สมาธิบำบัด - การระบายของเสียออกจากร่างกาย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 16 พฤษภาคม 2016.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,611
    [​IMG]

    การระบายของเสียออกจากร่างกาย
    โดย พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ


    หลักการ

    ของเสียที่สะสมอยู่ในร่างกายมนุษย์ จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ได้แก่

    1. ของเสียที่เกิดจากมลภาวะของบรรยากาศโลก และเข้าสู่ร่างกาย พร้อมกับลมหายใจเข้า

    2. สารเคมีจากยา หรือ อาหารกระป๋อง

    3. สารกันบูดจากอาหารสำเร็จรูป

    4. ยาฆ่าแมลง หรือสารเร่ง ที่ปนเปื้อนมากับพืช ผัก ผลไม้ และ เนื้อสัตว์

    5. อาการอักเสบของร่างกายที่เกิดจากการคุกคามของโรค

    ของเสียเหล่านี้ คือ สาเหตุที่ทำให้ แต่ละบุคคลต้องเจ็บป่วยหรือมีอาการป่วย เจ็บ หรือหายใจช้า และรักษาไม่ค่อยจะได้ผล ดังนั้น หลักเบื้องต้น ของการใช้พลังจิตช่วยรักษาตนเอง จึงต้องมีวิธีการที่จะระบายของเสียเหล่านี้ให้ออกไปจากร่างกายได้มากที่สุด ก่อน เพื่อลดอาการอักเสบหรือความเจ็บปวด แล้วจึงค่อยเริ่มขั้นตอนของการใช้จิตฉายแสง และแต่งเซลล์ใหม่ สำหรับบางโรคที่มีอาการเจ็บปวดน้อยเพียงแค่รู้วิธีระบายของเสียออกไปได้ ผู้ป่วยแทบจะหายจากโรคได้ทันที

    วิธีการระบายของเสียออกจากร่างกายมีด้วยกัน 2 วิธีคือ สมาธิหมุน และการนวดด้วยพลังพีระมิด


    สมาธิหมุน


    หลักการ

    “สมาธิหมุน” หรือ “การหมุนธรรมจักร” เป็นอุบายหลักของการศึกษาวิปัสสนาเพื่อการพัฒนาจิต เป็นวิธีฝึกปฏิบัติที่สามารถทำให้กิเลสโลภ โกรธ หลง ลดเบาบางได้เร็วที่สุด ซึ่งผู้ฝึก ผู้ป่วยจะได้เห็นความจริง 3 อย่าง คือ

    1. การกระทบของผัสสะย่อมจะเกิดขึ้นทั้ง 2 ส่วนคือ ส่วนนอกหรือส่วนสุดโต่งภายนอก หมายถึง อายตนะภายนอกได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และส่วนในหรือส่วนสุดโต่งภายใน หมายถึง อายตนะภายใน คือธาตุรู้ในใจ หรือหัวใจ

    2. การเคลื่อนที่หมุนวนของความรู้สึก (จิต) เกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติ เพียงแต่มนุษย์ปุถุชนไม่เคยสังเกตเห็นการหมุนวนหรือการเคลื่อนที่ของความ รู้สึก (จิต) นั้น เนื่องจากการหมุนวนเกิดขึ้นเร็วมาก

    3. ความรู้สึก (จิต) ของมนุษย์ทั่วๆ ไป เต็มไปด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง จึงทำให้ความรู้สึก (จิต) ยึดติดอยู่กับการกระทบข้างหนึ่งข้างใดเสมอ เช่น บางคนติดอยู่ที่ตา-เห็นรูป หรือหู-ได้ยินเสียง หรือจมูก-รับกลิ่น หรือลิ้น-รับรส หรือกาย-รับสัมผัส ซึ่งจัดเป็นสุดโต่งดภายนอก และบางคนติดอยู่กับการปรุงแต่งที่ใจ (หัวใจ) ซึ่งเป็นสุดโต่งภายใน จึงทำให้ไม่เห็นการ “หมุนวน” หรือ “การเคลื่อนที่” ของความรู้สึก (จิต)

    พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ จึงนำประโยชน์จากธรรมชาติของจิตที่มีการเคลื่อนที่ไป-มา ระหว่าง นอก-ใน-นอก-ใน ประยุกต์มาใช้เพื่อการพัฒนากาย ดัดแปลงให้เป็นการหมุนระหว่าง 2 ส่วน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อระบายของเสียให้ออกไปจากร่างกาย และยังเป็นการถอนอนุสัย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

