สงสัย!การแนะนำชักชวนคนมาปฏิบัติ ต้องรับกรรมจริงหรือเปล่า

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย หอมจันทร์, 7 พฤศจิกายน 2011.

  1. หอมจันทร์

    หอมจันทร์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +17
    สวัสดีค่ะ ^/\^

    คือว่าหนูสงสัยว่า...

    1.การที่เราแนะนำหรือชักชวนเพื่อนๆ หรือบุคคลอื่นมาปฏิบัติ มาสวดมนต์
    หรืออธิบายในเรื่องสมาธิ เรื่องต่างๆเกี่ยวกับทางธรรมให้เขาฟัง
    เราต้องรับกรรมมาด้วยส่วนหนึงจริงเท็จอย่างไร รบกวนอธิบายด้วยค่ะ

    2.แล้วหากเราชักชวนเพื่อนไปทำบุญ และพูดคุยเรื่องธรรมะกับเขา
    แรกๆเขาทำเป็นเหมือนสนใจ แต่พอชวนอีกเขาอารมณ์เสียใส่เรา
    เราควรจะทำอย่างไร รบกวนแนะนำด้วยน่ะคะ

    หมายเหตุ :: หากตั้งกระทู้ผิดห้องผิดบอร์ดก็ต้องขออภัยด้วยน่ะคะ
    ขอบคุณทุกคำแนะนำค่ะ ^/\^
     
  2. Phen@m

    Phen@m สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +11
    ตอบข้อ 1 ถ้าแนะนำแล้วเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ได้บุญ แต่ถ้าแนะนำผิดๆ ก็จะเป็นบาปกับเรา รับกรรมที่คุณหมายถึงคือแบบนี้ครับ กรรมดีก็คือบุญ กรรมชั่ัวหรือกรรมที่ผิดๆ ก็คือบาปครับ

    ตอบข้อ 2 คนส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนี้แหละครับ ยังมีกิเลสปะปน ไม่มากก็น้อย บางครั้งก็เบื่อ บางครั้งก็ยินดีในธรรม ถ้าเกิดว่าเขาพบเจอกับทุกข์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตเมื่อไร เมื่อนั้นแหละที่ผมคิดว่าธรรมจะช่วยเขาได้ และจะทำให้เขายินดีในธรรมไปตลอด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2011
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646


    1.การที่เราแนะนำหรือชักชวนเพื่อนๆ หรือบุคคลอื่นมาปฏิบัติ มาสวดมนต์
    หรืออธิบายในเรื่องสมาธิ เรื่องต่างๆเกี่ยวกับทางธรรมให้เขาฟัง
    เราต้องรับกรรมมาด้วยส่วนหนึงจริงเท็จอย่างไร รบกวนอธิบายด้วยค่ะ

    ถ้าเราแนะนำถูก เขาดำเนินถูก เป็นผลดี ก็ได้บุญ...

    ถ้าเราแนะนำผิด เขาดำเนินผิด เป็นผลเสีย ก็ได้บาป...

    อันนี้เราถือเป็นเรื่องปกติ.....ธรรมทานบุญมาก อสัจธรรมเป็นทาน ก็มีบาปมากเช่นกัน...

    2.แล้วหากเราชักชวนเพื่อนไปทำบุญ และพูดคุยเรื่องธรรมะกับเขา
    แรกๆเขาทำเป็นเหมือนสนใจ แต่พอชวนอีกเขาอารมณ์เสียใส่เรา
    เราควรจะทำอย่างไร รบกวนแนะนำด้วยน่ะคะ

    บอกบุญให้ทำแบบบอกทิ้งครับ.....เรื่องอย่างนี้ถ้าคนเขาจะทำเขาก็ทำ.....อีกอย่างกำลังใจเราจะได้ไม่ตก.....

     
  4. หอมจันทร์

    หอมจันทร์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +17
    ขอบคุณสำหรับคำแนะนำน่ะคะ ^/\^

    ---------------------------------------**
    คือว่า เคยมีคนบอกกับหนูว่า เวลาเราแนะนำหรือชักชวนใครไปปฏิบัติธรรมฝึกวิปัสนากรรมฐานอะไรประมาณนี้ เ้จ้ากรรมนายเวร เขาจะไม่ชอบ แล้วตรงนี้เรามีส่วนต้องรับกรรมที่เราไปชักชวนเขา ...
    ข้อนี้จริงเท็จอย่างไรรบกวนช่วยแนะนำด้วยน่ะคะ
     
  5. สุปราณี(ปู)

    สุปราณี(ปู) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +284
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ไม่เกี่ยวกันครับ....กรรมใครกรรมมันนะ....

