สนทนา...วิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 19 สิงหาคม 2011.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    แจ้งข่าวงานสอนสมาธิภาวนา และกิจกรรมความรู้ทางวิชชาธรรมก<WBR>าย ประจำเดือนตุลาคม
    รายละเอียดตามลิ้งค์นี้

     
  2. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153

    [๑๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก ๓ อย่างนี้ คือ กามวิตก ๑
    พยาบาทวิตก ๑ วิหิงสาวิตก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิต
    ตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ หรือเจริญอนิมิตตสมาธิอยู่ อกุศลวิตก ๓
    อย่างนี้แล ย่อมดับโดยไม่เหลือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิมิตตสมาธิ
    ควรแท้ที่จะเจริญจนกว่าจะละอกุศลวิตกนี้ได้ อนิมิตตสมาธิที่บุคคล
    เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

    ที่มา พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 210

    บทว่า อนิมิตฺตํ วา สมาธิ ได้แก่ สมาธิในวิปัสสนา อธิบายว่า
    สมาธิในวิปัสสนานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า
    อนิมิตตะ (ไม่มีนิมิต) เพราะถอนนิมิตทั้งหลายมีนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้นได้

     
  3. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    การเจริญภาวนาจำเป็นจะต้องผ่านนิมิตหรือไม่

    ก่อนที่จะได้กล่าวถึงปัญหาเรื่องนิมิต ขอทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า “นิมิต” ที่ว่านี้คืออย่างไร หมายถึงอะไร

    คำว่า “นิมิต” มีความหมายตามที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานว่า “นิรมิต, สร้าง, แปลง, ทำ”
    และในความหมายของคำว่า “นิรมิต” นั้น ยังหมายถึง “บันดานให้มีขึ้น” อีกด้วย นี้เป็นความหมายที่ ๑

    สำหรับความหมายที่ ๒ ของคำว่า “นิมิต” ก็หมายถึง “เครื่องหมาย, ลาง, เหตุ, เค้ามูล” เป็นต้น



    โดยความหมายหลายอย่างต่างๆ กันนี้เอง ที่มีผู้ใช้คำว่า “นิมิต” ในหลายสถาน เช่นว่า

    ความฝัน ที่เวลาบุคคลนอนหลับแล้วฝันไป ก็เรียกว่า สุบินนิมิต

    การแสดงนัยให้ทราบ อย่างเช่น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงนัยให้พระอานนท์ทราบถึงวาระที่พระพุทธองค์จะทรงปลงสังขารแล้ว อย่างนี้ก็เรียกว่า พระพุทธองค์ได้ทรง “แสดงนิมิต”

    --->> หรือการกำหนดเครื่องหมายใด ๆ ขึ้นในใจ คือนึกให้เห็นเครื่องหมายนั้นด้วยใจ ก็เรียกว่า บริกรรมนิมิต บริกรรม แปลว่า กำหนดในใจ, ถ้านึกเห็นนิมิตด้วยใจได้ชัดเจนเพียงชั่วขณะ ก็เรียกว่าเกิด “อุคหนิมิต” และถ้าเห็นเครื่องหมายได้ชัดเจน นาน ติดตา จะนึกขยายให้โตใหญ่ หรือย่อให้เล็กลงด้วยใจก็ทำได้ อย่างนี้เรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต”

    คำว่า “นิมิต” ที่ใช้เรียกกันในหมู่ผู้ปฏิบัติภาวนานั้น มุ่งหมายถึง “นิมิต” หรือ “เครื่องหมายที่กำหนดขึ้นที่ใจ” ซึ่งเรียกว่า บริกรรมนิมิต หรืออุคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต “เครื่องหมายที่กำหนดขึ้นในใจ หรือที่ปรากฏขึ้นในใจ” อันได้แก่ บริกรรมนิมิต ซึ่งเป็นอุบายวิธีที่จะรวมใจอันได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ หรือ ความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้ ให้มารวมอยู่ในอารมณ์เดียว แนบแน่นเป็นสมาธิดี เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า ก็จะเห็น อุคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต ตามลำดับของใจที่หยุดนิ่ง เป็นสมาธิที่แนบแน่นดี

    ในการให้กำหนดเครื่องหมายขึ้นที่ใจ หรือที่เรียกว่า บริกรรมนิมิต เพื่อให้ใจมารวมหยุดอยู่ในอารมณ์เดียวนั้น อาจจะไม่เพียงพอที่จะช่วยประคองใจให้หยุดให้นิ่งได้โดยง่าย จึงมักให้กำหนด “บริกรรมภาวนา” คือให้นุกว่าในใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น “สัมมาอะระหัง ๆ ๆ” หรือ “พุทโธ ๆ ๆ” ก็แล้วแต่ เพื่อให้ใจช่วยประคองนิมิตนั้นไว้ แปลว่าการที่จะตะล่อมใจให้เข้ามารวมอยู่ที่บริกรรมนิมิตนั้น อาจจะไม่พอที่จะขังใจ ที่มีสภาพเบา กวัดแกว่งง่าย ฟุ้งซ่านได้ง่าย ให้หยุดให้นิ่งได้ ก็จึงหางานให้ใจเขาทำอีกด้วยโสดหนึ่ง คือให้นึกว่าในใจที่เรียกว่า บริกรรมภาวนา เพื่อให้ใจประคองนิมิตนั้นยิ่งขึ้นจะได้ไม่ซัดส่ายออกไปข้างนอกนิมิตนั้น

    เมื่อใจถูกประคองให้มารวมอยู่เสียกับบริกรรมนิมิต และบริกรรมภาวนาคู่กันหนักเข้า ก็จะค่อยๆ เชื่อง แล้วก็ค่อยๆ รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ที่เรียกว่า “อารมณ์เดียว” หรือ เอกัคคตารมณ์ กล่าวคือ “ใจ” อันประกอบด้วย ความเห็นนิมิต, ความจำนิมิต, ความคิดและความรู้ในนิมิต มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะเห็นนิมิตนั่นชัดขึ้น เรียกว่า อุคหนิมิต หรือ ปฏิภาคนิมิต ตามระดับของใจที่รวมหยุดเป็นสมาธิที่แนบแน่นดี

    ในขณะที่ผู้ปฏิบัติภาวนาเพิ่งกำหนดบริกรรมนิมิตนั้น ใจเพิ่งจะเริ่มเป็นสมาธิ คืออยู่ในอารมณ์เดียว สมาธิในระดับนี้เรียกว่า อุปจาระสมาธิ, แต่พอเห็นนิมิตชัดเจนได้เพียงชั่วขณะ ที่เรียกว่า อุคหนิมิตนั้น ใจที่เป็นสมาธิระดับนี้เรียกว่า สมาธิในระดับขณิกสมาธิ แต่เมื่อเห็นปฏิภาคนิมิต คือเห็นนิมิตได้ชัดเจน นาน ติดตา และสามารถจะนึกขยายให้ใหญ่หรือย่อให้เล็กลงได้ เรียกว่าจิตเป็นสมาธิระดับ อัปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาณ

