สติ สัมปยุตกับอะไรได้มั่ง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 14 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    เอานะครับ ช่วงนี้ปวดหัว ขอตัวพักผ่อน ^^
     
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ผลย่อมมาแต่เหตุ
    แล้วคุณล่ะ คิดว่าเป็นวิปัสสนูไหม กลัวไหม

    ฌานในอริยะมรรค นี่ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน และจิตทำหน้าที่กำหนดรู้สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา >>ถ้าหากว่าใครรู้เห็นธรรมะในขั้นนี้ แม้จะมองเห็นร่างกายเน่าเปื่อยผุพัง จิตมันก็ไม่ว่าเน่าเปื่อยผุพัง มองเห็นความสุขทุกข์เป็นอนัตตา จิตก็ไม่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีแต่รู้อยู่โดยถ่ายเดียว

    <<เพราะฉะนั้น...ความรู้อันนี้ ท่านจึงเรียกว่า สังขาร ขั้นวิสังขาร เป็นการปรุงแต่งของจิตขั้นละเอียด จิตที่ปรุงแต่งอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงมีประหนึ่งว่า สิ่งที่รู้ก็เป็นอันหนึ่ง จิตตัวผู้รู้ก็เป็นอันหนึ่ง ในช่วงนี้แหล่ะ นักภาวนาทั้งหลาย อย่าไปเข้าใจว่า สิ่งรู้ทั้งหลายนี่ มีเทพเจ้ามีอะไรบันดาลให้เข้ามา ปรุงแต่งมาให้เรารู้ แต่แท้ที่จริง ไอ้เจ้าจิตตัวมีปัญญาละเอียดมันปรุงขึ้นมาสอนตัวมันเอง


    ทีนี้ในเมื่อจิตไม่มีความสำคัญ มั่นหมายสิ่งใดว่าเป็นอะไร มีแต่รู้อยู่เฉยๆ ยกตัวอย่างเช่น ภาพนิมิตอาจจะบังเกิดขึ้น นี่เป็นร่างศพที่เน่าเปื่อยผุพัง แต่นี่เป็นร่างที่สวยงามที่สุด ในขณะที่จิตรู้อยู่ จิตจะไม่สำคัญ ไม่มีความเอนเอียง ลำเอียงว่า อันนี้ดี อันนี้เสีย มีความรู้สึกเสมอกันหมด

    ทีนี้แม้ว่าจะไปรู้กฏของบุญของบาป อะไรต่างๆ ก็ดี คล้ายๆ ว่าความดี...ความดีไม่ปรากฎ ความชั่วไม่ปรากฎ เพราะในขณะนั้นจิตเป็นกลาง ในเมื่อจิตเป็นกลางแล้ว จิตจึงไม่สำคัญมั่นหมายในสิ่งดีสิ่งชั่ว แต่จิตจะยอมรับกฏของธรรมชาติ กฏธรรมชาติที่เราสมมติว่า บุญนี้ เป็นสิ่งพยุงดวงจิตของเราให้สูงขึ้น แต่สิ่งที่เราสมมติว่า บาปนี้ เป็นกฏที่จะถ่วงดวงจิตของเราให้ต่ำลง คำว่าบุญบาปนี้หายไปหมด เพราะรู้อย่างไม่มีสมมติบัญญัติ เพราะฉะนั้นความรู้ใน จุดนี้จึงเป็นอันตรายแก่นักปฏิบัติ ในเมื่อไปเห็นทุกอย่างไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีสมมติบัญญัติในที่สุด นิพพานัง ปรมัง มันก็สูญญังไปหมด ไม่มีใครสำเร็จพระนิพพาน บุญบาปที่ทำลงไป มันก็สูญญังไปหมด ไม่มีอะไร สักแต่ว่าธรรมเท่านั้น นิยตะ มิจฉาทิฏฐิ มันจะเกิดขึ้นที่ตรงนี้
    เพราะฉะนั้นนักภาวนาทั้งหลายควรระมัดระวัง...
     
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    .....................ในท่อนหลังนั้น หลวงพ่อพุธ ให้ระวังมากกว่า..ไม่ได้หมายถึงผู้ภาวนามาถึงขั้นนั้น จะเป็น มิจฉาทิฎฐิทุกท่าน...เป็นการเตือนบอกมากกว่านะครับ:cool:ให้ควรระมัดระวัง
     
  4. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    มาช้าเพราะกระทู้ติดจรวด เลยเป็นคำถามตกค้างไป

    โพชฌงค์ ๗ ธรรมสัมโพชฌงค์คือองค์แห่งการตรัสรู้ ไม่เป็นวิสังขารเพราะยังมีปัจจัยปรุงแต่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  5. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    มอนิ่งครับแปะแปะ มาช้ายังดีกว่าไม่มา^^


    ผมถามแปะอีกว่า

    สติ สัมโพภชงค์
    ที่ว่ายังมีปัจจัยปรุงแต่ง
    มันมีที่ตรงไหนครับ

    หากว่าการเจตนาระลึก
    กับไม่เจตนาระลึก แต่ระลึกได้เอง
    ทั้งสองอย่างนี้ อันไหนที่เรียกว่า สติสัมโพภชงค์
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ผมไม่คิดว่าเป็นวิปัสนูกิเลส

    เพราะว่า วิปัสนูกิเลส คือการไปเข้าใจว่า นั่น นี่เป็นวิปัสนา

    การไปเข้าใจว่านั่น นี่ เป็นวิปัสนา เช่น

    ไปเจอโอภาส แล้วเข้าใจว่า ตัวเองได้ผล วิปัสนา
    อันนี้แหล่ะเรียกว่าเป็นวิปัสนูกิเลส เพราะตัดสินผิด
    คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

    จึงเรียกว่า วิปัสนูกิเลส

    การตัดสินของผลวิปัสนา นั่นคือรู้ตามเป็นจริงของไตรลักษณะ
    อันนี้คือ ความต่างของการเรียกว่า วิปัสนูกิเลส


    ทีนี้ หากถามผมว่า กลัวไหมวิปัสนูกิเลส
    บ่อกลัวครับ
    ทำไมถึงบ่อกลัว เพราะว่า การที่เราเจอสิ่งที่บัญญัติเรียกว่า วิปัสนูกิเลส
    นั่นแสดงว่า เราเป็นคนที่มีความเพียรมาได้ถูกทาง


    และอีกประเด็น ในคำแนะนำหลวงปู่พุธ ฐานิโย ที่ยกมาให้ทัศนานั้น
    เข้าใจว่า เป็นการแนะนำการเตือน ในช่วงท้าย

    แต่ในช่วงต้นเป็นการเดินมาที่ถูกต้องของฌานในอริยะมรรค
    แม้ว่าผู้นั้นยังไม่มีความเป็นแห่งจิตเป็นโลกุตระ
    และยังไม่ได้ตัดสินผลวิปัสนา แต่เป็นการเริ่มเข้าทางมรรค

    และในประโยค
    ในช่วงนี้แหล่ะ นักภาวนาทั้งหลาย อย่าไปเข้าใจว่า สิ่งรู้ทั้งหลายนี่ มีเทพเจ้ามีอะไรบันดาลให้เข้ามา ปรุงแต่งมาให้เรารู้ แต่แท้ที่จริง ไอ้เจ้าจิตตัวมีปัญญาละเอียดมันปรุงขึ้นมาสอนตัวมันเอง


    คนที่เพิ่งจะมาเจอลักษณะแบบนี้ หากไม่ได้รับการเตือน
    คำแนะนำจากครู โอกาส คลาดเคลื่อนก็จะเป็นอย่างที่หลวงปู่ท่านกล่าว

    แต่ว่า ผู้ผ่านมาทางนี้พอได้รับคำแนะนำก็
    จะเห็นซ้ำ เห็นย้ำ ในการปฏิบัติแบบเดิมๆ
    ความแม่นในการเห็นก็จะมีมากขึ้น
    สติที่ได้ก็จะเกิดได้ถี่ขึ้น ความตั่งมั่นในภายในก็จะมีกำลังขึ้น
    ปัญญาที่ได้ก็จะแก่รอบมากขึ้น
    ทำให้ วิปัสนาญาณมีกำลังก้าวข้ามขั้นไปเรื่อยๆ


    และทีนี้

    ในช่วงนี้แหล่ะ นักภาวนาทั้งหลาย อย่าไปเข้าใจว่า สิ่งรู้ทั้งหลายนี่ มีเทพเจ้ามีอะไรบันดาลให้เข้ามา ปรุงแต่งมาให้เรารู้ แต่แท้ที่จริง ไอ้เจ้าจิตตัวมีปัญญาละเอียดมันปรุงขึ้นมาสอนตัวมันเอง

    ในประโยคสีน้ำแดง เป็น อสังขาริกัง หรือเป็น สสังขาริกัง
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ผมจะอธิบายในที่ มีเส้นอีก รอบ

    เกิดจากการอธิบายในครั้งแรกที่ผมพูดถึง ธรรมขั้นวิสังขาร

    แต่ เจ่ตาปุณฑ์ ได้กล่าวถามหาที่อ้างอิง
    ว่าในพระไตรปิฎก หรือในวิสุทธิมรรคหรือ อะไรก็ได้

    จึงได้ยกตัวอย่างที่หลวงปู่พุธ ฐานิโยท่านได้อธิบายไว้
    ไม่ใช่ ว่าจะอธิบายไม่ขาด

    แต่หากว่า เจ่หลงกล่าว ว่าอธิบายไม่ขาด
    โปรด ยกคำอธิบายของผมมาชี้

    เชิญครับ^^

    และทีนี้ ที่กล่าวว่า

    แต่จะสรุปให้ว่า ระหว่าง สัญญา กับ สติ และโลภะ โมหะ แยกออกไหมขณะนี้อะไรที่ระลึกอยู่
    แยกให้ดูหน่อยครับ มันต่างกันยังไง


    ทีนี้ โลภะ กับ ฉันทะ แยกออกไหม ว่าขณะนี้ เป็นโลภะ หรือ ฉันทะ
    ขอทวนความหมายเจ่หลง กับคำว่าฉันทะ ชัดๆซิ
    ว่าแปลว่าอะไร
    แล้วจะมาอธิบายต่อ
     
  8. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    แสดงความเห็นจากการฟังครับ
    ฟังหลวงพ่อแล้วเข้าใจได้ครับ แต่ยังไปไม่ถึง
    ทีนี้ถามว่าในขั้นการเห็นนั้น มันก็เห็นได้จริง ตามที่ท่านกล่าวครับ
    จริงๆ หากไม่มีการระลึกไว้เบาๆ มันก็เข้าไปยึดได้ครับ
    ตรงนี้ผมว่านักปฏิบัติทุกท่านก็ระวังกันอยู่จนบางครั้ง ตึงเกินไปก็มีทำให้ข้ามไปไม่ได้ เรียกว่าพอจะถึงก็ถอยเสีย ก็มี หรือไปจับเอาแน่นมากก็มี
    ทีนี้ ที่พี่ป.ปราบ และพี่ ป.ปุณฑ์ ยกมาคุยนั้น คำยังไม่ชัดเจนจึงคุยด้วยไม่ได้ เงี่ยหูฟังได้อยู่
    ผมว่านะ คงต้องก้าวข้าม หรือหงายของที่คว่ำ จึงจะสามารถตอบคำถามนี้ได้ชัดด้วยตนเอง
    ขณะนี้ก็คงได้แต่ แสดงทัศนะส่วนตนเท่านั้น จึงยังไม่ผิด ไม่ถูก ซะทีเดียว
    โอกาส โอกาส
     
  9. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ตรงนี้ล่ะครับ ท่านอธิบายสิ่งหนึ่งที่ซ่อนอยู่
    ชัดเจน และเป็นหนึ่ง
     
  10. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    สติสัมโพชฌงค์ที่ว่ามีปัจจัยปรุงนั้น
    ต้องเข้าใจได้ดังนี้ สติมิได้เกิดขึ้นมาตัวเดียวโดยโดดๆ ยังมีเจตสิกทีเกิดร่วมกับสติอีก ๓๗ ดวงดังในภาพนี้
    เพียงเรายกตัวสติขึ้นมาเป็นประธาน ไม่ได้ยกเจตสิกที่เกิดร่วมขึ้นมาเป็นประธานเท่านั้น จึงอาจเห็นว่าสติเกิดตัวเดียว
    แท้ที่จริงสติยัง เจตสิกเกิดร่วมได้อีกถึง ๓๗ ดวง แต่สติไม่ที่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยก็ต้อง ตัดตัวปัญญาออกไปคงเหลือ ๓๖ ดวง
    แต่ถ้าสติเกิขึ้นที่มีเวทนาเป็นอุเบกขาก็ต้องตัดปิติออกไปอีกหนึ่งดวงเช่นกัน ​

    [​IMG]

    [​IMG]
    ถ้าเราจะยกเป็นภาษาบ้านๆ ที่พอจะเข้าใจได้ง่ายดังนี้ เช่นว่า "แกงไก่" ก็ต้องมีอะไรหลายๆอย่างเป็นปัจจัยจึงจะเกิดเป็นแกงไก่ขึ้นมาได้
    มิใช่แกงไก่จะมีไก่ตัวเดียวอย่างเดียวโดดจึงจะเป็นแกงไก่ขึ้นมาได้ ต้องมีเครื่องแกง มี พริก หอม กระเทียม กระปิ น้ำปลา ข่า ตะไคร้
    ใบมะกรูด โหรพา กระเพรา ผัก และอีกมากมาย ที่เป็นปัจจัยในการเป็นน้ำพริกแกง และยังมี หม้อแกง เตาไฟ แก๊ส คนปรุง
    นี่เป็นเพียงยกตัวอย่างว่าทั้งหมดถ้าขาดคนใดหรืออย่างใดอย่างหนึ่งแกงไก่ก็เกิดขึ้นไม่ได้เช่นเดียวกัน

    เจตนา ก็เป็นเจตสิกอีกตัวหนึ่ง สติก็อีกตัวหนึ่ง ถ้าพูดถึงเจตนา เจตนาสิกก็เป็นประธานอีก ทั้งสองจะมาเป็นประธานพร้อมกันไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  11. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    อาแปะ เป็นผู้มีความรู้ธรรมมาเยอะ แต่เห็นมาพลาด ตรง โพส ที่ 1193

    พลาดมากเลยนะครับ โพชฌงค์ ๗ นี่เขาระดับมืออาชีพแล้วครับ เหมือนคนที่ว่ายน้ำเป็น

    ตกน้ำไงก็ไม่ตาย
     
  12. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    เอาๆ..ว่ากันไปใครมีความรู้มากกว่า ก็ว่าไปตามภูมิรู้ ภูมิธรรมแล้วกัน ผมคงอธิบายเท่าที่พอยังปัญญาเท่านี่ตนมีอยู่แหละครับ
     
  13. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้
    เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น
    ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึง
    ความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้
    มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย
    นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อม
    เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิ
    สัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

