สติปัฏฐานสี่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 31 พฤษภาคม 2008.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    บทนำ

    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ในหมู่ชนชาวกุรุ ใกล้นิคมของชนชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธัมมะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านี้กราบทูลรับแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระเจริญ" พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อระงับความโศกและความคร่ำครวญ เพื่อดับทุกข์กายและทุกข์ใจ เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกทาง เพื่อเห็นแจ้งพระนิพพาน ทางเดียวนี้คือ สติปัฏฐานสี่

    สติปัฏฐานสี่ คืออะไรบ้าง

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียร มีสติมีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูกายในกายอยู่ กำจัดความยินดีอยากได้และความทุกข์ใจในโลกเสียได้; เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ กำจัดความยินดีอยากได้และความทุกข์ใจในโลกเสียได้; เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูจิตในจิตอยู่ กำจัดความยินดีอยากได้และความทุกข์ใจในโลกเสียได้; เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูธรรมในธรรมอยู่ กำจัดความยินดีอยากได้และความทุกข์ใจในโลกเสียได้​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2021
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    1 การเฝ้าตามดูกาย

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่อย่างไร

    1.1 สติในการหายใจ; อานาปานปัพพะ หมวดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปอยู่ป่าก็ดี ไปอยู่โคนไม้ก็ดี ไปอยู่ในอาคารว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า

    (2) ภิกษุนั้น มีสติอยู่แลหายใจเข้า มีสติอยู่แลหายใจออก; เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น; ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักกำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักกำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจออก; ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจออก

    (3) เปรียบเหมือนช่างกลึง หรือลูกมือช่างกลึงผู้ชำนาญ เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักยาว หรือเมื่อชักเชือกสั้นก็รู้ชัดว่าเราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเช่นกันแล เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น หรือว่าเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักกำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักกำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจออก ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ฝึกหัดอยู่ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจออก

    (4) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (5) ภิกษุเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (6) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (7) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.2 ท่าต่าง ๆ ของร่างกาย; อิริยาบถปัพพะ หมวดอิริยาบถ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุเดินอยู่ ก็รู้ชัดว่าเราเดินอยู่ เมื่อยืนอยู่ก็รู้ชัดว่าเรายืนอยู่ หรือนั่งอยู่ก็รู้ชัดว่าเรานั่งอยู่ หรือนอนอยู่ก็รู้ชัดว่าเรานอนอยู่ ก็หรือว่ากายของภิกษุนั้นปรากฏอยู่โดยอาการใด ๆ ก็รู้ชัดในอาการนั้น ๆ

    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (4) ภิกษุเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.3 สติพร้อมด้วยความรู้ชัด; สัมปชัญญะปัพพะ หมวดสัมปชัญญะ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุเป็นผู้กระทำสัมปชัญญะ ในการก้าวไปและถอยกลับ กระทำสัมปชัญญะในการแลดูไปข้างหน้าและเหลียวดูในทิศอื่น ๆ กระทำสัมปชัญญะในการคู้เข้าและในการเหยียดออก ในการทรงผ่าสังฆาฏิ บาตรและจีวร กระทำสัมปชัญญะในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม กระทำสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ กระทำสัมปชัญญะในการเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด นิ่ง

    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (4) ภิกษุเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่ากายมีอยู่ ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.4 การพิจารณาความเป็นปฏิกูลของร่างกาย; ปฏิกูลปัพพะ หมวดสิ่งปฏิกูล

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุพิจารณาดูกายนี้แหละ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มโดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนถุงมีปาก 2 ข้าง บรรจุเต็มด้วยธัญชาติต่าง ๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เมล็ดงา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดี แก้ถุงนั้นแล้วออกตรวจดู พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้เมล็ดงา นี้ข้าวสาร แม้เฉันใด

    (4) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเช่นกันแล พิจารณาดูกายนี้แหละ ตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องบน ตั้งแต่ปลายผมลงมาเบื้องล่าง มีหนังหุ้มโดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร

