สถานที่ปฏิบัติธรรมในจังหวัดอุดรธานี

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 3 พฤศจิกายน 2009.

  1. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระพุทธรัศมี พระประธานในพระอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์
    ............................................................................


    วัดโพธิสมภรณ์
    ถ.เพาะนิยม ต.หมากแข้ง
    อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
    โทรศัพท์ 042-346-884, 042-221-375,
    08-4955-3285, 08-5002-8657

    พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) เจ้าอาวาส

    พระราชวราลังการ (หลวงตาสิงห์ อินทปญโญ)
    เจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี (ธ) และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์

    พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) อดีตเจ้าอาวาส

    วัดโพธิสมภรณ์ เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่เสาร์ กนุตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยมหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้ชักชวนและนำพาราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งมาร่วมกันสร้างวัด ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดใหม่ ต่อมา พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท สิริวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ได้ทรงประทานนามว่า “วัดโพธิสมภรณ์” ให้เป็นอนุสรณ์แก่มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ผู้สร้างวัดนี้

    พระพุทธรัศมีคือพระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีสัตตนาคนหุต (เวียงจันทร์) อายุประมาณ 600 ปี และพระประธานองค์นี้ยังมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในพระเศียรด้วย

    [​IMG]
    พระขอ วัดโพธิสมภรณ์
    ............................................................................


    ด้านหลังพระอุโบสถ มีซุ้มฝาผนังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลาแลง ปางประทานพรขนาดองค์เล็กๆ สมัยลพบุรี อายุราว 1,300 ปี พระพุทธรูปองค์นี้ชาวเมืองอุดรให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก มักจะมีคนมากราบไหว้ขอพรอยู่เสมอ จนมีอีกชื่อหนึ่งว่า “พระขอ” ซึ่งหมายถึงหากเราขออะไรก็จะได้อย่างนั้นนั่นเอง

    [​IMG]
    พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)

    [​IMG]
    หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)

    ประวัติและปฏิปทาพระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป)

    ไหว้ 7 สิ่งศักดิ์สิทธิ์เมือง “อุดร” ขอพรให้สัมฤทธิ์ผล
    <!-- m -->www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14140
     
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระอาจารย์วันชัย วิจิตฺโต
    ............................................................................


    วัดภูสังโฆญาณวิสุทธิโสภณ
    (วัดภูสังโฆ, วัดป่าสังฆาราม)
    บ้านกุดหมากไฟ ต.กุดหมากไฟ
    อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี 41220

    พระอาจารย์วันชัย วิจิตฺโต ประธานสงฆ์

    วัดภูสังโฆญาณวิสุทธิโสภณ (วัดภูสังโฆ, วัดป่าสังฆาราม) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดเสิงเคิง เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นวัดที่เน้นหนักและเข้มงวดเรื่องการปฏิบัติภาวนา สถานที่สัปปายะ เหมาะอย่างยิ่งในการเร่งปฏิบัติภาวนาอย่างจริงจัง

    การเดินทาง : มาจากตัวเมืองอุดร บนถนนอุดร-เลย ถึงทางแยกไปตัว อ.หนองวัวซอ เลี้ยวซ้าย ระยะทางตรงนี้ ประมาณ 22 กม. ตรงไปเรื่อย จะผ่านตัว อ.หนองวัวซอ ให้ตรงไปอีกบนถนนลาดยาง จนเกือบสุดถนน ให้เลี้ยวซ้ายไปทางบ้านกุดหมากไฟ ตามถนนลาดยางไปไม่ไกล จะต้องเลี้ยวซ้าย มีป้ายบอก ให้สังเกตป้าย และถามทางไปเรื่อยๆ จนสุดถนนลาดยาง จะมีทางเลี้ยวขวา (ถนนดินแดง) ไปเรื่อยๆ ก็จะถึงวัด

    หรือเดินทางจาก อ.เมือง จ.อุดรธานี ก็นั่งรถสองแถวที่จะไปบ้านกุดหมากไฟ สุดสายเลย แล้วบอกให้สองแถวเลยไปส่งต่อที่วัดภูสังโฆ ได้เลย สองแถวจะรู้หมดทุกคัน ชาวบ้านจะเรียกชื่อวัดว่า วัดเสิงเคิงหรือวัดภูสังโฆ ก็จะทราบเป็นส่วนใหญ่

    [​IMG]
    พระประธานในศาลาการเปรียญ วัดภูสังโฆ
    ............................................................................


    พระอาจารย์วันชัย วิจิตฺโต เกิดวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2491 อดีตนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 8 และ จปร. รุ่น 19 ท่านได้ทำงานรับราชการทหารอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นจึงออกบวช แล้วได้พบหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นครั้งแรกที่มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซ.จรัญสนิทวงศ์ 37 ฝั่งธนบุรี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

    หลวงตามหาบัวได้ให้คำแนะนำว่า “ไม่ควรอยู่เร่ๆ ร่อนๆ ควรจะอยู่กับครูบาอาจารย์...”

    จากนั้นไม่นานท่านก็เดินทางไปศึกษากับหลวงตามหาบัว ที่วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

    “...ถ้าเป็นน้ำก็แหวกลงไป แหวกจอกแหวกแหลงไป เห็นแล้วน้ำใสสะอาดซ่อนอยู่หลัง ความหมายมั่นสำคัญผิดนี่เอง แหวกความสำคัญทั้งหลายออก ออกให้หมด ธรรมทุกประเภท อนิจจังก็แล้ว ทุกขังก็แล้ว อนัตตาก็แล้ว แหวกออกๆ จนไม่มีอะไรจะแหวก ถึงน้ำใสบริสุทธิ์ ถึงจิตดั้งเดิม ตัวจริงของจิตเป็นแบบนี้ ใสสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรเลยเจือปน ใสแท้

    เห็นธรรม บรรลุธรรม เห็นกายก็จริง เห็นเวทนาก็จริง เห็นจิตจริงๆ... ทุกสิ่งทุกอย่างจริงไปหมด... ฝึกแล้วฝึกเล่า ภาวนาแล้วภาวนาเล่า ทุกข์แล้วทุกข์เล่า

    พยายามแหวกสิ่งที่คนทั้งหลายเขาละเลย ท่านเห็นอะไรท่านก็พินิจพิจารณาเป็นธรรม ได้ยินอะไรท่านก็พินิจพิจารณาเป็นธรรม ได้กลิ่นลิ้มรสได้สัมผัสอะไรก็พินิจพิจารณาอยู่อย่างนั้น ถึงเอียงซ้าย***************งขวามันก็ไม่เอียง ต้องปรับให้มันตรงอยู่เรื่อย ตรงความจริงอยู่เรื่อย ในที่สุดก็แหวกออกหมด เหลือแต่ความจริงของจิต... ทางภาคปฏิบัติ ปฏิบัติไปๆ เหมือนกับจะไม่เห็นฝั่งเห็นฝาอะไรเลย เหมือนกับไม่มีวันถึงไหน...

    ถึง ต้องถึง... นักปฏิบัติไม่หยุดไม่ถอย ยังไงมันก็ต้องถึง เหมือนกับมืดสนิทจะไม่มีวันสว่างเลย เหมือนกับโง่ดักดานจนไม่มีวันรู้เลย... ไม่ใช่... มันค่อยเปลี่ยนแปลงไปๆ จากการประพฤติปฏิบัติของเรา เปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด จากชั่วเปลี่ยนไปดี จากมืดเปลี่ยนไปสว่างไปเรื่อย จากขุ่นมัวเปลี่ยนเป็นผ่องใสไปๆ จากกิเลสก็เปลี่ยนเป็นธรรมขึ้นมา...”

