...สติโดย...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย wisarn, 20 มีนาคม 2022.

  1. wisarn

    wisarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    726
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +2,503
    images_1.jpeg

    ๑. สติโดยพยัญชนะ คือ แล่นไปเร็ว
    .
    ๒. สติโดยอรรถะ คือ ความระลึกได้เร็ว,
    หรือทันเวลา ในการนำมาซึ่งปัญญา
    .
    ๓. สติโดยไวพจน์ คือ อัปปมาท, ชาครธรรม
    .
    ๔. สติโดยองค์ประกอบ
    {๔.๑} ความรู้จัก และกลัวต่อความทุกข์
    {๔.๒} ความรู้จักละอาย
    {๔.๓} ความเข็ดหลาบ
    {๔.๔} ความเชื่อฟังและเคร่งครัดต่อระเบียบ
    .
    ๕. สติโดยลักษณะ
    {๕.๑} แห่งเจตสิกธรรม เครื่องประกอบจิต
    {๕.๒} แห่งผู้เฝ้า ผู้ระวัง ผู้รักษา ผู้คุ้มครอง
    {๕.๓} แห่งความตื่น ไม่หลับ ไม่เผลอ
    .
    ๖. สติโดยอาการ
    {๖.๑} แห่งการขนส่งซึ่งปัญญาอย่างทันเวลา
    {๖.๒} คัดเลือกและใช้ปัญญาให้ถูกแก่กรณี
    .
    ๗. สติโดยประเภท
    .
    ก. จำแนกโดยประเภทสอง ตามอาการหรือ
    หน้าที่ มี ๖ คู่ ...
    .
    {คู่ที่หนึ่ง} ๑. สัมมาสติ ๒. มิจฉาสติ
    .
    {คู่ที่สอง} ๑. สติตามธรรมดา
    ๒. สติที่เป็นองค์แห่งมรรค คือสติที่เป็นไปเพื่อวิเวก วิราคะ นิโรธะ โวสสัคคะ
    .
    {คู่ที่สาม} ๑. สติที่เกิดก่อนการกระทำ
    ๒. สติที่เกิดขณะกำลังกระทำเพื่อควบคุมการกระทำ
    .
    {คู่ที่สี่} ๑. สติที่เป็นไปในอารมณ์ภายนอก
    ๒. สติที่เป็นไปในอารมณ์ภายใน
    .
    {คู่ที่ห้า} ๑. สติเมื่อทำหน้าที่ตามกำลังของสติเอง
    ๒. สติเมื่อทำหน้าที่ร่วมกับธรรมอื่น
    .
    {คู่ที่หก} ๑. สติเป็นไปในหน้าที่แห่งการระลึก
    ๒. สติเป็นไปในหน้าที่แห่งการรักษาหรือปิดกั้น
    .
    ข. จำแนกตามฐานที่ตั้ง มี ๔ ประเภท คือ
    สติเป็นไปทางกาย ทางเวทนา ทางจิต ทางธรรม
    ที่เรียกว่า " สติปัฏฐานสี่ "
    .
    ค. จำแนกตามอารมณ์เป็นเครื่องติดตามกำหนด
    มี ๑๐ คือ พุทธานุสสติ, ธรรมานุสสติ, สังฆานุสสติ, สีลานุสสติ, จาคานุสสติ, เทวตานุสสติ, มรณานุสสติ, กายานุสสติ, อานาปานสติ, อุปปสมานุสสติ
    .
    ๘. สติโดยกฎเกณฑ์
    {๘.๑} ต้องทำหน้าที่ร่วมกับปัญญาอย่างที่จะแยกกันไม่ได้ ทั้งเบื้องต้นท่ามกลางและสุดท้าย
    {๘.๒} เป็นสิ่งที่ต้องใช้ทุกกรณีและทุกกาละเทศะ
    {๘.๓} ทำให้เกิดการเป็นพระอรหันต์ เมื่อสติถึงความสมบูรณ์
    .
    ๙. สติโดยสัจจะ
    {๙.๑} ความสมบูรณ์แห่งสติคือความรอดปลอดภัยของชีวิต
    {๙.๒} สติเป็นเครื่องหยุดกระแสแห่งกิเลส เพื่อให้โอกาสแก่ปัญญาในการทำลายกิเลส
    .
    ๑๐. สติโดยหน้าที่ (โดยสมมติ)
    {๑๐.๑} สติมีหน้าที่ระลึกและประมวลมาซึ่งธรรมทั้งหลายเพื่อการคัดเลือก และให้ใช้ถูกต้องโดยหน้าที่
    {๑๐.๒} สติมีหน้าที่กำหนดอารมณ์ ทั้งในฝ่ายสมาธิและปัญญา
    .
    ๑๑. สติโดยอุปมาเปรียบเสมือน
    {๑๑.๑} ผู้เฝ้า ผู้พิทักษ์ ผู้คุ้มครอง
    {๑๑.๒} เครื่องขนส่งของปัญญา
    {๑๑.๓} ความเร็วของสายฟ้า
    {๑๑.๔} คลื่นวิทยุทั้งในลักษณะของคลื่นพาและคลื่นเสียง
    {๑๑.๕} เสือในขณะชุ่มตัวคอยจับสัตว์อยู่ในป่า
    {๑๑.๖} สารถีแห่งอัตภาพของชีวิต
    .
    ๑๒. สติโดยสมุทัย
    {๑๒.๑} สมุทัยโดยตรง คือ ความกลัวต่อความทุกข์แล้วระวังอยู่
