สติเกิดเองไม่ได้ ต้องเจริญต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมะสวนัง, 10 พฤศจิกายน 2009.

  1. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    หลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงนำมาสั่งสอนชาวพุทธอย่างกว้างขวางนั้น
    ไม่มีอะไรที่นอกเหนือไปจาก “จิต กับ อารมณ์” สองอย่างนี้เท่านั้น

    จิต คือ ผู้รู้อารมณ์
    และอารมณ์ คือ สิ่งที่ถูกจิตรู้

    นอกจากนี้แล้ว เป็นบริบทของพระพุทธศาสนา
    ที่แสดงถึงการเกี่ยวข้องของธรรมะสองประการนี้
    ในการอยู่ในโลก และ หลุดพ้นจากการเกี่ยวข้องกันในโลกทั้งสิ้น

    ดังนั้น จิต จึงเป็นหัวข้อธรรมสำคัญ ที่ผู้ศึกษาธรรมะจะต้องศึกษาทำความรู้จัก
    ให้ดีก่อนที่จะศึกษาธรรมะให้กว้างขวาง จนสามารถนำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริงๆได้
    จนจิตหลุดพ้นจากการผูกพันเกี่ยวข้องกับอารมณ์(ที่เรียกว่าโลก) อย่างสิ้นเชิงได้ในที่สุด

    จิตนี้เป็นธาตุที่ทรงไว้ซึ่งความรู้ (conciousness)
    อาศัยอยู่ในกายของแต่ละคนๆคนละดวง


    อุปมาดังเทพเจ้าที่อาศัยศาลเจ้าเป็นที่สิงสถิตฉะนั้น
    เมื่อศาลเจ้าที่อาศัยในปัจจุบันผุพังลง
    ก็ต้องย้ายไปหาศาลเจ้าใหม่สำหรับอาศัยต่อไปอีก
    ซึ่งเป็นเช่นนี้ไม่รู้จักจบสิ้น

    ดังนั้น จิตจึงเป็นหัวข้อธรรมที่มีอยู่ในโลกและชาวโลกรู้จักกันดีว่า
    จิตคือตัวรู้

    เมื่อกระทบอารมณ์ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ความนึกคิดทางใจ
    ก็แสดงความรู้สึกเกี่ยวข้องยึดถืออารมณ์นั้นๆ แต่ละอย่าง แต่ละชนิดออกมา

    โดยไม่ต้องมีผู้ใดเสี้ยมสอนว่า ให้แสดงอาการชนิดนั้นๆออกมา
    หรือบัญญัติชื่อเรียกอาการนั้นๆว่าอย่างไร รวมทั้งเรียกตัวเองว่า เป็นผู้รู้อารมณ์ เลย

    คนตายไม่มีจิตอยู่ด้วย จึงไม่ใช่ผู้รู้อารมณ์
    และไม่มีอาการแสดงหรือสมมุติบัญญัติเกี่ยวกับอาการของจิต

    ซึ่งเป็นสัจธรรมที่รู้กันอยู่แล้วโดยทั่วไป
    โดยไม่ต้องให้พระพุทธองค์ทรงนำมาเทศน์สั่งสอนว่า
    คนเป็น มีจิต เป็นผู้รู้ และ คนตายไม่มีจิตเป็นผู้รู้แล้ว
    เช่นเดียวกับ ๒+๒ เป็น ๔ เป็นต้น

    การที่พระพุทธองค์ทรงพระเมตตานำเรื่องจิตเข้ามาสั่งสอนสังคมนั้น
    ก็เพื่อสร้างสติให้แก่ผู้ศึกษาธรรมะ ไม่ให้ยึดถืออารมณ์
    จนสร้างอาการของจิตที่เป็นอกุศล (unwholesomeness) ขึ้นในสังคมในภายหลัง


    โดยละความหมายของจิตไว้ในฐานที่เข้าใจ (left understood) ว่าจิตคือผู้รู้
    ไม่ใช่ว่าไม่มีจิตเป็นผู้รู้ เพราะพระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวไว้ให้แจ่มแจ้งชัดเจน

    ดังนั้น การที่พระพุทธองค์ทรงสอน ให้ทำสัมปชัญญะ
    ในการดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ว่า
    อสิเต ปิเต ขายิเต สายิเต อุจฺจารปสฺสาว กมฺเม สมฺปชานการี นั้น
    ก็ละคำว่า จิต อยู่ในคนเป็น ที่มีจิตเป็นผู้รู้อยู่ด้วย
    ไม่จำเป็นต้องตรัสด้วยพระโอษฐ์จนละเอียดยิบให้เสียเวลาไปเปล่าๆ