    ท่านพระอาจารย์วันชัย วิจิตฺโต

    [​IMG]
    ศาลาการเปรียญ วัดภูสังโฆ
    ............................................................................
     
  3. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระประธานภายในศาลาวัดป่าบ้านตาด
    ............................................................................


    วัดป่าบ้านตาด (วัดเกษรศีลคุณ)
    บ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000


    วิปัสนาจารย์ หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน เจ้าอาวาส

    วัดป่าบ้านตาด เป็นวัดปฏิบัติตามแนวหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    [​IMG]
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    <!-- m -->http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7703<!-- m -->

    แผนที่วัดป่าบ้านตาด
    <!-- m -->http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3210<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติวัดป่าบ้านตาด

    วัดป่าบ้านตาด เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๘ ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ ให้ชื่อว่า วัดเกษรศีลคุณ ซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในนาม วัดป่าบ้านตาด

    ตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑๖ กิโลเมตรโดยมีศรัทธาญาติโยมชาวบ้านตาดถวาย พื้นที่ในกำแพงล้อมรอบประมาณ ๑๖๓ ไร่ และบริเวณรอบกำแพงที่มีผู้ซื้อที่ถวายอีกหลายแปลง ตลอดทั้งทางวัดซื้อที่เพิ่ม อีกประมาณ ๑๔๐ ไร่ รวมประมาณ ๓๐๐ ไร่ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม อันสงบเรียบง่าย ร่มครึ้มไปด้วยต้นไม้สูงใหญ่นานาพันธุ์ เป็นสถานที่พึ่งพิงของสัตว์น้อยใหญ่ ในเขตอภัยทานหลากชนิด อาทิ ไก่ป่า กระรอก กระแต กระต่าย เต่า แย้ นก ฯลฯ

    เมื่อก้าวย่างเข้าสู่บริเวณวัด จะพบศาลาการเปรียญซึ่งเป็นศาลาไม้หลังใหญ่ เดิมทีเป็นศาลาชั้นเดียวยกพื้นเตี้ย แต่ภายหลังถูกยกให้สูงขึ้น ๒ ชั้น เพื่อจะใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ด้านบนศาลานั้น ให้เป็นที่ประดิษฐาน ของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่เป็นพระประธานของวัด ใช้เป็นที่แสดงธรรมอบรมแก่พระภิกษุสามเณรในวัด ตลอดจนเป็นที่ประชุมทำสังฆกรรมร่วมกัน เช่น สวดพระปาฏิโมกข์ อธิษฐานเข้าพรรษา สวดปวารณา และกรานกฐินเป็นต้น ตู้ด้านขวาขององค์พระประธาน นั้น เป็นที่ประดิษฐานอัฐิธาตุของ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงตามหาบัว รวมทั้งอัฐิธาตุของครูบาอาจารย์องค์อื่นๆ ส่วนด้านล่างศาลานั้นใช้เป็นที่สำหรับฉันภัตตาหารเช้า สถานที่ที่หลวงตามหาบัวใช้ในการแสดงธรรมเทศนาและปฏิสันถารกับศรัทธาฆราวาสญาติโยม ที่มาจากทุกสารทิศอย่างไม่ขาดสายไม่เว้นแต่ละวัน

    สำหรับศาลาใหญ่ด้านนอกกำแพงนั้น สร้างเสร็จเมื่อปลายปี ๒๕๔๔ มีศรัทธาญาติโยมขอสร้างถวาย หลวงตาท่านพิจารณาดูแล้ว เพราะเกี่ยวกับงานช่วยชาติที่จัดหลายๆ ครั้ง เช่น กฐินช่วยชาติเป็นต้น ญาติโยมจากทุกสารทิศไม่มีที่พักอาศัย และที่ร่มบังในเวลามีงานแต่ละวาระ จึงเมตตาให้สร้างเพื่ออาศัยประโยชน์จากจุดนี้

    กุฏิของพระภิกษุสามเณรแต่ละรูป เป็นกุฏิเรียบง่าย พอแก่การบังแดด ลม ฝน จะสูงจากพื้นดิน ประมาณ ๑ เมตร เพื่อกันการรบกวนจากสัตว์เลื้อยคลาน ความชื้นจากพื้นดิน ฯลฯ มีขนาดเพียงพอ สำหรับอยู่เพียงองค์เดียว ฝาผนังส่วนใหญ่ใช้จีวรเก่าขึงแทน เพื่อกันลม กันฝน ใช้มุ้งกลดกันยุง ภายในกุฏิจะมีเพียงกลด เสื่อปูนอน ผ้าห่ม เครื่องอัฏฐบริขาร ตะเกียงหรือเทียนไข และของใช้ ที่จำเป็นอื่นๆ ด้านหัวนอนจะมีพระพุทธรูปหรือรูปครูบาอาจารย์ติดไว้ เพื่อกราบไหว้บูชาเป็น กำลังใจในการบำเพ็ญภาวนา ทุกกุฏิจะมีทางเดินจงกรมอย่างน้อย ๑ เส้น ยาวประมาณ ๒๕ ก้าว อยู่ใต้ร่มไม้ดูร่มเย็น ในยามค่ำคืนการเดินจงกรม จะใช้โคมเทียนจุดสว่างพอให้เห็นทาง กุฏิแต่ละหลัง จะมองไม่เห็นกันประหนึ่งว่า อยู่ท่ามกลางป่าเพียง องค์เดียว เพื่อให้สัปปายะสะดวกในการบำเพ็ญ สมณธรรม

    กุฏิที่สร้างถาวรมีอยู่รวมประมาณ ๑๐ กว่าหลัง เป็นกุฏิของหลวงตา ภิกษุสูงอายุ กุฏิของญาติโยม ตามปกติญาติโยมทั้งหญิงและชายมักมาขออยู่พัก ปฏิบัติธรรมภาวนา เป็นช่วงเวลาสั้นๆ โดยเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง ประมาณ ๕๐-๑๐๐ คน จัดแยก เขตกันระหว่างพระภิกษุสามเณร ญาติโยมชายและหญิงอย่างเป็นระเบียบ

    สำหรับวัดป่าบ้านตาดนี้ หลวงตาท่านเน้นย้ำถึงเรื่องมหาภัย ๕ ประเภทที่ไม่ให้พระเกี่ยวข้องเด็ดขาด คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ วิดิโอ โทรศัพท์ เพราะเป็นอุปสรรคต่อการบำเพ็ญสมณ ธรรมโดยตรง อีกทั้งไฟฟ้า ก็ไม่ให้ต่อเข้ามาในวัด มีเพียงเครื่องปั่นไฟ เพื่อใช้ในบางกาล ที่ประชาชนมาทำบุญมาก เป็นกรณีพิเศษในวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น

    กิจวัตรประจำวันหลักของพระเณรก็คือ การนั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรม เพื่อฝึกสติปัญญา และชำระกิเลสตัวร้อนรุ่มกระวนกระวายภายในจิตใจให้เหือดแห้งไป พระในวัดนี้จะไม่รับกิจนิมนต์ ไปฉันในที่ต่างๆ เพื่อมีเวลาสำหรับบำเพ็ญเพียรภาวนาเพียงอย่างเดียว

    ที่วัดป่าบ้านตาดปัจจุบัน (ปี ๔๔) ในพรรษามีพระเณรจำพรรษา ๔๙ รูป สามเณร ๑ รูป นอกพรรษาจะมีพระภิกษุสามเณรอาคันตุกะ เข้ามาพักศึกษาข้อวัตร ปฏิบัติเพิ่มขึ้นรวมเป็น ๕๐-๖๐ รูปเป็นประจำ สำหรับในยามเช้าก่อนออก บิณฑบาตทั้งพระและเณรต่างช่วยกันขัดถูปัดกวาดศาลาและบริเวณรอบๆ เสร็จแล้วเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ระยะทางไปกลับประมาณ ๓ กิโลเมตร ขากลับแวะรับบาตรที่หน้าวัดอีกครั้งหนึ่ง และในช่วงประมาณ บ่าย ๓ โมงเย็น ท่านก็จะออกมาทำข้อวัตรปัดกวาด เสนาสนะ ขัดถู กุฏิ ศาลา บริเวณวัด ทำความสะอาด ห้องน้ำห้องส้วม อย่างพร้อมเพรียงกัน

