สถานที่ปฏิบัติธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 9 ตุลาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    ดอกบัวบานที่หมู่บ้านพลัม
    .................................................................................................


    หมู่บ้านพลัม (Plum Village)
    ประเทศฝรั่งเศส


    ท่านติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) ประธานผู้ก่อตั้ง

    ท่านติช นัท ฮันห์ ได้จัดตั้ง “หมู่บ้านพลัม” (Plum Village) ขึ้น ณ ประเทศฝรั่งเศส อันเป็นชุมชนแบบอย่างการปฏิบัติธรรมแห่งพุทธบริษัท 4 โดยไม่มีเส้นแบ่งทางศาสนา ที่เน้นการเจริญสติในชีวิตประจำวัน อย่างตระหนักรู้ในแต่ละลมหายใจเข้าออก และกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ ในปัจจุบัน ชุมชนปฏิบัติธรรมแห่งสังฆะหมู่บ้านพลัม มีทั้งสิ้น 12 แห่ง อยู่ในประเทศฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, เยอรมัน และเวียดนาม นอกจากนี้มีกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์ กระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลก เกือบหนึ่งพันกลุ่ม อาทิเช่น

    - Upper Hamlet, Lower Hamlet, New Hamlet, Son Ha กระจายตัวอยู่ในหมู่บ้านชนบทใกล้เมือง Bordeaux ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส

    - Clarity Hamlet, Solidity Hamlet ที่ Deer Park Monastery, Community of Mindful Living รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

    - Green Mountain Dharma Center, Maple Forest Monastery รัฐเวอร์มอนต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

    - Blue Cliff Monastery รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา

    - วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และวัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม

    เว็บไซต์หมู่บ้านพลัม
    http://www.plumvillage.org/
    http://www.thaiplumvillage.org/

    [​IMG]
    ท่านติช นัท ฮัน
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    วัดโพธิญาณ (Bodhiyana Monastery)
    ประเทศออสเตรเลีย


    Bodhinyana Monastery
    Lot 1, Kingsbury Drive,
    Serpentine 6125, WA
    Australia
    www.bswa.org

    Bodhivana Monastery
    780 Woods Point Road,
    East Warburton, VIC 3799
    Australia


    พระวิสุทธิสังวรเถร หรือพระอาจารย์พรหมวังโส
    (Ven. Ajahn Brahmavamso) เจ้าอาวาส


    ท่านเป็นศิษย์พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง)
    โดยท่านเป็นชาวอังกฤษ-ออสเตรเลีย เดินทางจากประเทศออสเตรเลีย แล้วมาบวชกับหลวงพ่อชา​
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร
    กรุงโคเปนเฮเกน ถนน H.P.HANLENSVEJ ๓
    เขต STENLSE DENMARK
    Tel. +๔๕-๔๗๑๗๑๑๘๐
    Fax. +๔๕-๔๗๑๐๗๘๘๗


    พระครูวิสุทธิธรรมวิเทศ เจ้าอาวาส

    วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร
    http://www.watthai.dk/
    http://www.geocities.com/watthaidk/


    ท่องไปในแดนธรรม : กว่าจะเป็น...“วัดไทยเดนมาร์ก”

    ด้วยพลังแห่งความสามัคคีของพุทธศาสนิกชนในประเทศเดนมาร์ก และประเทศใกล้เคียง เช่น สวีเดน นอร์เวย์ เยอรมนี เป็นต้น วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร กรุงโคเปนเฮเกน จึงได้ก่อตั้งขึ้นมาจนเป็นผลสำเร็จอย่างที่เห็นใน

    การก่อตั้งวัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร กรุงโคเปนเฮนเกน เป็นความคิดความฝันของคนไทยกลุ่มหนึ่ง ที่รวมตัวกันตั้งกลุ่มขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มชาวพุทธ” ซึ่งมีความปรารถนาและปณิธานอันแน่วแน่ที่จะให้มีวัดไทยเกิดขึ้นในประเทศเดนมาร์ก

    พระครูวิสุทธิธรรมวิเทศ เจ้าอาวาส วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร เล่าว่า การสร้างวัดครั้งนี้เพื่อเป็นศูนย์รวมของพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวด้านจิตใจ และเป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญกุศลและปฏิบัติธรรมภาวนา โดยมีทุนทรัพย์ประมาณ ๘,๐๐๐ โครนเดนนิช จากการจัดงานทำบุญเข้าพรรษา ซึ่งได้นิมนต์พระสงฆ์จากประเทศอังกฤษ และประเทศสวีเดน มาประกอบพิธีทางศาสนาแบบชาวพุทธที่ปฏิบัติกันมา และได้รับการสนับสนุนจากสมาคมสวัสดีไทย ให้ทุนทรัพย์อีกจำนวนหนึ่ง

    ทุกคนเสียสละแรงกายและแรงสติปัญญาประชาสัมพันธ์งานริเริ่มก่อตั้งวัดไทย จนหลายฝ่ายให้ความร่วมมือกันเป็นจำนวนมากขึ้น กลุ่มจึงจัดตั้งสมาคมขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “พุทธสมาคม” มีการประชุมเลือกตั้งคณะกรรมการทำงานพุทธสมาคมอย่างเป็นรูปธรรมในปี ๒๕๓๐

    พุทธสมาคมดำเนินงานกันต่อไปด้วยการอุทิศตนอย่างไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ในอันที่จะให้วัดไทยก่อกำเนิดขึ้นในประเทศเดนมาร์ก โดยการรวบรวมทุนทรัพย์จากการบริจาค และการจัดงานในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดให้มีเป็นประจำทุกปี ขณะเดียวกันยังคงนิมนต์พระธรรมทูตที่มาปฏิบัติศาสนกิจประจำอยู่ ณ ประเทศใกล้เคียง มาประกอบพิธีในวันสำคัญนั้นๆ ตลอดระยะเวลา ๓ ปี หลังการก่อตั้งพุทธสมาคมอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมานั้น ทางพุทธสมาคมได้รวบรวมทุนทรัพย์ทั้งหมดเป็นจำนวน ๒๐๐,๐๐๐.๐๐ โครนเดนนิช (ประมาณ ๘ แสนบาท) เมื่อมีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะหาซื้ออาคารสถานที่สำหรับสร้างเป็นวัดให้เป็นหลักเป็นฐาน

    พุทธสมาคมจึงปรึกษาหารือกัน ทุกฝ่ายมีความเห็นชอบที่จะหาสถานที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้งวัด และมอบถวายเป็นสมบัติของสงฆ์ เมื่อพระธรรมทูตปฏิบัติศาสนกิจต่างประเทศได้เดินทางมาถึงประเทศเดนมาร์ก ทุกฝ่ายจึงตกลงทำสัญญาซื้ออาคารพร้อมที่ดินในเนื้อที่ ๑,๔๐๔ ตารางเมตร ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนน H.P.HANLENSVEJ ๓ เขต STENLSE อาคารพร้อมที่ดินที่ทางพุทธสมาคมได้ทำสัญญาซื้อนั้นเป็นอาคาร ๓ หลัง แต่มีสภาพใช้ประโยชน์ได้เพียงอาคารหลังใหญ่หลังเดียวเท่านั้น

    ส่วนที่เหลืออีก ๒ หลัง ทรุดโทรมไม่สามารถที่จะใช้ประโยชน์ได้ จำเป็นจะต้องได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมตกแต่งทั้งภายนอกภายในอีกจำนวนมาก ซึ่งทุกฝ่ายต่างคำนึงถึงข้อนี้เป็นอย่างดีจึงได้ร่วมมือกันทั้งพระสงฆ์ พุทธสมาคมตลอดจนกลุ่มคนหนุ่มคนสาวที่เกิดในประเทศไทย แต่มาเติบโตที่ต่างประเทศได้เสียสละเวลาในช่วงวันหยุดประจำสัปดาห์พากันมาร่วมแรงร่วมใจบูรณะซ่อมแซมปรับปรุงตัวอาคารที่ทรุดโทรมทั้งกลางวันและกลางคืน

    จนกระทั่งอาคารที่เหลือทั้งสองหลัง สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยได้ทำเป็นที่ปฏิบัติธรรม ห้องสมุด ที่พักสงฆ์ ห้องโถงใหญ่ ห้องพักรับรอง ห้องสำนักงาน ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร ในปีที่ ๓ หลังการทำสัญญาตกลงซื้อวัดทางวัดก็ได้ไถ่ถอนโฉนดอาคารและที่ดินออกมาได้ทุกฉบับได้สำเร็จ

    ด้วยอาศัยพลังแห่งศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งที่อยู่ในประเทศเดนมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ และเยอรมนี ที่ได้สละทรัพย์บริจาคให้กับวัดเพื่อเป็นทุนทรัพย์ในการซื้อกรรมสิทธิ์ในโฉนดอันชอบด้วยกฎหมายแห่งประเทศเดนมาร์กเพื่อความเจริญและตั้งมั่นแห่งวัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร

    ผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนติดต่อได้ที่ วัดไทยเดนมาร์กพรหมวิหาร กรุงโคเปนเฮเกน ถนน H.P.HANLENSVEJ ๓ เขต STENLSE DENMARK Tel. +๔๕-๔๗๑๗๑๑๘๐, Fax. +๔๕-๔๗๑๐๗๘๘๗ อีเมล : watthaiiceland@hotmail.com


    ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก - 20 กรกฎาคม 2550 04:15 น.
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดป่าอภัยคีรี
    เลขที่ 16201 เมืองเรดวู้ด วาเลย์
    มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา


    ABHAYAGIRI BUDDHIST MONASTERY;
    16201 TOMKI ROAD;
    REDWOOD VALLEY, CA 95470;
    TEL : (707) 485-1630; FAX : (707) 485-7948


    มีเจ้าอาวาสร่วมกัน 2 รูป คือ
    พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ และพระอาจารย์อมโร ภิกขุ


    การสร้างวัดป่าอภัยคีรี

    ในปี พ.ศ. 2540 พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ (รีด แพรี่) ได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ บ้านบุ่งหวาย ต.บุ่งหวาย อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เพื่อมาก่อตั้งวัดป่าอภัยคีรี และเป็นเจ้าอาวาสร่วมกับพระอาจารย์อมโร ภิกขุ

    วัดป่าอภัยคีรี เป็นวัดปฏิบัติในสายหลวงพ่อชา สุภัทโท แห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองซานฟรานซิสโก มีเจ้าอาวาสร่วมกัน 2 รูป คือ พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จ.อุบลราชธานี และพระอาจารย์อมโร ภิกขุ อดีตรองเจ้าอาวาสวัดอมราวดี เมืองฮาร์ดฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

    “อภัยคีรี” เป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า “ขุนเขาแห่งความปลอดภัย” ซึ่งเป็นชื่อวัดโบราณในประเทศศรีลังกา ที่ต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ต่างนิกายมาปฏิบัติธรรมร่วมกัน ด้วยความสมัครสมานสามัคคี ด้วยความเชื่อว่า “ทุกชีวิตมีสิทธิ์ในการทำทุกข์ให้สิ้นได้เท่าๆ กัน”

    ปัจจุบัน “วัดป่าอภัยคีรี” ในอเมริกา ก็ไม่แตกต่างกันนักคือ ได้เปิดโอกาสให้สาธุชนผู้มีความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ รักในสติ รักในปัญญา ได้เข้าถึงความสงบ สัปปายะ เป็นธรรมชาติตามแนววัดป่าฝ่ายเถรวาท ไม่ว่าผู้นั้นจะนับถือศาสนาใด นิกายไหน มีสีผิวอย่างไร ไม่เลือกเชื้อชาติ เพศ และอายุ

    [​IMG]
    พระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ

    [​IMG]
    พระอาจารย์อมโร ภิกขุ


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์ปสันโน ภิกขุ
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9244

    เว็บไซต์วัดป่าอภัยคีรี
    http://www.abhayagiri.org/
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดโพธิญาณาราม
    ELLINGTON THERAVADA BUDDHIST ASSOCIATION
    17 RAKAU GROVE, STOKES VALLEY WELLINGTON
    NEW ZEALAND


