สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) กับ วงศ์พระกรรมฐาน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย piman, 29 กันยายน 2013.

  1. piman

    piman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +632
    [​IMG]

    [​IMG]

    พระอาจารย์ฟัก สนฺติธมฺโม ถวายการต้อนรับ
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ที่เมตตาเสด็จเป็นองค์ประธานวางศิลามงคลอาคารสถานีอนามัยสองพี่น้อง
    (โรงพยาบาลสองพี่น้อง) ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
    เมื่อวันพุธที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓
    โดยพระอาจารย์ฟัก สนฺติธมฺโม ได้รวบรวมเงินปัจจัย
    เพื่อสมทบกับงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขในการก่อสร้าง
    และได้บริจาคที่ดินจำนวน ๗ ไร่
    ซึ่งเป็นของโยมบิดาท่านเพิ่มให้กับสถานีอนามัยสองพี่น้อง ​
     
  2. piman

    piman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +632
    [​IMG]

    สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระที่ควรบูชาอย่างยิ่ง
    โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี

    • สมเด็จพระสังฆราชเสด็จวัดสามพระยา

    ทราบจากท่านผู้ว่าแม่ฮ่องสอนว่ามีคนมาบอกว่า สมเด็จพระสังฆราชเสด็จ เรื่องนี้เป็นปรกติเพราะสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ เป็นพระที่ควรแก่การบูชา ไม่มีเวร มีภัยกับใครๆ ตั้งแต่รับตำแหน่งมา ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้แก่พระใต้บังคับบัญชา มีแต่เตือนให้สามัคคีกัน

    เมื่อท่านเสด็จมา ก็ลุกขึ้นยืนแสดงความเคารพด้วยศรัทธาแท้ คิดว่า “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ท่านจะยืนรับเหมือนผู้เขียน เห็นท่านนั่งเป็นปรกติ สมเด็จพระสังฆราชท่านเข้ามาถึง ท่านนั่งกับพื้น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์นั่งบนเตียงตามปรกติ สมเด็จพระสัึงฆราชท่านกราบแล้วถวายของ (เครื่องสักการะและของใช้) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์พนมมือให้พร

    • ท่านที่ควรบูชา

    เป็นอันว่าเมื่อเห็นเข้าอย่างนั้น จิตก็มีอารมณ์คิดบูชาสมเด็จพระสังฆราชมากขึ้นอย่างยิ่ง ท่านอาจจะเคารพสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ในฐานะอะไรเป็นเรื่องของท่าน แต่ที่่เพิ่มความเคารพบูชาสมเด็จพระสังฆราชมากขึ้น เพราะท่านไม่มีมานะ คำว่า มานะ แปลว่า การถือตัวถือตน หรือถือยศถือศักดิ์ โดยคิดว่าเวลานี้ฉันเป็นสังฆราช ใครจะโตกว่าฉันไม่ได้ ฉันต้องโตกว่าทุกคนที่เป็นพระสงฆ์ การตัดมานะตัวนี้ เป็นเรื่องที่่ผู้เขียนบูชาน้ำใจอย่างยิ่ง และบูชาทุกคนที่ตัดได้ ไม่ใช่เฉพาะสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น วันนั้นถือว่าเฮงที่สุด ท่านที่ตัดมานะ หมดการถือตัวถือตน ตามภาษาพระที่่เรียกว่า สังโยชน์ ท่านถือว่ามีความดีสูง ควรแก่การบูชาอย่างยิ่ง ใครบูชา คนนั้นเป็นคนมีอุดมมงคล คือมงคลสูงสุด (หรือเฮงที่สุด)


    (ธัมมวิโมกข์ เมษายน ๒๕๓๓ โดย หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ)​
     
  3. piman

    piman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +632
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ในวาระโอกาสที่เสด็จมาเยือนสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี
    ท่านพุทธทาสภิกขุขอโอกาสกราบเจ้าพระคุณสมเด็จฯ
    เนื่องจากท่านพุทธทาสภิกขุมีอายุพรรษาเเก่กว่า
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงห้ามไว้ เเต่ท่านพุทธทาสภิกขุก็ไม่ยอม
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงได้กราบท่านพุทธทาสภิกขุกลับ

    ---------------------------------------

    คำถามที่ ๓๔ : เมื่อคราวที่พระอาจารย์พุทธทาสอาพาธหนักนั้น
    ฝ่าพระบาทได้เคยไปเยี่ยมท่านอาจารย์พุทธทาสที่ได้ขอละสังขาร
    โดยท่านอาจารย์ให้เหตุผลว่า อายุเกินพระพุทธเจ้ามาแล้ว แต่ฝ่าพระบาทได้ขอไว้
    หลังจากนั้นอาการของท่านพุทธทาสก็ฟื้นขึ้นมา และมีชีวิตอยู่ต่อมาอีกหลายปี
    ขอกราบทูลฝ่าพระบาทเล่าเหตุการณ์ในครั้งนั้น