    กล่าวคือเมื่อจิตประกอบด้วยอารมณ์วิตก วิจาร คือยังมีความตรึกตรองประคองนิมิตอยู่, และมีอารมณ์ปีติยินดีที่ได้พบเห็นสิ่งที่เย็นตาเย็นใจ ก่อให้เกิดความสุขอย่างละเอียดๆ เช่นนั้น และจิตอยู่ในอารมณ์เดียวได้แนบแน่นดีเช่นนี้ ก็จัดว่าจิตเป็นสมาธิในขั้น ปฐมฌาณ

    สมาธิตั้งแต่ระดับปฐมฌาณขึ้นไปนี้เอง ที่เป็นจิตที่ปราศจากนิวรณ์ธรรมแล้ว เพาะมีองค์ฌาณ เครื่องประหาณนิวรณ์ครบถ้วน จึงจัดเป็นจิตที่ควรแก่งานวิปัสสนา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวะธรรมชาติที่เป็นจริง เพราะสามารถเห็นอรรถเห็นธรรมได้ชัดแจ้งพอสมควร

    เพราะฉะนั้น “นิมิต” จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เป็นอุบายวิธี ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์วิตก วิจาร เครื่องประหานนิวรณ์ และเพื่อทำใจให้หยุดให้นิ่ง เป็นสมาธิที่แนบแน่นดีกว่าอย่างอื่น และเมื่อจิตเจริญภาวนาจนเป็นสมาธิระดับฌาณต่างๆ นั้น ก็จะต้องมีนิมิตหรือผ่านนิมิตทั้งสิ้น แม้แต่จะเป็นอรูปฌาณ ที่ว่าไม่กำหนดรูปเป็นอารมณ์ อย่างเช่น กำหนดยึดหน่วงเอาอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ เมื่อจิตละเอียดหนักเข้า ก็เห็นนิมิต คืออากาศนั้นแหละ หรือในกรณีที่กำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ หรือกำหนดยึดหน่วงเอาความว่างเปล่าไม่มีอะไรเป็นอารมณ์ ก็เห็นวิญญาณ หรือความว่างเปล่านั้นแหละ ที่เห็นนั่นแหละคือนิมิตล่ะ, แม้เมื่อจิตเป็นอุเบกขา ที่เรียกว่า อุเบกขินทรีย์ ก็ยังต้องมีนิมิต ดังพระพุทธดำรัสมีมาในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวรรค อุปปฏิกสูตร ข้อ ๙๑ พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ หน้า ๒๖๙ ความว่า

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความ
    เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
    อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และอุเบกขินทรีย์นั้น มีนิมิต มีเหตุ
    มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเบกขินทรีย์นั้น ไม่
    ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้
    ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้…”



    ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน อย่างเช่น พิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ก็ต้องอาศัยนิมิต นึกเห็นนิมิตจึงจะพิจารณาสภาวะธรรมได้ จึงจะเห็นสภาวะที่แท้จริงตามธรรมชาติที่เป็นจริงได้ อย่างเช่น

    การเจริญอสุภกัมมัฏฐานอันนับเนื่องอยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น มิใช่ว่า จะต้องไปพิจารณาดูแต่ที่ซากศพ หรือจะต้องนำศพไปพิจารณาด้วย หรือจะต้องสาวไส้สาวพุงของใครมาดูจึงจะเรียกว่า อสุภกัมมัฏฐานหาใช่เช่นนั้นไม่

    --->>> ในทางปฏิบัตินั้น เมื่อได้เคยเห็นซากศพหรืออวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลายในหลายๆ ลักษณะ ก็จำภาพนั้นหรืออารมณ์นั้น แล้วน้อมเอาอารมณ์นั้นหรือภาพนั้นมาพิจารณาด้วยใจ การพิจารณาก็จะต้องนึกเห็นทั้งลักษณะและสภาพที่เป็นจริง ว่าเป็นแต่สิ่งปฏิกูล โสโครก น่าเกลียด และเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาเหล่านี้เป็นต้น จึงจะเรียกว่ารู้แจ้งเห็นจริงในสภาวะของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ถ้านึกไม่เห็นแล้วทำไมจึงจะอ้างได้ว่า เห็นแจ้งตามสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงได้เล่า

    การเห็นของจริงด้วยตาเนื้อนั้นเป็นแต่เพียงเริ่มต้นของเรื่องที่จะนำมาพิจารณาเท่านั้น แต่การเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นเป็นกิจทางใจ แม้จะเห็นธรรม ณ เบื้องหน้าซากศพ ก็เป็นการเห็นด้วย “ใจ” หาใช่เห็นธรรมด้วยตาเนื้อไม่ และการเห็นสิ่งที่น้อมนำมาพิจารณาสภาวะธรรมด้วยใจนั้น ก็คือนิมิตนั่นเอง

    -->> เรียกว่า หนีนิมิตไม่พ้น ในทางปฏิบัติแล้วจะต้องผ่านนิมิตเสมอไป ถ้าไม่ผ่านก็ไม่ได้เห็น ถ้าไม่ได้เห็น ก็จะอ้างว่าเห็นแจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติที่เป็นจริงไม่ได้ ก็มีแต่ท่องจำเอาจากตำราเท่านั้น พระพุทธองค์ก็มิได้ปฏิเสธนิมิตในการเจริญภาวนาธรรม และยังแถมประทานพระบรมพุทโธวาท มีมาในพระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวรรค ข้อ ๕๓๓ พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ความว่า
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์
    ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์, ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต(คิอนิมิตแห่งจิตอันมีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) มีอยู่
    การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้
    สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์”
    จากตัวอย่างที่ยกมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้ท่านได้พิจารณาดูว่า การเจริญภาวนาโดยไม่ใช้ ไม่อาศัย หรือไม่ผ่านนิมิตนั้น จะเป็นไปได้หรือไม่ เพียงใด และถ้าหากยังไม่แน่แกใจ ก็ขอยกเอาพระพุทธภาษิต มีมาใน ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ หน้า ๔๗๑ ข้อ ๓๓๙ แปลความว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ที่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ยินดี
    ในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ตามประกอบในความพอใจในความ
    คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ เป็นผู้พอใจในหมู่ ยินดีในหมู่ ตามประกอบ
    ความพอใจในหมู่ อยู่แล้วหนอ, เธอนั้น จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดี
    ในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอา
    นิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิต ได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตแล้ว จักยัง
    สัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมา
    สมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละ
    สังโยชน์ทั้งหลายนั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น
    ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้เลย

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ที่ไม่พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ
    ไม่ยินดีในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ไม่ตามประกอบในความ
    พอใจในความคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ไม่เป็นผู้พอใจในหมู่ ไม่ยินดี
    ในหมู่ ไม่ตามประกอบความพอใจในหมู่ อยู่แล้วหนอ, เธอนั้น
    จักมาเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดีในความสงัดเงียบนั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้