    ลองเอาการปฏิบัติของเรา มากอ่านตรงนี้ดูครับ
     
  14. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    โพชฌงค์ ๗ องค์แห่งการตรัสรู้
    "ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมทําให้มีจักษุ ทําให้มีญาณ
    ส่งเสริมความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นข้างความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน"
    (สํ.ม. ๑๙/๕๐๒/๑๓๗)
    [​IMG]
    กุณฑลิยะ : ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์?
    พระพุทธเจ้า : ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
    กุณฑลิยะ : ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็(แล้วยังมี)ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ให้บริบูรณ์?
    พระพุทธเจ้า : ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.
    (กุณฑลิยสูตร)
    [​IMG]
    โพชฌงค์ ๗
    โพชฌงค์ ๗ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ หมายถึง ธรรมหรือข้อปฏิบัติเพื่อยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ กล่าวคือ ถึงที่สุดแห่งการดับทุกข์หรือการตรัสรู้ อันมี ๗ ประการ ซึ่งเมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องดีงามก็ดำเนินไปตามหลักอิทัปปัจจยตาหรือปฏิจจสมุปบันธรรม อันเป็นไปดังนี้
    ๑. สติสัมโพชฌงค์ ความระลึกได้ ความระลึกได้บ่อยๆในกิจ(สิ่งที่ควร)ที่ทำมาไว้แล้ว ความไม่เผลอเรอ ความมีสติกํากับอยู่ในกิจ หรืองาน หรือธรรมที่ปฏิบัติ ดังเช่น การปฏิบัติธรรมวิจัย, การมีสติระลึกรู้เท่าทันเวทนา, ความมีสติระลึกรู้เท่าทันจิต ที่หมายถึงจิตตสังขาร เช่นความคิดปรุงแต่งคืออาการของจิตที่ฟุ้งซ่านไปปรุงแต่ง, ความมีสติระลึกรู้เท่าทันธรรม
    อันสติจักเกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ดังเช่น สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นการมีสติในกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งมีอานิสงส์ที่เนื่องสัมพันธ์กับโพชฌงค์ ๗ จึงเป็นเครื่องสนับสนุน(ปัจจัย)ให้มีสติไปน้อมกระทำการธัมมวิจยะ[​IMG]
    ๒. ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ (ธรรมวิจยะ)หรือธรรมวิจัย ความสอดส่อง สืบค้นธรรม, การวิจัยหรือค้นคว้าธรรม การพิจารณาในธรรม อันครอบคลุมถึงการเลือกเฟ้นธรรมที่ถูกต้อง ดีงาม ถูกจริต และการค้นคว้า การพิจารณา การไตร่ตรองด้วยปัญญาหรือการโยนิโสมนสิการ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง อย่างแท้จริงอันตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในธรรม(สภาวธรรมชาติ โดยเฉพาะของทุกข์ ก็เพื่อใช้ในการดับทุกข์) กล่าวคือธรรมที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาด้วยปัญญา เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    เมื่อมีสติรู้เท่าทัน พร้อมทั้งวิจัยค้นคว้าพิจารณาในกาย เวทนา จิต ธรรม ที่สติเท่าทันนั้นๆ ย่อมยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามเป็นจริงในสภาวธรรมหรือธรรมต่างๆขึ้นเป็นลำดับ จึงไม่ได้เห็นเป็นไปตามความอยาก,ความเชื่อ การอ่าน การฟังแต่อย่างเดียวดังเช่นแต่กาลก่อน, ดังเช่น การเข้าใจใน ปฏิจจสมุปบาท พระไตรลักษณ์ อริยสัจ๔ ขันธ์๕ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ. เมื่อเกิดความเข้าใจจากการธัมมวิจยะ ปัญญาย่อมสว่างกระจ่าง จึงย่อมรู้คุณ จึงเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนน้อมให้เกิดวิริยะ[​IMG]
    ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ความเพียร ท่านหมายถึงความเข้มแข็ง ความพยายาม บากบั่น สู้กิจ ไม่ย่อหย่อนท้อแท้ต่อการปฏิบัติและการพิจารณาธรรม(ธรรมวิจยะ) ตลอดจนการเพียรยกจิตไม่ให้หดหู่ ท้อแท้, เมื่อเกิดความเข้าใจในธรรมจากการพิจารณาธรรม ย่อมเป็นสุข เห็นประโยชน์ในการปฏิบัติ อุปาทานทุกข์น้อยลงหรือเบาบางลง จึงย่อมทำให้เกิดความเพียรขึ้นเป็นธรรมดา
    เมื่อเห็นคุณย่อมปฏิบัติด้วยความเพียร เมื่อปฏิบัติด้วยความเพียร อย่างแน่วแน่ในระยะหนึ่ง ไม่ซัดส่ายสอดแส่ ย่อมเป็นปัจจัยครื่องสนับสนุนให้เกิดปีติ[​IMG]
    ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อมีสติพิจารณาในธรรม ด้วยความเพียรย่อมเกิดความอิ่มเอิบ อิ่มใจ ความดื่มดํ่า ใจฟู ความแช่มชื่น ความปลาบปลื้ม อันปราศจากอามิส(ไม่เจือด้วยกิเลส)ขึ้นเป็นธรรมดา (จึงมิได้หมายถึง ปีติ ชนิดมีอามิส ความอิ่มเอิบ อันเกิดแต่การปฏิบัติฌานสมาธิอันมีองค์ฌาน ชนิดที่เกิดแต่การติดเพลิน, ติดสุข ทั้งโดยรู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี อันมักแสดงออกโดยอาการจิตส่งใน เพราะปีติชนิดนี้ยังให้โทษในภายหน้าแต่อย่างเดียว)
    เมื่อวิริยะ อย่างแน่วแน่ในธรรมที่พิจารณา ไม่ซัดส่ายสอดแส่ไปปรุงแต่งในสิ่งอื่นๆได้ระยะหนึ่ง ย่อมบังเกิดอาการปีติความอิ่มเอิบ ความแช่มชื่นขึ้นนั้นๆ ซึ่งเมื่อความอิ่มเอิบ ความแช่มชื่นจางคลายไป ย่อมเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนให้เกิดปัสสัทธิ[​IMG]
    ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความสงบกายและความสงบใจ ความผ่อนคลายกายใจ อันเกิดแต่ปีติสุขที่ระงับไป, เมื่อปีติความแช่มชื่น อิ่มเอิบแช่มชื่น อันเกิดแต่ความเข้าใจกระจ่างสว่างในธรรมสงบระงับลงแล้ว ย่อมยังผลให้เกิดการผ่อนคลาย กล่าวคือ เกิดความสงบกายสงบใจตามมา จึงไม่เครียด ไม่กระวนกระวาย กายใจโปร่งเบาสบาย กล่าวคือเมื่อกายสงบระงับย่อมเกิดความสุข จึงเกิดการเสวยสุข[​IMG]
    เมื่อกายสงบระงับแล้วย่อมเป็นสุข เมื่อเป็นสุขแล้ว ย่อมเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนน้อมนำให้เกิดสมาธิสัมโพชฌงค์จิตตั้งมั่น [​IMG]
    ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ความมีจิตตั้งมั่น เพราะเมื่อกายสงบ ย่อมพบสุข เมื่อพบสุข จิตย่อมตั้งมั่น เพราะย่อมไม่ซัดส่ายสอดแส่ไปฟุ้งซ่าน หรือปรุงแต่ง จึงมีจิตหรือสติตั้งมั่นอยู่กับกิจหรืองานที่ทํา อันเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติ นั่นเอง เช่น มีสติอย่างต่อเนื่องกับธรรมที่พิจารณา หรือการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ซัดส่าย ไม่วอกแวก ดังเช่น มีสติเห็นเวทนา หรือมีสติระลึกรู้เท่าทันอาการของจิต เช่นรู้เท่าทันอาการปรุงแต่งหรือรู้เท่าทันว่าฟุ้งซ่านไปภายนอกอยู่เนืองๆ และสมาธินั้นยังเป็นกําลังแห่งจิต ที่ทําให้จิตเข้มแข็งขึ้น ก็เนื่องเพราะความไม่ซัดส่ายไปสอดแส่ให้เกิดทุกข์ในเรื่องอื่นๆอีกด้วยนั่นเอง จึงย่อมยังให้การปฏิบัติตามความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องนั้นเป็นไปอย่างมีกําลัง ดังนั้นสมาธิในสัมโพชฌงค์จึงหมายถึง การมีจิตตั้งมั่น อยู่ได้อย่างต่อเนื่องหรือแนบแน่นในการปฏิบัตนั่นเอง เป็นจิตชนิดที่มีสติปราดเปรียวว่องไว ที่เมื่อระลึกรู้เท่าทันในสิ่งใดแล้ว ก็ปล่อยวางโดยการ อุเบกขาในสัมโพชฌงค์องค์สุดท้าย
    สมาธิในโพชฌงค์ จึงเป็นสมาธิเพื่อการวิปัสสนา ไม่ใช่อย่างเดียวกันกับการปฏิบัติสมถสมาธิ ที่มีสติแนบแน่นหรือแน่วแน่อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น อย่างไม่ปล่อยวาง ที่เมื่อสติจางคลายหรือขาดไปแล้ว มีองค์ฌานหรือสมาธิเป็นผลให้เกิดความสุขสงบสบายขึ้น แต่ย่อมเป็นไปในขณะหรือระยะหนึ่งๆเท่านั้น จึงยังจัดว่าเป็นเพียงวิกขัมภนวิมุตติ จึงควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วยว่า สมถสมาธิหรือฌานที่ปฏิบัติกันทั่วไป อันมีมาแต่โบราณนั้น ในทางพุทธศาสนาแล้วก็เพื่อเป็นไป เพื่อเป็นบาทฐานของสมาธิในขั้นวิปัสสนาต่อๆไปเท่านั้น กล่าวคือ สมาธิในโพชฌงค์คือสมาธิชนิดสัมมาสมาธิในองค์มรรคที่มีจิตตั้งมั่น ไม่ซัดส่าย อย่างต่อเนื่อง
    เมื่อจิตตั้งมั่นแน่วแน่อย่างต่อเนื่องยาวนาน อย่างเนืองๆ ย่อมประกอบด้วยกำลัง และยังประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเป็นไปตามจริงตามที่ได้สั่งสมมาจึงเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนในการน้อมนำไปในการอุเบกขา[​IMG]
    ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ การวางใจเป็นกลาง วางทีเฉย รู้ตามความจริงหรือยอมรับตามความจริง แล้วละเสียโดยการตั้งมั่นวางเฉย หรือปล่อยวางโดยอาศัยกำลังของจิตอันเกิดแต่สติ,สมาธิและปัญญานั่นเอง วางเฉย ที่หมายถึง รู้สึกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดาไม่ต้องฝืนแต่ตั้งใจกระทำหรือปฏิบัติ ด้วยการไม่(คิดนึก)ปรุงแต่ง ไม่สอดแส่ไปในเรื่องหรือกิจนั้นๆ ทั้งในทางดีหรือชั่ว(ทางร้าย) กล่าวคือไม่คิดเอนเอียง ไม่สอดแส่ ไม่ซัดส่าย ไม่ยึดมั่นในสิ่งใด เช่น ไม่ไปปรุงแต่งด้วยถ้อยคิดหรือกริยาจิต ในเวทนา(ความรู้สึกรับรู้เมื่อกระทบสัมผัสอันอาจชอบใจหรือไม่ชอบใจ) หรือสังขารขันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเช่น จิตฟุ้งซ่าน ,จิตมีโทสะ ฯ. ถ้อยคิดหรือความคิดนึกที่เกิดขึ้น เช่น การคิดปรุงแต่งหรือการเอนเอียงไปคิดเห็นว่าสิ่งนั้นถูกหรือสิ่งนั้นผิด, ไม่ปรุงแต่งทั้งในบุญหรือบาป, ไม่ปรุงแต่งไปทั้งดีหรือชั่ว, ไม่ปรุงแต่งว่าเราถูกหรือเขาผิด, เกิดความรู้สึกอย่างไรก็เกิดอย่างนั้น ไม่เป็นไร เป็นเรื่องปกติที่ถูกต้องเป็นธรรมดาเพียงวางจิตหรือสติหรือความคิดให้เป็นกลางด้วยการกระทำ วางทีเฉย เพราะการที่ไปปรุงแต่งแม้จะเป็นดีหรือสิ่งที่ถูกก็เป็นทุกข์ (แยกแยะให้เข้าใจความหมายถูกต้องด้วย มิได้หมายถึงไม่ทําความดี ไม่ทําบุญ แต่หมายถึงการไปคิดนึกปรุงแต่ง แล้วยึด่าถูก ว่าดี อย่างนั้น อย่างนี้ อันล้วนยังให้เกิดเวทนา คือความคิดขึ้นใหม่ๆอันย่อมเกิดเวทนาขึ้นอีกทั้งสิ้น อันล้วนอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา [​IMG] อุปาทาน [​IMG] ชาติอันเป็นทุกข์ขึ้นในที่สุด) ดังเช่น เรานั้นเป็นคนดีมากๆ ช่วยเหลือเกื้อหนุนบุคคลคนหนึ่งอย่างมากๆ เป็นความดีชนิดบริสุทธิ์ใจ แต่แล้วบุคคลคนนั้นกลับกระทำการสิ่งที่ไม่ดีต่างๆนาๆต่อเรา เพียงแต่เราคิดปรุงแต่งหรือกระทำโดยอาการพิรี้พิไรรำพันโอดครวญในความดีของเราหรือความชั่วของเขาในเรื่องนี้ขึ้นมา ที่แม้เป็นจริงอย่างที่สุดก็ตาม ท่านก็ย่อมต้องเสวยทุกข์ขึ้นทันที ความดีที่เรากระทำอยู่นั้นเราย่อมได้รับอยู่แล้วเพียงแต่อาจโดยไม่รู้ตัว แต่เมื่อใดที่เราไปคิดยึดมั่นในความดีด้วยกิเลส คือไปอยากให้ความดีนั้นตอบแทน ก็เกิดอุปาทานทุกข์อันเร่าร้อนเผาลนขึ้นทันที ด้วยเหตุฉะนี้ พระอริยเจ้าท่านจึงมีคำกล่าวอยู่เนืองๆว่า ไม่ยึดดี ไม่ยึดชั่ว เป็นกลางวางทีเฉย
    อุเบกขา จะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการเจตนาขึ้นเท่านั้น จึงต้องหมั่นสั่งสมอบรมปฏิบัติ ไม่ใช่การวางใจเป็นกลางชนิดที่ต้องทําใจเป็นกลางเฉยๆ ชนิดจะไม่ให้รู้สึกรู้สาต่อทุกขเวทนา,สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด กล่าวคือ อยากจะไม่ให้มีทุกขเวทนาทางกายหรือทางใจใดๆมากระทบได้ เพราะยังไม่รู้ไม่เข้าใจด้วยอวิชชา อันอาจกระทําได้แค่เป็นครั้งคราวด้วยฌาน,สมาธิเท่านั้น อันยังเป็นเพียงโลกียวิโมกข์ (ความหลุดพ้นขั้นโลกีย์) เป็นกุปปวิโมกข์ (ความหลุดพ้นที่กำเริบคือเปลี่ยนแปลงกลับกลายหายสูญได้) และเป็นวิกขัมภนวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้ คือ กิเลสระงับไปเพราะถูกกำลังสมาธิข่มไว้ เหมือนเอาแผ่นหินทับหญ้า ยกแผ่นหินออกเมื่อใด หญ้าย่อมกลับงอกงามขึ้นได้ใหม่) เพราะตามความเป็นจริงแล้วทุกขเวทนานั้นยังมีอยู่เป็นธรรมดาแม้ในองค์พระอริยเจ้า แต่ท่านเหล่านี้ไม่มีอุปาทานทุกข์หรืออุปาทานขันธ์ ๕, จึงต้องเป็นการปฏิบัติด้วยความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริงแล้วว่าเป็นโทษเป็นทุกข์ แล้วจึงปล่อยวาง หรือทําใจเป็นอุเบกขา กล่าวคือรู้ตามความเป็นจริงแล้ว รู้สึก(เวทนา)อย่างไร ก็เป็นเยี่ยงนั้นนั่นเอง แต่ต้องเข้มแข็ง ไม่คิดนึกปรุงแต่งด้วยการไม่เอนเอียงหรือแทรกแซงไปด้วยถ้อยคิดหรือกริยาจิตใดๆในเรื่องนั้นๆ ทั้งในทางดีหรือชั่ว(ทางร้าย),อุเบกขาจึงไม่ใช่อทุกขมสุขเวทนาหรือที่บางทีเรียกกันว่าอุเบกขาเวทนา อันเป็นความรู้สึกเฉยๆ แล้วไปยึดไปเข้าใจผิดว่าเป็นการอุเบกขา, อันอุเบกขาเวทนานั้นเป็นสภาวธรรมที่เกิดการรับรู้ขึ้นจากการผัสสะเป็นธรรมดา กล่าวคือเป็นไปโดยสภาวธรรมชาติ อย่างไรเสียก็ต้องเกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรม ส่วนการอุเบกขาหรือตัตรมัชฌัตตตาเป็นสังขารขันธ์จึงต้องมีสัญเจตนาหรือเจตนาขึ้น ดังนั้นจึงต้องหมั่นฝึกฝนอบรมด้วยความเพียรยิ่ง จนสามารถกระทำอุเบกขานั้นเป็นมหาสติ กล่าวคือ กระทำเองโดยอัติโนมัติ เป็นเฉกเช่นสังขารนปฏิจจสมุปบาท แต่ปราศจากเสียซึ่งอวิชชา(มีรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่อง อุเบกขา)
    โพชฌงค์ ๗ จึงล้วนเป็นธรรมเหล่าใดที่บุคคลเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังให้เกิดวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
    หรือถึงที่สุดแห่งการดับทุกข์นั่นเอง
    ที่มีจิตคือสติรู้เท่าทันในกาย เวทนา จิต และธรรมอยู่เนืองๆ กล่าวคือปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนให้ถึงซึ่งโพชฌงค์ ๗
    http://nkgen.com/35.htm
     
  16. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ฌานในอริยะมรรค นี่ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน และจิตทำหน้าที่กำหนดรู้สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา >>ถ้าหากว่าใครรู้เห็นธรรมะในขั้นนี้ แม้จะมองเห็นร่างกายเน่าเปื่อยผุพัง จิตมันก็ไม่ว่าเน่าเปื่อยผุพัง มองเห็นความสุขทุกข์เป็นอนัตตา จิตก็ไม่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีแต่รู้อยู่โดยถ่ายเดียว


    ...อ้ออันนี้เป็นไตรลักษณ์เนาะ เป็นวิปัสสนาเนาะ



    ก็ถ้าไม่กลัว ทำซ้ำๆ จนเป็นนิตยมิจฉาทิฏฐิ คงไม่ต้องมีใครชวนแล้ว
    ขนาดหลวงพ่อพุธ ท่านยังเตือนนักภาวนาให้ระวัง
    เกรงแต่หากมีใครมาชวนออก จะเสียเวลาเปล่าอ่ะดิ..


