สติ สัมปยุตกับอะไรได้มั่ง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 14 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    พี่ ป.ปุณฑ์
    ถ้าคิดฟุ้งๆ นี่ อาหาร ของอาหาร ที่สุดของอาหาร คือหมดอาหาร
    ตรงนี้ มาจากเหตุล้วนๆไหมครับ
     
  2. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ขอถามหน่อยนะ คุณปุณฑ์ เข้าใจว่า การกระทำที่แยบคาย กระทำอย่างไง
    แล้ว ตรงนี้เป็นธรรมขั้น โพชฌงค์ หรือยัง ครับ

    แล้วผู้ที่เจริญสติปัฐฐาน 4 เวลาโยนิโสมนัสการ เขาทำอย่างไงครับ

    ถามของคุณปุณฑ์
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    แต่แท้ที่จริง ไอ้เจ้าจิตตัวมีปัญญาละเอียดมันปรุงขึ้นมาสอนตัวมันเอง

    ในประโยคสีน้ำแดง เป็น อสังขาริกัง หรือเป็น สสังขาริกัง

    k ช่วยตอบ ถ้าจิตมันปรุงสังขารมาสอนตัวเองโดยไม่ต้องชักชวน(อสังขาริกัง)คือมันมีปัญญาทำของมันขึ้นมาเอง

    ถึงตอนนี้ ก็กลายเป็น วิปัสสนูกิเลส ถ้าทำซ้ำๆย้ำๆไม่เอ๊ะไม่อ๊ะ ไม่มีสติไปรู้เท่าทันมัน
    จนดิ่งเข้า้เส้นเลือด เข้าDNAระดับ นิตยมิจฉาทิฐิ แล้ว

    ระดับนี้ แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็โปรดสอนโพชฌงค์ ๗ องค์แห่งการตรัสรู้ ให้ไม่ได้

    จะน่ากลัวไหม ก็คิดเอาเองละกานนนนนน ท่านผู้ชม คือเราไม่ปรุงแต่งแต่จิตมันมีฉันทะโลภะ
    ทำของมันเอง แบบว่า AI สมบูรณ์แบบ พ้นจากการบังคับควบคุมของเรา พ้นจากปรุงแต่ง
    ของเรา พ้นจากสติสัมโพชฌงค์โดยบริบูรณ์ ขาดสติแบบไม่ต้องชักชวนให้กลับมามีสติสัมโพชฌงค์ได้อีกเลย

    [​IMG] น่ากลัวมั่กๆๆๆๆๆ อ่า...............
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ถ้าเน็ตคงดีค่ะ
    เน็ตช้าและล่มด้วย
    ใช้ความอดทนมาก

    แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า ไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า
    การทำไว้ในใจโดยแยบคาย


    สติสัมปชัญญะ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
    การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อม ยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์

    สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
    สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
    โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

    สติ ธัมมะวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา

    การทำใจไว้แยบคาย เพื่อสติสัมปชัญญะ
    กับธัมมะวิจยะในสติ เพื่อนำไปสู่อุเบกขา

    ป๋าคิดว่าไงจ๊ะ
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    .......................................................................................
     
  6. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ถามอีกนิด ก่อนจะตอบนะ

    ตอนที่พระพุทธเจ้าประชวน หนักขนาดนั้น ท่านก็ยังทรงสติปัฐฐาน4 เอาไว้

    คราวนี้มาถามว่า อินทรีย์บริบูรณ์นี่ เข้าใจว่ายังไง กันจ๊ะ

    ถามจากที่หนู ปุณฑ์เอามาจ้า
     
  7. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    พี่ทริกมาแปะไข่ไว้ สัญญาจันทร์เจ้านะขอรับ
    ตกร่องบ่อยไปหน่อย
    วิตก วิจาร
    ปิติ สุข
    เอกัคคตา
    พี่ทริกว่า สั่ง ปิติ สุข แบบร้านตามสั่งจัดได้ไหมครับ
    ผัดกะเพราไม่เอาพริกกะกะเทียม ได้ไหม ได้ไหม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    เค เข้าใจว่า เป็น บารมี 30 ทัศน์ จ้า เพราะยังมีสังขารอยู่

    ถึงแม้จะระดับวิสังขารแล้ว แต่ร่างกายทางโลกก็ยังไม่เที่ยงยังต้องดับสังขารปรินิพพาน

    ปล.ระดับเราๆที่ไม่ได้บำเพ็ญขนาดพระพุทธเจ้า อินทรีย์บริบูรณ์ นี่ก็ บารมี 10 ทัศน์
    ประมาณว่า ได้ฟังธรรมของพระพุทธองค์ก็สำเร็จได้พระโสดาบันไปจนถึงพระอรหันต์เลย
    แต่เพราะเราๆยังไม่มีบารมีถึงขั้นนั้น อินทรีย์ยังไม่บริบูรณ์ก็ต้องเร่งเพียรสมถะวิปัสสนาไปให้เต็มภูมิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  9. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692

