สภาวะจิตก่อนการบรรลุธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย DR-NOTH, 25 มีนาคม 2014.

  1. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276

    ภาวะก่อนการบรรลุธรรม
    การบรรลุธรรมจิตต้องตกศูนย์ หรือก้าวลงสู่ความว่าง คือ สุญตา ก่อนจึงบรรลุ
    การบรรลุธรรม ไม่ใช่เรื่องของสมอง ไม่ใช่เรื่องของการอ่านจำนึกคิด แต่เป็นเรื่องของจิต จิตของผู้บรรลุธรรมได้ จำต้องเข้าสู่ภาวะ "ตกศูนย์" หรือที่เรียกว่า "สุญตา" หรือในวิชชาธรรมกาย คือ เข้าสู่กลางในกลาง กายในกาย ไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุดแห่งกายไม่มีกายอื่นละเอียดยิ่งกว่า คือ ธรรมกาย หากดูจิตแบบสติปัฏฐาน คือ จิตในจิตที่ลึกที่สุด ในทางอรูปฌาน คือ ภาวะฌานสี่ นั่นคือ ภาวะจิตตกศูนย์ คือ เข้าสู่จิตเดิมแท้ คือ ความว่างเปล่า ความเป็น จิตพุทธะ ความไม่มีอะไรจะยึด ความไม่มีกิเลส ความไม่ต้องการโหยหา ซึ่งภาวะจิตตกศูนย์นี้มีอยู่บ่อยๆ ในชีวิตประจำวัน แต่เราก็ไม่ทันบรรลุธรรม เพราะ "ใจ" ไม่ได้พิจารณา "ไตรลักษณ์" ได้ทัน เราเรียกภาวะนี้ว่า "ตทังคนิพพาน" คือ ความว่างสิ้นไป สูญไปแห่งกิเลสชั่วคราว ไม่ได้ถาวรตลอดไป หรือที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่า เราได้เคยลงไปอาบในพระนิพพานแล้วขึ้นมา แต่ไม่ทันได้ลงไปทั้งตัวนั่นแหละ ในเซน จะใช้โอกาสการทำงานในชีวิตประจำวัน คอยสังเกตเวลาจิตตกศูนย์ หรือภาวะสุญตา และใช้สติปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ในขณะนั้นทันที ก็จะ "บรรลุฉับพลัน" ได้เช่นกัน ซึ่งก็คือรอคอยจังหวะ "ตทังคนิพพาน" และ "ภาวะหลังออกจากฌานสี่สู่ฌานสาม" ก็ได้
    ขณะจิตตกศูนย์ จิตต้องดำดิ่งลึก หรือลงสู่กลางกายในกายที่ลึกที่สุด (ตามหลักวิชชาธรรมกาย) หรือเข้าฌานลึกที่สุด (ฌานสี่) หรือ เข้าสู่ความว่างเปล่าอย่างแท้จริง หรืออยู่ภาวะไม่เหลือ "รูปนาม" คือ "รูปนาม" ดับไปหมด (ตามหลักสติปัฏฐานสี่) ภาวะเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องบ่งชี้บอกว่า "จิตตกสู่ศูนย์กลางดิ่งลึกแล้ว" หากใจมี "สติ" ก็จะป้อนข้อมูล "ไตรลักษณ์" ให้กับจิต จิตรับข้อมูลไตรลักษณ์ เห็นสรรพสิ่งอนิจจัง คลายการยึดทั้งปวง จิตก็เข้าสู่ "การบรรลุธรรม" แต่หากไม่เห็นไตรลักษณ์ "ขณะจิตตกศูนย์" ก็ไม่อาจบรรลุธรรม เหมือนคนที่ได้ธรรมกายแล้ว ก็ถือว่าจิตละเอียดมากแล้ว ดิ่งลงสู่ภาวะจิตตกศูนย์ได้ แต่ไม่ได้ใช้สติปัญญาพิจารณาไตรลักษณ์ ก็ไม่บรรลุธรรม