ศูนย์กลางพุทธศาสนาเริ่มขยายฐานรากในสหรัฐอเมริกา

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 21 มีนาคม 2005.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,687
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    <CENTER> พุทธศาสนาขยายฐานรากออกไปถึงแถบตำบลที่ห่างไกลออกไปนอกเมือง
    ณ เมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ในคืนวันจันทร์ที่สตูดิโอฝึกโยคะในเมืองกลอเซสเตอร์ มีกลุ่มคน 8 - 14 คน มารวมตัวกันเพื่อฝึกสมาธิ เรียน และ ฝึกหัดตามวิถีทางของชาวพุทธ
    สมาชิกหลายคนของกลุ่ม Cape Ann Dharma นั้นไม่ได้เป็นพุทธศาสนิกชนแต่อย่างใดพวกเขามาจากประเทศแถบตะวันออกที่ซึ่งมีศาสนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม สมาชิกของกลุ่มเป็นชาวยุโรปอเมริกันผู้ซึ่งต้องการเปลี่ยนตัวเองมาสนใจในพุทธศาสนา
    แพทริเซีย เมอร์สัน อายุ 48 ปี อาศัยอยู่แถบชายฝั่งของเมืองแมนเชสเตอร์ผู้ซึ่งถูกชักจูงให้มาสนใจศาสนาพุทธนิการวัชรยาน หล่อนกล่าวว่า
    " มันเป็นวิถีทางที่ต้องใช้ความชำนาญ "
    หล่อนไม่ได้คิดมาศึกษานิกายนี้ด้วยเหตุเพราะต้องการที่จะมีความเมตตาหรือต้องการมีปัญญาใดๆทั้งสิ้น แต่เพราะว่าหล่อนคิดว่าการทำสมาธินั้นเป็นการฝึกเพื่อให้เรานำสิ่งเหล่านั้นเป็นเครื่องมือที่เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ หล่อนเสริมอีกว่า
    " คุณสามารถอ่านความคิดต่างๆได้ และตัวฉันเองก็ค้นพบว่าการฝึกการทำสมาธิในพุทธศาสนานั้นเป็นหนทางแรกที่ทำให้ฉันมีความคิดดีๆ ทำให้ฉันมีทั้งสภาพจิตใจ และ สภาพชีวิตที่ดีขึ้น มันทำให้เราสามารถแทรกการสอนพุทธศาสนาลงไปในการฝึกสมาธิได้ด้วย "
    เมอร์สันผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำกล่าวเสริมอีกว่า
    " ผู้ฝึกสามารถพัฒนา และ เอาใจใส่ในพฤติกรรมของตัวเอง และเมื่อถึงภาวะที่กดดันคุณก็จะสามารถควบคุมมันได้ คุณสามารถฝึกจิตของคุณให้มีการตอบโต้ด้วยความห่วงใย และ ดูแลเอาใจใส่ แทนที่จะโต้ตอบด้วยความกลัว หรือ ด้วยนิสัยส่วนตัวของคุณ "
    กลุ่มกลอเซสเตอร์เป็นกลุ่มเล็กๆในแถบชนบทซึ่งเกิดจากพุทธศาสนิกชนนอกจารีต เนื่องจากในเมือง ลีน และ แวกฟิล์ดมีวัดของพุทธศาสนิกชนชาวกัมพูชา และ ชาวเกาหลี มากกว่า มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มของพุทธศาสนิกชนรวมตัวกันฝึกโยคะเพื่อสุขภาพในเมืองกลอเซสเตอร์ ที่โบสถ์ของศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ และ ศูนย์กลางพุทธศาสนาของชาวอารยัน สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวอาสาที่จะรวบรวมไตร่ตรองสภาพประชากร และ สิ่งแวดล้อมยังพูดอีกว่าสมาชิกส่วนใหญ่ได้รับการแนะนำไปนับถือพุทธศาสนาด้วยเหตุผลในเรื่องของศาสนา ปรัชญา หรือว่าวิถีทางทางจิตวิญญาณ วิธีการฝึกทำสมาธิของกลุ่มนี้ได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง บ้างก็เพิ่มการสอนทางพุทธศาสนา ขณะที่กลุ่มอื่นๆไม่มีการเพิ่มเติมมากไปกว่าการนั่งสมาธิ
    เพราะว่าพุทธศาสนานั้นมีหลายร้อยนิกาย และมีวิธีการนับถือมากมายแตกต่างกันไป และแต่ละกลุ่มนั้นก็ไม่ได้มีการติดต่อเพื่อรวมกลุ่มกัน จากสถิติของชาวอเมริกันที่นับถือพุทธศาสนานั้นแบ่งแยกออกเป็นหลายนิกายอย่างกว้างขวางแต่ตามที่โครงงานการศึกษาศาสนาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดรายงานมาแสดงให้เห็นว่ามีศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาอยู่ระหว่าง 50 - 99 แห่งในรัฐแมสซาชูเซจ และตามรายงานของเวปไซต์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ให้ข้อมูลว่า มีพุทธศาสนิกชนในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่มากมายประมาณ 2.4 - 4 ล้านคนเลยทีเดียว รอย กู๊ดวิน ของสำนักงานลีนฟิล์ดอายุ 47 ปี ได้กล่าวขณะที่เขาได้กลายเป็นพุทธศาสนิกชนแล้ว และเขาก็ได้พบกับการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เขายังเด็กว่า
    " ผมมักจะถูกดึงดูดให้เข้าหามันเสมอตั้งแต่ผมเริ่มที่จะอ่านมันขณะที่ผมยังเรียนอยู่เกรด 7 พี่ชายของผมได้นำหนังสือเล่มนี้มามันมีชื่อว่า " สิทธารัตถะ " ซึ่งแต่งโดยเฮอร์แมน เฮสเสส์ และเมื่อผมได้อ่านมาเรื่อยๆผมรู้สึกว่ามันกำลังส่งเสียงเรียกผม ความปรารถนา และคำปฏิญาณต่างๆก็เกิดขึ้น คล้ายกับว่าไม่มีใครทิ้งผมไว้ให้อยู่ข้างหลังเพียงลำพัง และมันก็มีอิทธิพลต่อผมมาก "

