สมาธิช่วยให้ความเจ็บปวดลดลงเกือบครึ่ง

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย jchai4, 18 พฤษภาคม 2011.

  1. jchai4

    jchai4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    212
    ค่าพลัง:
    +1,075
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 summary="PagEd table" cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left><!-- PagEd Table Start --><TABLE border=0 cellSpacing=0 summary="PagEd table" cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>เฮลท์ดอดคอม - คุณไม่จำเป็นต้องพระในการรับประโยชน์จากการทำสมาธิ จากผลของการศึกษาในเรื่องนี้ล่าสุดชี้ให้เห็นว่า เพียงการทำความเข้าใจเรียนรู้ในเรื่องการทำสมาธิในช่วงสั้นๆก็สามารถช่วยแต่ละบุคคลในเรื่องของอาการเจ็บปวดได้

    </TD></TR></TBODY></TABLE><!-- PagEd Table End --></TD><TR><TD height=15></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left><!-- PagEd Table Start --><TABLE border=0 cellSpacing=0 summary="PagEd table" cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=justify><!-- PagEd Table Start --><TABLE border=0 cellSpacing=0 summary="PagEd table" cellPadding=0 width=310 align=left><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG] </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>การทำสมาธิสามารถที่ช่วยเรื่องการจัดการกับความเจ็บปวด, อาการวิตกกังวล และอาการป่วยหรือปัญหาทางจิตได้ - ภาพจากซีเอ็นเอ็น

    </TD></TR><TR><TD height=5></TD></TR></TBODY></TABLE><!-- PagEd Table End -->
    ในการศึกษาค้นคว้าโดยหลักวิทยาศาสตร์ในเรื่องการทำสมาธิในครั้งนี้ นักวิจัยใช้วิธีการทดลองโดยการใช้ความร้อนเผาไหม้ผิวของผู้เข้ารับการทดลอง 15 คนมีทั้งผู้หญิงและผู้ชายในช่วงเวลาทดลอง 2 ครั้งด้วยกัน โดยครั้งหนึ่งจะเป็นช่วงก่อนที่ผู้เข้ารับการทดลองจะเข้ารับการเรียนเรื่องการทำสมาธิในเวลา 20 นาที และอีกครั้งหลังจากที่เข้าเรียนเรื่องการทำสมาธิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยการวิจัยในครั้งนี้ใช้เวลาทั้งหมด 4 วัน

    นักวิจัยรายงานต่อไปว่า ในช่วงระหว่างการทำวิจัยช่วงที่สองหลังจากเสร็จสิ้นการวิจัยด้วยการถูกเผาด้วยความร้อนก่อนและหลังการเรียนเรื่องทำสมาธิในครั้งแรกแล้ว เมื่อผู้เข้าร่วมการวิจัย 15 คนเริ่มทำสมาธิอีกครั้ง การใช้ความร้อน 120 ดีกรีฟาเรนไฮต์เผาที่ผิวที่น่องดูเหมือนว่าจะมีแรงกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดน้อยลง 57 เปอร์เซ็นต์ และดูเหมือนว่าความร้อนที่ปะทะผิวหนังจะมีความรุนแรงลดลง 40 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ยแล้ว

    ดอกเตอร์ ฟาเดล ซีล์แดน ประธานคณะวิจัย และผู้วิจัย postdoctoral ของมหาวิทยาลัย Wake Forest University School of Medicine ในมลรัฐนอร์ธแคโรไลน่า กล่าวว่า "ผลวิจัยข้างต้นเป็นความรู้สึกของผู้ที่ร่วมการศึกษาที่ลดลงอย่างน่าสนใจทีเดียว" โดยดอกเตอร์ฟาเดล กล่าวเสริมว่า ความเจ็บปวดที่ลดลงเพราะการทำสมาธินั้น เป็นความเจ็บปวดที่ลดลงได้มากกว่าผลของการวิจัยในรูปแบบเดียวกันโดยการใช้ยาบรรเทาหรือระงับความเจ็บปวดเช่นยามอร์ฟีน และการใช้วิธีการสะกดจิต

    ผลของการวิจัยในครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือ Journal of Neuroscience ประจำวันที่ 6 เมษายน 2011

    และผลของการวิจัยที่ได้รับดูเหมือนว่าจะไม่ใช่สิ่งที่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด ผลของการวิจัยที่ผ่านๆมาพบว่า การทำสมาธิในรูปแบบของพุทธศาสนาหรือเป็นที่รู้จักของชนชาวตะวันตกว่า "การเจริญสติ (mindfulness meditation)" นั้นเป็นสิ่งที่ช่วยให้บุคคลสามารถที่จะจัดการกับความเจ็บปวด, ความวิตกกังวลหรือความเคลียส และปัญหาอีกหลายๆอย่างเกี่ยวกับสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของแต่ละบุคคลได้ แต่จะบุคคลที่จะได้รับประโยชน์เช่นนี้จำเป็นต้องเข้ารับการศึกษาเรื่องการทำสมาธิมากกว่าวันหรือสองวันอย่างแน่นอน

    นายแพทย์โรเบริ์ท โบนาคดาร์ ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการกับการเจ็บปวด ณ Scripps Cente ที่เมืองแซนดีเอโกกล่าวว่า ความจริงที่ว่าดอกเตอร์ฟาเดลและกลุ่มผู้ร่วมทำการวิจัยสามารถที่จะได้รับผลการวิจัยเช่นนี้ได้โดยการเข้ารักษารศึกษาเรื่องการทำงสมาธิเพียง 80 นาทีนั้นเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมากที่เดียว

    ดอกเตอร์ฟาเดลกล่าวเสริมว่า "ถึงแม้ว่าประโยชน์สูงสุดจากการทำสมาธินั้นจะได้รับจากการฝึกฝนเรียนรู้ในระยะเวลาที่ยาวนาน แต่ผลจากการวิจัยในครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดว่า ผลประโยชน์ของการทำสมาธินั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทั่วๆไป"

    วิธีการทำสมาธิสำหรับการทำวิจัยในครั้งนี้เป็นวิธีการที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า "สมถะ (Shamatha)" หรือ "หยุดหรือตั้งมั่น (focused attention)" เฉกเช่นเดียวกับการทำสมาธิในรูปแบบอื่นๆคือ การฝึกให้ตั้งมั่นเพ่งไปที่จิตและร่างกายของตนเองโดยที่ไม่ปล่อยให้ความคิดของตนสร้างเสริมสิ่งต่างๆไปมากกว่าความเป็นของจิตและร่างกายของตน และในเวลาเดียวกันที่เพ่งไปที่ลมหายใจของตนเองหรือบริกรรมบทสวดมนต์

    การสแกนสมองในช่วงการทำวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เทคนิคการทำสมาธิเช่นนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นจุดเหตุในการเปลี่ยนระบบสมองของผู้เข้าร่วมทำวิจัยตอบสนองต่อความเจ็บปวด

    ดอกเตอร์ฟาเดลรายงานถึงการทำวิจัยว่า ในการสแกนสมองดูส่วนที่เรียกว่า somatosensory cortex ที่เป็นส่วนของสมองรับความรู้สึกของมนุษย์ โดยก่อนที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยจะได้รับการเรียนรู้เรื่องการทำสมาธินั้น สมองส่วนนี้จะตอบสนองต่อความเจ็บปวดของผิวหนังช่วงน่องขาด้านขวาของผู้เข้าร่วมทำการวิจัยเป็นอย่างมากเมื่อได้รับความร้อนเผา แต่เมื่อได้รับการฝึกฝนเรื่องการทำสมาธิแล้วนั้น สมองส่วนดังกล่าวของผู้เข้าร่วมทำการวิจัยจะตอบสนองต่อความเจ็บปวดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด "ซึ่งผลของการสแกนสมองส่วยดั่งกล่าวในสองช่วงเวลานี้ ชี้ชัดว่าการทำสมาธิสามารถช่วยให้บุคคลนั้นสามารถรับรู้หรือจัดการกับความเจ็บปวดที่ได้รับ โดยสมองเปลี่ยนการรับรู้ความรู้สึก"