    วัดโพธิญาณาราม เป็นวัดนานาชาติของชาวต่างชาติ (มหานิกาย)
    โดยเป็นวัดสาขาวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ ของพระราชสุเมธาจารย์ (โรเบร์ติ สุเมโธ)


    ใช้วิธีการเจริญอานาปานสติ กำหนดพุทโธ
    เป็นลูกศิษย์สายหลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี​
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ศาสนาพุทธบูม !! ในเยอรมัน

    หากมองย้อนหลังไปในอดีต ศาสนาพุทธเป็นที่รู้จักในประเทศเยอรมันเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1903 (พ.ศ.2446) หรือเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน โดยได้รับแรงสนับสนุนสำคัญจากนักปราชญชาวเยอรมัน “อาเธอร์ โชเปนฮอยเออร์ (Arthur Schopenhauer)” ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่นำพระพุทธศาสนาไปประกาศแก่ชาวตะวันตก และอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นพุทธศาสนิกชนเยอรมันคนแรกของประเทศ

    นอกจากนี้ ยังมี นายแอนทัน กูเอ็ธ (ชาวเยอรมันคนแรกที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา ชื่อว่า พระญาณติโลกมหาเถร) และ นายยูเจน ชาวออสเตรีย ผู้รวบรวมคำสอนหลักและนำพระไตรปิฎกมาแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาเยอรมัน จนกลายเป็นพระไตรปิฎก ฉบับมาตรฐานสำหรับชาวพุทธในเยอรมัน

    ศาสนาพุทธที่เข้ามาในช่วงแรกเริ่มนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากนิกายเถรวาทของพระสงฆ์ที่ธุดงค์มาจากประเทศศรีลังกา อย่างไรก็ดี การเผยแผ่พุทธศาสนาในช่วงนี้ดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากประเทศเยอรมันในสมัยนั้นมีรากฐานความเชื่อมาจากศาสนาคริสต์และลัทธิมาร์ก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่กล้าเปิดรับความคิดใหม่ๆ ที่เข้ามา จึงทำให้ฆราวาสที่สนับสนุนพระสงฆ์มีจำนวนไม่มากพอที่จะส่งเสริมให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปได้

    แต่ในที่สุดปี ค.ศ.1924 นายแพทย์พอล ดาห์เก้ (Paul Dahlke) ก็ได้เป็นผู้นำสถาปนาศูนย์ปฏิบัติธรรมพุทธศาสนาขึ้นแห่งแรก บนเนินเขาทางตอนเหนือของเมืองเบอร์ลิน ทำให้พุทธศาสนาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักปราชญ์และนักศึกษาที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายบนเทือกเขา

    ในบรรดาปราชญ์ทางพุทธศาสนาชาวเยอรมันมากมายซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี อาทิ แฮร์มัน โอล-เดนบวร์ก (Hermann Oldenburg), ยอร์จ กริมม์ (George Grimm), คาร์ล นูมานน์ (Karl- Nueumann), คาร์ล ไซเดนสตุ๊กเกอร์ (Karl Seidenstucker), ไฟรดริช ซิมเมอร์มานน์ (Friedrich Zimmermann), ฮันส์ มุช (Hans Much) ฯลฯ นั้น ได้มีนักเขียนชาวเยอรมันผู้โด่งดังอีกคนหนึ่ง คือเเฮร์มัน เฮสเส (Hermann Hesse) ผู้ซึ่งได้ถ่ายทอดพุทธปรัชญาออกมาในงานเขียนหลายเรื่อง เช่น นาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนท์ (Narziss and Goldmund) สเตปเปนวูล์ฟ (Steppenwolf) เกมลูกแก้ว (The Glass Bead Game) และสิทธารถะ (Siddhartha) แต่ที่ชาวไทยรู้จักกันดีก็คือเรื่อง สิทธารถะ ซึ่งเขียนขึ้นในปี ค.ศ.1922 และในปี1946 เฮสเสก็ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

    ต่อมาในปี ค.ศ.1960-70 นิกายมหายานจากประเทศญี่ปุ่นและทิเบตเริ่มเข้ามามีบทบาท และเผยแพร่ไปสู่ชาวเยอรมันอย่างกว้างขวาง ประกอบกับการคมนาคมที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้ชาวเยอรมันได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวในประเทศต่างๆ และศึกษาพุทธศาสนามาจากอาจารย์ในแถบประเทศเมืองพุทธจนเข้าใจถึงแก่นของสัจธรรม โดยไม่มีกรอบของวัฒนธรรมมาปิดกั้น พวกเขาจึงนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้กลับมา พร้อมกับร่วมส่งเสริมศูนย์พุทธศาสนาให้เติบโตขึ้นตามลำดับ จนในปัจจุบันกว่าร้อยละ 90 ของชาวพุทธในเยอรมันได้เรียนรู้หลักพุทธศาสนามาจากนิกายมหายานและวัชรยาน

    ปัจจุบัน ในสังคมวัตถุนิยมที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขัน ชาวเยอรมันในยุคไอทีเริ่มไม่พึงพอใจกับชีวิตที่วุ่นวาย และเริ่มมองหาความหมายของชีวิตที่ลึกซึ้งกว่าการคลั่งไคล้ในพระผู้เป็นเจ้าที่มองไม่เห็นมากขึ้น ศาสนาพุทธจึงกลายเป็นทางเลือกใหม่สำหรับชาวเยอรมัน โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นกลางซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาระดับสูงจากหลากหลายอาชีพ เช่น แพทย์ วิศวกร ครูอาจารย์ พวกเขาเริ่มหันกลับมาถามตัวเองและพบกับคำตอบว่าการหาเงินมากๆ และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ไม่สามารถทำให้พวกเขาพบกับความสุขที่แท้จริงได้ และแม้แต่ผู้ที่มีชื่อเสียงของประเทศในปัจจุบันก็หันมาศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง เช่น ราล์ฟ บอยเออร์ (Ralf Bauer) นักแสดงหนุ่ม, เมเม็ต โชว์(Mehmet Scholl) นักฟุตบอล รวมถึงนักร้องสาวนีนา ฮาเกน (Nina Hagen) ซึ่งเป็นบุคคลที่มีศรัทธา และช่วยทำให้พุทธศาสนาเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น

    นีน่ากล่าวพร้อมอารมณ์ขันว่า “อย่างน้อยพุทธศาสนาสามารถสร้างความสงบในจิตใจให้แก่ประชาชน ในขณะที่ประเทศยังมีระดับอัตราการว่างงานที่สูง รวมทั้งระบบบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้เกษียณอายุที่ยังคลุมเครืออยู่”

    ดังนั้น ช่วงค่ำของทุกวัน บรรยากาศของศูนย์ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาประจำเมืองฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมัน จึงเต็มไปด้วยผู้คนนับร้อย คนที่สนใจร่วมคอร์สอบรมภาวนาสมาธิตามแบบฉบับ ของทิเบต ภาพของชาวเยอรมันผู้เคร่งเครียดกับการแข่งขันในโลกอุตสาหกรรม หันมาสวดมนต์และปฏิบัติสมาธิหลังเลิกงาน กลายเป็นภาพที่มีให้เห็นมากขึ้นในศูนย์ปฏิบัติธรรม ประจำเมืองต่างๆ

    ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลเยอรมันจะไม่ได้เก็บข้อมูลจำนวนพุทธศาสนิกชนในประเทศไว้อย่างแน่ชัด แต่ทางกลุ่มพุทธศาสนิกชนแห่งประเทศเยอรมัน (German Buddhist Union) คาดการณ์ไว้ว่า ชาวเยอรมันที่นับถือศาสนาพุทธในปัจจุบัน มีประมาณ 100,000 คน โดยไม่รวมชาวต่างชาติกว่า 120,000 คนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธไทยและเวียดนาม

    จากสถิติปี พ.ศ.2547 พบว่าจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมที่จดทะเบียนกับทางการ เยอรมันมีกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2513 ซึ่งมีจำนวนศูนย์ปฏิบัติธรรมเพียง 15 แห่ง แสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธกำลังกลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของประเทศเยอรมันที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง

    ปัจจุบัน ทางกลุ่มพุทธศาสนิกชนแห่งประเทศเยอรมัน (German Buddhist Union) ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติธรรมในเครือรวม 52 แห่ง ได้มีนโยบายส่งเสริมพุทธศาสนา โดยเฉพาะนิกายเถรวาท อย่างเป็นรูปธรรม โดยมิได้มีรูปแบบของประเพณีและพิธีกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาอื่น เช่น ฮินดู ชินโต เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ทางกลุ่มได้พยายามผลักดันจนทำให้พุทธศาสนาเป็นวิชาเลือกหนึ่ง ในโรงเรียนมัธยมศึกษาบางแห่ง และยังได้พิมพ์ตำราและเอกสารทางพุทธศาสนาที่จำเป็นแจกจ่าย โดยได้รับแรงสนับสนุนจากเงินบริจาคของกลุ่มสมาชิกทั่วประเทศ ส่วนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ เช่น สาธารณรัฐเชค สวิตเซอร์แลนด์ ศรีลังกา ไทย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดในระดับสากล นับว่าเป็นก้าวใหม่ของพุทธศาสนาที่กำลังเบ่งบานในประเทศเยอรมัน

    อนึ่ง เยอรมันมีประชากรราว 82,424,609 ล้านคน นับถือศาสนาโปรเตสแตนท์ 34%, โรมันคาธอลิก 34%, มุสลิม 3.7% และอื่นๆ 28.3%


    รายชื่อวัดไทยในประเทศเยอรมัน

    เมืองบาเยิร์น (Bayern)
    - วัดไทยมิวนิค, วัดไทยเนิร์นแบร์ก, วัดพุทธเอาสบวร์กใหม่

    เมืองเบอร์ลิน (Berlin)
    - วัดพุทธวิหาร, วัดพุทธารามเบอร์ลิน

    เมืองฮัมบวร์ก (Hamburg)
    - วัดพุทธบารมี

    เมืองเฮสเสน (Hessen)
    - วัดพุทธปิยวราราม, วัดพุทธเบญจพล, วัดโพธิธรรม, วัดป่าภูริทัตตาราม

    เมืองไนเดอร์ซัสเชน (Niedersachsen)
    - วัดธรรมวิหาร

    เมืองนอร์ดรินเวสฟาแลง (Nordrhein-Westfalen)
    - วัดป่าอนาลโย, วัดธรรมบารมี, วัดธรรมนิวาส

    เมืองซาอาแลนด์ (Saarland)
    - วัดสมเด็จฯ เยอรมนี

    เมืองชูวิก โฮสไตน์ (Schleswig-Holstein)
    - วัดกตัญญุตาราม


    โดย ผู้จัดการออนไลน์ 30 สิงหาคม 2547 11:40 น.
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร
    .................................................................................................


    วัดญาณวิริยาเทมเปิ้ล 1
    เมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริทิชโคลัมเบีย ประเทศแคนนาดา

    วัดญาณวิริยาเทมเปิ้ล 2
    เมืองโตตรอนโต้ ประเทศแคนนาดา

    วัดธรรมวิริยาราม 1
    เมืองออตตาวา ประเทศแคนนาดา
    [เมืองหลวงของประเทศแคนนาดา]

    วัดธรรมวิริยาราม 2
    น้ำตกไนแองการ่า เมืองออนโตริโอ ประเทศแคนนาดา

    วัดธรรมวิริยาราม 3
    เมืองแอตแมนตัน รัฐอับเบอร์ต้า ประเทศแคนนาดา

    วัดธรรมวิริยาราม 4
    เมืองแคลการี ประเทศแคนนาดา



    พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร) ประธานสงฆ์

    วัดทั้ง 6 แห่งนี้ ที่ตั้งอยู่ตามเมืองใหญ่ต่างๆ ของประเทศแคนนาดานั้น สร้างขึ้นโดยการนำพาของพระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร) แห่งวัดธรรมมงคล แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม.