    ขอตอบอันที่ผ่านมาก่อน เกรงจะเลยไปยาว
    การพิจารณาให้แยบคายทำให้เกิดสติ
    สติทำให้เกิดธัมมะวิจจยะ สังเกตุว่ามีธัมมะเข้ามา
    คือเข้าไปเห็นธรรมตามจริงมากขึ้น

    ส่วนคำถามนี้
    ถามหลายๆ คนใช่ไหมคะ งั้นเราผ่านก่อน เน็ตช้ามากมาย
     
  10. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ตรงนี้ล่ะครับ ที่ตอบผมมา และผมจะย้อนให้ไปพิจารณาคำว่า วิสังขาร
    ตรงเขตข้ามตรงนั้นมันละเอียด นาครับ จะคิดไปนิพพานหรือใช้แทนกันได้เลย
    มันไม่ใช่ที่ การพิจารณาอย่างแยบคายบ่อย ๆ นั้นเป็นทางเดิน
    เพราะไปกับสติปัฐฐาน 4 มี โพชฌงค์ และไปจนถึง วิสังขาร
    เมื่อสภาพจิตเข้าไปนิพพาน ตอนที่ท่าน มาทำสติปัฐฐาน 4 ให้กับกายสังขาร
    เพื่อการทรงอยู่ของกายนี้ ท่านปรุงหรือไม่ งั้นถามหนู K
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    .................ผมเห็นด้วยกับคุณ jit นะ....ทีนี้ความคิดเราล้ำหน้าไป...โดยไม่มีสภาวะรองรับ เราก็ได้แต่พูดกันเฉยเฉยเท่านั้นเอง....เหมือนหลวงพ่อพุธ กล่าวว่าเห็นอารมณ์ แยก ออกจากจิตผู้รู้ไม่สามรถปรุงแต่งจิตผู้รู้ได้ มันเกิดดับของมันโดย ไม่มีบัญญัติเรียกว่าอะไร...ได้แต่ความรู้ว่า" สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา"...ตรงนั้นต้องเข้าไปเห็นมันเองโดยธรรมชาติ ไม่ได้บังคับ...แต่ที่เราพูดอยู่นี่ เรายังไม่เห็นกันไงครับ เลยไม่รู้:cool:
     
  12. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  13. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ที่สุดของอาหาร ก็ไปเจริญในสิ่งที่เสพอาหารนั้น ซึ่งเป็นอาหารของสิ่งอื่นต่อไปอีก
    กินอาหารไม่ดี(กระทำเหตุมาไม่ดี) สิ่งไม่ดีเกิด
    กินอาหารดี(กระทำเหตุมาดี) สิ่งดีเกิด

    กำลังสงสัยที่จะถาม
    ที่สุดของอาหาร หมายถึงหมดอาหาร คือการที่กระทำเหตุมาดีจนกระทั่งไม่เอาเหตุปัจจัยอะไรอีก
    หรือว่า หมดอาหาร ดับเหตุปัจจัย

    มีคนสงสัยมาก ว่า ดับเหตุปัจจัยเข้านิพพาน
    กับ กระทำเหตุปัจจัยเพื่อเข้านิพพาน มันอย่างไรกัน

    ก็คงต้องบอกว่า กระทำเหตุปัจจัยเพื่อดับเหตุปัจจัย
    ระหว่างเดินทาง กับ จุดหมายเดินทาง มาบรรจบกัน
    รู้สึกเป็นเล่าปังปังไงไม่รู้ แต่หลายสำนวนของเขาก็ดีมากนะ


    ๑. อวิชชาสูตร
    ว่าด้วยโพชฌงค์ ๗ เป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ
    [๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชาย่อมไม่ปรากฏ,
    ในกาลก่อน แต่นี้ อวิชชาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึงกล่าว
    คำนี้อย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น อวิชชามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ ดูก่อน
    ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕ แม้นิวรณ์ ๕ เรา
    ก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่หีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕
    ควรกล่าวว่า ทุจริต ๓ แท้ทุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
    ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การไม่สำรวม
    อินทรีย์ แม้การไม่สำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
    อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่าความ
    ไม่มีสติสัมปชัญญะ แม้ความไม่มีสติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
    กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควร
    กล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยไม่
    แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหาร
    ของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ควรกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา แม้
    ความไม่มีศรัทธา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไร
    เป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรกล่าวว่า ก็ไม่ฟังสัทธรรม แม้
    การไม่ฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวไม่มีอาหาร ก็อะไร
    เป็นอาหารของการไม่ฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัปบุรุษ
    ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การไม่คบสัปบุรุษที่บริบูรณ์
    ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความ
    ไม่มีศรัทธาให้บริบูรณ์ ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ใน
    ใจโดยไม่แยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์
    ย่อมยังความไม่มีสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่
    บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การไม่สำรวมอินทรีย์
    ที่บริบูรณ์ ย่อมยังทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ทุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง
    นิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์ นิวรณ์ ๕ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์
    อวิชชานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้.