    เมื่อเป็นผู้โดดเดี่ยว ยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้ว จักถือเอา
    นิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิต ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิตวิปัสสนาจิตได้แล้ว จักยัง
    สัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อทำสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว จักยังสัมมา
    สมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์ได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว จักละ
    สังโยชน์ทั้งหลายได้นั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้

    เมื่อละสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว จักทำนิพพานให้แจ้งนั้น
    ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ แล” <!--MsgFile=1-->
    *************************************************************************

    จะเห็นได้ว่า การเจริญภาวนาจะต้องผ่านนิมิต อาศัยนิมิตแน่นอน และก็ใคร่จะให้สังเกตไว้ว่า

    ประการที่ ๑ ที่ว่าการเห็น นั้นมีอยู่สองอย่าง คือ การเห็นรูปด้วยตาเนื้อ และด้วยตาใน สำหรับท่านที่เจริญวิชชาหรือมีทิพยจักขุนี้อย่างหนึ่ง กับการเห็นนิมิต คือเครื่องหมายที่กำหนดให้เห็นขึ้นที่ใจเพื่อเจริญสมาธิ นั่นอีกอย่างหนึ่ง

    และสำหรับสิ่งที่เห็นด้วยใจนั้นจึงมีทั้ง นิมิต ที่นึกหรือคิดให้เห็นในใจ เพื่อเจริญสมาธิ หรือน้อมเข้ามาพิจารณาสภาวะธรรมเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น บริกรรมนิมิต อุคหนิมิต หรือ ปฏิภาคนิมิต ก็ตาม นี้อย่างหนึ่ง, กับทั้งเห็น รูป หรือ ธาตุธรรมละเอียด ที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ ด้วยความสามารถของทิพยจักขุเสมือนหนึ่งตาเนื้อเห็นรูปฉะนั้น นี้อีกอย่างหนึ่ง อย่าปนกัน <!--MsgFile=2-->


    *************************************************************************


    ประการที่ ๒ การเห็นนิมิต มิได้หมายความว่า ติดนิมิต หากแต่เป็นเพียงอาศัยการกำหนด บริกรรมนิมิต ขึ้นเพื่อเจริญสมาธิ จึงพัฒนาการเห็นนิมิตนั้นขึ้นไปเป็น อุคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ตามระดับสมาธิที่สูงขึ้น และเป็นความความจำที่จะต้องน้อมนำเอานิมิต คือสิ่งที่จะนำมาพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจ้งในสภาวะจริงของธรรมชาติตามที่เป็นจริง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

    ด้วยเหตุนี้ ในสติปัฏฐานสูตรจึงอธิบาย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน, เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน, และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ว่าคือการเจริญสติสัมปชัญญะ พิจารณาเห็นกายในกาย, เห็นเวทนาในเวทนา, เห็นจิตในจิต, และเห็นธรรมในธรรม

    สำหรับท่านผู้เจริญภาวนาได้ถูกวิธี สามารถเจริญวิชชา และมีอภิญญา เป็นต้นว่า เกิดอายตนะทิพย์ ให้สามารถรู้เห็นสิ่งที่ละเอียด ประณีต หรืออยู่ห่างไกล ลี้ลับได้ กว่าอายตนะของกายเนื้ออย่างเช่น ตา หู ของกายเนื้อ จึงสามารถเห็นสัตว์ในภูมิต่างๆ ที่ละเอียด อย่างเช่น นรก สวรรค์ และแม้แต่เห็นอายตนนิพพานนั้น ก็เป็นเรื่องความสามารถพิเศษของท่าน และก็เป็นการเห็นธรรมชาติที่มีอยู่แล้วเหมือนกับตาเนื้อเห็นรูปทั้งหลายนั่นเอง

    ก็เหมือนกับเราผ่านไปทางไหนก็ได้พบได้เห็นบ้านเมือง ผู้คน หรือสัตว์ทั้งหลายตามปกติธรรมดา แม้จะเจตนาที่จะพิจารณาดูความเป็นไปในอายตนะทั้งหลายเหล่านั้น ก็เพื่อเป็นการศึกษาค้นคว้าความรู้ เพื่อให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น เป็นการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ให้รู้แจ้งเห็นจริงว่า นรก สวรรค์ นิพพานนั้น มีจริงหรือเปล่า ถ้ามี มีอย่างไร มีความเป็นไปในนรก สวรรค์ ตลอดทั้งอายตนะนิพพานอย่างไร ด้วยผลบุญและผลบาปอะไร จึงต้องไปเสวยวิบากอยู่ในนรกหรือสวรรค์

    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรู้จักความเป็นไปในนิพพานนั้น เป็นยอดของความรู้ เป็นยอดของปัญญาทีเดียว และประการสำคัญที่สุด ผู้ที่สามารถเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายอันเป็นธรรมขันธ์ที่พ้นโลกแล้ว สามารถให้เข้าถึงอายตนนิพพานได้นั้น ทำให้เกิดปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นโดยชัดแจ้งตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงประทานบรมพุทโธวาท มีปรากฏในปาฎลิคามิวัคคอุทาน นิพพานสูตร ว่า


    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! อายตนะนั้น(คืออายตนนิพพานนั้น)มีอยู่…” และว่า “ภิกษุทั้งหลาย ! ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว(คือพระนิพพาน)นั้น มีอยู่…”

    จึงทำให้สามารถเห็นอรรถ เห็นธรรม ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้วนี้โดยชัดแจ้ง
    <!--MsgFile=3-->

    **************************************************************************


    ประการที่ ๓ การเจริญภาวนาแต่เพียงขั้นต่ำ หรือการปฏิเสธสมถกัมมัฏฐาน แล้วมุ่งเน้นแต่การพิจารณาสภาวะธรรมเพื่อให้เกิดปัญญานั้น เสี่ยงต่อการเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างมาก

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติภาวนามีสติปรากฏยิ่งจนเกินไป กล่าวคือมีสติพิจารณาสภาวะธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงยังเกิดขึ้นไม่ทัน จิตจะปล่อยวางอารมณ์วิปัสสนาที่เคยยกขึ้นพิจารณาอยู่เสมอนั้นไม่ได้ แม้แต่จะได้รับคำแนะนำให้ปล่อยหรือให้ปฏิเสธนิมิต ก็ปฏิเสธไม่ออก เป็นเหตุให้เกิดนิมิตลวงขึ้นในใจโดยที่เจ้าตัวมิได้ตั้งใจจะรู้จะเห็น เรียกว่าเกิด วิปัสสนูปกิเลสข้ออุปัฏฐานัง อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตได้

    --->>> จึงใคร่จะกล่าวถึงคุณค่าของการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายว่า เป็นกัมมัฏฐานที่มีทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน เป็นการเจริญภาวนาที่มีมหาสติปัฏฐาน โดยครบถ้วนอยู่ในตัวเสร็จ คือมีการพิจารณาเห็นกายในกาย, เวทนาในเวทนา, จิตในจิต, และเห็นธรรมในธรรมอยู่ในตัวเสร็จ มีอุบายวิธีที่ทำให้สมาธิเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสัจธรรมจากการได้ทั้งรู้และทั้งเห็น เมื่อยกสภาวะธรรมใดขึ้นพิจารณาให้เกิดปัญญาแล้ว ก็มีวิธีให้พิสดารกาย พิสดารธาตุธรรมไปสู่สุดละเอียด ให้ใจของทุกกายรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายที่สุดละเอียดอยู่เสมอ จิตก็ละวางนิมิตที่ยกขึ้นพิจารณานั้นไปเองโดยอัตโนมัติ วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นสำหรับผู้เจริญภาวนาตามแนวนี้แต่ประการใด และยิ่งสำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ยิ่งเห็นอรรถเห็นธรรม ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า สังขตธาตุ สังขตธรรม กับที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งที่เรียกว่า อสังขตธาตุ อสังขตธรรม ได้โดยชัดแจ้ง ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย...


