สมถะ+วิปัสนา..ทำไมถึงไม่ทำสมถะไปจนถึงอรูปฯ ก่อนแล้วค่อยวิปัสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย lab555, 23 พฤศจิกายน 2008.

  1. lab555

    lab555 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +12
    หรือเพราะว่า ผ่านรูปฯ เป็นจุดที่เหมาะสม สำหรับการวิปัสนา..
    หรือเพราะว่า พอถึงอรูปฯ จะตัดทุกอย่าง จนวิปัสนาไม่ได้
    หรืออย่างไร ครับ
     
  2. Jeerachai_BK

    Jeerachai_BK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    318
    ค่าพลัง:
    +821
    จากบทความเกี่ยวกับกรรมฐานซึ่งมีอยู่ ๔๐ วิธี มันสามารถถูกแบ่งเป็น ๔ หมวดใหญ่ๆ แม้ว่าผลสุดท้ายของการปฏิบัติคือการมีสมาธิแบบเอกัคตาจนถึงการหลุดพ้นจากกิเลส (หรือวิปัสสนาญานหรือนิพพาน) ก็ตาม ทั้งสี่หมวดจะให้ฌานและองค์ความรู้ที่แตกต่างกัน (รายละเอียดปรากฏในหน้าเว็ป http://www.palungjit.org/smati/k40/index.htm)

    อนึ่ง หากท่านผู้ปฏิบัติต้องการเพียงแค่เจริญวิปัสสนา ท่านสามารถอาศัยอุปจารสมาธิ (คือสมาธิเฉียดๆ ที่ใกล้จะได้ฌาน แต่ยังไม่แนบแน่นหรือยังไม่มีเอกัคตา) แล้วพิจารณาธรรม เช่น อสุภนิมิต (หรือกายานุปัสสนา ในสติปัฏฐานสูตร ซึ่งเหมาะสำหรับบุคคลที่มีราคะจริต) ขณะใคร่ครวญหรือนึกถึงธรรมอันนั้น ท่านผู้ปฏิบัติสามารถเจริญสมาธิต่อไปจนถึงอัปปนาสมาธิ (อย่าลืม! สมาธิคือความตั้งมั่น ภายหลังที่ท่านพิจารณาลมหายใจจนได้อุปจารสมาธิแล้ว ท่านจะต้องเปลี่ยนการภาวนา เช่น พุทโธ ไปเป็นการพิจารณาธรรม ท่านก็จะตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันนั้น) สิ่งเหล่านี้ถูกบรรยายในหมวด "อัชฌาสัยสุกขวิปัสสโก" ภายหลังที่ท่านผู้ปฏิบัติพิจารณาธรรมข้อใดข้อหนึ่งจนเชี่ยวชาญแล้ว ท่านสามารถพิจารณาธรรมข้ออื่นๆ ต่อไป (อย่าลืมอีกครั้ง! อัปปนาสมาธิคือสมาธที่แนบแน่น ไม่หวั่นไหว และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ดังนั้นจะมีเพียงธรรมเพียงข้อเดียวที่ถูกพิจารณา แต่ข้อเดียวนี้อาจจะมีส่วนประกอบย่อยๆ ลงไป เช่น หากพิจารณาความไม่งามในกาย (อสุภนิมิต) สิ่งนี้จะประกอบด้วยทวารทั้ง ๖ เป็นต้น ในทางโลก อาจกล่าวได้ว่า เป็นการคิดและพิจารณาอย่างเป็นระบบ (System Thinking))

    ทั้งหมดที่ถูกกล่าวข้างต้นนี้ ท่านผู้ปฏิบัติจะอาศัยเพียงปฐมฌาน โดยเริ่มต้นจากการพิจารณาลมหายใจ (ซึ่งถูกเรียกว่า อานาปานสติ)

    สุดท้าย การเจริญวิปัสสนายังคงต้องอาศัยสมถสมาธิในฐานะที่เป็นกำลังตั้งต้น หากขาดสมถสมาธิแล้วไซร้ นิวรณ์ (หรือกิเลสอย่างกลาง) จะเข้ามาและทำให้จิตใจของท่าน ร้อนรน ไม่ผ่องใส เป็นผลให้ท่านไม่สามารถเจริญวิปัสสนาต่อไปได้