    และจิตนี้ จะแสดงความรู้ และอาการของความรู้(เจตสิก) ออกมาทุกครั้ง
    ที่มีอารมณ์มากระทบอายตนะ ๖ ทีละอารมณ์


    ถ้าเป็นจิตปุถุชน ก็ย่อมยึดถือความรู้นั้นไว้
    แล้วแสดงความประพฤติต่ออาการของความรู้ซึ่งติดข้องอยู่โดยเจตนา

    ซึ่งจัดเป็นกรรมในพระพุทธศาสนา

    พระพุทธองค์ตรัสเรียก จิตที่ติดข้องอารมณ์ว่า เป็นสัตว์
    เช่น ตรัสว่า ท้าวมหาพรหมก็ยังเป็นสัตว์อยู่
    เพราะถ้าหากสิ้นบุญลงเพราะฌานเสื่อมเมื่อใด
    ก็จะต้องจุติเข้าโลกแห่งกามาวจร ซึ่งมีอยู่ ๖ ชั้นต่อไป

    ส่วนพระพุทธองค์นั้น จิตว่างจากการยึดถืออารมณ์ทางอายตนะ ๖
    ที่อาศัยกายนี้เพราะมีชีวิตเป็นปัจจัยแล้วอย่างสิ้นเชิงเด็ดขาด

    จึงไม่ใช่สัตว์ ดังนั้น จึงหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งปวง

    และพระอริยสาวกที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย จนสติตื่นอยู่เป็นนิตย์
    อารมณ์ที่เกิดทางอายตนะ ๖ ไม่สามารถครอบงำปรุงแต่งจิตได้

    ก็ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำๆเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นเช่นนี้ไม่มีอีก

    สติของพระอรหันต์ตื่นอยู่ เช่นนี้ เรียกว่า สติตื่นเป็นชาคโร ไม่ดับ
    ดังนั้น กิเลสจึงไม่สามารถปรุงแต่งจิตได้เลย


    ส่วนสามัญชนนั้น สติไม่ตั้งอยู่อย่างต่อเนื่อง ขาดตอนจากการตั้งที่ฐานที่กำหนดบ้าง
    กิเลสจึงเข้าครอบงำจิตตอนที่ขาดตอนไปได้ เรียกว่า เผลอ นั่นเอง


    (smile)
     
  2. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    สติเป็นเครื่องตัดเงื่อนต่อของการรับรู้อารมณ์

    สติเป็นเครื่องตัดเงื่อนต่อของการรับรู้อารมณ์

    ดังกล่าวไว้ในเบื้องต้น จะเห็นว่าบรรดาธรรมะทั้งหลายในโลกนี้
    ล้วนแล้วแต่เกิดจากจิตผสมกับอารมณ์ทั้งสิ้น กล่าวคือ
    จิตแลบออกจากฐานที่ตั้งสติไปรับรู้และยึดถืออารมณ์ไว้
    แล้วส่งผลให้ทุกข์เกิดตามมาด้วยตลอดเวลา

    ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นทุกครั้งที่จิตแลบออกไปจากฐานที่ตั้งสติ
    ไม่ว่าจะเป็นครั้งใด เมื่อใด ตลอดชีวิตก็ตาม
    จิตที่แลบไปรับรู้อารมณ์ครั้งใดแล้ว ที่จะไม่เกิดทุกข์เลย, ไม่มี


    กล่าวให้ชัดที่สุดก็คือ
    การรับรู้อารมณ์ทางตาก็ดี หูก็ดี จมูกก็ดี ลิ้นก็ดี และกายสัมผัสก็ดี
    ล้วนแล้วแต่เป็นช่องทางของทุกข์ทั้งนั้น

    สำหรับในวาระสุดท้ายของชีวิตแต่ละคนนั้น
    ขณะที่การรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัส ได้ดับไปแล้ว
    ทุกข์ก็ยังเกิดขึ้นทางใจ (มโนทวาร) ได้
    โดยความนึกคิดถึงอารมณ์ทางใจที่ได้เคยกระทำมาเมื่อยังมีชีวิต,อย่างกระสับกระส่าย
    อารมณ์ซึ่งมีกรรมในอดีตกำกับอยู่เด่นชัดที่สุดจะครอบงำจิต
    และชักพาให้จิตเคลื่อน (จุติ) ออกไปสร้างภพชาติใหม่ เมื่อร่างกายตายสนิท