    ***************************************************

    ข้อมูลในการเรียบเรียบ : หนังสือธรรมปฏิบัติของวัดปากน้ำ

    **************************************************<!--MsgFile=4-->


    ---->>> อย่างไรก็ตาม นิมิตที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเกิดของสมาธินั้น ไม่ใช่นิมิตในความหมายที่กล่าวข้างต้น แต่เป็นนิมิตที่หมายถึงภาพที่เห็นในใจ ซึ่งมีความหมายกว้างมาก กล่าวคือ เป็นภาวะจิตหนึ่งที่ไม่ตื่นตัวเต็มที่ คนที่อยู่ในภาวะจิตเช่นนี้จึงอาจจะเห็นภาพในใจซึ่งเกิดจากการปรุงแต่งของจิตได้ หรือไม่ก็เป็นภาพที่เกิดจากสัญญา (สัญญาในที่นี้หมายถึงภาพของสิ่งเก่าๆ ที่จิตเคยกำหนดหมายจำไว้) คือ อาจเป็นภาพที่เกิดจากสัญญาเก่าหรือภาพที่เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ซึ่งโดยทั่วไปจะได้ประสบมากที่สุด ก็คือในภาวะหลับที่ไม่สนิท จะมีนิมิตปรากฏขึ้นมาที่เรียกเต็มๆ ว่า สุบินนิมิต แปลว่า ภาพในฝัน สุบินนิมิตนี้จะเกิดในลักษณะที่เรียกว่าตื่นอยู่ก็ไม่ใช่ หลับอยู่ก็ไม่เชิง หรือจะเรียกว่า ครึ่งหลับครึ่งตื่นก็ได้ กล่าวคือเป็นภาวะจิตที่ไม่ถึงกับหลับ แต่เป็นภาวะอีกอย่างหนึ่งที่ไม่อยู่ในภาวะตื่นเต็มที่

    คนที่ฝึกสมาธิก็สามารถจะเกิดนิมิตดังกล่าวนี้ได้เช่นกัน คือเกิดภาพในใจขึ้น ถ้าหากเป็นภาพนิมิตที่เป็นปกติธรรมดา ก็คือภาพที่เกิดจากสิ่งที่ตนกำหนด เพื่อทำจิตให้เป็นสมาธินั้น (คือเป็นบริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต หรือปฏิภาคนิมิต อย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวข้างต้น) หรือเกิดจากการที่ตนเอาจิตไปจดจ่อกับมันกลายเป็นสัญญากำหนดหมายจำเกิดเป็นนิมิต เป็นภาพในใจ แต่ทีนี้มันไม่ใช่เท่านั้น คือมันมีการปรุงแต่งต่อ หรือว่าจิตไม่ได้อยู่กับสิ่งที่กำหนดนั้น เกิดภาพอื่นเข้ามา เช่น ภาพที่ตนไปพบไปเห็นไว้เป็นความจำเก่าๆ ผุดขึ้นมาในจิตใจ ลักษณะเช่นนี้แสดงว่า ขณะนี้จิตเริ่มจะเขว คือ จิตไม่จดจ่ออยู่กับอารมณ์ที่กำหนดหรืออารมณ์กรรมฐาน แต่กลับมีภาพของสิ่งอื่นเกิดขึ้นมาเป็นนิมิต เรียกว่า --> นิมิตนอกตัวกรรมฐาน <-- จึงอาจเห็นภาพต่างๆ ภาพเหล่านี้ก็ถือได้ว่าเป็นปัญหาและอุปสรรคในการฝึกสมาธิ

    ภาพนิมิตเหล่านี้อาจเป็นภาพสวยๆ งามๆ เป็นแสงสีอะไรต่างๆ ที่ถูกใจ พอใจ ชื่นชม อาจจะเป็นสีที่สดใสสวยงาม ชวนให้เพลิดเพลินเจริญใจ ติดใจ หรือเป็นภาพของสถานที่ บุคคล สิ่งที่น่ารักน่าชมก็ได้ จิตใจก็จะไปติดเพลินอยู่กับสิ่งเหล่านั้น เมื่อจิตใจไปติดเพลินก็คือการที่ออกจากการฝึกสมาธิแล้ว จิตเวลานั้นก็จะไม่เป็นสมาธิ จะไปหลงเพลิดเพลินอยู่กับภาพนิมิตนั้นในลักษณะนี้จึงเรียกว่า ปัญหา เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของการฝึกสมาธิ

    ในทางตรงข้าม ถ้าภาพที่เห็นนั้น ไม่ได้เป็นภาพที่สวยงาม แต่กลับเป็นภาพของสิ่งน่าเกลียดน่ากลัว เพราะว่าตนเคยมีความทรงจำอะไรบางอย่างหรือจิตผูกพันกับอะไรบางอย่างที่ตนปรุงแต่ง เป็นภาพที่น่ากลัว เป็นต้นว่าเห็นเป็นงูจะมากัด เป็นภาพผีสางอะไรต่างๆ สุดแล้วแต่จะเกิดขึ้นก็ทำให้ตกใจด้วยคิดว่าเป็นความจริง ถ้าร้ายแรงก็อาจจะทำให้สติวิปลาสหรือเสียจริตไปก็ได้ นี้ก็เป็นปัญหาแก่การฝึกสมาธิ --->>> เพราะฉะนั้นจะต้องรู้เท่าทันว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงภาพนิมิตและหันกลับมากำหนดสิ่งที่เป็นอารมณ์กรรมฐานต่อไป...
     
  4. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
  5. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    นิมิต
    อุคคหนิมิต (นิมิตติดตา)
    เกิดจากการเพ่งดวงกสิณ เป็นกสิณสัญญา (ความทรงจำถึงลักษณะของดวงกสิณ) มองเห็นดวงกสิณนั้นเหมือนลอยอยู่ในอากาศ อยู่ทางซ้าย ขวา ใกล้ ไกล เล็ก ใหญ่ อาศัยการเพ่งด้วยความชำนาญอย่างเดียว

    ปฎิภาคนิมิต (นิมิตเทียบเคียง)
    หลังการกำหนดอุคคหนิมิตซ้ำไปมา เป็นผลให้เกิดปฎิภาคนิมิต ปรากฎขึ้นพร้อมจิตแม้จิตไม่ได้เป็นสมาธิ เพราะเห็นขณะหลับตาเหมือนลืมตา เป็นภาพในความคิดคือปรากฎในความคิดเท่านั้น คือมองเห็นดวงกสิณนั้นเหมือนลอยอยู่ในอากาศ อยู่ทางซ้าย ขวา ใกล้ ไกล เล็ก ใหญ่เป็นไปตามความต้องการของตน
    .................................................................................................