    หลวงตาได้ พยายามสอนพระเณรอยู่เสมอ ในเรื่อง ความเรียบง่าย มักน้อยสันโดษ การใช้สอย ปัจจัยสี่ที่ศรัทธาญาติโยมถวายมานั้น ให้เป็นไปด้วยความประหยัด ใช้สอยในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น หลายท่านที่ตั้งใจจะมากราบหลวงตาที่วัด อาจจะแปลกใจหากไม่พบป้ายชื่อวัด แต่นั่นก็อาจจะทำให้หลายคนได้นึกคิดจาก ปริศนาธรรมนี้ว่า หลวงตาท่านทำมีความหมายอย่างไร หลายคนอาจจะตีความหมายไปต่างๆนานา มีบางท่านตีความหมายนี้ ซึ่งดูเหมือนจะเข้าทีที่สุดว่า การเดินทาง ถ้าเดินตามแผนที่ที่บอกเป็นระยะ ว่าเส้นทางจะผ่านจุดที่สำคัญจุดไหนบ้าง เป็นลำดับ จนกระทั่งการเดินทางตามเส้นทางไปถึงจุดหมาย ถึงแม้จุดหมายจะไม่มีชื่อบอกก็ตาม ทุกคนที่เดินทางไปก็จะทราบเองว่า ถึงจุดหมายหรือยัง ชื่อก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป หรือเส้นทางไปสู่วิมุตตินิพพานก็เช่นกัน ปฏิบัติไปตามหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าวางไว้ เมื่อไปถึงแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องถามใครว่าถึงจุดมุ่งหมายหรือไม่ ปริศนาธรรมนี้ อาจทำให้ผู้มีปัญญาทั้งหลายพอจะทราบว่า หลวงตาท่านสอนอะไร ตั้งแต่เริ่มก้าวเข้ามาในวัดนี้

    นโยบายวัดป่าบ้านตาด

    ๑. ด้านจิตภาวนา

    สำหรับพระภิกษุสามเณร ที่มาศึกษาอบรมสมาธิภาวนา

    วัดป่าบ้านตาด ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ เป็นสถานที่ที่สงบสงัด อุดมด้วยต้นไม้ร่มเย็น เหมาะแก่การบำเพ็ญจิตตภาวนา หลวงตาท่านจึงเข้มงวดกวดขันต่อพระภิกษุสามเณร ที่เข้ามาพักปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง พระภิกษุสามเณรจะต้องรักษาธรรมวินัย และข้อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จริงจัง ระยะแรกมีพระที่จำพรรษาไม่มาก ประมาณ ๑๐-๑๕ รูป ต่อๆ มาก็รับเพิ่มขึ้น กระทั่งปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ ๕๐ รูป

    สำหรับฆราวาส ผู้มาปฏิบัติธรรม

    ในระยะแรกหลวงตาท่านไม่รับฆราวาสที่มุ่งมาปฏิบัติธรรม แต่เมื่อมีผู้สนใจมากขึ้นๆ ท่านจึงอนุโลมผ่อนผัน มีฆราวาสทั้งชายและหญิง ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศที่มุ่งมาพักปฏิบัติธรรมจำนวนมากในปัจจุบัน ทางวัดจัดให้มีเขตชาย-หญิงชัดเจน ไม่คลุกเคล้าปะปนกัน ผู้มุ่งมาปฏิบัติธรรมล้วนแต่อยู่ในความสงบสำรวม ตามกฎระเบียบของวัดที่มุ่งเน้นด้านจิตตภาวนา ระยะเวลาที่ให้พัก ทางวัดไม่ให้อยู่ถาวร แต่อนุญาตให้อยู่พักได้ไม่เกิน ๗-๑๐ วัน

    สำหรับผู้มุ่งมาทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ หลวงตาท่านจะแสดงธรรมเป็นประจำวันทุกวัน การบิณฑบาตจะเริ่มประมาณ ๖.๐๐ น. เริ่มฉันประมาณ ๗.๐๐ น. พระภิกษุสามเณรที่วัดป่าบ้านตาดนี้ฉันเพียงวันละมื้อเดียวเท่านั้น เพื่อมิให้เป็นความกังวลและเสียเวลา หลวงตาจะเริ่มเทศนาประมาณ ๗.๓๐ น. หากมีคณะผู้แสวงบุญจากทั่วทุกสารทิศมุ่งมาฟังเทศน์ของหลวงตา ในยามบ่ายหลังจากท่านกลับจากการเดินทางเพื่อมุ่งสงเคราะห์โรงพยาบาล ฯลฯ ท่านมักจะเมตตาเทศนาแก่คณะดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง

    การเดินทางไปวัดป่าบ้านตาด

    1. เครื่องบิน
    - มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ - อุดรธานี ทุกวัน วันละ 3 เที่ยวบินดังนี้
    1) เวลา 06.50 น.
    2) เวลา 12.30 น.
    3) เวลา 18.15 น.

    - มีเที่ยวบินระหว่างอุดรธานี - กรุงเทพฯ ทุกวัน วันละ 3 เที่ยวบินดังนี้
    1) เวลา 08.40 น.
    2) เวลา 14.25 น.
    3) เวลา 20.05 น.

    2. รถไฟ
    (หมายเหต : กรุณาตรวบสอบกับการรถไฟแห่งประเทศไทยก่อน ก่อนการเดินทาง)
    - มีการเดินรถระหว่างกรุงเทพฯ - อุดรธานี ทุกวัน โดยออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ
    ตามเวลาดังนี้
    1) เวลา 06.00 น. ขบวนรถเร็ว กรุงเทพฯ - หนองคาย
    2) เวลา 08.20 น. ขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพฯ - อุดรธานี
    3) เวลา 18.30 น. ขบวนรถเร็ว กรุงเทพฯ - หนองคาย
    4) เวลา 20.00 น. ขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ กรุงเทพฯ - หนองคาย
    5) เวลา 20.45 น. ขบวนรถด่วน กรุงเทพฯ - หนองคาย

    - มีการเดินรถระหว่างอุดรธานี - กรุงเทพฯ ทุกวัน โดยออกจากสถานีรถไฟอุดรธานี
    ตามเวลาดังนี้
    1) เวลา 07.26 น. ขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ หนองคาย - กรุงเทพฯ
    2) เวลา 09.15 น. ขบวนรถเร็ว หนองคาย - กรุงเทพฯ
    3) เวลา 18.35 น. ขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ อุดรธานี - กรุงเทพฯ
    4) เวลา 19.04 น. ขบวนรถเร็ว หนองคาย - กรุงเทพฯ
    5) เวลา 20.02 น. ขบวนรถด่วน หนองคาย - กรุงเทพฯ

    3. รถทัวร์
    - มีรถบัสปรับอากาศออกจากบริษัททัวร์สายตะวันออกเฉียงเหนือหลายบริษัท ที่สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

    หมายเหต : ก่อนเข้าเมืองอุดรธานี ให้ลงบนถนนใหญ่มีป้ายว่า “บ้านคำกลิ้ง” จะมีรถ SKY LAB (รถมอเตอร์ไซด์ที่มีรถพ่วงสำหรับผู้โดยสารนั่ง) เข้าไปถึงวัดใช้เวลาเพียง 10 นาที
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2009
  4. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดประสิทธิธรรม
    วัดประสิทธิธรรม
    หมู่ 5 บ้านดงเย็น ต.ดงเย็น
    อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี 41190