    ..

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้
    กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า
    โพชฌงค์ ๗ แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็ควรกล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่า
    ไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔
    แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอะไร ก็อะไร
    เป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓ แม้สุจริต ๓ เรา
    ก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต ๓
    ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่า
    มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวม
    อินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แม้สติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่า
    มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ
    ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
    เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการ
    กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่าศรัทธา แม้ศรัทธา เราก็กล่าวว่า
    อาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควร
    กล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
    กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า
    การคบสัปบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษ
    ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์
    ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดย
    แยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติ
    สัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์
    ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
    สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔
    ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์
    ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้
    และบริบูรณ์อย่างนี้.

    อวิชชาสูตร .. โพชฌงค์ ๗
     
  14. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ป๋า เข้าใจคำว่า ข่ม อ๊ะเปล่า
    ตัวรู้กับตัวคิด เป็นตัวเดียวกัน (สำนวนสายพระป่านะเนี่ย)
    สังขตธาตุ ยังดำรงไว้ซึ่ง การรู้ (ในฌาน)

    ..
    กรณี พระอรหันต์
    หากกลับมาดำรงขันธ์ จิตป็นฝ่ายกุศลและกิริยาจิต
    อันนี้ต้องอาศัยอาแปะมาอธิบายจ๊ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ก็อวิชชาคืออะไร อวิชชาก็คือ การไม่รู้อริยสัจสี่ ว่านี่คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค...:cool:
     
  16. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    มาปรุงต่อ กำลังอร่อย
    ดับอาหารอย่างหนึ่ง
    สร้างอาหารอย่างหนึ่ง
    เหตุดี ผลจึงดี

    คำหลวงพ่อชา นอกเหตุเหนือผล
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ท่านไม่ได้ปรุงแล้วจ้า เพราะวิสังขารตั้งแต่ตรัสรู้แล้ว
    ทรงสติปัญญา สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน4 ทุกลมหายใจ
    เข้าใจว่างี้ นะคะ ถ้าผิดพลาดประการใด ก็ ...
    ขอขมามิภัณเต พระพุทธเจ้า ณ.ที่นี้ด้วย
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ลึกซึ้ง จริงๆ นะ เจ่ปุณฑ์
    นึกไปถึงอันนี้เลย เริ่มต้นปริยัติผิดเข้าใจผิด(หรือตำราถูกแต่คนอ่านเข้าใจผิด) เป็นมิจฉาทิฏฐิ-เห็นผิด
    ลากยาวไปถึงระลึกผิด สมาธิผิด(ข่ม) รู้ผิดกลายเป็นปัญญาเข้าใจผิด
    สุดท้ายกลายเป็นวิปัสสนูกิเลสแล้วไม่รู้ แต่เข้าใจผิดคิดว่าวิมุติหลุดพ้น[​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กุมภาพันธ์ 2012
  19. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ขออภัยจ๊ะ มัวแต่มีสัญญาเก่า เลยไปตอบช่วงต้น
    ขอบคุณเค ที่ตอบช่วงหลัง

    เมื่อสภาพจิตเข้าไปนิพพาน ตอนที่ท่าน มาทำสติปัฐฐาน 4 ให้กับกายสังขาร
    เพื่อการทรงอยู่ของกายนี้ ท่านปรุงหรือไม่ งั้นถามหนู K


    การดำรงขันธ์ของพระอรหันต์ กลับมาใช้ขันธ์ห้า
    ยังใช้ขันธ์ในการดำรงอยู่ แต่ไม่ได้ปรุงกิเลส(เหตุปัจจัยของการเกิด)
    เป็นกุศลจิต กิริยาจิต
    ถ้าทำฌาน ก็เป็นโลกุตตระฌาน
    หรือจะใช้โลกียฌานในการใช้งานก็ได้
    อาจต้องรออาแปะ หรือผู้อื่นมาอธิบาย
     
  20. ต้นปลาย

    ต้นปลาย Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +69
    ตัวข่มเป็นไง หากไม่เคยสัมรวมไว้ จะไปรู้จักตัวข่มได้ไง

    หากหมั่นย้อนไปดูใจเรื่อย ตัวข่มเขาก็ทำงานเอง แต่ตอนแรกเราก็ต้องฝึกหยุดก่อน

    ผมเสียดายนะครับ หากปฏิบัติแล้วกลัวล่วงเกิน พุทธเจ้า นี่รอวันตายไปเลยครับ

    หรืออยู่กับตำราไปเลย ปฏิบัติ หรือสนทนา เดี่ยวจะพาหลงทางนี้ก็เอาตำราไปกอดเลยครับ

    วิสปณูจะไม่เกิดกับคนผิดศีล คนขี้เกียจ คนโง่ครับ

    หากปฏิบัติจนถึงวิปัสณูกิเลสได้นี่ ป๋าก็ขออนุโมทนาล่วงหน้าเลยครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...