เป็นเพียงการบรรลุเจโตวิมุติ คือ ขั้นสูงสุดของสมถกรรมฐาน ที่ข่มกำราบกิเลสได้หมด แต่ไม่แจ้งในนิพพาน คือ ไม่อาจทำนิพพานให้แจ้งได้ ดังนี้ ไม่ว่าเดินมรรคในวิชชาใดๆ ก็ตาม หากเข้าสู่ความละเอียดที่สุด หรือสูงสุดแห่งวิชชาสมถะสายนั้นๆ แล้ว ให้รีบใช้ "สติปัญญา" พิจารณา "ไตรลักษณ์" ทันที ก็จะบรรลุธรรมได้ ทั้งนี้ สายวิปัสสนาก็บรรลุได้เช่นกัน
    บุคคลจะบรรลุธรรมได้ ไม่ใช่การอ่านเอา การจำได้ การหมายรู้ การนึกคิด หรือการทำความเข้าใจ บุคคลนั้น พึงต้องเข้าสู่ "ภาวะจิตตกศูนย์" และได้ "พิจารณาไตรลักษณ์" ทันที จึงจะเกิดภาวะ "ทำนิพพานให้แจ้ง" ได้ นั่นคือ การบรรลุธรรมโดยแท้จริง บุคคลนั้น จะสัมผัสพระนิพพาน และอธิบายได้ในแบบของตน ที่เรียกว่า "ปัจตัง" คำว่า "ปัจตัง" นี้ ไม่ได้แปลว่า "ฉันรู้ของฉันคนเดียวคนอื่นเขาไม่รู้ด้วย" นั่นเรียกว่า "ความหลงในตนแต่ผู้เดียว" แต่ "ปัจตัง" นี้หมายถึง รู้เฉพาะตน และผู้ที่รู้เทียบเท่าตนจะสามารถตรวจสอบและเข้าใจได้เช่นตน ดังนี้ หากพระอรหันต์รูปหนึ่งได้รับการทดสอบ แล้วกล่าวอะไรที่เป็นปัจตังขึ้นมา พระอรหันต์อีกรูปหนึ่งจะเข้าใจปัจตังนั้นได้ทันทีโดยง่าย แต่หากพระอรหันต์ที่ทดสอบ เห็นว่า "รู้คนเดียว ยึดคนเดียว เพี้ยนคนเดียว" เมื่อไร สิ่งนั้น ก็ไม่เรียกว่า "ความรู้เฉพาะตน" แต่เป็นเพียง "ความหลงเฉพาะตน" ดังนี้ ปัจตัง ต้องเป็นความรู้ ไม่ใช่ความหลง และเมื่อรู้ธรรม มีดวงตาเห็นธรรม ต้องไม่ลืมว่า "ธรรมนั้นเป็นสากล" ผู้ที่เข้าถึงธรรมแล้วทั้งหลายย่อมรู้ได้เหมือนกัน จึงไม่ได้แปลว่าปัจตังนั้น จะไม่มีใครรู้เหมือนเราเลย มีผู้รู้ปัจตังของเรา และตรวจสอบเราได้เสมอว่าเรารู้จริง โดยพระอรหันต์ด้วยกันซึ่งบรรลุธรรมระดับเดียวกันนั่นเอง ดังนี้ จึงเรียกว่า "ปัจตัง" ไม่ใช่ "อวิชชา" ซึ่งหลายท่าน ได้เกิด "อวิชชา" คือ "ความหลงเฉพาะตน หรือ หลงในตัวตนของตน หลงในความคิดตน" ขึ้น และอ้างว่า เป็นความรู้เฉพาะตน เป็นปัจตัง ทั้งนี้ขอให้เข้าใจด้วยว่า "ปัจตัง" นั้น "เป็นความรู้ ไม่ใช่ความหลง" และ "เป็นสากลที่ผู้บรรลุด้วยกันจะตรวจสอบได้" มิใช่ "ความหลงเฉพาะตนคนเดียว" แต่วิธีการอธิบายนั้น ตนย่อมเข้าใจด้วยตนเอง ใช้ภาษาในแบบของตนเอง จึงมี "เอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง" ฯลฯ... โมทนา..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2014
  2. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    "รู้คนเดียว ยึดคนเดียว เพี้ยนคนเดียว" "ความหลงเฉพาะตน"
     