    (5) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (6) หรือเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (7) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (8) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.5 การพิจารณาโดยความเป็นธาตุ; ธาตุปัพพะ หมวดธาตุ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุพิจารณาดูกายนี้แหละตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ปรากฏอยู่โดยเป็นธาตุว่า ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่

    (3) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าวัว หรือลูกมือของคนฆ่าวัวผู้ชำนาญ ครั้นฆ่าแม่วัวแล้ว นั่งชำแหละเนื้อออกเป็นชิ้น ๆ นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่ 4 แพร่ง แม้ฉันใด

    (4) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเช่นกันแล พิจารณาดูกายนี้แหละ ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ปรากฏอยู่โดยเป็นธาตุว่า ในกายนี้ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่

    (5) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (6) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (7) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติไว้ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เธอเป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6 การพิจารณาป่าช้าทั้งเก้า; นวสีวถิกาปัพพะ หมวดป่าช้า

    1.6.1 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง


    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นศพที่ตายแล้ว 1 วันบ้าง ตายแล้ว 2 วันบ้าง ตายแล้ว 3 วันบ้าง เป็นศพขึ้นอืด ศพเขียวน่าเกลียด ศพมีน้ำเหลืองเฟะ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.2 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นศพที่นกกาทั้งหลายจิกกินบ้าง นกแร้งทั้งหลายจิกกินบ้าง นกเหยี่ยวทั้งหลายจิกกินบ้าง สุนัขทั้งหลายกัดกินบ้าง สุนัขจิ้งจอกทั้งหลายกัดกินบ้าง สัตว์มีชีวิตทั้งหลายกัดกินบ้าง แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้น เป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.3 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าที่เป็นโครงกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.4 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อแต่มีเลือดเปื้อนเปรอะ มีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แลก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.5 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นโครงกระดูก ไม่มีเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเอ็นรึงรัดอยู่ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แลก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.6 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย ไม่มีเอ็นรัดรึงแล้ว กระจัดกระจายอยู่ตามทิศใหญ่ทิศน้อย กระดูกมืออยู่ทางหนึ่ง กระดูกเท้าอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแข้งอยู่ทางหนึ่ง กระดูกขาอยู่ทางหนึ่ง กระดูกสะเอวอยู่ทางหนึ่ง กระดูกข้อต่อสันหลังอยู่ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงอยู่ทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกอยู่ทางหนึ่ง กระดูกแขนอยู่ทางหนึ่ง กระดูกไหล่อยู่ทางหนึ่ง กระดูกคออยู่ทางหนึ่ง กระดูกคางอยู่ทางหนึ่ง กระดูกฟันอยู่ทางหนึ่ง กระดูกศีรษะอยู่ทางหนึ่ง แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.7 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย สีขาวเหมือนสีสังข์ แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.8 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย กองอยู่ด้วยกันเกินกว่าปีมาแล้ว แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้

    1.6.9 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (1) ภิกษุพึงเห็นร่างศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ที่เป็นท่อนกระดูกทั้งหลาย ผุเปื่อยป่นเป็นผงแล้ว แม้โดยอาการอย่างใด ภิกษุนั้นนำเอากายนี้แหละเข้าไปเปรียบว่า ถึงแม้กายนี้แล ก็มีอาการอย่างนั้นเป็นธรรมดา มีภาวะโดยอาการอย่างนั้น ไม้พ้นอาการอย่างนั้นไปได้ ดังนี้

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (3) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในกายอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า กายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น เป็นผู้ไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูกายในกายอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2021
  3. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    2 การเฝ้าตามดูเวทนา

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อเสวยเวทนาเป็นสุข ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นสุข เมื่อเสวยเวทนาเป็นทุกข์ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นทุกข์ เมื่อเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุข ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุข

    (3) เมื่อเสวยเวทนาเป็นสุขมีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นสุขมีอามิส หรือเมื่อเสวยเวทนาเป็นสุขไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นสุขไม่มีอามิส เมื่อเสวยเวทนาเป็นทุกข์มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นทุกข์มีอามิส หรือเมื่อเสวยเวทนาเป็นทุกข์ไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาเป็นทุกข์ไม่มีอามิส หรือเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุขมีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุขมีอามิส หรือเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาไม่ทุกข์ไม่สุขไม่มีอามิส

