สมาธิหมดไป "บนความไม่เที่ยง"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย anakarik, 1 พฤศจิกายน 2012.

  1. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    สมาธิย่อมเกิดอยู่บนความไม่เที่ยง
    สมาธิย่อมดับไป บนความไม่เที่ยง
    สมาธิย่อมเกิดดับไป เป็นมายาภาพ
    มิใช่เครื่องยึดมั่นถือมั่นได้
    บุคคลบรรลุธรรมได้เพียงขณิกสมาธิ


    พราหมณ์ฤษีเหล่าใดๆ ที่หลงวนในสมาธิ
    ยึดมั่นถือมั่นในสมาธิ ย่อมตรึกเช่นนี้ว่า
    ตนจะทรงสมาธิ, ตนจะทำสมาธิให้เที่ยง
    ตนจะไม่ให้สมาธิหมดสิ้นไป, ตัวตนของ
    ตนนี้แล กระทำ "สมาธิของตนให้เที่ยง"
    ให้ดำรง, ให้ทรงอยู่, ให้ไม่ดับสิ้นไป


    เมื่อสมาธิหมดไป พระอรหันตเจ้าทั้งหลาย
    ย่อมเห็นแจ้งอย่างนี้ว่า "แม้สมาธิ ก็ไม่เที่ยง
    หนอ" มิใช่สิ่งยึดมั่นถือมั่นได้หนอ จิตย่อม
    ไถ่ถอนออกจาก "สมาธิสืบชาติภพ" อันเป็น
    "เครื่องดองจิต" ให้คง, ให้ดำรงอยู่ ในภาวะ
    ในภพแห่งความสงบเพลิดเพลินนนั้น ย่อม
    หลุดพ้นจากภพแห่งพรหม, ตาข่ายพรหมได้


    เมื่อสมาธิหมดไปแล้ว ไม่เที่ยง ขณิกสมาธิ
    เกิดได้อีก พระโยคาวจรเจ้า ย่อมแจ้งโดย
    ฉับพลันว่า "สมาธินี้มิใช่ธรรมอันต้องหล่อ
    เลี้ยง, มิใช่ธรรมที่ต้องเจริญ, มิใช่ธรรมอัน
    เป็นภาระให้แบกไว้, มิใช่ธรรมอันเที่ยงแท้
    ให้ยึดมั่นแต่อย่างใด" เช่นนี้ "กิจจบแล้ว
    พรหมจรรย์สิ้นแล้ว ภพต่อไปย่อมไม่มีอีก"
     
  2. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    สมาธิย่อมเกิดขึ้น บนความไม่เที่ยงหนอ
    สมาธิย่อมคงอยู่ บนความไม่เที่ยงหนอ
    สมาธิย่อมดับไป บนความไม่เที่ยงหนอ


    สมาธินั้นย่อม เกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป
    บนความไม่เที่ยงหนอ เมื่อใดสมาธิดับ
    สิ้นหมดไป สมาธิรอบใหม่ ก็เกิดขึ้นได้
    ตามมา เพราะความไม่เที่ยงนั้น ...


    สมาธินั้นจึงเกิด ตามธรรมชาติ เป็นสัมมาสมาธิ
    สมาธินั้นจึงตั้งอยู่ ตามธรรมชาติ เป็นสัมมาสมาธิ
    สมาธินั้นจึงดัีบไป ตามธรรมชาติ เป็นสัมมาสมาธิ


    แล้วจักหา "ผู้ทำสมาธิ" ได้ไฉน?
     
  3. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    อย่าไปใช้ จินตนาการ สิ ป่าวอันถัง

    ต้องตามพิจารณา เห็นความไม่เที่ยง

    ป่าวอันถัง สังเกตุสิว่า หาก ป่าวอันถัง ลักลอบบรรยายธรรมด้วยการคิดๆนึกๆ
    มันจะไม่สามารถบรรยายเรื่อง การอาศัยระลึก ได้อย่างคนที่ทำเป็นเขาทำกัน

    หาก ป่าวอันถัง อาศัยระลึกตามเห็นความไม่เที่ยง ป่าวอันถังจะรู้เลยว่า สมาธิ
    เนี่ยะต้องหมั่นประกอบกันเลือดตาแทบกระเด็น เพราะ ทำสมาธิเพื่อให้ตาม
    เห็นความไม่เที่ยงเนี่ยะ ไม่ใช่ของง่าย