    ฌานในอริยะมรรค นี่ เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน และจิตทำหน้าที่กำหนดรู้สิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา >>ถ้าหากว่าใครรู้เห็นธรรมะในขั้นนี้ แม้จะมองเห็นร่างกายเน่าเปื่อยผุพัง จิตมันก็ไม่ว่าเน่าเปื่อยผุพัง มองเห็นความสุขทุกข์เป็นอนัตตา จิตก็ไม่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีแต่รู้อยู่โดยถ่ายเดียว

    <<เพราะฉะนั้น...ความรู้อันนี้ ท่านจึงเรียกว่า สังขาร ขั้นวิสังขาร เป็นการปรุงแต่งของจิตขั้นละเอียด จิตที่ปรุงแต่งอย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น จึงมีประหนึ่งว่า สิ่งที่รู้ก็เป็นอันหนึ่ง จิตตัวผู้รู้ก็เป็นอันหนึ่ง ในช่วงนี้แหล่ะ นักภาวนาทั้งหลาย อย่าไปเข้าใจว่า สิ่งรู้ทั้งหลายนี่ มีเทพเจ้ามีอะไรบันดาลให้เข้ามา ปรุงแต่งมาให้เรารู้ แต่แท้ที่จริง ไอ้เจ้าจิตตัวมีปัญญาละเอียดมันปรุงขึ้นมาสอนตัวมันเอง


    ทีนี้ในเมื่อจิตไม่มีความสำคัญ มั่นหมายสิ่งใดว่าเป็นอะไร มีแต่รู้อยู่เฉยๆ ยกตัวอย่างเช่น ภาพนิมิตอาจจะบังเกิดขึ้น นี่เป็นร่างศพที่เน่าเปื่อยผุพัง แต่นี่เป็นร่างที่สวยงามที่สุด ในขณะที่จิตรู้อยู่ จิตจะไม่สำคัญ ไม่มีความเอนเอียง ลำเอียงว่า อันนี้ดี อันนี้เสีย มีความรู้สึกเสมอกันหมด

    ทีนี้แม้ว่าจะไปรู้กฏของบุญของบาป อะไรต่างๆ ก็ดี คล้ายๆ ว่าความดี...ความดีไม่ปรากฎ ความชั่วไม่ปรากฎ เพราะในขณะนั้นจิตเป็นกลาง ในเมื่อจิตเป็นกลางแล้ว จิตจึงไม่สำคัญมั่นหมายในสิ่งดีสิ่งชั่ว แต่จิตจะยอมรับกฏของธรรมชาติ กฏธรรมชาติที่เราสมมติว่า บุญนี้ เป็นสิ่งพยุงดวงจิตของเราให้สูงขึ้น แต่สิ่งที่เราสมมติว่า บาปนี้ เป็นกฏที่จะถ่วงดวงจิตของเราให้ต่ำลง คำว่าบุญบาปนี้หายไปหมด เพราะรู้อย่างไม่มีสมมติบัญญัติ เพราะฉะนั้นความรู้ใน จุดนี้จึงเป็นอันตรายแก่นักปฏิบัติ ในเมื่อไปเห็นทุกอย่างไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีสมมติบัญญัติในที่สุด นิพพานัง ปรมัง มันก็สูญญังไปหมด ไม่มีใครสำเร็จพระนิพพาน บุญบาปที่ทำลงไป มันก็สูญญังไปหมด ไม่มีอะไร สักแต่ว่าธรรมเท่านั้น นิยตะ มิจฉาทิฏฐิ มันจะเกิดขึ้นที่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นนักภาวนาทั้งหลายควรระมัดระวัง...<!-- google_ad_section_end -->
     
  17. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692

    อุเบกขาแล้ว อาศัยนิโรธ
    ชื่อว่า บำเพ็ญวิชชาและวิมุตต์ให้บริบูรณ์
    เรียกว่าบำเพ็ญบริบูรณ์ คือ นิโรธแล้ว
     
  18. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    คุณปุณฑ์ ไม่จับประเด็นที่คุณจะ โพสแล้วสนใจซิครับ
    ต้องอ่านให้ครบ ผมยกมาได้ไม่หมด แต่เอาสรุปมาก็เยอะ

    จับมาแค่นี้ผิดประเด็นหมดเลยครับ ในนั้นกล่าวตั้งแต่สติปัฐฐาน 4 เลยครับ
    อย่าลักไก่ซิ ผมแก่แล้ว ตาไม่ดี แต่ใจดีครับ ^^
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    [SIZE=+3]สังขารและวิสังขาร.[/SIZE]
    [SIZE=-1]๑๙ มีนาคม ๒๕๒๖[/SIZE]
    ท่านสาธุชน ผู้มีความสนใจในธรรม ทั้งหลาย,
    การบรรยายประจำวันเสาร์ แห่งภาคมาฆบูชา เป็นครั้งที่ ๑๑ วันนี้อาตมาก็ยังคงกล่าวเรื่อง ธรรมะเล่มน้อย ต่อไปตามเดิม, แต่มีหัวข้อย่อยเฉพาะในวันนี้ว่า สังขารและวิสังขาร.
    ขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า ธรรมะเล่มน้อย อีกตามเคย; กล่าวคือเป็นการพูดสรุปรวมหลักพระพุทธศาสนาทั้งหมด มาไว้ในที่เดียวกัน, ในข้อความสั้น ๆ กินความครอบคลุมหมดทุกเรื่องในพระพุทธศาสนา. ดังนั้นเราจึงเรียกว่าธรรมะเล่มน้อย; เช่นครั้งก่อนก็ได้พูดว่า อะไร ๆ ก็สักแต่ว่าเป็นเรื่องของจิต เมื่อได้บรรยายถึงเรื่องของจิตทุก ๆ ชนิดแล้ว มันก็เป็นการหมดทั้งสิ้น ในเรื่องของพระธรรมหรือของพระศาสนา, หรือจะพูดว่า อะไร ๆ ก็สักแต่ว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติ อย่างนี้ก็เป็นการกล่าวรวมหมดไม่มีอะไรเหลือในพระพุทธศาสนา ขี้ฝุ่นอณูหนึ่งก็เป็นธาตุสูงขึ้นไป ๆ จนกระทั่งถึงพระนิพพาน ก็เรียกว่าธาตุ ถ้าเราจะพูดเรื่องธาตุ ก็เป็นอันว่าพูดหมดทุกเรื่อง ส่วนในวันนี้จะมีหัวข้อว่า สังขารและวิสังขาร ซึ่งก็มีลักษณะเดียวกันอีกว่าถ้าเรารู้เรื่องสังขารและวิสังขารแล้ว ก็เป็นอันว่า รู้หมดทุกเรื่องในพระพุทธศาสนาเดี๋ยวนี้เรารู้จักสิ่งที่เรียกว่า สังขาร กันน้อยเกินไป แล้วก็เข้าใจว่ารู้หมดแล้ว, แล้วก็ไม่สนใจ, บางทีเข้าใจผิดเสียก็มี จึงต้องนำมาพูดจากันอีกเรื่องหนึ่ง.
    [SIZE=+1]ศึกษาคำว่า “สังขาร, วิสังขาร” [/SIZE]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=70 bgColor=#fff8f0>[SIZE=+5]คำ[/SIZE]</TD><TD align=middle width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ว่า สังขาร ก็แปลว่า สิ่งปรุง, ตรงกันข้ามกับคำว่า วิสังขาร แปลว่าสิ่งที่ไม่ปรุง. ในพระพุทธศาสนาทั้งหมด ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องอื่นเลย นอกจากสองเรื่องนี้; เรื่องสิ่งที่มีการปรุง เป็นสัตว์ เป็นบุคคล จนมีความทุกข์. แล้วไม่มีการปรุงก็ไม่เกิดทุกข์ และเป็นเรื่องของ นิพพาน. คำที่จะต้องทำความเข้าใจ จึงมีอยู่สองคำ คือ สังขาร และวิสังขาร; แม้จะมีคำอื่นแปลกออกไป ความหมายก็อย่างเดียวกัน เช่นคำว่า สังขตะ ก็แปลว่า สิ่งที่ถูกปรุง, อสังขตะ ก็แปลว่า สิ่งที่ไม่ถูกปรุง เช่นเดียวกับคำว่า สังขารและวิสังขาร.
    ถ้าเรารู้จักทั้ง ๒ สิ่งนี้แล้ว เป็นอันว่ารู้หมดไม่มีอะไรเหลือ อะไร ๆ ในสากลจักรวาล หรือนอกไปจากนั้น คือพูดว่าทั้งหมด ก็แล้วกัน มันมีของสองสิ่งเท่านั้น คือ สังขารและวิสังขาร. สังขารก็เป็นไปตามการปรุง, แล้วก็มีผลจากการปรุง. วิสังขารไม่มีการปรุง ก็มีผลเป็นการไม่ปรุง คือความสงบ ในเมื่อสังขารมีการปรุง มันก็ไม่สงบ.
    สำหรับคำนี้ที่จะต้องทำความเข้าใจกัน ก็คือว่า ในภาษาไทยเราตามธรรมดา คำว่าสังขาร ทุกคนรู้ความหมายแต่เพียงว่าร่างกาย สังขารคือร่างกาย นอกนั้นไม่เข้าใจ ไม่ค่อยรู้, และก็ไม่ได้พูดคำว่าสังขารในความหมายอื่น เช่นพูดว่าดับสังขาร ก็หมายถึงตาย อย่างนี้เป็นต้น มันยังเป็นหลักธรรมะที่ผิดกันอยู่มาก. ดับสังขารนั้นไม่ต้องตาย ซึ่งจะได้อธิบายกันต่อไป. สังขารในภาษาไทยหมายถึง ร่างกาย นี้เกือบจะไม่ต้องบอกเพราะทราบกันอยู่ดี.
    ที่นี้ก็จะได้ดูกันถึง สังขารในภาษาบาลี, นี่แหละเรื่องมันมาก. คำว่าสังขารในภาษาบาลี คำนี้แปลว่า การปรุงก็ได้ คือกิริยาอาการที่เป็นการปรุงก็เรียกว่าสังขารได้, สิ่งที่ปรุงแต่งสิ่งอื่น มันปรุงแต่งสิ่งอื่นให้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เรียกว่าสังขารได้, หรือสิ่งที่มันถูกสิ่งอื่นปรุงแต่งขึ้นมา นี้ก็เรียกว่าสังขารได้. สิ่งที่มีการปรุงอยู่ในตัวมันเอง แล้วก็เรียกว่าสังขารได้ทั้งนั้น, ยังมีความหมายพิเศษออกไปว่า เป็นเครื่องกระตุ้น; เช่น คำบาลีว่า สสํขาริก แปลว่า มีเครื่องกระตุ้น, สิ่งที่เป็นเครื่องกระตุ้น ก็เรียกว่าสังขารเหมือนกัน คือเป็นการปรุงชนิดหนึ่ง, หรือว่าอำนาจของการปรุง ก็เรียกว่าสังขารได้, อำนาจที่สามารถปรุงแต่งอะไร ก็เรียกว่าสังขารได้. ความหมายในภาษาบาลีจึงมีตั้งหลายอย่าง อย่างน้อยก็เช่นว่า มันเป็นการปรุง เป็นสิ่งที่ปรุงสิ่งอื่น เป็นสิ่งที่ถูกสิ่งอื่นปรุง เป็นสิ่งที่มีการปรุง เป็นสิ่งกระตุ้นสิ่งอื่น หรือว่ามีอำนาจในการปรุง. นี่ขอให้คิดดูเถอะว่า คำว่าสังขารในภาษาไทยนั้น มันแคบนิดเดียว, หมายถึงสังขารร่างกาย; แต่ในภาษาบาลีมีความหมายครบไปทุกอย่าง ที่เกี่ยวกับการทำให้เกิดขึ้น และมีคำที่ควรจะทราบเสียในคราวเดียวกัน คือคำที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงการปลงสังขาร หรือปลงอายุสังขาร, สังขารคือการปรุง คือสิ่งที่มีอำนาจปรุง. ที่นี้เมื่อปลงสังขาร ก็หมายความว่า หยุดอำนาจของการปรุง, สลัดเสียซึ่งอำนาจของการปรุง, ถ้าเติมเข้ามาว่า ปลงอายุสังขาร ก็หมายความว่า หยุดเสียซึ่งการปรุงแต่งอายุ; สังขาร แปลว่า เครื่องปรุงแต่ง, อายุ แปลว่า อายุ, อายุสังขาร แปลว่า เครื่องปรุงแต่งให้อายุยังคงอยู่; พอปลงอายุสังขาร ก็หมายความว่า หยุดเสียซึ่งการปรุงแต่งแห่งอายุ. นี่เมื่อพระพุทธเจ้าจะปรินิพพาน ยังอีก ๓ เดือน ท่านมีการปลงสังขาร หรือปลงอายุสังขาร; สังขารในความหมายนี้หมายถึงสิ่งที่ปรุงแต่งให้อายุมีอยู่ได้ ท่านหยุดเสีย. หรือมีการตั้งพระหฤทัยว่า หยุดการปรุงแต่งเสียซึ่งอายุ หลังจากนี้ ๓ เดือนก็จะปรินิพพาน. นี่คำว่าอายุสังขารหมายความอย่างนี้ ถ้าเราหยุดได้ อายุก็จะสิ้นสุดลง.