  3. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    ใช่แล้ว ครับท่าน..โมทนา.
     
  4. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    ในวิชชาธรรมจักร เมื่อวนรอบจิตเข้าสู่ “จิตเดิมแท้” นั้น รอบแรกๆ ยังไม่เข้าถึงจิตเดิมแท้ หรือ “ภาวะจิตตกศูนย์” จึงไม่บรรลุธรรม จะผ่านด่านต่างๆ ก่อนเข้าสู่จิตเดิมแท้ คือ จิตที่บันทึก “อดีตชาติ” ไว้ในแต่ละชาติ ทำให้ผู้ฝึกธรรมจักรระลึกชาติได้มากเป็นลำดับ หากยังมีความ “ยินดี” ในชาติที่ระลึกได้นั้น เช่น บางชาติเป็นฤษีมีเวทย์มนต์ ก็จะยึดอยู่ ค้างอยู่ในชาตินั้น เดินวิชชาธรรมจักรเมื่อใด ก็จะแสดงอาการเหมือนฤษีทุกครั้งไม่จบไม่สิ้น ตราบเมื่อ “ละความยินดีในชาติภพ” หรือ บางชาติมีรอยแผลให้อดีต แล้วไปยึด “ไปยินร้าย” ในอดีตชาตินั้น เช่น เป็นทหารของพระเจ้าตาก แล้วเสียใจยึดไว้ในเรื่องราวนั้น ก็จะต้องทุกข์ใจไม่จบไม่สิ้น บางท่านมีอาการดิ้นทุรนทุราย เพราะระลึกได้ตอนถูกฆ่าตายพอดี ก็จะเจ็บปวดอย่างนั้น ทุกครั้งไป จนกว่าจิตจะยอมปล่อยคลายการยึดมั่นในชาตินั้นลงได้ ความเจ็บปวดจึงหายไป และเข้าสู่ชาติใหม่ที่ละเอียดขึ้นเป็นลำดับ เมื่อผู้ฝึกวิชชาธรรมจักร เข้าสู่ “จิตเดิมแท้” จะค้นพบว่า “จิตเดิมแท้คือพุทธะ” คือ มีการแสดงออกมาเป็นลักษณะแห่งพุทธะในรูปแบบต่างๆ ระดับนี้ จิตมีความละเอียดเทียบเท่า “ธรรมกาย” แล้ว คือ สูงสุดแห่งวิชชาในด้าน “สมถะ” แล้ว หากพิจารณา “ไตรลักษณ์” คือ อนิจจัง หรือ อนัตตา แห่ง จิตพุทธะนั้น ไม่ยึดว่าตนเองเป็นพุทธะ ตนเองเป็นอรหันต์ ตนเองและผู้อื่นหรือแม้นแต่มารก็มีจิตพุทธะนี้เหมือนกัน (เห็นอนัตตา คือ ความไม่ใช่ของตน คือ ความเป็นสากลของสรรพสิ่ง) จึงปล่อยวางคลายการยึดมั่นถือมั่นใดๆ เพราะจิตพุทธะนั้น ไม่มีกิเลสตัณหาใดๆ อยู่แล้ว หากพ้นไปเสียซึ่งการยึดมั่นในตนว่าตนเป็นพุทธะ เห็นว่าตนก็คือคนธรรมดา เช่นเดียวกับมารก็มีจิตพุทธะเหมือนกัน จนคลายการยึดว่า “ตนเป็นนั่นเป็นนี่” (อนาคามี) ก็บรรลุ “อรหันต์” ได้เช่นกัน นี่คือการบรรลุแนววิชชาธรรมจักร​
     