    หลวงพ่อวิริยังค์ท่านเน้นสร้างวัดให้เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมและศูนย์สมาธิ มีการสวดมนต์ ไหว้พระ รักษาศีล ฟังธรรม นั่งสมาธิ มีทั้งการสอนธรรมะ และการภาวนา (แต่ก็มีกิจกรรมศาสนาบ้าง) โดยเน้นให้ชาวแคนาดาเรียนรู้เพื่อเป็นครูสมาธิ แล้วไปสอนคนอื่นต่อได้

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    [​IMG]

    มีชาวแคนาเดี้ยนมาเรียนหลักสูตรสมาธิเป็นจำนวนมาก
    แม้หลวงพ่อท่านจะอยู่แคนาดา แต่ท่านก็ทำงานตลอด
    เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อสันติภาพสันติสุขของโลก

    เวลานี้ถือว่า เมืองแอตแมนตัน เป็นศูนย์กลาง อาตมาต้องเดินทางไปดูแลศูนย์สมาธิทุกแห่ง แต่ละแห่งไกลกันมาก ไม่ไปก็ไม่ได้เพราะว่าจำเป็นต้องมีการสอนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาตมายอมรับว่าฝรั่งที่เขาทำการสอนสมาธิแทนอาตมานั้น เขาได้มีความรับผิดชอบสูงคือ เขาได้รักษาการสอนสมาธิให้ตรงกับความจริงของระบบการศึกษาในแนวเดียวกัน นีคือสิ่งที่อาตมาต้องการอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามอาตมามิได้นิ่งนอนใจต้องออกตระเวณไปทั่วทุกๆ แห่งเพื่อไปทำการตรวจสอบในที่ต่างๆ ที่พวกฝรั่งเขาสอนกันเอง ดังนั้นการเดินทางของอาตมาในประเทศแคนาดาจึงยาวไกลเพราะประเทศแคนาดากว้างใหญ่ไพศาล

    [​IMG]

    จากแอตแมนตัน-แคลการี โดยรถยนต์ ไปกลับ 8 ชั่วโมง
    จากเมืองแอตแมนตัน-ฟอร์ดแมคแมรี่ โดยรถยนต์ ไปกลับ 9 ชั่วโมง
    จากเมืองแอตแมนตัน-แวนคูเวอร์ โดยเครื่องบิน ไปกลับ 3 ชั่วโมง
    จากเมืองแอตแมนตัน-โตตรอนโต้-น้ำตกไนแองการ่า-ออตตาวา โดยเครื่องบินและรถยนต์ไปกลับอีกกว่า 10 ชั่วโมง

    การเดินทางไปยังสำนักเรียนสมาธิเช่นนี้ ต้องใช้เวลาที่เปลี่ยนแปลงผิดกันถึง 3 ชั่วโมง ทำให้ฉันอาหารไม่ทันเพราะว่าอยู่บนเครื่องบิน บางครั้งทั้งเหนื่อยทั้งหิว แต่หมดเวลาฉันก็มีหลายครั้ง เพราะว่าการเดินทางแบบนี้ปีหนึ่งกว่า 3-4 ครั้ง ดังนั้นการปฏิบัติงานจึงต้องใช้ความอดทนเป็นพิเศษ แต่ร่างกายแม้อยู่ในวัย 80 กว่าปีก็ยังสามารถเป็นไปได้และปฏิบัติงานได้อย่างสม่ำเสมอ ก็เพราะความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะขยายงานสมาธิให้กว้างขว้างยิ่งขึ้น

    [​IMG]

    เพราะว่าแต่ละปีนั้นนักศึกษาสมาธิก็ต้องมีคนใหม่มาเรียนสมาธิ อาตมาก็ต้องเข้าไปสัมพันธ์กับนักศึกษาทุกๆ คน เพื่อให้เขาได้รู้จักมักคุ้นเป็นกันเอง เกิดความเข้าใจและมั่นใจในการศึกษาสมาธิในระดับต่างๆ เมื่อมีข้อสงสัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น ก็จะได้แก้ปัญหาเหล่านั้นไปด้วย ประการสำคัญคือการตรวจสอบดูว่าการสอนสมาธิเป็นไปอย่างถูกต้องหรือไม่ ก็มีความสำคัญมาก ทั้งได้ทำการแก้ไขใน สิ่งที่ผิดสนับสนุนในสิ่งที่ถูก เมื่อปฏิบัติงานอยู่เช่นนี้อย่างต่อเนื่อง ผลที่ออกมาจากการปฏิบัติงานแม้จะเหนื่อยยาก แต่ก็ทำให้บรรลุเป้าหมายของสมาธิ Meditation Instructor Course สมความตั้งใจ

    อย่างไรก็ตาม การเดินทางโดยเครื่องบินข้ามจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งของประเทศแคนาดาซึ่งมีผืนแผ่นดินใหญ่ที่สุดในโลก จากเมืองแอตแมนตันถึงเมืองควีเบค เครื่องบินใช้เวลาบินถึง 5 ชั่วโมงครึ่ง สิ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้ที่ประเทศแคนาดามีอยู่ถึง 4 อย่างคือ

    1. ผืนแผ่นดินใหญ่ที่สุดในโลก
    2. น้ำตกไนแองการ่า เป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในโลก
    3. หอคอยชื่อ ซี-เอ็น เทาเวอร์ สูงที่สุดในโลก
    4. ก้อนน้ำแข็งที่ไม่เคยละลายนับพันๆ ปี ก้อนใหญ่ที่สุดในโลก

    ในเมื่ออาตมาได้มาสอนสมาธิให้แก่ประชาชนชาวแคนาดา ให้ได้มีความรู้ ความสามารถในการสอน มีความมั่นคงและมีการต่อเนื่อง ก็น่าจะมีศูนย์สมาธิที่ใหญ่ที่สุดในโลก

    [​IMG]

    รัฐอับเบอร์ต้า เมืองหลวงชื่อเมืองแอตแมนตัน อาตมาได้ตั้งสถานที่นี้เป็นศูนย์กลางของ Willpower Institute of Canada เป็นส่วนกลางการบริหารวัดทั้ง 6 สาขาในประเทศแคนาดา เพื่อให้เป็นเอกภาพในการดำเนินงานสมาธิเป็นในแนวเดียวกัน ดำเนินการตามนโยบายที่ทำสมาธิเพื่อผลิตพลังจิต และศูนย์สมาธิทุกๆ ศูนย์จะได้มีการประสานงานกันอย่างสอดคล้องเป็นแนวทางอันเดียวกัน เนื่องจากในรัฐนี้มีบุคคลสัปปายะเพราะว่าเป็นรัฐที่มีความสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรคือน้ำมัน ทำให้ราษฎรอยู่ดีกินดี มีความปรกติสุข

    เมื่ออาตมามาลงรากปักสมาธิเป็นครั้งแรก ผลออกมาปรากฏว่า เราได้ทรัพยากรบุคคลสมความปรารถนา บุคคลจากเมืองนี้ได้เป็นกำลังช่วยขยายศูนย์สมาธิไปยังรัฐอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพ อากาศเมืองนี้แม้ว่าจะหนาวมากขนาดลบ 40 องศา แต่เป็นอากาศบริสุทธิ์ไม่มีมลพิษ ทำให้ร่างการของอาตมาแข็งแรงขึ้น นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของอุตุสัปปายะ ความเหมาะสมของอากาศกับร่างกายที่มีอายุ 80 กว่าปี นับว่ามีความสำคัญมาก หากว่าอากาศไม่เหมาะสมจะทำให้ร่างการทรุดโทรมลงได้

    [​IMG]

    การปฏิบัติภารกิจในเรื่องของวัดและศูนย์สมาธิ โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะให้บุคคลมาทำสมาธินั้นเป็นภาระหนักมาก เพราะจะมีอุปสรรคเกิดขึ้นมากมายระหว่างการปฏิบัติงาน การแก้ไขอุปสรรคต่างๆ นั้นจำเป็นต้องรอบคอบอย่างยิ่ง เพราะนี่คือประเทศแคนาดาไม่ใช่ประเทศไทย ดังนั้น ถ้าร่างกายอ่อนแอหรือขาดพลังเพียงเล็กน้อยก็จะผ่านอุปสรรคไม่ได้ แต่สิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ช่วยอาตมาให้มีกำลังกาย กำลังใจ ดำเนินงานสมาธิจนสำเร็จ ขอบใจจริงๆ ต่อผู้สนับสนุนทุกท่าน

    จากหนังสือ 5 ปี ในประเทศแคนาดา


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ศาสนาพุทธบูม !! ในแคนาดา
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4566

    เว็บไซต์วัดธรรมมงคล
    http://www.dhammamongkol.com/

    ประวัติและปฏิปทาพระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13075

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    [​IMG]
    [​IMG]
    วัดญาณวิริยาเทมเปิ้ล 1 เมืองแวนคูเวอร์
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พระมหาธาตุเฉลิมราชศรัทธา ณ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
    .................................................................................................


    วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
    เมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย


    พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) ประธานสงฆ์

    [​IMG]
    พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ)


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    พระผู้นำพุทธศาสนากลับคืนสู่ดินแดนพุทธภูมิ “พระราชรัตนรังษี”
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13550

    เว็บไซต์วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
    http://www.watthaikusinara.org/

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    [​IMG]

    วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์
    กับบทบาท...ประกาศธรรมในแดนพุทธองค์
    โดย พระมหา ดร.คมสรณ์ คุตตธัมโม


    การดูแลพุทธบริษัทจากประเทศไทย ผู้ไปไหว้พระ ณ แดนพุทธองค์ ซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย โดยเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ ตลอดระยะเวลาเกือบห้าสิบปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังอำนวยผลแก่ประชาชนชาวท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้การดูแลของ พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ รัฐอุตตรประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย

    วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๗ ภายใต้ดำริของหลวงพ่อพระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ) อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กทม. โดยมีพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาและเฉลิมพระเกียรติการครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

    การก่อสร้างเน้นการออกแบบรักษาระบบนิเวศวิทยาเชิงพุทธ และวางผังก่อนการเริ่มก่อสร้าง เมื่อการก่อสร้างเสร็จแล้วจึงมีลักษณะที่สวยงาม เป็นระบบ จัดระเบียบ วางผังอย่างลงตัว จนได้รับขนานนามจากชาวอินเดียผู้ไปเยือนวัดแห่งนี้ว่า มินิไทยแลนด์

    พระราชรัตนรังษีมีนโยบายกิจกรรมนำศาสนา ดังนี้

    ๑. งานประกาศธรรม ระหว่างพรรษากาลจะจัดฝึกอบรมพระธรรมวิทยากรให้มีภูมิความรู้ เจาะลึก ศึกษาพุทธประวัติ พุทธสถาน ธรรมบท เรื่องราวคราวครั้งพุทธกาลโดยละเอียด พร้อมเทคนิควิธีการนำเสนอแสดงธรรมแก่ผู้มาแสวงบุญอย่างถ้วนถี่ เมื่อออกพรรษาก็จะส่งพระธรรมวิทยากรที่อบรมดีแล้ว ไปปฏิบัติหน้าที่เป็นพระธรรมทูต นำพาชาวพุทธไทยผู้มาไหว้พระแสวงบุญตลอดทั้งดูแลช่วยเหลือในกรณีที่มีปัญหา ซึ่งเป็นการเสริมสร้างศรัทธาและเติมเต็มหลักธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมถึงการนำเรื่องเล่าในพุทธประวัติ นำประชาชนเข้าถึงพุทธสถานได้ถึงที่ ถึงตา ถึงหู และถึงใจ

    ๒. งานกิจนิมนต์-มวลชนสัมพันธ์ งานกิจนิมนต์ก็จะมีหลากหลาย เช่น งานแต่งงาน ไปอวยพรคู่บ่าวสาว งานเจริญพุทธมนต์เนื่องในงานแม่วัวตกลูก งานเปิดเทศกาลกีฬาฮอกกี้ คริกเก็ต กีฬามวยปล้ำ (มัลละบุรุษ) งานฉันเพล งานเป็นประธานชักธงชาติอินเดียเนื่องในวันประกาศอิสรภาพ และวันชาติ ฯลฯ

    การไปร่วมงานทั้งหมดก็จะนำสิ่งของต่างๆ ไปมอบให้เจ้าภาพ ไม่มีการรับปัจจัยไทยธรรมจากเจ้าภาพใดๆ