    กรรมที่เด่นชัดที่สุดจะประชิดจิตในวาระสุดท้ายนี้
    และนำเข้าปฏิสนธิ (สืบต่อ)ในภพใหม่ ที่ทรามหรือประณีต
    ตามกำลังของกรรมที่ปรุงแต่งขณะนั้นเสมอไป

    และเมื่อได้เข้าปฏิสนธิแล้วก็จะครอบครองรักษาร่างกายชุดใหม่ต่อไป ซึ่งเรียกว่า ภวังค์
    จนเจริญเติบโตสมบูรณ์สำหรับใช้รับรู้อารมณ์ได้สืบต่อไปอีก

    ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องของจิตที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาแต่ก่อน
    ดังนั้นจึงยึดถืออารมณ์ไว้ทุกชนิดที่เข้ามากระทบ
    ทำให้จิตผสมคลุกเคล้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็จืดจางผ่านพ้นไปตามลำดับ


    ได้แก่ อารมณ์ทั้งหลายที่ผ่านเข้ามากระทบจิตทางตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัสในชีวิตประจำวัน
    ย่อมทำให้จิตแสดงอาการออกมาในรูปของความยินดี-ยินร้ายเหมือนกันหมด

    ซึ่งผู้ปฏิบัติ จะต้องใช้ ขันติ (ความอดทน) และสัมปชัญญะ (ความรู้ตัวทั่วพร้อม)
    และรีบยกจิตออก ไปตั้งไว้ที่ฐานที่ตั้งสติ
    และเพ่งดูลมหายใจเข้าออกที่เคลื่อนผ่านจุดกระทบนี้อย่างคล่องแคล่วและต่อเนื่องกันไป
    จนไม่เกิดความยินดี-ยินร้ายขึ้นที่จิต ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนา นั่นเอง

    การปฏิบัติสัมมาสมาธิเป็นบาทฐานสำคัญที่สุด
    ที่จะทำให้การปฏิบัติวิปัสสนาสำเร็จหรือล้มเหลว


    จิตที่ได้รับการฝึกฝนจากการปฏิบัติสัมมาสมาธิดีแล้วนั้น
    ผู้ปฏิบัติย่อมรู้จักวิธีประคองจิตให้ตั้งอยู่ที่ฐานที่ตั้งสติได้ดี
    สติกับจิตย่อมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    สติอยู่ที่ใด จิตจะอยู่ที่นั่น หรือ จิตอยู่ที่ใด สติจะอยู่ที่นั่น ด้วยกัน

    หากมีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร ก็ยกสติไปตั้งกำกับไว้ จนความรู้สึกนึกคิดดับไป
    ไม่เปิดโอกาสให้อารมณ์ปรุงแต่งต่อไปอีกดังแต่ก่อน


    จิตที่ฝึกปฏิบัติสัมมาสมาธิได้ดีแล้วนี้ ย่อมมีพลังในการสลัดอารมณ์ออกไป
    เป็นจิตที่ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว และหลุดพ้นจากอารมณ์ทั้งหลายในที่สุด
    เป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา
    ที่จะใช้แก้ปัญหายุ่งยากต่างๆในสังคมให้หมดไปได้อย่างแท้จริง
    และพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จะคุ้มครองรักษาให้พ้นภัยทั้งหลายได้อย่างมิต้องสงสัย

    ผู้ปฏิบัติสัมมาสมาธิสามารถทดสอบตัวเองว่า ปฏิบัติธรรมได้ผลเพียงใดหรือไม่
    ด้วยการให้จิตรับกระทบอารมณ์ใหญ่ๆซึ่งประทับใจดูว่า
    จิตของตนยังมั่นคง หรือหวั่นไหว ฟุ้งซ่านเพียงไรหรือไม่?
    ถ้ากระทบอารมณ์แล้วยังหวั่นไหว ฟุ้งซ่าน ยินดียินร้าย หรือ ยังหน้าเขียว ตาขุ่นอยู่
    ก็แสดงว่าจะต้องทบทวนการปฏิบัติ และวิธีปฏิบัติให้ดีและคล่องแคล่วยิ่งขึ้นอีก

    กล่าวให้ชัดที่สุด ก็คือ ถ้ากายยังไม่สงบ จิตก็จะไม่มีทางสงบลงได้เลย
    แต่ถ้ากายสงบ จิตก็จะสงบตามด้วย เป็นธรรมดา.