  5. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    ในวิชชา "มโนมยิทธิ" เป็นวิชชาทาง "สมถะกรรมฐาน" จำต้องใช้ "การพิจารณาสภาวธรรม อันเป็นหัวใจของ วิปัสสนา เข้าไปร่วมเมื่อภาวะจิตเข้าสู่สูงสุดของ "สมถะ" เช่นกัน ไม่เช่นนั้น ไม่อาจบรรลุธรรมได้ ในหลักการนำจิตไปสู่มิติอื่นๆ นั้น ขณะที่จิตรวมเป็นหนึ่งเดียวและกำลังออกจากมิติเดิม หรือที่เราเรียกกันว่า "ออกจากร่าง" (แต่จริงๆ แล้วไม่ได้ออกอย่างเด็ดขาดจริงๆ) เราไม่รู้สึกถึงร่างเดิมเราแล้ว รู้สึกได้ถึงมิติใหม่ ภพใหม่ เช่น ถอดกายทิพย์ไปสวรรค์ ก็รู้สึกเหมือนตัวเองอยู่สวรรค์แล้วจริงๆ ภาวะนี้ เทียบเท่ากับฌานสี่ ซึ่งไม่อาจบรรลุธรรมได้ ต้องเข้าใจก่อนว่า "จิตไม่ได้ถอดจากกายอย่างสิ้นเชิงจริงๆ" เพราะหากถอดออกไปสิ้นเชิง ก็คือ "ตาย" เท่านั้น จิตจะมีบางส่วนเชื่อมโยงกับร่างเดิมขณะถอดจิต ขอเรียกเป็นภาษาง่ายๆ ว่า "จิตหลัก" และ "จิตรอง" ในขณะถอดกายทิพย์นี้ จิตรองจะรับรู้ถึงมิติอื่น และจิตหลักจะดูแลร่างกายของเรา ในวิชชาสติปัฏฐานสี่ ได้พูดในเชิงปรัชญาว่า "จิตในจิต" นั่นคือ มีจิตสองดวง (แท้แล้วมีดวงเดียว) แต่หลวงปู่เทสก์ จะเรียกว่า "จิต" และ "ใจ" ขอให้เข้าใจว่า "ที่เราถอดกายทิพย์ไปนั้น ไปด้วย จิต (จิตรอง)" ส่วน "ใจ" (จิตหลัก) นั้น ยังคงดูแลร่างกายเราอยู่ เราจึงยังไม่ตาย ในการจะบรรลุธรรมได้ ต้องประสานการทำงานของ "จิตและใจ" เข้าด้วยกัน กล่าวคือ จิตจะเห็นไตรลักษณ์ โดยไม่มี "ใจ" ไม่ได้ หากเห็นไตรลักษณ์ขณะ "ถอดกายทิพย์" ออกจากร่าง คือ ไม่มี "ใจ" ร่วม จะตายทันที เรียกว่า "ดับขันธปรินิพพาน" นั่นเอง หรือ ที่เขาเรียกว่า "เทวดาบรรลุธรรม" คือ กายทิพย์เดิมจะสลายทันที หรือที่มารเรียกว่า "วิญญาณสลาย" นั่นแหละ (มารกลัววิญญาณสลายมาก) แต่สำหรับ "พวกกายทิพย์" แล้ว หากจะเลื่อนภพภูมิได้ "จำต้องสลายวิญญาณ" ก่อน คือ กายทิพย์เดิมสลายไป แล้ว "จุติใหม่ในภพภูมิที่สูงขึ้น" ดังนั้น บางท่านอาจเคยแผ่ส่วนบุญให้ "ผี" แล้วเห็นผีร่างกายสลายไปทันที จากนั้นก็กลายร่างเป็นเทวดา นั่นแหละ เขาได้เลื่อนไปจุติในภพภูมิใหม่ที่ดีขึ้นแล้ว หรือ หากเดินวิชชาธรรมกาย ก็จะเห็นกายที่ละเอียดลึกเข้าไปนั่นเอง คือ กายหยาบเก่า ทะลุเข้าสู่กายที่ละเอียดขึ้น ดีขึ้นกว่าเดิม
    ในวิชชา "มโนมยิทธิ" ไม่มีทางบรรลุธรรมได้ด้วยการ "ถอดกายทิพย์" เลย เพราะจิตและใจแยกขาดออกจากกัน เทียบได้กับภาวะ "ฌานสี่" นั่นเอง เป็นภาวะที่ "ใจ" หรือ จิตหลัก ไม่รู้ไม่เห็น ไม่แจ้งในไตรลักษณ์ด้วย ดังนั้น หากต้องการบรรลุธรรมด้วยวิชชา "มโนมยิทธิ" จำต้อง พิจารณา "ไตรลักษณ์" ช่วงขณะเสี้ยววินาที ที่ "กายทิพย์จะออกจากร่าง" คือ พิจารณาเห็นว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา แม้นกายทิพย์ก็ไม่ใช่ของเรา การพิจารณาเฉยๆ จิตไม่มี "สติตื่นเต็มที่" คือ ไม่อยู่ในภาวะ "สติตื่นเหมือนกำลังจะตาย" ก็จะไม่บรรลุ คือ ได้แต่ระลึกเฉยๆ ว่า ไม่ใช่ของเรา แต่จิตไม่ตื่นตัว จิตใจจึงไม่กลับเข้าประสานกัน ไม่ทำงานร่วมกันเต็มที่ ก็จะไม่บรรลุธรรม ดังนั้น วิชชามโนมยิทธิ จะบรรลุธรรม ในเสี้ยววินาที "จังหวะที่กายทิพย์ถอดออกแล้วกลับร่างเดิมฉับพลัน" ด้วย "สติตื่นเห็นอนิจจัง และอนัตตา นั่นเอง เช่น ถอดออกแล้ว ตกใจ เห็นว่าตนจะตาย วิญญาณออกจากร่างแล้ว จิตรองหรือกายทิพย์ก็รีบกลับประสานเข้าร่างเดิม จิตและใจประสานกันอีกครั้ง เมื่อเห็นว่า "สุดท้ายตนก็ตาย ใดๆ ในโลกจะอยาก จะยึดเอาไว้ทำไมอีกเล่า" ก็จะบรรลุธรรมด้วย "มโนมยิทธิ" ทันที เรียกว่า ผ่านด่าน "มัจจุราชมาร" คือ "ความกลัวตาย อาลัยชีวิต" หรือการ "ตายก่อนตาย" จึงมีดวงตาเห็นธรรม... ​
     