    ฉะนั้นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของการ “สมาธิหมุน” หรือ “การหมุนระหว่าง 2 ส่วน” คือการค้นหาส่วน 2 ส่วน ให้ได้ก่อน ซึ่งเรียกว่า ส่วนสุดโต่งภายนอก และส่วนสุดโต่งภายใน เช่นความเจ็บปวดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้ง อารมณ์ โลภ โกรธ หลง ความไม่สบายใจ ความอยากเสพยา ฯลฯ ซึ่งแต่ละบุคคลมีแตกต่างกัน จัดว่าเป็นส่วนสุดโต่งภายนอก หรือส่วนที่ 1 สำหรับส่วนสุดโต่งภายใน หรือส่วนที่ 2 ของทุกคนจะเหมือนกันคือ ตัวรู้ในใจ (หัวใจ)

    อุบายของ “สมาธิหมุน” หรือ “การหมุนระหว่าง 2 ส่วน” อาจจะมีการประยุกต์ หรือเพิ่มเติมเทคนิคใหม่ในการหมุนให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงของพลังงานภายใน โลก และชั้นบรรยากาศโลก แต่จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการหมุนระหว่าง 2 ส่วนเสมอ


    วิธีปฏิบัติ

    1. ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย นั่งในท่าที่สบายที่สุด หลับตาเบาๆ ถ้ามีความเจ็บปวดทรมานร่างกายไม่มากนักให้คลายอารมณ์สู่ความว่างสักระยะ หนึ่ง ถ้าผู้ฝึก ผู้ป่วย มีความเจ็บปวดมากให้เริ่มขั้นตอนของการฝึกได้เลย โดยให้แบ่งความรู้สึกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือส่วนที่กำลังมีความเจ็บปวด หรือเป็นส่วนที่มีความบกพร่อง, ส่วนที่ 2 คือตัวรู้ในใจ (หัวใจ)

    2. กำหนดให้ความรู้สึก (จิต) เคลื่อนที่จากส่วนที่ 1 ที่กำลังมีความเจ็บปวด ไปหาส่วนที่ 2 คือตัวรู้ในใจ (หัวใจ) ที่รับรู้ว่าอาการเจ็บปวดเป็นอย่างไร และวนกลับไปยังส่วนที่ 1 และวนกลับมายังส่วนที่ 2 เป็นการหมุนวนระหว่างส่วนที่เจ็บกับตัวรู้ในใจเป็นรอบๆๆ ดังนั้นตลอดระยะเวลาของการรักษา หรือทำ “สมาธิหมุน” จะใช้เวลา 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ความรู้สึก (จิต) ของผู้ฝึก จะเคลื่อนที่หมุนวนไปมาระหว่างส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ซึ่งจะมีอิทธิพลทำให้ร่างกายเกิดการหมุนคล้อยตามความรู้สึก (จิต) ที่เคลื่อนที่ไป-มา ระหว่าง 2 ส่วน ให้ผู้ฝึกสร้างความรู้สึกคล้อยตามไม่ต้าน ปล่อยให้ร่างกายโยกหมุนจะช่วยทำให้การหมุน สะดวกคล่องขึ้น

    3. ถ้าผู้ฝึก ผู้ป่วย มีส่วนที่ 1 คือส่วนที่มีความเจ็บปวดหลายๆ ส่วน เช่น มีทั้งอาการเจ็บเข่า เจ็บขา เจ็บคอ ปวดที่ตัด เพราะเป็นมะเร็ง ฯลฯ ให้ผู้ฝึกเลือกอาการที่ใดที่หนึ่ง เป็นตัวอย่างของการฝึก ถ้าผู้ป่วยมีอาการอักเสบและมีความเจ็บปวดมาด จำเป็นต้องทำสมาธิหมุนให้นานๆ เพื่อจะได้ระบายของเสียที่คั่งอยู่ในจุดบกพร่องเหล่านั้นออกมาให้ได้มากที่ สุด จนความรู้สึกเจ็บปวดคลายลง ในขณะที่กำลังทำสมาธิอยู่นั้น ผู้ฝึก ผู้ป่วย อาจจะมีอาการไอ จา หรือขับน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ ออกมาได้ ให้บ้วนทิ้งลงในถุงพลาสติก

