สมาธิที่เกิดจากการฟัง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย boy_kmutt, 21 มกราคม 2011.

  1. boy_kmutt

    boy_kmutt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    303
    ค่าพลัง:
    +227
    ผมสงสัยว่าถ้าเรานั่งสมาธิ โดยการฟังเทปธรรมะนั้น ทำให้ใจสงบได้เร็ว เป็นสมาธิแบบไหนครับ แล้วเป็นวิธีการที่ถูกต้องตามหลักของพระพุทธเจ้าหรือเปล่าครับ แล้วสมาธิแบบนี้สามารถเข้าถึงพระนิพพานได้มั๊ยครับ
     
  2. i คนพิการ

    i คนพิการ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +172
    ในขณะที่คุณฟังจิตต้องปรุงแต่งเรื่องราวถึงจะเข้าใจในเรื่องที่ฟัง
    ในขณะนั้น จิตคุณจะส่งออกนอกตัว
    เพื่อปรุงแต่งเรื่องราวจิตจะอยู่กับเสียง
    เพราะปกติไม่ฟังมันก็คอยจะออกอยู่แล้ว
    (แต่ถ้าฟังแล้ว จิตคุณอยู่กับลมหายใจไม่ไปอยู่กับเสียง นั้นเป็นฌาน อีกเรื่องนึง)
    แต่การทำสมาธิ จิตต้องอยู่กับตัวไม่ส่งออกนอกไม่หลง ถึงจะถูกหลักของพุทธเจ้าและเข้าถึงพระนิพพานใด้ ;k07
     
  3. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    เมื่อฟังธรรม ถ้าใคร่ครวญพินิจพิจารณาไปตามหลักธรรมนั้นๆ
    จิตก็จะเกิดสมาธิและปัญญาได้เหมือนกันครับ

    ในสมัยพุทธกาล มีมากที่ฟังธรรมเทศนาจากองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว บรรลุธรรมได้
     
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    การใช้เสียงเทศน์ เสียงสวดมนต์ นั้น คุณสมบัติที่พึงหวังได้คือ "สิ่งกุศล"

    คือ คำพูดที่เป็นธรรมะ พูดถึงธรรมะ บทกลอนธรรมะ แม้จะมีการปรุงแต่ง
    หรือ สื่อออกมาจากบุคคลที่เป็นปุถุชน ความเป็น กุศลในพยัญชนะมันไม่
    หายไปไหน

    ดังนั้น การฟังธรรมะ ที่แม้จะเป็นการฟังเอาความรู้ ความจำ เป็นจิตส่งออกก็จริง
    แต่มันก็ พึงหวังได้ว่า มีกุศล ปรากฏ เรียกตามเทคนิคคือ เอาอารมณ์กุศลมา
    เป็นเครื่องกั้น มาเป็นเครื่องอยู่ การที่เอาอะไรก็ตามมาเป็นเครื่องกั้นเครื่องอยู่
    ก็เรียกได้อีกอย่างว่า เป็นวิหารธรรม

    จึงเป็นสมาธิชนิดหนึ่งที่ดีพอใช้ เพราะเมือไหร่เรามีแต่ทิฏฐิกุศลอยู่ในจิต แม้ส่ง
    ออกนอกก็วนอยู่ในทิฏฐิกุศล ทิฏฐิที่เป็นอกุศลมันจะแทรกไม่ได้

    กรรมฐานใดที่ทรงไว้ด้วยกุศลจิต ปิดกั้นอกุศลธรรมไม่ให้เกิดนี่ เป็นสมาธิที่ใช้ได้

    เมือไหร่ก็ตามที่ คำเทศน์ หรือ อะไรก็ตามที่เป็นทิฏฐิกุศล ผลิกตัวไปเป็น ปิติ หรือ สุข

    เจ้า ปิติ กับ สุข ก็คือ อารมณ์กุศลที่เป็นกลางๆ เราก็ยกเอา ทิฏฐิกุศลที่เป็น ปิติ กับ
    สุข มาเป็นเครื่องอยู่ เป็นวิหารธรรมแทน (จะเห็นว่า มีองค์ประกอบไม่ต่างกัน แต่
    มีความปราณีตของสิ่งที่ใช้กั้นอกุศลธรรมไม่ให้เกิดต่างกัน) แต่ไม่ใช่จมไปกับมัน
    คนที่ฟังธรรมเป็นจะมี ลักขณูปณิชฌาณ( ฌาณในอริยมรรค ) ทำให้แม้นจะ
    จดจ่อไปที่ ปิติ สุข เอามาเป็นวิหารธรรม แต่ก็ไม่จมเข้าไปในภวังคบาท จลนะ
    จุปาทะ จนเป็นฌาณฤาษี ทำให้ จิตยังรับรู้ ธรรมภายนอกได้อยู่ ยังฟังเสียงเทศน์
    หรือ ธรรมใดๆ ภายนอกได้อยู่ เรียกว่าอยู่ในภพมนุษย์อยู่อย่างมสมบูรณ์ด้วยสติ
    สัมปชัญญะ(จะหาได้จาก ฌาณ ที่เป็น ลักขณูปณิชฌาณเท่านั้น )