    หมายเหตุ
    - การรักษาศีล (อย่างจริงจัง) เป็นกิจอันดับต้นที่ต้องกระทำ เพื่อกำจัดกิเลสอย่างหยาบ
    - การทำสมาธิโดยพิจารณาลมหายใจ (หรืออานาปานสติ) นี้เป็นรูปฌานอย่างหนึ่ง ซึ่งถูกแนะนำในวิสุทธิมรรค (รายละเอียดถูกพรรณนาที่ http://th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค) และเหมาะสมกับทุกบุคคล นอกจากนี้สิ่งนี้ถูกใช้ในฐานะเครื่องมือในการกำจัดกิเลสอย่างกลาง (หรือนิวรณ์)
    - การเจริญวิปัสสนาเป็นการปฏิบัติให้เกิดปัญญาที่จะรู้สภาพความเป็นจริงของชีวิต และเป็นเหตุให้กิเลสอย่างละเอียด ดับลง
    - หากเนื้อหาไม่ถูกต้องประการใด ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย ^_^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2008
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    เพราะ วิปัสสนา นั้นจะเทียบได้กับ อรุปฌาณ ครับ เพราะมันเป็นการตามดูอารมณ์
    ที่ปรุงแต่งที่เนื่องมาจาก นาม เน้นที่ส่วน นาม ( อันได้จาก รูปกาย รูปเจตสิก )

    ดังนั้น การที่วิปัสสนาล้วนๆ ย่อมนำไปสู่ อรูปฌาณได้ โดยลำดับที่ อากาสาฯ เป็นต้นไป

    คำว่าแห้งแล้ง ก็คือ ต้องตะลุมบอนกับกิเลส นิวรณ์ ลงไปแบบเผชิญหน้า
    Face To Face ดังนั้น คำว่าแห้งแล้ง จึงไม่ใช่เรื่องของความขาดแคลน แต่เป็นเรื่อง
    ของความกล้าในอีกแบบหนึ่ง ถ้ากล้าหาญ(ทางปัญญา)ไม่พอ ก็ต้องทำสมถะเพื่อกด
    ข่มนิวรณ์ลงก่อน

    อนึ่ง การที่ทำการวิปัสสนาล้วนลงไป กิเลสจะเต็มหัวเต็มหู ลุยดะลงไป ต้องไม่มอง
    ไปว่า ลงไปลุยดะชนิดเอากาย เอาวจีเขาทำนะครับ การวิปัสสนานั้นเป็นเรื่องของ
    การเห็น จึงเป็นเรื่องของการเอาใจเข้าเผชิญกิเลส เห็นกิเลส ซึ่งอย่างมากก็จะเกิด
    กรรมทางมโนสังขาร แต่เพราะกรรมเกิดเฉพาะที่มโนสังขาร หากเราปิดไม่ให้ล้น
    ออกมาทางกายาสังขาร วจีสังขาร ก็เท่ากับการมี อธิศีล อินทรีย์สังวรณ์ ซึ่งเป็น
    ลำดับของ ศีล ที่เลิศกว่าการอราถนา ศีลขี้ขอ ศีลที่ถือเพียงประเดียวประด๋าว

    และเพราะว่า รักษาศีลได้ที่มโนทวาร จึงเรียกว่า สุขาปฏิปทา หรือ สุขวิปัสสโก
    เนื่องจาก กายกรรมอันเลว วจีกรรมอันเลว ไม่ปรากฏออกมาให้เป็นทุกขาปฏิปทา

    * * * *
    ถามว่า หากเจริญ วิปัสสนา สลับ กับ สมถะ ดีอย่างไร ก็อย่างที่ทราบว่า วิปัสสนา นั้น
    จะช่วยตัดกิเลศชนิดปหานนะ ไม่ใช่แค่กดข่มเอาไว้ จึงควรเจริญสลับกัน ตรงนี้สำนัก
    หลวงปู่มั่นท่านพิจารณาใช้ และจะต่อว่าทันทีหากผู้ใดทำแต่สมถะอย่างเดียว อย่างเช่น
    หลวงตามหาบัว นี้ก็โดนหลวงปู่มั่นเอ็ดเอา เพราะทำแต่สมถะอย่างเดียว

