สบายดีปีใหม่ เยี่ยมยามลาวใต้ ไปกับสาวพลังจิต

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย bnbk, 7 มกราคม 2009.

  1. K_Jit

    K_Jit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +1,755

    อาชีพอะไรดีหล่ะ เดี๋ยวส่งรูปเก็บตกให้ดู
     
  2. K_Jit

    K_Jit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +1,755
    สาวพลังจิต มาเยือนลาวครั้งนี้ ตามวาระ ตามนิมิต ของแต่ละคน
    เรามาดูรายละเอียดของวัดภู กันดีกว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. K_Jit

    K_Jit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +1,755
    นำภาพมาฝาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. K_Jit

    K_Jit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +1,755
    วัดท่าหลวง
    โชคดีที่เรามาเยือนวัดท่าหลวง ในวันพระพอดี จึงทำให้เราได้รับรู้ประเพณี ของชาวบ้านในลาวว่า ก็ไม่แตกต่างจากเราเท่าไหร่ ชาวบ้านจะนำอาหาร ผลไม้ ดอกไม้ ธุป เทียน มาเข้าวัด ฟังธรรมในวันพระเหมือนกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    น้ำตกสวยจังเลย
     
  6. chou

    chou เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +1,440
    สาธุ ขอบคุณสำหรับภาพสวย ๆ ค่ะ ไปสัมผัสธรรมชาติ กลับมาตัวลอยได้แน่เลย
     
  7. bnbk

    bnbk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,047
    ค่าพลัง:
    +15,613
    แขวงจำปาสัก

    สถานที่ตั้ง : อยู่ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี
    เมืองหลวง : เมืองปากเซ
    • ในบรรดาแขวงต่างๆ ของลาวตอนใต้ต้องยกให้แขวงจำปาสัก เป็นแขวงที่รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากที่สุดทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะภูมิศาสตร์ของแขวงนี้มีสภาพที่หลากหลาย ทั้งป่าใหญ่บนที่สูง และที่ราบลุ่มริมน้ำโขง เป็นแขวงที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่านกลางแขวง อยู่ติดกับพรมแดนไทยที่ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี สามารถนำรถเข้าไปเที่ยวได้สะดวกหรือจะใช้บริการแพ็กเก็จทัวร์ก็ได้ เมืองของแขวงจำปาสักคือ “ปากเซ” อยู่ห่างจากช่องเม็กเพียง 42 กิโลเมตร
    • แขวงจำปาสัก มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับชายแดนประเทศไทยทางด่านช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ทิศใต้ติดต่อกับเขตจังหวัดกัมปงทมของประเทศกัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 15,415 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเมืองต่างๆ คือ เมืองปากเซ ชนะสมบูรณ์ ปากช่อง ประทุมพร สุขุมา จำปาสัก โพนทอง เมืองโขง มุลละปาโมก ในอดีตแขวงจำปาสักมีชื่อเรียกว่า เขตแคว้นของนครกาละจำบากนาคะบูริสี เป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจของประเทศลาวตอนใต้ แต่ภายหลังที่ฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมตั้งเมืองปากเซขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2448 เมืองจำปาสักซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของแขวงจำปาสักจึงถูกลดระดับความสำคัญลงไป
    • แขวงจำปาสัก ปรากฏชื่อในพงศาวดารเขมรว่า สะมะพูปุระ เมื่ออาณาจักรฟูนันเสื่มอำนาจ คนลาวได้ย้ายถิ่นเข้ามาสร้างบ้านเรือนกลายเป็นเมืองใหม่นามว่า จำปานะคะบุลีสีหรือจำปานคร ถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มได้ทรงรวบรวมเมืองต่างๆของลาวเข้ามาเป็นอาณาจักรเดียวกันชื่อว่าล้านช้าง เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน มีเมืองหลวงอยู่ที่หลวงพระบาง แต่เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ อาณาจักรล้านช้างเริ่มตกต่ำลงเพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและการก่อกบฏต่างๆนานนับร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระเจ้าโพธิสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์และรวบรวมแผ่นดินขึ้นใหม่ และได้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง มาอยู่ที่เวียงจันทน์เพื่อให้ไกลจากการรุกรานของสยาม อาณาจักรล้านช้างเจริญมาได้ 200 ปีเศษก็เริ่มอ่อนแอ แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ อาณาจักรหลวงพระบาง อาณาจักรเวียงจันทน์ และอาณาจักรจำปาสัก ซึ่งตรงกับสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชระแวงว่าลาวจะร่วมมือกับพม่ายกทัพมาตีไทย จึงโปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกทัพไปตีลาวทั้ง 3 อาณาจักร ตกเป็นของไทยนาน 114 ปีจนถึงปี พ.ศ. 2436 ไทยต้องยกลาวให้กับฝรั่งเศส แต่ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสเริ่มอ่อนแอ ญี่ปุ่นได้เข้ามาปกครองแทน แต่ภายหลังสิ้นสงครามโลกญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสได้กลับมาปกครองลาวอีกครั้งหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามโลกที่เดียนเบียนฟู ลาวได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ แต่กลับถูกสหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงทางการเมืองและการทหาร กลุ่มลาวรักชาติจึงได้ร่วมกันต่อสู้จนสหรัฐอเมริกาล่าถอย ลาวได้เปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ยกเลิกสถาบันเจ้าชีวิตหรือสถาบันกษัตริย์ โดยเจ้าชีวิตองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรจำปาสักคือเจ้าบุญอุ้ม
    แหล่งท่องเที่ยว