    (4) ภิกษุเฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (5) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในเวทนาทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในเวทนาทั้งหลายอยู่บ้าง

    (6) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า เวทนาทั้งหลายมีอยู่อย่างนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (7) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ด้วยประการดังกล่าวนี้แล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2021
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    3 การเฝ้าตามดูจิต

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูจิตในจิตทั้งหลายอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ขัดว่าจิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ขัดว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตเป็นสอุตตระ ก็รู้ขัดว่าจิตเป็นสอุตตระ จิตเป็นอนุตตระ ก็รู้ขัดว่าจิตเป็นอนุตตตระ จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ขัดว่าจิตเป็นสมาธิ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ขัดว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น

    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูจิตในจิตภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูจิตในจิตภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (4) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในจิตอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในจิตอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในจิตอยู่บ้าง

    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า จิตมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูจิตในจิตอยู่ด้วยประการดังกล่าวนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2021
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    4 การเฝ้าตามดูธรรม

    ดูก่อนษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมอยู่อย่างไร

    4.1 นิวรณ์ห้า; นิวรณ์ปัพพะ หมวดนิวรณ์

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ นิวรณ์ห้าอยู่

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ นิวรณ์ห้าอยู่อย่างไร

    4.1.1 กามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันทะ ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะ ณ ภายในมีอยู่ หรือ เมื่อกามฉันทะ ณ ภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า กามฉันทะ ณ ภายในไม่มี

    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย และกามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นอีกด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย

    4.1.2 พยาบาท ความคิดร้าย

    (1) เมื่อพยาบาท ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า พยาบาท ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่อพยาบาท ณ ภายในไม่มี ก็รู้ชัดว่า พยาบาท ณ ภายในไม่มี

    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของพยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดด้วยเหตุนั้นด้วย และพยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย

    4.1.3 ถีนมิทธะ ความท้อแท้และความง่วงเหงาเซื่อมซึม

    (1) เมื่อถีนมิทธะ ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่าถีนมิทธะ ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่อถีนมิทธะ ณ ภายในไม่มี ก็รู้ชัดว่า ถีนมิทธะ ณ ภายในไม่มี

    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย และถีนมิทธะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย

    4.1.4 อุทธัจจะ และกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน และความหงุดหงิดรำคาญใจ

    (1) เมื่ออุทธัจจะและกุกกุจจะ ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่าอุทธัจจะและกุกกุจจะ ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่ออุทธัจจะและกุกกุจจะ ณ ภายในไม่มี ก็รู้ชัดว่า อุทธัจจะและกุกกุจจะ ณ ภายในไม่มี

    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของอุทธัจจะและกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละอุทธัจจะและกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย และอุทธัจจะและกุกกุจจะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย

    4.1.5 วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

    (1) เมื่อวิจิกิจฉา ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉา ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่อวิจิกิจฉา ณ ภายในไม่มี ก็รู้ชัดว่า วิจิกิจฉา ณ ภายในไม่มี

    (2) อนึ่ง การเกิดขึ้นของวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้น มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว มีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย และวิจิกิจฉาที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีก ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย

    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (4) เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง

    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ นิวรณ์ห้าอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล

    4.2 อุปาทานขันธ์ห้า; ขันธปัพพะ หมวดขันธ์

    (1) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์ห้าอยู่

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อุปาทานขันธ์ห้าอยู่อย่างไร

    (4) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดังนี้

    (5) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง

    (6) อนึ่ง ภิกษุเฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง

    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออุปาทานขันธ์ห้าอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล

    4.3 อายตนะภายในหกและอายตนะภายนอกหก; อายตนะปัพพะ หมวดอายตนะ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละหกอยู่

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละหก อยู่อย่างไร

    2.4.3.1 ตากับรูป

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตาด้วย รู้ชัดรูปทั้งหลายด้วย และรู้ชัดสังโยชน์ที่อาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นเกิดขึ้น