  6. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    ในวิชชา "ฌาน" การบรรลุธรรม อยู่ในเสี้ยววินาทีที่จิตเลื่อนจากฌานสามเข้าสู่ ฌานสี่ หรือฌานสี่ออกสู่ฌานสาม เท่านั้น ไม่สามารถบรรลุใน "ขณะเข้าฌานสี่ได้" การเข้าฌาน คือ ภาวะเทียบเท่า "ภูมิพรหม" ไม่ใช่ภาวะนิพพาน ดังนั้น เมื่อเข้าฌานใดก็ตาม เป็นเพียงการยึดติดรสชาติของภพๆ หนึ่งเท่านั้นเอง เทียบได้กับคนที่ถอดกายทิพย์แล้วหลงเพลินความสุขบนสวรรค์ ไม่อาจบรรลุธรรมได้ จะบรรลุได้ จิตต้องไม่เข้าสู่ความเป็น "ภพชาติ" ใดๆ ไม่ใช่ "สวรรค์" ไม่ใช่ "พรหม" ไม่มีภพชาติ คือ จิต ต้องไม่บรรลุใน "องค์ฌาน" แต่เป็นการ "บรรลุระหว่างองค์ฌานสามและสี่" เท่านั้น จึงจะได้นิพพาน

    สำหรับสายวิปัสสนา การบรรลุธรรมเป็นแบบ "ปัญญาวิมุติ" อย่างเดียว อาศัยจังหวะที่จิตมีสมาธิมีสติสูงมาก เหมือนคนอ่านหนังสือแล้วคิดอะไรได้ทันควัน เหมือนสะดุ้งเฮือก ได้สติ เห็นธรรม แล้วคลายวางทุกอย่าง
    หากไม่มีภาวะ "สติสูงสุดเหมือนสะดุ้งเฮือก หรือ ปิ๊งแว้บ" ก็ไม่อาจบรรลุธรรม กล่าวคือ ต้องมีอาการทางจิตให้สังเกตได้บางประการก่อน บางท่านอาจเกิดอาการเป๋ แล้วเคว้งคว้างก่อนเพราะหลักที่ยึดไว้เดิมถูกทำลาย จากนั้นพอทรงจิตได้ภายหลัง รับสภาวธรรมแท้ นิพพานจึงชัดเจน มั่นใจได้ว่าถึงฝั่งพระนิพพานแล้วนั่นเอง
     