    • กิจกรรมท่องเที่ยวแขวงจำปาสักมีหลากหลายและน่าสนใจ หากชอบประวัติศาสตร์ก็ไปที่ปราสาทหินวัดพู มรดกโลกที่เมืองจำปาสัก ถ้าชอบธรรมชาติก็ไปดูความยิ่งใหญ่ของน้ำตกหลี่ผี น้ำตกคอนพะเพ็งซึ่งอยู่ทางตอนใต้ หรือน้ำตกตาดฟาน น้ำตกตาดเยือง น้ำตกตาดผาส้วม ซึ่งอยู่ที่ปากช่อง
    สถานที่ท่องเที่ยวในตัวเมืองปากเซ

    วังเจ้าบุญอุ้ม : ตั้งอยู่ห่างจากเมืองปากเซไปทางทิศตะวันออกบนทางหลวงหมายเลข 13 ระยะทางประมาณ 500 เมตร
    ในอดีตวังเจ้าบุญอุ้มเคยใช้เป็นที่ประทับของเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาสัก เจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้ายก่อนที่จะเกิดการปลดปล่อยหรือเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศเป็นระบอบสังคมนิยมในปี พ.ศ. 2518 ทำให้พระราชวังแห่งนี้ตกอยู่ในการดูแลของรัฐบาลลาว เจ้าบุญอุ้มเคยเป็นนายกรัฐมนตรีของลาวในปี พ.ศ. 2503 – 2505 ต่อมาภายหลังต้องเสด็จลี้ภัยทางการเมืองไปประทับที่ฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2517 และสิ้นพระชนม์ที่กรุงปารีสในปี พ.ศ. 2521 พระราชวังเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2511 แต่สร้างเสร็จหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2518 ทำให้เจ้าบุญอุ้มไม่มีโอกาสได้ครองพระราชวังหลังใหม่ ซึ่งถูกสร้างขึ้นอย่างงดงามเหนือลำน้ำเซโดน ตั้งอยู่เนินสูงใจกลางเมืองปากเซ ตัวพระราชวังเป็นตึกก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่สูง 6 ชั้น ได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส สร้างโดยไม่มีการตอกเสาเข็ม แต่ใช้เสาจำนวนมากในการรับน้ำหนัก ภายในพระราชวังมีประตูหน้าต่างรวมกันกว่า 1,900 บาน ประตูหน้าต่างเหล่านี้ก่อสร้างและตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม จนได้รับการขนานนามว่า ศาลาพันห้อง ตัวพระราชวังหันหน้าไปทางแม่น้ำโขง ด้านหลังอยู่ติดแม่น้ำเซโดน
    • พระราชวังแห่งนี้ ทางรัฐบาลลาวใช้เป็นที่จัดประชุมพรรคและเป็นที่พำนักของแขกบ้านแขกเมืองมาจนถึง พ.ศ. 2538 ปัจจุบันพระราชวังได้รับการตกแต่งใหม่และเปิดเป็นโรงแรมที่ดีที่สุดในเมืองปากเซ ชื่อว่า โรงแรมจำปาสัก พาเลซ โดย ดร.ปองศักดิ์ ว่องพาณิชเจริญ ชาวจังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้บูรณะปรับปรุงใหม่ แผนของโรงแรมเป็นรูปตัว E ห้องล็อบบี้กรุด้วยไม้และแกะสลัก ห้องประชุมตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปลาวลุ่มกับชาวเขาเผ่าต่างๆ สำหรับชั้นที่ 6 เป็นชั้นบนสุดที่มีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบเมืองปากเซ สะพานมิตรภาพลาว – ญี่ปุ่น ทอดตัวยาวข้ามแม่น้ำโขง ตลอดจำสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำเซโดนที่อยู่ติดด้านหลังของโรงแรมจำปาสัก พาเลซ และนับเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยงามที่สุดในเมืองปากเซ
    วัดถ้ำไฟ : ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเซโดน ห่างจากโรงแรมจำปาสัก พาเลซ มาทางทิศตะวันออกประมาณ 100 เมตร
    วัดถ้ำไฟ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระพุทธบาท เนื่องจากภายในพระอุโบสถมีรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ ถัดมาทางซ้ายเป็นหอแจก ลักษณะเป็นตัวอาคารทรงโรม หลังคาลาดต่ำ ชาวบ้านใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา จุดเด่นอยู่ตรงที่สิมตรงกลางหลังคารูปช้างสามเศียร ซึ่งหมายถึงอาณาจักรทั้ง 3 ของลาว ได้แก่ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสัก
    ตลาดเก่า : ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมือง ตรงข้ามศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเมืองปากเซ
    แม้ว่าปัจจุบันจะมีการเปิดตลาดใหม่ขึ้นก่อนถึงสะพานมิตรภาพลาว – ญี่ปุ่น แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ยังมานิยมจับจ่ายใช้สอยที่ตลาดเก่า เพราะตั้งอยู่ใจกลางเมือง ชาวบ้านจะนำสินค้าพวกผ้าทอพื้นเมือง เครื่องอุปโภค บริโภค ตลอดจนผักผลไม้มาวางขาย ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ามาจากไทย
    นอกจากนี้บริเวณตลาดเก่ายังมีคิวรถโดยสาร VIP จากปากเซ – เวียงจันทน์ ให้บริการอีกด้วย ซึ่งจะออกเวลาประมาณ 2 ทุ่ม และจะมาถึงเวียงจันทน์ 6 โมงเช้า
    วัดหลวง : ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเซโดน ทางทิศเหนือของตลาดเก่า วัดหลวงสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2478 เป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญในเมืองปากเซ เพราะเป็นสถานที่เก็บอัฐิของราชวงศ์สายจำปาสักหลายพระองค์ รวมทั้งอัฐิของท่านกระต่าย โดนสะโสลิด อดีตนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยม มีลักษณะเป็นสถูปเจดีย์เรียงรายโดยรอบวัด จุดเด่นน่าชมอยู่ที่บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ แกะสลักด้วยไม้ลวดลายสวยงาม ถัดมาทางขวาของพระอุโบสถเป็นอาคารเก่าแก่ ซึ่งใช้เป็นหอสมุดและสำนักงานของครู ส่วนด้านหลังเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น อยู่ติดกับแม่น้ำเซโดนใช้เป็นโรงเรียนสอนพุทธศาสนาสำหรับพระสงฆ์
    สถานที่ท่องเที่ยวนอกเมืองปากเซ