    พระอาจารย์วิสุทธิ์ ศิริจันโท เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ และหลวงปู่ผาง ปริปุณโณ อดีตเจ้าอาวาส

    วัดหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ, หลวงปู่ผาง ปริปุญโณ
    ปฏิบัติธรรมตามแนวทางหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    [​IMG]

    วัดประสิทธิธรรม เป็นวัดป่าธรรมยุตินิกาย เป็นวัดที่ หลวงปู่ผาง ปริปุณโณ จำพรรษาก่อนมรณภาพ วัดประสิทธิธรรมเป็นสถานที่ สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ปัจจุบันมีพระอาจารย์วิสุทธิ์ ศิริจันโท เป็นเจ้าอาวาส

    เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ตั้งอยู่บริเวณวัดประสิทธิธรรม เป็นเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของหลวงปู่พรหม พระอาจารย์สายกัมมัฏานชื่อดัง ท่านที่อยากมาปฏิบัติธรรมที่วัดป่าประสิทธิธรรม กรุณาโทรสอบถามทางด้วยนะครับ มาปฏิบัติธรรมได้ทุกเวลาทุกโอกาส

    [​IMG]
    อัฐิธาตุหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

    [​IMG]
    หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

    [​IMG]
    หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

    ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่ผาง ปริปุณโณ
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ˅ǧ?٨?ҧ ?Ô?سڢ?<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  5. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโญ
    ............................................................................


    วัดป่าบ้านค้อ (วัดบ้านค้อ)
    หมู่ 7 ต.เขือน้ำ
    อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160
    โทรศัพท์ 042-250-731

    พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโญ อดีตเจ้าอาวาส

    วัดป่าบ้านค้อ เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    วัดป่าบ้านค้อ เป็นวัดที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และเป็นวัดต้นแบบเข้าร่วมโครงการวัดวิถีพุทธเฉลิมพระเกียรติ เข้าวัดปฏิบัติธรรมบำเพ็ญกุศลในวันอาทิตย์

    ประวัติวัดป่าบ้านค้อ

    ได้ก่อตั้งขึ้นโดยการนำของพระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโญ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๘ มีเนื้อที่โดยรวม ๔๑๐ ไร่ ปัจจุบันวัดป่าบ้านค้อ มีเสนาสนะและการสาธารณูปโภคเท่าที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยปฎิบัติธรรมสำหรับพระ และฆราวาส มีเสนาสนะป่าเหมาะแก่การปลีกวิเวกของผู้ใคร่ในการปฎิบัติธรรม ในส่วนของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการบริการชุมชน จังหวัดอุดรธานีกำหนดให้วัดป่าบ้านค้อเป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดอุดรธานี ได้จัดให้มีการบรรพชาอุปสมบทอบรมกลุ่มปฏิบัติธรรมแก่ นักเรียน ข้าราชการและประชาชนทั่วไป อีกทั้ง ยังมีฆราวาสทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เข้าพักรับอุบายธรรมภาคปฏิบัติอยู่อย่างสม่ำเสมอ

    ประวัติพระเจดีย์

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อพระมหาเจดีย์แห่งนี้ว่า พระมหาธาตุเจดีย์เฉลิมพระบารมีพระนวมินทร์ แปลว่าเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้สร้างขึ้น เพื่อเฉลิมพระบารมีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙

    องค์เจดีย์ทรงระฆังมีความงดงามเป็นอย่างมาก ส่วนฐานกว้าง ๒๔ เมตร สูง ๗๒ เมตร ด้วยเหตุที่องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนเนินดินขนาดใหญ่ และบริเวณรอบเจดีย์มีการจัดแต่งภูมิทัศน์ที่สวยงาม ทำให้องค์เจดีย์มีความเด่นเป็นสง่าอย่างมาก เนื้อองค์เจดีย์พื้นผิวกรุกระเบื้องโมเสคสีมุก ส่วนยอดปลายเป็นดอกบัวทองคำ (บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๓๓ องค์) ภายในเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ได้อัญเชิญมาจากศรีลังกา จำนวน ๘ องค์ ส่วนโดมพระเจดีย์มีภาพจิตรกรรมพระมหาชนก ที่สวยงามเป็นอย่างมาก ส่วนบานประตูรอบองค์เจดีย์จำนวน ๔๔ บาน ได้แกะสลักกระจกเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา

    ต้นพระศรีมหาโพธิ์

    ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ รัฐบาลแห่งประเทศศรีลังกาได้แบ่งกิ่งพันธุ์ต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากเมืองอนุราธปุระ อันเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระนางสังฆฆิตตาเถรี ภิกษุณีที่เป็นพระอรหันต์ได้ตอนกิ่งมาจากต้นโพธิ์ตรัสรู้ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ถวายแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พระมหากษัตริย์แห่งศรีลังกา เมื่อสองพันปีเศษที่ผ่านมา

    พิธีปลูกได้กำหนดขึ้นโดยมีประธานในพิธีคือ สมเด็จพระสังฆราชอูดูกามะ ศรีพุทธรักขิตตะ และท่านมิสเตอร์นิรันจัน นิลาแม ในนามตัวแทนรัฐบาลศรีลังกา พระธรรมโสภณ เจ้าคณะภาค ๘ (ธ) ประธานคณะสงฆ์ฝ่ายไทย และคณะพุทธบริษัทชาวไทยได้ร่วมกันปลูกไว้ ณ โพธิบัลลังก์แห่งนี้ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๕

    งานประจำปี

    ในช่วงเทศกาลมาฆบูชาของทุกปี ทางวัดจะจัดงานเป็นระยะวาลา ๕ วัน ๕ คืน มีการบวชชีพราหมณ์ รับฟังอุบายธรรมปฏิบัติจากครูบาอาจารย์ทั่วประเทศ ในวันสุดท้ายคือวันมาฆบูชา ช่วงบ่ายจะมีพิธีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ และเวียนเทียนรอบพระมหาเจดีย์เวลากลางคืน

    พระธรรมเทศนา
    ท่านพระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญโญ

    อุบายในการฝึกปัญญา

    อุบายในการฝึกปัญญา มีอุบายหลายอย่าง ข้อสำคัญคืออุบายฝึกความเห็นชอบเป็นหลักที่สำคัญอย่างยิ่ง จากนั้นก็มาฝึกตัวเองให้เป็นนักสังเกตในเหตุการณ์ต่างๆ เมื่อสังเกตแล้ว ก็มาฝึกในการตริตรองหาเหตุผลมาเป็นองค์ประกอบว่า...สิ่งนั้นจะเป็นเหตุให้เกิดเป็นผลอย่างไร ในเมื่อผลได้เกิดขึ้นแล้วก็ต้องย้อนคิดถอยหลังไปหาเหตุ ถ้าเป็นเหตุที่ดี ทำให้เกิดเป็นผลดี เราต้องสร้างเหตุที่ดีนั้นๆ เพื่อให้เกิดผลดีต่อๆ ไป

    ถ้าคิดพิจารณาแล้วว่าผลที่ไม่ดีเป็นอย่างนี้ เกิดจากเหตุที่ไม่ดีเป็นอย่างนี้ เราก็อย่าไปก่อเหตุที่ไม่ดีนี้ขึ้นอีกเพราะจะเกิดเป็นผลที่ไม่ดี การตริตรอง การวิเคราะห์ การวิจัย การวิจารณ์ การพิจารณา และการใช้ความคิดเป็นลักษณะความหมายอย่างเดียวกัน นั้นหมายความว่า กระจายเรื่องออกมาให้กระจ่าง ให้เกิดความชัดเจน เพื่อจะได้รู้เห็นในความเป็นจริงในสิ่งนั้นๆ เพื่อจะได้เข้าใจในเหตุผลว่า ผลที่ถูกมาจากเหตุอะไร ผลที่ผิดมาจากเหตุอะไร เหตุอย่างไรควรทำ และเหตุอย่างไรไม่ควรทำ เหตุอย่างไรควรพูด เหตุอย่างไรไม่ควรพูด นี้เรียกว่า อุบายฝึกปัญญา