    นิมิตหมายถึงจินตภาพ
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลายว่า
    "เหมือนกับภาพในความคิดของบุคคลที่เห็นภาพสะท้อนของใบหน้าและเงาของตน"

    นิมิตหมายถึงเหตุปัจจัย
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลายว่า
    "อกุศลธรรมทั้งสิ้นเกิดขึ้นเพราะอาศัยนิมิต"

    นิมิตหมายถึงปัญญา
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลายว่า
    "บุคคลที่ได้มีสัญญาอันได้ฝึกฝนแล้ว ควรสละกิเลส"

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า
    "อานนท์ บัดนี้ตถาคตหาได้มมนสิการนิมิตใดไม่ ตถาคตเพียงกำจัดเวทนาเสียแล้วประกอบการเจริญเจโตสมาธิที่ปราศจากนิมิตอยู่ อานนท์บัดนี้ร่างกายตถาคตย่อมสงบระงับ"
    .....................................................................................

    การเสวยผลคือ ความสงบระงับแห่งจิตพระนิพพานเพราะเป็นผลแห่งอรหัตตมรรค
    เฉพาะของพระอนาคามีผลที่ปฎิบัติเพื่ออรหัตมรรค กับพระอรหัตผลเท่านั้น โดยการพิจารณาสังขารทั้งหลายในลักษณะเกิดขึ้น และดับไป ดำเนินต่อไปจนถึงโคตรภูญาณ โคตรรญาณย่อมให้เกิดการเสวยโคตรภูญาณผลของนิพพานทันที
    โดยไม่พิจารณานิมิตทั้งปวง พิจาณาอนิมิตธาตุ

    ที่มา วิมุตติมรรค พระอุปติสสะเถระรจนา
    (พระอรหันตร์ชาวลังกาชำนาญพระวินัย มีชื่อปรากฎอยู่ในคัมภีร์ปริวารของพระวินัยปิฎก)

    หนังสือธรรมะออนไลน์
     
  6. nipp

    nipp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +20
    --> ต่อมา เมื่อเราฝึกเดินวิชชาเข้ากายในกาย ด้วยวิธีลำดับฐาน-ลำดับดวง-ลำดับกายในกาย วิทยากรจะนำเราท่องวิชชา เปลี่ยนจาก สัม มา อะ ระ หัง เป็นคำว่า หยุดในหยุด ใสในใส หรือหยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ใสในใส เมื่อเราท่องใจตามที่วิทยากรสั่งวิชชา ปรากฏว่าใจของเรา หยุด-นิ่ง-แน่น ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถเดินวิชชาเข้ากายในกายได้โดยตลอด เห็นกายในกายได้ตลอด

    -->
    ต่อมา เมื่อเราส่งใจนิ่งที่จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มกลางดวงธรรม วิทยากรจะให้เราท่องวิชชาว่า ดับอธิษฐาน ถอนปาฏิหาริย์ ถอนปาฏิหาริย์ ดับอธิษฐาน (ท่องเป็นอนุโลม-ปฏิโลม) ทำให้ใจของเรา หยุด-นิ่ง-แน่น ได้ดียิ่งขึ้นอีก เป็นอุปการะให้จุดเล็กใสว่างออกไป เห็นกายในกาย ใสสว่างขึ้นมากลางว่างใสนั้น


    เนี่ยผมอ่านแล้วผมเข้าใจเลยครับ แต่ผมฝึกไม่ได้ดวงธรรมหลอกนะ แต่ผมเข้าใจ เรื่องการอธิษฐาน ก็คือคิดในใจ ตอนแรกผมสนใจเรื่องปลุกพุทธคุณพระเครื่องนะ และสามารถเช็คพุทธคุณ ตามอาการการแสดงของร่างกายนะ จิตยังไม่ได้ เพราะยังไม่ได้ฌาน ......และก็ลองนึกคือคิด หมาผมชื่อไอ้ปอม...ผมก็คิดว่า ตอนนี้จิตไอ้ปอมมันเป็นอะไร ตัวจริงมันกำลังเกาอยู่ผมแสดงท่าเกาตามมันเลย ผมเห็นหมาเดินมาแบบเหนื่อยแลบลิ้น ผมก็นึกว่า จิตหมาตนนี้เป็นไง ร่างกายผมแสดงเป็นหมาแลบลิ้นเลย.....นึกถึงใครแสดงเป้นอย่างนั้น นึกถึงคนท้องแสดงท่าท้อง...นึกถึงปูฤาษีนารอด ร่างผมแสดงท่านั่งสมาธิ....

    แล้วก็ลองมาเล่นพระเครื่องที่มีพุทธคุณด้านอธิษฐานได้ นั่นก็คือพระเป็นที่หลวงพ่อสดท่านเรียกว่าพระเป็น คือสามารถอธิษฐานได้นั่นเองแต่ของผมไม่ใช้พระหลวงพ่อสดนะ เอาพระไปอยู่หลังบ้าน ผมอยู่หน้าบ้าน แล้วผมนึกชื่อพระ ที่สำผัสธาตุลมที่อยู่ในบริเวณบ้าน ขอมีอานุภาพคงกระพัน...แล้วผมก็เข้าสมาธิจนความคิดดับ...ลมหายใจยาว แล้วก็เป่าลมหายใจไปทางไหนก็ได้ที่อยู่ในบริเวณบ้าน แล้วผมก็เดินไปเช็คพุทธคุณพระ ....ปรากฎว่าเป็นไปตามที่ผมอธิษฐานเลย

    ผมจึงอ่านแล้วเข้าใจได้เลยว่า
    เปลี่ยนจาก สัม มา อะ ระ หัง เป็นคำว่า หยุดในหยุด ใสในใส หรือหยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ใสในใส เมื่อเราท่องใจตามที่วิทยากรสั่งวิชชา ปรากฏว่าใจของเรา หยุด-นิ่ง-แน่น ได้ดียิ่งขึ้น

    ดับอธิษฐาน ถอนปาฏิหาริย์ ถอนปาฏิหาริย์ ดับอธิษฐาน” (ท่องเป็นอนุโลม-ปฏิโลม) ทำให้ใจของเรา หยุด-นิ่ง-แน่น ได้ดียิ่งขึ้นอีก

    คนที่สามารถอธิษฐานให้เป้นไปตามอธิษฐานได้นั้น คนๆนั้น จะต้องถึงอุปจารสมาธิขั้น อุพเพงคาปีติ ตัวปลายคือใกล้ๆๆจะนิ่งแล้ว ก็คือไกล้จะเข้าเขต ผรนาปีติ คือจิตเริ่มนิ่งแล้ว จึงอธิษฐานได้ ถ้าไม่ได้ขั้นนี้อธิษฐานอย่างไรก็ไม่สำริตผม ...