    เมืองจำปาสัก : อยู่ถัดจากเมืองปากเซลงมาทางใต้ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 13 ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร มาถึงท่าแพบ้านม่วง เพื่อต่อแพขนานยนต์ข้ามฝั่งมายังเมืองจำปาสัก ในอดีตเมืองจำปาสักแห่งนี้เคยถูกใช้เป็นศูนย์กลางการปกครองของแขวงเป็นที่ประทับของพระราชวงศ์ในสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปัจจุบันเหลือเพียงพระตำหนัก 2 หลัง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมือง คือ วังของเจ้าราชดนัย (บิดาของเจ้าบุญอุ้ม) เป็นตึกเก่าแก่สมัยอาณานิคมอยู่ตรงข้ามกับเรือนพักสุจิตรา ส่วนวังเจ้าบุญอ้อม (น้องชายของเจ้าบุญอุ้ม) เป็นตึกสีขาว 2 ชั้น แต่เมืองฝรั่งเศสตั้งเมืองหลวงใหญ่อยู่ที่ปากเซ จำปาสักจึงกลายเป็นเมืองริมน้ำโขงที่เงียบสงบ มีที่ทำการฯ เป็นศูนย์กลางตั้งอยู่บนถนนลาดยางสายเดียวในเมือง ส่วนถนนสายอื่นๆโดยมาเป็นทางลูกรัง สองข้างทางของถนนร่มรื่นไปด้วยทิวไม้น้อยใหญ่
    • ในเมืองจำปาสักมีวัดสำคัญประจำเมือง คือ วัดทุ่ง เป็นวัดประจำราชวงศ์และใช้เป็นที่ฝังศพของเจ้านายหลายพระองค์ มีเกสต์เฮาส์ที่ดัดแปลงจากบ้านเรือนและร้านอาหารริมน้ำโขงบรรยากาศดีเปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยว
    การเดินทาง