    [SIZE=+1]ทุกสิ่งเป็นสังขาร, ยกเว้นนิพพาน[/SIZE]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=70 bgColor=#fff8f0>[SIZE=+5]ที[/SIZE]</TD><TD align=middle width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นี้คำว่าสังขารมันคืออะไรบ้าง ก็ลองคิดดู ยกเว้นพระนิพพานเสียอย่างเดียว แล้วก็ไม่มีอะไรที่มิใช่สังขาร : มีชีวิตก็ดี ไม่มีชีวิตก็ดี อยู่ภายในตัวเราก็ดี, อยู่ภายนอกตัวเราก็ดี สิ่งที่เป็นเหตุก็ดี สิ่งที่เป็นผลก็ดี, สิ่งที่เป็นกรรมก็ดี เป็นผลกรรมก็ดี, จะไม่ยกเว้นอะไรเลย ก็ล้วนแต่เรียกว่าสังขาร.
    ทีนี้ การกล่าวไว้ในที่ต่าง ๆ นั้น ทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้; เช่น คำในปฏิจจสมุปบาท มีถึง ๑๒ คำ มีคำว่าสังขารรวมอยู่ด้วยคำหนึ่ง คือคู่แรกว่า อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร, สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ, วิญญาณให้เกิดนามรูป เป็นถึง ๑๒ อาการ แต่มีคำว่าสังขารอยู่คำเดียวใน ๑๒ อาการนั้น. แต่โดยที่แท้แล้วทั้ง ๑๒ อาการนั้นก็เป็นสังขาร; ปฎิจจสมุปบาททั้ง ๑๒ อาการนั้นก็เป็นสังขาร คือสิ่งปรุงและถูกปรุง สิ่งซึ่งเป็นผู้ปรุง และสิ่งที่ถูกปรุง ทั้ง ๑๒ อาการเป็นอย่างนั้น. อวิชชาก็ดี สังขารก็ดี วิญญาณก็ดี นามรูปก็ดี อายตนะก็ดี ผัสสะก็ดี เวทนาก็ดี ตัณหาก็ดี อุปาทานก็ดี ภพก็ดี ชาติก็ดี ความทุกข์ทั้งปวงก็ดี ทั้งหมดนี้ เป็นสังขารทุกอย่างเลย แต่มีการเอ่ยถึงคำว่าสังขารเพียงคำเดียว คือคำที่สอง.
    คนที่เรียนไม่ดี หรือว่าไม่รู้ ก็จะคิดไปว่า สังขารมีแต่อย่างเดียวคือข้อที่ ๒, ที่จริงทั้งหมดนั้นเรียกว่าสังขาร; แต่ท่านไปใช้คำว่าสังขารแก่อาการที่ ๒ คืออำนาจการปรุงแต่ง อวิชชาทำให้เกิดอำนาจการปรุงแต่ง คือสังขาร สังขารอำนาจการปรุงแต่งก็ทำให้วิญญาณทำหน้าที่เป็นจิต, จิตก็ปรุงแต่งนามรูป เกิดนามรูป เกิดอายตนะ เกิดผัสสะ เกิดเวทนา ไปตามลำดับ. นี่ขอเตือนให้ทราบว่า มีคำว่าสังขารเพียงคำเดียว เรียกชื่อว่าสังขารเพียงคำเดียว ในหมู่สังขารคือ ๑๒ ชนิด.
    ทีนี้จะมาดูที่เบญจขันธ์ ขันธ์ ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, มีสังขารอยู่คำเดียว คือคำที่ ๔; แต่ว่าทั้ง ๕ ขันธ์ ขันธ์ทั้งห้านั้นเป็นสังขารทั้งนั้น : รูปก็เป็นสังขาร คือการถูกปรุงแต่ง, คือสิ่งที่ถูกปรุงแต่ง, เวทนา ก็คือสังขารถูกปรุงแต่ง, สัญญาเป็นสังขารถูกปรุงแต่ง, สังขารก็คือตัวสังขาร เป็นความคิดคิดปรุงแต่ง, วิญญาณก็เป็นตัวสังขาร เพราะมันเป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่ง. นี่ ขอให้เข้าใจว่าทั้ง ๕ ขันธ์นั่นแหละเป็นสังขาร แต่มีคำ ๆ เดียวเรียกชื่อว่า สังขาร เป็นคำที่ ๔ อยู่ในขันธ์ห้า; อย่างนี้ก็ทำให้คนเข้าใจผิดได้แล้วว่า สังขารมีอยู่อย่างเดียวในขันธ์ทั้งห้า, โดยไม่ได้เฉลียวว่า ทั้งห้านั้นมันก็เป็นสังขารเสมอกันหมด. คำกล่าวในภาษาบาลี มีความยุ่งยากอย่างนี้, ถ้าศึกษาไม่ดีก็ฉงน หรืองง หรือเข้าใจไม่ได้ หรือเข้าใจผิดเอาทีเดียว.
    ทีนี้ก็จะมาดูให้ละเอียดลงไปถึงคำว่าสังขาร, สังขาร โดยพยัญชนะ โดยคำพูดในภาษาบาลี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครั้งพุทธกาล. คำว่าสังขารนั้นเป็นภาษาบาลี ถ้าแปลเป็นภาษาไทยเรา อย่างถูกต้องที่สุดแล้ว ก็ต้องแปลว่าปรุง สังขารคืออะไร? สังขารคือสิ่งที่ปรุง สิ่งที่ถูกปรุง การปรุง อำนาจแห่งการปรุง สิ่งกระตุ้นให้เกิดการปรุง; เหล่านี้มันเป็นการปรุง. คำว่าปรุงคือทำอย่างไร? นี้เอาภาษาธรรมดาชาวบ้านก็ได้ ปรุงคือเอาของหลาย ๆ อย่างมารวมกันเข้า แล้วให้เกิดของใหม่ขึ้นมา; เช่นปรุงอาหารเป็นต้น, ในครัวปรุงอาหารจะเป็นแกงสักอย่างหนึ่ง มันก็มีหลายอย่างมารวมกันเข้าด้วยวิธีปรุง ก็เกิดเป็นแกงขึ้นมา. คำว่าปรุงนั่นน่ะคือสังขาร คำว่าสังขารคือปรุง จะเล็งถึงการปรุงก็ได้ สิ่งที่ถูกปรุงก็ได้ สิ่งที่ปรุงสิ่งอื่นก็ได้ มันทำหน้าที่พร้อม ๆ กันไป.
    ยกตัวอย่างในร่างกายเรานี้. ร่างกายเราคน ๆ หนึ่งนี้ ให้ดูให้ดีเถอะมีสังขาร คือการปรุง, ในร่างกายนี้มีการปรุงกันอยู่เรื่อย นั่นปรุงนั่น นี่ปรุงนี่ จนเกิดเป็นอะไรต่าง ๆ ขึ้นในร่างกาย หลายสิบระบบ เรียกว่ามีการปรุง. ทีนี้บางอย่างมันทำหน้าที่ปรุงสิ่งอื่น มันก็มีอยู่ เช่นว่าตับ ไต มันจะปรุงอะไรออกมา มันก็เป็นผู้ปรุง, มันปรุงอะไรออกมา ปรุงเป็นน้ำดี, ปรุงเป็นน้ำเหลืองน้ำหนองออกมา ก็คือสิ่งที่ถูกปรุง, มีอำนาจกระตุ้นให้เกิดการปรุง, มีการปรุง มีวิธีปรุง มีสิ่งที่ถูกปรุง มีสิ่งที่ปรุงสิ่งอื่น. ในร่างกายของเรานี้เต็มไปด้วย สิ่งที่เรียกโดยภาษาบาลีว่า สังขาร ยุบยิบ ไปหมด ไม่รู้กี่สิบเรื่อง กี่ร้อยเรื่อง นั่นน่ะเรียกว่าปรุง.
    ทีนี้ถ้าเราดูข้างนอก ในสากลโลกนี้ มันก็มีแต่การปรุงอยู่เรื่อย; แสงแดดปรุงอะไร น้ำปรุงอะไร ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ปรุงอะไร แล้วไม่ใช่ปรุงแล้วหยุดมัน ปรุงต่อ ๆ ๆ ๆ กันไป ในลักษณะที่ว่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งกันและกัน : มีเมฆฝนแล้วก็ต้องทำให้มีฝนตกลงมา ฝนตกลงมาก็ทำให้แผ่นดินมันเปียกชื้น หรือว่ามันจะทำให้ถนนลื่น ทำให้แผ่นดินเปียกชื้น, มันก็เกิดสัตว์ เกิดพืชพันธุ์ เกิดอะไรต่าง ๆ กระทั่งว่าเป็นที่อยู่อาศัยแห่งปลา แล้วก็มีอะไรต่าง ๆ ในน้ำ. หรือว่าทางหนึ่งมันทำให้ถนนลื่น คนมันล้มลงศีรษะแตก แล้วมันต้องไปหาหมอ, หมอก็ต้องทำงาน การทำงานของหมอก็ยุ่งกันไปหมด. นี้เรียกว่ามันปรุงทยอยกันเป็นลำดับ ๆ เรียกว่าปรุงก็แล้วกัน.
    ดูให้ดีจะพบว่า มันทำหน้าที่ปรุงแล้ว ยังถูกปรุงด้วย มันปรุงให้เกิดขึ้นมา มันถูกปรุงให้เกิดขึ้นมา แล้วมันยังจะปรุงสิ่งอื่นต่อไป; อย่างนี้ทั้งนั้นแหละ เช่นว่าปรุงให้เกิดเป็นต้นไม้ขึ้นมา, ต้นไม้ก็ปรุงให้เกิดสิ่งอื่นต่อไปอีก, ปรุงให้เกิดเป็นสัตว์ขึ้นมา, สัตว์ก็ปรุงแต่งสิ่งอื่นต่อไปอีก เป็นสายติดต่อกันไปยืดยาว เรียกว่าเหลือที่จะกำหนด; ถ้ามีสติปัญญามองเห็น ก็จะมองเห็นว่า สังขารเป็นอย่างนี้. คำว่าการปรุงเป็นคำพูดสั้น ๆ, แต่การกระทำของมันนั้นมหาศาลเต็มไปทั้งจักรวาล, หรือจะเรียกว่าเต็มไปทั้งโลกธาตุหมดทุก ๆ จักรวาล มีแต่การปรุง.
    ขอให้คิดดูว่า คำว่าปรุง หรือคำว่าสังขาร เพียงคำเดียวนั้นมันหมายถึงทุกสิ่งอย่างไร, และมีอยู่อีกสิ่งเดียวเท่านั้นคือ สิ่งที่ตรงกันข้าม คือไม่ปรุง, สิ่งนั้นอธิบายยากหน่อย แต่ก็พอจะเข้าใจกันได้.



    [SIZE=+1]การปรุงเป็นเรื่องของธรรมชาติ.[/SIZE]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=70 bgColor=#fff8f0>[SIZE=+5]สั[/SIZE]</TD><TD align=middle width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    งขารแปลว่าปรุง คือทำหลายสิ่งให้เกิดขึ้น เป็นสิ่งใหม่เรื่อยไป เรียกว่าปรุง ๆ เป็นลักษณะเฉพาะของธรรมชาติ, แล้วก็ปรุงโดยธรรมชาติ แล้วก็ปรุงเพื่อธรรมชาติก็ได้ มันเป็นหน้าที่ หรือเป็นกิริยาอาการของธรรมชาติฝ่ายสังขตะ. ธรรมชาติทางฝ่ายสังขตะคือ ปรุงเรื่อย, ธรรมชาติทางฝ่ายอสังขตะ ไม่มีการปรุง แต่นั้นมันมีแต่นิพพานอย่างเดียว, นอกจากนั้นมันมีการปรุง. เพราะฉะนั้นธรรมชาติ ทั้งหลายจึงเป็นการปรุง ปรุงให้เกิดสิ่งที่เรานับไม่หวาดไหว นับไม่ถ้วน มันเป็นการกระทำของธรรมชาติ แล้วก็ทำโดยธรรมชาติ แล้วก็ทำเพื่อธรรมชาติ.
    ฟังดูคล้าย ๆ กับระบบประชาธิปไตยของคนสมัยนี้ แต่ที่จริงมันไม่ใช่; ไม่ใช่ระบบประชาธิปไตย แต่มันจริงกว่า : ของธรรมชาติ โดยธรรมชาติ เพื่อธรรมชาติ; นี้จริงกว่า ที่จะพูดว่า ของประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชนนี้มันโกหกเสียโดยมาก, แต่ถ้าว่าเรื่องของธรรมะนี้แล้ว มันจริงโดยส่วนเดียว มันเป็นการปรุงของ ธรรมชาติ เพื่อธรรมชาติ โดยธรรมชาติ อย่างนี้เรื่อยไป.
    นี่เพื่อบอกให้รู้ว่า มันเป็นการปรุงของใคร. มันเป็นการปรุงของธรรมชาติ เป็นลักษณะเฉพาะของธรรมชาติ ซึ่งจะมีการปรุง มันก็มีผลขึ้นมา. ขอให้มองให้เห็น จนเข้าใจได้ว่า ถ้าไม่มีการปรุง ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น; ในสากลจักรวาลนี้ ถ้าไม่มีการปรุง ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น. เช่นใครจะเชื่อว่า มีดวงอาทิตย์ขึ้นมาก่อนสิ่งใด มันก็ต้องมีอะไรปรุงดวงอาทิตย์ขึ้นมา ก็คือธรรมชาติ เพื่อธรรมชาติ โดยธรรมชาติ มันปรุงดวงอาทิตย์ขึ้นมา, แล้วดวงอาทิตย์ก็ปรุงต่อไป ให้เกิดอะไร ๆ ขึ้นมา. อย่างที่เขาเชื่อว่า ออกมาเป็นโลกนั้นโลกนี้ กระทั่งว่าเป็นโลกเรา, แล้วในโลกเราปรุงอะไรขึ้นมา ก็ดูเอาเองก็แล้วกัน ไม่มีปัญญาจะแจกแจงจาระไน รู้ได้แต่เพียงว่า มันเป็นการปรุง มาตามลำดับ.
    ทีแรกก็มีดวงไฟ แล้วเย็นลง แล้วก็เป็นสิ่งที่มีชีวิต, แล้วก็เป็นพืชพันธุ์พฤกษชาติ. เป็นสัตว์ เป็นคน เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา แล้วแต่จะมี, มันล้วนแต่เป็นกระแสแห่งการปรุง เป็นผลแห่งการปรุง. จนเราพูดได้ว่า ถ้ามันไม่มีการปรุง มันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมา แม้แต่ดวงอาทิตย์นั้นแหละ. ถ้ามันไม่มีกฎเกณฑ์แห่งการปรุงของธรรมชาติแล้ว แม้แต่สิ่งที่เรียกว่าดวงอาทิตย์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ถือว่า เป็นต้นตอแห่งสิ่งทั้งปวง มันก็ไม่ได้เกิดขึ้น, แล้วอะไร ๆ มันก็ไม่ได้เกิดขึ้น. นี้เราจะพูดกันให้ละเอียดไปว่า อะไรปรุงดวงอาทิตย์ มันก็ลำบาก มันก็เสียเวลาไม่คุ้มค่า เพราะเรามองเห็นได้แล้วว่า มันต้องมีการปรุง.



    [SIZE=+1]การปรุงเป็นความทุกข์ อยู่ในตัวเอง.[/SIZE]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=70 bgColor=#fff8f0>[SIZE=+5]ที[/SIZE]</TD><TD align=middle width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นี้เราจะดูที่การปรุง ซึ่งเป็นตัวปัญหา ที่ทำให้เกิดความทุกข์; ถ้าไม่มีการปรุงก็ไม่มีการเกิด. นี่พูดได้ว่า ถ้าไม่มีการปรุงก็ไม่มีการเกิด; โดยทางวัตถุนี้ ถ้าไม่มีการปรุงก็ไม่มีเกิดสัตว์ คน สิ่งของอะไร, ทางจิตใจถ้าไม่มีการปรุง ก็ไม่เกิดจิตวิญญาณ ไม่เกิดสัตว์คนอะไร, ถ้าไม่มีการปรุงก็ไม่มีการเกิด.
    เดี๋ยวนี้มันมีสิ่งที่มีอำนาจการปรุง ถ้าทางวัตถุก็มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ มีเหตุปัจจัยที่ปรุง ปรุงดิน น้ำ ลม ไฟ ให้เป็นนั่นเป็นนี่มากมายเหลือประมาณ. ทีนี้ทางภายใน ทางจิตใจ คือสิ่ง ที่รู้สึกได้ มันก็มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำหรับจะรู้สึก, ที่นั่นมีจิตสำหรับทำความรู้สึก, มันก็มีอารมณ์สำหรับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ. เมื่อมีการเสวยอารมณ์ เพราะมีอารมณ์ก็มีการเสวยอารมณ์; เพราะมีการเสวยอารมณ์มันก็เกิดเป็นผลขึ้นมา, เช่น เป็นกิเลสโดยเฉพาะ–เกิดกิเลสแล้วก็ให้ทำกรรม–มีการกระทำไป ตามอำนาจของกิเลส–ก็เกิดผลกรรม–เกิดสุขเกิดทุกข์–เกิดปรุงแต่งต่อไปอีก.
    เพราะว่าอยากได้สุข ไม่อยากได้ทุกข์ ก็ทำกันต่อไปอีก, เป็นกระแสแห่งการปรุง, ผลปรากฏออกมาอย่างที่เห็นอยู่ ความสุขความทุกข์ ของคนของสัตว์ หรือว่าตัวสัตว์ คน พืชนั่นเอง, กระทั่งว่าเป็นโลกนี้ แล้วเป็นหลาย ๆ โลก เป็นจักรวาลหรือหลาย ๆ จักรวาล เป็นโลกธาตุ, มันก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีการปรุง. เนื้อแท้ตัวแท้ของมันก็คือการปรุง, ไม่ใช่การหยุดนิ่ง เพียงแต่ละเอียดที่ตาเรามองไม่เห็น หรือเราไม่ฉลาด. เราไม่มองเห็นว่า ทุกสิ่งนี้มันปรุงกันอยู่เรื่อย หรือมันไหลไปเรื่อยในกระแสแห่งการปรุง.
    นี่สังขารเป็นอย่างนี้ สังขารคือการปรุง, หยุดการปรุงเสียเมื่อไร ก็จะไม่มีความทุกข์ เราไม่ต้องตาย คือหยุดการปรุงแต่งภายในจิตใจ ได้รับอารมณ์ เสวยอารมณ์ ก็ไม่ปรุงแต่งให้เกิดเวทนา ที่ยินดียินร้าย มันก็ไม่มีเรื่อง. ถ้ามีปัญญาหยุดเสียได้, ไม่ปรุงแต่งความยินดียินร้าย มันก็หยุดเสียได้ มันก็ไม่มีความทุกข์. ถ้าหยุดไม่ได้ มันเกิดความยึดมั่นถือมั่น ในความสุขและความทุกข์ มันก็ต้องเป็นทุกข์ เพราะการยึดมั่นถือมั่น, จึงกล่าวได้ว่า การปรุงนั้นเป็นความทุกข์อยู่ในตัวมันเอง. ในตัวการปรุงอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น มีความทุกข์อยู่ในตัวมันเอง; เพราะว่าถ้ามีการปรุงมันก็ไม่มีอิสรภาพ ไม่มีเสรีภาพ เพราะมันถูกปรุง ปรุงมันก็เปลี่ยน.
    การปรุงมันก็คือการเปลี่ยน, มีแต่กระแสแห่งการเปลี่ยนไหลไป; นี่เรียกว่าไม่มีอิสรภาพ. ดังนั้นมันจึงเป็นความทุกข์อยู่ในการปรุง หรือการถูกปรุง, จึงมีพระบาลีว่า สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา –การปรุงเป็นทุกข์อย่างยิ่ง, ท่านตรัสไว้อย่างนี้; ถ้าไม่มีการปรุง จะไม่มีความทุกข์เลย. สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา –การปรุง หรือสิ่งปรุงหรือของปรุง โดยสรุปแล้วก็คือ การปรุงเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ในทุกความหมายแหละ, การปรุงนี้เป็นทุกข์ในทุกความหมาย.
    คำว่าทุกข์ ทุกข์นี้มีหลายความหมาย : ความหมายที่ ๑ คำว่า ทุกข์ในความหมายทั่วไป ก็คือเจ็บปวด. ทุกข์ในความหมายที่ ๒ ก็คือมองดูแล้วมันน่าเกลียด น่าชัง, สิ่งอะไรที่มองดูแล้วเห็นว่ามันปรุงแต่งเรื่อย เปลี่ยนแปลงเรื่อย ไหลเรื่อย ก็เรียกว่ามันน่าเกลียด. แม้ก้อนหินก้อนนี้ ถ้าดูเป็น เห็นการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยในก้อนหินนี้ คือหลอกลวงอยู่เรื่อย, คือมันเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ก็เรียกว่ามันน่าเกลียด. คำว่าทุกข์นี้แปลว่าดูแล้วน่าเกลียด อย่างนี้ก็มี.
    คำว่าทุกข์ ความหมายที่ ๓ แปลว่า มันว่างอย่างน่าเกลียด, คือมันว่างจากสิ่งที่ควรจะยึดถือว่าตัวตน, มันไม่มีเลย มันไม่มีสาระที่ควรจะยึดถือว่าตัวตนเลย. นี้เรียกว่าว่างอย่างน่าเกลียด ก็เรียกว่าทุกข์เหมือนกัน. อย่างน้อยความทุกข์ก็มี ๓ ความหมาย : ว่าเจ็บปวดทนทรมานนี้อย่างหนึ่ง, ดูแล้วน่าเกลียด น่าชังนี้อย่างหนึ่ง, แล้วมันว่างจากสาระอย่างน่าเกลียด นี้อีกอย่างหนึ่ง.
    สังขารทั้งหลายเป็นอย่างนี้ : สังขารที่มีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึกคิดนึกได้ ก็มีความทุกข์ชนิดที่เจ็บปวด. นี้สังขารที่ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่มีความรู้สึกได้ เช่นก้อนหินอย่างนี้ มันก็มีลักษณะที่ดูแล้วน่าเกลียด. ทีนี้สังขารมีชีวิตหรือสังขารไม่มีชีวิตก็ตาม มันว่างจากสาระที่ควรจะเรียกว่าตัวตน, ไม่มีความหมายแห่งตัวตนด้วยกันทั้งนั้น จึงเรียกว่ามันว่างอย่างน่าเกลียด.
    นี่ขอช่วยกำหนดจดจำไว้ เป็นหลักเกณฑ์สำหรับศึกษาเรื่องความทุกข์ ว่าสังขารที่มีชีวิตจิตใจ มันมีความทุกข์อย่างเจ็บปวด ทนทรมาน แม้แต่การดำรงชีวิตอยู่นี้มันก็ต้องทนทรมาน. ทีนี้สังขารที่ไม่มีชีวิตจิตใจ มันก็เป็นสิ่งที่ดูแล้วมันน่าเกลียด เรียกว่าเป็นทุกข์เพราะดูแล้วน่าเกลียด. แล้วทั้งชนิดที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตนี้ มันว่างจากตัวตน, ว่างจากสิ่งที่ควรเรียกว่าตัวตน.
    ตัวตนนั้นจิตมันนึกเอาเอง, มันสำคัญเอาเอง, มันเข้าใจผิดเอา เอง, เพราะจิตมันยังประกอบด้วยอวิชชา จิตจึงหมายมั่นสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นตัวตน เป็นของตน. แล้วจิตนี้ก็ต้องทนทุกข์ทรมาน เพราะไปหมายมั่นอะไรว่าเป็นตัวตนเข้า, อย่างน้อยก็ต้องยึดถือว่าเป็นตัวตน มันก็เหมือนกับแบกของหนัก ก็เป็นทุกข์. เมื่อไปยึดมั่นสิ่งใดเข้าโดยความเป็นตัวตน มันก็ต้องเป็นทุกข์ เพราะว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปในอำนาจของใคร, สิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปในอำนาจของจิต. ดังนั้นจิตก็ต้องเป็นทุกข์ เพราะว่าสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต. เพราะไปยึดถือเข้าจึงเป็นทุกข์. การปรุงเป็นทุกข์อยู่ในการปรุงเช่นนี้.