    ๓. งานดูแลต้อนรับแขกผู้ใหญ่ของอินเดีย เพราะวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ทุกวันนี้ รัฐบาลรัฐยูพีประกาศให้วัดไทยกุสินาราฯ เป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำรัฐ จะมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอินเดียแวะเวียนมาเยี่ยมชมเป็นประจำ เช่น ผู้ปกครองรัฐยูพี ๖ (U.P.Governor) ผู้บัญชาการทหารอากาศ รัฐมนตรีสาธารณสุข รัฐมนตรีการรถไฟ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บัญชาการตำรวจ ฯลฯ

    เมื่อเจ้าหน้าที่เหล่านี้มาเยี่ยมวัดไทย พระสงฆ์ก็จะจัดเจริญชัยมงคลคาถา ให้พร และอธิบายวัตถุประสงค์รายละเอียดต่างๆ ของการสร้างวัด รวมถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในเมืองไทยที่ได้รับจากอินเดีย

    วัดจึงกลายเป็นสถานทูตทางวัฒนธรรม อันเป็นสื่อกลางการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี

    ๔. งานกุสินาราคลินิก ที่วัดมีคลินิกราคาถูก ซึ่งเปิดทำการมากว่า ๕ ปี และดูแลรักษาคนป่วยทั้งชาวอินเดียท้องถิ่น รวมถึงคนไทยผู้มาแสวงบุญ และชาวต่างชาติไปแล้วกว่า ๒ แสนราย ชาวกุสินาราเรียกคลินิกแห่งนี้ว่า ไทยแลนด์คลินิก

    ในแต่ละวันจะมีผู้ป่วยมารักษามากกว่าร้อยคน และหากเป็นวันพระจะรักษาฟรี จำนวนคนไข้จะเพิ่มมากกว่า ๒-๓๐๐ คนต่อวัน ผู้ป่วยจากระยะห่างออกไป ๖๐ กม. ต่างก็มาใช้บริการที่คลินิกของวัด นับว่าเป็นกิจกรรมที่นำประโยชน์มาให้โดยส่วนเดียว ซึ่งนับว่าเป็นตัวอย่างการนำบทบาทของพระสงฆ์ที่เคยปฏิบัติในอดีตให้กลับมาอย่างน่าภาคภูมิ ปัจจุบันวัดขยายสร้างเป็นโรงพยาบาลขนาดประมาณ ๓๐ เตียง เพื่อรองรับการขยายตัวของกุสินาราคลินิก ซึ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแผ่นศิลาฤกษ์เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้แล้ว เมื่อครั้งที่เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรพระมหาเจดีย์ พระมหาธาตุเฉลิมราชย์ศรัทธา ณ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๘

    ขณะนี้กำลังก่อสร้าง วัตถุประสงค์ก็เพื่อเป็นหลักประกันด้านสุขภาพ ดูแลชาวพุทธไทยผู้มาเจ็บป่วยที่อินเดีย และดูแลรักษาประชาชนท้องถิ่นทุกชนชั้น ไม่มีเชื้อชาติ ศาสนา ใครเจ็บป่วยมาก็รักษา นับเป็นน้ำใจของชาวพุทธไทยที่มีต่อคนอินเดีย และเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการประชวรด้วยพระปักขันธิกาพาธของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงป่วยและเสด็จดับขันธปรินิพพานที่เมืองกุสินาราแห่งนี้ และนอกจากนี้วัดยังจัดตู้ยาและหมายเลขโทรศัพท์ติดตั้งไว้ตามจุดแวะพักต่างๆ ทั่วพุทธสังเวชนียสถาน เมื่อเกิดเหตุก็จักส่งหมอจัดคนไปช่วยดูแลอย่างทันท่วงที

    ๕. งานโรงเรียนต้นกล้าพระพุทธศาสนาทุกวันอาทิตย์ วัดจัดให้มีการเรียนการสอนนักเรียนระดับประถมศึกษา ให้ศึกษาพระพุทธศาสนา และสวดมนต์ทุกวันอาทิตย์ กว่า ๑๐๐ คน และเข้าไปดูแลสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนระดับประถมในเขต จ.กุสินาคาร์จำนวน ๒๒ แห่ง ซึ่งเป็นการประกาศธรรมในระดับรากหญ้าของประชาชนชาวท้องถิ่น นับว่าเป็นจุดประกายแห่งพระพุทธศาสนาให้ฟื้นกลับคืนยังแดนพุทธภูมิอีกครั้ง

    ๖. งานดูแลชาวพุทธไทย คนสัญชาติไทยปัจจุบันนอกจากวัดจะดูแล ต้อนรับ รับรองผู้มาแสวงบุญ ณ กุสินาราปีละกว่า ๗,๐๐๐ คนแล้ว ยังเป็นที่รับยื่นเอกสารเพื่อส่งไปดำเนินการต่ออายุและออกหนังสือเดินทางยังสถานทูตไทย ณ กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย โดยประชาชนเหล่านี้ไม่ต้องเสียเวลาไปดำเนินการเอง ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกอีกด้านหนึ่งเป็นอย่างดี

    [​IMG]

    นโยบาย ๕ อู่

    ๑. อู่ข้าว คือโรงทาน เป็นที่รับประทานอาหารเลี้ยงพระสงฆ์และชาวพุทธผู้มาแสวงบุญ ตั้งแต่สร้างวัดได้ดูแลคนไทยผู้มาแสวงบุญแล้วกว่า ๗ หมื่นคน

    ๒. อู่น้ำ คือซุ้มกาแฟ มุมบริหารน้ำดื่ม น้ำปานะ ที่พบปะสนทนาธรรม ระหว่างผู้มาแสวงบุญ

    ๓. อู่นอน คือที่พัก ซึ่งจัดไว้สำหรับรับรองผู้มาแสวงบุญสามารถพักอย่างสะดวกสบาย

    ๔. อู่ยา เป็นคลินิก ๘ รูปี รักษาทุกโรค เปิดเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ กลางวันเปิดให้บริการรักษาดูแลชาวอินเดียท้องถิ่น กลางคืนเปิดให้บริการดูแลชาวพุทธไทยผู้มาแสวงบุญ ดูแลรักษาผู้ป่วยไปแล้วกว่า ๒ แสนคน

    ๕. อู่ทรัพย์ คือพระอุโบสถและพระมหาเจดีย์ เป็นที่สวดมนต์ ไหว้พระเจริญภาวนา และเป็นที่บำเพ็ญบุญกิริยาอันเป็นอริทรัพย์ของผู้ศรัทธาทั้งหลาย


    หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก - 30/03/2006
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พระอุโบสถวัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน
    .................................................................................................


    วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน
    เลขที่ 14 ถนนคาโลนน์ วิมเบิลดัน
    เขตมอร์ตัน กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
    Tel : +44 (0208) 946-1357
    Fax : +44 (0208) 944-5788


    THE BUDDHAPADIPA TEMPLE LONDON
    14 Calonne Road Wimbledon
    London SW19 5HJ


    พระราชภาวนาวิมล (ธีรวัธน์ อมโร) เจ้าอาวาส

    อนุสนธิสืบเนื่องมาจากมูลนิธิวิปัสสนา วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร ได้จัดส่งพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ ป.ธ.9) ขณะดำรงค์สมณศักดิ์ที่ พระราชสิทธิมุนี กับพระโสภณธรรมสุธี (ขณะดำรงค์สมณศักดิ์ที่ พระมหาวิจิตร ติสฺสทตฺโต) มาทำการสอนวิปัสสนาที่พุทธวิหารแฮมป์สเตท เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2507 ตามคำอาราธนาของ The English Sangha Trust ซึ่งเป็นเจ้าภาพของพุทธวิหารแห่งนั้น

    [​IMG]

    ประมาณ 5 เดือนหลังจากพระสงฆ์ไทยทั้งสองรูปได้ปฏิบัติงานสอนพุทธวิปัสสนา ปรากฏว่ามีคนสนใจมากเป็นที่น่าอนุโมทนา แต่สถานที่สำหรับฝึกสอนยังไม่เหมาะสมดีนัก ประกอบกับกรมการศาสนาได้ขออนุมัติคณะรัฐมนตรีและมหาเถรสมาคม แต่งตั้งพระสงฆ์ไทยทั้งสองรูปเป็น “พระธรรมทูต” (Buddhist Missionary) โดยมีพระราชสิทธิมุนี เป็นหัวหน้า เพื่อวัตถุประสงค์จะจัดตั้งวัดไทยขึ้น ณ นครลอนดอน ดังนั้น พระสงฆ์ไทยทั้งสองรูปจึงปรึกษาหารือสถานเอกอัครราชทูต และหัวหน้าสำนักงานไทยๆ ในกรุงลอนดอน ผลปรากฏว่าทุกฝ่ายเห็นชอบด้วย จึงได้เสนอเรื่องจัดตั้งวัดไปยังกรมการศาสนา (Religious Affair) เพื่อเสนอรัฐบาลขออนุมัติเงินงบประมาณแผ่นดินต่อไป

    [​IMG]

    ในที่สุดรัฐบาลไทยของเรา ได้อนุมัติเงินจัดซื้อที่ตั้งวัด และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอนเป็นผู้แทนรัฐบาลดำเนินการจัดซื้อบ้านเลขที่ 99 Christchurch Road, in the London borough of Richmond เป็นที่ตั้งวัด ดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเปิดวัดเป็นทางการและทรงพระราชทานนามว่า วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน (THE BUDDHAPADIPA TEMPLE LONDON) ต่อมาในปีพุทธศักราช 2518 ได้ย้ายไปอยู่ที่คฤหาสบาร์โลกิลเฮาส์ (Bralogill) วิมเบิลดัน ปาร์คไซด์ กรุงลอนดอน (Wibledon Parkside London) ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดจนถึงปัจจุบัน

    วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน คือ วัดไทยแห่งแรกในสหราชอาณาจักร และภาคพื้นยุโรป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบไทย ปัจจุบัน ได้จัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน (The Buddhapadipa Buddhist Sunday School London) ขึ้นมาภายใต้ภารกิจของคณะพระธรรมทูต ด้วยมุมมองและวิสัยทัศน์ของคณะพระธรรมทูต ที่อยากเห็นเยาวชนไทยที่เติบโตในแผ่นดินอังกฤษ ได้รับการสั่งสอน ฝึกฝนอบรม ภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และกิริยามารยาทสมกับเป็นลูกหลานคนไทย

    [​IMG]

    ศาสนกิจที่พระสงฆ์ได้ถือปฏิบัติมาตลอดนั้น นับเป็นภารกิจสำคัญในการนำวงล้อแห่งธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้คงอยู่ และสามารถหยั่งรากลึกไปสู่จิตใจของพุทธศาสนิกชน การปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสงฆ์นั้น แบ่งออกเป็นส่วนหลักๆ คือ กิจวัตรสงฆ์ประการหนึ่ง และกิจในการประกาศธรรมะอีกประการหนึ่ง ส่วนกิจนอกจากที่กล่าวนี้จัดเป็นกิจจร คือไม่ได้กำหนดเป้าหมายไว้ชัดเจน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือปฏิบัติกิจตามสมควร ทั้งต่อสถานที่ ต่อบุคคล และสภาพแวดล้อมที่พระสงฆ์ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง ศาสนกิจที่คณะพระธรรมทูต วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน ได้ถือเป็นแนวปฏิบัติตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมานั้น สามารถแยกออกได้ดังนี้

    - ศาสนกิจตลอดปี (Yearly Programme)
    - ศาสนกิจรายเดือน (Monthly Programme)
    - ศาสนกิจรายสัปดาห์ (Weekly Programme)
    - กิจนิมนต์และงานพิธีกรรมนอกสถานที่ (Outdoor Programme)
    - กิจสงฆ์ลงฟังสวดพระปาฎิโมกข์ทุกวันขึ้น/แรม 15 ค่ำ/แรม 14 ค่ำ (เฉพาะพระภิกษุเท่านั้น)