    • ถ้าต้องการเดินทางไปยังเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ต้องเริ่มต้นที่ด่านพรมแดนช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี อยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีประมาณ 90 กิโลเมตร ซึ่งเป็นประตูสู่เมืองปากเซแขวงจำปาสัก จากนั้นมาตามทางหลวงหมายเลข 10 เป็นถนนลาดยาง ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร จะถึงสะพานมิตรภาพลาว-ญี่ปุ่น ข้ามแม่น้ำโขงมาเมืองปากเซ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
    • สำหรับการเดินทางจากพรมแดนช่องเม็กเข้าไปเมืองปากเซ สามารถใช้บริการของสถานีขนส่งลาว ที่อยู่ห่างจากด่านตรวจคนเข้าเมืองลาวระยะทาง 300 เมตร มีทั้งรถโดยสารประจำทาง รถสองแถว วันละหลายเที่ยว แต่ถ้ามีประมาณ 3-4 คน แนะนำให้ใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จะสะดวกและเร็วกว่า
    • จากชายแดนช่องเม็กในอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านด่านวังเต่า ชายแดนลางที่ชาวบ้านจะนำสินค้ามาวางขาย นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมแวะซื้อได้ตามสะดวก จากนั้นมาตามทางหลวงหมายเลข 10 ซึ่งเป็นถนนลาดยางอย่างดี ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร ก็จะถึงสะพานมิตรภาพลาว – ญี่ปุ่น มีความยาว 1,380 เมตร ข้ามแม่น้ำโขงมาถึงเมืองปากเซ เมืองหลวงของแขวงจำปาสักซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของลาว สมัยนั้นฝรั่งเศสตั้งเมืองจำปาสักขึ้นมาเพื่อคานอำนาจเมืองจำปาสัก (บ้านวัดทุ่ง) ซึ่งมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ย้อนไปถึงยุคก่อนเข้ามาตั้งรกรากของขอมโบราณ
    • เมืองปากเซไม่มีอารยธรรมเก่าแก่เหมือนกับเมืองจำปาสัก แต่กลับมีความหลากหลายของเชื้อชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม มีจำนวนประชากรประมาณ 70,000 คน นอกจากชาวลาวแล้วยังมีชาวจีนและเวียดนามเข้ามาตั้งรกรากเป็นจำนวนมาก บรรยากาศทั่วไปเมืองปากเซเงียบสงบเป็นธรรมชาติ ชาวบ้านมีวิถีชีวิตเรียบง่าย
     