    ปัญญาแปลว่าความรอบรู้ ต้องรอบรู้ในเหตุที่ผิดและรอบรู้ในเหตุที่ถูก
    รอบรู้ในผลที่ผิด รอบรู้ในผลที่ถูก
    รอบรู้ในสิ่งที่ควรทำ รอบรู้ในคำที่เราพูด
    นี้เรียกว่าอุบายฝึกปัญญาโดยตรง

    ในทางธรรมะ เรียกว่า โยนิโสมนะสิการ ฝึกคิด ฝึกพิจารณาให้เกิดความถูกต้องตามหลักความเป็นจริงอยู่เสมอๆ เมื่อใจยอมรับความจริงจึงเรียกว่า เกิดความแยบคาย ความแยบคายหมายถึงใจได้รับความกระจ่างจากการคิดพิจารณาในเหตุผลที่เป็นจริง ถ้าใจได้รับความกระจ่างชัดเจนเมื่อไร จึงเรียกว่า ปัญญาเราเริ่มเกิดขึ้นแล้ว

    คำว่า ปัญญาเกิด คือเกิดความเข้าใจและเกิดความรู้เห็นในหลักสัจจธรรมตามความเป็นจริงว่าของทุกสิ่งเกิดขึ้นจากเหตุอะไร ก็จะต้องดับไปด้วยเหตุนั้นๆ การพูดเพียงคำว่าเกิดขึ้นแล้วดับไป เพียงเท่านี้ ผู้มีปัญญา (ธรรม) ดีเท่านั้นจึงจะรู้ได้ คนส่วนใหญ่ก็ได้พูดกันไปตามตำราเท่านั้น ส่วนลึกๆ ในความหมายจริงๆ หารู้ไม่ การรู้ในตำราเพียงเท่านี้ ใจเกิดความแยบคายไม่ได้ ถึงจะพูดถูกก็ถูกไปตามตำราเท่านั้น ใจไม่ได้เกิดความแยบคายและหายสงสัยภายในใจแต่อย่างใด ในเมื่อใจยังไม่หายความสงสัย การละถอนปล่อยวางในสิ่งใดๆก็ปล่อยวางไม่ได้ ใจที่เคยยึดติดในสิ่งใด ก็จะยึดติดในสิ่งนั้นๆ ต่อไป จึงได้เกิดตายตลอดมายาวนานฯ

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อทูล ขิปฺปปญโญ
    <!-- m -->www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7796
     
  6. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    วัดป่าภูก้อน
    หมู่ 6 บ้านนาคำ ต.บ้านก้อง
    อ.นายูง จ.อุดรธานี 41380
    โทรศัพท์ 042-236-135, 042-281-045

    พระครูจิตตภาวนาญาณ (พระอาจารย์ชาลี ถิรธมฺโม)
    เจ้าอาวาสวัดป่าภูก้อน และเจ้าคณะอำเภอนายูง (ธ)

    วัดป่าภูก้อน เป็นวัดป่าปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต สังกัดธรรมยุติกนิกาย

    ประวัติวัดป่าภูก้อน

    วัดป่าภูก้อน บ้านนาคำ ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี เกิดจากความดำริของพุทธบริษัทผู้ตระหนักถึงคุณค่าอันยิ่งใหญ่ และความสำคัญของป่าไม้ธรรมชาติที่เหลือน้อยลงทุกวัน โดยมุ่งดำเนินตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการรักษาความสมบูรณ์ของป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ตลอดจนสัตว์ป่า และพรรณไม้นานาพันธุ์ เพื่อให้เป็นมรดกของลูกหลานไทยคู่กับแผ่นดินไทย พร้อมทั้งเพื่อจรรโลงส่งเสริมพระบวรพุทธศาสนา ให้เจริญมั่งคงคู่แผ่นดินไทยตราบชั่วกาลนาน

    ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ คุณโอฬาร และคุณปิยวรรณ วีรวรรณ พร้อมคณะ ได้เดินทางมาแสวงหาความสงบยังจังหวัดสกลนครและจังหวัดอุดรธานี เกิดความเลื่อมใสในวัตรปฏิปทาของพระป่า ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ท่านพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก แห่งวัดป่านาคำน้อย ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี และท่านพระอาจารย์หนูสิน ฉันทสีโล พร้อมทั้งคณะศรัทธาญาติโยมและชาวบ้านนาคำใหญ่ ได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้น โดยนิมนต์พระอาจารย์ชาลี ถิรธมฺโม จากวัดถ้ำจันทร์ ตำบลชมพูพร อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย ให้มาอยู่เป็นประธานและเป็นขวัญกำลังใจในการนำพาสร้างวัดแห่งนี้

    [​IMG]

    การก่อสร้างวัดป่าภูก้อนจึงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ โดยการริเริ่มของครอบครัวคุณโอฬาร และคุณปิยวรรณ วีรวรรณ โดยได้รับการเมตตาอนุเคราะห์ให้คำแนะนำปรึกษาของพระเถราจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในภูมิภาคอีสานหลายองค์ ตลอดจนได้รับความร่วมมือร่วมใจของพุทธบริษัทหลายฝ่าย จึงได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อสร้างวัดบนเนื้อที่ ๑๕ ไร่ จากกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๐ การก่อสร้างได้สำเร็จลุล่วงแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ใช้งบการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น ๗๑ ล้านบาท

    ภูก้อน เป็นชื่อของภูเขาลูกหนึ่ง ตั้งอยู่ในท้องที่บ้านนาคำ หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี เป็นภูเขาลูกใหญ่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๘๒๗ เมตร สภาพโดยรอบเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ อากาศชื้น มีหมอกปกคลุม เป็นต้นน้ำลำธารซึ่งมีน้ำไหลตลอดทั้งปี

    วัดป่าภูก้อน เป็นวัดสังกัดธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูง-ป่าน้ำโสม บ้านนาคำ ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี อันเป็นรอยต่อแผ่นดิน ๓ จังหวัด คือ จังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย และจังหวัดหนองคาย เป็นวัดที่ถูกต้องตามระเบียบกรมการศาสนาตั้งแต่เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ และเพื่อรักษาบริเวณวัดไว้ให้มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ จึงขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่โดยรอบวัด ซึ่งต่อมาได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ให้จัดตั้งพุทธอุทยานขนาดเนื้อที่ ๑,๐๐๐ ไร่ ได้รับขนานนามว่า “พุทธอุทยานมหารุกขปาริชาติภูก้อน” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมี ท่านพระครูจิตตภาวนาญาณ (พระอาจารย์ชาลี ถิรธมฺโม) เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าภูก้อน และเจ้าคณะอำเภอนายูง (ธรรมยุต) ทั้งนี้ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และได้รับเกียรติจากท่านจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น เป็นประธานในพิธีฝังลูกนิมิตและผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๑๓-๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓

    [​IMG]

    พุทธอุทยานแห่งนี้ เคยเป็นสถานที่ธุดงควัตรของพระนวกะจากโรงเรียนนายร้อยทั้ง ๔ เหล่าทัพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ประกอบพิธีบรรพชาในภาคฤดูร้อน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร แล้วประทานอนุญาตให้อบรมกัมมัฏฐาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นเวลา ๕ ปีติดต่อกันมา