    คำตอบ : เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    เสด็จเยี่ยมภิกษุสามเณรและประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๕ จังหวัด
    คือ สงขลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส และยะลา ตามคำกราบทูลอาราธนา
    ของศูนย์อำนวยการการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)

    พระดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย หนึ่งในคณะผู้ติดตามเล่าว่า
    ตอนที่เสด็จไปเยี่ยมนั้น ท่านพุทธทาสยังไม่ได้อาพาธหนัก
    ยังไม่ได้ล้มหมอนนอนเสื่อ เป็นแต่เพียงเจ็บออดแอด
    ยังออกมารับเสด็จได้เป็นชั่วโมง
    ท่านพาไปดูโรงมหรสพทางวิญญา ณ ลานหินโค้ง
    แล้วก็นำมาเสด็จประทับที่ม้าหินหน้ากุฏิ
    ที่ปกติเก้าอี้ม้าหินนั้นท่านอาจารย์พุทธทาสนั่งประจำ

    ท่านอาจารย์พุทธทาสทูลสมเด็จพระสังฆราชให้ประทับ
    แล้วท่านก็ไม่ยอมนั่ง ท่านพุทธทาสทูลว่า
    “ขอประทานกราบสมเด็จพระสังฆราชหน่อยที่อุตส่าห์เสด็จมาเยี่ยมถึงวัด”
    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงพยายามห้าม ท่านก็ไม่ยอม แล้วต่างคนก็ต่างกราบ
    พอท่านพุทธทาสกราบ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็บอกไม่ได้ๆ ต้องกราบกลับ

    ส่วนคำถามที่ว่านั้น ตอบได้ว่า เหมือนกับเวลาไปเยี่ยมคนที่รู้จักกัน
    แล้วระหว่างคุยก็ปรารภเรื่องสังขารว่าไม่ไหวแล้ว
    แล้วเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็รับสั่งว่า ขออาราธนาใต้เท้าอยู่ก่อนอย่าเพิ่งไป
    แต่ว่าคนก็ชอบอธิบายในเชิงอภินิหารไปสักหน่อย

    ในวันนั้นมีการคุยเรื่องหนังสือและวิธีสอนของท่านพุทธทาส
    มีการคุยเรื่องธรรมะลึกๆ หลายเรื่อง เช่น เรื่องหนังสือมหาสติปัฏฐานสูตร
    ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จฯ รับสั่งว่าเป็นหนังสือที่ดีมาก และทรงใช้บ่อย

    หนังสือ ๙๙ คำถามเกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราช
     
  4. piman

    piman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +632
    [​IMG]

    [​IMG]

    จากซ้าย : พระดร.เกียวเซ เอ็นชินโจ (Most Ven.Dr.Kyuse Enshinjoh)
    องค์ทะไลลามะ (Dalai Lama) แห่งธิเบต
    และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ทรงบันทึกพระรูปร่วมกัน ณ เมืองเกียวโต (Kyoto) ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๔๑


    เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงมีมิตรภาพที่น่าประทับใจยิ่งกับองค์ทะไลลามะ
    ดังเห็นได้เมื่อครั้งที่องค์ทะไลลามะเสด็จเยือนที่วัดบวรนิเวศวิหาร
    ได้กล่าวทักทายเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ว่า “พี่ชายคนโตของข้าพเจ้า”

    คัดบางตอนมาจากหนังสือ “พระของประชาชน”
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

    [​IMG]


    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ
    ทรงต้อนรับองค์ทะไลลามะ (Dalai Lama) แห่งธิเบต
    ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร ปีพุทธศักราช ๒๕๑๕



     
  5. piman

    piman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +632
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    หลวงปู่บุญมี โชติปาโล
    ทำพิธีต่อพระชนมายุถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช
    เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๖


    มีเหตุการณ์ปาฏิหาริย์อีกเรื่องหนึ่งที่โจษขานกันไปทั่ว คือ เมื่อครั้งที่มีงานมหาพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งคชวัตร และพระรูปเหมือนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา (ภายหลังจากที่ทรงหายจากอาการพระประชวรหนักจนจวนเจียนจะสิ้นพระชนม์ แต่ทรงเจริญอิทธิบาท ๔ จนสามารถเจริญพระชนมายุต่อมาได้โดยสวัสดิภาพอย่างน่าอัศจรรย์ไม่นาน) ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๖ โดยครั้งนั้น พระภาวนาวิศาลเถร (หลวงปู่บุญมี โชติปาโล) พระอริยเจ้าผู้เข้มงวดเข้มขลังยิ่งแห่งวัดสระประสานสุข อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ได้รับอาราธนามานั่งปรกอธิษฐานจิตในพิธีพุทธาภิเษกด้วย