    คนที่ปฏิบัติธรรม โดยทำสลับ วิปัสสนา กับ สมถะ จะชื่อว่า ได้เจริญภาวนาด้วยปัญญา
    อันยิ่ง หมายถึงฉลาดในการมีกุศโลบายในการรู้ทุกข์

    ที่นี้ ประเด็นอยู่ที่คำว่า สติ เพราะวิปัสสนานั้น คือการทำสติปัฏฐาน แต่ก้พบว่า
    เรื่องสมถะนั้นก็มีคำว่า สติ เหมือนกัน เราจึงควรเล็งเห็นว่า คำว่า สติ ที่อยู่ในการปฏิบัติ
    ของสมถะกรรมฐาน ต้องเป็นคนละตัวกับ สติ ที่ได้จากการ วิปัสสนา ถ้าเผลอใช้
    ความคิดความจำ(สัญญาขันธ์) มาตีความคิดว่าเป็น สติ ตัวเดียวกัน สายสมถะก็มัก
    จะปฏิเสธการทำวิปัสสนา เพราะคิดว่าตัวเองได้ทำการเจริญสติอยู่แล้ว ตรงนี้คือ
    จุดสำคัญที่ทำให้คลาดธรรมกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2008
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,075
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ไม่เห็นความจริง ในสันดานสัตว์ที่ชอบลงที่ต่ำ ^-^
     
  5. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ก็สามารถใช้อรูปฌานเป็นบาทฐานได้นะครับ แต่โดยลำพังอรูปฌานทำให้หลุดพ้นไม่ได้นะครับ เพราะอรูปฌานทำให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม มันก็สุ่มเสี่ยงพอสมควร เพราะถ้าจิตเกิดไปยินดีในอรูปฌาน แทนที่จะตัดกิเลสได้ อาจได้เป็นอรูปพรหมแทน(ซึ่งเป็นพรหมไม่มีรูปร่างที่มีอายุนานมากๆ) ถ้าเพื่อความปลอดภัยจะใช้รูปฌานเป็นบาทฐานแทนก็ได้ครับ แม้ว่าที่สุดจะตัดกิเลสไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็ได้เป็นรูปพรหม (ซึ่งผู้รู้ทางธรรมหลายท่านก็แนะนำว่าดีกว่าไปเป็นอรูปพรหม แม้ว่าอรูปพรหมจะมีความสุขประณีตและมีอายุยืนยาวนานกว่าก็ตาม) ดูรายละเอียดการใช้อรูปฌานเป็นบาทฐานได้จากพระสูตรนี้ครับ :-

    จูฬสุญญตสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=4714&Z=4845
     
  6. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    ถ้าเราใช้รูปฌาณก็ย่อมสามารถใช้ได้ครับ
    แต่ถ้าจะให้เร็วกว่าเดิมก็ต้องใช้อรูปฌาณ
    เพราะกำลังสูงกว่าความฉลาดมากกว่า
    วิธีก็คือ
    เข้าอรูปฌาณก่อน แล้วถอยกำลังลงมาจับวิปัสสนา
    เพราะเอาจริงแค่ตัวฌาณ4 จิตก็สามารถจับวิปัสสนาได้อย่างสบายแล้วครับ
    อรูป ไม่ใช่วิปัสสนา
    วิปัสสนา
    แต่ว่ามีอารมณ์คล้ายกัน
    อรูป เป็นการจับอารมณ์ว่าง เวิ้งว้างว่างเปล่าของอากาศ
    ก็คือจับภาพกสิณก่อน แล้วเปลี่ยนภาพกสิณ เป็นภาพสีขาวที่แผ่ขยายออกไปทุกทิศทาง แล้วสัมผัสอารมณ์ว่างๆ แล้วก็เลื่อนอารมณ์ขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงอรูปที่4
    วิปัสสนา เป็นอารมณ์คิดพิจารณาหาความจริง ด้วยอำนาจของฌาณ
    คือต้องเข้าฌาณก่อน แล้วพิจารณาในฌาณ ไม่ใช่สักแต่ว่านึก
    เมื่อพิจารณาวิปัสสนาจนจิต มีอารมณ์ไม่อยากเกิด เพราะว่าเกิดเป็นทุกข์
    จนจิตปรารถนาจุดเดียวคือพระนิพพานแล้ว
    ก็จะเห็นพระนิพพาน ที่ไม่ใช่ความเวิ้งว้างว่างเปล่า
    แต่เป็นสภาพจิตที่ว่างจากกิเลส เปร่งประกายเป็นแก้วใส
    แล้วก็มีความสวยงาม
    อรูป นิ่ง ว่าง ไม่คิด
    วิปัสสนา พิจารณา เกาะพระนิพพาน คิด
    พระอาจารย์เช่นหลวงปู่มั่น หรือหลวงพ่อฤาษี ท่านก็ให้เข้าอารมณ์ให้สูงที่สุดแล้วค่อยวิปัสสนา
    ใครได้อรูปก็เข้าอรูป ใครได้ฌาณ4ก็เข้าฌาณ4