    (smile) สัมมาสมาธิ
     
  3. Waritham

    Waritham เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +124
    แสดงว่า นิมิต หรือ ภวังค์ ก่อนตายมีอำนาจและกำลังมหาศาลคงจะใช่นะครับ
    ที่สามารถดึงดูดจิต จะมากกว่านิมิตหรือภวังค์ในสมาธิหรือเปล่านะ
    ส่วนคนที่ไม่มีโอกาสตายอย่างสงบเช่น เกิดอุบัติเหตุตายนี่ แสดงว่าไม่มีโอกาสได้ใช้สติเลยใช่มะครับ

    อนุโมทนา สาธุ
     
  4. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ในพระพุทธศาสนา การสร้างสติที่พระพุทธองค์ทรงสอน ก็คือ
    การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม
    จิตระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
    ซึ่งก็คือ สัมมาสติ นั่นเอง

    สัมมาสติ คือ หนึ่งในองค์ อริยมรรค ๘

    มีกล่าวไว้ในธัมมจักกัปปวตนสูตร
    กิจที่พึงทำในอริยสัจ ๔ ว่า
    ทุกข์ ต้องกำหนดรู้ (ปริญเญยยะ)
    สมุทัย ต้องละ (ปหาตัพพะ)
    นิโรธ ต้องทำให้แจ้ง (สัจฉิกาตัพพะ)
    มรรค ต้องเจริญให้เกิดขึ้น (ภาเวตัพพะ)

    ดังนั้น จึงกล่าวไว้ในเบื้องต้นว่า
    สติเกิดเองไม่ได้ ต้องเจริญต้องทำให้เกิดขึ้นที่จิต

    (smile)
     
  5. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ถ้าหมั่นฝึกฝนอบรมจิตบ่อยๆ(เป็นวสี) จนจิตสงบตั้งมั่นได้อย่างรวดเร็ว
    ก็จะได้ใช้ประโยชน์ในตอนจะตายนี่แหละ มีสุขคติภูมิเป็นที่หวัง
    จะได้ไม่ถูกอารมณ์อกุศลดึงให้ไปเกิดในทุคติภูมิ

    ทุกวันนี้ ที่หลวงปู่ หลวงพ่อ ฯลฯ...สอนให้ปฏิบัติสัมมาสมาธิ
    ก็เพื่อให้เราได้ใช้ในวาระสุดท้ายนั่นแหละ

    แต่ตอนยังไม่ตาย ก็ได้ประโยชน์ด้วย
    เพราะจิตมีพลังในการปล่อยวางอารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์
    ทำให้อยู่ในสังคมแบบไม่ทุกข์ไปกับสังคมหรือสิ่งแวดล้อม
    มีแต่จะสร้างความสงบสุขร่มเย็นให้เกิดขึ้นในสังคม

    (smile)
     
  6. an underhand trick

    an underhand trick สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +23
    สติเกิดขึ้นเอง ไม่ได้ก็จริง แค่มิได้หมายถึงให้ไปบังคับ
    เพียงแต่คอยประคับประครองสติ และรู้ไปเรื่อย ๆ
    ตามจริตก็ของใครของมัน ในการปฏิบัติ
    ไม่ว่าจะปฏิบัติแบบไหน ก็ให้เห็นกิเลส และเข้าใจทุกข์ก็พอ

    หากทำสมถะไม่ได้ แล้วไม่ทันพิจารณา จะมิตายก่อนหรือ?
     
  7. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    โดยปกติ จิตมีธรรมชาติชอบแส่ส่ายออกไปรับรู้อารมณ์
    และยึดถืออารมณ์ ปรุงแต่งจิตไปตามอารมณ์นั้นๆ

    การสร้างสติ สติปัฏฐาน ๔ ให้จิตมีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
    นี้คือ การบังคับจิต ให้มาอยู่ในอารมณ์ในสติปัฏฐาน ๔
    ไม่ใช่ปล่อยจิตไหลไปตามอารมณ์และปรุงแต่งไปตามยถากรรม

    การคอยประคองจิตให้มีสติระลึกรู้อยู่ที่ฐานได้อย่างต่อเนื่องนั้น
    ก็คือ สัมมาวายามะ ความเพียร
    ระวังบาปไม่ให้เกิดขึ้น
    ละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
    ทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
    รักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม

    สามัญชนทุกคน มีทั้งตัณหาจริต และทิฏฐิจริต ทั้งสิ้น
    มากน้อยแตกต่างกันไป ตามกิเลส กรรม วิบาก ของจิตแต่ละคน