    วัดพุทธปทีป เปรียบเสมือนประทีปธรรมดวงแรกเริ่ม ที่ได้ปักลงไว้ในกรุงลอนดอน นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2507 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีอายุครบ 40 ปีเต็ม (พ.ศ.2549) มีพระสงฆ์จำพรรษาจำนวน 9 รูป ในปี พ.ศ.2545 คณะพระธรรมทูตได้จัดตั้งวัดขึ้นอีก โดยให้ชื่อว่า “วัดธรรมปทีป กรุงเอดินเบอระ” เป็นประทีปธรรมดวงที่สองที่ถูกปักลงที่กรุงเอดินเบอระ สกอตแลนด์ มีพระสงฆ์ 3 รูป อยู่จำพรรษาปฏิบัติศาสนกิจสงเคราะห์ชุมชนชาวไทยและชาวสกอตแลนด์จนปัจจุบัน

    [​IMG]

    ในปี พ.ศ.2548 คณะพระธรรมทูต พิจารณาเห็นว่าทางสกอตแลนด์มีวัดไทยเป็นศูนย์กลางให้ชุมชนชาวไทยและชาวต่างชาติได้ศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้มีโครงการสร้างวัดขึ้นที่เขตเมืองคาร์ดิฟฟ์ เวลส์ เพื่อให้ประทีปธรรมปักลงครบเป็นดวงที่สาม ให้งานการปฏิบัติศาสนกิจและการเผยแผ่ธรรมะขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยให้ชื่อว่า “วัดสังฆปทีป เฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ่อหลวงของปวงชนชาวไทย

    ทั้งนี้ โครงการสร้างวัดสังฆปทีป กรุงคาร์ดิฟฟ์ เวลส์ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ซึ่งคณะพระธรรมทูตได้ทำการประชาสัมพันธ์ข่าวการกุศลให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวต่างชาติได้ทราบและร่วมบริจาคสมทบทุนในการจัดสร้างวัด การดำเนินการงานสร้างวัดในครั้งนี้กำหนดกรอบเวลาไว้ 5 ปี (พ.ศ.2550-2555) ทั้งนี้ เพื่อให้ประทีปแห่งธรรมะของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าสว่างไสวเป็นหลักชัย เสริมจิตใจแก่ชาวไทยและชาวต่างชาติในสหราชอาณาจักรตลอดไป

    [​IMG]
    พระราชภาวนาวิมล (ธีรวัธน์ อมโร)


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ท่องแดนธรรม “วัดพุทธปทีป” ประทีปธรรม...กลางกรุงลอนดอน
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14026

    เว็บไซต์วัดพุทธปทีป
    http://watthaiuk.org/
    http://www.bpp.iirt.net/
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    ศาลาปฏิบัติธรรม วัดถ้ำผาจม
    ........................................................................................


    วัดถ้ำผาจม
    ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 57130
    โทร. 053-731-415, 053-733-129


    พระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย) เจ้าอาวาส

    วัดตั้งอยู่ติดชายแดนระหว่างไทย-พม่า มีแม่น้ำแม่สายเป็นเขตแดนกั้น
    ห่างจากสะพานข้ามไปประเทศพม่าประมาณ 800 เมตร

    กิจวัตรของวัด

    03.00 น. ตื่นมา สวดมนต์ทำวัตรเช้าแปลที่ศาลา เสร็จแล้วผลัดกันอ่านพระไตรปิฏก
    ผู้ที่ไม่อ่านนั่งสมาธิจนถึงเวลา 06.00 น.
    06.00 น. ออกบิณฑบาต กลับมาถึงวัดผลัดกันอ่านพระวินัยก่อนฉันภัตตาหาร
    13.00 น. มารวมกันปฏิบัติธรรมที่ศาลา ยืนทำสมาธิ 1 ชั่วโมง เดินจงกรรม 1 ชั่วโมง นั่งสมาธิ 1 ชั่วโมง
    16.00 น. ช่วยกันทำความสะอาดรอบบริเวณวัด
    18.00 น. ตีระฆัง พระภิกษุ–สามเณร อุบาสก–อุบาสิกา มารวมกันที่ศาลา
    18.30 น. สวดมนต์ทำวัตรเย็นแปล แผ่เมตตา ให้เปลี่ยนอิริยาบถยืนทำสมาธิ
    เดินจงกรม นั่งสมาธิ จนถึงเวลา 21.00-21.30 น. จึงเลิก
    มีการบรรยายธรรมะ อบรมสมถวิปัสสนาเป็นประจำทุกวัน นี่คือกิจวัตรซึ่งผู้อยู่ที่นี้ต้องปฏิบัติตาม

    วัดถ้ำผาจม เป็นวัดหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
    ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามแนวนโยบายของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    วัดอุดมวารี
    (วัดป่าสาขาที่ 30 ของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี)
    ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย 57120
    โทร. (053) 958-101, 958-453


    ประธานสงฆ์
    1. พระครูอุดมวีรวัฒน์
    2. หลวงพ่อคูณ ติกฺขวีโร


    ประวัติวัดอุดมวารีโดยสังเขป

    พระอาจารย์คูณ ติกฺขวีโร หลังจากบวช และฝึกการปฏิบัติกัมมัฎฐานอยู่ที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ ๘ ปีแล้ว ก็ออกจาริกธุดงค์เฉกเช่นพระป่าทั่วๆ ไป ได้กราบลาท่านหลวงปู่ชา สุภัทโท ออกเดินทางจากวัดหนองป่าพงไปตามป่าเขาภาคต่างๆ เพื่อแสวงวิเวก เจริญอารมณ์กัมมัฎฐาน เมื่อถึงหมู่บ้านทางภาคเหนือบริเวณเชิงดอยห้วยฮ่อม เห็นว่าเป็นชัยภูมิที่เหมาะ และประชาชนก็นิยมศรัทธาเป็นจำนวนมาก จึงได้ขออนุญาตเจ้าคณะจังหวัด สร้างวัดขึ้นโดยได้รับการสนับสนุน จากชาวบ้านละแวกนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นต้นมา ศรัทธาสาธุชนที่มีความเลื่อมใสพระอาจารย์คูณ ได้ชักชวนกันมาฟังธรรมและปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งได้ร่วมใจกันบริจาคทรัพย์และปัจจัยสนับสนุน ในการพัฒนาวัดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ได้มีการสร้างศาสนสถานและพัฒนาเป็นระยะ ตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้

    วัดอุดมวารี ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ ๑๒ ไร่ ของตำบลทรายขาว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยมีเทือกเขาดอยปุย อยู่ทางทิศตะวันออกของวัด สร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นวัดป่าสาขาที่ ๓๐ ของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) เป็นพระบูรพาจารย์

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    เว็บไซต์วัดอุดมวารี
    http://www.udomwaree.net/

    email : mailbox@udomwaree.net
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พระอาจารย์ทองสุข ฐิตสีโล เจ้าอาวาส
    ........................................................................................


    ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานวัดถ้ำพระผางาม
    (สาขาวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี)
    หมู่ 9 บ้านผางาม ต.ผางาม
    อ.เวียงชัย จ.เชียงราย 57210
    โทร. (053) 736-239


    พระอาจารย์ทองสุข ฐิตสีโล เจ้าอาวาส

    ปฎิบัติธรรมแนวเจริญสติปัฏฐาน 4 ของพระธรรมสิงหบุราจารย์
    (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี

    ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม

    การเตรียมตัวไปปฏิบัติธรรม

    สัมภาระต่างๆ เราก็ไม่ควรติดตัวอะไรไปมากมาย โดยเฉพาะทรัพย์สินหรือของมีค่ามิต้องนำไปด้วย เพราะในการเข้าปฏิบัติธรรม จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นที่พัก อาหาร หลวงพ่อท่านให้ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติอย่างเดียว ดังนั้นสัมภาระต่างๆ ก็เอาเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น

    ชุดปฏิบัติธรรมสีขาว ในกรณีที่ท่านไม่สามารถหาชุดขาวได้ ทางวัดมีให้ยืมครบทุกอย่าง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

    ชาย กางเกงขายาวสีขาว เสื้อแขนสั้นสีขาว
    หญิง เสื้อแขนยาว ผ้าถุงสีขาว สไบสีขาว

    การแต่งกายของผู้เข้าปฏิบัติธรรมไม่ควรใช้เครื่องแต่งกายอื่น นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบปฏิบัติของทางวัด เช่น ผู้หญิงจำเป็นจะต้องนุ่งผ้าถุงสีขาว ไม่ควรสวมกางเกง เราต้องหัดฝืนใจตนเพราะการฝึกปฏิบัตินั้น จะเป็นการฝืนใจตนเองทั้งสิ้น หากตามใจตน ตามความเคยชิน ความถนัดของตนเองตั้งแต่ชุดปฏิบัติธรรมแล้ว ท่านจะปฏิบัติให้ได้ผลได้อย่างไร

    บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรที่แสดงตนเฉพาะบุคคล ของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ผ้าเช็ดตัว ชุดนอนจะใส่ชุดปฏิบัติธรรมก็ได้ ผู้หญิงสามารถใส่กางเกงได้ หากใส่ชุดอื่น หากกระทำได้ก็ควรเป็นสีขาวไม่มีลาย ควรงดเว้นการสวมใส่เครื่องประดับ การใช้เครื่องปะทินผิวทุกอย่าง เช่น แป้ง ครีม เพราะต้องรักษาศีล 8

    [​IMG]

    ข้อควรปฏิบัติระหว่างปฏิบัติธรรม

    - ระลึกถึงคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงพ่อบทนี้อย่าได้ขาด “ถ้าท่านตั้งใจปฏิบัติธรรมโดย กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย ทำความเพียรให้มากแล้ว ไม่สนใจใครทั้งหมด ตัดปลิโพธิกังวลให้หมด (พะว้าพะวัง ห่วงโน้น ห่วงนี่ ห่วงนั่น) ท่านจะไม่ขาดทุน”

    - ศึกษา “ระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมฝ่ายคฤหัสถ์” ให้หมดเสียก่อน

    - ไม่พูดคุยกัน ไม่คะนองวาจา ไม่โทรศัพท์ และไม่อ่านหนังสือ ตลอดเวลาที่อยู่ปฏิบัติธรรมในวัด

    - ไม่ทำเสียงดัง เดินต้องสำรวม กำหนดสติตลอดเวลา

    - เข้าฝึกตรงตามตารางไม่เกียจคร้าน

    - สำรวมตนอยู่ในเขตภาวนา อย่าไปเดินซื้อของ อย่าเดินสำรวจรอบๆ บริเวณวัด

    - ใช้หลักสติปัฏฐานสี่ในการฝึกปฏิบัติธรรม ตามที่หลวงพ่อสอนเท่านั้น

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านสอนมาตลอดชีวิตของท่าน โดยมุ่งเน้นให้พวกเรา “สร้างบุญ” โดยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นบุญสูงสุดในพระพุทธศาสนา ฉะนั้นในช่วงระหว่างที่ท่านปฏิบัติธรรม ขอให้ท่านกระทำกิจนี้ให้สมบูรณ์ก่อน อย่าพะวงกับการ “ทำบุญ” ในระหว่างที่ปฏิบัติธรรม เช่น การตักบาตร การสมทบทุนช่วยทางวัดในด้านต่างๆ เพราะเมื่อท่านพะวงอยู่กับสิ่งนี้แล้ว ก็เท่ากับการ “สร้างบุญ” ของท่านไม่ต่อเนื่อง ไม่ตัดปลิโพธิกังวลทั้งหลายตามที่หลวงพ่อสอน

    ขอให้ท่าน “ทำบุญ” เมื่อได้ “สร้างบุญ” จากการปฏิบัติวิปัสสนาเสร็จสิ้นตามจำนวนวันแล้ว เมื่อทำการเปลี่ยนชุดเรียบร้อยแล้วจึงค่อยมา “ทำบุญ” ในลำดับต่อไป

    บางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นที่นี่อาจไม่ถูกใจเรา แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า เรามาที่นี่เพื่อพัฒนาตนเอง หรือฝึกฝนตนเองให้เข้มแข็ง มีความอดทน และมีสติสมาธิที่แน่วแน่เพื่อให้สามารถ ลด ละ เลิกในสิ่งที่เป็นอกุศล ควรกำหนดสติตลอดเวลา