    รอย กู๊ดวินก็เป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มเล็กๆทางตะวันตกในวัดเกาหลีชื่อมันซูซาในเวคฟิล์ดที่ซึ่งมีนักบวชชาวเกาหลีอาศัยอยู่ ซึ่งสนทนากันโดยใช้ล่ามเป็นภาษาอังกฤษ
    ศูนย์กลางพุทธศาสนิกชนนอกจารีตส่วนใหญ่และศูนย์กลางที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ในแถบภาคเหนือนั้นคือศูนย์กลางของพุทธศาสนิกชนอารยันที่วงเวียนฮาร์วู๊ด 14 มีหอประชุมกว้าง 12 เอเคอร์ ห้องทำสมาธิ และ ศาสนสถานก็ถูกค้นพบในปี 1985 อลามา ผู้อำนวยการศูนย์แห่งนี้กล่าวว่ามีคนประมาณ 100 คนจากชุมชนซังกา หรือจากชุมชนอื่น พวกเขาส่วนใหญ่สวมเสื้อที่มีปลอกคอสี้น้ำเงินและอาศัยอยู่ภายในรัศมี 1 ไมล์ห่างจากศูนย์กลางแห่งนี้และพวกเขามีอายุระหว่าง 35 - 65 ปี ความจริงพวกเขามาใช้ชีวิตที่เหลืออยู่กับพุทธศาสนา อลามา วัย 50 ปี ผู้ซึ่งเติบโตในโบสถ์คริสต์นิกายโปรแแตสแตนท์และเขาก็กลายมาเป็นพุทธศาสนิกชนตอนอายุ 17 ปี เขากล่าวว่า
    " สิ่งสำคัญคือ อะไรคือสิ่งที่มนุษย์ทุกคนตัดสินใจที่จะเข้ามานับถือพุทธศาสนาโดยไม่ต้องมีข้อแม้หรือคำอธิบาย ศาสนาพุทธและ ธรรมะคือสิ่งที่เกี่ยวกับการที่มนุษย์ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ว่า ชีวิตจะพบสันติสุขได้อย่างไรกับการค้นหาวิธีที่จะมีความสุขด้วยความเมตตา ธรรมะ ใช้หลักแห่งความซื่อสัตย์และการยอมรับความจริงว่าชีวิตมนุษย์ทุกคนจะต้องเจอกับอุปสรรค และมนุษย์จะต้องยอมรับความจริงที่จะเกิดขึ้น แต่หลักการทางพุทธศาสนามีการฝึกหัดที่เข้มงวด เคร่งครัด และ พุทธศาสนาก็จะมอบวิธีให้แก่มนุษย์เพื่อดำรงชีวิตด้วยตัวเองหรือให้มนุษย์ต้องค้นหาวิถีทางของตัวเอง รอย ย้ำอีกว่า
    " ไม่มีใครทำอะไรเพื่อตัวคุณหรอก "