    ถ้าเขามาปฏิบัติธรรมกับคุณได้แสดงว่าผลกรรมดีที่เขาทำส่งผล....

    บุคคลใดก็ตามถ้าไม่มีผลกรรมดีส่งผล ต่อให้คุณเอาช้างไปลากเขา เขาก็ไม่มากับคุณหลอก....
     
  7. โคกปีป

    โคกปีป สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +20
    :boo:เจริญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2011
  8. ภูทยานฌาน

    ภูทยานฌาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +188
     
  9. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    1.การที่เราแนะนำหรือชักชวนเพื่อนๆ หรือบุคคลอื่นมาปฏิบัติ มาสวดมนต์
    หรืออธิบายในเรื่องสมาธิ เรื่องต่างๆเกี่ยวกับทางธรรมให้เขาฟัง
    เราต้องรับกรรมมาด้วยส่วนหนึงจริงเท็จอย่างไร รบกวนอธิบายด้วยค่ะ

    ตอบ: เราต้องรับกรรมดีมาด้วยส่วนนึง ถูกต้องนะครับ มีกถาว่า " ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา" คบบัณฑิตเป็นมงคลของชีวิต ทำให้ได้โอกาสที่ดี อยู่ในสังคมที่ดี ได้รับสิ่งที่ดี ๆ เข้ามาเป็นผลดีทั้งนั้น

    2.แล้วหากเราชักชวนเพื่อนไปทำบุญ และพูดคุยเรื่องธรรมะกับเขา
    แรกๆเขาทำเป็นเหมือนสนใจ แต่พอชวนอีกเขาอารมณ์เสียใส่เรา
    เราควรจะทำอย่างไร รบกวนแนะนำด้วยน่ะคะ
    ตอบ: ควรชักชวนให้ถูกกาล ทำให้ถูกเวลา มีเหตุไกล้ที่เหมาะสมกับเขา เช่นพอดีผ่านไปพบคนตกทุกได้ยากก็ลองถามเขาว่าช่วยเหลืออย่างไรดี ก็ให้เขาเป็นฝ่ายนำมั่ง ขอให้โชคดีนะครับ
     
  10. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    ตอบข้อ ๑)กรรมเกิดได้จากการกระทำทางกาย วาจา ใจ
    เริ่มต้นจากครูอาจารย์ที่หนูนับถือนั้น สอนถูกสอนตรงทางหรือ คลาดเคลื่อนออกจากพระไตรปิฏกหรือเปล่า ให้ตรวจสอบจากพระไตรปิฎกทุกครั้ง
    ๒หนูอธิบายธรรมมะของพระพุทธเจ้า ได้อย่างชัดเจนถูกต้องหรือไม่
    ๓เพื่อนหนูนั้นเจริญในธรรมหรือไม่ มีปัญญาทางธรรมขนาดไหน
    -ถ้าข้อ๑ผิด หนูรับธรรมมาผิดข้อ๒ก็ผิด ข้อ๓ย่อมผิด และผู้ที่รับต่อๆมาย่อมผิด
    -ต่อให้ข้อ๑ถูก แต่หนูเข้าใจธรรมคลาดเคลื่อน โอกาสส่งต่อธรรมที่ผิดมีมาก
    -โอกาสที่ธรรมถูกทั้ง๑๒๓ และส่งต่อไปยังบุคคลอื่นได้อย่างถูกต้องเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง

    ตอบข้อ ๒)เอาตัวเองให้รอดก่อน ค่อยนำพาเพื่อนก็ยังไม่สาย คนที่ยังไม่ถึงเวลา แม้แต่ธรรมมะยังไม่อยากฟังเลย
    อย่าลืมนะคะว่า ผู้ที่หันเข้าหาธรรมมะและปฏิบัติธรรมก้าวหน้านั้น การให้ทาน รักษาศีลมรรค๘ ต้องปริ่มมาหลายชาติแล้ว
     
  11. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    พอดี ไม่ต้อง ทำบุญ บอกบุญ กัน

    อย่าไปใส่ใจเลยครับ เรื่องเราจะต้องบอกบุญใคร หรือไม่บอกบุญใคร
    เรื่องราวที่ว่า บอกหรือไม่บอก จะได้รับ กรรมอย่างหนึ่งอย่างใดไหม