    ศูนย์วิปัสสนากรรมฐานวัดถ้ำพระผางาม ตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างที่ตั้ง อ.เวียงชัย ไป อ.พญาเม็งราย เดินทางออกจากที่ตั้ง อ.เวียงชัย ออกเส้นบ้านหนองหลวง ผ่านบ้านดอนศิลาผางาม บ้านป่าบง แล้วทางแยกเข้าศูนย์ฯ อยู่ทางซ้ายมือ มีป้ายหมู่บ้าน และป้ายศูนย์ฯ อย่างเห็นได้ชัด เข้าจากทางแยกไปประมาณ 1.5 กม. ศูนย์ฯ ตั้งอยู่ด้านขวามือ มีป้ายชัดเจน อยู่บนภูเขาเล็กๆ เป็นที่สัปปายะในการปฏิบัติธรรมมาก บรรยากาศดี มีต้นไม้ใหญ่มากมาย หากสอบถามชาวบ้าน เขาเรียกว่า ผาคอก

    [​IMG]

    การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว

    หากออกจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จากสี่แยกถนนสายหลัก (พะเยา-เชียงราย) แยกไปทางอำเภอเวียงชัย อำเภอพ่อขุนเม็งราย โดยปกติออกได้สองแยก คือ

    1. สี่แยกทางไปอำเภอเวียงชัย เส้นทางนี้ไปจนถึงศูนย์มีระยะทาง 30 กิโลเมตร ขับรถไปตามทางคดเคี้ยว ไม่ต้องเลี้ยวแยกซ้ายหรือขวา จะผ่านที่ตั้งศูนย์ราชการอำเภอเวียงชัย และตรงไปทางบ้านหนองหลวง (ผ่านที่ทำการสถานีประมงน้ำจืดตั้งอยู่ด้านซ้ายมือของถนน ด้านขวามือจะมีหนองน้ำขนาดใหญ่ สังเกตง่าย) แล้วเข้าสู่เส้นทางไปอำเภอพญาเม็งราย เมื่อเข้าสู่เส้นทางอำเภอพญาเม็งรายแล้ว มีจุดสังเกตในระหว่างทาง คือ ภูเขาหินสูง ตั้งอยู่โดดเดี่ยวกลางทุ่งทางด้านซ้ายมือ แสดงว่ามาถูกทางแล้ว แสดงว่า อีกประมาณ 6 กม. จะถึงทางแยกเข้าศูนย์ฯ ขับรถต่อไปอีกจนกระทั่งผ่านบ้านดอนศิลาผางาม ผ่านโรงเรียนดอนศิลา-ผางาม ซื่งตั้งอยู่ฝั่งขวามือติดถนน จากนั้นเข้าเขตบ้านป่าบง นับจากนี้ไปประมาณ 2 กม. จะถึงทางแยกจากถนนใหญ่ เข้าศูนย์ฯ อยู่ทางด้านซ้ายมือ ตรง ปากทางแยก จะมีป้ายชื่อชัดเจน ขับรถไปตามทางต่อไปอีกประมาณ ๑.๑๙ กม. ทางด้านขวามือจะเห็นเป็นทางขึ้นเขาเตี้ยๆ เข้าไปที่ศูนย์ฯ ซึ่งจะพบป้ายบอกไว้อย่างชัดเจน ขับขึ้นไปอีกประมาณ 400 เมตร

    2. สี่แยกแม่กรณ์ไปทางอำเภอเทิง ออกจากแยกประมาณ 6 กม . เลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางอำเภอพญาเม็งราย ผ่านสนามกอล์ฟสันติบุรี ซึ่งตั้งอยู่ด้านขวามือของถนน มุ่งไปสามแยกบ้านหนองหลวง (เมื่อเลี้ยวขวาแล้วจะเห็นสถานีประมงน้ำจืดตั้งอยู่ด้านซ้ายมือ และหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่ด้านขวามือ) เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางไปอำเภอพญาเม็งราย ผ่านหมู่บ้านต่างๆ เหมือนเส้นทางแรก

    การเดินทางโดยรถประจำทาง

    จากสถานีขนส่งประจำจังหวัดเชียงราย ให้ขึ้นรถประจำทางที่วิ่งจากอำเภอเมืองไปอำเภอพญาเม็งราย แจ้งกับคนขับว่าจะไป ศูนย์ฯ หรือ ผาคอก ซึ่งตั้งอยู่ หมู่ 9 บ้านผางาม เมื่อรถวิ่งผ่านปากทางแยกของศูนย์ฯ ก็ลงเดินเข้าไป ประมาณ 1.19 กม. หรือ จะเลือกนั่งรถสองแถวเล็กที่สถานีขนส่งฯ ซึ่งอาจขอให้ส่งถึงหน้าทางเข้าศูนย์ฯ ได้ แล้วเดินขึ้นไปอีกเพียง 400 เมตร โดยให้ค่ารถเพิ่มอีกเล็กน้อย

    ศูนย์ฯ เปิดรับทุกวันตามสะดวกของญาติธรรม แต่หากต้องการหลีกเลี่ยงคนมาก ก็สอบถามไปตามหมายเลขโทรศัพท์ข้างต้น โดยเฉพาะช่วงปิดภาคเรียน นักเรียน นักศึกษาจะมาก ช่วงเปิดภาคเรียนจะเป็นข้าราชการและประชาชนทั่วไป ช่วงฤดูหนาวจะหนาวมากเป็นพิเศษ เพราะเป็นภูเขาหิน

    [​IMG]

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    เว็บไซต์พระอาจารย์ทองสุข ฐิตสีโล
    http://www.thongsuk.org/
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    พระครูจันทนิภากร (ถวิล จนฺทสโร)
    ........................................................................................


    วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
    ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ
    เลขที่ 395 หมู่ 11 ต.ธารทอง
    อ.พาน จ.เชียงราย 57250
    โทรศัพท์ (053) 666-829


    พระครูจันทนิภากร (ถวิล จนฺทสโร) เจ้าอาวาส
    และประธานศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ


    วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ แต่เดิมเป็นถ้ำที่เป็นธรรมชาติ มีป่าไม้ร่มรื่น เป็นที่สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม มีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ ปัจจุบันได้แต่งตั้งวัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญเป็น “ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดเชียงราย”

    [​IMG]

    กิจกรรมการปฏิบัติธรรมประจำปี

    1. งานปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุทั่วประเทศ วันที่ 1-10 ก.พ. ของทุกปี
    2. งานอุปสมบทบรรพชาสามเณรของทุกปี ภาคฤดูร้อน วันที่ 1-10 เม.ย. ของทุกปี
    3. งานปฏิบัติธรรมวันวิสาขบูชาของทุกปี สำหรับประชาชนทั่วไปทุกหมู่เหล่า
    4. งานปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุทั่วประเทศก่อนเข้าพรรษาของทุกปี
    5. จัดปฏิบัติธรรมวันแม่แห่งชาติเป็นประจำทุกปี
    6. จัดปฏิบัติธรรมวันพ่อชาติเป็นประจำทุกปี
    7. จัดอบรมนักเรียน นิสิต นักศึกษา ตามที่สถาบันการศึกษาได้กำหนดมา ฯลฯ
    8. จัดอบรมสำหรับหน่วยงานข้าราชการ องค์กรเอกชนต่างๆ
    9. มีประชาชนเข้ารับการปฏิบัติธรรม 3-5-7 วัน ตลอดทั้งปี

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    เว็บไซต์วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
    http://watthumphra.org/
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)
    บ้านหนองตาแก้ว ต.ปากช่อง
    อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130


    เป็นวัดสาขาของสำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต
    สี่แยกหินกอง ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230

    พระครูปลัดธรรมนีติวัฒน์ (พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต) ประธานสงฆ์

    พ.ศ.2546 พระอาจารย์สมชาติ มีความประสงค์ที่จะหาสถานที่ปฏิบัติธรรมอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากสำนักฯ ที่จังหวัดสระบุรี มากนัก เพื่อสะดวกในการเดินทาง จนกระทั่งเมื่อปลายปี พ.ศ.2546 คุณวิชัย วนวิทย์ ผู้บริหารในเครือบริษัท ฮาตาริ กรุ๊ป ผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและในปฏิปทาข้อวัตรอันเคร่งครัดของพระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต จึงได้จัดซื้อที่ดินถวายจำนวน 100 กว่าไร่ ณ บริเวณบ้านหนองตาแก้ว ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อจัดตั้งเป็นสำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)

    พ.ศ.2547 ได้เริ่มก่อสร้าง กุฏิพระสงฆ์ กุฏิกรรมฐาน ศาลาปฏิบัติธรรม โรงทาน โรงครัว ห้องน้ำ ปลูกต้นไม้ และตบแต่งสถานที่ ทั้งนี้ ได้อารธานาสมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ และสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ เป็นองค์ประธานเปิดแพรคลุมป้ายศาลาปฏิบัติธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง) เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549

    สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง) เป็นสถานที่จัดฝึกอบรมและปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยเฉพาะจัดอบรมปฏิบัติธรรมแก่เยาวชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ข้าราชการตำรวจ ทหาร และข้าราชการฝ่ายปกครอง เช่น โครงการพัฒนาจิตเพื่อสันติสุข ฯลฯ ทั้งนี้ โดยมีพระอาจารย์สมชาติ และพระลูกศิษย์เป็นผู้ให้การอบรมแก่ผู้เข้าปฏิบัติธรรม

    ปัจจุบันสำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต มีทั้งหมด 3 แห่งดังนี้
    1. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต
    หมู่ 1 สี่แยกหินกอง ต.โคกแย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี 18230
    โทรศัพท์ (036) 379-428, (036) 305-239

    2. วัดป่าสว่างวีระวงศ์ (แสงธรรมส่องชีวิต)
    บ้านสะพานโดม ต.แก่งโดม กิ่ง อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี 34190

    3. สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต (สาขาปากช่อง)
    บ้านหนองตาแก้ว ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130

    เว็บไซต์สำนักปฏิบัติแสงธรรมส่องชีวิต

    http://www.sangdhamsongchevit.com/

    [​IMG]
    พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    หลวงพ่อขาวตั้งโดดเด่นกลางป่าเขียว
    ......................................................................................................


    วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว)
    บ้านกลางดง ต.กลางดง
    อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30320
    โทรศัพท์ (044) 361-667-8


    พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทองใส จันทโสภโน)
    เจ้าอาวาสวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม รูปปัจจุบัน
    และเจ้าคณะอำเภอปากช่อง (ธรรมยุต)

    พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิงห์ สุนทโร)
    หรือหลวงปู่เมตตาหลวง อดีตเจ้าอาวาส


    วัดเทพพิทักษ์ปุณณารามหรือวัดพระขาว อันเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อขาว ตั้งอยู่บริเวณเขาสีเสียดอ้า หมู่บ้านกลางดง ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อยู่ทางฝั่งขวาของทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ตรงหลักกิโลเมตรที่ 150 มีทางแยกเข้าไปอีก 2 กิโลเมตร มีถนนลาดยางเข้าไปถึงวัด

    ขอเชิญพุทธศาสนิกชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้ารับฟังธรรมปฏิบัติธรรม และร่วมทำวัตรกับพระสงฆ์ทุกวัน (เช้า 03.00 น. , เย็น 17.30 น.) หรือรับฟังพระธรรมเทศนาทุกวันธรรมสวนะ

    สำหรับผู้ที่มีความประสงค์ที่จะอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัด ทั้งเป็นบุคคลหรือหมู่คณะ ทางวัดยินดีต้อนรับ พร้อมจัดเตรียมที่พักเพื่ออำนวยความสะดวกให้ กรุณาติดต่อล่วงหน้าที่หมายเลขโทรศัพท์ (044) 361667-8

    หลวงพ่อทองใส เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้แปล พระคาถาเมตตาหลวง นับจากคำปรารภเริ่ม กรณียเมตตาสูตรดังนี้ คือ

    ยสฺสานุภาวโต ยกฺขา ยักษ์ทั้งหลายย่อมไม่แสดงอาการอันพิลึก
    เนว เทสฺเสนฺติ ภีสนํ เพราะอานุภาพแห่งเมตตาปริตรอันใด
    ยมฺหิ เจวานุยุญชนฺโต อนึ่งบุคคลผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวัน
    รตฺตินฺทิวมตนฺทิโต และกลางคืนฝักใฝ่ในพระเมตตาปริตรอันใด
    สุขํ สุปติ สุตุโต จ จะหลับและหลับแล้วก็เป็นสุข
    ปาปํ กิญจิ น ปสฺลติ ย่อมไม่เห็นสุบินอันลามกใดๆ
    เอวมาทิคุณูเปตํ เราทั้งหลายจงสวดเมตตา
    ปริตฺตนฺตมฺภณาม เห ปริตรอันนั้นเป็นประกอบไปด้วยคุณมีอย่างนี้ เป็นต้น เทอญ

    [​IMG]
    หลวงปู่เมตตาหลวง (หลวงปู่สิงห์ สุนทโร)

    [​IMG]
    หลวงพ่อทองใส จันทโสภโน
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]
    บูรพาจารย์เจดีย์ (เจดีย์หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
    ......................................................................................................