    4. ในระหว่างการทำ “สมาธิหมุน” ผู้ฝึกจะมีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ ไม่ลืมตา ถ้าความรู้สึกหมุน (จิต) กับการโยกหมุนของกาย หมุนสัมพันธ์กันดีแล้ว อาการหมุนนั้นอาจจะเร็วและแรงขึ้น ไม่ต้องตกใจกลัว ยิ่งการหมุนคล่องและเร็วขึ้น ของเสีย ความเจ็บปวด จะระบายออกได้มาก และในขณะนั้นผู้ฝึกอาจจะรู้สึกเจ็บปวดที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ อย่าส่งความรู้สึก (จิต) ไปหาความเจ็บปวดเหล่านั้น


    คุณประโยชน์

    ประโยชน์จากการทำสมาธิหมุนมีดังนี้

    1. ความเจ็บ ความปวด การอักเสบ จะลดลงไปเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่ได้ฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

    2. ของเสียรวมทั้งเชื้อโรค จะถูกสมาธิหมุน หมุนเหวี่ยงพันออกไปจากตัวผู้ฝึก

    3. อารมณ์โลภ โกรธ หลง ตลอดจนการยึดติดในอุปทานขันธ์จะคลายลง อุปนิสัยจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เพราะสมาธิหมุนมีอานิสงส์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

    [​IMG]

    สรุป

    ความรู้สึก (จิต) ของมนุษย์ปุถุชนไม่เคยหยุดนิ่ง ถูกครอบครองด้วยความคิด (อนาคต) และความคิด (อดีต) ตลอดเวลา “สมาธิหมุน” เป็นวิธีการจัดความนึก ความคิด ให้เป็นระบบและเกิดประโยชน์กับเจ้าของโดยการกำหนดให้ความรู้สึก (จิต) เคลื่อนที่หมุนวนไป-มายังเป้าหมายที่ต้องการเพียง 2 ส่วนหรือ 2 จุด โดยส่วน 2 ส่วนนั้นจะมีศูนย์กลางของแรงดึงดูดมาก-น้อย แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่จากส่วนที่มีแรงดึงดูดน้อยกว่า หมุนเหวี่ยงเข้าหาศูนย์กลางของแรงดึงดูดที่มากกว่า


    การนวดด้วยพลังพีระมิด


    หลักการ

    เป็นการนำคุณประโยชน์ที่เกิดจาการจัดสร้างสนามพลังพีระมิดมาใช้ เนื่องจากการทำสมาธิบำบัดวิธีนี้ แทบจะไม่ได้ใช้พลังจิตของผู้ฝึก ผู้ป่วยเลย พลังพีระมิด 11 ก้อนจะทำหน้าที่ช่วยดัน ระบายของเสียและเชื้อโรคออกมาเอง รวมทั้งของเสีย เช่น มลพิษจากอากาศ สารเคมีตกค้างซึ่งบางส่วนจะยังคงฝังลึกอยู่ตามเส้นเอ็น ข้อ กระดูก

    การนวดด้วยพลังพีระมิด อาจจะเรียกว่าเป็นการทำกายบริหารหรือทำกายภาพบำบัดนั่นเองแต่มีความพิเศษ เฉพาะพีระมิดของพระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ เท่านั้น ที่มีอานุภาพในการช่วยลดความเจ็บ ความปวด รวมทั้งให้พลังงานของการบำบัดรักษาตลอดเวลา สามารถช่วยรักษาโรคอัมพฤษฃกษ์ อัมพาต เอ็นทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรืออักเสบ หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง-ต่ำ ฯลฯ


    วิธีปฏิบัติ

    เพื่อให้พลังพีระมิดช่วยทำการรักษาได้ลึก จึงเหมาะที่จะให้ผู้ฝึก ผู้ป่วยรับพลังพีระมิดในท่ายืน โดยให้ยืนเท้าแยกออกจากันเล็กน้อย เหมือนการทำท่ากายบริหาร และทำความรู้สึกให้ว่าง หยุดนึกหยุดคิด ถ้าทำความรู้สึกให้ว่างไม่ได้ ให้ดึงความรู้สึกอยู่ภายในห้องฝึก ไม่ส่งความรู้สึกฟุ้งซ่านออกไปยังที่อื่นๆ ซึ่งจะทำให้รับพลังพีระมิดได้ยาก ผู้ฝึกจะต้องยืนหันหน้าไปยังทิศต่างๆ มีด้วยกันทั้งหมด 6 ทิศ ตามลำดับดังนี้