    {๑๒.๒} สมุทัยโดยอ้อม คือ ความละอายต่อความชั่วแล้วระวังอยู่
    {๑๒.๓} ความไม่ประมาทในธรรมทั้งปวง
    {๑๒.๔} มีปัจจัยสำหรับสนับสนุน คือ สมาธิ
    .
    ๑๓. สติโดยอัตถังคมะ
    {๑๓.๑} ความหลงลืม ความเผลอ
    {๑๓.๒} ความพ่ายแพ้ต่อความยั่วยวน
    {๑๓.๓} ขาดการสำรวมระวัง
    {๑๓.๔} เมื่อความประมาทครอบงำ
    .
    ๑๔. สติโดยอัสสาทะ คือ ความพอใจเมื่อได้รับผลของความไม่เผลอเรอ พลังพลาดขาดสติ
    .
    ๑๕. สติโดยอาทีนวะ อาทีนวะของสติไม่มี มีแต่การขาดสติ
    {๑๕.๑} ความทุกข์ ความเสื่อมเสีย ความสูญเสีย หรือถึงกับความตาย
    {๑๕.๒} ความหมดสมรรถนะของความเป็นผู้คุ้มครองรักษาในด้านของวัตถุและจิตใจ
    {๑๕.๓} หมดหวังความก้าวหน้าไปตามทางของพระนิพพาน เพราะขาดสติปัฏฐานทั้งสี่
    {๑๕.๔} ไม่สามารถนำออกซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลกจากจิตใจ (ความไม่อยู่เหนืออิทธิพลของความเป็นบวกและลบของสิ่งทั้งปวง)
    .
    ๑๖. สติโดยนิสสรณะ นิสสรณะออกจากสติไม่มี มี แต่นิสสรณะจากโทษของความขาดสติ
    {๑๖.๑} อริยอัฏฐังคิกมรรค
    {๑๖.๒} ความไม่ประมาทในธรรมทั้งปวง
    .
    ๑๗. สติโดยทางปฏิบัติ เข้าสู่ความมีสติ
    {๑๗.๑} สติปัฏฐานสี่ หรืออานาปานสติ
    {๑๗.๒} ความสมบูรณ์แห่งสติในขณะแห่งผัสสะ
    {๑๗.๓} เห็นโลกโดยความเป็นของว่างจากอัตตาและอัตนียาอยู่เป็นประจำ
    {๑๗.๔} มีนิพพานเป็นอารมณ์อยู่ทุกอิริยาบถ
    {๑๗.๕} รู้สึกสมบูรณ์ก่อนการเคลื่อนไหว หรือการ กระทำใด ๆ เพื่อป้องกันการหลงลืม
    .
    ๑๘. สติโดยอานิสงส์
    {๑๘.๑} สกัดกั้นกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ไม่ให้ลุกลามไปจนเกิดทุกข์
    {๑๘.๒} ไม่มีการกระทำใดๆ ที่เป็นเหตุให้ต้องเสียใจ {๑๘.๓} สติเป็นเครื่องคุ้มครองศรัทธา ทิฏฐิและวิริยะ ไม่ให้เฉออกนอกทาง และเป็นเครื่องเรียกมาให้ทันเวลาซึ่งสมาธิ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ ขันติ จาคะ เป็นต้น
    {๑๘.๔} ป้องกันและควบคุมการเกิดแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน ได้แน่นอน
    {๑๘.๕} สติเมื่อสมบูรณ์ถึงที่สุด ทำให้รู้วินาทีที่จะดับจิต
    .
    ๑๙. สติโดยหนทางถลำ เข้าไปสู่ความมีสติ
    {๑๙.๑} ความเป็นอยู่อย่างวิเวก สันโดษ เรียบง่าย
    {๑๙.๒} ความมีหิริโอตตัปปะอยู่เป็นพื้นฐานของจิต
    {๑๙.๓} การเห็นภัยในวัฏฏสงสารอยู่เป็นประจำ
    {๑๙.๔} มีกัลยาณมิตรคอยตักเตือน
    .
    ๒๐. สติโดยสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้อง
    {๒๐.๑} ขันติธรรมที่เพียงพอ
    {๒๐.๒} สมาธิแห่งความจดจำที่เข้มแข็งและเพียงพอ.

    ๒๑. สติโดยภาษาคน - ภาษาธรรม
    {ภาษาคน} : ความไม่สะเพร่า เลินเล่อ.
    {ภาษาธรรม} : ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ด้วยอำนาจของปัญญาต่ออารมณ์ทั้งปวง.

    จาก "ธรรมโฆษณ์อรรถานุกรม" ของ พุทธทาสภิกขุ
    รวบรวมโดยกลุ่มปฏิบัติงานและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ร่วมกับสวนอุศมมูลนิธิ, หน้าที่ ๒๒๒ - ๒๒๗ ...

    https://www.dhammaghosana.org/index.php?cid=3248&pid=118&hltxt=
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2022

แชร์หน้านี้

Loading...