     
  7. nipp

    nipp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +20
    เนี่ยผมลองท่องตาม นะ หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง ใสในใส จิตผมกำลังคิดอยู่ความคิดเริ่มค่อยๆดับเลยคุณ เจ๋งจริงๆ ๆๆๆๆๆๆๆๆแสดงว่าคุณต้องได้วิชชาแล้วแน่นอน ไม่งั้นไม่เขียนอย่างนี้แน่ .....
     
  8. nipp

    nipp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +20
    ดวงเห็น-จำ-คิด-รู้ เนี่ยความเข้าใจของผมก็คือ นิวรณ์......เมื่อไหร่เจ้าทั้ง 4 ตัวหยุดนิ่ง นั่นก็คือเราได้ ฌาน 2 เพราะคำภาวนามันหยุด คำภาวนาก็คือตัวคิด ......แต่จะเป็นวสีนั้นอีกเรื่อง ถ้าเป็นวสี เวลานั่งสมาธิ นึกถึงฌาน 2 ฌาน 2 เกิดทันที.......ตอนแรกผมอ่านที่หลวงพ่อฤาษีท่านกล่าวว่า ท่านนึกถึงฌาน 4 หรือ ฌาน 8 แล้วก็หายใจเข้า-ออกยังไม่ทันหายใจออกจิตก็ชนฌาน 4 ฌาน 8 แล้ว .......ผมก็งง แต่พอผมสามารถนึกได้แล้ว ผมจึงเข้าใจเรื่องการนึก
    เช่น ตอนนี้ผมได้อุเพงตัวปลาย สามารถนึกได้แล้ว ขั้นแรก นึกก่อน แล้วเข้าสมาธิดูลมหายใจเข้าออกเฉยๆ แล้วอาการทางกายจะเป็นเองอัตโนมัติ

    ผมก็ลองนึกโอกาติกันปีติ แล้วก็เข้าสมาธิ สัก15วินาที ร่างกายผมก็โยกเอง แล้วก็หยุดมาอยู่ที่สมาธิอุพเพง พอนึกตัวที่สูงกว่า ผรนาปีติ ตัวก็นิ่ง ตัวเบา แล้วก็กลับมาที่อุพเพงต่อ เพราะว่าเรายังไม่ได้ผรนาปีติจริงๆ พอนึกเราจึงแสดงแต่อาการ พอนึกฌาน 1 ก็นิ่ง แล้วก็กลับมาจุดเดิม พอนึกฌาน 2 ความคิดดับ พร้อมกับตัวเกร็งๆๆแล้วก็กลับมาตามเดิม พอนึกฌาน 3 แล้วเข้าสมาธิสักพักร่างกายก็แสดง ตัวเกร็งมากๆๆแล้วสมองก็หยุดคิด แล้วซักพักก็กลับไปที่สมาธิตัวเดิม เพราะเรายังไม่ได้จริง .....

    อ๋อที่เขาสอนเรื่องสังจิตใต้สำนึกเนี่ยมันเป็นอย่างนี้นี้เอง .............

    ผมขอถามท่านหน่อย คนที่สามารถฝึกจนได้กายโสดา สกิทา อาคา อรหันต์ ทั้งๆที่ตัวเขาเองก็ยังไม่เป็นพระอริย แล้วทำไมจึงฝึกได้กายต่างๆของพระอริยเจ้า จริงแล้ว ผมคิดว่า ถ้าคนฝึกเป็นพระโสดาบัน เจ้าตัวต้องได้กายพระโสดาบันซิ ถ้าจิตยังไม่เป็นพระโสดาบัน เวลาเห็นกายนั้นจะต้องไม่ได้กายพระโสดาบัน

    ผมเปรียบเทียบกับสมาธิที่ผมสามารถนึกได้ เช่นผมนึกถึง
    1.นึกถึงหมาก่อน ...
    2.แล้วเข้าสมาธิดูลมหายใจตามปกติ จนลมหายใจของเรายาวเองแล้วความคิดดับ ตัวเบา แล้วร่างกายจะแสดงไปเองอย่างอัตโนมัติ.................ย้ำว่าร่างกายมันแสดงของมันเอง เราไม่ได้จงใจให้ร่างกายแสดง แต่เขาแสดงของเขาเอง เราทำจิตเป็นกลางเฉยๆเท่านั้น พอแสดงเป็นหมาแล้วซัก 5วินาที ร่างกายก็กลับมาท่าเดิมของการนั่งสมาธิ เพราะว่าเราไม่ได้เป็นหมาจริงๆๆๆๆๆ

    ****ผมจึงเดาเอา
    1.คนที่จิตยังไม่ได้พระโสดาบัน ....เมื่อนึกถึงกายพระโสดาบัน เขาจะเห็นกายพระโสดาบันจริงๆๆในศูนย์กลางกายแต่เห็นแค่เวปเดียว ไม่นานขึ้นอยู่กับว่าเขานึกกี่ครั้ง ถ้าเขานึก 10 ครั้งเขาจะเห็นกายพระโสดาบัน 10ครั้งแล้วหลังจากนั้น จิตก็จะตกลงมาที่จุดเดิม เพราะเขายังไม่ได้เป็นพระโสดาบันจริงๆๆ.........ที่ผมว่า 10 ครั้งนั้น ผมมีประสบการคือ
    1.ผมทดลอง หาพระเครื่องที่สามารถอธิษฐานได้ แล้วเอามาอธิษฐาน ว่า
    2.ขอให้พระเรื่องที่อยู่ในมือลูกจงเป็นไปตามพระคาถาที่ภาวนา ผมก็ภาวนา พุทธิปัญญา 108 จบ
    3.แล้วผมก็เป่าลมไปที่พระเครื่อง
    4.ผมก็อธิษฐานว่าขอดูพุทธคุณพระเครื่อง
    5.แล้วเข้าสมาธิดูแต่ลมหายใจ ซักพักมือที่กำพระเครื่องก็จะแสดงท่า เอามือที่พนมมือมาวางไว้บนศรีษะ.......แสดงว่าพุทธคุณไปทางปัญญา สร้างให้ปัญญาดี แล้วค้างไว้เท่ากับจำนวนที่บริกรรมคาถา 108ครั้ง แล้วมือก็จะตกลงมาเอง ถ้าภาวนา 3 รอลก็จะขึ้นแป๊บนึงแล้วก็เอามือลงเอง มันขึ้นอยู่กับจำนวนที่บริกรรม

    ผมจึงสงสัยว่า ถ้าคนที่ยังไม่ได้ กายพระอรหันต์ แต่นึกกายพระอรหันต์แค่ครั้งเดียว ก็จะเห็นกายอรหันต์แค่แป๊บเดียว ถ้านึกเยอะก็เห็นนาน แต่ถ้าคนๆนั้นภูมิจิตได้อรหันต์จริงๆ คนๆนั้นก็จะเห็นกายอรหันต์ตลอดเวลา