    เอาเป็นว่า การที่ คนแต่ละคนต้องมาเอะใจ คิดจะตักเตือนกัน สะกิด
    กัน พูดจา โอภาปราศัยกัน อันนี้ ไม่มีการบังเอิญ ล้วนเกิดจากการ
    "กรรมนำพา" มาพบเจอกันอยู่แล้ว ดังนั้น ประสาอะไร ก็อีกแค่เอ่ย
    ปากชักชวนเรื่องบุญ เรื่องกุศล นั่นมันปลายเหตุของกรรมไปแล้ว

    ดังนั้น จะชักชวนหรือไม่ จะสอนธรรมหรือไม่ ทำไปเถอะ

    แล้วไม่เอานะครับ ประเภททำแล้ว อย่าไปรู้สึกอะไร ให้ทำไปเฉยๆ
    ไอ้แบบนี้ก็ไม่เอา เราจะต้องทำบุญ แล้ว ระลึกถึงความสุข ระลึก
    ถึง "ปิติ" รสให้ได้ เพราะ "ปิติ" รสนั้นคือ ผัสสะ หรือ อาหาร
    ของเทวดา อย่า ปรุงอาหารแล้วทำเป็นลีลาปฏิเสธการกินอาหาร

    สิ่งที่เขาห้าม นั้นมี แต่ เขาห้ามเฉพาะเรื่อง "ทวงบุญคุณ"

    ทำบุญแล้ว รำเลิก หวลระลึก ในลักษณะทวงบุญคุณ อันนั้นจะ
    ผลิกหมดเลย จากการทำบุญได้กุศล จะผลิกเป็นให้ผลเผ็ดร้อน
    ส่งลงนรกแทน

    เช่น เราทำดีกับพ่อแม่ อยู่มาวันหนึ่ง เรารำเลิกทวงบุญคุณพ่อแม่
    อันนี้ไม่ต้องคิดมาก น่าจะพอทราบ

    หรือ เราทำดีกับเพื่อน ชักชวนเพื่อนไปทำอะไรสักอย่างที่เป็นสุข
    แล้ววันหนึ่งเราทุกข์ เราโทรไปยิ๊กๆ บอกเพื่อนว่าเมื่อก่อนฉันเคย
    ร่วมสุข ทำไมตอนนี้เราทุกข์เธอไม่ช่วย แบบนี้ เรียกทวงบุญคุณ
    ไม่ได้เหมือนกัน แต่หากเราแค่บอกสถานการณ์แล้วไม่ได้เอ่ยปาก
    ขอร้องให้เพื่อนต้องช่วยอะไร เขาจะช่วยหรือไม่ช่วย แค่ช่วยรับ
    ฟังแค่นี้ก็พอแล้ว แบบนี้ไม่เป็นไร ( ก็ว่ากันตามประสา )

    แต่กรณีที่เป็นเพื่อนที่ดีนะ เราไม่ต้องบอกหรอกครับ มันมาเอง ก็อย่างที่ว่า

    กรรมมันจะนำพามาเจอกันอยู่แล้ว เจ้ากรรมนายเวรมันผูกกันมาตั้ง
    แต่คบกันเป็นเพื่อนแล้ว หรือแม้แต่ แค่เจรจาพาทีแค่นี้ก็เกิดเจ้ากรรม
    นายเวรร่วมแล้ว( เช่น กรณีผู้หญิงเจรจากับผู้ชายแปลกหน้า แบบนี้ก็น่า
    จะพอทราบกันดีนะครับ )

    ดังนั้น อยู่ที่ การจัดการ การบริหาร ให้ถูกต้องตามทำนองครองธรรม
    จารีต ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้

    เช่น สังคมใดเขานิยมสนธนาธรรมกัน เราก็ไปแจมครับ รู้น้อยรู้มาก
    จะอาวุโส หรือ พันเต ก็ไม่สำคัญ เจรจา สนทนาตามกาล ด้วย
    การปราวณาตนให้เหมาะสม ย่อมเป็น มงคล ไม่ใช่ เป็นโทษ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2011
  12. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    คราวนี้ เรามา ทำความเข้าใจเพิ่ม เรื่อง ธรรมคู่ เอาไว้หน่อย
    หากทำความเข้าใจให้ดีๆ แล้วยกเป็นการปฏิบัติได้ การทำกุศล
    ทำทาน ทำธรรมทาน ก็อาจจะส่งผลเจริญ มรรค8 สำเร็จได้ไม่
    มากก็น้อย