    ตัณหาจริต ก็คือ ตัณหา ๓ ก็คือ สมุทัย เหตุแห่งทุกข์
    กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

    ตราบเท่าที่ไม่ได้ปฏิบัติอริยมรรค ๘ โดยเสด็จพระบรมศาสดา
    แน่นอนว่า ทุกคนก็มีทิฏฐิจริต ด้วยนั่นเอง
    หาอ่านดูได้ในพรหมชาลสูตร ซึ่งกล่าวถึง ทิฏฐิ ๖๒ ประการ อันเป็นความเห็นผิด

    ทั้งนี้เพราะจิตไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง เนื่องจากจิตมีอวิชชาครอบงำ
    ส่วนพระพุทธองค์ สอนให้ปฏิบัติอริยมรรค ๘
    หรือก็คือเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติสัมมาสมาธิ ทำกิจควบคู่กับสัมมาสติ และสัมมาวายามะ
    จนจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิด้วยลำพังตนเอง ไม่อิงอาศัยอารมณ์ใดๆ
    จิตจะเกิดปัญญารู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง

    รู้ว่า ทุกข์ต้องกำหนดรู้
    สมุทัย ต้องละ
    นิโรธ ต้องทำให้แจ้ง
    มรรค ต้องเจริญ ต้องทำให้เกิดขึ้น

    สติเกิดขึ้นเองไม่ได้ ต้องเจริญต้องทำให้เกิดขึ้น
    ต้องอบรมฝึกฝนบังคับจิตให้ระลึกรู้อยู่ที่ฐานที่ตั้งสติ


    ปล.การปฏิบัติสัมมาสมาธิ จนจิตตั้งมั่นชอบได้นั้น
    เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาในตัวอยู่แล้ว

    และถ้าจิตยังไม่ตั้งมั่นชอบ การพิจารณาก็ไม่ใช่วิปัสสนา แต่เป็นวิปัสสนึก

    (smile)
     
  8. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ทำสมถะไม่ได้มีด้วยหรือ.....ทำไมหลายคนถึงทำสมถะไม่ได้....หรือปิดใจเพราะได้ยินได้ฟังมา.....หรือทำอยู่แต่ไม่รู้ว่าทำอยู่.....

    ขนิกสมาธิไม่ใช่ สมถะ อย่างหนึ่งหลอกหรือ......

    ช่วงหลังๆมาได้ยินคำนี้บ่อย.....สมัยก่อนไม่เคยได้ยินคำนี้...ครูบาอาจารย์แต่เก่าก่อนไม่เคยมีคำนี้....คนสมัยนี้ทำไมมันกลัวดีกันจัง......

    โมทนาสาธุธรรมด้วยครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2009
  9. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    สาธุ ดีแล้วหนอ ประเสริฐแล้วหนอ ขออนุโมทนา
     
  10. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    คำของท่านผู้นี้เป็นคำของผู้รู้แล้วหนอ ปัจจุบันนี้ต่างแยกแตกสาขาแบ่งแยกคมมีดกับสันมีดออกจากกัน ผู้ที่ยังมิทันจะเข้าใจเนื้อแท้แก่นความจึงจำกันแต่เพียงถ้อยคำวจีที่คณาจารย์อ้างถึง แต่มิได้พิจารณาถึงอาการว่าแท้จริงแล้วการควบคุมกดข่มบังคับไว้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆย่อมเป็นสมถะทั้งสิ้น เมื่อจิตพลิกน้อมไปสู่ความถ่ายเทออกซึ่งกิเลสอาสวะ ย่อมเป็นไปในด้านวิปัสสนาโดยแท้ หากเรามาแยกคมของมีดและสันของมีดให้ออกจากกัน แล้วอะไรจะเกิดขึ้นหรือหนอ

    ท่านผู้เจริญนี้ ประเสริฐแท้หนอ สาธุ ขออนุโมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2009
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    นัยยะที่หมายถึงสมถะ .. หากหมายถึง การเข้าปฐมฌาน

    ผู้ที่ทำยังไงก็ทำไม่ได้ จะมิตายไปก่อนหรือ ... หลวงปู่พุธ ฐานิโย ท่านเทศน์ไว้ และ บอก วิธีการเข้า .. สนใจไปฟังได้ ที่ห้องประเทืองปัญญาครับ ...
     
  12. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    จะฝึกแบบ สมถะ
    จะฝึกแบบวิปัสนา

    ทั้งสองอย่างนี้ ล้วนเป็นวิธีการ ...