  7. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    สรุปภาวะ "ก้าวลงสู่ความว่าง" หรือ "จิตตกศูนย์" ก่อนบรรลุธรรม
    หากจิตไม่ตกศูนย์ หรือไม่ก้าวลงสู่ความว่าง จะไม่อาจบรรลุได้ จิตจะต้องเห็นสภาวะเดิมปรากฏชัด จากนั้นก็เห็นสภาวะเดิมนั้นโดย"ว่างไปอย่างเห็นได้ชัด" ไม่ใช่คลุมเครือ หรือคิดนึกเอา เป็นการรับรู้ด้วยความเข้าใจหรือการเห็นสภาวะนั้นๆ อย่างชัดเจนจนกระทั่ง "สติ" ตื่นตัวขึ้นมาสูงสุดในฉับพลัน เหมือนการจุดประกายไฟ แล้วกำลังสมาธิมั่นคง นิ่งอยู่ ดูอยู่ เมื่อเห็นสภาวะเดิมว่างไป อย่างนั้น คลายการยึดมั่นทั้งหมดแล้ว จิตก็จะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของสรรพสิ่งได้ จึงเข้าสู่การบรรลุธรรม ดังนั้น ภาวะทางจิตนี้เอง จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการบรรลุธรรม หากจิตไม่มีอาการ หรือสภาวะเช่นนี้ บุคคลผู้ศึกษาไตรปิฎกอาจคิดไปเองว่าตนเองบรรลุแล้ว เพราะนึกเอา, คิดเอา, อ่านเอา ทำความเข้าใจเอาในหลักการในพระไตรปิฎก หากเป็นสายอภิญญาได้เห็นไตรลักษณ์เพียงน้อยก็บรรลุได้ หากเป็นสายปัญญา จะต้องคัดค้านและไม่เชื่อในพระไตรปิฎกก่อน จนตระหนักรู้ว่าตนโง่ เห็นความว่างไปของ "ความโง่เขลา" ของตน ก็บรรลุได้ แต่หากไม่เห็นสภาวะความว่างไปของ "สิ่งที่ยึดมั่น" จากจิต ก็เปลี่ยนเสมือนดวงจันทร์ถูกเมฆบดบัง ไม่เห็นสภาวะเมฆถูกสลายไป เพราะเมฆยังบดบังอยู่ ดังนั้น แสงสว่างแห่งปัญญาย่อมไม่สว่างไสวได้
    ซึ่งการจะบรรลุได้ จึงต้องเห็นสภาวะการสลายไปของ "สิ่งที่บดบัง" ก่อน เมื่อเห็นความว่างไป สลายไปของสิ่งที่บดบังแล้ว จึงเห็นแสงสว่างแห่งปัญญาได้อย่างแท้จริง ซึ่งบางครั้ง สิ่งที่บดบังหายไปนานระยะหนึ่ง แล้วค่อยเกิดปัญญามาอธิบายสภาวธรรมได้ในภายหลังก็มี ดังนั้น บางท่านจึงไม่ทันสังเกต "ภาวะจิตตกศูนย์" หรือ "การก้าวลงสู่ความว่าง" หรือ "การสูญไปของสิ่งที่บดบัง" นี้ กล่าวคือ จิตต้องมีอาการก้าวลง หรือ ตก ไปสู่ความว่างก่อน แสงปัญญาแห่งธรรม จึงปรากฏได้ ซึ่งเป็นแสงแห่งธรรมภายในตนเอง ไม่ใช่ธรรมะที่ไปอ่านจำนึกคิดมาจากที่ใดเลย โมทนา...
     
  8. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214

    สภาวะนี้เกิดในจิตเองเลยหรือเปล่าครับ ถ้าใช่ก็อนุโมทนาด้วยนะครับ
    จิตตกเป็นศูนย์ ก็คือจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลางไม่ปรุงแต่ง จิตสภาวะนี้พร้อมจะเห็นสภาพไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้นจริง ต่างจากการคิดพิจารณา.. ซึ่งขณะจิตก่อนหน้านี้จะพิจารณาอะไรก็ตาม แต่เมื่อขณะบรรลุธรรมจะพ้นจากความคิด และตั้งมั่น จิตจะ"เห็น" ซึ่งเป็นกิริยาอย่างนี้จริงๆ คือปราศจากความคิด เป็นการเห็น... เป็นเห็นแจ้ง จากภายในจิต ที่เป็นว่าขันธ์ทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน เมื่อเห็นแจ้งภายในจิตที่เห็นขันธ์5 อยู่ภายใต้กฏไตรลักษณ์ จิตจะสรุปเองเกิดปัญญา หรือเรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม ที่กล่าวว่าพระโสดาบัน คือผู้มีดวงตาเห็นธรรม ก็คือเห็นอย่างนี้... ขณะบรรลุธรรม เมื่อเห็นแจ้งภายในจิตจะเห็นความว่างเปล่าไร้ตัวตนเสร็จแล้ว ขณะจิตถัดมาจะกลับสู่สภาวะรู้เห็นธรรมชาติภายนอก คือ ทุกสรรพสิ่ง คน สัตว์ หมา แมว บ้าน รถยนต์ โลกจักวาล ของทุกอย่าง มีสภาพทุกข์ เกิด-แล้วสลายไปทุกสิ่ง จะเกิดสลดสังเวชใจ "ว่าทำไมเมื่อก่อนเราโง่คิดว่ามีเราเป็นตัวตน" สภาวะจิตตรงนี้ละสักกายทิฐิเรียบร้อยแล้ว การที่จิตบรรลุธรรม เข้าไปเห็นแจ้งสภาวะอย่างนี้ ถอนอนุสัยที่มันนอนเนื่องเป็นสันดารนับภพนับชาติไม่ได้ ที่เห็นว่าเราเป็นตัวตน ไม่ว่าจะเคยเกิดมาเป็น เทวดา นางฟ้า พรหม เปรต หรือสัตว์นรก เกิดกี่ครั้งเป็นอะไรก็ตาม ก็เห็นว่าเป็นตัวเรา เรามารับผล คือ ความสุขที่ได้เกิดในสุขคติ หรือความทุกข์สาหัสที่ได้เกิดในทุกคติ ก็คิดว่าเราเป็น เรารับผล เราทำมาเอง ... แต่เมื่อบรรลุธรรม มันถอนอนุสัยตัวนี้ออกไปจากจิตเลย เพราะการได้เห็นแจ้ง ในความไม่มีตัวตนในขณะบรรลุธรรมนั่นเอง
     