    [SIZE=+1]ฝ่ายวิสังขาร ไม่มีการปรุง.[/SIZE]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=70 bgColor=#fff8f0>[SIZE=+5]ที[/SIZE]</TD><TD align=middle width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นี้ดูในทางฝ่ายตรงกันข้าม คือไม่ปรุง ปราศจากการปรุง ไม่มีการปรุงเรียกว่า วิสังขาร, เติมตัว วิ เข้าไปข้างหน้าพยางค์หนึ่งเท่านั้น. สังขาร แปลว่าการปรุง วิสังขาร แปลว่าปราศจากการปรุง; นั่นแหละเป็นนิโรธธาตุ เป็นนิพพานธาตุ หรืออสังขตธาตุ, แปลว่าธาตุที่ไม่มีการปรุง, ธาตุเป็นที่ดับเย็น ไม่มีการปรุง. ท่านจึงกล่าวเป็นหลักว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ–นิพพานว่างอย่างยิ่ง เพราะไม่มีการปรุง.
    นิพพานคือวิสังขาร คือไม่มีการปรุง; ฉะนั้นจึงว่างอย่างยิ่ง ว่างจากกิเลส ว่างจากความทุกข์ ว่างจากความยึดถือ ก็เลยว่างจากสิ่งที่มันเป็นปัญหา; แต่มันไม่ใช่ไม่มีอะไร มันก็มีความว่างนั่นแหละเป็นตัวธรรมะ, และก็มีบาลีตรัสว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ นี้ พูดภาษาชาวบ้าน พูดให้ชาวบ้านสนใจก็พูดว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง; เพราะพวกชาวบ้านเขาชอบความสุข, จะพูดว่านิพพานเป็นที่สุดแห่งความทุกข์ ชาวบ้านไม่สนใจ ฟังดูคล้าย ๆ กับจะไม่มีประโยชน์อะไร; แต่ถ้าพูดว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ชาวบ้านเขาสนใจ. ดังนั้นในบางคราวพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง; แต่นับว่าน้อยมาก แทบจะหาไม่ค่อยพบ พบแห่งสองแห่ง แต่ที่ตรัสว่า นิพพานเป็นที่สุดแห่งความทุกข์ นี้เต็มไปหมด ทั่วไปหมดในพระคัมภีร์; นั่นพูดความจริง ภาษาธรรม.
    ผู้รู้ ว่านิพพานเป็นที่สุดแห่งความทุกข์ คือการไม่ปรุง หยุดปรุงเป็นที่สุดแห่งความทุกข์. แต่ถ้าพูดให้ชาวบ้านสนใจ ก็ต้องพูดว่า นิพพานหรือไม่ปรุงนี้เป็นสุขอย่างยิ่ง; เพราะคนทั่วไปเขารู้จักความสุข เขาชอบความสุข เขาพอใจในความสุข, เมื่อพูดว่าเป็นสุขอย่างยิ่งเขาก็สนใจ และพอใจแล้วก็ติดตาม; ถ้าติดตามแล้วปฏิบัติไป ๆ ก็จะพบว่า โอ, ไปสู่ความไม่ยึดถืออะไร คือไม่ปรุงอะไร, แล้วก็ไม่มีความหมายแห่งความทุกข์หรือความสุขด้วยซ้ำไป, มันว่างไปเสียเลย ไม่มีทั้งความสุข ไม่มีทั้งความทุกข์ เพราะว่ามันไม่มีการปรุง.
    ขอให้จับหลักให้ได้ว่า การปรุงเป็นความทุกข์อยู่ในตัวการปรุงนั้นเอง, คือมันยุ่งสับสนวุ่นวาย ให้เกิดการเจ็บปวดแก่สิ่งนั้น ถ้ามันมีชีวิตจิตใจ, หรือให้เกิดอาการที่น่าเกลียดอยู่ในสิ่งนั้น แม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่มีชีวิตจิตใจ. นี่สังขารทั้งปวง คือของปรุง แล้วเป็นทุกข์อยู่ในตัวการปรุงนั้นเอง.



    [SIZE=+1]การปรุงมีได้เพราะอำนาจอวิชชา.[/SIZE]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=70 bgColor=#fff8f0>[SIZE=+5]ที[/SIZE]</TD><TD align=middle width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นี้ดูกันสักนิดหนึ่งว่า การปรุงมีได้เพราะอะไร? มีได้เพราะอวิชชานี้เป็นการตรัสสำหรับคนเรา, ในระดับมนุษย์เราคนเรา ที่มีการปรุงนั้น มันเพราะอำนาจอวิชชา. คนเราเกิดมาแล้ว เป็นคนแล้ว เป็นมนุษย์แล้ว มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วมีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มาสัมผัสอยู่เสมอแล้ว; แต่มีอวิชชา มันไม่รู้ตามที่เป็นจริง; พอรูปมา กระทบตา เสียงมากระทบหู กลิ่น มากระทบจมูก เป็นต้น, มันก็เกิดการปรุงด้วยอวิชชา คือปรุงไปในทางให้เกิดกิเลสตัณหาและเป็นทุกข์. นี่ การปรุงที่เป็นตัวปัญหา สำหรับมนุษย์จะเป็นทุกข์นั้น มันมีด้วยอำนาจอวิชชา.
    บางคนอาจจะถามต่อไปว่าที่ไม่ใช่ของคน ที่เป็นของสัตว์ วัตถุ ก้อนหินอย่างนี้เป็นต้น มันปรุงด้วยอะไร? นี้มันก็ตอบยาก; แต่ก็ต้องตอบว่ามันเป็นเรื่องของธรรมชาติอย่างนั้นเอง ซึ่งเรารู้ไม่ได้, เป็นอวิชชาของเราที่รู้ไม่ได้ ว่าทำไมธรรมชาติมันจึงมีหน้าที่ปรุง หรือ-ปรุงโดยธรรมชาติ เพื่อธรรมชาติ หรือปรุงของธรรมชาติ; ก็เพราะว่าในธรรมชาตินั้น มันยังปราศจากวิชชา, มีแต่อวิชชา.
    ในธรรมชาติ ตามธรรมชาติ มันไม่มีวิชชา เพราะมันไม่ได้อบรม เพราะมันไม่อาจจะอบรม มันจึงเปลี่ยนแปลงเรื่อย, เปลี่ยนแปลงเรื่อย ด้วยอำนาจของสิ่งที่เรียกว่าอวิชชา. อวิชชาในลักษณะอย่างนี้ ควรจะแปลว่า สิ่งที่เราไม่รู้จักมันจะเรียกว่าอะไรก็ไม่ทราบ, เรียกมันก็มีแต่ยุ่ง จะเรียกว่าพระเจ้า หรือจะเรียกว่าอะไรก็จะถูกทั้งนั้นแหละ, คือมันปราศจากวิชชา, มันไม่มีวิชชาในสิ่งเหล่านั้น มันจึงเปลี่ยนเรื่อยด้วยการปรุง, ปรุงเรื่อยจนมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อย, ไม่ได้เป็นสัตว์ ไม่ได้เป็นคนคิดนึกอะไรไม่เป็น แต่มันก็เปลี่ยนเรื่อย คือปรุงเรื่อย.
    ก้อนหินก้อนนี้เมื่อก่อนมันอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ อยู่ที่เป็นตัวภูเขาข้างบนโน้นแหละ, แล้วมันค่อย ๆ มาอยู่ที่ตรงนี้ทีหลัง. อะไรทำให้มันอยู่ที่นี่? มันก็คือการปรุงของธรรมชาติ ฝน ฟ้า อากาศ พายุ มันก็แยกตัวออกมา เป็นก้อนหินก้อนนี้ มาวางอยู่ที่นี่อย่างนี้ เป็นต้น. แม้ธรรมชาติที่ไม่มีชีวิตจิตใจ มันก็มีการผลักไสปรุงแต่ง อยู่ในตัวมันเอง, ไม่เท่าไรก้อนหินก้อนนี้ ก็จะสลายออกไปเป็นกรวด ทราย กระทั่งเป็นขี้ฝุ่นไปในที่สุด, แล้วมันจะไปเป็นอะไรต่อไปข้างหน้าอีก เราก็ไม่ต้องรู้ต้องเรียนละ.
    พวกนักวิทยาศาสตร์เขารู้ ว่าฝุ่น หิน ตะกอน โคลน เหล่านี้ มันจับตัวเป็นก้อนหิน, แล้วมันสลายตัวเป็นฝุ่น เป็นดิน เป็นโคลน แล้วมันจับตัวเป็นก้อนหิน, ที่ตรงโน้นมีอยู่ก้อนหนึ่ง เรียกว่า sedimentary rock (หินตะกอนอยู่ตามใต้น้ำ) จะเห็นว่ามีหินหลาย ๆ ชนิด ก้อนเล็กก้อนน้อยรวมกันอยู่ในนั้น เพราะมันเคยสลายตัว แล้วจับกลุ่มกันใหม่, แล้วสลายตัว แล้วจับกลุ่มกันใหม่, จนปนกันอยู่ได้หลายชนิด. นี้ใครทำ, พระเจ้าหรือใครทำ? ถ้าเชื่อพระเจ้าก็ว่าพระเจ้าทำ, แต่ถ้าไม่เชื่อพระเจ้า ก็คือธรรมชาติมันทำ.
    สรุปความว่า การเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่มีชีวิต ก็มีเรื่อยไป คือการปรุงไปตามแบบของสิ่งที่มีชีวิต, นี้การเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่ถึงขนาดที่เป็นชีวิต มันก็มีเรื่อย, ปรุงแต่งเรื่อยไป ตามแบบของที่สิ่งที่ไม่มีชีวิต; เราเรียกว่า ด้วยอำนาจของอวิชชา คืออำนาจของสิ่งที่ไม่มีวิชชา ไม่มีความรู้.
    สำหรับมนุษย์นี้ มีคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ อย่างน่าประหลาดน่าสนใจอย่างยิ่ง คือว่า มันไม่มีความรู้เรื่องเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุต มาแต่ในท้อง, เด็กทารกมันไม่มีความรู้เรื่องเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ มาแต่ในท้อง คือมันมีอวิชชา, มันไม่มีวิชชา. ไม่รู้เรื่องเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ก็คือมันไม่รู้ว่า ถ้าไปปรุงเข้าแล้วมันจะเป็นทุกข์, ถ้าไปปรุงเข้าแล้วมันจะเป็นทุกข์. แต่ว่าหยุดการปรุงเสียด้วยอำนาจของเจโต คือจิตก็ได้, หรือจะหยุดอำนาจการปรุงเสียด้วยอำนาจปัญญาก็ได้ เรียกว่าปัญญาวิมุติ.
    เด็กทารกอยู่ในท้อง ไม่มีความรู้เรื่องเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ แล้วมันก็ปรุงกันมาเรื่อย, คลอดออกมาก็ยังปรุงเรื่อย, ออกมาเป็น เด็กทารก วัยรุ่น หนุ่มสาว แก่เฒ่าแล้ว มันก็ยังปรุงอยู่เรื่อย, เพราะมันขาดความรู้เรื่องเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ. ความขาดความรู้เรื่อง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ นั่นแหละ คือตัวอวิชชา; แล้วมันเป็นเกลอกัน มาเรื่อยด้วยอวิชชา, มันจึงมีการปรุงแต่งเรื่อย แล้วมีความทุกข์อยู่ในการปรุงแต่งนั้นเอง, อย่างน้อยก็เพราะความเปลี่ยนแปลงนั้นเอง เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์.
    เราจะมองให้เห็นชัด โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้ ที่จิตยังไม่บรรลุนิพพานเดี๋ยวนี้มองไปทางไหน, มองไปทางไหน ก็ขอให้เห็นกระแสแห่ง การปรุง. มองไปที่ก้อนหิน ให้เห็นว่ามันมีกระแสแห่งการปรุงไหลเรื่อย, มองไปที่ต้นไม้ ก็เห็นกระแสแห่งการปรุง เปลี่ยนแปลงเรื่อย ไหลเรื่อย, มองไปที่คนด้วยกัน ก็เห็นเป็นการปรุงแต่งเรื่อย ไหลเรื่อย, มองไปที่สัตว์เดรัจฉาน ก็เห็นเป็นการปรุงแต่งเรื่อย ไหลเรื่อย.
    เดี๋ยวนี้เราไม่มีวิชชา ไม่มีปัญญามากพอจะเห็นอย่างนั้น เราจึงเห็นเป็นการหยุดบ้าง เป็นการเคลื่อนไหวบ้าง, เป็นการไปบ้าง เป็นการมาบ้าง เป็นการได้บ้าง เป็นการเสียบ้าง เป็นการได้กำไรบ้าง เป็นการขาดทุนบ้าง เป็นความร้อนบ้าง เป็นความหนาวบ้าง เป็นอะไรเป็นคู่ ๆ ไป, ล้วนแต่ให้เกิดความหมายแก่จิตใจที่จะยึดถือ. ฉะนั้น ขอให้ฉลาดตามรอยของพระพุทธองค์ สามารถมองไปทางไหนเห็นแต่กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง : มองไปข้างนอกทั่วไป ที่เห็นอะไรอยู่ด้วยตานี้ เห็นเป็นกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง ไหลเรื่อยไป เป็นการเปลี่ยนแปลง, มองเข้าไปข้างในในตัวเรา นี้ก็เห็นแต่กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง. นี่เรียกว่าจะมองกันข้างนอกหรือมองกันข้างใน มองของตัวเอง มองของผู้อื่น มองใกล้มองไกล มองของหยาบของละเอียดอะไรก็ตามมันล้วนแต่เป็นกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง.
    เราไม่มองเห็นกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง; แต่เรามองเห็นเป็นความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้เราเกิดความรู้สึก ๒ ประการ คือยินดี หรือ ยินร้าย, ถ้าสวยก็รัก ไม่สวยก็ไม่รัก, ถ้าไพเราะก็รัก ไม่ไพเราะก็ไม่รัก, ถ้าหอมก็รัก ถ้าเหม็นก็ไม่รัก, อยู่กันแต่อย่างนี้ แล้วก็มีการปรุงอยู่เรื่อย, เพราะเห็นอย่างนั้นจึงมีการปรุงเรื่อย, นับตั้งแต่ปรุงให้เกิดความรัก หรือความไม่รัก, แตกแขนงออกไปเป็น ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความวิตก กังวล อาลัย อาวรณ์ อิจฉา ริษยา หึงหวง ต่าง ๆ นานา ที่มันเกิดแก่จิตใจของมนุษย์, แล้วในที่สุดมันไปจบอยู่ด้วยเป็นโรคประสาทเกือบทั้งนั้น. ถ้าไม่รู้เท่าทันสิ่งเหล่านี้แล้ว มันก็จะไปจบลงด้วยความวิปริตทางจิตใจ นับตั้งแต่เป็นโรคประสาท ซึ่งเป็นกันมากขึ้นทุกที; เพราะว่าคนเหล่านี้ ไม่มีความรู้เรื่องเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติเสียเลย. หมอเขาบอกว่ามันเป็นโรคประสาทเพิ่มขึ้น ๆ เร็วมาก ไม่เหมือนแต่ก่อน; เพราะว่าเดี๋ยวนี้มันมีเรื่องยุยั่วให้ปรุงมากเกินไป, ฉะนั้น คนในโลกนี้ จะต้องเป็นโรคประสาทกันมากขึ้นทุกที. ควรจะเรียนเรื่องนี้กันเสียบ้าง ให้เห็นว่า มันเป็นการปรุงอย่างไร, แล้วอย่าเข้าไปเอากับมันอย่าไปติดพันกับมัน อย่าเข้าไปยึดมั่นถือมั่นกับมัน.
    นี่เราบอกให้ทุกคนมานั่งอยู่ในป่า ที่เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านี้ว่า ให้ได้รับความรู้จากสิ่งเหล่านี้ ซึ่งมันดูจะปรุงน้อยกว่าคนเรา; เช่นต้นไม้อย่างนี้ ต้นไม้มันบอกว่า หยุดกันเสียบ้าง, หยุดกันเสียบ้าง, อย่าวุ่นกันนัก อย่าปรุงกันนัก, หรือบางทีมันอาจจะใช้คำว่า อย่าบ้ากันให้มากนัก.ต้นไม้ก้อนหินนี้มันจะพูดว่า อย่าบ้ากันให้มากนัก, หยุด ๆ กันเสียบ้าง เย็น ๆ กันเสียบ้าง. แต่ว่าเราไม่ได้ยินต้นไม้พูด ก้อนหินพูด ว่าอย่ายุ่ง อย่าวุ่น อย่าปรุง อย่าบ้ากันนัก เราก็ไม่ค่อยได้ยิน.
    แต่ถึงอย่างไรก็ดี ขอให้สังเกตว่า ถ้าเรามานั่งอยู่กับก้อนหินหรือต้นไม้อย่างนี้ มันหยุดของมันเองไม่มากก็น้อย, มันเย็นของมันเองไม่มากก็น้อย, เข้าไปคบหาสมาคมกับต้นไม้ กับก้อนหิน หรือธรรมชาติล้วนนี้ดูเถอะ, จะรู้สึกว่ามันหยุดลงเอง, ชะงักลงเอง. ข้อนี้เป็นเหตุให้คนเขาต้องไปตรัสรู้กันในป่า ไม่มีศาสดาองค์ไหน ตรัสรู้ในมหาวิทยาลัย หรือในบ้านในเมือง.
    ศาสดาทุกองค์ไปตรัสรู้ในป่า ในที่เงียบสงบ ซึ่งมันมีลักษณะแห่งการหยุดเย็น หรือหยุดปรุง. พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ในป่า พระพุทธเจ้าประสูติในป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็ในป่า, พระพุทธเจ้าสอนอยู่เที่ยวอยู่ก็ในป่า, พระพุทธเจ้านิพพานลงก็ในป่า; เพราะว่าป่าตามธรรมชาตินั้น มันมีการปรุงน้อยกว่า มันแสดงให้เห็นการปรุงที่น้อยกว่า. ฉะนั้นเราไปคบหากับสิ่งเหล่านี้ เราจึงเย็น เราจึงสบาย.
    บางคนเดินบ่นว่า พอเข้ามาถึงที่นี่แล้ว รู้สึกเย็นสบายบอกไม่ถูก สบายอกสบายใจบอกไม่ถูก; นั่นคือเขาไม่รู้ว่า พอเขามานั่งอยู่กับ ก้อนหิน ต้นไม้เหล่านี้แล้วการปรุงมันลดลง; อำนาจแห่งการปรุงมันก็ลดลง. ฉะนั้นคนจึงรู้สึกสบาย หรือเย็นบ้างไม่มากก็น้อย; ไม่เหมือนอยู่ในบ้านเมืองอันวุ่นวาย มาอยู่กับป่าตามธรรมชาติ นี้มันจะรู้สึกหยุด เย็นลง. ฉะนั้นคนที่ชอบเที่ยวป่าก็มีเหตุผลอยู่ เพราะเที่ยวไปในป่านั้นมันหยุด มันเย็นลงได้โดยง่าย; ถ้าติดตามให้ต่อ ๆ ไปก็จะพบว่า โอ, มันเป็นทุกข์ร้อนก็เพราะว่ามันยึดมั่นถือมั่น มันปรุงแต่งมากเกินไป. ต่อไปนี้เราจะปรุงแต่งให้น้อย เราจะควบคุมการปรุงแต่ง ไม่ให้มีการปรุงแต่งมากมายด้วยอวิชชา; ประโยชน์ของการอยู่ป่ามันก็เกิดขึ้น เพราะอยู่ในที่ที่มันสอนการปรุงแต่งน้อย, ไม่เหมือนกับอยู่ในที่ที่มันยั่วยุแต่การปรุงแต่งเสียตลอดเวลา.



