สมมุติ กับ ปรมัตถ์

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย telwada, 21 สิงหาคม 2013.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ท่านทั้งหลายที่ใฝ่ศรัทธาในทางพุทธศาสนา บ้างก็คงแก่เรียน โดยเอาตำราเป็นที่ตั้ง บางครั้ง ก็มองข้ามหลักความจริง ซึ่งในทางพุทธศาสนา เรียกว่า "สัจจะ" อีกทั้งในทางพุทธศาสนา มักจะมีผู้นำเอาคำว่า
    "สมมุติ สัจจะ" และ "ปรมัตถ์ สัจจะ" มาแบ่งแยกว่า สิ่งนั้น ภาษานั้น ภาษานี้ เป็น "สมมุติ" หรือ สิ่งนั้น ภาษานั้น ภาษานี้ เป็น "ปรมัตถ์"

    สมมุติ หมายถึง สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หรือ คิดเอาว่าน่าจะมีจริง หรือ สิ่งที่ตกลงยอมรับกันเอง โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพความเป็นจริง (ขยายความจาก พจนานุกรมไทย ฉบับ ราชบัณฑิตยสถานฯ)

    ปรมัตถ์ หมายถึง เรื่อง หรือ สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง , ความหมายที่สูงสุด หรือ ข้อความหรือหลักการที่ลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนคนทั่วไปจะทำความเข้าใจได้ (ขยายความจาก พจนานุกรมไทย ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน)

    หลายๆท่าน หรือ ผู้คงแก่เรียน บางท่าน มักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับ สมมุติ กับ ปรมัตถ์ ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว "สมมุติ" ก็คือ "ปรมัตถ์" อย่างหนึ่ง เพราะสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสมมุติขึ้นมาทั้งสิ้น อย่างน้อยที่สุด ก็ถูกสมมุติด้วยภาษา เช่น "ขันธ์ ๕" รูป เวทนา สัญญา สังขาร ก็เป็นเพียงสิ่งที่ถูกสมมุติขึ้นใช้เรียก ร่างกายของมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) แต่ผู้คงแก่เรียนหรือผู้รู้หลายๆท่าน มักจะเข้าใจเอาว่า เป็น "ปรมัตถ์ สัจจะ" ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้วมันคนละเรื่องกัน
    เรื่องของ ปรมัตถ์ นั้น ถ้าจะกล่าวกันไปแล้ว ทุกเรื่องล้วนเป็น ปรมัตถ์ทั้งสิ้น หมายความว่า ทุกหลักวิชาการที่มีอยู่ ต่างก็ล้วนเป็น ปรมัตถ์ แต่ ก็ย่อมต้องมี บางหลักวิชาการที่มนุษย์ปุถุชนคนทั่วไป ยากที่จะทำความเข้าใจได้ เหตุเพราะในตำราไม่มีสอนไว้ ยกตัวอย่างเช่น ในเรื่องของ "ฌาน"(ชาน)
    ข้าพเจ้าเคยสอนไว้อยู่บ่อยครั้งว่า "ฌาน(ชาน) เป็น ลักษณะงานลักษณะหนึ่งของระบบร่างกาย กล่าวคือ ลักษณะชอง ฌาน(ชาน)นั้น จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ และเป็นไปตามลำดับ อย่างที่มีปรากฎในพระไตรปิฎก ไม่ใช่ว่า ถ้านั่งสมาธิ แล้วจะได้ ฌาน(ชาน)ขั้นนั้นขั้นนี้ อย่างนี้เป็นต้น

    บางท่านที่มีความรู้มาตามที่ได้รับเล่าเรียนมาก อาจจะเห็นว่า ศัพท์ภาษา ต่างๆ เป็นเพียง "สมมุติ สัจจะ" แต่ในทางที่เป็นจริงแล้ว ก็พวกศัพท์ภาษา ต่างๆนั้นแหละที่ทำให้ท่านทั้งหลายได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความเชื่อถือ เชื่อมั่น ไม่สับสน วุ่นวาย แล้วพวกท่านทั้งหลาย คิดกันบางไหมว่า ทำไมจึง พากันเข้าใจว่า ศัพท์ภาษาต่างๆ เป็นเพียง สมมุติสัจจะ ทั้งๆที่ ศัพท์ภาษาต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้ เกิดความเข้าใจ ในหลักวิชาการทุกด้าน

    ความเข้าใจผิดของพวกเขาเหล่านั้น ควรได้รับการแก้ไข และได้ทำความเข้าใจเอาว่า คำว่า "สมมุติ" หมายถึง "สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง หรือ สิ่งที่ไม่แน่ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่"
    ส่วนคำว่า "ปรมัตถ์" หมายถึง หลักการ หรือข้อความ หรือ เรื่อง หรือ สิ่ง ที่เป็นโยชน์สูงสุด ,ความจริงอันเป็นที่สุด ,ลึกซึ้ง อย่างที่สุด
    ไม่ต้องไปแบ่งแยกดอกขอรับว่า อันไหนเป็น สมมุติสัจจะ ,อันไหนเป็น ปรมัตถ์สัจจะ เหตุเพราะ หลักธรรมทั้งหลาย ก็ล้วนมาจากสิ่งสมมุติ เพื่ออธิบายให้เกิด ปรมัตถ์ ฉะนี้
     