    พวกปัญญาทรามจะประกอบแม้แต่ตัวสมาธิไม่ได้ เพราะ สุกเอาเผากิน ไปคิด
    ว่าไม่ต้องเที่ยงกลายเป็นไม่ต้องทำ

    มันต้องทำสมาธฺแบบว่า เลือดตาแทบกระเด็นสิ แล้ว อาศัยระลึกตามเห็น

    เน้นนะ ตามเห็น

    เน้นอีกที ตามเห็น...............ความไม่เที่ยง จึงพยากรณ์ได้ว่า ไม่มี
    ตนในสมาธิ ไม่มีสมาธิในตน ตนไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่ตน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2012
  5. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746
    พราหมณ์ผู้มี “จิตเอนเอียงไป” หนักทางสมาธิ
    ย่อมมิได้เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฐิ ดุจเกวียนบรรทุกของหนัก
    เขาย่อมกระทำ “ความเพียรจม” ดุจล้อเกวียนที่จมปลักนั้น


    พระโยคาวจรเจ้าผู้เข้าถึงแล้วซึ่ง “สัมมาทิฐิ”
    ย่อมเริ่มต้นด้วยจิตอันเป็นกลาง เบาสบาย
    เขาย่อมมี “สัมมาวายามะ” อันไม่เพียรจม
    เจริญขึ้นเป็นลำดับไป จนถึง “สัมมาสมาธิ”
    ในท้ายที่สุด ย่อมเห็นแจ้งถึงที่สุดแห่งธรรม


    ท่านย่อมเห็นแจ้งชัดว่า “สมาธินั้น เกิดขึ้น
    ตั้งอยู่ และดับไป” เป็นรอบๆ เป็นวัฏจักร
    เป็น “ธรรมจักร” เช่นนี้ สมาธินั้นจึงเกิดขึ้น
    ตั้งอยู่ และดับไป “โดยธรรม” โดยมิต้องกระทำ
    เปล่าเลยจักหา “ผู้กระทำสมาธิ” ไปไยเล่า?
     
  6. anakarik

    anakarik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    3,752
    ค่าพลัง:
    +1,746

    เริ่มต้นหนัก กลางทางยิ่งหนัก ปลายทางจักไม่ถึง
    เริ่มต้นเบา กลางทางยังเบา ปลายทางยังถึงได้


    ผู้ฉลาดในกรรมฐาน ย่อมทำความเบาสบายในกรรมฐาน
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,055
    ค่าพลัง:
    +3,471
    ก็ม่ายฉ่ายอีกนั่นแหละ ป่าวอันถัง

    ป่าวอันถังต้องลอง ประกอบสมาธิ นิดๆ หน่อยๆ เอาตามแบบที่พระพุทธองค์
    สอน พระพุทธองค์กล่าวสอนพวกมี จริตไปทางตัณหา ก็ให้ปฏิบัติโดยเอา
    จริตนั่นแหละมาดัดนิสัยไปตรงๆ คือ ให้ตามพิจารณา ตัณหาที่เกิดและที่ดับ

    เกิดตัณหา ก็ไปทำสมาธิ ทำสมถะ พอทำได้ถึงจุดๆหนึ่ง พระพุทธองค์ก็
    สอนว่า ให้พิจารณาด้วยความแยบคายใน วิมังสา คือ หัดพอใจในผลที่ได้
    เท่าที่ได้ เท่าที่ทำได้ พอ วิมังสาต้องจิต ยกขึ้นเป็น องค์ธรรมในการตามรู้
    ตามดูได้ ตัณหามันจะดับ

    ตัณหาดับสนิทเลยนะ เพราะว่า เกิดความพอใจในการทำได้ (เท่าที่ทำได้)

    เนี่ยะ วิธีของพระพุทธองค์ให้ ยก ตัณหา มาพิจารณาไปตรงๆ ไปเลย

    ตอนประกอบสมาธิก็ใช้ตัณหา

    พอทำสำเร็จตามเป้าได้ตัณหาก็ดับพรึบ !! เกิดการนั่งยิ้มพอใจกับวิบาก
    ที่กำลังให้ผล และกำลังลดลงๆ พอลดลงได้ที่ตามความไม่เที่ยง และ
    เห็นว่ามันแค่ วิบากผลเล็กๆน้อยๆ ผู้ปฏิบัติก็จะระลึกได้ถึง "เหตุ" ที่เป็น