    ดังนั้น เวลาฟังเทศน์ฟังธรรม ที่เป็น ธรรมะสดๆ ร้อนๆ คือ ฟังจากปากคนเทศน์
    ตัวเป็นๆ รูปเป็นๆ แล้วท่านที่เทศน์ท่านมีเจโตปริญาณ เห็นเราปริวัติองค์ธรรมไป
    สู่ ปิติ สุข เป็นวิหารแล้ว ท่านจะเทศนาส่งหล่อเลี้ยงให้วนอยู่กับ ปิติ สุข ส่วนมาก
    จะเป็นการปรารภเรื่องการรักษาศีล เรื่องการแยบคายในการเห็นธรรมะปราณีต แล้ว
    ตบท้ายด้วยการชี้ให้ข้าม ปิติ สุข*** ละวิหารนั้นลงเพื่อเล็งเห็น "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง" ที่เป็นกุศล
    ยิ่งกว่าปราณีตยิ่งกว่า

    แต่การไปเห็นตรงนี้จะต้องละกุศลธรรมนั้นด้วยตัวเองเป็น หากฟังธรรมในตัวเองไม่เป็น
    ก็ไม่มีทางบรรลุได้

    จะเห็นว่า ท้ายที่สุดแล้ว จริงๆ การบรรลุขณะฟังธรรม ไม่ใช่เพราะว่า ฟังธรรมข้างนอก
    อยู่ แต่ หมายถึงผู้ฟังธรรมนั้นย้อนฟังธรรมภายในตนเป็น และ จะพบว่า ขณะฟังธรรม
    ภายในนั้น ไม่มีผู้ใด เสียงใด ธรรมใดจากภายนอกจะตามไปสอนในนั้นได้

    จึงมีวลีกล่าวว่า "วิญญูชน พึงรู้ได้ด้วยตนเอง"

    ************

    *** ( จะเห็นว่า ปิติ สุข นั้น เป็นสิ่งขวางกั้น ทำหน้าที่เป็นตัวขวางกั้น
    แต่ จะต้องทำให้มี แล้วเล็งเห็นถึงอาการขวางกั้นแล้วละด้วยการเห็นไตรลักษณ์ จึงจะ
    ถูกต้อง -- จะคนละเรื่องกับ การไม่ทำสมาธิมาก่อน ตรงนี้คงไม่สับสนเนาะ เว้นแต่จะ
    หาช่องจับผิด )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2011
  5. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,979
    ค่าพลัง:
    +3,259
    ทีนี้ ต่อไป อาจจะเกิด การแสวงหาที่ฟังธรรมชั้นเลิศ เกิดขึ้น เพื่อ หมายจะเด็ดมะม่วงสุก

    อันนี้ ต้องระวัง เราไปฟังธรรมด้วยเหตุผลข้างต้นนั้น ไปได้ แต่จะต้อง รู้ทันใจตัวเอง
    ไว้ด้วยว่า มีความอยากจะเด็ดมะม่วงกรุ้มรุมอยู่ เหมือนกัน

    หากเรา รู้ทันใจของเราไว้ก่อน อันนี้ เรียกว่า ซ้อมฟังธรรมภายในไว้ก่อน ซ้อมชกไว้ก่อน

    พอถึงเวลาฟังธรรมจริงๆ ก็จะเห็น "ความอยากจะเด็ดมะม่วง" มันทำอาการหูตั้ง แล้ว
    ก็ พยายามเหลือเกินที่จะคว้าบทธรรมใดบทหนึ่ง วรรคหนึ่ง วลี หนึ่ง เพื่อปรุงว่า

    บทนี้ท่านเทศนให้เรา เทศนเพื่อเรา ส่งเราให้เกิดปิติ ส่งเราให้เกิดสุข
    [ เท่าที่เห็น จะเป็น การคิดนำไปก่อนหนึ่งคำ หรือ กำลังจะคิดนำไปก่อน
    หนึ่งคำ และพระเทศน์มา ก็เกิดอาการ อุ้ยใช่ ขนลุก อุ้ยใช่ หูตั้ง ซึ่งจริงๆ
    เป็นการฝุ้งซ่าน ใจเบา ก้นแทบจะลอย หัวเราะ หรือ ยิ้มๆแปลกๆ เป็นต้น ]