    ในเวลาเดียวกัน สมองส่วนที่รับผิดชอบในเรื่องการรักษาระดับความสนใจและการประมวลผลของอารมณ์ของผู้เข้าร่วมการวิจัย จะมีการตอบสนองสูงขึ้นในช่วงของการทำสมาธิ และการตอบสนองของสมองส่วนนี้ดูเหมือนจะตอบสนองมากที่สุดสำหรับอาสาสมัครที่รายงานว่า ความเจ็บปวดที่ได้รับจากความร้อนนั้น มีอัตราที่น้อยที่สุด

    ดอกเตอร์แคทารีน แม็คลีน นักวิจัยเรื่องการทำสมาธิ และเป็น postdoctoral fellow ในสาขาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัย Johns Hopkins University กล่าวว่า ในความเข้าใจที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปนั้น การทำสมาธิผ่อนเบาความเจ็บปวดได้นั้น ไม่ใช่จากการปรับหรือขจัดความรู้สึกของแต่ละบุคคลในเรื่องความเจ็บปวด แต่การทำสมาธิจะเป็นการฝึกให้แต่ละบุคคลสามารถที่จะควบคุมความรู้สึกเจ็บปวดของตนเองได้

    ดอกเตอร์แคทารีนกล่าวเสริมว่า จากผลของการสแกนสมองส่วนต่างๆในเวลาของการทำสมาธินั้นชี้ชัดแล้วกว่า ระบบการทั้งสองข้างต้นนั้นเกิดขึ้นพร้อมๆกันในเวลาเดียวกัน โดยการทำสมาธิเป็นกุญแจในการเปลี่ยนธรรมชาติของความเจ็บปวดก่อนที่ความเจ็บปวดนั้นๆจะถูกรับรู้โดยแต่ละบุคคล และในเวลาเดียวกันการทำสามาธิก็สามารถที่จะช่วยให้แต่ละบุคคลสามารถที่จะจัดการกับความเจ็บปวดได้ดีมากขึ้น

    แต่คำถามที่สำคัญที่สุดจากการวิจัยในครั่งนี้อยู่ที่ว่า การทำสมาธินั้นจะเป็นกุญแจสำคัฐในการช่วยแต่ละบุคคลในการจัดการกับการเจ็บปวดในชีวิตจริงประจำวันได้หรือไม่ ความเจ็บปวดโดยเฉพาะความเจ็บปวดเรื้อรังนั้น เป็นสิ่งที่มีความแยบยลมากกว่าความเจ็บปวดที่ถูกสร้างขึ้นในห้องแลปสำหรับการวิจัยเฉพาะเรื่อง และที่สำคัญความเจ็บปวดในชีวิตจริงนั้นมักจะมีสิ่งอื่นๆเช่น ภาวะซึมเศร้า และอาการแทรกซ่อนอื่นๆร่วมอยู่ด้วยในขณะที่บุคคลนั้นๆกำลังได้รับความเจ็บปวด

    "ในบางเวลา ความเจ็บปวดนั้นมักจะมีความเกี่ยวข้องกับ "ความทุกข์" ที่ได้รับซะมากกว่าที่จะเป็นความเจ็บปวดด้วยตัวของมันเอง และ "ความทุกข์" นี้แหล่ะคือสิ่งที่ยากที่สุดในการให้การเยี่ยวยารักษา บางทีนะ การทำสมาธิด้วยวิธี "การเจริญสติ (mindfulness meditation)" นั้นอาจจะเป็นยาขนานเดียวที่จะใช้รักษาเยี่ยวยาสิ่งนี้ได้" นายแพทย์โรเบริ์ทปิดท้าย



    Thai Texas News :: ˹ѧ��;���������硫�ʹ���� (PagEd)

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...