    เมื่อพิธีพุทธาภิเษกเสร็จสิ้น หลวงปู่บุญมีได้ลุกจากอาสนะสงฆ์ที่นั่งอยู่ แล้วเดินตรงเข้ามาหา ยืนต่อเบื้องพระพักตร์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ โดยมิได้ทรุดกายลงกราบ พร้อมกับเอาผ้าขนหนูผืนน้อยที่ไว้สำหรับเช็ดหน้าเช็ดปากลูบไล้เช็ดตามพระวรกาย ตั้งแต่พระเศียร (หัว) พระพักตร์ (หน้า) วนไปวนมาอยู่หลายรอบ เสร็จแล้วลงมาที่พระพาหา (ไหล่) พระกร (แขน) และพระอุระ (หน้าอก) อย่างที่ไม่มีใครนึกฝันหรือคาดคิดมาก่อน สร้างความตกตะลึงพรึงเพริดให้บังเกิดขึ้นแก่ศิษย์อุปัฏฐากของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ และทุกๆ คนที่ไม่ทราบความนัยเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อเห็นทุกๆ คน (ยกเว้นแต่องค์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ) บังเกิดความสงสัยแปลกใจอย่างเต็มที่ ศิษย์ติดตามหลวงปู่บุญมีจึงกราบทูลชี้แจงในอริยาการดังนั้นมาทีเดียวว่า “หลวงปู่กำลังทำพิธีต่อพระชนมายุถวายแด่ฝ่าพระบาทอยู่ขอรับกระหม่อม”

    เมื่อถึงที่สุดแห่งการพิธี หลวงปู่บุญมีได้ก้มลงกราบที่่พระอุระ (หน้าอก) โดยมิได้พูดอะไรออกมาแม้แต่คำเดียว ขณะที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เองก็มิได้ออกพระวาจา หรือแสดงอาการหลบเลี่ยงอย่างไม่สบพระทัยแต่อย่างใดทั้งสิ้น จากนั้นหลวงปู่บุญมีก็ได้กุมพระหัตถ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ขึ้นอธิษฐานเหมือนหนึ่งจะถวายพระพรให้ทรงพระเจริญด้วยพระชนมายุยิ่งยืนนานกว่า ๑๐๐ พระวัสสา ค้ำชูบูชาคุณบวรพระพุทธศาสนาให้สถาพรสืบต่อไปตราบชั่วจิรกาลเป็นปัจฉิมวาระ

    แม้จะมีพรรษายุกาลมากกว่า แต่หลวงปู่บุญมีก็ก้มลงกราบแทบองค์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ อย่างนอบน้อมในพระคุณธรรมอันประเสริฐสุด เป็นที่ประทับตาประทับใจแก่พุทธศาสนิกชนทุกผู้ทุกนามที่มีบุญได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง

    โดยเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น ลูกศิษย์ของหลวงปู่บุญมีระบุว่า เป็นการทำพิธีต่อพระชนมายุถวายแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ก่อนที่หลวงปู่บุญมีจะละสังขารด้วยอาการสงบ เมื่อวันศุกร์ที่ ๔ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๗ หลังจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ดังกล่าวเพียง ๘ เดือนเท่านั้น

    หมายเหตุ : เรื่องการทำพิธีต่อพระชนมายุฯ นี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในหนังสืออิทธิฤทธิ์


    ...คัดลอกเนื้อหาบางตอนมาจากกระทู้...
    ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่บุญมี โชติปาโล” วัดสระประสานสุข
    แสดงกระทู้ - หลวงปู่บุญมี โชติปาโล • ลานธรรมจักร


    ----------------------------------------------------

    • รวมพระนิพนธ์ “สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
    แสดงกระทู้ - รวมพระนิพนธ์ “สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)” • ลานธรรมจักร

    • พระประวัติและปฏิปทา “สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
    แสดงกระทู้ - สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน) • ลานธรรมจักร

    • “ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา”
    แสดงกระทู้ - สมเด็จพระสังฆราช “ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา” • ลานธรรมจักร

    • “สองธรรมราชา” ในหลวง กับ สมเด็จพระสังฆราช
    แสดงกระทู้ - “สองธรรมราชา” ในหลวง กับ สมเด็จพระสังฆราช • ลานธรรมจักร