    ด้วยความสง่างามและศักดิ์สิทธิ์ของอาณาเขตพุทธอุทยานและป่าสงวนแห่งชาติ จึงมีผู้ได้พบเห็นหลักฐานของความอัศจรรย์ของธรรมชาติแห่งนี้อยู่เสมอ คณะศรัทธาญาติโยมจึงร่วมกันดำริสร้างองค์พระมหาเจดีย์ มีนามว่า “พระปฐมรัตนบูรพาจารย์มหาเจดีย์” ณ ยอด “ภูเจ้าเมือง” วัดป่าภูก้อน เป็น ๑ ใน “โครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒” และอัญเชิญตราสัญลักษณ์และพระรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานภายในองค์พระเจดีย์ด้วย

    ในโอกาสนี้ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้กราบทูลเชิญเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเกศพระประธาน “พระร่วงรุ่งโรจน์ศรีบูรพา” หน้าองค์พระมหาเจดีย์ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔ และยังได้รับมอบประกาศนียบัตรจากกรมป่าไม้ เป็นวัดอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ดีเด่นระดับจังหวัด ประเภทดูแลรักษาป่าดั้งเดิม ประจำปี ๒๕๔๔

    [​IMG]

    เนื่องในมหามงคลสมัย ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ ที่จะมาถึง ด้วยความสำนึกระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ท่าน คณะพุทธบริษัทจึงพร้อมใจกันจัดสร้าง พระพุทธไสยาสน์หินอ่อนขาว ปางปรินิพพาน ยาว ๒๐ เมตร โดยแบ่งหินอ่อนเป็นก้อนๆ เรียงซ้อนกัน ๔๒ ก้อน เพื่อเป็นเอกลักษณ์ทางพุทธศิลป์ในแผ่นดินแห่งรัชสมัยรัชกาลที่ ๙ โดยเฉพาะ โดยได้เรียนเชิญอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เป็นที่ปรึกษาด้านศิลปะและออกแบบฐานพระพุทธรูป พระโลกุตตระและรัศมีรอบองค์พระโดยไม่คิดค่าจ้าง

    นอกจากนี้ ยังได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์นริศ รัตนวิมล ช่างสลักหินอ่อนผู้เป็นสุดยอดของแผ่นดิน ดังผลงานฝีมือแกะสลักรูปเหมือนบูรพาจารย์ที่ประดิษฐานอยู่ในองค์พระมหาเจดีย์ วัดป่าภูก้อน เป็นผู้ออกแบบและแกะสลักองค์พระพุทธรูป นับเป็นการร่วมกันสร้างนฤมิตศิลป์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาไว้บนยอดเขาอาสนะพุทธะ ซึ่งเป็นลานหินภูเขาแข็งแกร่ง ยาวประมาณ ๑๑๐ เมตร ในการนี้ อาจารย์วิวัฒน์ วอทอง สถาปนิก และอาจารย์กฤษฎา นนทนาคร วิศวกรโครงสร้าง ได้ร่วมกันออกแบบวิหารพระครอบองค์พระพุทธรูปไว้อีกชั้นหนึ่ง ขนาดกว้าง ๓๙ เมตร ยาว ๔๙ เมตร เป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์แห่งรัตนโกสินทร์ โดยใช้เวลาในการแกะสลักและสร้างพระวิหารให้แล้วเสร็จภายในปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ งบประมาณการสร้างรวมทั้งสิ้น ๑๒๐ ล้านบาท

    [​IMG]

    ทั้งนี้ ทางวัดและคณะศรัทธายังได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระปรมาภิไธยย่อ เพื่อประดิษฐานบนผ้าทิพย์และขอพระราชทานนามพระพุทธรูป เพื่อเป็นมหาสิริมหามงคลในการนี้ด้วย

    โครงการนี้ได้รับความเมตตาจากพระเดชพระคุณพระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ฝ่ายบรรพชิต, พระพรหมมุนี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานที่ปรึกษา ฝ่ายบรรพชิต, พระเทพญาณวิศิษฏ์ (อภิพล อภิพโล) เจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นรองประธานกรรมการที่ปรึกษา ฝ่ายบรรพชิต และได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ องคมนตรี จุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ฝ่ายฆราวาส, นายอำนวย วีรวรรณ เป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ฝ่ายฆราวาส

    ทั้งนี้ ทางวัดและคณะกรรมการได้จัดพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เวลา ๐๙.๑๙ น. อันเป็นมหาราชาฤกษ์ โดยมี พระเดชพระคุณพระพรหมมุนี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานสงฆ์ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ มีพระเถรานุเถระ ครูบาอาจารย์สายกัมมัฏฐาน ข้าราชการ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป มาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ทางคณะศรัทธาญาติโยมได้ไปตรวจรับพระพุทธสรีระหินอ่อนขาว ที่เมืองคาร์ราร่า ประเทศอิตาลี และได้พบหินอ่อนก้อนใหญ่พิเศษ ซึ่งจะเป็นส่วนพระเศียรโดยบุญปาฏิหาริย์ พระพุทธสรีระ ๓๑ ก้อนเที่ยวแรก

    [​IMG]

    หลังจากนั้น ได้รับการอนุโมทนาบุญจากคุณเทพรักษ์ เหลืองสุวรรณ ช่วยขนลากหินอ่อนทั้งหมดมาไว้ ณ วัดป่าภูก้อน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เมื่อหินอ่อนจำนวน ๙ ก้อนมาถึงจังหวัดอุดรธานีแล้ว จึงจัดให้มีพิธีสมโภชพระพุทธสรีระขึ้น ณ ทุ่งศรีเมือง หน้าศาลากลางจังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านจารึก ปริญญาพล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานกรรมการอุปถัมภ์โครงการ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบนมัสการพระพุทธสรีระ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ของเราชาวไทย

    บัดนี้ การสร้างพระพุทธไสยาสน์หินอ่อนขาว ปางปรินิพพาน ซึ่งได้เริ่มแกะสลักมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ และมีความก้าวหน้ามาโดยตลอด จนขณะนี้ได้ยกหินอ่อนที่แกะสลักเสร็จเรียงซ้อนกันเกือบครบองค์แล้ว และจะจัดให้มีพิธีอัญเชิญหินอ่อนก้อนพระเศียรพระพุทธรูปปางปรินิพพานประดิษฐาน ในวันศุกร์ที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยได้กราบอาราธนานิมนต์พระมหาเถระ ครูบาอาจารย์สายกัมมัฏฐาน มาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก จึงขอเชิญท่านพุทธศาสนิกชนผู้มีความกตัญญูกตเวทีในคุณพระศรีรัตนตรัย และองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาร่วมมุทิตาสักการะคุณในพิธีมหามงคลในครั้งนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่ชีวิต จิตใจ และครอบครัวของท่านสืบไป

    [​IMG]
    พระครูจิตตภาวนาญาณ (พระอาจารย์ชาลี ถิรธมฺโม)


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่วัดป่าภูก้อน
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2799" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըǑ??蒀١鍹 ?.͘?øҹզlt;/a><!-- m -->

    ประวัติและปฏิปทาพระครูจิตตภาวนาญาณ (พระอาจารย์ชาลี ถิรธมฺโม)
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - พระครูจิตตภาวนาญาณ (พระอาจารย์ชาลี ถิรธมฺโม)

    เว็บไซต์วัดป่าภูก้อน
    <!-- m -->วัดป่าภูก้อน<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    [​IMG]
    พระพุทธไสยาสน์หินอ่อนขาว ปางปรินิพพาน
    ............................................................................


