สมาธิเบื้องต้น(อานาปานสติ) สำหรับคนทั่วไปอย่างง่าย

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 สิงหาคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    พระธรรมเทศนาโดย
    พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านเจ้าประคุณพุทธทาส อินทปัญโญ)



    ในกรณีปกติให้นั่งตัวตรง (ข้อกระดูกสันหลังจรดกันสนิทเต็มหน้าตัดของมันทุกๆ ข้อ)
    ........๑. ศรีษะตั้งตรงตามองไปที่ปลายจมูกให้อย่างยิ่งจนไม่เห็นสิ่งอื่น จะเห็นอะไร หรือไม่เห็นก็ตามใจ ขอให้จ้องมองเท่านั้น พอชินเข้าจะได้ผลดีกว่าหลับตา และไม่ชวนให้ง่วงนอนได้ง่ายด้วย โดยเฉพาะคนขี้ง่วงให้ทำอย่างลืมตานี้แทนหลับตา ทำไปเรื่อยๆ ตามันจะหลับของมันเอง ในเมื่อถึงขั้นที่มันจะต้องหลับ หรือจะหัดทำอย่างหลับตาเสียตั้งแต่ต้นก็ตามใจ แต่วิธีที่ลืมตานั้นจะมีผลดีกว่าหลายอย่าง แต่ว่าสำหรับบางคนรู้สึกว่าทำยาก โดยเฉพาะพวกที่ยึดถือในการหลับตา ย่อมไม่สามารถทำอย่างลืมตาได้เลย
    ........๒. มือปล่อยวางไว้บนตักซ้อนกันตามสบาย ขาขัดหรือซ้อนกันโดยวิธีที่จะช่วยยันน้ำหนักตัว ให้นั่งได้ถนัดและล้มยาก ขาขัดอย่างซ้อนกันธรรมดาหรือจะขัดไขว้กันนั่นแล้วแต่จะชอบหรือทำได้ คนอ้วนจะขัดขาไขว่กันอย่างที่เรียกว่า ขัดสมาธิเพชรนั้น ทำได้ยากและไม่จำเป็น ขอแต่ให้นั่งคู้ขาเข้ามา เพื่อรับน้ำหนักตัวให้สมดุลล้มยากก็พอแล้ว ขัดสมาธิอย่างเอาจริงเอาจังยากๆ แบบต่างๆ นั้นไว้สำหรับเมื่อจะเอาจริงอย่างโยคีเถิด
    ........๓. ในกรณีพิเศษสำหรับคนป่วยคนไม่ค่อยสบายหรือแม้แต่คนเหนื่อย จะนั่งอิงหรือนั่งเก้าอี้ หรือเก้าอี้ผ้าใบ สำหรับเอนทอดเล็กน้อย หรือนอนเลยสำหรับคนเจ็บไข้ก็ทำได้ ทำในที่ไม่อับอากาศ หายใจได้สบายไม่มีอะไรกวนจนเกินไป
    ........๔. เสียงอึกทึกที่ดังสม่ำเสมอ และไม่มีความหมายอะไร เช่น เสียงคลื่น เสียงโรงงานเหล่านี้ ไม่เป็นอุปสรรค เว้นแต่จะไปยึดถือว่าเป็นอุปสรรคเสียเอง เสียงที่มีความหมายต่างๆ เช่น เสียงคนพูดกันนั้น เป็นอุปสรรคแก่ผู้หัดทำ ถ้าหาที่เงียบเสียงไม่ได้ ก็ให้ถือว่าไม่มีเสียงอะไร ตั้งใจทำไปก็แล้วกัน มันจะค่อยได้เอง
    ........๕. ทั้งที่ตามองเหม่อ ดูปลายจมูกอยู่ก็สามารถรวมความนึกหรือความรู้สึก หรือเรียกภาษาวัดว่า สติ ไปกำหนดจับ อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกของตัวเองได้ คนที่ชอบหลับตาก็หลับตาแล้วตั้งแต่ตอนนี้ คนชอบลืมตาลืมไปได้เรื่อยๆ จนมันค่อยๆ หลับของมันเองเมื่อเป็นสมาธิมากขึ้นๆ
    ........๖. เพื่อจะให้กำหนดได้ง่ายๆ ในขั้นแรกหัด ให้พยายามหายใจให้ยาวที่สุดที่จะยาวได้ ด้วยการฝืนทั้งเข้าและออกหลายๆ ครั้งเสียก่อนเพื่อจะได้รู้ตัวเองให้ชัดเจนว่า ลมหายใจที่มันลากเข้าออกเป็นทางอยู่ภายในนั้น มันลากถูหรือกระทบอะไรบ้าง ในลักษณะอย่างไร และกำหนดได้ง่ายๆ ว่า มันไปรู้สึกว่าสุดลงที่ตรงไหนที่ในท้อง โดยเอาความรู้สึกที่กระเทือนนั้นเป็นเกณฑ์ พอเป็นเครื่องกำหนดส่วนสุดข้างใน และส่วนสุดข้างนอก ก็กำหนดง่ายๆ เท่าที่จะกำหนดได้
    ........๗. คนธรรมดาจะรู้สึกลมหายใจกระทบปลายจะงอยจมูก ให้ถือเอาตรงนั้นเป็นที่สุดข้างนอก ถ้าคนจมูกแฟบหน้าหัก ริมฝีปากบนเชิด ลมจะกระทบปลายริมฝีปากบนอย่างนี้ีก็็ให้กำหนดเอาที่ตรงนั้น ว่าเป็นที่สุดท้ายข้างนอก แล้วก็จะได้จุดทั้งข้างนอกและข้างใน โดยกำหนดเอาว่าที่ปลายจมูกจุดหนึ่งที่สะดือจุดหนึ่ง แล้วลมหายใจได้ลากตัวมันเอง ไปมาอยู่ระหว่างจุดสองจุดนี้ ขึ้นลงอยู่เสมอ