    (2) อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    4.3.2 หูกับเสียง

    4.3.3 จมูกกับกลิ่น

    4.3.4 ลิ้นกับรส

    4.3.5 กายกับสิ่งสัมผัส

    4.3.6 ใจกับธรรมารมณ์

    (1) ภิกษุย่อมรู้ชัดหู รู้ชัดเสียง...รู้ชัดจมูก รู้ชัดกลิ่น...รู้ชัดลิ้น รู้ชัดรส...ย่อมรู้ชัดกาย รู้ชัดสิ่งสัมผัสกาย...ภิกษุย่อมรู้ชัดใจ รู้ชัดธรรมารมณ์ และรู้ชัดสังโยชน์ที่อาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้ง 2 นั้นเกิดขึ้น

    (2) อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    (3) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง

    (4) อนึ่ง เฝ้าตามดูสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง

    (5) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออายตนะภายในและอายตนะภายนอกอย่างละหกอยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล

    4.4 องค์ประกอบ 7 แห่งการตรัสรู้; โพชฌงค์ปัพพะ หมวดโพชฌงค์

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ โพชฌงค์ 7 อยู่

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ โพชฌงค์ 7 อยู่อย่างไร

    4.4.1 สติสัมโพชฌงค์; องค์แห่งการตรัสรู้คือ สติ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่ ก็รู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่ หรือ เมื่อสติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในไม่มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในไม่มีอยู่

    (2) อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    4.4.2 ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์

    4.4.3 วิริยสัมโพชฌงค์

    4.4.4 ปิติสัมโพชฌงค์

    4.4.5 ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

    4.4.6 สมาธิสัมโพชฌงค์

    4.4.7 อุเบกขาสัมโพชฌงค์

    (1) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...

    (2) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...

    (3) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสติสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...

    (4) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...

    (5) อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่...

    (6) อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ณ ภายในมีอยู่ หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ ณ ภายในไม่มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ณ ภายในไม่มีอยู่

    (7) อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    (8) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่บ้าง เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกอยู่บ้าง ด้วยประการฉะนี้

    (9) เฝ้าตามดูสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง

    (10) อนึ่ง ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (11) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายคือ โพชฌงค์ 7 อยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2021
  6. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    เฝ้าดูตามธรรม ( ต่อ )

    4.5 อริยสัจสี่; สัจจปัพพะ หมวดสัจจ์

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

    (2) ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อริยสัจสี่อยู่

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ อริยสัจสี่อยู่อย่างไร

    (4) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ที่เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับแห่งทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ปฏิปทาดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ดังพรรณนามาฉะนี้

    4.5.1 ทุกขอริยสัจจ์

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจจ์เป็นอย่างไร

    (2) ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ แม้ความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความโทมนัสใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นทุกข์

    4.5.1.1 ชาติ; ความเกิด

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นอย่างไร ความเกิด เกิดพร้อม (คือมีอายตนะบริบูรณ์) ความหยั่งลง (ชลาพุชะ หรือ อัณฑชปฏิสนธิ) เกิด (สังเสทชปฏิสนธิ) เกิดจำเพาะ (อุปปาติกปฏิสนธิ) ความปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ความเกิด

    4.5.1.2 ชรา; ความแก่

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ชราเป็นอย่างไร ความแก่ ความคร่ำครา ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังหดเหี่ยวเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ชรา

    4.5.1.3 มรณะ; ความตาย

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย มรณะเป็นอย่างไร ความจุติ ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพ ความขาดไปแห่งชีวิตอินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ความตาย

    4.5.1.4 โศกะ; ความแห้งใจ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โศกะเป็นอย่างไร ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความโศก ความเศร้าใจ ความแห้งใจ ความแห้งผาก ณ ภายใน ความโศก ณ ภายในของสัตว์ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และผู้ที่ความทุกข์อันใดอันหนึ่ง มาถูกต้องแล้วอันใด อันนี้กล่าวว่า โศกะ

    4.5.1.5 ปริเทวะ; ความร่ำไรรำพัน

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ปริเทวะเป็นอย่างไร

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ ความที่ร่ำไรรำพัน ของสัตว์ผู้ประกอบด้วยความฉิบหาย อันใดอันหนึ่ง และผู้ที่ความทุกข์อันใดอันหนึ่งมาถูกต้องแล้วอันใดเล่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า ปริเทวะ