    • Post Card สมเด็จพระสังฆราช เจริญพระชันษา ๙๙ ปี
    แสดงกระทู้ - Post Card สมเด็จพระสังฆราช เจริญพระชันษา ๙๙ ปี • ลานธรรมจักร

    ----------------------------------------------------

    ขอกราบขอบพระคุณ..ที่มาของรูปภาพ
    ffb. Narongchai Toprasert
    http://www.facebook.com/narongchai.toprasert
    เว็บไซต์ -:-
     
  6. piman

    piman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +632
  7. piman

    piman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +632
  8. piman

    piman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +632
    "ไม่มีบาปใดกรรมใดจะให้ผลหนักหนาเสมอด้วยบาปด้วยกรรมที่มุ่งทำลายพระพุทธศาสนาหรือมุ่งทำให้พระพุทธศาสนาเศร้าหมอง
    ในทางตรงกันข้ามไม่มีบุญใด ไม่มีกรรมใดที่จะให้ผลงดงามเสมอด้วยบุญด้วยกรรมที่มุ่งเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนา นี้เป็นความจริง"


    และ

    "ขณะนี้เราทุกคนกำลังมีโอกาสที่ดีที่สุด จะได้ทำบุญทำกรรมที่ดีที่สุด ที่จะให้ผลงดงามยิ่งใหญ่ที่สุดแก่ตนเองก่อนแก่ใครอื่น เพราะพระพุทธศาสนากำลังมีภัย จงอย่าเห็นแก่อะไรอื่นทั้งสิ้น จงคิดพูดทำทุกอย่างให้เต็มสติปัญญาความสามารถ เพื่อเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนา ศาสนาประจำชาติของเรา ให้ห่างไกลพ้นภัยจากมารทั้งปวงเถิด"
     
  9. piman

    piman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +632
    7 สิ่งสมณบริขาร วิถีสมถะ"พระสังฆราช"



    โต๊ะทรงงาน

    "สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" ทรงดำรงพระชนม์ชีพส่วนมากอยู่ในสมณเพศมาโดยตลอด

    ชีวิตของพระองค์ไม่ได้แตกต่างไปจากบุคคลทั่วไป ทรงมีความถ่อมพระองค์ ทรงปฏิบัติพระองค์อย่างเรียบง่ายเหมือนกับพระสงฆ์รูปหนึ่ง

    แม้ที่อยู่อาศัยก็ไม่ได้โปรดให้ประดับตกแต่งอะไรเลย พระองค์จะทรงเตือนพระสงฆ์ และสามเณรอยู่เสมอว่า "พระเณรไม่ควรอยู่อย่างหรูหรา" พระองค์ทรงไม่สะสมวัตถุสิ่งของที่มีผู้นำมาถวาย โดยจะทรงแจกจ่ายต่อไปตามโอกาส

    เคยมีผู้แสดงความประสงค์ถวายรถยนต์สำหรับทรงใช้สอยประจำพระองค์ แต่พระองค์ตอบไปว่า "ไม่รู้จะเอาเก็บไว้ที่ไหน" สุดท้ายเป็นอันว่าไม่ทรงรับถวาย

    นี่คือสิ่งที่ยืนยันว่าสมเด็จพระสังฆราช ทรงปฏิบัติพระองค์และดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่ได้หรูหราอย่างที่หลายๆ คนคิด มีเพียงเครื่องสมณบริขารหรือเครื่องใช้สอยของพระสงฆ์ ซึ่งทรงใช้เป็นประจำเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น

    พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (พระอนิลมาน ธมมฺสากิโย) ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช บอกเล่าถึงความเรียบง่ายของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ว่า พระองค์มีเครื่องสมณบริขารไม่กี่ชิ้น ด้วยความเรียบง่ายของพระองค์ สิ่งของเครื่องใช้ของพระองค์ก็จะเป็นของ "มือสอง" เป็นส่วนใหญ่ อย่างเช่น

    พระแก้ว

    โต๊ะ และเก้าอี้



    1.โต๊ะทรงงานของพระองค์ และยังเป็นโต๊ะรับแขกของสมเด็จพระสังฆราชด้วย ช่วงเช้าและช่วงเย็นๆ เวลามีประชาชนหรือผู้หลักผู้ใหญ่เข้ามาสักการะ ก็จะใช้โต๊ะตัวนี้รับแขก นอกจากนี้รอบๆ โต๊ะทรงงานของพระองค์ ยังแวดล้อมไปด้วยหนังสือธรรมะ หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และหนังสือภาษาอังกฤษจำนวนมากที่พระองค์ทรงโปรดปราน นอกจากโต๊ะตัวนี้แล้วพระองค์ยังมีโต๊ะทรงงานอีกหนึ่งตัว ช่วงเช้าพระองค์ใช้ฉันภัตตาหาร จากนั้นช่วงบ่ายพระองค์ก็จะใช้ทรงงานด้วย