    ฝึกแบบสมถะ... ก็ได้ศีล สมาธิ ปัญญา
    ฝึกแบบวิปัสนา ... ก็ได้ศีล สมาธิ ปัญญา

    อย่าไปติดวิธีการ ...
     
  13. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    การพิจารณาธรรมปฏิบัติต้องทำด้วยความแยบคายและรอบคอบ
    มิใช่พิจารณาแบบเอาง่ายๆ เข้าข้างตนเอง

    คำถามที่ว่า หากทำสมถะไม่ได้ แล้วไม่ทันพิจารณา จะมิตายก่อนหรือ?
    จะทำสมถะได้หรือไม่ได้ มิใช่ประเด็นสำคัญ
    ประเด็นสำคัญ คือ จะต้องกระทำควบคู่กันไปทั้งสมถะหรือวิป้สสนา
    เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้ส่งเสริมซึ่งกันและกัน

    หากมีคำถามตามมาว่า หากรักษาศีลไม่ได้ แล้วไม่ทันปฏิบัติภาวนา จะมิตายก่อนหรือ?
    ในความเป็นจริง การรักษาศีลเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง
    ที่จำเป็นต้องกระทำควบคู่กันไปกับการปฏิบัติภาวนา
    จะมาอ้างว่า ยังทำสิ่งนั้นไม่ได้ จะให้ทำสิ่งนี้ได้อย่างไร มันไม่ถูกต้อง

    ในทางโลก คุณสมบัติเป็นสิ่งสำคัญจำเป็นที่ขาดมิได้
    ในกรณี นายแพทย์หรือวิศวกร
    ย่อมมีคุณสมบัติคือ ได้เรียนจบการศึกษาและมีใบประกอบวิชาชีพ
    หากผู้ที่เป็นนายแพทย์หรือวิศวกร ไม่ได้เรียนจบการศึกษาและไม่มีใบประกอบวิชาชีพ
    ใครจะยอมรับเชื่อถือในความเป็นนายแพทย์หรือวิศวกร

    ดังนั้น ในทางธรรม เช่นเดียวกัน ผู้ปฏิบัติธรรมภาวนา
    ย่อมต้องมีคุณสมบัติคือ รักษาศีล ภาวนานั่งสมาธิ เจริญปัญญา
    จะมาอ้างว่า หากทำสมถะไม่ได้ แล้วไม่ทันพิจารณา จะมิตายก่อนหรือ?

    เช่นเดียวกัน
    ในกรณีนายแพทย์หรือวิศวกร
    ถ้าบอกว่า ไม่อยากเรียนวิชานี้ หรือไม่สอบใบประกอบวิชาชีพ
    จะทำตามใจตนเองได้หรือไม่
    ในเมื่อ นี่คือ คุณสมบัติที่จำเป็นต้องมีในการเป็นนายแพทย์หรือวิศวกร
    จะมาอ้างว่า ไม่ถนัด ไม่ชอบ ทำไม่ได้ เป็นเรื่องที่ดูตลก
    ในกรณี เป็นนายแพทย์หรือวิศวกร จึงจำเป็นจะต้องคุณสมบัติ ดังกล่าว
    ผู้ปฏิบัติธรรมภาวนา ก็เช่นเดียวกัน
    จะมาอ้างว่า ไม่ถูกจริต ทำไม่ได้ ไม่มีเวลา เป็นคนเมือง กิเลสมันอ้างแก้ตัวทั้งนั้น
    ต้องถามกลับไปว่า คุณมีความเพียรพยายามเพียงพอแล้วหรือยัง
    หรือเป็นข้ออ้าง สำหรับผู้ที่ขาดความเพียรไม่มีความวิริยะอุตสาหะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2009
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    ดีแล้วครับ .. อย่าเอาเข้าข้างตน
     