    [SIZE=+1]จิตที่มีอวิชชาเป็นแหล่งของการปรุง.[/SIZE]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=70 bgColor=#fff8f0>[SIZE=+5]ที[/SIZE]</TD><TD align=middle width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นี้มาดูกันถึง พูดอย่างภาษาธรรมดาหน่อย ภาษาวัตถุก็ว่า สำนักงานการปรุงมันอยู่ที่ไหน? ถ้าปรุงแกง สำนักงานการปรุงมันก็อยู่ในครัว, ทำขนมทำอาหาร ทำอะไร สำนักงานการปรุงมันก็อยู่ ในครัว. เดี๋ยวนี้สำนักงานการปรุงจนเกิดความทุกข์ เกิดปฏิจจสมุปบาทเกิดขันธ์เหล่านี้มันอยู่ที่ไหน? มันก็ตอบได้ว่ามันอยู่ในจิตในขอบเขตของจิต, ในมณฑลของจิต ชนิดที่ประกอบอยู่ด้วยอวิชชา. จิตที่ยังไม่รู้ จิตที่ยังโง่เขลา ยังมีอวิชชา มันมีขอบเขตอย่างไร ที่ไหน เท่าไร, ในขอบเขตนั้นแหละจะเป็นสำนักงานแห่งการปรุง. ถ้าจิตมันมีวิชชาเสียแล้ว มันไม่ปรุง, มันต้องเป็นเรื่องของจิตที่ยังไม่ มีวิชชา,หรือเป็นเวลาที่มันไม่อาจจะมีวิชชา.
    จิตของคนเรานี้ มีวิชชาก็ได้ ไม่มีวิชชาก็ได้; บางทีศึกษามีความรู้แล้ว แต่พอเอาเข้าจริง ความรู้ไม่รู้หายไปไหนหมด, ความรู้มาไม่ทัน สติไม่พอความรู้มาไม่ทัน, จิตชนิดนั้นก็เป็นจิตที่มีอวิชชาอยู่นั่นแหละ. อย่างว่าเคยเรียนพระไตรปิฎก อ่านรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา; แต่พอเอาเข้าจริง มันไม่มาเพราะสติมันไม่พอ มันไม่เอาความรู้เรื่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มาช่วยทันเวลา. จิตนี้ก็ต้องโง่ ปรุงต่อไปด้วยอวิชชา มันก็มีความทุกข์ได้ ทั้งที่เคยเล่าเรียนพระไตรปิฎกมา จึงพูดว่า ในมณฑลแห่งจิตที่ประกอบไปด้วยอวิชชานี้ คือสำนักงานแห่งการปรุง.
    แม้จิตในขั้นต้นที่เรียกว่า จิตประภัสสร จิตเริ่มแรกยังไม่ทันเกิดกิเลส, ในจิตประภัสสรนั้น ก็ยังมีโอกาสแห่งอวิชชา; เพราะจิตนี้ยังไม่เคยถูกฝึกเลย เปิดโอกาสให้อวิชชาเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้ ฉะนั้นแม้ในจิตประภัสสร ก็ยังเป็นสำนักงานแห่งการปรุง, จึงพูดว่า ในมณฑลแห่งจิตที่ปราศจากวิชชา มีแต่อวิชชา เป็นสำนักงานแห่ง การปรุง. ถึงแม้ภวังคจิต ที่เรียกกันว่าจิตล้วน ๆ ไม่มีอะไรเลยนี้ ก็ยังเป็น สำนักงานแห่งการปรุง; เพราะว่าภวังคจิตก็เปลี่ยนเป็นวิถี จิตเมื่อไรก็ได้ ตามที่อารมณ์มันมากระทบ. เมื่อจิตนั้นมันมีแต่อวิชชา มันก็เป็นสำนักงานแห่งการปรุงของใหม่ ๆ ออกมาได้ คือเป็นกิเลสและ ความทุกข์. ฉะนั้นขอให้ถือเสียว่า จิตที่ปราศจากวิชชา เป็นจิตที่มีแต่อวิชชานั่นแหละ เป็นโรงครัว สำหรับปรุงความทุกข์, ปรุงแต่งออกมาแต่ความทุกข์.



    [SIZE=+1]เครื่องประกอบในการปรุงมีอยู่แล้วในจิต.[/SIZE]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=70 bgColor=#fff8f0>[SIZE=+5]ที[/SIZE]</TD><TD align=middle width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นี้เครื่องประกอบในการปรุง เปรียบเสมือนหนึ่งว่าวัตถุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในห้องครัว, จะปรุงเป็นอะไรก็ได้นั้น เพราะมันมีอยู่ในโลกนี้ ในมณฑลของจิตนี้. มันก็เกี่ยวข้องกันอยู่กับสิ่งที่เป็นองค์ประกอบ เป็นส่วนประกอบ ที่โดยตรง ก็คืออารมณ์ ในภายในมีจิต, รอบจิตก็มีอารมณ์ ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่าอารมณ์, หรือว่าก่อนที่จะมีอารมณ์ มีอายตนะอยู่ก่อนแล้ว สำหรับจะรับอารมณ์.
    อายตนะข้างในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ, อายตนะข้างนอกคือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์; นี่เป็นสิ่งที่ทำให้อารมณ์เกิดมีความหมายหรือมีฤทธิ์เดชขึ้นมา. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้มันจะมาเป็นตัวเครื่องปรุง, ในชั้นแรกมันก็เป็นอารมณ์ : เมื่อกระทบทางอายตนะแล้ว มันเกิดผัสสะ ผัสสะนั้นจะเป็นเครื่องปรุง, หรือบางทีไปรู้สึกตัวเอาตอนที่เป็นเวทนาแล้ว : เวทนาสุข เวทนาทุกข์ เวทนาไม่สุขไม่ทุกข์แล้วมันก็เป็นเครื่องปรุง; ฉะนั้น อายตนะก็ดี อารมณ์ก็ดี ผัสสะก็ดี เวทนาก็ดี เป็นเครื่องปรุง.
    ถ้ามีความเชื่อเรื่องโลกอื่น ก็จะถือว่าผลกรรมในโลกอื่น ในชาติอื่นเป็นเครื่องปรุงอย่างนี้ก็ได้; แต่ไม่เป็นสันทิฏฐิโก, ที่มองเห็นได้เดี๋ยวนี้. แต่ถ้าเชื่อก็มีประโยชน์ทางศีลธรรม คนที่เขาเชื่อผลกรรม ในชาติก่อน มาช่วยทำให้ มาช่วยปรุงให้ดีหรือชั่วก็ดีเหมือนกัน, จะได้มีศีลธรรมแก่กล้า. แต่ถ้าพูดอย่างปรมัตถธรรมแล้ว ต้องเป็น สันทิฏฐิโก เห็นได้เองตรงนี้เฉพาะหน้าว่า อารมณ์เข้ามาปรุงอย่างไร, เกิดผัสสะปรุงอย่างไร, เกิดเวทนาปรุงอย่างไร, แล้วเกิดตัณหา เกิดอุปาทาน เกิดทุกข์ ปรุงอย่างไร, นี่คือการปรุง หรือเครื่องปรุง เครื่องประกอบการปรุง.
    ถ้าพูดให้เป็นวิทยาศาสตร์มากหน่อย ก็ต้องว่า เวลาด้วย อวกาศคือพื้นที่เนื้อที่ด้วย มันต้องมีขนาดแห่งเวลา มีขนาดแห่งเนื้อที่ ที่พอเหมาะสมพอดี มันจะปรุงออกมา เป็นความรู้สึกน่ารัก น่ายินดี น่าพอใจ. ถ้าเวลานานเกินไป มันก็ไม่สวย ไม่ไพเราะ ไม่น่ารัก ไม่น่าพอใจ ต้องเวลาก็พอดี รูปร่างหรือขนาดก็ต้องพอดี จึงจะเกิด เป็นอารมณ์ที่น่ารักน่าพอใจ. ฉะนั้นส่วนภายนอกโดยอ้อมไกลออกไป ต้องถือว่าอากาศ อวกาศ คือการกินเนื้อที่ก็ต้องพอดี, เวลาที่จะใช้ปรุงก็ต้องพอดี; เหมือนอย่างว่าจะต้มจะแกงนี้ ขนาดก็ต้องพอดี เวลาก็ต้องพอดี, มิฉะนั้นกับข้าวที่ทำขึ้นมานั้นอาจจะกินไม่ได้ก็ได้ ถ้าเวลามันเกินขนาดไป หรือขนาดมันเกินขนาดไปไม่พอดี.
    ฉะนั้นเราจะต้องถือว่า วัตถุก็มีความถูกต้องแห่งขนาด แห่งเวลาก็มีมารวมกันเข้าแล้ว ปรุงให้เกิดอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ซึ่งรวมเรียกกันง่าย ๆ ว่า กามคุณบ้าง กามารมณ์บ้าง, เพื่อให้เกิดรสในทางที่จะให้หลงรัก หลงพอใจ หลงยินดี. นี้คือผลของการปรุง ที่มันปรุงสำเร็จประโยชน์ สำหรับจะให้เกิดกิเลส, ส่วนการปรุงที่จะให้ไม่เกิดกิเลสนั้นมันไม่มี มันต้องไม่ปรุง มันจึงจะไม่เกิดกิเลส. ถ้ามีการปรุงแล้ว มันก็จะต้องเป็นกิเลสและเป็นความทุกข์ทั้งนั้นแหละ. ขอให้ช่วยระวังให้ดี ฉะนั้นอย่าไปหลงใหลกับมันนัก เรื่องสวยทางตา ไพเราะทางหู หอมทางจมูก อร่อยทางลิ้น นิ่มนวลทางผิวหนังหรือความรู้สึกที่กล่อมอารมณ์ทางจิตใจ; นี้อย่าไปหลงกับมันนัก มันจะปรุงชนิดที่นำไปสู่กองทุกข์.