    ก็จะใช้ตัณหาเอามาครอบงำกบาลอีก พาไปทำสมาธิอีก แล้วก็ต้องตั้ง
    ระดับความพอใจ(วิมังสา)ใหม่ เพราะรสเดิมมันคลายออกไปแล้ว ระดับ
    จิตที่เสพสมาธิก็จะปราณีตขึ้น ตัณหาปราณีตขึ้น ร้ายกาจขึ้นเรื่อยๆ

    แต่ถ้ารู้จักวิมังสาแค่ตัวเดียว ตัณหาก็ดับพรึบ ให้พิจารณาได้อีก

    พอเห็นตัณหาเกิดอย่างนี้ และดับไปอย่างนี้ ทั้งที่ เอาตัณหาร้อย
    รัดอัดแน่นบีบคั้นหัวใจพาไปทำให้ยิ่งๆ แต่ มันได้ตามรู้ตามดู ตัณหา
    ที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เนืองๆ ตรงนี้จึงเกิดเป็น ศรัทธาเข้ามาใน
    ตัวศาสนา

    แม้แต่จะมีตัรหาจริตกัดกบาล แต่ก็เอามา ดัดจริต ให้เข้าสู่มรรคได้
    ด้วยการตามเห็น ตัณหาดับรอบ ดับสนิทเป็นรอบๆ ไปเนืองๆ ทำให้
    มากๆ มันก็ เบาจากตัณหา

    เบาจากตัณหานะ ดังนั้น ไม่ใช่ หนักหนาสาหัสสากัญ

    แต่มันตรงกันข้าม ยิ่งหมั่นประกอบ ยิ่งเบา โน้มไปสู่นิพพาน สิ้นตัณหาได้
    แน่นอนเพราะ ตามดูการสิ้นไปของตัณหาเนืองๆ ตัณหามันก็ไม่เที่ยง

    นี่ ...

    เห็นไหม หากป่าวอันถัง ไม่ประกอบธรรม ไม่ประกอบสมาธิ เอาแต่
    ประกอบธรรม ก็จะไม่เข้าใจผู้หมั่นประกอบสมาธิ พอมากล่าว มันก็
    ขาดๆ เกินๆ ( จำได้มะวาน ป่าวอันถัง ยังยกกล่าว ตัณหาไม่เที่ยง กิเลสไม่เที่ยง
    อยู่เลย มาวันนี้ มากล่าวเชิง ตัรหาเที่ยงซะงั้น )


    อาศัยระลึกคืออะไร มันก็ งง อย่างเดียว

    แต่ถ้า ป่าวอันถัง แค่เอาไป ทดลองนิดหน่อยๆ นะ ไม่แน่ !!

    ไม่แน่ว่า บทความดีๆ ของป่าวอันถึง จะแหลมคม แยบคายมากขึ้น

    ถ้า ป่าวอันถังปฏิบัติจนพอจะเห็นทางในแบบเขา เขาประกอบสมาธิ
    ทำสมถะ แต่ เพื่อเป็นอุบายดูตัณหาเกิดดับ อีกทอดหนึ่ง ก็
    จะยอมรับเลยว่า พวกเขานั้น อัจฉริยะมาเกิด แต่ถ้า พวกนั้นเขา
    อ้าง จริตว่ากูตัณหาเว้ย กูจะเอาตัณหา ไม่ใช่ ตามดูการเกิดดับของตัณหา อันนี้
    ก็ปล่อยให้เขา โง่ไปก่อน เขาไม่ว่ากัน

    แต่ถ้า ป่าวอันถัง ยังโพสอะไรดุ่ยๆ แบบนี้ ไม่ปฏิบัติเองดูให้รู้รสบ้าง เดี๋ยวก็ถูกย้ายกระทู้ไป.........

    ( มะเอา มะพุด เนาะ ไม่อยากจะซ้ำเติมส่งเสริม..กรรม....การ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...