  15. an underhand trick

    an underhand trick สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +23
    <center> [SIZE=+3]
    วัตถุ ๖
    [/SIZE]
    </center>
    <dd>
    </dd><dd> [SIZE=+2] รูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ นั้น มี ๖ รูป เรียกว่า วัตถุรูป ๖ รูป [/SIZE]
    </dd><dd> [SIZE=+2] จักขุปสาทรูป ๑ เป็นจักขุวัตถุ เป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณจิต ๒ ดวง [/SIZE]
    </dd><dd> [SIZE=+2] โสตปสาทรูป ๑ เป็นโสตวัตถุ เป็นที่เกิดของโสตวิญญาณจิต ๒ ดวง [/SIZE]
    </dd><dd> [SIZE=+2] ฆานปสาทรูป ๑ เป็นฆานวัตถุ เป็นที่เกิดของฆานวิญญาณจิต ๒ ดวง [/SIZE]
    </dd><dd> [SIZE=+2] ชิวหาปสาทรูป ๑ เป็นชิวหาวัตถุ เป็นที่เกิดของชิวหาวิญญาณจิต ๒ ดวง [/SIZE]
    </dd><dd> [SIZE=+2] กายปสาทรูป ๑ เป็นกายวัตถุ เป็นที่เกิดของกายวิญญาณจิต ๒ ดวง [/SIZE]
    </dd><dd> [SIZE=+2] หทยรูป ๑ เป็นหทยวัตถุ เป็นที่เกิดของจิตอื่นทั้งหมดในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เว้นเฉพาะทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวงเท่านั้น [/SIZE]
    </dd><dd> [SIZE=+2] ฉะนั้น ปสาทรูป ๕ จึงเป็นทั้งทวาร ๕ และวัตถุ ๕ ดังนี้ คือ [/SIZE]
    </dd><dd> [SIZE=+2] จักขุปสาทรูป เป็นจักขุทวารของ จักขุทวาราวัชชนจิต จักขุวิญญาณจิต สัมปฎิจฉันนจิต สัมตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต ชวนจิต ตทาลัมพนจิต ซึ่งรู้รูปารมณ์ที่กระทบจักขุปสาทรูปนั้นและ รูปารมณ์นั้นยังไม่ดับไป แต่จักขุปสาทรูปนั้นเป็นจักขุวัตถุคือเป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณจิต ๒ ดวงเท่านั้น ส่วนวิถีจิตอื่นๆ ในวาระเดียวกันนั้น คือ จักขุทวาราวัชชนจิตสัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต ชวนจิตตทาลัมพนจิต เกิดที่หทยวัตถุ [/SIZE]
    </dd><dd> [SIZE=+2] โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป ก็โดยนัยเดียวกัน [/SIZE]
    </dd><dd> [SIZE=+2] ส่วนหทยรูปนั้นเป็นวัตถุ คือ เป็นที่เกิดของจิต แต่ไม่เป็นทวารเลย ...ในที่นี้การทำสมถะมิได้ ยังไม่กล่าวว่าไม่ให้ทำสมถะต่อ แต่ให้พยายามหหมั่นพิจารณาควบคู่กับไป นัยยะ นั้นต้องแปล ความหมายให้ดี และการประครองสตินั้น หากกระทำแล้วลงมาที่จิต ก็จะรู้เอง การทำสมถะก็เพื่อลงมาที่จิต ทำวิปัสนาก็ลงมาที่จิต เหมือนกัน ทุกอย่างก็ต้องลงมาที่จิต ดังนั้น ไม่ว่าจะปฏิบัติทางใดก็ตาม ก็ลงมาที่"จิต" คือคำตอบสุดท้าย . ปล. จิตมิได้มีดวงเดียวหรอกหนา
    [/SIZE]
    </dd>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2009
  16. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    การตีความเช่นนี้นั้นไม่ถูกต้อง...เราต้องตีตามความเป็นจริง....

    ไม่ใช่การตีกลางทาง...หรือปลายทาง....เราต้องตีตั่งแต่ต้นทาง.....ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนสิ......

    สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑
    ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)


    การตีความอย่างนี้ต่อไปก็เห็นดีเห็นถูกเห็นว่าถูกต้อง.....แต่ไม่เป็นไปตาม พุทธพจน์ที่ทรงสอน...อย่างนี้ก็จะเข้าใจผิดไปกันใหญ่...

    ธรรมเป็นเครื่องสงบจิต ท่านตีตั่งแต่ ขนิกสมาธิขึ้นไป...เพราะขนิกก็เป็นธรรมที่สงบจิตชนิดหนึ่ง....คือสงบชั่วคลาวในระยะสั้น....หรือท่านจะกล่าวว่าไม่ใช่....

    ผมไม่ได้ต้องการที่จะกล่าวค้านต่อผู้ใด....แต่เราควรที่จะมีความเข้าใจที่ถูกต้องเสียก่อน.....ตามความถูกต้องของพระศาสนา.....