    ........๘. ทีนี้ทำใจของเราให้เป็นเหมือนอะไรที่คอยวิ่งตามลมนั้นไม่ยอมพรากทุกครั้ง ที่หายใจทั้งขึ้นและลงตลอดเวลาที่ทำสมาธินี้ จัดเป็นชั้นหนึ่งของการกระทำ เรียกกันง่ายๆ ในที่นี้ก่อนว่า ขั้น
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ๑๑. การทำไม่สำเร็จนั้น คือสติ หรือความนึกไม่อยู่กับลมตลอดเวลา เผลอเมื่อไรก็ไม่รู้ มารู้เมื่อมันไปแล้ว และก็ไม่รู้ว่ามันไปเมื่อไร โดยอาการอย่างไรเป็นต้น พอรู้ก็จับตัวมันมาใหม่ และฝึกกันไปกว่าจะได้ในขั้นนี้ ครั้งหนึ่ง ๑๐ นาที เป็นอย่างน้อยแล้วจึงค่อยฝึกขั้นต่อไป
    ........๑๒. ขั้นต่อไป ซึ่งเรียกว่า บริกรรมขั้นที่สอง หรือขั้น “ดักดูอยู่แต่ตรงที่แห่งใดแห่งหนึ่ง” นั้นจะทำต่อเมื่อทำขั้นแรกข้างต้นได้แล้วเป็นดีที่สุด หรือใครจะสามารถข้ามมาทำขั้นที่สองนี้ได้เลย ก็ไม่ว่า ในขั้นนี้จะให้สติ หรือความนึกคอยดักกำหนดอยู่ตรงที่ใดแห่งหนึ่ง โดยเลิกการวิ่งตามลมเสีย ให้กำหนดความรู้สึก เมื่อลมหายใจเข้าไปถึงที่สุดข้างใน คือสะดือครั้งหนึ่งแล้วปล่อยวางหรือวางเฉย แล้วกำหนดรู้สึกกันเมื่อลมออกมากระทบที่สุดข้างนอกคือปลายจมูกอีกครั้งหนึ่ง แล้วก็ปล่อยว่างหรือวางเฉย จนมีการกระทบส่วนสุดข้างในคือสะดืออีก ทำนองนี้เรื่อยไปไม่มีการเปลี่ยนแปลง
    ........๑๓. เมื่อเป็นขณะที่ปล่อยวาง หรือวางเฉยนั้นจิตก็ไม่ได้หนีไปอยู่บ้านช่องไร่นา หรือที่ไหนเลยเหมือนกัน แปลว่าสติคอยกำหนดที่ส่วนสุดข้างในหนึ่งข้างนอกแห่งหนึ่ง ระหว่างนั้นปล่อยเงียบหรือว่าง เมื่อทำได้อย่างนี้เป็นที่แน่นอนแล้ว ก็เลิกกำหนดข้างในเสีย คงกำหนดแต่ข้างนอก คือที่ปลายจมูกแห่งเดียวก็ได้ สติคอยเฝ้ากำหนดอยู่แต่ที่จะงอยจมูก ไม่ว่าลมจะกระทบเมื่อหายใจเข้าหรือเมื่อหายใจออกก็ตาม ให้กำหนดรู้ทุกครั้ง สมมติเรียกว่าเฝ้าแต่ตรงที่ปากประตู ให้มีความรู้สึกครั้งหนึ่งๆ เมื่อลมผ่านออกนั้นว่าง หรือเงียบ ระยะกลางที่ว่างหรือเงียบนั้นจิตไม่ได้หนีไปอยู่ที่บ้านช่องหรือที่ไหนอีกเหมือนกัน
    ........๑๔. ทำได้อย่างนี้เรียกว่า ทำบริกรรมในชั้น “ดักอยู่แต่ในที่แห่งหนึ่ง” นั้นได้สำเร็จ จะไม่สำเร็จก็ตรงที่จิตหนีไปเสียเมื่อไรก็ไม่รู้ มันกลับเข้าไปในประตู หรือเข้าประตูแล้วลอดหนีไปทางไหนเสียก็ได้ ทั้งนี้เพราะระยะที่ว่างหรือเงียบนั้น เป็นไปไม่ถูกต้องและทำไม่ดีมาตั้งแต่ข้างต้นของขั้นนี้ เพราะฉะนั้นควรให้ดีหนักแน่น และแม่นยำมาตั้งแต่ขั้นแรก คือขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” นั้นทีเดียว
    ........๑๕. แม้ขั้นต้นที่สุดหรือที่เรียกว่าขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” ก็ไม่ใช่ทำได้โดยง่ายสำหรับทุกคน และเมื่อทำได้ก็มีผลเกินคาดมาแล้วทั้งกายและใจ จึงควารทำให้ได้และทำให้เสมอๆ จนเป็นของเล่นอย่างการปริหารกายมีเวลาสองนาทีก็ทำ เริ่มหายใจให้แรงจนกระดูกลั่นก็ยิ่งดี จนมีเสียงหวีดหรืออซูดซาดก็ได้ แล้วค่อยผ่อนให้เบาไปๆ จนเข้าระดับปกติของมัน
    ........๑๖. ตามธรรมดาที่คนเราหายใจอยู่นั้นไม่ใช่ระดับปกติ แต่ว่าต่ำกว่า หรือน้อยกว่าปกติโดยไม่รู้สึกตัวโดยเฉพาะเมื่อทำกิจการงานต่างๆ หรืออยู่ในอิริยาบถที่ไม่เป็นอิสระนั้นลมหายใจของตัวเอง อยู่ในลักษณะที่ต่ำกว่าปกติ ที่ควรจะเป็นทั้งที่ตนเองไม่ทราบได้ เพราะฉะนั้นจึงให้เริ่มด้วยหายใจอย่างรุนแรงเสียก่อน แล้วจึงค่อยปล่อยให้เป็นไปตามปกติ อย่างนี้จะได้ลมหายใจที่เป็นสายกลางหรือพอดี และทำร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติด้วยเหมาะสำหรับจะกำหนดเป็นนิมิตรของอานาปานัสสติในขั้นต้นนี้ด้วย
    ........๑๗. ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าการบริกรรมขั้นต้นที่สุดนี้ ขอให้ทำจนเป็นของเล่นปกติสำหรับทุกคน และทุกโอกาสเถิด จะมีประโยชน์ในส่วนสุขภาพทั้งทางกายและใจอย่างยิ่ง แล้วจะเป็นบันไดสำหรับขั้นสองต่อไปอีกด้วย แท้จริง ความแตกต่างกันในระหว่างขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” กับ “ดักดูอยู่เป็นแห่งๆ” นั้นมีไม่มากมายอะไรนัก เป็นแต่เป็นการผ่อนให้ประณีตเข้า คือมีระยะการกำหนดด้วยสติน้อยเข้าแต่คงมีผล คือจิตหนีไปไม่ได้เท่ากัน
    ........๑๘. เพื่อให้เข้าใจง่ายจะเปรียบกับพี่เลี้ยงไกวเปลเด็กอยู่ข้างเสาเปล ขั้นแรกก็จับเด็กใส่ลงในเปลแล้วเด็กยังไม่ง่วง ยังคอยจะดิ้นหรือลุกออกจากเปล ในขั้นนี้พี่เลี้ยงจะต้องคอยจับตาดูแหงนหน้าไปมาดูเปลไม่ให้วางตาได้ ซ้ายทีขวาทีอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เด็กมีโอกาสตกมาจากเปลได้ ครั้นเด็กชักจะยอมนอน คือไม่ค่อยจะดิ้นรน แล้วพี่เลี้ยงก็หมดความจำเป็นที่จะต้องแหงนหน้าไปมา ซ้ายทีขวาทีตามระยะที่เปลไกวไปไกวมา พี่เลี้ยงคงเพียงแต่มองเด็กเมื่อเปลไกวมาตรงหน้าตนเท่านั้นก็พอแล้ว มองแต่เพียงครั้งหนึ่งๆ เป็นระยะๆ ขณะที่เปลไกวไปมาตรงหน้าตนพอดี เด็กก็ไม่มีโอกาสลงจากเปลเหมือนกันเพราะเด็กชักจะยอมนอนขึ้นมา ดังกล่าวแล้ว
    ........๑๙. ระยะแรกของการบริกรรมกำหนดลมหายใจในขั้น “วิ่งตามตลอดเวลา” นี้ก็เปรียบกันได้กับ ระยะที่พี่เลี้ยงต้องคอยส่ายหน้าไปมาตามเปลที่ไกวไม่ให้วางตาได้ ส่วนระยะที่สอง กำหนดลมหายใจเฉพาะที่ปลายจมูกที่เรียกว่า ขั้น “ดักอยู่แห่งใดแห่งหนึ่ง” นั้นก็คือขั้นที่เด็กชักจะง่วงและยอมนอนจนพี่เลี้ยงจับตาดูเฉพาะเมื่อเปลไกวมาตรงหน้าตนนั่นเอง
    ........๒๐. เมื่อฝึกหัดมาได้ขั้นที่สองนี้อย่างเต็มที่ก็อาจฝึกต่อไปถึงขั้นที่ผ่อนระยะการกำหนดของสต ิให้ประณีตเข้าๆ จนเกิดสมาธิชนิดแน่วแน่เป็นลำดับ ไปจนถึงเป็นฌาณขั้นใดขั้นหนึ่งได้ ซึ่งพ้นไปจากสมาธิอย่างง่ายๆ ในขั้นต้นๆ สำหรับคนธรรมดาทั่วไป และไม่สามารถนำมา กล่าวรวมกันไว้ในที่นี้เพราะ เป็นเรื่องละเอียดรัดกุม มีหลักเกณฑ์ซับซ้อน ต้องศึกษากันเฉพาะผู้สนใจถึงขั้นนั้น ในขณะนี้เพียงแต่ขอให้สนใจในขั้นมูลฐานกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเป็นของเคยชินเป็นธรรมดาอันอาจจะตะล่อมเข้าเป็นขั้นสูงขึ้นไปตามลำดับในภายหลัง
    สิ่งที่มนุษย์ควรจะได้พบ ขอให้ฆารวาสทั่วไปได้มีโอกาสทำสมาธิ ชนิดที่อาจทำประโยชน์ทั้งกายและใจ สมความต้องการในขั้นต้นเสียขั้นหนึ่งก่อน เพื่อจะได้เป็นผู้ชื่อว่ามีศีล สมาธิ ปัญญา ครบสามประการ หรือมีความเป็นผู้ประกอบตนอยู่ในมรรคมีองค์แปดประการได้ครบถ้วน แม้ในขั้นตน ก็ยังดีกว่าไม่มีเป็นไหนๆ กายจะระงับลงไปกว่าที่เป็นอยู่ตามปกติก็ด้วยการฝึกสมาธิสูงขั้นไปตามลำดับๆ เท่านั้น และจะได้พบ “สิ่งที่มนุษย์ควรจะได้พบ” อีกสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้ไม่เสียทีที่เกิดมา
    ท่านที่สนใจฝึกสมาธิขั้นสูงขึ้นไป ขอให้อ่านหนังสือเรื่องอานาปานัสสติสมบูรณ์แบบ อันเป็นวิธีการฝึกสมาธิที่เหมาะอย่างยิ่งกับวิธีการนี้