    ทิศลำดับที่ 1 ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย ยืนหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เพื่อรับพลังพีระมิดเข้าสู่ร่างกาย ผู้ฝึกจะรู้สึกว่ามีพลังไหลมาปะทะร่างกาย ให้ทำตัวอ่อนๆ ไม่สร้างความรู้สึกต้านคือความไม่เชื่อ ร่างกายจะถูกดึงไป-มา หน้า-หลัง ปล่อยตัวโยกไปตามแรงดึง แรงผลัก อยู่ที่ทิศนี้ประมาณ 5-10 นาที สำหรับผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต สามารถนั่งฝึกบนเก้าอี้ หรือถ้านอนฝึกให้หันศีรษะไปยังทิศนั้น

    ทิศลำดับที่ 2 ทิศใต้ จะเป็นทิศที่เริ่มการบำบัดรักษา พลังพีระมิดจะไหลเข้าสู่ส่วนบกพร่องของร่างกาย หรือส่วนที่กำลังมีอาการอักเสบ หรือเส้นเอ็น ข้อ กระดูก ที่มีปัญหา คือรู้สึก เจ็บปวดตึงแน่น ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้ยากลำบาก เพราะในส่วนนั้นๆ อัดแน่นเต็มไปด้วยของเสีย หรือ สารพิษหลายๆ ชนิด โดยเฉพาะที่เส้นเอ็นบริเวณท้ายทอยต้นคอ จะเป็นส่วนที่สะสมของเสียที่ไหลเข้าสู่ร่างกายในเวลาหลังเที่ยงคืนพร้อมๆ กับการกดต่ำลงมาของชั้นบรรยากาศสูงๆ (อ่าน “กฎแห่งกรรม”) มนุษย์ทุกคนมีพลังกระแสลมปราณไหลเวียนอยู่ทั่วร่างกาย พลังกระแสลมปราณจะทำหน้าที่พยายามดัน ความเจ็บปวดให้ออกไปจากร่างกาย และเราทุกคนมีพลังจิต คือความรู้สึกที่อยากหายเจ็บหายปวด จึงพยายามออกท่าทาง บิดตัว เอี้ยวตัว หรือคู้ เหยียด หรือสลัดมือ แขนขา ซึ่งการออกท่าทางเช่นนี้ จะเป็นการช่วยให้พลังพีระมิด พลังกระแสลมปราณ สามารถเข้าไปช่วยบำบัดรักษาได้ง่าย และคล่องขึ้น ผู้ฝึก ผู้ป่วยอาจจะรู้สึกว่ามีอาการเจ็บปวด หรือหนักตามเอ็น ข้อ กระดูก เพิ่มมากขึ้น ถ้ามีเสมหะ น้ำลาย ให้บ้วนทิ้งไม่กลืนลงไปในลำคอ ทิศใต้นี้เน้นประโยชน์ในการดึงเส้นเอ็น และในระหว่างฝึกบางท่านอาจจะมีการหมุนเหวี่ยงของร่างกายเป็นมุมแคบๆ ผู้ฝึก ผู้ป่วยจะยืนหรือนั่งหันหน้า หรือนอนให้ศีรษะหันไปทางทิศใต้ยิ่งนาน ยิ่งดี และไม่ควรน้อยกว่า 10 นาที

    ทิศลำดับที่ 3 ทิศเหนือ เป็นทิศตรงกันข้ามกับทิศใต้ จึงมีประโยชน์เพื่อการคลายเส้นเอ็น พลังพีระมิดจะไหลเข้าสู่ร่างกายหรือเกิดการเหวี่ยงหมุนเป็นแคบๆ เพื่อระบายและขับสารตกค้างให้ออกไปจากร่างกาย อาการเมื่อย ตึง เจ็บปวด จะผ่อนคลายลงไปเรื่อยๆ ตามจำนวนครั้งที่ได้ทำสมาธิ ในขณะฝึกปฏิบัติ ผู้ฝึก ผู้ป่วยจะมีการออกท่าทาง สลัดมือ แขน ขา หรือบีบนวดร่างกาย ฯลฯ เหมือนกับทิศใต้ ควรจะทำสมาธิที่ทิศนี้อย่างน้อย 10 นาที