    4.5.1.6 ทุกข์; ความไม่สบายกาย

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์เป็นอย่างไรเล่า

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในกาย ความไม่สำราญเกิดในกาย เวทนาไม่ดีเป็นทุกข์เกิดแต่สัมผัสทางกายอันใดเล่า อันนี้ที่กล่าวว่า ทุกข์

    4.5.1.7 โทมนัส; ความไม่สบายใจ, ความเสียใจ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โทมนัสเป็นอย่างไรเล่า

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เกิดในใจ ความไม่สำราญเกิดในใจ เวทนาไม่ดีเป็นทุกข์เกิดแต่สัมผัสทางใจ อันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า โทมนัส

    4.5.1.8 อุปายาส; ความคับแค้นใจ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อุปายาสเป็นอย่างไร

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความแค้น ความคับแค้น ความที่สัตว์แค้น ความที่สัตว์คับแค้นของสัตว์ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่ง และผู้ที่ความทุกข์อันใดอันหนึ่งมาถูกต้องแล้วอันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า อุปายาส

    4.5.1.9 ความประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความประสบสัตว์และสังขารซึ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์อย่างไร

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อารมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ซึ่งไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ปลื้มใจ คือรูป เสียง กลิ่น รส และอารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ย่อมมีแก่ผู้นั้น อนึ่ง หรือชนเหล่าใด ที่ใคร่ต่อความฉิบหาย ใคร่สิ่งที่ไม่เกื้อกลู ใคร่ความไม่สำราญ และใคร่ความไม่เกษมจากเครื่องประกอบแก่ผู้นั้น การไปร่วม การมาร่วม ความประชุมร่วม ความระคนกับด้วยอารมณ์และสัตว์เหล่านั้น อันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ความประสบกับสัตว์และสังขารซึ่งไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์

    4.5.1.10 ความพลัดพรากกับสิ่งที่รัก

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารซึ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์อย่างไร

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อารมณ์เหล่าใดในโลกนี้ ซึ่งเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ปลื้มใจ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และอารมณ์ที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ย่อมมีแก่ผู้นั้น อนึ่ง หรือชนเหล่าใด ที่ใคร่ต่อความเจริญ ใคร่ประโยชน์เกื้อกลู ใคร่ความสำราญ และใคร่ความเกษมจากเครื่องประกอบแก่ผู้นั้น คือ มารดา หรือบิดา พี่ชายน้องชาย หรือพี่หญิงน้องหญิง มิตร หรืออำมาตย์ หรือญาติสาโลหิต ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม ความไม่ระคนกับด้วยอารมณ์และสัตว์เหล่านั้น อันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร ซึ่งเป็นที่รัก เป็นทุกข์

    4.5.1.11 ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้น เป็นทุกข์อย่างไรเล่า

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ที่มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า เออหนา ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความเกิดเป็นธรรมดาเถิด ขอความเกิดอย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้ ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้นก็เป็นทุกข์

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ซึ่งมีความแก่... ความเจ็บไข้... ความตายเป็นอย่างนี้ว่า เออหนา ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความตายเป็นธรรมดาเถิด อนึ่ง ขอความตายอย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้ ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้ แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้นก็เป็นทุกข์

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ ที่มี โสกะ ปริเทวะ ทุกขุ โทมนัส อุปายาส อย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้

    เออหนา ขอเราพึงเป็นผู้ไม่มี โสกะ ปริเทวะ ทุกขุ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดาเถิด อนึ่ง ขอโสกะ ปริเทวะ ทุกขุ โทมนัส อุปายาส อย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนา ดังนี้ ้

    ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้

    แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้ แม้ข้อที่ไม่สมประสงค์นั้นก็เป็นทุกข์

    4.5.1.12 อุปาทานขันธ์ห้า

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นทุกข์อย่างไร นี้คือ อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย โดยย่อเหล่านี้กล่าวว่า อุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นทุกข์