    หากเราตามเห็นอาการ หูตั้ง กับ มือไขว่ๆคว้าๆ ไว้ ตรงนี้จะทำให้กลับมา
    ฟังธรรมไปอย่างปรกติได้

    เมื่อฟังธรรมตามปรกติได้ จะเรียกว่า ฟังธรรมไปอย่างเป็นธรรม

    เมื่อฟังธรรมอย่างเป็นธรรม ก็ปล่อยให้ ธรรรมนั้นพาไปสู่ธรรม ไม่ใช่
    มีใครคนใดคนหนึ่ง หรือแม้แต่เรา(กู)เป็นคนพาไปสู่ธรรม

    ทำได้แบบนี้ ก็จะพอเรียกได้ว่า ฟังธรรมเป็น

    แต่ก็นะ การฟังธรรมเป็นนั้น จะยากพอๆกับการ อุบัติขึ้นของพระตถาคต
    พอๆกับการได้เกิดเป็นคน และการได้ฟังธรรมที่ดีก็ยากพอๆกัน จึงเป็น
    เรื่อง ยากซ้อนยากซ้อนยาก

    มองในแง่ดี ตอนนี้เราก็เกิดมาเป็นคน ได้แล้วหละ แถมได้อยู่ในเขตสัมมาทิฏฐิอีก
    ส่วนพระตถาคตพระองค์ท่านก็คชตรัสว่าตัวท่านอยู่ในพระธรรม แหม....

    ดูตามองค์ประกอบ มันมีครบ นะ ....เหลือแต่ ปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรม เท่านั้นเอง

    ที่ยากๆ ตั้ง3อย่าง มีครบหมดแล้ว เหลือแต่

    การฟังธรรมให้เป็น(ปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรม) ตัวเดียวเอง นะเนี่ยะ !!

    * * * *

    ตัวอย่าง บุคคลาธิษฐานในพระไตรปิฏก ที่ฟังธรรมเป็น

    พระโสณนะ บิณฑบาตมา แต่ด้วยความชราทำให้หิว จึงนั่งพักที่ริมนาเพื่อฉันอาหาร
    ขณะฉันก็มองดู นกกระยางจิกกินปลา เกิดการบริกรรมในจิตด้วยจิต "นกกระยางกิน
    ปลาๆๆๆ" แล้วย้อนเห็นธรรมภายใน(มรณะสัญญา เป็นอาธิ) ก็บรรลุอรหันต์

    พระภิกษุรูปหนึ่งบำเพ็ญสมณะธรรมมา7ปี ไม่ได้มรรคผลอะไรเลย แต่มีผู้หญิงคนหนึ่ง
    พึ่งไปฟังธรรมา แต่เพราะกลัวว่าเธอจะจำธรรมะไม่ได้ เลย ร้อยเป็น เพลงพื้นบ้าน ร้อง
    เพื่อให้จำได้ แล้วก็ร้องไม่หยุดเพื่อให้จำได้ ภิกษุได้ยินเสียงเพลงพื้นบ้านจากหญิงสาว
    เสียงใสนั้นเข้าก็เห็นธรรมภายใน(จำไม้ได้ว่ามีอะไรเป็น อาธิ ) ก็สำเร็จอรหันต์

    จะเห็นว่า คนฟังธรรมเป็น ท่านไม่ต้องดิ้นรนแสวงหา ไม่ต้องทำอรหันต์ทัวร์ แต่อยู่
    ที่ย้อนดู ฟังธรรมภายในให้เป็นไว้ด้วย เป็นแบบ ลักขณูปณิชฌาณ(สติปัฏฐาน 4 ก็เรียก)
    ไว้เนืองๆ ไม่ว่าจะอยู่ในอริยาบทใดใน "ยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด"

    - - - - -

    นกกระยาง เป็น บุคคล4 ก็เปล่า นกพูด ธรรมะ ก็เปล่า

    หญิงสาว เป็น บุคคล 4 ก็เปล่า หญิงพูด ธรรมะ ก็เหมือนๆ จริงๆเรียกว่า ปฏิรูป มากกว่า