  9. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    ปริศนาธรรม ** เหนือความคิดยังมีใจ เหนือใจยังมีจิต เหนือจิตนี้ยังมีสิ่งใด.....**
    โมทนา... ​
     
  10. Jan2014

    Jan2014 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2014
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +143
    มีความยึดมั่นถือมั่นว่ามันเป็นจิตงัย
     
  11. ผู้ตามธรรม

    ผู้ตามธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +33
    กายสังขารดับ จิตวิญญาณดับ นิพพานดับ
     
  12. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    ปริศนาธรรม เหนือ"อัตตา"ยังมี...
    "อนัตตา" แล้ว"เหนืออนัตตา"ยังมีสิ่งใด ...?
    โมทนา..
     
  13. ผู้ตามธรรม

    ผู้ตามธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +33
    เหนืออนัตตาคือมหาสุญญตาหรือพระนิพพาน...
     
  14. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    วันทั้งวันของวันนั้น ท่านจะรู้สึกจิตแจ่มใสเบิกบาน เป็นวันพิเศษจริงๆ
    ไม่รู้ไปเอาความเพียรมาจากไหน นักหนาทำความเพียรภาวนาราวกับรู้ว่ากิเลสกำลังจะสิ้นไปไม่ง่วงหงาวหาวนอน หลับพักผ่อนในสมาธิ มีนิมิตดีๆ เกิดขึ้นจน

    เห็นหมายสำคัญเฉพาะตน ออกจากฌาน อารมณ์ดี ไม่โกรธใครทั้งวัน เยือก

    เย็นมีสติได้พบพระอริยสงฆ์ องค์ที่มีชีวิตอยู่มาร่วมยินดี ภาวะก่อนการบรรลุธรรม

    ในธรรมวิมุตหลุดพ้น สำหรับพระอริยสงฆ์พระองค์นั้น เราก็แค่เด็กน้อย
    นึกย้อนไปในอดีตในคราวที่บรรลุธรรมใหม่ ๆ พระอริยสงฆ์พระองค์นั้น บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ไปแล้วเราในเวลานั้น แค่พระโสดาบันเอกพิชี
     
  15. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    ท่านDR-NOTH ที่บรรยายธรรมว่ส สำหรับสายวิปัสสนา การบรรลุธรรมเป็นแบบ ปัญญาวิมุติ อย่างเดียว หากไม่มีภาวะ สติสูงสุดเหมือนสะดุ้ง เฮือกหรือปิ้งหลับ ก็ไม่อาจบรรลุธรรม ในส่วนตัวคิดว่า สายพระป่าไม่เคยสอนเช่นนั้นครับ ส่วนใหญ่จะบอกว่า ใจหรือเกี่ยวกับใจครับ โดยจะอบรมกันมาว่า ใจแท้ คือความถึงซึ่สภาวะความเป็นกลางในสิ่งสารพัดทั้งปวง นักปฏิบัติผู้ใดทำใจให้ถึงความเป็นกลางได้ นักปฏิบัติผู้นั้นจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวงครับ ขอให้เจริญในธรรม
     
  16. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    จิตที่สงบตั้งมั่นดีแล้วย่อมเกิดปัญญารู้สภาวะธรรมอย่างไม่มีอะไรต้องสงสัยอีก
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    เพราะยึดในสภาวะต่างๆ นี่เองหนอ ผลของการปฏิบัติจึงไม่ก้าวไปข้างหน้า