    จาก ธรรมคู่ข้างบน สังเกตนะครับว่า "ปิติ" ที่เราจะได้จากการทำบุญ ทำทาน
    และการ ธรรมทาน(ที่ชนะการให้ทั้งปวง) นี้ มันเป็น ธรรมคู่กับ "พยาบาท"

    ถ้าจิตคุณมี "ปิติ" จิตคุณก็จะปราศจากจาก "พยาบาท" ภายในจิตตน

    ดังนั้น ปรกติมากๆ ที่เวลาเราทำบุญทำทานแล้ว ระลึกรส "ปิติ" ไม่ได้
    หรือ "ปิติ" อันเป็นวิบากผลจากการทำดีมันคลายตัวลง ตามกฏไตรลักษณ์
    แล้ว จังหวะที่จิตหมดกำลังของ "ปิติ" หล่อเลี้ยง เมื่อนั้น "พยาบาท" อาจจะ
    ปรากฏขึ้นในมโนทวาร หากจิตเราไว แล้วไปหยิบจับ แล้วสำคัญว่า มันมี
    ตัวตน มันเป็นเรา มันเป็นเขา หรือ มันเป็นเจ้ากรรมนายเวร แล้วแต่เราจะ
    ไม่ทันความเป็นจริงตามเหตุ (เหตุจริงๆคือ ปิติ มันหายไปจากจิต แล้วธรรม
    คู่ด้านตรงข้ามมีกำลัง ผุดออกมาจากอาสวะ ภาวสวะ ภพน้อย ภพใหญ่)
    นั้นแหละ เราจะถูกหลอกโดยสัญญาขันธ์ แล้วก็ไปเชื่อว่า มีสัตว์ มีตัวตน
    มีเจ้ากรรมนายเวร ตามแต่จะปรุงไปตามสังขารด้วยความไม่รู้อริยสัจจ( อวิชชา
    ปัจจัยสังขารา)

    ดังนั้น ทำบุญ ทำทาน หรือ ทำธรรมทาน พยายามระลึก "ปิติ" เห็นการเกิด
    ขึ้นของ "ปิติ" และ เห็นการดับไปของ "ปิติ" ซึ่งการดับไปของ "ปิติ" อาจจะ
    ทำให้เห็น "พยาบาท" ปรากฏ( ซึ่งไม่เสมอไปนะ อาจจะผลิกเป็นอย่างอื่น เช่นได้
    แก้ว แหวน เงิน ทอง อามิส หรือ รอยยิ้ม จนหลง จนเพลินไปกับกองกิเลส
    ใหม่ๆ จน พยาบาท มันแสดงตัวไม่ได้ เพราะ กรรมอื่นให้ผลแทน )

    แต่ถ้าเราได้เห็น "พยาบาท" หลังจาก "ปิติ" ดับ อย่าไปหยิบจับว่า เป็น เจ้ากรรม
    นายเวรอะไร ให้ระลึกไว้ว่า เป็นเพียง ธรรมคู่ ที่ปรากฏ ที่ข่มกัน เป็นธรรมดา

    หาก พยาบาท กุมใจเราได้ ปิติ ก็หายจ้อย

    หาก ปิติ กุมใจเราได้ พยาบาท ก็หายจ้อย

    ผลักกันเกิด ผลัดกันหาย เป็น ธรรมคู่ ไม่หยุดไม่หย่อน ไม่พ้น เพราะขาดการรู้อริยสัจจ

    หากติดยินดีในปิติ หรือ ยินร้ายในพยาบาท หรือ ติดยินดีที่ไม่มีพยาบาท
    หรือ ติดยินร้ายที่ปิติหมดรส(ทำให้บ้าบุญ ถึงกับสร้างโรงสอนธรรมก็มี)

    แต่หากข้าม อภิชญา และ โทมนัส ในกาลก่อนๆ ลงเสียได้

    มันจะข้ามไปสู่ การมี สุข ที่เป็น ธรรมคู่กับ ฝุ้งธรรม(อุธธัจจะ) รำคาญคนสอนไม่เป็น(กุกกุจจะ)

    หากข้าม สุข กับ อุธธัจจะกุกกุจจะได้ ก็จะเจอธรรมคู่

    "เอกัคคตา คู่กับ กามฉันทะ"