    ........ลองแจกแจงดูนะท่าน ถ้าผมคิดผิดต้องขออภัยกัน
     
  9. nipp

    nipp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +20
    ผมอ่านแล้วถ้าผมวิจารย์ผิด ผมต้องขออภัยด้วยครับ ถ้าผมเดาผิด เพราะผมยังไม่ได้ไปเรียนมา
    คนที่จะทำถึงจุดตรงนี้ได้นั้นจะต้องเห็นดวงปฐม มรรคแล้วเท่านั้น เห็นจริงๆ ไม่ได้จินตนาการเห็น การจินตนาการเห็น ก็หมายถึงถูกภาคมารนั้นเขาหลอกเอา
    ต่อมา เมื่อเราเดินวิชชา ๑๘ กายไปตามลำดับ วิทยากรจะบอกวิชชาให้เราเดินวิชชา ๑๘ กายเป็นอนุโลม-ปฏิโลม <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <?xml:namespace prefix = u1 /><u1:p></u1:p> <o:p></o:p>
    - อนุโลม คือ เดินวิชชาจากกายมนุษย์หยาบ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์หยาบ......ไปจนถึงกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด เรียกว่าเดินหน้า <o:p></o:p>
    - ปฏิโลม คือ เดินวิชชาจากกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด กายธรรมพระอรหัตต์หยาบ กายธรรมพระอนาคามีละเอียด.......ถอยลงมาถึงกายมนุษย์หยาบ เรียกว่าเดินวิชชาลำดับกายถอยหลัง <u1:p></u1:p><o:p></o:p>
    ท่านให้ อนุโลม-ปฏิโลม กายในกายทั้ง ๑๘ กายนี้ให้มากรอบมากเที่ยว เป็นอุปการะให้กายในกายของเราขาวใสเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ใจก็หยุด-นิ่ง-แน่นได้ดียิ่งขึ้น <u1:p></u1:p><o:p></o:p>

    การเดิน 18 กายนั้นผมเดาเอาว่า ตอนนั้น หูคนที่นั้งอยู่จะต้องได้ยิน แล้ววิทยากรจะต้องเป็นคนบอกว่าให้ทุกคนนึกนะ หรือพูดตาม กายมนุษย์หยาบ-กลาง-ระเอียด เราก็จะเห็นกายมนุษย์หยาบ-กลางระเอียด จริงๆที่ในดวงธรรม
    แล้วก็นึกต่อ กายต่างๆจนไปถึงกายอรหันต์ แล้วก็เห็นจริงๆๆ ทั้งๆที่จิตของเขาเหล่านั้นยังไม่ถึงภูมิธรรมของกาย อริยเจ้า <o:p></o:p>
    --> ต่อมา วิทยากรพาเราเดินวิชชาไปเฝ้าต้นธาตุคือหลวงพ่อวัดปากน้ำที่อยู่ระหว่างนิพพานกับภพ ๓ จากนั้นจึงเข้านิพพานไปซ้อนกายสับกายกับพระพุทธเจ้าในอายตนะนิพพาน อาราธนาพระองค์เข้ามา จองถนน ปาฏิหาริย์ พิสดาร ทับทวี กายในกายของเราทั้ง ๑๘ กายไปจนสุดหยาบสุดละเอียด เป็นผลให้กายในกายของเราใสสว่างยิ่งขึ้น ใจของเรา หยุด-นิ่ง-แน่นได้ดีขึ้น<o:p></o:p>
    เป็นการอาราธนาให้ต้นธาตุและพระนิพพานมาชูช่วยแก้ไขให้กายในกายของเราขาวใสยิ่งขึ้นนั่นเอง<o:p></o:p>

    อันนี้ก็เหมือนกัน เมื่อเรานึกถึงกายอรหันต์กายที่ 18 จิตใจเราจะใสเหมือนอรหันต์เลยจริงๆ ณ ขณะนั้น แต่จิตใจเราเราจริงนั้นที่เป็นวสีไม่ขึ้นไม่ลง นั้นยังไม่ได้จิตใจอรหันต์จริง

    --> ต่อมาเราประสงค์จะให้กายในกายทั้ง ๑๘ กายของเราใสสว่างยิ่งขึ้นอีก ต้องการให้ใจ หยุด-นิ่ง-แน่น ต่อไปไม่ถอยหลังกลับ
    เนี่ยคำเนี่ยไม่ถอบกลับ แสดงว่า เขานึกเอา วิทยากรเป็นคนบอกว่าไหนทุกคนที่อยู่ในห้องนี้ที่สามรถเห็นดวงธรรมแล้วลองนึกถึงกาย พระโสดาบัน หยาบก่อนนะ แล้วคนที่นึกก็เห็นจริงๆ แล้ววิทยากรก็บอกอีกว่า ไหนลองนึก กายพระโสดาบัน กายระเอียด ก็เห็นจริงๆ และจิตใจตอนนั้นก็เป็นอารมณ์พระโสดาบันแบบ ชั่วขณะด้วย .....แล้วคิดว่าวิทยากรน่าจะให้จำอารมณเอาไว้นะทุกคนว่าอารมณ์พระโสดาบันนั้นเป็นอย่างไร ......แล้ววิทยากรก็น่าจะบอกไปอีกว่า ลองนึกถึงกายอรหันต์ซิ.....เพราะยังไม่ได้จริง จึงมีการถอย...ของกายต่างๆๆ แต่ถ้าคนไหนสมาธิถึงกายอรูปพรหมที่ 3 เวลาสมาธิเขาตกมาก็จะตกมาที่กายเดิมที่เขาได้ ..........แต่กายพวกนี้ก็ไม่จีรังยังยืนเพราะ จิตของเขายังไม่เป้นพระอริยเจ้า กำลังฌานจึงมีขึ้นลงตามสภาพร่างกาย วันไหนป่วยเขาก็จะไม่เห้นกายอรูปพรหม 3 ...ทั้งๆที่ฌานสูงสุดเขาได้ อรูปพรหม 3 ........

    คือ หยุดในหยุด นิ่งในนิ่ง แน่นในแน่น เรื่อยไปไม่ถอยหลังกลับ เราจึงไปขออนุญาตครูอาจารย์เดินวิชชาหลักสูตร แลบ ลั่น ย่อย แยก ระเบิด ผ่า ดับ ละลาย โดยท่องวิชชาให้ดวงธรรมทุกดวงเป็นดวง เซฟ มรรค แก๊ส กรด ไอ อัสนีย์ธาตุ ดวงธรรมทุกดวงมีอาการหมุนขวาทับทวีในหมุนขวาทับทวี เข้าไป ย่อย แยก....ไปจนสุดเหตุ ๑๙ แลบ ลั่น....เข้าไปที่ผู้สอด ผู้ส่ง ผู้สั่ง...ฯลฯ เข้าไปกายในกาย ทีละกายจนครบ ๑๘ กาย ปรากฏว่าใจของเรา หยุด-นิ่ง-แน่น เรื่อยไปไม่ถอยหลังกลับ ดวงธรรมและกายในกายขาวใสสว่างโชติ