    *** อันนี้ ชี้ให้เห็นเกร็ดธรรมบางประการเนาะ ไม่ได้ ชี้แบบให้เป็นนัยยะสำคัญ เพราะ
    เอาเข้าจริงๆ ฟังธรรมจากผู้รู้ หรือ ฟังธรรมจาก พุทธวัจนะ มีประโยชน์กว่าในแง่ความ
    ยืนยาวของพระศาสนา ซึ่งเป็นประโยชน์ของส่วนรวมของสรรพสัตว์ทั้งโลก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2011
  6. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    901
    ค่าพลัง:
    +3,592
    ข้อ 1.
    ถ้าปราศจาก ความอยาก ก็อารมณ์ปฐมฌาน
    วิตก วิจารณ์ เกิดขณะฟัง และได้ยิน และคิดตาม
    ปิติ และ สุข และผลที่ได้จากการ รู้ธรรมที่ได้ฟัง และ ยินดีในการปฏิบัติ
    เหลือเพียงตัวอุเบกขา คือควมสงัด ทียกไว้ในบรรทัดแรก
    ข้อ2.
    การลุเข้ามรรคผลนิพพานมีหลายช่องทาง
    เจโตวิมุติ ศรัทธาวิมุต กายสิขี ทิฐิปัตตะ
    พระพุทธเจ้าเรียก อารมณ์ความสงบระดับ ปฐมฌานขึ้นไป เรียกว่า สันทิฏฐิกนิพพาน

    ถ้าติดในควมสงบก็ถึงระดับพระอนาคามี ในอารมณ์ระดับพระอรหัต ต้องถอนคืนอุเบกขาเข้าสู่สุญตา (พุทธพจน์)อยู่ดีครับ

    อารมณ์ของสมถแบบนิโรธ ต้อง ตัด ราคะ ตัณหา และ นันทิ
    อารมณ์ของพระอรหันต์ต้องตัด รูปฌาน และอรูปฌาน
    วางเฉยได้ในอายตนะ เป็นอารมณ์ พระอนาคา
    วางเฉยในขันธ์ เป็นอรหัต
     
  7. i คนพิการ

    i คนพิการ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +172
    โมทนา สาธุ...ค่ะ

    ฟังแล้วไคร่ครวญพินิจพิจารณาเป็นปัญญา แล้วบรรลุธรรมใด้เช่นสมัยพุทธกาล ก็จะเป็นการดีอย่างยอดเยี่ยม :cool:
    แต่ถ้าไม่ใด้ พระพุทธเจ้า มีวิธีให้ถึง84000วิธีในการปฏิบัติ ตามจริตของแต่ละบุคคล การฟังเพื่อเรียนรู้เส้นทางในการเดิน ในขณะฟังคุณอาจจะปลื้มไปกับคำบอกเล่าและแนะนำของครูบาอาจารย์ที่ท่านใด้เดินไปแล้วกลับมาบอกทาง ก็จะเกิดอารมณ์ ปิติและสุขแต่ยังมีกิเลส แต่จะให้ถึงเอกัคคตา ต้องออกเดินไปตามทางที่ท่านแนะใว้เพื่อหาความสงบ ถึงเวลานั้น จิตต้องอยู่กับตัว เพื่อค้นหาธรรมข้างในเพื่อให้เห็นสัจจะและตัดกิเลส....
     
  8. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    เป็นแบบ "ปัญญาวิมุตติ" เป็นตามหลักของพระพุทธเจ้า
    สมาธิแบบนี้ เข้าถึงพระนิพพานได้ครับ มักใช้สมาธิระหว่างถึงฌาน๑

    พุทธานุสติ ตามระลึกถึงคุณงามความดีของพระพุทธเจ้า (ใช้อารมณ์คิด)
    ธรรมานุสติ สังฆานุสติ เทวตานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ (อนุสติ ๖)(ใช้อารมณ์คิดความดี)
    มรณานุสติ กายคตานุสติ อุปสมานุสติ (ใช้อารมณ์ให้เข้าถึงความเบื่อหน่ายโลก)
    อานาปานุสติ(เป็นกรรมฐานใหญ่คุมกรรมฐานทุกกอง ทำได้ถึงฌาน๕)
     
  9. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    ดูแบบอย่างพระอานนท์ก็ได้ครับ พระอรหันต์เป็นเลิศด้านพหูสูตร
    การฟังธรรมสามารถบรรลุธรรมได้ครับ
    โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้นั้นมี ๕ โอกาสด้วยกันคือ
    ๑ เมื่อฟังธรรม
    ๒ เมื่อแสดงธรรม
    ๓ เมื่อสาธยายธรรม หรือการสวดมนต์
    ๔ เมื่อตรึกตรองธรรม หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
    ๕ เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...