  8. bnbk

    bnbk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,047
    ค่าพลัง:
    +15,613
    ปราสาทวัดพู : ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองจำปาสักมาทางทิศใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร ปราสาทวัดพู หรือ วัดพู นครจำำปาสักได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในอดีตที่ตั้งของวัดพู เคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแห่งอารยธรรมโบราณถึง 3 สมัยด้วยกัน คือ อาณาจักรเจนละในช่วงศตวรรษที่ 6 – 8 ค้นพบจารึกกล่าวถึงการฆ่าคนเพื่อบูชาแด่เทพเจ้า ต่อมาเป็นยุคของอาณาจักรขอมสมัยก่อนเมืองพระนคร ที่เลือกบริเวณนี้เป็นที่สร้างปราสาทหินในราวศตวรรษที่ 9 และสุดท้ายอาณาจักรล้านช้างได้เปลี่ยนเทวาลัยในศาสนาฮินดูให้เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายเถรวาท
    สิ่งที่โดดเด่นสะดุดตาแก่ผู้พบเห็นคือภูเขาด้านหลังปราสาทที่ตั้งเด่นตระหง่านมองเห็นแต่ไกล รูปร่างคล้ายนมของผู้หญิงและคนเกล้ามวยผม ซึ่งเป็นที่มาของชื่อภูผาแห่งนี้ว่าเขานมสาว แต่ชาวบ้านนิยมเรียกภูเกล้ามากกว่า อาณาเขตของปราสาทวัดภู เริ่มต้นจากริมฝั่งแม่น้ำโดยมีบันไดทางขึ้นรถหลั่นกันขึ้นมา 3 ชั้น จนถึงองค์ประธานของปราสาทซึ่งอยู่ชั้นบนสุด นอกเขตวัดมีบารายขนาดใหญ่ ซึ่งในสมัยโบราณใช้เป็นที่แข่งเรือและที่สรงน้ำสำหรับพิธีกรรมต่างๆ
    เมื่อเข้าไปในบริเวณวัด จะเห็นซากวังที่พระราชวงค์สายจำปาสักให้สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรงานเทศกาลประจำปี ซึ่งจะจัดขึ้นในวัน 15 ค่ำ เดือน 3 สืบทอดต่อมาจนทุกวันนี้ ถัดมามีบันไดทางขึ้นที่ตัดในแนวตะวันออก – ตะวันตก ทอดผ่านสระน้ำทรงสี่เหลี่ยม 2 แห่ง ตรงขึ้นไปสู่ชาลา (ทางเดิน) ชั้นกลางซึ่งมีปรางค์ 2 หลังขนาบข้าง สันนิษฐานจากภาพสลักรูปเทพเจ้าว่า ปรางค์ด้านขวามือเป็นสถานที่บวงสรวงบูชาสำหรับบุรุษ ส่วนปรางค์ทางซ้ายมือเป็นสถานที่บวงสรวงสำหรับสตรี เหนือโคปุระหรือประตูทางเข้าปรางค์ทั้งสอง เป็นทับหลังแกะสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องราวในศาสนาฮินดู เดินต่อมาผ่านสิ่งปลูกสร้างหลายหลัง มีภาพปรักหักพังจนมองไม่ออกว่าสร้างขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ใด ผ่านบันไดที่มีรูปรางคล้ายเกล็ดนาคมาถึงหินสลักรูปโยนี สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ของศาสนาฮินดูที่อยู่ทางขวามือและซ้ายมือของทางเดินหลัก
    ถัดมาเป็นบันไดสูงชันที่ทอดสู่ชาลาชั้น 3 ผ่านทิวแถวของต้นจำปาเรียงรายสองข้างทางมาถึงปรางค์ประธานตั้งอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังของเทวรูป ทับหลัง และต้นไม้น้อยใหญ่ ในอดีตมีการต่อรางน้ำที่ไหลออกจากหินย้อยในหลืบถ้ำบริเวณด้านหลังมาสู่ศิวลึงค์ที่ประดิษฐานอยู่ภายในองค์ประธาน เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งบ่งบอกได้ว่าปราสาทวัดพููแห่งนี้ในอดีตเคยเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูไศวนิกาย แต่ปัจุบันศิวลึงค์ได้ถูกนำออกมาและเปลี่ยนไปเป็นพระพุทธรูปแทน ชาวบ้านนิยมนำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา และเรียกปรางค์ประธานแห่งนี้ว่า หอไหว้
    ส่วนทางด้านหลังซ้ายมือของปรางค์ประธานมีแผ่นหินขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีภาพแกะสลัก<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    รูปตรีมูรติขนาดเกือบเท่าคนจริง ซึ่งหมายถึงเทพเจ้าทั้ง 3 องค์ ผู้เป็นใหญ่ในศาสนาฮินดูได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม เดินถัดมาประมาณ 10 เมตร จะพบก้อนหิน 2 ก้อน แกะสลักเป็นรูปจระเข้และบันไดนาคอยู่ตรงข้ามกัน เชื่อว่าอาจเป็นฝีมือของชาวเจนละในสมัยนั้นที่สลักไว้เพื่อใช้ในพิธีบูชายัญ นอกจากนี้ยังพบก้อนหินรูปร่างกลมขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนยอดเขาแกะสลักเป็นรูปหัวช้างเชื่อว่าเป็นหลักฐานชิ้นสุดท้ายสมัยของเรืองอำนาจ
    สำหรับงานบุญประเพณีของวัดพููเป็นเทศกาลที่โด่งดัง และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั้งจากในและต่างประเทศ โดยจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งจะจัดติดต่อกัน 3 วัน โดยประชาชนชาวลาวจากทั่วทุกแขวงจะเดินทางนำสิ่งของมาบวงสรวงบูชาตามจุดต่างๆ ในบริเวณองค์ประธาน สำหรับในวันสุดท้ายจะมีพระสงฆ์ออกมาบิณฑบาต พอตกค่ำจะมีพิธีเวียนเทียนไปรอบๆปรางค์ประธาน<o:p></o:p>

     
  9. แมงปอแก้ว

    แมงปอแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    600
    ค่าพลัง:
    +139
    ต้องสวยมาก ๆ และหนาวหรือเปล่า ....
     
  10. bnbk

    bnbk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,047
    ค่าพลัง:
    +15,613
    อากาศไม่หนาวนักแต่ หนาวใจจ้า เพราะมีแต่สาวๆๆๆๆๆ
    แต่สาวๆน่ะโหดจริงๆ ถ้าราคาต่อได้เมื่อไหร่เมื่อนั้นก็จะขูดราคากันสุดๆ
    ลองถามหญิงพี่พิชญ์ซีจ๊ะ 555
     

แชร์หน้านี้

Loading...