขามาเป็นของตนมันก็เป็นคน “ขี้โกง” เมื่อขี้โกงมันก็ต้องถูกลงโทษให้เป็นทุกข์เท่านั้นเอง

    “อิทัปปัจจยตา” คือ เรื่อง “ปฏิจจสมุปบาท” มันแปลว่า “อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น” เป็นเรื่องหัวใจแท้ๆ ก็อย่างที่ว่ามาแล้วว่า…อาศัยตาเห็นรูปถึงกันเข้าเกิดวิญญาณ 3 ประการนี้มีอยู่ก็เกิด “ผัสสะ” เพราะมี “ผัสสะ” แล้วก็มี “เวทนา” เพราะมีเวทนาจึงมีตัณหา เพราะมีตัณหาจึงมี “อุปาทาน” ยึดมั่นเป็นตัวตนของตน นี่เพราะมีอุปาทานยึดมั่นเป็นตัวตนของตน ความทุกข์ทั้งหลายก็เกิดขึ้น อะไรๆ ที่มันเป็นตามธรรมชาติก็เอามาเป็นของตน

    “พระอรหันต์” ท่านไม่ยึดถืออะไรมาเป็นของตน ดังนั้น ท่านจึงไม่ต้องเป็นทุกข์ เพราะความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระอรหันต์ร่างกายของท่านมีแก่ มีเจ็บ มีตายเหมือนกัน แต่ไม่เป็นทุกข์ เพราะท่านไม่ได้ยึดว่านั้นมันเป็นของๆ ตน ส่วน “คน” เราชอบยึดถือเอาเกิด แก่ เจ็บ ตาย มาเป็นของตนจึงได้เกิดทุกข์

    นี่เรื่องความทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างนี้ เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้นเพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้นโดยเฉพาะเรื่อง “ทุกข์” และเรื่องอื่นๆ ก็เหมือนกันหมด เป็นเรื่องทางโลกล้วนๆ เป็นเรื่องแผ่นดินโลกล้วนๆ เรื่ออุตุนิยม เรื่องดินฟ้าอากาศ แม้เรื่อง “การบ้าน การเมือง” เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้นทั้งนั้น นี่เรียกว่า ผ่ายวัตถุธรรมข้างนอก อาศัยเกณฑ์อันนี้ที่เป็นภายใน เรื่องของจิตใจก็อาศัยเหตุอาศัยเกณฑ์ข้อนี้ นี่เป็นหลักพระพุทธศาสนา

    ในภาษาบาลีที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ท่านตรัสรู้ ท่านตรัสรู้เล่าถึงการตรัสรู้ “ปฏิจจสมุปบาท” อย่างที่ว่าเพราะมีอะไรมาเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ชรา เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยจึงมี “ภพ” เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยจึงมี “ชาติ” จึงมีอุปทาน จึงมีตัณหา จึงมีเวทนา จึงมีผัสสะ จึงมีวิญญาณ จึงมีรูปจึงมีตา…จึงมีอะไรถอยลังเข้ามาเรื่อยๆ (เหตุแห่ง “ปัญหา”) พอตรัสรู้เรื่องนี้หมดคือการ “ตรัสรู้” เมื่อตรัสรู้แล้วก็ทรงทบทวน นั่งทบทวนเรื่องนี้อยู่ที่เรียกว่า “นั่งฝึกในเรือนแก้ว”

    พอสรุปเบื้องต้นได้ว่าปัญหาที่เกิดต้นตอ ตัวการสำคัญ คือ “ผัสสะ” เป็นผลมาจาก 3 สิ่งร่วมกันเป็นปัจจัยซึ่งอาศัยซึ่งกันและกันอยู่เกิดดับลงพร้อมกัน และไม่มีตัวตน คือ วิญญาณ รูป ตา หากจะสรุปก็คือ ธรรมะที่เกิดทั้งหกทาง ตั้งสติไว้ตรงสภาวธรรมเกิดขึ้นทางหกทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็น “ภูมิฐาน” ของ “วิปัสสนากรรมฐาน” เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน รูปกับนามและมีสติระลึกรู้เสมออย่างมีสมาธิด้วยเกิดปัญญาที่ว่า “ผัสสะ” ที่เกิดเป็นเหตุแห่งทุกข์ก็ให้ตัด “ผัสสะ”ให้ได้

    ท้ายสุดนี้ผู้เขียนพอจะประมวลอีกครั้งได้ว่า “ผัสสะ” ที่เกิดต้นเหตุ ต้นตอหรือตัวการสำคัญที่สุด คือ “ผัสสะ” เป็นผลมาจาก 3 สิ่งเป็นปัจจัยร่วมกัน 1.อายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) กับ 2.อายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) คือสิ่งคู่กัน เช่น ตากระทบรูปเห็นการเกิดอารมณ์ที่เรียกว่า วิญญาณ คือ อารมณ์ที่เกิดจากใจที่เรียกว่า “ผัสสะ” หากตั้งเอาสติไว้ที่ “ดวงตา” กำหนดภาวนาว่า… “เห็นหนอๆ สักห้า…หกครั้ง จนภาพ (รูป) หายใจ ถ้าเป็นที่หูให้กำหนดภาวนาว่า “ได้ยินหนอๆๆ สักห้า หกครั้ง อาการรู้ของอารมณ์หรือวิญญาณหรือผัสสะก็จะไม่เกิด

    ก็ถือเป็นการตัดปัจจัยทั้งสามสิ่งนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 3 อย่าง “ผัสสะ” ก็จะไม่เกิดเรื่องก็จะไม่เกิดหรือไม่มีนั่นก็คือ ศึกษาพุทธศาสนา “ต้องเริ่มตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ” ไงเล่าครับ

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/news/933037
     

แชร์หน้านี้

Loading...