    [SIZE=+1]กรรมวิธีของการปรุง.[/SIZE]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=70 bgColor=#fff8f0>[SIZE=+5]ที[/SIZE]</TD><TD align=middle width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นี้จะดูพฤติ พฤติหรือกรรมวิธีของการปรุง เอาเฉพาะมนุษย์เรากันดีกว่า สำหรับสิ่งที่ไม่มีชีวิต มันก็ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกันนัก. สำหรับมนุษย์เรา มันก็มีมาตั้งแต่ในท้อง, ตั้งปฏิสนธิในท้อง มีไข่ของมารดา มีเชื้อของบิดา ปรุงกัน. ตอนนี้ยังไม่ใช่จิต ยังไม่เป็นจิต ยังไม่มีความรู้สึกว่าตัวตน; แต่ก็เป็นการปรุงแล้ว, คือไข่ของมารดา กับเชื้อของบิดา ถึงกันเข้าด้วยการอยู่ร่วมกัน มันก็มีการปรุงแล้ว.
    ไข่นี้มันเจริญ ๆ เจริญจนเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณธาตุ, วิญญาณธาตุเข้าไปอาศัยได้ ในสังขารก้อนนี้ อ้าว, ทีนี้มันก็รู้สึกอะไรได้, แล้วมันก็ได้อาศัยธาตุครบทั้งหก : ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ฯลฯ จนมันตั้งต้นชีวิตทารกนิด ๆ ขึ้นมาในครรภ์, เป็นกลุ่มชีวิต ขึ้นมาในครรภ์, แล้วก็เจริญขึ้นด้วยความรู้สึก มีความรู้สึกมากออกไป เท่าไร ความเจริญทางจิตใจก็มากขึ้นเท่านั้น. นั่นแหละคือการปรุง, คือมันปรุงให้มากขึ้น ๆ ๆ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ปรุงเป็นดีขึ้น จิตวิญญาณก็ดีขึ้น การรวมหน่วยกันก็ดีขึ้น มันเลยเป็นทารกที่มีความรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้. ในที่สุดก็คลอดออกมาเป็นทารก นี่คือการปรุง จิตก็เจริญด้วยสิ่งที่เข้ามาแวดล้อม.
    ทารกนี้ไม่มีความรู้เรื่องเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ มาแต่ในท้อง; ฉะนั้นมันจึงคิดไปในทางที่จะให้เป็นทุกข์ เพราะมันไม่รู้ว่าเป็นทุกข์. ครั้นต่อมามันเกิดเป็นคน เป็นอะไรขึ้นมาแล้ว มันก็ปรุงไปแต่ในทางที่เป็นทุกข์ มันก็เป็นทุกข์–เป็นทุกข์–เป็นทุกข์, จนเป็นวัยรุ่นเป็น หนุ่มสาว เป็นพ่อบ้านแม่เรือน เต็มไปด้วยความทุกข์ เป็นชีวิตแห่ง ความทุกข์.
    ทีนี้มันจะเริ่มต้นปรุงอีกชนิดหนึ่ง คือว่าเกิดสติปัญญาขึ้นมาว่า อย่างนี้ไม่ไหว, อย่างนี้ไม่ไหว, คือปรุงนี้ไม่ไหว, ปรุงนี้ไม่ไหว, ก็เกิดสติปัญญาขึ้นมาว่าไม่ปรุงแหละดีกว่า, ไม่ปรุงแหละดีกว่า คืออย่าไปติดยึดมั่นถือมั่นอยู่ในอารมณ์เหล่านั้นจะดีกว่า, จนคนเรามีความรู้เรื่องว่า ไม่ปรุงนั่นแหละดีกว่า. ฉะนั้นจึงขวนขวาย ไปในทางที่จะไม่ปรุง, คิดว่าครองบ้านครองเรือนอยู่นี้ มันทำยาก มันปรุงเรื่อยไป; ออกไปบวชดีกว่า ไปอยู่ในป่า ในถ้ำ ในเขา ดีกว่า, มันจะง่ายขึ้นในการที่จะไม่ปรุง. เขาก็ไปบวช เขาก็ค้นหาการที่จะไม่ปรุง, นี่จึงเกิดบุคคลขึ้นมาประเภทหนึ่ง คือพบความที่ไม่ปรุง พบวิธีที่จะไม่ปรุง. นี่เป็นพระอริยเจ้า กระทั่งเป็นพระพุทธเจ้า พบเรื่องไม่ปรุงนั่น เกิดขึ้นมา.
    ถ้ายังปรุง ยังเป็นทุกข์, ต่อเมื่อไม่ปรุง จึงจะไม่เป็นทุกข์ แม้ว่ายังรับอารมณ์. ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เหมือนกันแท้ ๆ แต่คนหนึ่งมันปรุง, คนหนึ่งมันไม่ปรุง. นี่คิดดูสิ นี่มันจะพบกันได้ ที่นี่ว่า ไม่ต้องตายดอก ไม่ต้องตายดอก เราก็ไม่ปรุงได้ เราหยุด ปรุงได้; เพราะว่าเรามีสติปัญญาพอ ที่จะไม่หลงรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่มากระทบ, แล้วเราก็ไม่ปรุง, ไม่ปรุงนี้ คือว่าดับสังขาร, หยุดสังขาร. สังขารแปลว่าปรุง, หยุดสังขาร, ดับสังขารคือไม่ปรุง. ดับสังขารเสียได้โดยที่ไม่ต้องตาย ยังมีชีวิตอยู่ที่นี่แหละ แต่ควบคุมการปรุงแห่งจิตใจได้ นี่เรียกว่าดับสังขารเสียได้ โดยที่ไม่ต้องตาย. ภาษาไทยพูดกันมาผิด ๆ ว่า ถ้าดับสังขารแล้วก็ต้องตาย, ในภาษาธรรมะนั้น ดับสังขารก็คือไม่ปรุง แล้วก็ไม่ตายด้วย, แล้วก็ไม่มีความทุกข์ด้วย, ได้เสวยสุขโดยสมมติว่า สุขอย่างยิ่ง สุขสูงสุด คือพระนิพพานด้วย, นี่คือการไม่ปรุงหรือ วิสังขาร.
    จะเห็นได้ว่า มันเป็นจิตล้วน ๆ จิตที่ไม่รู้อะไรมาแต่ในท้อง, แล้วก็มารู้ผิด ๆ สำหรับจะยึดมั่นถือมั่นและปรุง; พอปรุงกันแล้วจนเข็ด แล้วจึงค่อย ๆ รู้ว่า ไม่ปรุงดีกว่า; รวมแล้วเป็น ๓ ขั้นตอน คือว่าจิตล้วน ๆ ทำอะไรไม่เป็นไม่ถูก, แล้วก็ต่อมาจิตทำเป็นแต่ในทางที่จะปรุง จนเจ็บปวดถึงที่สุด. แล้วต่อมาจิตก็รู้ว่าไม่ปรุงดีกว่า. นี่เป็นเรื่องทั้งหมดของชีวิตมนุษย์เรา ตั้งแต่ต้นจนนิพพาน. จิตล้วน ๆ เสียตอนหนึ่ง, แล้วก็จิตโง่เสียตอนหนึ่ง, แล้วก็จิตฉลาดถึงที่สุดเสียตอนหนึ่ง ก็รู้เรื่องความไม่ปรุง.



    [SIZE=+1]ทั้งสังขารและวิสังขารไม่ใช่ตัวตน.[/SIZE]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=70 bgColor=#fff8f0>[SIZE=+5]ที[/SIZE]</TD><TD align=middle width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    นี้ก็จะพูดถึงคำพูดที่เป็นปัญหา คือคำว่ามิใช่ตัวตน, อนัตตาแปลว่าไม่ใช่ตัวตน. ตามพระบาลีแล้วสังขารก็เป็นอัตตา, วิสังขารก็เป็นอนัตตา; หมายความว่าของปรุงนี้ก็เป็นอนัตตา, ของไม่ปรุงก็ เป็นอัตตา; ทั้งสองอย่างนั้นอย่าได้เข้าใจว่า เอามาเป็นตัวเป็นตน หรือเป็นของ ๆ ตนได้.
    สังขารนั้นมันเห็นชัดอยู่แล้ว มันเปลี่ยนแปลงเรื่อยไหลเรื่อย เอามาเป็นตัวตนไม่ได้ เพราะมันปรุงเรื่อย; แต่แม้พวกที่ไม่ปรุง หยุด เย็น สงบอยู่ก็จะยึดถือว่าตัวตนไม่ได้ เพราะมันเป็นของธรรมชาติ, เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ, เป็นนิพพานธาตุ เป็นนิโรธธาตุอยู่ตาม ธรรมชาติ, อย่าเอามาเป็นตัวตนของตน.
    เช่นเดียวกับทางฝ่ายวัตถุนี้ เราถือว่า ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นธาตุอยู่ตามธรรมชาติ เอามาเป็นตัวตนไม่ได้; แต่ถึงแม้นิโรธธาตุ นิพพานธาตุ วิสังขาร อสังขตธาตุนี้ มันก็เป็นธาตุตามธรรมชาติ เอามาเป็นตัวตนไม่ได้. ถ้าเอามาเป็นตัวตน ก็คือเข้าใจผิด แล้วก็ทำผิด, แล้วก็ทำให้เกิดเรื่องใหม่ ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เอามาเป็นตัวตนไม่ได้ มาว่าเป็นตัวตนของตน.
    ดังนั้นคำว่าอนัตตาของธรรมทั้งปวง, ธรรมทั้งปวงเป็นอัตตานั้นเข้าใจยาก. สังขารก็อนัตตา, วิสังขารก็อนัตตา; จะพูดให้เป็นภาษาธรรมดาหน่อยก็ว่า สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ก็เป็นอัตตา, แม้สิ่งที่เที่ยงและไม่เป็นทุกข์ ก็ยังเป็นอนัตตา เพราะว่ามันเป็นของธรรมชาติด้วยกันทั้งนั้น. หนทางที่จะไปเอาอะไรมาเป็นตัวตนเป็นอัตตานี้ไม่มี, เพราะมันเป็นสักแต่ว่าธาตุตามธรรมชาติ. ถ้าใครจะไปเอามาเป็นตัวตนเป็นของตน มันก็เป็นความคิดที่ผิด ก็เรียกว่าอวิชชา แล้วมันก็กัดเอา คือมันจะเป็นทุกข์ เพราะคิดผิด หวังผิด ยึดมั่นถือมั่นอย่างผิด ๆ ด้วยอำนาจอวิชชา, ไปยึดถืออะไรเอา มาเป็นตัวตน มันก็กัดเอาทั้งนั้นแหละ คือทำให้เป็นทุกข์ สิ่งที่ว่ามันไม่มีค่ามันก็ยึดถือไม่ได้ สิ่งที่มีค่าก็ยึดถือไม่ได้ ขอให้อยู่อย่างที่ไม่ยึดถืออะไร.
    นี่มันเลยไปถึงว่า เรื่องดีเรื่องชั่วนั้นน่ะ ไม่ต้องยึดถือ ชั่วก็ไม่ทำ, ดีก็ทำตามที่จะต้องทำ, เพื่อใช้เป็นเครื่องอำนวยความสะดวก; แต่ก็ไม่ต้องยึดถือ. เช่นว่าข้าวของ เงินทอง เพชรพลอย แพงที่สุดนี้ ก็ใช้เพื่อความสะดวกได้ แต่อย่าไปยึดถือ; ถ้าไปยึดถือมันจะกัดเอา คือจะต้องเป็นทุกข์เดือดเนื้อร้อนใจ เพราะความยึดถือในสิ่งเหล่านั้น. ฉะนั้นจึงมีได้ ใช้ได้ กินได้ อาศัยประโยชน์ได้; แต่อย่าไปยึดถือมัน เข้า, มันจะกัดเอา. ความดีความชั่วนี้ก็เหมือนกัน ชั่วนี้ไม่ต้องทำ ถ้าทำมันกัดเอาความดีนี้ใช้เป็นประโยชน์ได้ แต่ถ้าไปยึดถือเข้ามัน ก็จะกัดเอา, ในธรรมชั้นสูงจึงไม่ยึดถือทั้งความชั่วและความดี.
    ก่อนพระพุทธเจ้านะ เขายึดถือความดี ดีที่สุดไปพรหมโลกชั้นสูงสุดแล้วก็ยึดถือ แล้วก็ได้เวียนว่ายอยู่ที่นั่น. นี้พระพุทธเจ้า ท่านเกิดขึ้น ท่านตรัสว่าไม่ได้ คือไม่มีอะไรควรจะยึดถือ, ก็เลยเหนือพรหมโลกขึ้นไปเป็นนิพพาน. ฉะนั้นนิพพานจึงพ้นดี พ้นชั่ว พ้นบาป พ้นบุญ พ้นกรรม พ้นผลกรรม, นิพพานคือวิสังขาร คือไม่ปรุง นั้นคือ เหนือชั่ว เหนือดี เหนือบุญ เหนือบาป เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือกรรม เหนือผลของกรรม. การไม่ปรุงนี้เป็นกรรมที่ ๔ ในพระพุทธศาสนา.
    ก่อนพระพุทธเจ้าเขาสอนกันแต่ว่า กรรมดี กรรมชั่ว และกรรมดีชั่วระคนกัน ใช้เป็นภาษาวัตถุ. ในพระบาลีใช้คำว่า กรรมดำอย่างหนึ่ง กรรมขาวอย่างหนึ่ง กรรมปนกันทั้งดำทั้งขาวนี้อย่างหนึ่ง เป็น ๓ กรรม, นี้เขาสอนกันอยู่แล้ว ก่อนพระพุทธเจ้า มันก็ต้องไปตามกรรมแหละ : ทำกรรมชั่วก็ไปตามกรรมชั่ว, ทำกรรมดีก็ไปตามกรรมดี, ทำกรรมชั่วดีปนกัน มันก็ระหกระเหินไปตามกรรมชั่วกรรมดีปนกัน.
    พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ขึ้นมาว่า โอ, ยกเลิก, คือเราจะอยู่เหนือกรรมจะหมดกรรม จะสิ้นกรรม; เรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว กรรมไม่ดีไม่ชั่ว ไม่ดำไม่ขาว, เป็นที่จบแห่งกรรมดำและกรรมขาว. นี่คือคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา; จะเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรือจะเรียกว่า อัฏฐังคิกมรรค, หรือจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่. แต่ขอให้มองเห็นว่า มันเป็นกรรมที่ทำให้หยุดปรุง, เมื่อไม่ปรุงอะไรขึ้นมา มันก็ไม่มีอะไรชั่ว ไม่มีอะไรดี หรือไม่มีอะไร ปนกันทั้งชั่วทั้งดี.
    คนที่มองเห็นอย่างนี้ ก็กล้าพูดว่า ทั้งชั่วทั้งดีล้วนแต่อัปรีย์ ซึ่งคนธรรมดาไม่กล้าพูด, ใครพูดก็ถูกด่า. อาตมาก็เคยถูกด่า เมื่อพูดว่าทั้งชั่วทั้งดีล้วนแต่อัปรีย์นี้ ก็มีคนนึกด่า, บางคนก็ด่าให้ได้ยิน ว่าพูดผิดแล้วสอนผิดแล้ว. นี่เพราะว่ารู้กันแต่แค่ชั่วและดี เหนือขึ้นไปนั้นมันไม่รู้.