    คัดลอกจากหนังสือ สมาธิเบื้องต้น (อานาปานัสสติ)
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ข้อเทคนิคพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับบางท่านซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติใหม่
    เมื่อเริ่มต้นฝึกอานาปานสติ สมาธิภาวนา


    ความตั้งใจใส่ใจในจุดกระทบลมหายใจเข้า-ออก อานาปานสติสมาธิ
    สติที่กำหนดสังเกตลมหายใจที่ผ่านมากระทบเข้า-ออก
    -เพ่งมากไปอาจตึงและมึนศีรษะ
    -หย่อนมากไปอาจฟุ้งไม่สงบ

    เกี่ยวกับเรื่องการดำเนินวางจิตนั้นเป็นพื้นฐานเบื้องแรกที่สำคัญ
    พระพุทธองค์ได้ทรงอุปมาอุปมัย ไว้ว่า "ประดุจผู้ฉลาดที่มีนกกระจาบรักษากำไว้ในมือของตน"
    ........หากกำมือหลวมไป นกกระจาบตัวนั้นก็คงหลุดมือไป เปรียบได้กับความย่อหย่อนไม่เอาใจใส่กรรมฐานที่มีลมหายใจเข้า-ออก เป็นบาทฐานให้สติระลึกรู้อยู่

    ........หากกำมือบีบแน่นเกินไป นกกระจาบตัวนั้นคงตายหายใจไม่ออก เปรียบได้กับการเพ่งตั้งใจมากไปกับลมหายใจไม่เป็นธรรมชาติ เกิดภาวะเกร็ง เครียด จนอาจปวดตึงศรีษะหรือท้ายทอย

    การฝึกอานาปานสติ มิใช่การพยายามปรับลมหายใจให้เป็นรูปแบบใหม่
    แต่เป็นเพียงการศึกษากระบวนการธรรมชาติภายในตัวเองผ่านลมหายใจเข้าและออก
    เป็นลมหายใจที่มีอยู่แล้วตามปกติธรรมชาติของชีวิตมนุษย์

    จึงควรหาจุดที่พอดี เหมาะสมกับแต่ละท่าน ที่ได้จากการสังเกตตัวเอง
    จุดเหมาะสมพอดีนั้นของแต่ละท่านนั้น ประสบการณ์ตรงด้วยตัวเองค้นหาเจอเป็นดีที่สุด

    ......................

    และจุดโฟกัสของลมหายใจ ก็เช่นกันที่สามารถก่อให้ท่านมึนตึงศีรษะ จากการเพ่งได้
    ........ ควรเลือกจุดที่รู้สึกได้ชัดที่สุด ส่วนใหญ่ของผู้ปฏิบัติก็จะมี
    ........๑.ส่วนใดส่วนหนึ่งของโพรงจมูก
    ........ ๒.ปลายจมูก หรือ ๓.บริเวณจุดพื้นที่ผิวเหนือริมฝีปากกระทบลม
    ........ผู้ปฏิบัติแต่ละท่านไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความถนัด ชัดเจนของแต่ละบุคคลไป ที่จะสังเกตโฟกัสที่จุดใด

    ........ใหม่ๆ เมื่อใหร่ที่รู้สึกตึงจากการกำหนด อาจเกิดจากกำหนดจุดรับรู้ลมหายใจใกล้ หรือไกลจนเกินไป
    ........ดังนั้นควรหมั่นสังเกตุหาจุดที่พอดีเหมาะสมกับแต่ละท่าน

    .......................
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมาธิภาวนา ที่มีทั้ง สมถะและวิปัสสนา อานาปานสติ

    .........อุปมา คล้ายกับ ผู้ถือแว่นเลนส์ส่องรับดวงตะวัน เพื่อรวมแสงไปยังใบไม้หรือแผ่นกระดาษเพื่อเผาไหม้ ดุจเดียวกับ
    .........สติ สัมปชัญญะที่ดำรงอยู่สภาวะธรรมปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เปรียบดังการที่มือถือแว่นเลนส์ ไม่ซัดส่าย
    .........ความสะอาดของแว่นเลนส์ เปรียบดั่ง ภาวะปัญญาที่แจ่มชัด ซึ่งก่อเกิดจากการหล่อหลอมสติ สัมปชัญญะ เป็นกลาง สัมผัสอยู่ กับสภาพธรรมปัจจุบันโดยลำดับ ชัดแจ้งสภาพธรรมโดยลำดับ ซึ่งสภาพธรรมทั้งปวงรวบลงสู่นามและรูป ที่เป็นปัจจัยเคลื่อนไหว ดำเนินอยู่ ความไม่เที่ยง ไม่จีรัง เป็นทุกขังไม่สามารถบังคับบัญชา ทั้งนามรูปที่สืบเนื่องเป็นปัจจัยเสริมซึ่งกันและกัน ไม่มีใครยึดเป็นของเขา ของเราได้
    .........ความร้อนที่เกิดขึ้นบนใบไม้ หรือกระดาษ เปรียบประดุจ แสงแห่งปัญญา ที่แผดเผากิเลสความเคยชินเก่าๆที่ก่อทุกข์ ด้วยบาทฐานแห่งสติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา แทงตลอดในสภาพธรรม(นามรูป)ความไม่จีรังยั่งยืนในสิ่งที่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น เป็นทุกข์ และไม่สามารถนำมาถือเป็นตัวเราของเรา ของเขาได้