    ถ้าสนใจฝึกสมาธิด้วยกัน สามารถติดต่อได้ครับ
     
  7. lab555

    lab555 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +12
    สมถะ แล้ว วิปัสนา หรือ
    วิปัสนา แล้ว สมถะ หรือ
    สมถะ สลับ วิปัสนา
    อันนี้ โอเค เข้าใจครับ ถึงที่มาที่ไป และ ลำดับการพิจารณาธรรมต่างๆ


    ขอบคุณ คุณXorce ครับ กับคำตอบนี้
    ++++++++++++++
    วิธีก็คือ
    เข้าอรูปฌาณก่อน แล้วถอยกำลังลงมาจับวิปัสสนา
    เพราะเอาจริงแค่ตัวฌาณ4 จิตก็สามารถจับวิปัสสนาได้อย่างสบายแล้วครับ
    ++++++++++++++++


    ผมลองหาเหตุเพิ่มเติมแล้วคิดว่า น่าจะใช่
    http://larndham.net/index.php?showtopic=13542
     
  8. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    โดยความเห็นส่วนตัว
    การที่พระพุทธองค์ มิทรงเน้นสอนให้ไปอรูป ก็เพราะ การจะหาบุคคลที่จะเจริญ อรูปให้
    สมบรุณ์ นั้นหายาก มีน้อย แต่มิใช่ว่าไม่มีเลย อย่าว่าสมัยนี่เลย ในสมัยพุทธการก็ยังน้อย ฉะนั้น ทรงน่าจะเล็งเห็นประโยชน์หมู่มาก การจะให้เจริญไปในอรูปนั้น เป็นหนทางยากกว่า เว้นแต่ผู้มีจริตวาสนา เพราะ ญาณทัศนะ ต้องเกิดก่อน มิใช่ญาณที่เอาไว้ดูโน้นดูนี่ เห็นโน้นเห็นนี้แบบที่พูด ๆ กัน แต่เป็นทัศนะที่เห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริงที่ละเอียดปราณีต ไม่มีคลุมเคลือ เดาเอา หรือประมาณเอา

    ส่วนที่มีผู้คนจำนวนมาก ที่คิดว่า ในอรูปพิจารณาอะไรไม่ได้ เลยนั้น ใครเจริญไปแล้วพอพ้นไป จะไปเป็นอรูปพรม หรือ พรมลูกฟัก ฯลฯ อย่าว่าแต่ อรูปเลย ต่อให้เป็น รูปณาน ก็ตามที่ หากมีใจยึดติดยินดี ในรูปณานก็ต้องเป็นรูปพรม อยู่ดี ที่ว่าอรูปญาณนั้น พิจารณาอะไรไม่ได้ อันนี้ ยืนยันว่า ผิด เพียงแต่หาคนทำได้และ เข้าใจได้ ยากซึ่งอาจจะพ้นวิสัยทั่วไปเท่านั้นเอง
     