    2.บาตรน้ำมนต์ที่ทรงใช้ตลอด มีผู้ถวายครั้งเสด็จไปประเทศเนปาล ความพิเศษของบาตรใบนี้ทำจากทองแดง และรูปทรงก็จะไม่เหมือนกับบาตรที่สร้างในบ้านเรา

    3.พระแก้ว เป็นพระพุทธรูปที่อยู่กับพระองค์มากว่า 30 ปีแล้ว โดยวางอยู่ในห้องตำหนักคอยท่าปราโมช

    บาตรน้ำมนต์

    อาสนะ (ที่ปูรองนั่ง), เตียงบรรทม



    4.โต๊ะและเก้าอี้สำหรับสอนธรรมะ พระองค์ซื้อมาจากเวิ้งนาครเขษม ราคาประมาณ 6 บาท พระองค์เอามาซ่อมแซม และทำใหม่ โต๊ะและเก้าอี้ชุดนี้ใช้เวลาสอนเรื่องพระพุทธศาสนา และธรรมะให้แก่ชาวต่างชาติโดยเฉพาะ ทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์

    5.เตียงบรรทม ถือว่าเรียบง่ายมาก เป็นตั่งไม้ แต่ตัวตั่งสั้นมาก ขณะที่พระองค์สูง 179 เซนติเมตร สมัยก่อนพระองค์เดินตรวจวัดหรือว่าเดินไปพบเศษไม้ หรือโต๊ะหมู่ที่ลูกศิษย์ทิ้งแล้ว พระองค์จะเก็บกลับมาต่อตั่งให้ยาวขึ้น เตียงบรรทมของพระองค์ก็เหมือนเตียงนอนของชาวบ้านทั่วไป ส่วนที่นอนของพระองค์เย็บจากฟางข้าว แม้ว่าเตียงบรรทมจะแคบนิดเดียว แต่พระองค์ก็ไม่คอยนอนบรรทมตกเตียง

    6.อาสนะ (ที่ปูรองนั่ง) เป็นอาสนะที่สมเด็จพระสังฆราชโปรดปรานที่สุด เพราะพระชนนีของพระองค์เย็บด้วยมือจากเศษเสื้อผ้าที่เหลือจากเย็บเสื้อผ้าให้ลูกค้า ซึ่งอาสนะผืนนี้พระชนนีทำด้วยความรัก และความศรัทธา นำมาถวายให้พระองค์ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร สมเด็จพระสังฆราชไม่เคยห่างจากอาสนะผืนนี้เลย ทรงประทับอาสนะตลอดไม่ว่าจะนั่งกรรมฐาน หรือว่าสวดมนต์ หลายคนอาจจะเห็นอาสนะผืนนี้เป็นแค่เศษผ้าหนึ่งผืนเท่านั้น แต่ในความรู้สึกของพระองค์มีคุณค่าอย่างมาก เพราะพระองค์จะบอกเสมอว่าเวลาคิดถึงพระชนนีก็จะดูอาสนะผืนนี้เพื่อคลายความคิดถึง

    7.บาตร เป็นบาตรที่สมเด็จพระสังฆราชทรงใช้บิณฑบาต และฉันภัตตาหาร ไม่ว่าจะรับกิจนิมนต์ที่ไหนพระองค์ก็จะใช้บาตรใบนี้ตลอด

    ทั้งนี้ สำหรับเครื่องสมณบริขารเพียงไม่กี่ชิ้นของสมเด็จพระสังฆราช ในเบื้องต้น วัดบวรฯ จะรวบรวมไว้ที่ตำหนักคอยท่าปราโมช

    และในอนาคตเตรียมนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาหลักธรรม และคำสอนของพระองค์ที่ทิ้งไว้เป็นมรดกให้ชาวพุทธได้ศึกษาและเรียนรู้มากมาย

    แน่นอนว่าเครื่องสมณบริขารทั้ง 7 ชิ้นนี้ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความพอเพียงของพระองค์ได้อย่างดี ดั่งที่พระองค์ทรงเตือนพระสงฆ์และสามเณรอยู่เสมอว่า "เป็นพระต้องจน"



    (ที่มา:มติชนรายวัน 1 พ.ย.2556)

    7 สิ่งสมณบริขาร วิถีสมถะ"พระสังฆราช" : มติชนออนไลน์
     

แชร์หน้านี้

Loading...