    วัดป่าภูก้อน กำเนิดเกิดขึ้นโดยสมณธรรม อุปถัมภกด้วยความพากเพียรของตระกูลวีรวรรณ และลูกหลานต่างสกุล ศิษยานุศิษย์จากจตุรทิศได้ร่วมส่งเสริม เป็นพุทธอุทยานมีป่าไม้เบญจพรรณและต้นน้ำลำธาร สัตว์ป่าชุกชุม พร้อมได้ปรับลานก่อสร้างบนยอดภูเขาสูง วิวทิวทัศน์สวยงาม เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะสร้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนาด้วยองค์พระพุทธสรีระจำลอง พระพุทธไสยาสน์หินอ่อนขาว ปางปรินิพพาน พร้อมพระวิหาร เพื่อเป็นมรดกของพุทธศาสนิกชนแห่งพระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่งไว้ในผืนแผ่นดินไทย

    “พระปางปรินิพพาน” นี้ เป็นปางที่มีความบริสุทธิ์วิสุทธิคุณ สำหรับผู้ประพฤติปฏิบัติเพียรไปเพื่อการทำให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น เป็นปางที่อัศจรรย์ ท่านได้ให้ธรรมคำสอนจนสะอาดหมดจด หมดสิ้นแล้วไว้ในโลกนี้ และสิ้นสุดในการรับเครื่องสักการะทั้งปวง จบการทวงถามและร้องขอ พระพุทธลักษณะสงบเย็นด้วยบรมสุข การได้มีจิตน้อมไปถึงความนิ่งแห่งพระพุทธสรีระ หินอ่อนสีขาว สง่างาม มีคุณลักษณะอ่อนช้อยงดงาม จะบังเกิดปณิธานที่เป็นมงคลยิ่ง แต่ผู้เข้ามาสักการบูชาพระสัทธรรมอันประเสริฐ ประดุจเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรินิพพานอยู่ตรงหน้า เกิดความสลดสังเวชใจ แม้พระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานไปนานแล้ว ยังทรงประทานความเมตตาอันวิสุทธิ์ ปัญญาอันวิสุทธิ์ ค้ำจุนโลกไว้เพื่อให้พุทธบริษัทสี่ เพียรไปให้เข้าถึงความบริสุทธิ์วิสุทธิคุณจนถึงทุกวันนี้ จิตจะสงบด้วยความระลึกสำนึก ซาบซึ้งในเมตตาธรรมอันร่มเย็นเป็นสมาธิโดยธรรม เป็นเครื่องน้อมรำลึกฝึกฝนตลอดกาลสมัยของตน

    พระพุทธไสยาสน์หินอ่อนขาว ปางปรินิพพาน จัดสร้างขึ้นเป็นรูปธรรม น้อมถวายบรรณาการสักการะคุณผู้รู้ ผู้อื่น ผู้เบิกบาน ของพระอริยบุคคล อริยชน อัจฉริยชน ผู้เพียรอยู่ในความกตัญญูกตเวที

    จึงขอกราบนมัสการ กราบเรียน เรียนเชิญ บอกกล่าวเชิญร่วมบุญมหากุศลแด่องค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ รวมถึงท่านพุทธศาสนิกชนและญาติธรรมทั้งหลาย ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสยิ่งนัก มีความเคารพยิ่งนัก มีความรักใคร่ยิ่งนัก มีความเมตตายิ่งนัก มีความละอายยิ่งนัก โครงการนี้จะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยองค์คุณ ๕ ประการนี้ ประกอบขึ้นกับบุคคลใด เรียกว่า มหาฤกษ์ มหาสิริ กับการร่วมกันสร้างพระพุทธสรีระจำลอง อันเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศไทยในรัชสมัยรัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายไว้ด้วยความกตัญญูต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นพระราชกุศลพิเศษสักการะคุณพระศรีพระรัตนตรัยในดวงพระทัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ด้วยการกระทำสมกับได้ทำหน้าที่ของพุทธบริษัทสี่อย่างเต็มภูมิ มีความศรัทธาเป็นเครื่องปลื้มใจอย่างประเสริฐ และกุศลอันนี้จะคุ้มครองเราไม่ให้เกิดความประมาท ในทุกที่ ทุกสถาน และในกาลทุกเมื่อของชีวิต
     
  7. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระอาจารย์สมาน กุสุโม
    ............................................................................


    วัดถ้ำกกดู่
    ต.โนนหวาย อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี 41220
    โทรศัพท์ 081-975-8515, 042-298-422

    พระอาจารย์สมาน กุสุโม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    หลวงปู่คำพอง ติสฺโส อดีตเจ้าอาวาส

    วัดถ้ำกกดู่ เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ภายในวัดจะมี เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่คำพอง ติสฺโส

    [​IMG]
    หลวงปู่คำพอง ติสฺโส


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อคำพอง ติสฺโส
    <!-- m -->www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9259
     
  8. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล
    ............................................................................


    วัดป่าสันติกาวาส
    หมู่ 7 บ้านหนองตูม ต.ไชยวาน
    อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี 14290


    พระอาจารย์สมหมาย อตฺตมโน เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล อดีตเจ้าอาวาส


    วัดป่าสันติกาวาส เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่บุญจันทร์ กมโล

    [​IMG]
    พระอาจารย์สมหมาย อตฺตมโน


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่บุญจันทร์ กมโล
    ลานธรรมจักร &bull; แสดงกระทู้ - หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล

    ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อสมหมาย อตฺตมโน
    ลานธรรมจักร &bull; แสดงกระทู้ - หลวงพ่อสมหมาย อตฺตมโน

    เว็บไซต์หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล
    <!-- m -->กมโล ผู้งามดั่งดอกบัว<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  9. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระเจดีย์บรรจุพระธาตุหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ
    ณ วัดราษฎรสงเคราะห์ (วัดป่าหนองแซง) จ.อุดรธานี
    ............................................................................


    วัดราษฎรสงเคราะห์ (วัดป่าหนองแซง)
    บ้านหนองแซง ต.หนองบัวบาน
    อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี 41120

    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ อดีตเจ้าอาวาส

    วัดราษฎรสงเคราะห์ (วัดป่าหนองแซง)
    เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ

    [​IMG]
    หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ

    [​IMG]
    หลวงปู่เสน ปัญญาธโร


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ

    ประมวลภาพวัดราษฎรสงเคราะห์ (วัดป่าหนองแซง)
    <!-- m -->?Ҡ?ը‡Ǒ? ?чì?ح?ҧ͕ʒ? -> ?Ð?ҹ ʁҪԡʑ?ѹ?젼 Œ??Ã?ʇ?Ҡlarndham.net<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  10. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร
    ............................................................................


    วัดป่าสีทน
    หมู่ 2 บ้านหนองตูม
    ต.บ้านจั่น อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000


    พระอาจารย์สุพิศ สุนทโร เจ้าอาวาส
    ท่านเป็นลูกศิษย์หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร


    วัดป่าสีทน เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  11. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    หลวงพ่อคำสด อรุโณ
    ............................................................................


    วัดป่าบ้านเพิ่ม
    ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี 41380

    หลวงพ่อคำสด อรุโณ เจ้าอาวาส

    วัดป่าบ้านเพิ่ม เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  12. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร
    ............................................................................


    วัดป่าจันทรังสี (วัดป่านาสีดา)
    ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160

    พระอาจารย์ดำ ธีตสีโร เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร อดีตเจ้าอาวาส
    ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้ว

    วัดป่าจันทรังสี (วัดป่านาสีดา) เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร

    รักษาศีลเป็นการปฏิบัติธรรมอันวิเศษสุด
    <!-- m -->www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4764
     
  13. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ
    ............................................................................