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า อริยสัจจ์คือทุกข์

    4.5.2 ทุกขสมุทัย; เหตุให้เกิดทุกข์

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจจ์ คือทุกขสมุทัย เป็นอย่างไร

    (2) ตัณหา (ความทะยานอยาก) นี้อันใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา (ความกำหนัดยินดีอันประกอบด้วยกาม) ภวตัณหา (ความกำหนัดยินดีอันเกิดร่วมกับความคิดเห็นว่ามีตัวตนที่เที่ยง) วิภวตัณหา (ความกำหนัดยินดีอันเกิดร่วมกับความคิดเห็นว่าตัวตนจักขาดสูญไป)

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็แลตัณหานั้นนั่นแล เมื่อจะเกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน

    (4) ที่ใดเป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น

    (5) ก็อะไรเล่า เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก

    (6) ตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก

    ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น

    (7) หู..., จมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก

    ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น

    (8) รูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์ เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก

    ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น

    (9) ความรู้ทางตา (จักขุวิญญาณ)..., ความรู้ทางหู (โสตวิญญาณ)..., ความรู้ทางจมูก (ฆานวิญญาณ)..., ความรู้ทางลิ้น (ชิวหาวิญญาณ)..., ความรู้ทางกาย (กายวิญญาณ)..., ความรู้ทางใจ (มโนวิญญาณ) เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก

    ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น

    (10) ความกระทบทางตา (จักขุสัมผัส)..., ความกระทบทางหู..., ความกระทบทางจมูก..., ความกระทบทางลิ้น..., ความกระทบทางกาย..., ความกระทบทางใจ (มโนสัมผัส) เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก

    ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ก็ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น

    (11) เวทนาที่เกิดแก่กระทบทางตา (จักขุสัมผัสสชาเวทนา)..., ทางหู..., ทางจมูก..., ทางลิ้น..., ทางกาย..., ทางใจ

    (12) ความจำรูป (รูปสัญญา)..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (13) ความจงใจในรูป (รูปสัญเจตนา)..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ความจงใจในธัมมารมณ์ (ธัมมสัญเจตนา)...

    (14) ความอยากในรูป (รูปตัณหา)..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (15) ความตรึกถึงรูป (รูปวิตก)..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (16) ความตรองถึงรูป (รูปวิจาร)..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า อริยสัจจ์ คือทุกขสมุทัย

    4.5.3 ทุกขนิโรธ; ธรรมเป็นที่ดับทุกข์

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจจ์คือทุกขนิโรธเป็นอย่างไร

    (2) คือ ความสำรอก และความดับโดยไม่มีเหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยในตัณหานั้นนั่นแล อันใด

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็แลตัณหานั้นนั่นแล เมื่อบุคคลจะละเสีย ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน

    (4) ที่ใดเป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ในที่นั้น เมื่อจะดับก็ย่อมดับในที่นั้น

    (5) ก็อะไรเล่า เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก

    (6) ตา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจในโลก

    ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสีย ก็ย่อมละเสียได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ก็ย่อมดับในที่นั้น

    (7) หู..., จมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ

    (8) รูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (9) ความรู้ทางตา..., ทางหู..., ทางจมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ...

    (10) ความกระทบทางตา..., หู..., จมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ...

    (11) เวทนาที่เกิดแก่กระทบทางตา..., หู..., จมูก..., ลิ้น..., กาย..., ใจ...

    (12) ความจำรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (13) ความจงใจในรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (14) ความอยากในรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (15) ความตรึกถึงรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    (16) ความตรองถึงรูป..., เสียง..., กลิ่น..., รส..., โผฏฐัพพะ..., ธัมมารมณ์...

    ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่นั้น เมื่อจะดับก็ย่อมดับที่นั้น

    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า อริอริยสัจจ์คือทุกขนิโรธ

    4.5.4 ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา; ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไร

    (2) ทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดทางเดียวนี้แล

    (3) ทางนี้เป็นอย่างไร

    (4) คือปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ

    4.5.4.1 สัมมาทิฏฐิ; ปัญญาอันเห็นชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิเป็นอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ

    4.5.4.2 สัมมาสังกัปปะ; ความดำริชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะเป็นอย่างไร

    (2) คือความดำริในการออกจากกาม (เนกขัมม) ความดำริในความไม่พยาบาท (อพยาปาท) ความดำริในการไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา)

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ

    4.5.4.3 สัมมาวาจา; เจรจาชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจาเป็นอย่างไร

    (2) การงดเว้นจากการกล่าวเท็จ งดเว้นจากการกล่าววาจาส่อเสียด งดเว้นจากการกล่าววาจาหยายคาย งดเว้นจากการกล่าววาจาเพ้อเจ้อ

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาวาจา

    4.5.4.4 สัมมากัมมันตะ; การกระทำชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะเป็นอย่างไร

    (2) การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมากัมมันตะ

    4.5.4.5 สัมมาอาชีวะ; การเลี้ยงชีพชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะเป็นอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพผิดเสียแล้ว ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพชอบ

    (3) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาอาชีวะ

    4.5.4.6 สัมมาวายามะ; ความพยายามชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะเป็นอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจ (ฉันทะ) ให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมระดมความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรม อันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดขึ้นไม่ให้เกิดขึ้น

    (3) ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมระดมความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว

    (4) ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมระดมความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น

    (5) ย่อมยังความพอใจให้บังเกิด ย่อมพยายาม ย่อมระดมความเพียร ย่อมประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ไม่ให้สาบสูญ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์มีขึ้นเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

    (6) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาวายามะ

    4.5.4.7 สัมมาสติ; ความระลึกชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป็นอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    (3) เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูกายในกายอยู่ กำจัดความเพ่งเล็งอยากได้ และความทุกข์ใจในโลกเสียได้

    (4) เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาอยู่ กำจัดความเพ่งเล็งอยากได้ และความทุกข์ใจในโลกเสียได้

    (5) เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูจิตในจิตอยู่ กำจัดความเพ่งเล็งอยากได้ และความทุกข์ใจในโลกเสียได้

    (6) เป็นผู้มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ เฝ้าตามดูธรรมในธรรมอยู่ กำจัดความเพ่งเล็งอยากได้ และความทุกข์ใจในโลกเสียได้

    (7) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้กล่าวว่า สัมมาสติ

    4.5.4.8 สัมมาสมาธิ; ความตั้งจิตมั่นชอบ

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิเป็นอย่างไร

    (2) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปิติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    (3) บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจาร สงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

    (4) เธอมีอุเบกขา มีสิต มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

    (5) เธอบรรลุจตุถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    (6) อันนี้ เรียกว่า สัมมาสมาธิ

    (7) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจ์

    (8) เฝ้าตามดูสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูสิ่งที่ทำให้ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง เฝ้าตามดูทั้งสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นและสิ่งที่ดับไปในธรรมทั้งหลายอยู่บ้าง

    (9) อนึ่ง ภิกษุนั้น เข้าไปตั้งสติอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีอยู่ดังนี้ เพียงเพื่อรู้ไว้เท่านั้น เพียงเพื่อระลึกไว้เท่านั้น ไม่เป็นผู้มีสิ่งใดอาศัยอยู่ด้วย ทั้งไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย

    (10) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายคือ อริยสัจจ์สี่อยู่ แม้ด้วยประการดังกล่าวนี้แล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2021
  7. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    อานิสงส์

    (1) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานสี่นี้ อย่างนี้ ตลอด 7 ปี เขาพึงหวังผล 2 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิ (สิ่งที่ยึดถือ เช่น อุปาทานขันธ์ห้า) เหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ในชาตินี้แล

    (2) 7 ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานสี่นี้ อย่างนี้ ตลอด 6 ปี 5 ปี 4 ปี 3 ปี 2 ปี 1 ปี...

    (3) 1 ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานสี่นี้ อย่างนี้ ตลอด 7 เดือน 6 เดือน 5 เดือน 4 เดือน 3 เดือน 2 เดือน 1 เดือน กึ่งเดือน...