    .........อุปมาอีกข้อ คล้ายกับ เราอยู่ในห้องที่สลัว มองไม่ชัดว่ามีสิ่งใดอยู่ในห้องบ้าง เมื่อจุดเทียนไขขึ้นก็สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้
    .........ห้องที่สลัว หมายถึง ห้วงชีวิตที่ดำเนินที่มีความไม่รู้ครอบงำ สิ่งต่างๆที่เป็นปมแฝงเร้นซ่อนเงื่อนภายในจิตใจ
    .........แสงจากเปลวเทียน หมายถึง ภาวะสงบ ไม่ซัดส่าย ดุจปลอดจากสายลมรบกวน เปลวเทียนไม่ซัดส่าย ได้ภาวะสงบจิต สงบกาย ไม่โดนครอบงำจากอารมณ์ มีจิตประณีต ได้จากการวางจิตเบา กายเบา อยู่กับอารมณ์กรรมฐาน-สมถะ
    แสงจากเปลวเทียน ยิ่งสว่าง ก็สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆโดยรอบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น พิจารณา(วิปัสสนา)ได้เข้าใจชัดถึงความจริงชัดเจนยิ่งขึ้นโดยลำดับ
    นำไปสู่การปล่อยวางทางจิตใจอย่างถูกต้องเป็นธรรมชาติโดยไร้การอิงอาศัยกระแสแห่งแรงเจตนา

    .........ความสลัวที่เคยบดบังสายตา ดุจดังอารมณ์ที่ครอบงำจิตใจ ก็จักค่อยแยกแยะอารมณ์ส่วนนามที่เกิดจากเวทนา(ความรู้สึก) และสภาพรับรู้(จิต) สลายเงื่อนปมปัญหาในจิตใจ ที่เคยผูกปมไว้ กับสิ่งต่างๆ ผู้ปฏิบัติจัก มีความเข้าใจแจ่มชัด ปล่อยวาง ดำเนินไปสู่การไขปริศนาชีวิตตนเองได้ โดยลำดับ
    เป็นผลอานิสงส์ของการดำเนินวิถีทางโดยการปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา


    .........ขอขยายความศัพท์คำว่า "สภาพธรรมทั้งปวงย่นย่อลงเหลือเพียง นามและรูป" หรือ ขันธ์๕ ที่มีทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อความเข้าใจชัดเจนขึ้นสำหรับผู้ปฏิบัติที่ยังใหม่ที่ได้อ่านในความเห็นนี้ครับ

    .........นาม คือ อารมณ์ ความรู้สึก(เวทนา) สภาพรู้(จิต) สภาพธรรม
    .........รูป คือ ลมหายใจ(อานาปานสติ-๑), อริยาบทต่างๆของร่างกาย(อริยบทบรรพหลักและย่อย-๒และ๓) ,ปฏิกูลสิ่งต่างๆของร่างกาย(ปฏิกูลมนสิการบรรพ-๔) ,ความเป็นธาตุของร่างกายของดิน น้ำ ไฟ ลม(ธาตุมนสิการบรรพ-๕) ,ศพในป่าช้าโดยอาการทั้ง ๙ ชนิด(นวสีวถิกาบพรรพ-๖)
    .........หมายเหตุ รูป ที่แสดงไว้ทั้งสิ้นจากหมวดฐานกายที่มี ๖ หมวด ของสติปัฏฐาน ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเห็นได้ชัดเจนว่า แต่ละอุบายวิธีของ ๖ วิธีนั้นมีการพิจารณามนสิการซึ่งในส่วนฐานรูปเท่านั้นก็คือฐานกาย ที่มีความแตกต่างกัน ตามแต่วิธีตามจริตของผู้ปฏิบัติ เพื่อกันความสับสนของความเข้าใจที่อาจซ้อนทับกัน ของอุบายหลักวิธีปฏิบัติ และเพื่อความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติแต่ละอุบายวิธีที่ดำเนินไป
    .......ส่วนฐานนาม ล้วนดำเนินไปโดยเป็นอย่างเดียวกันรูปแบบของการวิวัฒน์เกื้อกูลคุณธรรมจิต ไปในทิศทางเดียวกัน แม้ฐานรูปจักดำเนินต่างกันอย่างไรก็ตาม
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วิธีการปฏิบัติเจริญอานาปานสติภาวนาอย่างสัมพันธ์กับสติปัฏฐาน๔

    ......สาระประโยชน์และเทคนิคครอบคลุมพื้นฐานเบื้องต้นทั่วไป ,ทัศนคติวิธีปฏิบัติ และการอุทิศบุญกุศลจากการปฏิบัติแผ่เมตตาสร้างสิ่งดีงามให้กับตัวผู้ปฏิบัติเอง และสังคมรอบข้าง

    พื้นฐานการปฏิบัติตัวเองทั่วไป ก่อนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    เป็นการรักษาสมดุลย์ความพร้อมองค์รวมชีวิตประจำวัน
    การรับประทานอาหาร การนอน และทั่วไป
    การรับประทานอาหารอย่างพอดีพอเหมาะ ไม่อิ่ม ไม่หิวจนเกินไป
    เคี้ยวอาหารโดยละเอียด มีสติในการทานอาหารใช้เวลาพอเหมาะสม

    รักษาระยะห่างหลังทาน กับการทำสมาธิภาวนาให้พอเหมาะกับระบบย่อยอาหาร
    โดยแน่ใจว่ามีการย่อยสลายอาหารหมดแล้ว จึงเริ่มทำสมาธิ
    เพราะหากกำลังย่อยอยู่ธาตุไฟที่กำลังใช้อยู่กับการย่อยจะถูกดึงมายังส่วนบน
    ทำให้ท้องอืด ส่งผลเสียต่อระบบย่อยปกติของร่างกาย เกิดง่วงซึมได้.. เป็นต้น

    การนอนหลับ ใช้เวลานอนที่พอดีกับร่างกาย ไม่นอนน้อยเกินไป หรือมากเกินไป
    เมื่อรู้สึกตัวให้ตื่นอย่างมีสติ ไม่นอนต่อ

    รักษาดูแลความเป็นปกติของศีล๕ ค่อยๆปรับลำดับไปสู่ กุศลบท ๑๐ หรือสุจริต๓
    คือการรักษาความสุจริตของจิตใจ วาจา และการกระทำทางกาย


    วิธีการฝึกอานาปานสติ สามารถศึกษาแนวทางได้จากพระสูตร http://www.dhammachak.net/wimuttidham_ch7.pdf

    จุดที่ต้องการจะเสริมความชัดเจนในแง่มุมต่างๆ คือ ความสัมพันธ์อานาปานสติ-สติปัฏฐาน๔ ที่แนบเนื่องดำเนินไปควบคู่กัน
    คือ อานาปานสติมีทั้งในส่วนของ สมถะและวิปัสสนา ควบคู่กันไป

    การเจริญอานาปานสติ คือ การมีสติอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก ,มีลมหายใจเป็นราวเกาะของสติ เช่น การขึ้นบรรได หรือไต่ขึ้นภูเขา ก็ควรมีที่เกาะที่ยึดไว้

    เมื่อหายใจเข้า ก็รู้สึกถึงลมหายใจเข้า เมื่อหายใจออก ก็รู้สึกถึงลมหายใจออก สิ่งปรุงแต่งร่างกาย

    เมื่อลมหายใจสั้นก็รู้ชัดว่ากองลมหายใจสั้น เมื่อลมหายใจยาวก็รู้ชัดว่ากองลมหายใจยาว
    ทำไปเรื่อยๆ...พอดีใส่ใจกับสิ่งที่มี ปฏิบัติได้เท่าใด ก็พอใจเพียงเท่านั้น
    วางจิตเป็นกลาง ไม่เพ่งจดจ่อจนตึง ไม่ปล่อยสติไหลตามสิ่งต่างๆที่เข้ามาไม่เป็นสมาธิ

