สมถกรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย phuang, 21 กุมภาพันธ์ 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    <CENTER><DT>[size=+2]สมถกรรมฐาน[/size]</CENTER><CENTER><DT>(คัดมาจากหนังสือ ปรมัตถโชติกะ สมถกรรมฐานทีปนี ในปริเฉทที่ 9 </CENTER><CENTER><DT>ของพระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ รวบรวมโดย พระมหาถวัลย์ ญานจารี ป.ธ.9 อภิธรรมบัณฑิต สำนักวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร) <HR width="100%"></CENTER>[size=+1]กรรมฐาน 40 วิธี[/size]
    </DT>

    <DD>พระกรรมฐานที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในพระอภิธรรมปิฎกนั้น ได้บอกไว้ถึง 40 วิธี อันเป็นหนทาง เพื่อมรรคผล นิพพาน เป็นบั้นปลาย โดยพระองค์ได้ตรัสบอกรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ให้แก่มนุษย์ชนทั้งหลายได้เลือกเอาพระกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแนว ตามจริตของตน โดยความละเอียดในพระกรรมฐานขอยกมาเพียงแต่กรรมฐานกสิณ 10 <DD>กรรมฐาน 40 วิธที่พระพุทธองค์ทรงตรัสนั้น ได้แก่ กสิณ 10, อสุภ 10, อนุสติ 10, <DT>อัปปมัญญา 4, สัญญา 1, ววัตถาน 1, อารุปป 4 [size=+1]แสดงจริต 6[/size]
    <DD>พึงทราบการรวบรวมจริต โดยมี 6 อย่าง ดังนี้ คือ ราคจริต, โทสจริต, โมหจริต, สัทธาจริต, พุทธิจริต, วิตกจรติ <DD>จริต หมายถึง ความประพฤติ, พื้นนิสัย หรือพื้นเพแห่งจิตของคนทั้งหลาย <DT>ที่หนักไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างกันไปคือ
      • ราคจริต คือ ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางรักสวยรักงาม มักติดใจ)
      • โทสจริต คือ ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางใจร้อน ขี้หงุดหงิด)
      • โมหจริต คือ ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางเหงาซืม งมงาย)
      • สัทธาจริต คือ ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางน้อมใจเชื่อ)
      • พุทธิจริต คือ ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดพิจารณา)
      • วิตกจริต คือ ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ (หนักไปทางคิดจับจดฟุ้งซ่าน)
    [size=+1]กสิณ 10[/size]
    <DD>อนึ่ง ขอยกตัวอย่าง กสิณ 10 เป็นต้น ได้แก่ ปถวีกสิณ, อาโปกสิณ, เตโชกสิณ, วาโยกสิณ, นีลกสิณ, ปีตกสิณ, โลหิตกสิณ, โอทาตกสิณ, อากาสกสิณ, อาโลกกสิณ ความละเอียดดังนี้ <DD>1. ปถวีกสิณ ดินที่พึงกระทำให้เป็นวงกลม นั้นแหละชื่อว่า กสิณ <DD>2. อาโปกสิณ น้ำที่มีความใสสะอาดปราศจากสี นั้นแหละชื่อว่า กสิณ <DD>3. เตโชกสิณ เปลวไฟที่กองกูณฑ์ไว้แล้ว นั้นแหละชื่อว่า กสิณ <DD>4. วาโยกสิณ ลมที่พึงกำหนดเห็นได้ด้วยอาศัยยอดไม้ ปลายไม้ไหว หรือที่พึงกำหนดได้ด้วยอาศัย การพัดมาถูกกายของตน นั้นแหละชื่อว่า กสิณ <DD>5. นีลกสิณ สีเขียวที่ปรากฏในใบไม้หรือในผ้า เป็นต้น นั้นแหละชื่อว่า กสิณ <DD>6. ปีตกสิณ สีเหลือที่ปรากฏในดอกไม้ หรือในผ้าเป็นต้น นั้นแหละชื่อว่า กสิณ <DD>7. โลหิตกสิณ สีแดงที่ปรากฏในดอกไม้ หรือในผ้าเป็นต้น นั้นแหละชื่อว่า กสิณ <DD>8. โอทาตกสิณ สีขาวที่ปรากฏในดอกไม้ หรือในผ้าเป็นต้น นั้นแหละชื่อว่า กสิณ <DD>9. อากาสกสิณ อากาศที่พึงกำหนดได้โดยการตัดช่องฝา หรือผ้าเป็นต้น นั้นแหละชื่อว่า กสิณ <DD>10. อาโลกกสิณ แสงสว่างของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงไฟ เป็นต้น นั้นแหละชื่อว่า กสิณ... ตามที่ กล่าวมานี้ ได้ชื่อว่า กสิณ 10 [size=+1]กรรมฐานที่ให้ได้อภิญญา[/size]
    <DD>ในบรรดากรรมฐานทั้งหมด การเจริญกสิณ 10 เท่านั้นที่จะให้ได้อภิญญา <DT>สมาธิในรูปปัญจมฌานที่เกิดจากการเจริญกสิณ 10 นั้น มีกำลังแรงกล้ายิ่งกว่ากรรมฐานอีก 16 อย่างที่เหลือ [size=+1]โลกียอภิญญา 5[/size]