    ทิศลำดับที่ 4 ทิศตะวันเฉียงใต้ ที่ทิศนี้พลังพีระมิดจะไหลหมุนเหวี่ยงเจ้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นความบกพร่อง หรือรู้สึกว่าหนัก เมื่อย เจ็บปวด ผู้ฝึก ผู้ป่วย สร้างความรู้สึกคล้อยตามแรงหมุนเหวี่ยงของพลังพีระมิดที่เกิดขึ้นจากเทคนิค ของการจัดวางก้อนพีระมิดให้เป็นสนามพลังงาน จึงทำให้ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นทิศที่เกิดการหมุนเหวี่ยงที่เป็นมุมกว้าง 360 องศา ทั้งสองทิศให้คุณประโยชน์ที่ต่างกันเล็กน้อย คือทิศตะวันตกเฉียงใต้ จะเป็นทิศที่พลังพีระมิดไหลหมุนอัดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อทำการรักษาในส่วนที่มีปัญหา หรือเจ็บปวด เมื่อเป็นการบำบัดรักษา ผู้ฝึก ผู้ป่วยอาจจะความเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม และให้ผู้ฝึกสร้างความรู้สึกคล้อยตามการหมุนเหวี่ยงของพลังพีระมิด ซึ่งจะทำให้ร่างกายของผู้ฝึกโยกหมุนตามไปด้วย การอักเสบ ความเจ็บปวด รวมทั้งสารพิษตกค้างจะขับออกมาเป็นน้ำตา เหงื่อ เสมหะ น้ำลาย ฯลฯ ให้บ้วนทิ้งลงในถุงพลาสติก ผู้ฝึกควรจะทำสมาธิที่ทิศนี้อย่างน้อย 10 นาที

    ทิศลำดับที่ 5 ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ทิศนี้พลังพีระมิดจะหมุนเหวี่ยงเข้าสู่ร่างการเป็นมุมกว้าง 360 องศาเช่นกัน เพื่อหมุนคลายความเจ็บปวดและสารพิษตกค้างออกไปจากร่างกาย ผู้ฝึกจะมีอาการโยกหมุนเหมือนกับทิศตะวันตกเฉียงใต้ ปล่อยให้ร่างกายได้หมุนไปตามแรงเหวี่ยง จนกระทั่งความเจ็บปวด ความตึงแน่น ค่อยคลายลงๆ ผู้ฝึกควรจะทำสมาธิที่ทิศนี้อย่างน้อย 10 นาที

    ทิศลำดับที่ 6 ทิศตะวันออก เป็นทิศลำดับสุดท้ายของการนวดด้วยพลังพีระมิด ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วยนั่งลง และเหยียดขาหันหน้าไปทางทิศตะวันออก จะเกิดแรงดึงไป-มา หน้า-หลัง เป็นทิศที่ใช้สำหรับผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ รวมทั้งดันพลังพีระมิดที่นำมาใช้ในการบำบัดรักษาและพลังงานทุกชนิดที่ตกค้าง ให้ไหลออกไปจากร่างกาย เมื่อรู้สึกโล่งโปร่ง เบาสบายดีแล้ว ผู้ฝึก ผู้ป่วยอาจจะพักจิตหรือความรู้สึกไว้ในโพรงจมูกอยู่นิ่งๆ เฉยๆ ไม่ต้องทำสิ่งใดเพราะได้หมดภาระกิจในการบำบัดร่างกายไปแล้วอีก 1 ครั้ง ผู้ฝึกจะทำสมาธิอยู่ที่ทิศตะวันออกนี้ได้นานเท่าที่ต้องกาน หรือเวลาเอื้ออำนวย


    http://www.geocities.com/healthmeditation/healthmeditation/health.html

    ที่มา::
     
  2. ไห่เฉากุหลาบไฟ

    ไห่เฉากุหลาบไฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    897
    ค่าพลัง:
    +2,177
    สาธุ ขอบคุณ
     

แชร์หน้านี้

Loading...