    หลวงพ่อพุธ ธานิโย ท่านสอนดีมาก....จะเอาท่านเทียบก็ได้เช่นกัน.....อย่าไปฟังจุดใดที่เพียงแต่เราชอบใจ....ถ้าฟังชัดๆ...หลวงพ่อท่านสอนถึง อัปณาสมาธิ(ฌาณ ๔ )เลย....ครูบาอาจารย์แต่เก่าก่อนท่านไม่มีอย่างนี้ครับ....ที่กล่าวว่า ทำสมถะไม่ได้....ไม่มีหลอก...เพราะจริงๆท่านทั้งหลายย่อมรู้เพราะเราดูกันต้นทาง.....

    ใครจะเห็นดีเห็นว่าถูกนั้นผมไม่เห็นด้วยเพราะรู้กันอยู่.....มันชัดอยู่ในเรื่องของการปฏิบัติ.....คือที่หลายคนพูดมันเป็นไปไม่ได้....มันไม่ถูกต้อง.....
     
  17. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    </DD>ก็ดีแล้ว ....ไปทำต่อไป....ก็ไม่ได้ว่าอะไร.....ดูจิตก็ดี...ดีหมด....แต่ให้เข้าใจอย่างถูกต้องว่าอะไรเป็นอะไรเท่านั้นเอง.....
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    ก็ลองมาฟังดูอีกมุมซิครับ .. ท่านเทศน์ตั้งแต่ต้นเหมือนกัน

    ใครชอบแบบไหนก็ทำไป

    จะเป็นไปไม่ได้ หรือยังไม่ได้ทำ ก็ลองดู
     
  19. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    ควรพิจารณาดูทั้งเงื่อนต้น เงื่อนกลาง เงื่อนปลาย
    บางครั้งหลวงพ่อพุธท่านเทศน์เฉพาะกลุ่มหรือบุคคล
    เป็นการให้กำลังใจแก่ผู้ที่ปฏิบัติภาวนาทำสมาธิแล้วจิตไม่สงบ
    แต่.. มิหมายความ จะไม่ต้องทำ หรือเลิกทำเลย หรือสอนเฉพาะในแนวทางเดียวกันนี้เท่านั้น

    ในกรณี ผู้ที่ปฏิบัติภาวนาทำสมาธิแล้วจิตสงบ เข้าถึงปฐมฌาน
    หลวงพ่อพุธท่านก็แนะนำอุบายธรรมสอนต่อให้เจริญอุบายปัญญา
    โดยให้พิจารณากายหรืออสุภกรรมฐาน

    ที่ชี้แจงมานี่ ก็เพื่อให้เข้าใจในการปฏิบัติภาวนาให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้น
    จะฟังเทศน์หลวงพ่อพุธต้องฟังหลายกัณฑ์
    บางกัณฑ์ ท่านจะเทศน์เรื่องการเข้าปฐมฌานหรืออัปณาสมาธิ
    ในขณะที่บางกัณฑ์ ท่านจะเทศน์เรื่องการเจริญสติหรือภาวนาพุทโธ
    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการสาธยายธรรมเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มาฟังธรรมในขณะนั้น
     
  20. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    เอาท่านทั้งหลายกล่าวกันเถอะ....ป่วยการกับการอธิบาย....ถ้าท่านทั้งหลายยังพากันยึดถือตามนั้นก็แล้วแต่.....แต่เพียงอยากบอกว่าสึ่งที่ท่านเข้าใจหมายเอา....มันไม่ถูกต้อง.....

    อาจาริยวาทนั้นดี....ผมยอมรับ.....การที่จะเข้าใจอย่างชัด....มีใครลองกลับไปดูที่พระพุทธเจ้าทรงสอนตรงๆกันบ้างไม.....หรือฟังแต่อาจารย์แล้วก็ยึดถือกันเอา....ว่าถูกต้อง.....แต่เมื่อใดก็ตามที่อาจาริยวาทไม่ตรงกับพุทธพจน์.....ท่านทั้งหลายก็จะยึดกันเอาตามนั้นก็เป็นเรื่องของท่าน.....สำหรับตัวผมนั้นไม่มีความข้องใจในเรื่องนี้.....

    อย่างไรก็ปฏิบัติต่อไปกันเถอะ.......อย่าลืมหันกลับไปมองกันบ้าง.....ว่าความจริงมันเป็นอย่างไร....อย่าเพียงแค่ปิดหูปิดตาปิดใจไม่ยอมรับฟังสิ่งใดทั้งสิ้น......

    บัณฑิตทั้งหลายพึงศึกษาให้ดี....

    ตั้งใจปฏิบัติกันนะครับ....กัลญาณมิตรทั้งหลาย....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤศจิกายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...