    การรวมตัวครั้งยิ่งใหญ่ในคืนวันพุทธจัดขึ้นเวลา 6 โมงครึ่ง ถึง 2 ทุ่มที่โบสถ์ในเวคฟิล์ดการรวมตัวครั้งนี้มีชื่อว่า " การเปลี่ยนแปลงของชีวิต : การเดินทางอันผาสุข "มันเป็นเรื่องของโรงงานที่เริ่มกิจการเมื่อตอนฤดูใบไม้ผลิที่แล้วซึ่งดำเนินการโดย เจ็น โคมา แม่ชีชาวพุทธผู้ซึ่งทำงานในศูนย์ฝึกสมาธิที่ Ser lingpa ในแมเรี่ยนการรวมตัวครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประมาณ 6 - 20 คน แม่ชีกล่าวว่า
    " ผู้ที่มาเข้าร่วมมีลักษณธท่าทางแตกต่างกันออกไป บ้างก็คล้ายคลึงกับนักปรัชญาทางแถบตะวันออก บ้างก็เพิ่งหันมานับถือพุทธศาสนา พวกเขาต้องการหาสันติสุขโดยไม่คำนึงว่าจารีตประเพณีของศาสนาแต่ละศาสนาเป็นอย่างไร "
    เมอร์สัน ผู้ซึ่งเติบโตมาท่ามกลางชาวยิว และปฏิบัติตามแบบของชาวยิว หล่อนพูดในฐานะสมาชิกของกลุ่มว่า
    " พวกเราเป็นเพียงแค่กลุ่มที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำสมาธิ ถึงแม้ว่าสมาชิกของกลุ่มบางคนจะประพฤติแบบชาวยิวและมีผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาไม่เห็นด้วยก็ตาม "
    ศาสตราจารย์ พาดราอิก โอ แฮร์ ของนิวเบอร์รี่พอร์ท เป็นศาสตราจารย์ที่วิทยาลัยเมอร์รี่แมค ผู้ซึ่งมีงานเขียนออกมาอย่างแพร่หลายกล่าวว่า
    " วิธีการฝึกบางอย่างของพุทธศาสนาขัดกับศาสตร์ของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก หรือแม้แต่ศาสนาอื่นๆ ใครก็ตามที่ค้นพบชีวิตที่ค้นพบชีวิตที่แสดงให้เห็นถึงจิตใจหรือ ลมหายใจที่บริสุทธิ์ ใครก็ตามทีสามารถกระตุ้นให้หัวใจได้มีอิสระจากบาปที่น่าสะพรึงกลัว 7 อย่าง พวกเราไม่ควรที่จะไปกังวลเรื่องว่าใครจะว่ากล่าวว่าอะไร แต่น่าจะมากังวลเรื่องของผลลัพธ์ที่จะออกมาให้มาก ซึ่งผลลัพธ์ที่ดีอควรออกมาจากจากจิตใจและความเลื่อมใสจริงๆ "
    </CENTER>

    รายงานโดย เดวิด รัตติงแก้น
    แปล โดย
    ปิยนุช (อาสาเยาวชนชาวพุทธ)

    <CENTER>
    </CENTER>
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...