    เมื่อสติ สัมปชัญญะ ความรู้สึกในตามลมหายใจ คมชัดเจนขึ้น ย่อมประจักษ์สิ่งที่ละเอียดขึ้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือ เวทนาทางกาย เวทนาทางใจ ที่เป็นความสุข ,ทุกข์ หรือเฉยๆ
    ......เวทนาชนิดหยาบที่เกิดขึ้นทั่วไป, เวทนาชนิดละเอียด ประณีตที่จิตเป็นรูปฌานที่มีปีติ สุข เป็นองค์ประกอบของภาวะจิตที่เป็นหนึ่ง( เอกกัคคตา)

    เมื่อเกิดความรู้สึก(เวทนา) ความนึกคิดอารมณ์ชนิดใดๆ เกิดขึ้น ก็ตามรู้ชัดในสภาพการณ์ขณะนั้น
    โดยรักษาความรู้สึกไว้เป็นปัจจุบันขณะไว้อย่างสม่ำเสมอ
    ทำไปเรื่อยๆ...พอดีใส่ใจกับสิ่งที่มี ปฏิบัติได้เท่าใด ก็พอใจเพียงเท่านั้น

    เมื่อความรู้สึก(เวทนา)ที่แนบเนื่องกันกับความนึกคิดอารมณ์(จิต)ชนิดต่างๆ
    แยกได้อย่างชัดเจนมากขึ้น จากความคุ้นเคย จากการปฏิบัติประการณ์ตรงกับจิตที่เนื่องด้วยเวทนา

    เมื่อเกิดความนึกคิดอารมณ์(จิต)ชนิดต่างๆ ก็ให้รู้ชัด รู้รอบในความเกิด ความดับ
    ......การดูจิตดูอารมณ์ ดูความรู้สึก นึกคิด จิตเป็นหนึ่ง แผ่กว้าง เป็นฌาน, จิตมีนิวรณ์ ,มีจิตอื่นภายในแทรกขึ้นไม่เป็นหนึ่ง ..เป็นต้น

    โดยรู้ว่าขณะนี้มีอารมณ์ของจิตชนิดใดเกิดขึ้นภายในจิตใจเรา สักแต่รู้ ..เป็นต้น
    พิจารณาดูความสืบเนื่องของจิตภายใน
    สาเหตุให้เกิดจากภายใน ภายนอก
    เจริญไว้สม่ำเสมอต่อเนื่อง

    รักษาดำเนินเป็นปัจจุบันขณะไว้อย่างสม่ำเสมอ
    สักแต่รู้ สักแต่เห็น ละการแทรกแซงสภาวธรรมไม่นำสิ่งที่เห็นที่รู้มาปรุงแต่ง

    กาย เวทนา จิต และธรรม ระลึกรู้เพียงสภาวธรรมปัจจุบัน
    สักแต่รู้ สักแต่เห็น ละการแทรกแซง ละความปรุงแต่งสภาพธรรมที่ปรากฏ
    การเห็น-รู้ สภาพธรรมโดยผ่านจากความคิดที่อาศัยสมองเป็นการรู้โดยสมมุติบัญญัติ

    การตัดผ่านสภาพการเห็นสภาพธรรมโดยสมมุติสู่ปรมัตถธรรม พึงละการใช้ความคิด ละปรุงแต่งต่อสภาพธรรมนั้นๆ "ละคิด หยุดคิด จึงรู้(โดยปรมัตถ์)"
    การสลายตัวการยืนยัน(ตัวรู้) ปล่อยวางการให้ค่าความสำคัญในความเห็น บทบาทในตัวตน
    ไม่ก่อสภาพความยินดี ยินร้าย ใดๆ...เป็น วิถีทางเจริญมรรค พอกพูนเจริญคุณธรรม


    หมวดธรรม สภาพธรรมที่ครอบคลุมนามรูป สามารถอาศัยอานาปานสติเป็นบาทฐานเจริญต่อเนื่องพิจารณา
    สภาพนิวรณ์๕ ,สภาพธรรมของจิตที่ไม่เป็นฌาน จิตที่เป็นรูปฌาน ธรรมารมณ์...
    หรือ อุปาทานขันธ์ทั้ง๕
    ......อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น,ขันธ์ หมายถึง กอง ที่มีความเป็นกลุ่มเป็นก้อน

    ......ความถือมั่นยึดมั่นในสภาพรูป ร่างกาย วัตถุ สมบัติที่เรามี สิ่งที่คิดว่าเป็นเรา สิ่งของของเรา
    ......ความถือมั่นยึดมั่นในเวทนาความรู้สึกถึงความสุข ความทุกข์ หรืออารมณ์เฉยๆ ติดสุข ติดทุกข์ ,ติดสุข มักมองไม่ค่อยเห็นอนิจจัง ติดทุกข์มากไปอาจมองไม่เห็นสมุหทัย(สาเหตุของทุกข์ชนิดนั้นๆ) ,ติดอารมณ์เฉยๆ มากไปก็ไม่ค่อยดีอวิชชาครอบงำ
    ......ความถือมั่นยึดมั่นในสัญญา ความทรงจำสมองที่ชีวิตผันผ่านทั้งปวง สิ่งที่ได้รับ ความเป็นนั่น ไม่เป็นนี่
    ......ยึดมั่นในสิ่งที่เคยเป็นต่างๆ ที่ผ่านมา ,ความทรงจำเป็นสุข-เจ็บปวด ในอดีตที่ยึดมั่นสัญญามักก่อให้เกิดเวทนา และเวทนาก็ก่อให้เป็นสัญญาได้เช่นกัน
    ......ความถือมั่นยึดมั่นในสังขารความปรุงแต่ง ที่ประกอบเป็นร่างกาย สิ่งต่างๆ ปรุงแต่งอารมณ์ เจตสิก สิ่งต่างๆที่ปรารภคาดหวังปรุงแต่งไปยังอนาคต
    ......ความถือมั่นในความรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ......ความถือมั่นยึดมั่น มักเกิดพร้อมตัวตน(อัตตา)ว่าขณะประสบสิ่งนั้นๆ ไม่แปรปรวน เที่ยงแท้ ถือมั่นอยู่ขณะนั้นๆ
    ......เมื่อเกิดอัตตาดังกล่าวมักมีกิเลสก่อตัวตามจากอัตตายึดติด เช่น ความหลง ความอยาก ความขุ่นเคืองใจ โทสะ ความมีมานะถือตัวตน ย่อมมีโทษยังให้เศร้าหมองก่อเกิดกิเลส ..เป็นต้น เหล่านี้เป็นทุกข์

    ......การสลายความยึดมั่นถือมั่น ตัวตน เป็นการดำเนินผ่านด้วยประสบการณ์ตรงของการเจริญอานาปานสติ
    ......โดยพิจารณาความไม่เที่ยงไม่จีรังยั่งยืน อนิจจังของสภาพธรรมต่างๆ ลมหายใจ(รูป) หรือนาม คือ ความรู้สึกที่เกิด , สัญญาที่มี, สังขารที่ปรุงแต่ง หรือความรับรู้ที่ปรากฏทวารสัมผัสทั้ง๖
    ......พิจารณาสิ่งที่ปรากฏดังกล่าวที่เกิดเฉพาะหน้าปัจจุบัน
    ......สิ่งใดเกิดก็พิจารณาสิ่งนั้น เกิดขึ้น-ดับสลายไป ที่เวียนวนเกิด-ดับสลาย ทั้งนามรูป