    อันนี้ผมคิดว่าเป็นไม่ได้จริงเพราะยังไม่ได้จริงๆ แต่ถ้าได้จริงๆแล้ว กายไม่มีถอย

    ****ถ้าวิเคราะห์ต้องขอประทานโทษครับ

    <o:p> </o:p>
     
  10. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขอขอบคุณ คุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->TenBall<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5178950", true); </SCRIPT> ที่ได้กรุณาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ออกมานะครับ ถึงแม้ยังไม่ถูกตรง แต่ก็ถือได้ว่าเป็นผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้ที่ไม่ใช่จะเชื่ออะไรแบบตามๆ เขาไป ต้องชั่งใจก่อนเสมอ ถ้ามีโอกาสขอเชิญหาความรู้เพิ่มเติมในเวบหลัก ที่นี่ http://khunsamatha.com/

    และในห้องสนทนาธรรม ที่นี่ http://khunsamatha.fix.gs/index.php นะครับ

     
  11. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
  12. nipp

    nipp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +20
    เดี๋ยวผมได้ฌาน 4 ก่อนเดี๋ยวไปฝึก เพราะอยากรู้เหมือนกันว่าเป็นไง.......ตอนนี้ก็ลุยมา 8ปีแล้ว เมียไม่มี เพราะไม่เอา จะไปนิพพาน ลุยมาตั้งแต่ อายุ 26 แล้ว แต่ยังได้แค่ อุพเพงคาปีติตัวปลายอยู่ นั่งสมาธิยังสั่นอยู่ แต่สั่นๆนิ่งๆ ยังไม่เป็นวสี แต่อารมณ์ที่ขั้นระหว่างกลางเริ่มจะหมดแล้ว .......มันจะแซกมาระหว่างอุพเพง.....บอกไปก็ไม่เข้าใจกันเนอะ เพราะเล่นกันคนระแนว.....ผมก็ไม่เข้าใจทางแนวคุณ คุณก็ไม่เข้าในแนวผม.......เอาเป็นว่า ผมสนในมานานแล้ววิชชาธรรมกาย เคยฝึกมาเมื่อเรียนมหาลัย อายุ 19-22ปี ไปฝึกที่วัดปากน้ำ แต่ไม่ได้นะ แต่ชอบมาทางสายธรรมมะเปิดโลกมากกว่า .....แต่คิดว่าไปแน่....ถ้าได้ฌาน 4 เป็นวสีแล้วนะ
     
  13. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ฌาณ 4 เป็นวสีเป็นอย่างไรครับ?
     
  14. nipp

    nipp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +20
    ผมก็ไม่รู้ผมยังบ่ได้เลย
     
  15. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
  16. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ไม่ได้สงสัยเรื่องนั้นหรอกครับ แต่อยากดูการใช้คำศัพท์ของเขา

    ว่าแต่คุณ สมถะ สนใจเรียนพระอภิธรรมบ้างไหมครับ? เรียนไปแล้วคุณอาจจะลืมธรรมกายไปเลยก็ได้นะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2011
  17. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ขอบคุณนะครับ ผมศึกษาอภิธรรมมาพอสมควร ไม่มากไม่น้อยดอกครับ ยิ่งเรียนยิ่งเห็นค่าของวิชชาธรรมกาย นักตรึกนึกตรองธรรมผมเป็นมาก่อนนะครับ


     
  18. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    คมคายไม่เบา...
    ภาษาดี
    คุณเป็นคนเีขียนบทความเหล่านั้นเหรอครับ หากใช่ผมจะได้ไม่ต้องอ่านอีก

    จะว่าไปธรรมที่ตรึกออกมาต่าง ๆ ผมเห็นว่าควรเอาไว้สอนตัวเอง ที่ควรยกมาควรเป็นเชิงวิชาการ กฏ ต่าง ๆ ที่เป็นความเข้าใจเดิม ร่วมประสานกันเป็นอันดีแต่ก่อนมา

    คุณสมถะตอบคำถามไปเลยในกระทู้จะดีกว่าส่งมา Link ไหมครับ?

    ปล.เมื่อวานมีคนส่งคำถามเรื่องการปฏิบัติแนววิชาธรรมกายมาถึงผม ถ้าหากว่าคุณสมถะตอบอย่างตรงไปตรงมา คนผู้นั้นก็น่าจะส่งคำถามไปหาคุณสมถะนะครับ ผมเองก็ตอบไปแล้วครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2011
  19. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    ไม่รู้ใช่คนเดียวกับที่ส่งมาหาผมหรือเปล่า มีคนนึงบอกว่า ไม่ชอบนึกนิมิตเลยจะทำไงดี
    เรื่องทำไมไม่เขียนตอบในกระทู้ไปเลย...ขออธิบายดังนี้นะครับ....ผมตอบคำถามคนที่ส่งอีเมล์มาหาผมเกือบทุกวัน คุยออนเฟส(facebook)กับผู้สนใจวันละหลายๆ คน มีโทรศัพท์มาคุยด้วยเกือบทุกวัน บางวันมาหลายสาย ผมเขียนตอบทางวิชชากับคนต่างๆ มาประมาณ 10 ปีในเวบบอร์ดต่างๆ จากนั้นผมก็รวบรวมคำถาม-คำตอบเอาไว้ในเวบของผม ถ้าใครถามตรงที่ผมตอบเอาไว้แล้วผมก็ทำลิ้งค์ให้เข้าไปอ่าน เขียนซ้ำๆ ก็ไม่ไหวนะครับ ตอบมาจนนับไม่ถ้วนแล้ว ทุกวันนี้ก็ตอบในเวบคุณสมถะ ในเวบวัดหลวงพ่อสดฯ ในเฟสบุ๊กเพราะเป็นสายตรงคือคุยกันแบบลึกๆ ชัดๆ ตรงๆ ได้

    ประเคนความรู้เหมือนตักข้าวป้อนใส่ปากให้มาสิบปีแล้ว ตอนนี้คดข้าวใส่หม้อทำกับข้าวใส่จานไว้ให้แล้ว

    เพียงแค่ท่านนำจานแลช้อนเดินมาตักเองบ้างไม่ได้เชียวหรือครับ สงสารคนทำกับข้าวบ้างซีครับ
    อันนี้ก็เปิดใจคุยสู่กันฟังนะครับ โปรดอย่าถือสา...


    ถ้าคุณtOR_automotive ช่วยตอบได้ก็ตอบไปเถิดครับ อนุโมทนา...

    ให้ลิ้งค์อีกที http://khunsamatha.com/

    ต้องการคุยกับคุณsamatha ทาง facebook
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2011
  20. tOR_automotive

    tOR_automotive เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    582
    ค่าพลัง:
    +184
    ไม่ใช่ผมหรอกครับ ผมไม่เคยPM หาคุณเลยครับ
    "แถมบอกด้วยว่าไม่ชอบนึกนิมิตเลยจะทำไงดี" ? ถ้าพิมพ์แบบนี้ผมไม่พิมพ์ดีกว่าครับ
    แต่จำได้คุณเคย PM หาผม ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...