    วัดป่าสาลวัน
    ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
    โทร. 044-254-402,
    081-967-1435, 081-955-2125


    พระมงคลวัฒนคุณ (หลวงพ่อเพิ่มบารมี) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม และหลวงพ่อพุธ ฐานิโย อดีตเจ้าอาวาส


    วัดป่าสาลวัน ตั้งอยู่ในใจกลางตัวเมือง หลังสถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นวัดหนึ่งที่ได้เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุของเกจิอาจารย์สายพระป่าปฏิบัติซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของศาสนิกชนโดยทั่วไป คือหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม อดีตเจ้าอาวาสที่ได้บุกเบิกสร้างวัดแห่งนี้ รวมทั้งอัฐิของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ภายในวัดมีอนุสรณ์สถานบูรพาจารย์เจดีย์

    เว็บไซต์วัดป่าสาลวัน
    http://www.thaniyo.net/
    http://www.geocities.com/thaniyo/

    [​IMG]
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    วัดแดนสงบอาสภาราม
    เลขที่ 99 ซอย 19 ถ.มิตรภาพ บ้านใหม่
    ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
    โทร. (044) 214-823, 214-866, 089-716-4903


    พระครูภาวนาวิสิฐ เจ้าอาวาส

    วัดเป็นศูนย์วิปัสสนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    ซึ่งมีการจัดปฏิบัติวิปัสสนาตลอดทั้งปี
    ปฏิบัติแนวยุบหนอ-พองหนอ ของคุณแม่สิริ กรินชัย


    สำหรับท่านที่ต้องการเรียนรู้วิธีการนั่งวิปัสสนาอย่างถูกต้อง แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
    ทางวัดป่าแดนสงบได้จัดให้มีการอบรมการเจริญวิปัสสนาให้กับประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจ

    (1) โครงการเจริญวิปัสสนา เป็นหลักสูตรอบรมพิเศษเข้มข้น
    เพื่อผลิตวิปัสสนาจารย์และวิทยากรด้านวิปัสสนากรรมฐาน (เปิดอบรมปีละ 3 ครั้ง เท่านั้น)


    การรับสมัครและระเบียบปฏิบัติ
    1. สมัครก่อนเปิดการอบรม โดยตนเองหรือทางโทรศัพท์
    2. ลงทะเบียนในวันเปิดอบรมระหว่างเวลา 08.00-12.00 น.
    3. แต่งกายสีขาว ไม่สวมเสื้อรัดรูป และไม่ใช้กางเกงขาสั้น
    4. เตรียมเครื่องแต่งกายให้พอใช้ 10 วัน เพราะไม่มีการซักผ้า
    5. ต้องไปถึงที่อบรมให้ทันปฐมนิเทศ
    6. หลังจากเปิดทำการอบรมแล้วไม่รับสมัคร
    7. เตรียมเครื่องใช้ส่วนตัวและยาประจำตัวไปให้พร้อม

    หลักการในการอบรม
    1. สมาทานศีล 8
    2. สวดมนต์แผ่เมตตา
    3. เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตามหลักสติปัฏฐาน 4
    4. เจริญศีล สมาธิ ปัญญา เดินจงกรม นั่งสมาธิ กำหนดอิริยาบถต่างๆ
    5. หลักสูตรในการอบรมใช้วิปัสสนาภูมิ 6
    6. สอบอารมณ์ กับพระวิปัสสนาจารย์ทุกวัน
    7. ฟังธรรมบรรยาย
    8. ปฏิบัติตามตารางอบรม ปฏิบัติรวมกันที่ศาลาปฏิบัติธรรม
    (ในวันแรกจะใช้ระยะเดินและนั่งเท่านั้น วันต่อไปเมื่อส่งอารมณ์แล้วอยู่ในดุลยพินิจของ
    พระวิปัสสนาจารย์ โยคีอาจใช้ระยะการเดินและนั่งไม่เท่ากัน เป็นไปตามสภาวธรรมของแต่ละท่าน)
    9. ไม่ควรให้ญาติมาเยี่ยม หรือติดต่อกับคนภายนอก
    10. เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เข้ารับการอบรมควรตรงเวลาและอยู่ครบ 10 วัน

    ตารางเวลาการอบรม
    ภาคเช้า

    03.30-04.00 น. สัญญาณระฆัง ทำสรีระกิจ
    04.00-05.30 น. ปฏิบัติ
    05.30-07.00 น. สวดมนต์
    07.00-08.30 น. รับประทานอาหารเช้า
    08.30-11.00 น. ปฏิบัติ
    11.00-12.30 น. รับประทานอาหารเพล

    ภาคบ่าย
    12.30-13.30 น. ปฏิบัติ
    13.30-16.00 น. สอบอารมณ์
    16.00-17.30 น. พักผ่อน ทำสรีรกิจ

    ภาคค่ำ
    17.30-18.30 น. สวดมนต์ แผ่เมตตา
    18.30-21.00 น. ปฏิบัติ
    21.00 น. พักผ่อน

    อำนวยการสอนโดย
    - หลวงพ่อพระครูภาวนาวิสิฐ ประธาน
    - พระมหาบุญจวน อาภากโร
    - พระวิปัสสนาจารย์

    (2) โครงการเจริญวิปัสสนา เพื่อให้เกิดปัญญาและสันติสุข (เปิดอบรมปีละ 8 ครั้ง เท่านั้น)

    การรับสมัครและระเบียบปฏิบัติ
    1. ติดต่อกับทางวัด สมัครก่อนเปิดการอบรม โดยตนเองหรือทางโทรศัพท์
    2. ลงทะเบียนในวันเปิดอบรมเวลา 08.00 น.
    พิธีเปิดอบรมเวลา 13.00 น. วันสุดท้ายปิดอบรมเวลา 16.30 น.
    3. แต่งกายสีขาว ไม่สวมเสื้อรัดรูป และไม่ใช้กางเกงขาสั้น
    4. เตรียมเครื่องแต่งกายให้พอใช้ 7 วัน เพราะไม่มีการซักผ้า
    5. ไม่ควรให้ญาติมาเยี่ยม หรือติดต่อกับคนภายนอก
    6. เข้าปฏิบัติให้ครบ 7 คืน 8 วัน
    7. เตรียมเครื่องใช้ส่วนตัวและยาประจำตัวไปให้พร้อม
    8. ไม่ต้องเสียค่าลงทะเบียน

    ตารางเวลาการอบรม
    ภาคเช้า

    04.00 น. ตื่นนอน
    04.30 น. เดินจงกรม นั่งสมาธิ
    05.30 น. ไหว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรมบรรยาย
    07.30 น. รับประทานอาหารเช้า
    08.30 น. เดินจงกรม นั่งสมาธิ
    12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

    ภาคบ่าย
    13.00 น. ปฏิบัติธรรม
    14.30 น. ดื่มน้ำปานะ สอบอารมณ์
    16.30 น. พักผ่อน ทำธุรกิจ

    ภาคค่ำ
    17.30 น. สวดมนต์เย็น ฟังธรรมบรรยาย
    19.00 น. พักดื่มน้ำปานะ
    19.15 น. เดินจงกรม นั่งสมาธิ
    20.30 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย

    ผู้อำนวยการฝึกอบรม
    - หลวงพ่อพระครูภาวนาวิสิฐ
    ผู้อำนวยการศูนย์วิปัสสนา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    เจ้าอาวาสวัดสมเด็จแดนสงบอาสภาราม

    [​IMG]

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    เว็บไซต์วัดแดนสงบอาสภาราม
    http://www.dansangob.com/
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    วัดป่าภูผาสูง
    หมู่ 8 บ้านดงมะไฟ ต.มะเกลือใหม่
    อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา 30170


    ท่านพระอาจารย์มหาธีรนาถ อคฺคธีโร เจ้าอาวาส

    วัดป่าภูผาสูง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติแห่งขุนเขา มีเนื้อที่จำนวน ๒,๘๐๐ ไร่ สถานที่ตั้งวัดป่าภูผาสูงนี้มีชื่อตามแผนที่ทางทหารว่า “เขาช้างหลวง” แห่งเทือกเขาภูหลวง แต่ชาวบ้านรู้กันในนามว่า เขาเจ้าพ่อ พื้นที่เป็นป่าดิบแล้ง มีความสูง ๗๖๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารที่ไหลหล่อเลี้ยงไปยังน้ำตกวะภูแก้ว น้ำตกหินเพลิง อ่างซับประดู่ และหล่อเลี้ยงชาวบ้านในบริเวณโดยรอบในเขตติดต่อ ๔ อำเภอ คือ สูงเนิน สีคิ้ว ปากช่อง และปักธงชัย

    ประวัติความเป็นมาของวัดป่าภูผาสูงนั้น เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๓๐ เมื่อ พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ได้เริ่มสร้างวัดวะภูแก้ว โดยการส่ง พระอาจารย์เจต ทีฆายุโก ซึ่งเป็นลูกศิษย์มาประจำอยู่ที่สำนักวัดวะภูแก้ว พระอาจารย์เจต์ท่านมีนิสัยชอบเที่ยวภาวนาตามป่าตามเขา จึงเดินทางขึ้นมาเที่ยวธุดงค์กรรมฐานที่บริเวณ “ภูผาสูง” เป็นอาจิณ และต่อมาท่านได้ชักชวน พระอาจารย์ใจ พระเพื่อนสหธรรมิก ขึ้นมาปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่งนี้ด้วย

    ปี พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๔ พระอาจารย์ใจ ซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อพุธ พร้อมคณะศิษย์วัดป่าสาลวันที่ปรารถนาจะอยู่ป่าเขา จึงเดินทางขึ้นมาจำพรรษาที่บริเวณภูผาสูง นับว่าเป็นพระยุคแรกๆ ที่เข้ามาจำพรรณา ณ เสนาสนป่าแห่งนี้

    ต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เจ้าหน้าที่ป่าไม้เข้าใจผิดคิดว่า พระจะเข้ามาบุกรุกทำลายป่า ซึ่งในขณะนั้นกระแสของพระประจักษ์ พระบุกรุกป่าอนุรักษ์กำลังดัง จึงขึ้นมาขับไล่พระ แม่ชี และชาวบ้านออกจากป่า พระและแม่ชีได้เดินทางออกจากป่า แต่ชาวบ้านไม่มีที่ไปจึงอดทนอยู่ต่อสู้เพื่อรักษาสิทธิ์ที่ควรจะได้ครอบครองที่ดิน เพราะเข้ามาอยู่ก่อนประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕

    [​IMG]

    หลังจากพระและแม่ชีย้ายออกไปแล้ว แต่ก็มีพระแวะเวียนเข้ามาจำพรรษาบ้าง แต่เป็นแบบชั่วคราว ไม่ได้ถาวรอะไร จึงเสมือนว่าป่าภูผาสูงนี้ไม่มีเจ้าของคอยหวงแหน การตัดไม้ทำลายป่าจึงเป็นไปอย่างสนุกสนาน พระบางกลุ่มถึงกับขอร้องคนที่ตัดต้นไม้ ไม่ให้ตัดต้นไม้ ณ บริเวณภูผาสูงนี้ แต่ก็ไม่ได้ผลทำให้พื้นที่ป่าลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วเป็นจำนวนมาก

    ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ พระอาจารย์มหาธีรนาถ อคฺคธีโร ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านได้เดินทางมาพักที่วัดวะภูแก้ว ปรารถนาแสวงหาที่สงบสงัดทำสมาธิภาวนาตามสมณวิสัย หลังจากนั้นท่านเดินธุดงค์จากวัดวะภูแก้วขึ้นมาบริเวณภูผาสูง และเกิดความพอใจในสถานที่แห่งนี้เป็นอย่างยิ่ง

    หลังจากท่านเดินออกสำรวจเที่ยวชมป่ารอบๆ บริเวณภูผาสูงนี้ ท่านพบว่าป่าไม้ถูกตัดโค่นเป็นจำนวนมาก พวกสัตว์ป่าก็เดือดร้อนเนื่องจากต้องย้ายถิ่นฐานเพราะไม่มีป่าไม้ให้อยู่อาศัย มิหนำซ้ำยังโดนล่าโดยมนุษย์ผู้แล้งน้ำใจซ้ำอีก ในปีนั้นท่านจึงตัดสินใจอยู่จำพรรษาที่บริเวณเสนาสนะป่าภูผาสูงเพียงลำพัง

    เมื่อพระมหาธีรนาถ ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าภูผาสูง จึงนำความนี้ไปกราบเรียนพระอาจารย์คือหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ท่านจึงกล่าวสั่งสอนว่า “ท่านมหา...ท่านต้องสำรวมระวังตัวท่านให้ดี ที่เขาสูงแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญ ท่านจงอยู่ปฏิบัติธรรมที่นั่น ที่นั่นเหมาะสมสำหรับท่าน ถ้าเขาไม่มาตีนถีบตกหน้าผาก็อย่าหนี ขอท่านจงจำคำพูดของผมไว้ให้จงดี” ท่านพระมหาธีรนาถ จึงได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูผาสูง และเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าภูผาสูงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


    วัดป่าภูผาสูง เป็นสำนักปฏิบัติธรรม มีสภาพป่าสมบูรณ์ มีภูผาที่สูง สามารถที่จะมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของอำเภอปักธงชัย และอำเภอปากช่อง เหมาะอย่างยิ่งที่จะมาปฏิบัติธรรม เพราะเงียบสงบมาก ท่านใดที่สนใจจะมาปฏิบัติธรรมกรุณาตรวจสอบถามก่อนนะครับ

    [​IMG]
    พระอาจารย์มหาธีรนาถ อคฺคธีโร


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    เว็บไซต์วัดป่าภูผาสูง
    http://www.pupasoong.com/
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    รายชื่อสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด

    [​IMG]

    รายชื่อสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด
    ที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรม
    ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


    1. วัดธรรมมงคล
    สถาบันพลังจิตตานุภาพ (ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ)
    เลขที่ 132 ถนนสุขุมวิท ซอย 101 ตรอกปุณณวิถี 20
    แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม. 10260
    โทร./โทรสาร 0-2311-1387, 0-2741-7822, 0-2332-4145

    พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร)
    เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล


    2. วัดอินทรวิหาร
    อาคารปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ
    ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ถ.วิสุทธิกษัตริย์
    แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กทม. 10200
    โทร. 02-628-5550-2 โทรสาร 02-282-8429

    พระราชรัตนาภรณ์ (ทองสืบ สจจสาโร น.ธ.เอก ป.ธ.3)
    เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร และเจ้าคณะเขตพระนคร


    3. วัดแก้วโกรวราราม
    ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.กระบี่ 81000

    4. วัดถ้ำเสือวิปัสสนา
    ต.กระบี่น้อย อ.เมือง จ.กระบี่ 81000

    หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ ประธานสงฆ์

    5. วัดป่าสุนันทวนาราม
    บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค
    อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 71150

    พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เจ้าอาวาส

    6. วัดประชานิยม
    (ศูนย์เผยแผ่พุทธธรรม วัดประชานิยม)
    เลขที่ 84 ถ.ถีนานนท์ ต.กาฬสินธุ์
    อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 46000
    โทร. 043-822-274

    พระเทพสารเมธี (บัวศรี ชุตินฺธโร)
    เจ้าอาวาสวัดประชานิยม, เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ)
    ประธานอำนวยการก่อตั้งและอุปถัมภ์ศูนย์เผยแผ่พุทธธรรม


    7. วัดไทรงาม
    ต.ไทรงาม อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร 62150

    8. วัดเด่นสะเดา
    บ้านเด่นสะเดา ต.คลองขลุง
    อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร 62120

    9. ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน
    (สาขาของวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี)
    เลขที่ 6 หมู่ 25 บ้านเนินทาง
    ต.บ้านค้อ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
    โทร. 043-237-786, 043-323-7790, 081-471-2013

    พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
    ประธานสงฆ์ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน


    10. วัดป่าแสงอรุณ
    เลขที่ 449 หมู่ 9 บ้านเลิงเปือย (แอวมอง)
    ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
    โทร. 043-221-132

    พระเทพวรคุณ (สมาน สุเมโธ)
    เจ้าอาวาสวัดป่าแสงอรุณ และเจ้าคณะภาค 9 (ธ)


    11. วัดเขาสุกิม
    หมู่ 12 ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี 22120
    โทร. 08-9931-5544, 08-1456-8384,
    08-1861-8736, 08-9226-6251

    พระญาณวิลาส (บุญ สิริปญฺโญ)
    เจ้าอาวาสวัดเขาสุกิมในปัจจุบัน


    พระวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย)
    อดีตประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม ปัจจุบันมรณภาพแล้ว


    12. วัดวิเวกอาคม
    ต.บางขวัญ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา 24000

    13. วัดพนมพนาวาส
    ต.คลองขุด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา 24140

    14. วัดเนื่องจำนงค์
    (ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชลบุรี)
    หมู่ 3 ต.หนองชาก อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี 20170
    โทร. 038-485-378, 089-406-5134

    พระครูสิริปัญญาวัฒน์ (พระมหาสง่า ปญฺญาวฑฺฒโน)
    เจ้าอาวาสวัดเนื่องจำนงค์


    15. วัดศรีวนาราม
    เลขที่ 88 หมู่ 6 ต.บางละมุง
    อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150
    โทร. 038-241-370

    พระครูนิวิฐศรัทธาคุณ (พระอาจารย์คำนึง สิริภทฺโท)
    เจ้าอาวาสวัดศรีวนาราม


    16. วัดสระไม้แดง
    หมู่ 16 บ้านสระไม้แดง
    ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท 17140
    โทร. 056-424-200

    พระครูศรีพัฒนชัย เจ้าอาวาส

    17. วัดบ้านใหม่สิริวัฒนาราม
    ต.บ้านเชี่ยน อ.หันคา จ.ชัยนาท 17130
    โทร. 056-451-050

    พระราชสิริชัยมุนี
    เจ้าอาวาสวัดบ้านใหม่สิริวัฒนาราม
    และเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท


    18. วัดโคกโตนด
    สำนักปฏิบัติธรรมวัดโคกโตนด
    หมู่ 3 ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท 17140
    โทร. 056-438-116

    พระครูวิบูลย์ชยาภรณ์ เจ้าอาวาส

    19. วัดชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง)
    ต.กุดชุมแสง อ.หนอบัวแดง จ.ชัยภูมิ 36210
    โทร. 044-829-048, 081-760-4886

    พระราชภาวนาวราจารย์ (หลวงพ่อบุญมา ปุญญาภิรโต)
    เจ้าอาวาสวัดชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง)


    20. วัดเทพประดิษฐาราม
    หมู่ 3 ต.ท่าข้าม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร 86140
    โทร. 077-547-066
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    21. วัดถ้ำขวัญเมือง
    หมู่ 4 ต.นาโพธิ์ อ.สวี จ.ชุมพร 86130
    โทร. 077-532-078

    พระครูสุธรรมวีราจารย์ (สมใจ ธมฺมสโร)
    เจ้าอาวาสวัดถ้ำขวัญเมือง


    22. วัดพระธาตุดอยก่องข้าว
    บ้านห้วยกีด ต.ดอยฮาง อ.เมือง จ.เชียงราย 57000

    23. วัดถ้ำผาจม
    ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย 57130
    โทร. 053-731-415 , 053-733-129

    พระครูเกษมวรกิจ (หลวงพ่อวิชัย เขมิโย)
    เจ้าอาวาสวัดถ้ำผาจม


    24. วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)
    เลขที่ 135 หมู่ 10 ถ.สุเทพ
    ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
    โทร. 053-811-100, 053-810-270

    พระครูสุคันธศีล
    เจ้าอาวาสวัดอุโมงค์ และเจ้าคณะตำบลสุเทพเขต 2


    25. วัดตโปทาราม (ร่ำเปิง)
    ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50250
    โทร. 053 -278 620 ต่อ 0

    พระครูภาวนาวิรัช (สุพัน อาจิณฺณสีโล)
    เจ้าอาวาสวัดตโปทาราม (ร่ำเปิง)


    26. วัดโยธานิมิต (วัดโบสถ์)
    หมู่ 8 ต.วังกระแจะ อ.เมือง จ.ตราด 23000
    โทร. 039-511-918

    พระเทพมุนี เจ้าอาวาส

    27. วัดธรรมาภิมุข (วัดไร่ป่า)
    ต.วังตะเคียน อ.เขาสมิง จ.ตราด 23130
    โทร. (039) 595-080, 081-650-8957

    พระวินัยธรเสรี ธมฺมานนฺโท เจ้าอาวาส

    28. วัดตันตยาภิรม
    ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000

    พระวิสุทธิศีลาภรณ์ เจ้าอาวาส

    29. วัดนิโครธาราม
    ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000

    พระครูปัญญาวราภิยุต เจ้าอาวาส

    30. วัดวังตะกู
    เลขที่ 53 หมู่ 2 ซ.วัดวังตะกู ถ.มาลัยแมน
    ต.วังตะกู อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
    โทร. 0-3426-1559

    พระธรรมเสนานี (ชุณห์ กิตฺติวณฺโณ)
    เจ้าอาวาสวัดวังตะกู


    31. วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
    ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000

    พระราชสุธรรมเมธี (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม)
    เจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์


    32. วัดห้วยจระเข้
    เลขที่ 447 ถ.พิพิธประสาท ต.พระปฐมเจดีย์
    อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
    โทร. 0-34258-739, 08-1364-8928

    33. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
    ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
    โทร. 02-441-9009, 02-441-9012-3

    34. วัดมรุกขนคร (ร้าง)
    หมู่ 7 บ้านดงขวาง ต.ดอนนางหงส์
    อ.ธาตุพนม จ.นครพนม 48110

    พระราชธีราจารย์ (สำลี ป.ธ.5) เจ้าอาวาส

    35. วัดป่าสาลวัน
    ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    โทร. 044-254-402, 081-967-1435, 081-955-2125

    พระมงคลวัฒนคุณ (หลวงพ่อเพิ่มบารมี)
    เจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน

    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย อดีตเจ้าอาวาส


    36. วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม (วัดพระขาว)
    ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30320
    โทร. (044) 361-667, 361-668

    พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงพ่อทองใส)
    เจ้าอาวาสวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม
    และเจ้าคณะอำเภอปากช่อง (ธรรมยุต)

    พระญาณสิทธาจารย์ (สิงห์ สุนทโร)
    หรือหลวงปู่เมตตาหลวง อดีตเจ้าอาวาส


    37. วัดเทพาลัย
    เลขที่ 234 หมู่ 9 ต.เทพาลัย
    อ.คง จ.นครราชสีมา 30260
    โทร. 044-754-691

    พระครูวิสุทธิภาวนาญาณ (หลวงพ่อจิต จิตฺตปญโญ)
    เจ้าอาวาสวัดเทพาลัย


    38. วัดประมวลราษฎร์
    บ้านระกาย ต.จอหอ อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30310

    พระครูสุนทรคุณวัตร (ปญฺญาธโร) เจ้าอาวาส

    39. วัดคลองตาลอง
    หมู่ 1 บ้านคลองตาลอง ต.ปากช่อง
    อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130

    พระครูโชติวัตรวิมล เจ้าอาวาส

    40. วัดชายนา
    ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000
     

แชร์หน้านี้

Loading...