    ......เมื่อพิจารณาก็จะเห็นโทษภัยไปพร้อมกัน คุณก็ย่อมไม่หาโอกาส ไม่พยายาม เสาะแสวงหาสร้างให้ตัวตนของคุณเองไว้ยังที่ใด ให้หนัก ให้เป็นทุกข์
    ......ความไม่พยายามสร้างตัวตน ทั้งในทางโลก และทางธรรม เห็นช่องเห็นโทษภัยของโลกธรรมทั้ง๘ ที่เกิดแก่จิตใจ เป็นหนทางออก จากสาเหตุ(สมุหทัย)คือความอยาก แรงดึงดูด และผลักไสปฏิเสธภาวะที่ไม่ยินดี ความยึดมั่นถือมั่นตัวตน

    ......การพยายามดับสลายตัวตนเสมอ ไม่สร้างเหตุใหม่ก่อทุกข์ด้วยการไม่รับ-ไม่ปฏิเสธเหตุปัจจัยอดีตที่ไหลต่อเนื่อง
    ......ผลปัจจุบันเป็นเหตุในอดีตเป็นสิ่งที่ได้สร้างไว้แล้ว พร้อมรับผลของกรรม และไม่สร้างเหตุใหม่ต่อเนื่องในทางให้เกิดทุกข์เกิดโทษ

    ......การถอนคืน การสละคืนกิเลสความถือมั่นยึดมั่น ล้วนเกิดจากการเห็นสัจจะในความไม่เที่ยง(อนิจจัง) ไม่จีรังยั่งยืนซึ่งเป็นคุณลักษณะของธรรมชาตินามและรูป สืบให้เกิดความคลายกำหนัดที่กิเลสยึดมั่นถือมั่น เพียรเผา เพียรดับ(นิโรธ)ความเป็นสาเหตุแห่งทุกข์
    ด้วยความเพียรเผากิเลสภายใน ดำเนินไปภายในขอบเขตสติ สัปชัญญะ สมาธิ ปัญญา
    ……………


    ......ไม่ว่าอย่างใด การเจริญอานาปานสติควรใช้เวลาประมาณ ๓๐-๔๐ นาทีเป็นอย่างน้อย
    ...... โดยเริ่มจากวันละหนนึงแล้วค่อยเพิ่มตามโอกาสตามกำลัง และเมื่อดำเนินต่อเนื่องกันไปขอบเขตความคมชัดของสติ สมาธิ ปัญญา ก็จะขยายออกสู่ชีวิตประจำวัน
    ......ดำรงรักษาความบริสุทธิ์ทางจิตใจ ทางวาจา การกระทำไว้เสมอ..

    ......การอุทิศบุญกุศลจากการปฏิบัติ
    ......บุญกุศล ที่เกิดจากการปฏิบัติก็ก่อผลที่ดีต่อตัวคุณเองซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ
    ......ก่อนออกจากภาวนา อธิษฐานอุทิศให้แก่บุพการี บรรพบุรุษในลักษณะเจาะจง
    ...... รวมทั้งไม่เจาะจงไปยังเพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ทั้งหลายผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ....... ธรรมที่เกื้อกูลต่ออานาปานสติ
    .......ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มุ่งประพฤติ เจริญอานาปานสติ ซึ่งประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมแทงตลอด อกุปปธรรม(สมุทเฉทวิมุตติ) ได้ต่อกาลไม่นานเทียว คือ
    ....... ๑. เป็นผู้อยู่ป่า มีเสนาสนะอันสงัด
    .......๒. เป็นผู้มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย สันโดษในบริขารแห่งชีวิต
    ....... ๓. เป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบตนอยู่ในความเป็นผู้มีท้องพร่อง
    .......๔. เป็นผู้ไม่มีความมึนชา ประกอบตนอยู่ในความตื่น
    .......๕. เป็นผู้มีสติมาก
    .......๖. เป็นผู้สมาทานในกถาวัตถุ ๑๐ เว้นเสียซึ่งเดรัจฉานกถา
    .......๗. เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ คือธรรมเหล่าใดอันงามในเบื้องต้น
    ....... ท่ามกลางและที่สุด แสดงอยู่ซึ่งพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง
    ....... พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะ ธรรมมีลักษณะเห็นปานนั้นเป็นธรรมที่เธอ สดับ แล้วมากทรงจำไว้
    .......๘. พิจารณาเห็นอยู่เฉพาะ ซึ่งจิตอันหลุดพ้นแล้วอย่างไร

    *กถาวัตถุ ๑๐ ประการ(เรื่องที่ควรพูด ควรนำมาสนทนากันในหมู่ภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม)
    ๑. เรื่องความมักน้อย ............. ๒. เรื่องความสันโดษ
    ๓. เรื่องความสงัด ............. ๔. เรื่องความไม่คลุกคลี
    ๕. เรื่องการปรารภความเพียร............. ๖. เรื่องศีล
    ๗. เรื่องสมาธิ ............. ๘. เรื่องปัญญา
    ๙. เรื่องวิมุตติ ............. ๑๐. เรื่องความรู้ ความเห็นในวิมุตติ

    อังคุตตรนิกาย ปัณจกนิบาต 22/96-98/135-137 สุตธรสูตร, กถาสูตร, อารัญญกสูตร

    .....................................

    ทริค;Trick

    การฝึกสมาธิภาวนา ไม่ว่าโดยอุบายวิธีใดก็ตาม ล้วนมีนัยยะสำคัญคล้ายคลึงกัน
    คือ เพื่อให้จิตแยกจากกาย แยกจากอารมณ์ อิสระที่เป็นการปล่อยวางแบบธรรมชาติที่สุด
    นั่นคือการปล่อยวาง ด้วยการเห็นธรรมชาติตามความเป็นจริงในกฏไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    กฏแห่งธรรมดังกล่าว เป็นกฏตายตัวของร่างกาย อารมณ์ คือธรรมชาติของสิ่งต่างๆทั้งปวงที่
    มีความไม่เที่ยงแท้จีรังยั่งยืน มีสันตติการเคลื่อนไหวแปรปรวน ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ไม่ใช่ตัวตน ของตน
    ความเข้าใจธรรมชาติโดยประสบการณ์ตรงเท่านั้น ที่นำไปสู่การปล่อยวางที่เป็นธรรมชาติ

    ประสบการณ์ตรง ดังกล่าวหมายถึง เกิดโดยสัมผัสสภาวธรรมตามความเป็นจริง มิได้เกิดขึ้นจากความคิดตรองโดยอาศัยสัญญา(ความทรงจำ)
    มิได้เกิดขึ้นจากการใช้เหตุผล(ตรรกะ) เชาว์ปัญญาจากปัญญาภายนอก
    แต่เกิดจากการปล่อยวางความนึกคิด ล่วงสู่ความรู้สึกล้วนๆ
    โดยมีความเป็นไปด้วยความเป็นกลางเฝ้าสังเกตสภาวธรรมโดยปัจจุบัน ทุกปัจจุบันขณะ

    ดำเนินไปสู่การปล่อยวางซึ่งเงื่อนไข ปราศจากเจตจำนงค์ใดๆ
    ปราศจากตัวผู้บ่งชี้ ตัวการยืนยันสภาพธรรม สักแต่เห็น สักเพียงรู้ แต่มิได้สร้างปฏิกิริยาใดๆต่อเติมสภาพรู้เห็นนั้น
    เป็นการบ่มเพาะพอกพูนซึ่งสัมมามรรค ศักยภาพทางจิต
    ...........................................................