    ก็แน่นอนหละว่า หากข้าม เอกัคคตา กับ กามฉันทะ ธรรมคู่นี้ไปได้นะ

    มันก็จะเริ่มมีจิตที่ ทรงสมาธิ มีปฐมฌาณ เป็นของเล่น แม้จะไม่ได้ฝึกสมาธิ
    ทำฌาณ แต่ จะมี ปฐมฌาณ เป็นของเล่น เมื่อนั้น เราก็เอามา เจริญมรรค
    เพื่อเดินเข้าสู่ทาง นฤพาน ตามแต่วาสนาจะ "ตั้งจิตไว้ตรง" แค่ไหน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2011
  13. หอมจันทร์

    หอมจันทร์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +17
    ขอบคุณมากน่ะคะ สำหรับคำแนะนำจากทุกๆท่าน ^/\^
    แม้ว่าบางคำ บางประโยคอาจจะทำเอาหนูมึน งง เพราะหนูเพิ่งเริ่มศึกษาธรรม
    แต่ก็ขอบคุณมากๆน่ะคะ ^/\^
     
  14. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,801
    ค่าพลัง:
    +7,939
    เชื่อไหมว่า อาการ มึน งง อะไรนั่น ที่คุณคว้ามาเป็นตน มาพูดว่า ตนมึน งง
    อันนั้น ไม่ใช่ สภาพของคุณจริงๆ หรอก

    เพราะว่า

    คุณ "ตั้งใจตรง" ไว้ว่าจะมาถาม แล้วให้คนตอบ เพื่ออาศัยสดับ เพื่อรับไป
    พิจารณา

    ดังนั้น เมื่อได้คำตอบ ก็แค่ อาศัยเพื่อสดับ เพื่อรับไปพิจารณา น้อมไปปฏิบัติ

    แต่ทว่า กิเลส มันรอหลอกเราตลอดเวลา มันแทรก อาการ "มึน งง" ให้คุณ
    สัมผัสรับรู้ ด้วยความที่ ฝึกหัดมาน้อย ก็ไปสำคัญว่า "มึน งง" ที่เป็นอยู่คือ
    ตัวคุณ คือ สภาพจริงๆของคุณ ก็เลย ปรารภว่า "มึน งง" เสร็จแล้วก็
    ยินดีพอใจกับการไม่ทำความเข้าใจ ปฏิเสธการสดับ เป็นอันเรียบร้อย โดนกิเลส
    หลอกเข้าให้

    แต่หากครั้งต่อไป สดับธรรมะอะไร แล้วเราคอยดูสภาพ "มึน งง" ที่กิเลสมัน
    จะยื่นเอามาให้คุณเป็น คุณถืออีก เราก็อาศัยระลึกสภาพธรรม "มึน งง" ยก
    ขึ้นพิจารณาเสีย รู้บ่อยๆ ไม่ยอมปรารภว่า "งง" แค่ หยุดอยู่ที่รู้ว่ากำลัง "งง"

    หรือ กิเลสกำลังยื่นสภาพ "งง" ให้เรางับ เราก็แค่รู้ ระลึกรู้ ไม่โทษมัน ไม่โกรธ
    มัน แต่ก็ไม่น้อมรับมันเข้ามาใส่ใจ เราก็จะเห็นสภาพ "มึน งง" เป็นอาการอย่าง
    หนึ่งที่เหมือน แขกเดินผ่านหน้าบ้าน เราไม่ได้เชิญเข้ามา ดูแบบนี้บ่อยๆ ก็จะเข้า
    ใจเองว่า "ธรรมะ" เขาภาวนากันอย่างไร มรรคเขาเจริญกันอย่างไร

    จะไปไวกว่า มานั่งกลัวว่า ทำธรรมทานแล้ว เจ้ากรรมนายเวรจะมาทำร้ายเราแทน
    หรือเปล่า เพราะว่า มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นที่พึ่ง มันเป็นอย่างไร

    พอเรามีธรรม อย่าว่าแต่ เจ้ากรรมนายเวรเลย พยามัจจุราชก็มองหาไม่เจอ

    * * *

    ก็จะเห็นว่า หาก "ตั้งจิตไว้ไม่ตรง" หรือ "จิตไม่ตั้งมั่น" เราเข้ามาในบอร์ด
    นี้เพื่ออะไร มันก็พลาดไปนะ คลาดไป แล้วก็ปรารภอะไรออกมา เหมือนคน
    ไม่ได้มาถามธรรมะ

    แต่ถ้าเรา "ตั้งจิตไว้ตรง" พอได้สดับ จะรู้หรือไม่รู้ งง หรือ ไม่งง มันก็
    เงียบสนิท สงบ สงัด สลัดวาง ได้ง่ายๆ ไม่ยากเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...