    วัดป่าบ้านนาคูณ
    หมู่ 4 บ้านนาคูณ ต.บ้านผือ
    อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160


    หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ เจ้าอาวาส

    วัดป่าบ้านนาคูณ เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    การเดินทาง : จากจังหวัดอุดรธานี มุ่งหน้าไปทางจังหวัดหนองคาย เมื่อผ่านทางข้ามรถไฟ ให้เลี้ยวซ้ายไปบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ เมื่อผ่านตลาดบ้านผือ ให้เลี้ยวขวา แล้วถามชาวบ้านว่าจะไป วัดป่าหนองกอง หลวงปู่เพียร วิริโย วัดท่านไม่ไกลจากตลาดหนองผือ วัดป่าบ้านนาคูณ หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ก็ไม่ไกลจากกัน
     
  14. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    หลวงพ่อคำแพง อตฺตสนฺโต
    ............................................................................


    วัดบุญญานุสรณ์ (วัดป่าหนองวัวซอ)
    ต.หนองวัวซอ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี 41360


    หลวงพ่อคำแพง อตฺตสนฺโต อดีตเจ้าอาวาส

    วัดบุญญานุสรณ์ (วัดป่าหนองวัวซอ) เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อคำแพง อตฺตสนฺโต
    ลานธรรมจักร &bull; แสดงกระทู้ - หลวงพ่อคำแพง อัตตสันโต

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  15. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระภาวนาวิสุทธาจารย์ (หลวงปู่ทองใบ ปภสฺสโร)
    ............................................................................


    วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม)
    สำนักวิปัสสนาธุระ (ภูย่าอู่)
    บ้านนาหลวง ต.คำด้วง
    อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160

    พระภาวนาวิสุทธาจารย์ (หลวงปู่ทองใบ ปภสฺสโร) ประธานสงฆ์

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    เว็บไซต์วัดนาหลวง
    <!-- m -->Ǒ??ҋŇ?<!-- m -->

    รอยพระพุทธบาทที่ภูย่าอู่
    <!-- m -->http://www.konmeungbua.com/foot/phuyaeu.html<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  16. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร
    ............................................................................


    วัดประชาชุมพลพัฒนาราม (วัดป่าหนองใหญ่)
    บ้านหนองใหญ่ ต.หมากแข้ง
    อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000


    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร อดีตประธานสงฆ์

    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ปี พ.ศ. 2550 ท่านอายุ 94 ปี ท่านมีปฏิปทาค่อนข้างจะเก็บตัว ไม่ชอบยุ่งเรื่องของใคร หากมีปัญหาการปฏิบัติก็ถามท่านได้ครับ แต่ท่านจะตอบสั้นๆ ทำให้นึงถึงปฏิปทาของหลวงปู่เสาร์ ส่วนการอบรมการแสดงธรรมนั้นเท่าทีได้ยินมาไม่เคยครับ

    วัดประชาชุมพลพัฒนาราม (วัดป่าหนองใหญ่) วัดของหลวงปู่อยู่ใกล้ถนนรอบเมืองอุดรครับ สมมตว่าท่านเดินทางมาจากขอนแก่น พอถึงสี่แยกรอบเมือง ให้เลี้ยวซ้าย (ถ้าตรงเลยเข้าเมืองอุดร เลี้ยวซ้ายไปหนองบัวลำภู เลย เลี้ยวขวาไปสกลนคร) แล้ววิ่งไปประมาณ 1 กิโลเมตร เห็นหนองน้ำใหญ่อยู่ทางขวามือแล้วเลี้ยวขวาเข้าบ้านหนองใหญ่ เข้าวัดหลวงปู่เลย วัดหลวงปู่อยู่ติดกับหนองน้ำ สามารถมองเห็นจากถนนรอบเมือง

    ปัจจุบัน หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร มรณภาพแล้ว
     
  17. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    หลวงพ่อไม อินทสิริ
    ............................................................................


    วัดป่าหนองช้างคาว
    บ้านหนองช้างคาว ต.คอนสาย
    กิ่ง อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี 41130


    หลวงพ่อไม อินทสิริ เจ้าอาวาส

    วัดป่าหนองช้างคาว เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  18. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก
    ............................................................................


    วัดป่านาคำน้อย (วัดอุดมมงคลวนาราม)
    หมู่ 7 บ้านนาคำน้อย ต.บ้านก้อง
    อ.นายูง จ.อุดรธานี 41380

    พระอาจารย์อินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก เจ้าอาวาส

    วัดป่านาคำน้อย เป็นวัดป่าสายธรรมยุต แยกออกมาจากวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เมื่อหลายปีที่ผ่านมา มีญาติโยมผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและมีกำลังศรัทธามาร่วมทำบุญ โดยมีพระสายวัดป่าที่มีแนวทางปฏิบัติตามคำสอนของ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มาจำพรรษาเป็นจำนวนมาก ในถิ่นทุรกันดารการออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนเทือกเขาลำบากมาก ปัจจุบัน บริเวณภายในวัดมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้นานาชนิด เหมาะแก่การภาวนาเป็นอย่างยิ่ง

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    จากชีวิตวิกฤตไปด้วยการพิจารณา (พระอาจารย์อินทร์ถวาย)
    <!-- m -->www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16177
     
  19. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระประธานในพระอุโบสถ วัดป่านิโครธาราม
    ............................................................................


    วัดป่านิโครธาราม
    บ้านหนองบัวบาน ต.หมากหญ้า
    อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี 41360

    หลวงพ่อรื่น จิตตทโม เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และหลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร อดีตเจ้าอาวาส

    หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ และหลวงปู่มหาปราโมทย์ ปราโมชฺโช เคยมาปฏิบัติจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้วเหลือแต่เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ ท่านทั้ง 2 รูปนับว่าเป็นพระอรหันต์ บริเวณภายในวัดสงบเย็น ร่มรื่น เหมาะแก่การภาวนาและปฏิบัติธรรมเป็นยิ่งนัก

    [​IMG]
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

    [​IMG]
    หลวงปู่มหาปราโมทย์ ปราโมชฺโช

    [​IMG]
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ˅ǧ?٨ͨ͹ ?ҳʔÔ<!-- m -->

    ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่มหาปราโมทย์ ปราโมชฺโช
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - หลวงปู่มหาปราโมทย์ ปราโมชฺโช

    นั่งภาวนาทุกวันสั่งสมบุญกุศล (หลวงปู่มหาปราโมทย์ ปราโมชฺโช)
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ?Ѩ??ǹҷءǑ?ʑ觊?ح?؈Š(˅ǧ?٨?һÒ⁷¬ ?Òڢ?)<!-- m -->

    ประมวลภาพ “หลวงปู่มหาปราโมทย์ ปราโมชฺโช”
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - ประมวลภาพ “หลวงปู่มหาปราโมทย์ ปราโมชฺโช”

    ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    [​IMG]
    รูปหล่อและรูปภาพของหลวงปู่มหาปราโมทย์ ปราโมชฺโช
    ภายในพระวิหารปาโมชโชอนุสรณ์ วัดป่านิโครธารม
     
  20. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    หลวงปู่เพียร วิริโย
    ............................................................................


    วัดป่าหนองกอง
    หมู่ 2 บ้านหนองกอง ต.บ้านผือ
    อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 41160


    หลวงปู่เพียร วิริโย เจ้าอาวาส

    วัดป่าหนองกอง เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ที่เหมาะแก่การมาปฏิบัติธรรมภาวนา มีต้นไม้แมกไม้นานาพันธ์อุดมสมบูรณ์ครับ

    การเดินทาง : จากจังหวัดอุดรธานี มุ่งหน้าไปทางจังหวัดหนองคาย เมื่อผ่านทางข้ามรถไฟ ให้เลี้ยวซ้ายไปบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ เมื่อผ่านตลาดบ้านผือ ให้เลี้ยวขวา แล้วถามชาวบ้านว่าจะไป วัดป่าหนองกอง หลวงปู่เพียร วิริโย วัดท่านไม่ไกลจากตลาดหนองผือ วัดป่าบ้านนาคูณ หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ ก็ไม่ไกลจากกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...