  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระวจนะ" ข้าแต่พระองคืผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร มิจฉาทิฎฐิ ย่อมละไปพระเจ้าข้า....ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฎฐิย่อมละไป เมื่อบุคคลรู้เห้นอยู่ ซึ่งรูปทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฎฐิย่อมละไป เมื่อบุคคลรู้เห้นอยู่ซึ่ง จักขุวิญญาน โดยความเแป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฎฐิย่อมละไป เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ ซึ่งจักขุสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฎฐิย่อมละไป เมื่อบุคคลรู้เห็นอยู่ซึ่งเวทนาอันเป็นสุขก้ตาม อันเป้นทุกข์ก็ตาม อันเป็นอทุกขมสุขก้ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป้นปัจจัย โดยความเป้นของไม่เที่ยง มิจฉาทิฎฐิย่อมละไป (ในกรณีแห่ง อายตนิกธรรมอีก5หมวดคือ หมวดโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะและ มนะ ก็มีข้อความตรัสไว้ข้อความเดียวกันกับข้างบน ต่างแต่ชื่อธรรมต้องเปลี่ยนไปตามหมวดนั้นนั้น เท่านั้น รวมเป็นธรรมที่ถูกรู้ถูกเห็นโดยความเป็นอนิจจัง ทั้งหมด 30อย่าง) ภิกษุ เมื่อบุคคล รู้อยู่อย่างนี้ แล มิจฉาทิฎฐิย่อมละไป--สฬา.สํ.18/185/254..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 สิงหาคม 2013
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    พระวจนะ" อานนท์ อินทรียืภาวนาชั้นเลิส(อนุตรา อินทริยภาวนา) ในอริยวินัยนี้ เป็นอย่างไรเล่า..............อานนท์ ในกรรีนี้ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ชอบใจและไม่เป้นที่ชอบใจ เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะเห็นรูปด้วยตา ภิกษุนั้น รู้ชัดอย่างนี้ว่าอารมณ์ ที่เกิดขึ้นแก่เรานี้ เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง(สงขตะ)เป็นของหยาบหยาบ(โอฬาริก) เป้นสิ่งที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น( ปฎิจสมุปนน) แต่มีสิ่งโน้น ซึ่งรำงับและปราณีต กล่าวคือ "อุเบกขา"ดังนี้ ................อารมณ์อันเป้นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ เป็นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไป อุเบกขายังคงดำรงอยู่.............อานนท์ อารมร์อันเป้นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ เป้นที่ชอบใจและไม่เป็นที่ชอบใจ อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ย่อมดับไปเร็วเหมือนการกระพริบตาของคน ส่วนอุเบกขายังคงเหลืออยู่....อานนทืนี้แล เราเรียกว่า อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศในอริยะวินัยนี้ ในกรณ๊แห่งรูปที่รู้แจ้งด้วยจักษุ(ในกรณี แห่งเสียง ที่รู้แจ้งด้วยโสตะ กลิ่นที่รู้แจ้งด้วยฆานะ รสที่รู้แจ้งด้วยชิวหา โพฐฐัพพะที่รู้แจ้งด้วยผิวกาย และธัมมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจ ก้ได้ตรัสไว้โดยหลักเกณท์อย่างเดียวกัน ต่างแต่การเปรียบเทียบ)---อปริ.ม.14/542-545/856-861--(อริยสัจจากพระโอษฐ์ท่านพุทธทาส)
     
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ..........จากพระสุตรนี้ ค่อนข้างชัดเจน นะครับว่า สภาพธรรม น่าจะรู้ด้วยความเป็นลักษณะใด คำว่า"รู้ชัด" นี่ น่าคิดนะครับ.....ทีนี้ ไม่ว่าเราจะเห้นเป็นสมมุติ เช่นเห็นหญิงสาวอวบอั๋นเดินมา หรือ มีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทัน ตามพระสูตรนี้...ก็จะมีผลต่าง ของความรู้เท่าทันต่างกัน ในความเป็น สมมุติอันเป็นปฎิจสมุปนนธรรม อันเป็นของไม่เที่ยง .......... หรือหลงเพลินปรุงแต่งตามสมมุติไปเรื่อย(เนื้อนุ่ม กลิ่นหอม).... ในปรมัติธรรม จิต เจตสิก รูป นิพพาน นั้น... จิต เจตสิก รูป ก็ยังนับเป็นสังขตะธรรม มีเพียง นิพพาน ที่เป้น อสังขตะธรรม
     
  5. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คุณขอรับ คุณยกเอาอะไรมากล่าว ข้าพเจ้าอ่านแล้ว ไม่รู้เรื่องอะไรเลยขอรับ ธรรมะทุกข้อแม้แต่ชื่อของพระพุทธองค์ ต่างก็ล้วนเป็นสิ่งสมมุติ หรือ สิ่งที่บัญญัติ ขึ้นมาทั้งนั้น แล้วจะแยกแยะไปให้เปลืองสมองทำไมกันว่า อันไหนเป็นสมมุติ หรือ บัญญัติ อันไหนเป็นปรมัตถ์
    ข้าพเจ้าก็อธิบายไว้แล้วว่า ถ้าไม่มีสมมุติ หรือ บัญญัติ ก็ย่อมไม่มี ปรมัตถ์ ไปพิจารณาให้ดีเถิดขอรับ แล้วก็อย่ามัวถกเถียงกันอยู่เลยว่า อันนั้นอันนี้ เป็นสมมุติ เป็น บัญญัติ ,อันนั้น อันนี้ เป็นปรมัตถ์ ถ้าจะว่ากันตามหลักความจริง หรือตามหลักตรรก แม้แต่ชื่อชั้น แห่ง อริยบุคคล ตั้งแต่โสดาบันเป็นต้นไป ก็เป็นเพียงแค่ สมมุติ หรือ บัญญัติ หลักธรรมทุกชนิด ทุกข้อ ต่างก็ล้วนเป็น สมมุติ เป็น บัญญัติ ทั้งนั้น แล้วจะสนใจไปทำไมว่ามันเป็นอะไร ให้รู้เพียงแค่ว่า มันเป็นหลักธรรม มันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ใช่ธรรมชาติของสัตว์เดรัจฉาน(ขออภัย) นะขอรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...