  9. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    จริงๆ ผมยืนยันว่าอรูปใช้พิจารณาได้ครับ
    แต่ต้องฌาณหยาบนะครับ ฌาณ4หยาบก็พิจารณาได้
    อรูปหยาบก็พิจารณาได้
    แต่ถ้าอรูปละเอียดพิจารณาไม่ได้
    เพราะว่าฌาณละเอียดมอารมณ์หยุดคิด
    ถ้าทรงอารมณ์หยุดคิด ก็พิจารณาไม่ได้
    พระพุทธองค์ทรงสอนครอบคลุมครับ แล้วแต่จริตคน
    ถ้าเอาเข้าจริงฌาณ4ก็ดี อรูป4ก็ดี
    ก็ยังไม่ใช่ของยากครับ
    สามารถฝึกได้ไม่ยาก หากรู้อารมณ์ที่ถูกต้อง
    เป็นเหตุผลที่สมัยก่อนบรรลุธรรมกันอย่างรวดเร็ว
    เพราะว่าพระท่านชี้อารมณ์ใจที่ถูกต้องให้
    เหมือนกับประตูน่ะครับ
    ถ้าไม่รู้วิธีเข้าก็เข้าลำบาก
    ถ้ารู้วิธีก็เข้าได้ไม่ยาก
    ถ้าสนใจจะฝึกสมาธิด้วยกัน
    ก็ติดต่อมาได้นะครับ
    email saturndg@hotmail.com
    หรือpm มาได้ครับ
     
  10. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    ที่ว่า อรูป ละเอียดพิจารณาไม่ได้ คุณ xorce หมายถึง อูรปสี่ หรือ กล่าวล้วงไปถึง นิโรธครับ เรียนชี้แจ้ง เผื่อจะได้ลองพิจารณา แต่สำหรับผมกลับมองว่า อรูป 4 ยังพิจารณาได้อยู่ดี มันอยู่กับความละเอียดของญาณทัศนะ แต่ถ้าในนิโรธที่สมบรูณ์ อันนี้เห็นด้วย
    แต่หากระหว่างทางดำเนินเข้า ก็ยังคงมีการพิจารณาได้อยู่ดี ถึงความดับ ถึงความสลัดออก และ อื่น
     
  11. Xorce

    Xorce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,369
    ค่าพลัง:
    +4,400
    อรูป 4ละเอียด
    แบบที่ตัวหายจากฌาณ4ละเอียด
    แล้วหลังจากตัวหายแล้ว
    ต่อถึงเนวะสัญญานาสัญญายตนะ อารมณ์แบบเดียวกับที่อาจารย์ของพระพุทธเจ้า
    ท่านเข้า แล้วกลายเป็นอรูปพรหม
    เหตุที่พิจารณาไม่ได้เพราะว่า
    อรูปที่4 อารมณ์มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
    อารมณ์มันคิดเชิงพิจารณาไม่ได้ครับ
    แต่ถ้าเป็นอรูปหยาบ แบบเดินไป เดินมา กินข้าวอยู่ก็ยังทรงเอาไว้ได้
    คือเอานิมิตเอาอารมณ์จับความว่างเอาไว้
    แต่ไม่ได้ทำอารมณ์จนถึงตัวหาย ดับสัญญาทิ้ง
    อรูปหยาบแบบนี้ยังพิจารณาได้อยู่

    ขออธิบายอีกครั้งว่าฌาณมีหยาบกับละเอียด
    ฌาณหยาบเดินไปเดินมา ยังทรงได้อยู่ แบบที่หลวงพ่อฤาษีบอกว่าทรงฌาณทั้งวัน
    ฌาณละเอียด ต้องหยุดอยู่กับที่ เพราะอารมณ์ดับความรู้สึกทางร่างกาย คล้ายตัวหาย
    แบบที่พระท่านนั่งเข้ากันเป็นวันๆ ไม่ขยับ
    ส่วนในนิโรธ นิโรธนี่ไม่ทราบครับ เพราะไม่ใช่พระอริยเจ้า หากอยากทราบต้องทำตัวเองให้เป็นพระอริยะเจ้าครับ
     
  12. v.mut

    v.mut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +274
    ยังไงก็ขอขอบพระคุณที่ชี้แจ้งครับ

    อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ในเนวสัญญานาสัญญาตนะ ยังพิจารณาได้ แต่ไม่ง่าย มันมิใช่ใช้คิดเชิงพิจารณา แต่ มันเห็นสภาพ...
    ส่วนที่ตัวหายดับไปเป็นวัน ๆ เป็นอาทิตย์ นั้นคือ การเข้านิโรธสมาบัติ ในบางช่วงบางขณะ ซึ่งก็มีครุบาอาจารย์ หลายองค์ ท่านเจริญเป็นประจำเท่าที่จำได้ตอนนี้ เช่น หลวงปู่กัสสปมุนี และ ท่านอื่น ๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...