    สภาวะก็คือสภาวะ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป

    ยึดไว้เพื่อจะให้เหมือนเดิมก็คงเป็นไปไม่ได้ ธรรมทั้งปวงจึงเป็นอนัตตา
     
  18. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    .....จิตเดิมแท้ไม่มีหรอกครับ ฟันธง

    .....จิตก็คือจิต เกิดแล้วก็ดับ เป็นมโณวิญญาณ นั้นแหละ อยู่่ในขันธ์ห้า
    .....จิต เจตสิก รูป นิพพาน รวมเป็นตัวเรานี้แหละ
    ....จิต เจตสิค รูป เป็น สังขตธรรม นิพพานธาตุ เป็นอสังขตธรรม ทั้งสองเชื่อมกันด้วยกิเลสสังโยชน์
    ....พระอรหันต์ตัดกิเลสสังโยชน์ทิ้งก็เหลือแต่นิพพานธาตุ
    ....จิตนี้ประภัสสร กิเลสจรมาจรึงเศร้าหมอง คำกล่าวนี้ ถูกต้อง ไม่มีคำว่าจิตเดิมแท้ ท่านอุปมาจิตเหมือนไฟ เมื่อมีเชื้อ ก็ลุกอยู่ถ้าสิ้นเชื้อ ก็ดับ เชื้อก็กิเลสสังโยชน์นั้นเอง
    ....การบรรลุธรรมก็คือการตรัสรู้ธรรม แปลเป็นไทย ก็คือการเห็นด้วยญาณ ตามความเป็นจริงว่า ขันธ์ห้าเป็นลักษณะไตรลักษณ์ หรืออย่างไดอย่างหนึ่ง
    ....การบรรลุธรรมต้องมีส่วนประกอบคือ จิต ที่เป็นมรรคจิต ร่วมกับตัวญาณ
    ....มีแต่จิต หรือมีแต่ญาณก็เกิดการตรัสรู้ไม่ได้ ตรัสรู้ครั้งแรกก็เป็นพระโสดา ตัด กิเลสได้บางส่วนเช่น ตัดโทสะได้หมดเลยสองดวง ตัดโมหะได้หนึ่งเหลืออีกหนึ่งจึงได้มาเกิดอีก ตัดโลภะได้ เป็นบางส่วน

    ....ผมว่านะ ถ้าเราทำสติปัฏฐานกันจริงๆ เอาตัวสัมปชัญญะ ดูการเปลี่ยนแปลงของ จิต เจตสิค รูป ไปเรื่อยๆ ก็น่าจะ ได้สักวันน่า
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อย่างนี้คงคุยกันยาวเลยค่ะ คงต้องแยกเรื่องจิตกับกิริยาจิตออกจากกันนะคะ
    ที่ว่าจิตเกิดดับ นั้นคือ กิริยาจิตค่ะ
    สมมติกันขึ้นมาเพื่อให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน
    กลายเป็นว่าเอาสมมุติมาเถียงกันซะแล้ว
     
  20. Prasit5000

    Prasit5000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    301
    ค่าพลัง:
    +228
    .....ขอยกพุทธพจน์มาอธิบายว่า จิตมีการเกิดดับ ตลอดเวลา

    [๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่าง
    กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ
    เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย
    อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี
    บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง
    ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุม
    แห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่ง
    เกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและในกลางวัน ฯ

    .....ดับก็คือดวงนั้นหมดไปเลย ดวงใหม่ก็ไม่ใช่ดวงเดิม เพียงแต่ได้สืบต่อ จากดวงก่อน จิตดวงก่อนโกรธ จิตดวงต่อมาไม่โกรธก็ได้แต่ก็เป็นจิตดวงใหม่ การสืบต่อก็จะมีระหัสบุญบาป พ่วงต่อมาด้วย
    .....ถ้าจิตเป็นวัตถุที่ คงที่ แล้วแปรเปลียนไปตามกิริยา แล้วทำไมจิตพระอรหันต์เมื่อท่านสิ้นชีวิตแล้วจิตดวงสุดท้ายดับแล้วดับเลยไม่เหลือต่อ
    .....นิพพานธาตุของพระอรหันต์ต่างหากทีคงเหลือต่อ เป็นอมตะ นิรันดร์
     

แชร์หน้านี้

Loading...