    เริ่มต้นของการทำสมาธิภาวนา ไม่ควรยึดติดกับท่าทางการนั่ง หรือมือที่ซ้อนทับกันหรือไม่
    ......หรือการเคร่งระบบระเบียบหรือรูปแบบมากเกินไปจะทำให้จิตแนบติดกับกายจนเกินไป สวนทางกับนัยยะสำคัญของการฝึกสมาธิภาวนา
    นัยยะสำคัญ คือ เพื่อให้จิตแยกจากกาย แยกจากอารมณ์ อย่างอิสระที่เป็นการปล่อยวางแบบธรรมชาติที่สุด
    จึงควรปล่อยวางร่างกาย ทีละส่วน จากศรีษะ ..สายตาภายใน.. คอ.. หัวไหล่.. ลำตัว .. ทุกส่วนของร่างกายคุณเอง อย่างเบาๆสบายๆ ผ่อนคลายจิตใจ..
    ปล่อยวางตัวตนของท่าน.. ผู้คน และเรื่องราวรอบข้าง.. ที่ตรึกนึกคำนึง
    ปล่อยวางอย่างเบาๆ โดยรักษาธรรมชาตินั้นไว้
    ค่อยๆน้อมความรู้สึกถึงลมหายใจช้าๆเบาๆ
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กุศลผลอานิสงส์

    ........เมื่อเสร็จสิ้นออกจากสมาธิภาวนา พึงตั้งจิตอธิษฐานแผ่เมตตากุศลจากภาวะสมาธิภาวนา แด่สรรพสัตว์เพื่อนร่วมทุกข์ในโลก อย่างไม่มีประมาณ ทุกทิศในสากลโดยไม่เจาะจง และรวมทั้งเจาะจงแด่เจ้ากรรมนายเวร ผู้มีพระคุณบิดามารดา บรรพบุรุษ เพื่อนกัลยณมิตร ....ฯลฯ

    กุศลจิตที่แผ่ไปย่อมมีมากตามกำลัง โดยลำดับดังต่อไปนี้

    ทาน มีกุศลอานิสงส์ แด่ผู้ปฏิบัติ ผู้เกื้อกูลส่งเสริม
    รวมทั้งการที่เป็นผู้ให้และผู้รับ เมื่อมีการแผ่อานิสงส์นั้น

    ศีล มีกุศลอนานิสงส์ แด่ผู้ปฏิบัติ ผู้เกื้อกูลส่งเสริม
    รวมทั้งการที่เป็นผู้ให้และผู้รับ เมื่อมีการแผ่อานิสงส์นั้น

    สมาธิภาวนา มีกุศลอนานิสงส์ แด่ผู้ปฏิบัติ ผู้เกื้อกูลส่งเสริม
    รวมทั้งการที่เป็นผู้ให้และผู้รับ เมื่อมีการแผ่อานิสงส์นั้น

    สมาธิภาวนา ปัญญาที่ตามเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง มีกุศลอนานิสงส์ แด่ผู้ปฏิบัติ ผู้เกื้อกูลส่งเสริม
    รวมทั้งการที่เป็นผู้ให้และผู้รับ เมื่อมีการแผ่อานิสงส์นั้น

    วิมุตติ ความหลุดพ้น การเห็นนิพพาน มีกุศลอนานิสงส์ แด่ผู้ปฏิบัติ ผู้เกื้อกูลส่งเสริม
    รวมทั้งการที่เป็นผู้ให้และผู้รับ เมื่อมีการแผ่อานิสงส์นั้น

    วิมุตติญาณทัสสนะ การเห็นแจ้งแทงตลอดนิพพาน ดับทุกข์จบกิจสิ้นเป็นชาติสุดท้าย มีกุศลอนานิสงส์ แด่ผู้ปฏิบัติ ผู้เกื้อกูลส่งเสริม
    รวมทั้งการที่เป็นผู้ให้และผู้รับ เมื่อมีการแผ่อานิสงส์นั้น

    .......ผู้เกื้อกูลส่งเสริม หมายถึง ผู้คอยให้กำลังใจในการทำสิ่งที่ดี ผู้แนะนำหนทางและความรู้ทางจิตวิญญาณ ผู้ที่กรุณาให้ในเครื่องอุปโภคบริโภคสิ่งต่างๆโดยที่ไม่หวังผลสิ่งตอบแทนใด ผู้เป็นกัลยณมิตร ผู้เป็นบุพการีในทางโลก ผู้เป็นบุพการีในทางธรรม ...เป็นต้น
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ขยายเนื้อความจากเนื้อหาก่อนหน้า

    ทาน ความหมายคือ การให้ เป็นจาคะ เป็นการเสียสละ ลดละความตระหนี่ถี่เหนียว
    ทำให้จิตที่เข้าไปติดยึดกับวัตถุทางโลกลดน้อยลง
    ทำให้มีโอกาสบำเพ็ญในสิ่งที่ละเอียดขึ้นไปได้ดีสม่ำเสมอยิ่งขึ้น คือ การรักษาศีล
    สามารถกระทำได้กับนักบวชผู้ถือศีล และเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

    นอกเหนือจากการลดความตระหนี่ถี่เหนียวแล้ว
    ทานยังครอบคลุมถึงการอนุเคราะห์ ช่วยเหลือแก่สังคม หรือ ผู้ยากไร้ ผู้ขาดแคลน
    เนื่องมาจากการช่วยบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ สร้างศาลาที่พักริมทาง การบริจาคเลือด
    การบริจากอวัยวะ การช่วยสร้างโรงพยาบาล สาธารณะกุศลต่างๆ
    การช่วยเหลือผู้ประสบภัยภิบัติไม่ว่าจะเป็นน้ำใจ วัตุถุ สิ่งของ เป็นต้น

    ศีล คือความเป็นปกติ ข้อพึงปฏิบัติในการอยู่รวมกันของสังคมมนุษย์
    ข้อรักษาความเป็นปกติในฐานะสมมุติแห่งตน สภาวะแวดล้อม อารยธรรมสังคม
    ทุกสิ่งในธรรมชาติมีความสัมพันธ์เกื้อกูลซึ่งกันเป็นปัจจัยให้แก่กันและกัน

    ลึกลงไป ศีลเกื้อกูลให้เกิด สุจริต ๓ หรือ กุศลกรรมบท ๑๐
    และ สุจริต ๓ หรือ กุศลกรรมบท ๑๐ เกื้อกูลเป็นปัจจัยให้ สติปัฏฐาน ๔

    มีข้อพึงรู้อยู่อย่างหนึ่ง ถึงเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสติปัฏฐานสูตรแก่ชาวเมืองแคว้นกุรุ
    และทรงพยากรณ์ไว้ว่าถ้าปฏิบัติแล้วอย่างช้าไม่เกิน ๗ ปี เร็วที่สุด ๗ วัน นั้น
    มีเหตุที่ทรงตรัสพระสูตรนี้แก่ชาวเมืองแคว้นกุรุ ทางอินเดียตอนเหนือสมัยพุทธกาล
    มาจากว่า ชาวเมืองแคว้นกุรุ เป็นชาวเมืองที่มีการรักษาศีล เป็นพื้นฐานอย่างดีอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว
    ดั่งคัมภีร์ของชาวอินเดียโบราณที่กล่าวถึงชนชาวเมืองนี้ว่า "กุรุเกษตร ธรรมเกษตร"