    <DD>อันด้วยผลแห่งการฝึกกสิณนี้ จักบังเกิดฤทธิ์อำนาจอภิญญาในระดับลกียอภิญญา 5 นั่นคือ อิทธิวิธอภิญญา, ทิพพโสตอภิญญา, ปรจิตตวิชานนอภิญญา, ปุพเพนิวาสานุสติอภิญญา, ทิพพจักขุอภิญญา แสดงความโดยละเอียด นั่นคือ <DD>1. อิทธิวธอภิญญา หมายถึง อภิญญาที่เกี่ยวกับการแสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ <DD>2. ทิพพโสตอภิญญา หมายถึง อภิญญาที่เกี่ยวกับหูทิพย์ <DD>3. ปรจิตตวิชานนอภิญญา หมายถึง อภิญญาที่เกี่ยวกับการรู้จิตใจของผู้อื่น <DD>4. ปุพเพนิวาสานุสสติอภิญญา หมายถึง อภิญญาที่เกี่ยวกับการระลึกชาติได้ <DD>5. ทิพพจักขุอภิญญา หมายถึง อภิญญาที่เกี่ยวกับตาทิพย์ <DD>กสิณ 10 นั้น เป็นกรรมฐานที่ทำให้ได้ฌานได้เร็วกว่ากรรมฐานอื่น ๆ ทั้งนี้ก็เพราะว่าการเพ่งกสิณ นั้นอคคหนิมิตและอุปจารสมาธิเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่ออุคคหนิมิต และอุปจารสมาธิเกิดง่าย การได้ฌานก็เร็ว ดังนี้ [size=+1]อำนาจแห่งกสิณ [/size]
    <DD>อำนาจแห่งกสิณนั้นย่อมทำให้เกิดฤทธิ์ต่าง ๆ ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัส ขอยกมาแสดงความโดยย่อดังนี้
      • สามารถเนรมิตคน ๆ เดียวให้เป็นหลายร้อยคนพันคนได้
      • ทำสิ่งเบาให้เป็นสิ่งหนักได้
      • ทำท้องอากาศ แม่น้ำ มหาสมุทรให้เป็นพื้นแผ่นดิน
      • สามารถเดิน ยืน นั่ง นอนได้
      • สามารถทำให้วัตถุตั้งมั่นติดแน่นอยู่ มิให้โยกย้ายเคลื่อนที่ไปได้
      • สามารถทำให้ฝนตกได้
      • สามารถทำให้พื้นแผ่นดินเป็นแม่น้ำและมหาสมุทรได้
      • ทำให้ภูเขาปราสาท วิมาน สะเทือนหวั่นไหว
      • สามารถใช้ไฟที่เกิดจากฤทธิ์ของตนดับไฟที่เกิดจากฤทธ์ของผู้อื่นให้ดับลงได้
      • สามารถเหาะได้ สามารถไปถึงสถานที่ ๆ ตนต้องการจะไปได้อย่างรวดเร็ว
      • สามารถทำให้สิ่งที่หนักให้เบาได้
      • สามารถทำเหล็ก ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น ให้เป็นแก้วมรกตได้ สามารถทำเหล็ก ทองเหลือง ทอง-แดง เป็นต้นให้เป็นทองได้
      • ได้สุภวิโมกข์ คือ บรรลุ มรรค ผล นิพพานโดยง่ายและสะดวกสบาย
      • สามารถทำให้มีอากาศเป็นอุโมงค์ช่องว่างเกิดขึ้นภายในพ้นแผ่นดิน ภูเขา มหาสมุทร แล้วยืน เดิน นั่น นอนได้ สามารถเข้าออกทางฝาก หรือกำแพงได้ สิ่งต่าง ๆ ที่ยกมากล่าวนั้นเป็นอำนาจของกสิณโดยเฉพาะ
    <DD>อำนาจแห่งผู้ที่ฝึกปฏิบัติกสิณ 10 นั้น สามารถทำการกำบังสิ่งต่าง ๆ ไว้มิให้ผู้ใดแลเห็นได้ สามารถทำวัตถุสิ่งของที่เล็กให้กลับเป็นใหญ่ หรือที่ใหญ่ให้กลับเป็นเล็ก สามารถทำระยะทางใกล้ให้เป็นไกล และย่นหนทางที่ไกล ให้กลับเป็นใกล้ได้ ดังนี้แล อำนาจแห่งกสิณที่ยกมากล่าวนี้ เป็นผลส่วนหนึ่งของการฝึกอำนาจกสิณ ตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ในพระอภิธรรมปิฎก <DD>ผลแห่งการฝึกกรรมฐานแนวกสิณปฏิบัตินี้ บังเกิดผลขึ้นตามที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ และเป็นทางหนึ่งที่นำไปสู่ฤทธิ์อำนาจอภิญญา แต่การอภิญญาในขั้นโลกียอภิญญานี้ ไม่สามารถหลุดพ้นทุกข์ได้ จักต้องเจริญวิปัสนากรรมฐาน พิจารณาความเป็นไปแห่งอารมณ์ และหลุดพ้นจิตใจกาย กายในธรรม สุดท้ายย่อมดับไปสิ้นแล ... [size=+1]วิธีฝึกกรรมฐาน แนววิธี กสิณ 10[/size]
    <DD>กราบระลึกถึง พระพุทธเจ้า <DD>กราบระลึกถึง พระธรรม <DD>กราบระลึกถึง พระสงฆ์ <DD>กราบระลึกถึง คุณพ่อ คุณแม่ (ทุกภพทุกชาติ) <DD>กราบระลึกถึง ครูอาจารย์ (ทุกภพทุกชาติ - ผู้ชายให้ กราบครูอุปัชฌาย์ด้วย) <DD>นั่งหลับตา ทำจิตให้สงบ เพ่งตรงฝ่าความมืดไกลออกไปข้างหน้า ปฏิบัติรอบละ 20 นาทีแล้วพัก <DT>(ถ้าหากปวดเมื่อย สามารถเปลี่ยนท่านั่งได้) </DT>
     
  2. ไห่เฉากุหลาบไฟ

    ไห่เฉากุหลาบไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    897
    ค่าพลัง:
    +2,177

แชร์หน้านี้

Loading...