    (4) กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานสี่นี้ อย่างนี้ ตลอด 7 วัน เขาพึงหวังผล 2 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี ในชาตินี้แล

    (5) ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อระงับความโศกและความคร่ำครวญ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุอริยมรรค เพื่อเห็นแจ้งพระนิพพาน ทางเดียวนี้คือ สติปัฏฐานสี่ ด้วยประการฉะนี้แล

    (6) พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดีชื่นชมพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคฉะนี้แล


    อ้างอิง

    หัวใจกรรมฐาน

    พระญาณโปนิกเถระ รจนา

    พล.ต. นายแพทย์ ชาญ สุวรรณวิภัช แปล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2021
  8. 16

    16 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    351
    ค่าพลัง:
    +419
    อนุโมทนาบุญในการเผยแพร่ธรรมด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ

    ผมขออนุญาติเก็บบทความนี้ไว้น่ะครับ
     
  9. matakalee

    matakalee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    160
    ค่าพลัง:
    +367
    โมทนาสาธุคะ
    เยเนวยนฺตินิพฺพานํพุทฺธาเตสญฺจสาวกาเอกายเนนมคฺเคนสติปัฏฐานสญฺญินา<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. oomsin2515

    oomsin2515 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    2,934
    ค่าพลัง:
    +3,393
    กุศลผลบุญใด ๆ ก็ตามที่ข้าพเจ้าได้ทำมาแล้ว ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้<O:p</O:p


     
  11. ooghost

    ooghost เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2010
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +119
    ขออนุโมทนา ครับ สาธุ สาธุ

    __________________

    ธรรมะก่อให้เกิดปัญญา ปัญญาก่อให้เกิดการรู้แจ้ง รู้แจ้งนำไปสู่ซึ่งนิพพาน<!-- google_ad_section_end -->
     
  12. SONICx

    SONICx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +225
    รู้ แล้วนำไปปฏิบัติละ จึงจะเกิดผล
     
  13. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    อนุโมทนาครับ สติปัฎฐานสี่ คือทางลัดตรงและสั้นที่สุด ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงค้นพบ
     
  14. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,806
    ค่าพลัง:
    +7,940
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>เล่าปัง*, ตรงประเด็น </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. pornchets

    pornchets สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +10
    อนุโมทนาบุญด้วยครับ ผู้ปฏิบัติย่อมถึงที่สุดแห่งกองทุกข์
     
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    อนุโมทนา ครับ มรรค8 นี่แหละครับคือทางแห่งความเป็นอริยะอย่างแท้จริง
     
  17. tris07

    tris07 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +3
    อนุโมทนา สาธุครับ พระพุทธองค์แสดงธรรม เปรียบเทียบ ได้อย่างลึกซึ้งมากครับ
     
  18. Santajitto

    Santajitto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2010
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +455
    อนุโมทนาสาธุ .
    ขอให้ท่านผู้เผยแพร่ธรรมทั้งหลาย จงมี อายุ วรรณโณ สุขัง พะลัง ความไม่มีทั้งหลายทั้งปวง ความไม่รู้ทั้งหลายทั้งปวง จงอย่าได้บังเกิดขึ้นกับท่านทั้งหลาย เลย ... และขอให้ผู้เผยเพร่ธรรมทั้งหลาย จงเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในปัจจุบันและอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้นเทอญ .... สาธุ สาธุ สาธุ
     
  19. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    อนุโมทนาค่ะ..ขอบคุณมากที่นำเสนอสิ่งดีดีมีประโยชน์ให้ใด้อ่านค่ะ
    เชื่อมั่นและศัทธาในพระพุทธองค์และท่านครูบาอาจารย์<!-- google_ad_section_end -->



    ปล. อิฉันขออนุญาติเก็บบทความนี้ไปเผยแพร่ต่อและใว้อ่านน่ะค่ะ
     
  20. ckj_tong

    ckj_tong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +869
    ขอเสริม

    สติปัฏฐาน ๔ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร[1] เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม
    คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็น​เจตสิกประ​เภทหนึ่ง​ ส่วนปัฏฐาน ​แปล​ได้​หลายอย่าง​ ​แต่​ใน​ ​มหาสติปัฏฐานสูตร​ ​และ​ ​สติปัฏฐานสูตร​ ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
    โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่

    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน- การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
    ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...