    เนื้อหาของ ศีล ที่ละเอียดและชัดเจน สามารถศึกษาได้จากลิงค์นี้ครับ
    http://www.mcu.ac.th/ebooks/BookOnline_File/Lesson/974-575-421-8/chapter2.pdf
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผลฉับพลันของอานาปานสติ
    ........การบำเพ็ญอานาปานสติ ย่อมก่อให้เกิดผลในทันทีทันใดแก่ท่านได้ กล่าวคือ การเจริญอานาปานสตินี้ เป็นผลดีต่อสุขภาพกาย ต่อการผ่อนคลาย(คลายเครียด) ทำให้หลับสนิท และต่อประสิทธิภาพในการทำงานในชีวิตประจำวันของท่าน ทำให้ท่านมีความสงบและมีความสุขใจขึ้น
    ........แม้ในขณะที่ท่านมีความเครียดหรือความกังวล หากได้เจริญอานาปานสติ(จนใจสงบ) แม้พียง ๒ นาทีเท่านั้น ท่านก็จะเห็นได้ด้วยตัวท่านเองว่า ตัวท่านเองมีความสงบและความเยือกเย็นขึ้นมาอย่างทันทีทันใด ท่านจะรู้สึกเหมือนกับว่าท่านได้ตื่นขึ้นอย่างสดชื่นหลังจากที่พักผ่อนมาอย่างเต็มที่แล้ว”


    THE SUDDEN RESULT OF MINDFULNESS OF BREATHING
    ........The exercise on breathing gives you immediate results. It is good for your physical health, for relaxation, sound sleep, and for efficiency in your daily work. It makes you calm and tranquil.
    ........ Even at moments when you are nervous or excited, if you practice this for a couple of minutes, you will see for yourself that you become immediately quiet and at peace. You feel as you have awakened after a good rest.”

    ........จากหนังสือ “What The Buddha Taught” ของ พระ ดร. ดับบลิว. ราหุล ชาวศรีลังกา ถอดใจความโดย พระธรรมวิสุทธิกวี(พิจิตร ฐิตวณฺโณ-วัดโสมนัสวิหาร)
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ศานติบรรพ :
    มหาภารตยุทธ

    ลักษณะทางแห่งความเสื่อม และความเจริญของจิตวิญญาณ

    .......ความกำหนัด ความมุ่งร้าย ความหลง ความระเริง ความเศร้าโศก ความถือตัว ความโกรธ ความเย่อหยิ่ง ความเกียจคร้าน ความริษยา เหล่านี้เป็นลักษณะผู้ที่ดำเนินทางแห่งความเสื่อม

    .......การให้อภัย ความหนักแน่น การไม่ปองร้าย ความเยือกเย็น ความสัตย์ ความซื่อตรง การเอาชนะอินทรีย์ทั้งหก (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ความอ่อนโยน ความละอายต่อบาป ความไม่เรรวน กระละเว้นความชั่วร้าย ความไม่วุ่นวาย ความสันโดษทางกายและจิต การพูดจาอ่อนหวาน การไม่เบียดเบียน การไม่อิจฉา เหล่านี้เป็นลักษณะผู้ที่ดำเนินทางแห่งความเจริญ

    ยอมตายเพื่อธรรมะ ดีกว่าได้ชัยชนะด้วยการทำบาป

    ความโลภเป็นบ่อเกิดแห่งบาปทั้งปวง ผู้ที่จะชนะตนเองได้ต้องเอาชนะความโลภของตนเสียก่อน

    เมื่อใดที่เราย่นความอยากเข้าตัวของเราได้ ดุจเดียวกับที่เต่าหดหัวเข้ากระดองของมัน
    เมื่อนั้นเราจะพบแสงสว่างและความสูงส่งแห่งจิตวิญญาณ

    .......ตัณหาคือความอยาก เป็นบ่อเกิดแห่งอกุศลกรรมทั้งปวง ความอยากก่อให้เกิดความโลภ ความโลภก่อให้เกิดการกระทำที่ผิดและเลห์เหลี่ยมทั้งหลายทั้งปวงลักษณะหน้าไหว้หลังหลอก อหังการ ความอาฆาต ความหลงผิดในความรู้ ความหลงผิดในชาติกำเนิด ความหลงผิดในทรัพย์สินศฤงคาร เป็นอาทิเหล่านี้ล้วนมีกำเนิดจากความโลภ ความโลภ มีให้เห็นในทุกแห่งหนไม่เลือกว่าในเด็กในหนุ่มสาว และในผู้ใหญ่ ความโลภซ่อนตัวมาแม้แต่ในเสื้อคลุมของศาสนา

    ความโลภมีมากเท่าใด ความไม่รู้จริง(อวิชชา)มีมากเท่านั้น
    หมดความโลภจึงจะหมดความไม่รู้จริง

    ไม่มีสิ่งใดที่ช่วยให้แสงสว่างได้ยิ่งเท่าความรู้
    ไม่มีสิ่งใดที่ช่วยขัดถูและเกลากิเลสได้เหมือนความสัตย์
    ไม่มีสิ่งใดที่เป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์ถนัดได้เท่าราคะ
    ไม่มีสิ่งใดที่ให้ความสุขเหมือนการเสียสละเพื่อผู้อื่น

    เมื่อยามมีสุข ไม่ควรจะเต้นตื่นฉันใด เมื่อยามมีทุกข์ภัยก็ไม่ควรจะโศกเศร้าฉันนั้น

    ความรู้จริงเป็นรากฐานของสรรพชีวิต

    ความรู้จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อความรู้นั้นช่วยให้ผู้รู้มีความประพฤติดี และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เป็นนิตย์


    ขอขบคุณข้อมูลจาก
    อานาปานสติสูตร พระสูตรที่ว่าด้วยการทำสมาธิโดยอุบายวิธีการนี้
    http://www.dhammachak.net/wimuttidham_ch8.pdf
    พระไตรปิฏก

    สมาธิเบื้องต้น(อานาปานสติ) สำหรับคนทั่วไปอย่างง่าย
    http://www.dhammachak.net/lumtandham-6.html
    โดยท่านพุทธทาสภิกข

    อานาปานสติภาวนาภาคปฏิบัติ สภาวธรรม
    http://www.dhammachak.net/wimuttidham_ch8.pdf
    วิมุตติธรรม

    การปฏิบัติสมาธิภาวนา สภาวธรรมภาคปฏิบัติ(อานาปานสติ)
    http://www.dhammachak.net/part2.pdf
    "สิ่ง" สารัตถะแห่งชีวิต
     
  12. สัทธาธิกะ

    สัทธาธิกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +373
    ใช้วิธีการของในหลวงท่านก็ได้นะครับ
    พระสมาธิของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    โดย พล.ต.อ.วสิษฐ์ เดชกุญชร
    คัดลอกจาก http://www.ybat.org


    วิธีนับของพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงทำดังนี้ หายใจเข้าครั้งที่หนึ่ง นับหนึ่ง หายใจเข้าครั้งที่สอง นับสอง หายใจเข้าครั้งที่สาม นับสาม หายใจเข้าครั้งที่สี่ นับสี่ หายใจเข้าครั้งที่ห้า นับห้า หายใจออกครั้งที่หนึ่ง นับหนึ่ง หายใจออกครั้งที่สอง นับสอง หายใจออกครั้งที่สาม นับสาม หายใจออกครั้งที่สี่ นับสี่ หายใจออกครั้งที่ห้า นับห้า เมื่อถึงห้าแล้วหากจิตยังไม่สงบก็นับถอยหลังจากห้าลงมาหาหนึ่ง แล้วนับจากหนึ่งขึ้นไปหาห้าใหม่ กลับไปกลับมาเช่นนั้น จนกว่าจิตจะสงบ[FONT=&quot] [/FONT]
     
  13. parapuda

    parapuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +250
    [​IMG]

    ขออนุโมทนาด้วยครับ
    ---------------------------
    นิพพานะปัจจะโยโหนตุ-ขอปัจจัยทั้งปวงนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้นิพพาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...