    [SIZE=+1]หยุดการปรุงเสียได้ จะเป็นชีวิตเย็น.[/SIZE]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=70 bgColor=#fff8f0>[SIZE=+5]ชั่[/SIZE]</TD><TD align=middle width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    วหรือดีนั้นมันอยู่ในวิสัยแห่งการปรุง, ปรุงแล้วก็มีผลเป็นชั่วเป็นดี. พอไม่มีการปรุงนั้นแหละ มันจึงไม่มีชั่วไม่มีดี, พ้นชั่วพ้นดี เหนือชั่วเหนือดี. นิพพานคือภาวะที่อยู่เหนือชั่วเหนือดี; เมื่อจิตเข้าไปถึงภาวะนั้นแล้ว จะไม่มีความทุกข์เลย. ชั่วก็เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ, ดีก็เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ, พอไปยึดถือเข้าแล้วมันกัดเอาทั้งนั้นแหละ ไม่ว่าชั่วหรือไม่ว่าดี จึงปัดไปหมดเลยว่า ทั้งชั่วทั้งดีล้วนแต่อัปรีย์.
    คำว่าอัปรีย์ แปลว่า ไม่น่ารัก, ปรียะ หรือปรีย์ แปลว่าน่ารัก, อัป แปลว่าไม่ อัปรีย์ แปลว่าไม่น่ารัก, ทั้งชั่วทั้งดีล้วนแต่อัปรีย์ หมายความว่าทั้งชั่วทั้งดีล้วนแต่ไม่น่ารัก; ไปรักมันเข้ามันจะกัดเอา. เรื่องชั่วนี้มันไม่มีใครรักอยู่แล้ว; แต่เรื่องดีนั้นก็มีคนรัก จนเป็นบ้า, ระทมทุกข์เพราะว่าไปยึดมั่นในความดี เรียกว่าไม่หลุดพ้น เข้าไปติดอยู่ในกองทุกข์.
    ฉะนั้นอย่าไปยึดเป็นตัวตน เป็นของตน ทั้งความชั่วและความดี คือไม่ปรุง, ไม่ปรุงให้เกิดความรัก ความยึดถือ ทั้งในความชั่วและความดี. นี้เรียกว่าไม่ปรุง คือวิสังขาร; ที่ปรุงมาแล้วทุกอย่าง ๆ ๆ นั้นก็เป็นสังขาร ก็ไหลเรื่อยไป, มีลักษณะแห่งความทุกข์เรื่อยไป. เดี๋ยวนี้วิสังขารก็คือตรงกันข้าม ไม่มีอวิชชาเหลืออยู่ แล้วก็ไม่มีความหมายมั่นเรื่องตัวตน เรื่องของตน มันก็ไม่ปรุงอะไรขึ้นมาสำหรับจะรัก จะโกรธ หรือจะเกลียด หรือจะกลัว หรือจะทรมานใจทุก ๆ อย่าง.
    นี่เรื่องนี้เราไม่ค่อยจะสนใจกัน ว่าความสิ้นสุดแห่งความทุกข์นั้นคือ ความไม่ปรุง, เป็นวิสังขาร คือความไม่ปรุง; ครั้นไม่ปรุงแล้วมันก็ไม่เป็นชั่ว ไม่เป็นดี. ชั่วหรือดีนี้มันอยู่ที่การปรุง, มันอยู่ในขอบเขตของการปรุง, ถ้ามันออกไปนอกขอบเขตของการปรุงแล้ว มันไม่มีชั่ว มันไม่มีดี นั่นแหละคือความหลุดพ้นเป็นกรรมที่สี่ ซึ่งไม่มีสอนในศาสนาอื่น มีสอนแต่ในศาสนาของพระพุทธเจ้า. แต่เราก็ไม่ค่อยจะเอามาสอนกัน เรื่องกรรมที่สี่ กรรมที่ไม่ปรุงให้เป็นดีหรือเป็นชั่ว. เราสอนกันแต่เรื่องกรรมที่เป็นชั่วและเป็นดี, แล้วสอนให้ยึดมั่น มั่นหมายติดอยู่ในกรรมดี แล้วมันก็กัดเอา.
    คนที่เป็นโรคประสาททั้งหมดก็ว่าได้ เพราะยึดมั่นในความดีทั้งนั้นแหละ, ไม่ได้เป็นเพราะยึดมั่นในความชั่ว. ความวิตกกังวล ทั้งหลายมาจากความยึดมั่นในความดี, ถึงความอิจฉาริษยา ก็มาจากความยึดมั่นถือมั่นในความดี. ฉะนั้นเป็นโรคประสาทกัน ก็เพราะว่ายึดมั่นถือมั่นในความดี นั่นแหละเรียกว่าความดีมันกัดเอา เรายังอยู่ใต้อำนาจของความดี มันก็กัดเอา คือมันทำให้เราปรุงเรื่อย ทนทรมานเรื่อย แล้วเมื่อไม่ได้อย่างที่ต้องการ มันก็เป็นโรคประสาท เป็นบ้า หรือตาย.
    นี่เรารู้เรื่องกันแต่ฝ่ายการปรุง แล้วหลงใหลอยู่แต่ในฝ่ายการปรุง, ไม่ประสีประสาในเรื่องที่นอกออกไปจากการปรุง คือไม่ปรุง เรียกว่าวิสังขาร. ดังนั้นเราจึงมีเรื่องเพียงสองเรื่อง ที่เราจะต้องรู้ให้ดีคือ สังขาร กับวิสังขาร : สังขารคือเรื่องความทุกข์ทั่วไป เหตุให้เกิดทุกข์ทั่วไป, วิสังขารนั้นก็คือนิพพาน ไม่ปรุง ไม่มีทางที่จะเกิดความทุกข์ได้ เป็นนิพพาน. นิพพานแปลว่าเย็น เมื่อไม่ปรุงจึงจะเย็น; ถ้าปรุงแม้ปรุงดีก็ยังไม่เย็น มันก็วุ่นวายไปตามแบบของความดี มันร้อนแบบไม่แสดงอาการ, มันร้อนเพราะยึดมั่นถือมั่น. ที่จริงความดีมันไม่ทำอะไรเอา; ความดีก็สักว่าความดี, ความชั่วก็สักว่าความชั่ว, แต่ถ้าไปยึดถือเข้ามันจะกัดเอา.
    ฉะนั้น พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านก็ไม่ยึดถือแม้ในความดี; แม้ความดีจะมีมา หรือท่านจะได้รับทะนุบำรุงบำเรอ บูชาอย่างไร มันก็ไม่ทำให้เกิดความดี ชนิดที่ทำให้ท่านจะต้องเดือดร้อนและเป็นทุกข์. นี้เรียกว่าอยู่ฝ่ายวิสังขาร ฝ่ายไม่ปรุง, เหนือการปรุง, เรื่องมันจบ. เรื่องสังขารนี้ ปรุงให้มันมาก ๆ ๆ นับยืดยาว ไม่หวาดไม่ไหว ตั้งต้นเมื่อไร จบเมื่อไร รู้มันยาก; แต่ถ้าวิสังขารแล้วมันจบทันที คือมันไม่ปรุง, มันหยุด, หยุดปรุงมันก็เย็น.
    คำว่านิพพานคำนี้ ตัวหนังสือแปลว่า เย็น, เย็นเพราะไม่มี ของร้อน คือโลภะ โทสะ โมหะ; เพราะไม่มีการปรุง จึงไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ, ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นของร้อน ชีวิตนี้ก็เย็น, มันก็เลยพูดได้เป็นคู่กันว่า สังขารเป็นชีวิตร้อน เพราะมันปรุง, วิสังขารเป็นชีวิตเย็น เพราะมันไม่ปรุง.
    นี่เรื่องทั้งหมดของพระพุทธศาสนา โดยสรุปแล้ว มันเหลืออยู่เพียงสองคำเท่านั้น ว่าสังขารกับวิสังขาร.
    นี้ดับการปรุง หยุดการปรุง ไม่ต้องตาย. อาตมาสังเกตเห็นว่า ไปที่ไหนในงานศพ ไปสวดศพก็ดี หรือว่าไปอย่างอื่นก็ดี ที่ได้ยินคำพระสวดว่า เตสํ วูปสโม สุโข สังเกตดูผู้ฟังเข้าใจผิดกันทั้งนั้น แหละ, เข้าใจผิดว่า ตายอยู่ในโลงนั่นแหละเป็นสุข. อนิจฺจา วต สงฺขารา –สังขารไม่เที่ยงหนอ. เขาไม่แปลนี่, เขาเอาสังขารเป็น สังขารร่างกายเสียหมดนี่. พระสวดว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา สังขารไม่เที่ยงหนอ; ชาวบ้านผู้ฟังก็ฟังว่า ร่างกายนี้ไม่เที่ยง ที่จริงพระบาลีไม่ใช่ว่าอย่างนั้น; พระบาลีว่าการปรุง หรือสิ่งปรุง หรือของปรุงน่ะ, สังขารทั้งหลายคือสิ่งที่มีการปรุงทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ; เกิดขึ้นแล้วดับไป.
    ทีนี้ก็ เตสํ วูปสโม สุโข เข้าไประงับเสียซึ่งสังขารทั้งหลายเป็นความสุข; ไม่ใช่ว่าดับร่างกาย ดับสังขาร แล้วมานอนในโลงแล้วเป็นความสุข. ท่านบอกว่าไม่ปรุง, หยุดปรุงที่ไหน เมื่อไรก็ได้ จะเป็นความสุข; แต่เอามาสวดผิดกาละ ผิดเวลา ผิดสถานที่ เอามาสวดเมื่อมีคนนอนอยู่ในโลง. คนฟังก็เข้าใจว่า เมื่อเข้าไปนอนอยู่ในโลง มันก็ต้องสังขาร คือเป็นความสุข. ที่แท้พระบาลีนี้ไม่ได้หมายความ อย่างนั้น, ว่าดับสังขารเสีย คือหยุดปรุงเสีย ที่ไหนก็ตามใจ ที่อื่นก็ได้ แล้วจะไม่มีความทุกข์ จะมีความสุข. พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ตรัสคำนี้ไว้ สำหรับมาสวดเมื่อคนนอนอยู่ในโลง. ท่านตรัสไว้เป็นหลักทั่วไป ที่ไหน เมื่อไรก็ได้; ถ้าปรุงจะต้องเป็นทุกข์, ระงับเสียซึ่งการปรุง คือสังขารทั้งหลายนั้นจะเป็นสุข.
    หวังว่าไปฟังพระสวดศพ อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโข. ถ้าได้ยินคำนี้ แล้วก็ขอให้จับใจประทับใจว่า หยุดการปรุงเสียเป็นความสุข; ไม่ใช่ว่าตายนอนในโลง แล้วจะเป็นความสุข. เดี๋ยวจะได้ชวนกันฆ่าตัวตายไปนอนในโลงเป็นความสุข.
    นั่นน่ะคือ วิสังขาร หยุดการปรุงเสีย; แม้ครัวก็หยุดปรุงแกงเสีย ก็ไม่ต้องมีเรื่องยุ่งวุ่นวาย, คนทั้งหลายก็หยุดการปรุงแต่งชีวิตนั่นนี่เสีย มันก็เป็นความว่าง ความหยุด ความเย็น ความสงบ ความเป็นอิสระ, ไม่ต้องหมุนไปตามกรรม, ไม่ต้องเวียนว่ายไปตามกรรม. กรรมนั้นคือการปรุง, ไม่ปรุงก็ไม่มีกรรม. ไม่ทำกรรมแล้วมันก็ไม่มีปัญหา ไม่เกิดกิเลส ไม่เกิดความทุกข์ นี่ฝ่ายวิสังขาร.
    ฝ่ายสังขารคือการปรุง ฝ่ายวิสังขารคือการไม่ปรุง, สังขตะคือสิ่งที่ถูกปรุง, อสังขตะคือสิ่งที่ไม่ถูกปรุง มันมีสองสิ่งเท่านั้นในจักรวาล แห่งพระพุทธภาษิต. คำสั่งสอนในพระไตรปิฎก มันมีอยู่สองเรื่อง คือเรื่องปรุงกับเรื่องไม่ปรุง. ฉะนั้นจึงถือว่าเป็นธรรมะเล่มน้อย ธรรมะเล่มเล็ก ๆ ย่อให้สั้นที่สุด เหลือแต่คำพูดเพียงสองคำว่า ปรุงกับไม่ปรุง : ปรุงนั้นคือกระทำไปด้วยอวิชชา, ไม่ปรุงทำไปด้วยวิชชา ต้องการอะไร อยากได้อะไร แล้วทำอะไร กินอะไร ใช้อะไร ก็ตามเถอะ ขอให้ทำไปด้วยวิชชา. อย่าหมายมั่นเป็นตัวกูเป็นของกู มันก็ไม่ปรุง.
    เราจะทำอะไร จะไปที่ไหน จะมาที่ไหน จะกินอะไร จะใช้อะไร จะเก็บอะไร จะรักษาอะไร จะสะสมอะไร ก็อย่าให้เป็นการปรุง, คืออย่าทำด้วยอวิชชา ให้ทำไปด้วยสติปัญญา ว่าทำอย่างนั้นเพื่อประโยชน์อย่างนั้น, ทำอย่างนั้นเพื่อประโยชน์อย่างนั้น, เพื่อความสะดวกอย่างนั้น; แล้วก็ไม่เอาเป็นของเราดอก ทั้งความสุข ความสะดวก ความอะไรก็ตาม เป็นเรื่องของธรรมชาติไปหมด.
    จิตนี้ต้องการแต่จะไม่เป็นทุกข์อย่างเดียว, ที่เรียกว่าเราตัวเรานี้ มันไม่มีอะไรนอกจากจิต. จิตมันคิดเอาเอง ว่าเราว่าของเรา เมื่อยังโง่อยู่ จิตมันก็เป็นตัวเรา เป็นของเรา; พอมันถึงที่สุดฉลาดแล้ว มันก็เหลือแต่จิต ไม่มีความคิดว่าตัวเราหรือของเรา; อย่างนี้เรียกว่า จิตมันหลุดพ้นแล้ว จากความยึดถือว่าตัวเรา ว่าของเรา. นี่คือจิตที่หมดการปรุง เรียกว่า วิสงฺขาร คตํ จิตฺตํ –จิตนี้ถึงแล้วซึ่งวิสังขาร คือการไม่ปรุง; ไม่ต้องตาย, ไม่ต้องตายเข้าโลง, จิตไม่ปรุง จิตหยุดหมดแล้วซึ่งสังขาร ดับสังขาร คือการปรุงแล้ว.
    ส่วนดับสังขารคือดับร่างกาย คือการตายนั้น ก็มีอยู่ส่วนหนึ่ง, คนละเรื่อง นั้นมันเป็นธรรมดา แม้เราจะรู้อะไร หรือไม่รู้อะไร มันก็เป็นไปอย่างนั้น. สัตว์เดรัจฉาน, มันก็ดับสังขารของมันได้ ตามแบบของสัตว์เดรัจฉาน มนุษย์มันควรจะทำได้ดีกว่านั้น คือดับสังขารชนิดที่เป็นจิต, เป็นภายใน เป็นเครื่องปรุงให้เกิดสุขทุกข์ในภายใน เรียกว่าสังขารชนิดที่เป็นภายใน ที่ละเอียดที่เข้าใจยาก ที่ต้องศึกษากันมากหน่อย. อย่าให้เกิดการปรุงในกระแสแห่งจิตใจ แล้วมันก็เย็น เย็นโดยที่ไม่ต้องตาย; ครั้นไปถึงวาระที่ร่างกายมันจะต้องตาย นี้เป็นสังขารวัตถุ สังขารร่างกายนี้ มันก็ต้องดับไปตามธรรมดา.
    เมื่อไม่มีการปรุงว่าตัวเรา ไม่มีการปรุงว่าของเรา สังขารมันก็ตายไปตามธรรมดา, สังขารร่างกายมันแตกดับไปตามธรรมดา. สังขารฝ่ายจิตไม่มีการปรุง ว่านั่นเป็นของเรา นี่ก็เรียกว่า ออกมาเสียได้จากความตาย, จิตออกมาเสียได้จากการปรุงจิตไม่คิด ปรุงว่าเราตาย เราอยู่ เราได้ เราเสีย เราแพ้ เราชนะ หรือเราอะไรก็ตาม. นี่จิตออกมาเสียได้จากการปรุง โดยประการทั้งปวงก็ไม่เป็นทุกข์.



    [SIZE=+1]ต้องเอาวิสังขารมาเป็นคู่จิตใจ เพื่อชีวิตเย็น.[/SIZE]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width=70 align=left border=0><TBODY><TR><TD align=middle width=70 bgColor=#fff8f0>[SIZE=+5][/SIZE]</TD><TD align=middle width=10> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    รุปความว่า เรายังเคยเข้าใจผิด เกี่ยวกับคำว่าสังขาร ๆ จนเข้าใจธรรมะไม่ได้. เรารู้จักแต่สังขารร่างกายอย่างเดียว ไม่รู้จักสังขารฝ่ายจิตฝ่ายวิญญาณ, เราจึงเข้าใจผิดว่า ดับสังขารก็คือตาย, แล้วก็ไม่รู้ว่า เมื่อไรจะมีความสุขกันได้ มันก็ปรุงอยู่เรื่อย. ฉะนั้นรู้จักเรื่องสังขารฝ่ายจิต, อย่าให้จิตปรุง ก็ดับสังขารฝ่ายจิต. จิตนี้ก็ไม่เกิดกิเลส แล้วก็ไม่มีความทุกข์ไม่มีความร้อน. เมื่อไม่รู้จักก็ต้องหลง; พูดกันได้สั้น ๆ ง่าย ๆ ว่า ถ้าไม่รู้จักไม่เข้าใจก็ต้องหลง, หลงผิดตรงกันข้ามจากความจริง เห็นเป็นตัวตนเป็นตัวกู เป็นของกูไปหมด ตามความหลอกลวงของอวิชชา.
    เมื่อจิตมันคบกันอยู่กับอวิชชา มันก็ต้องหลง หลงเป็นตัวกู–ของกู ในทุกสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้อง; พอจิตมันทำลายอวิชชาได้, วิชชาเข้ามาแทน มันก็ไม่หลงในอะไร, ไม่หลงว่า มีตัวตนหรือของตนในอะไร มันก็เป็นจิตที่เย็นเป็นนิพพาน. จิตที่เข้าถึงนิพพานคือ ความเย็น, จะเรียกว่าชีวิตเย็นก็ได้; ถ้ามีสังขาร มีการปรุงก็เป็นชีวิตร้อน, ถ้าไม่มีสังขาร ไม่มีการปรุง ก็เป็นชีวิตเย็น.
    ใครจะชอบอย่างไหน ก็มีสิทธิที่จะเลือกตามความพอใจ. พระพุทธเจ้าท่านก็ได้ตรัสไว้สำหรับให้เลือก, เรามันมีหน้าที่ที่จะเลือก, เราต้องรับผิดชอบในการเลือกของเรา. ถ้าเราเลือกไม่ถูกก็ต้องได้รับสิ่งที่เห็นกงจักรเป็นดอกบัว, ใช้คำว่าอย่างนั้น; ไม่ออกจากกองทุกข์ได้ ก็ต้องไปหลงในสิ่งที่มีอยู่มากมาย สำหรับจะหลอกให้เราหลง.
    ฉะนั้นอยู่ด้วยความไม่หลงในสังขาร คือการปรุงหรือของปรุง, อยู่ด้วยความรู้เท่าทันในสังขาร ไม่ยึดมั่นถือมั่น, ถ้าเอาสังขารมาเป็นของคู่จิตคู่ใจ แล้วมันกัดเอา, ต้องเอาวิสังขาร คือการไม่ปรุงมีความหมายเป็นพระนิพพานนั้น มาเป็นของคู่จิตคู่ใจ ชีวิตนี้ก็เย็น ตลอดไป, แล้วเรื่องมันก็จบ, จบเพราะรู้จักคำเพียงสองคำ คือคำว่าสังขาร กับคำว่าวิสังขาร.
    นี่ธรรมะเล่มน้อยในวันนี้ พูดกันด้วยเรื่องคำสองคำ คือคำว่า สังขารกับวิสังขาร, และหวังว่าท่านผู้ฟังทั้งหลาย คงจะมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับคำสองคำนี้มากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน, แล้วก็จะก้าวหน้าไปในทางไม่ปรุง คือก้าวหน้าไปในทางของวิสังขารหรือพระนิพพาน.
    อาตมาขอยุติการบรรยายนี้ ไว้แต่เพียงเท่านี้ เป็นโอกาสให้พระคุณเจ้าทั้งหลาย ท่านจะได้สวดบทพระธรรมคณสาธยาย เพื่อส่งเสริมกำลังใจของท่านทั้งหลายให้มีความกล้าหาญ ในการที่จะไม่ปรุง กล้าที่จะไม่ปรุง. ก่อนนี้ขี้ขลาด ต่อไปนี้จะกล้าในการที่จะไม่ปรุง และเจริญงอกงามไปตามทางของพระศาสนา ของสมเด็จพระบรมศาสดา อยู่ตลอดกาลนานเทอญ.

     
  20. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ไม่ลักไก่หรอกจ๊ะ
    เป็นขั้นๆไป ไม่ใช่รวดเดียวจบ
    ต้องบริบูรณ์ก่อน แล้วอาศัยวิเวกวิราคะนิโรธ ข้ามไป


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี อาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗[​IMG]
    แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของ โพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔[​IMG]
    แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓
    แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของ สุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์
    แม้การสำรวมอินทรีย์เราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ
    แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
    แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคายเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่า ศรัทธา
    แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็น อาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม
    แม้การฟังสัทธรรมเราก็กล่าวว่า มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบสัปบุรุษ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
    การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
    การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้ บริบูรณ์
    ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์
    การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
    สติสัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
    การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อม ยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
    สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
    สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
    โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
    วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์ อย่างนี้ ฯ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2012

แชร์หน้านี้

Loading...