สมเด็จวัดบึงพระยาสุเรนทร์ พระราชทานทหารสู้ศึกสงครามโลก

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 11 พฤศจิกายน 2007.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,172
    เรื่องเล่าของพระวัดบึงพระยาสุเรนทร์ หรือวัดพระยาสุเรนทร์ในปัจจุบัน ที่เกี่ยวกับการสร้างพระเครื่องนั้น นักนิยมพระบางท่านให้ข้อมูลว่าสร้างในปี พ.ศ.2417

    <DD>(หลังจากสมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆังฯ มรณภาพเพียง 2 ปี) บางท่านก็ว่าสร้างในสมัยต้นรัชกาลที่ 6 สัปดาห์นี้จึงขอนำเอาเรื่องพระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์มาเล่าสู่กัน
    <DD>พระยาสุเรนทร์ (พึ่ง สิงหเสนี) เป็นบุตรพระยามุขมนตรี เป็นหลานปู่ของเจ้าพระยาบดินทรเดชา รับราชการสมัยแผ่นดินในหลวงรัชกาลที่ 5 มีศักดินา 4000 ไร่ (แถบบริเวณที่สร้างวัด) เมื่อออกจากราชการแล้วจึงได้สร้างวัดบึงพระยาสุเรนทร์ขึ้นที่คลองสามวา กรุงเทพฯ ได้รับพระราชทานเขตวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ.2431
    <DD>พระยาสุเรนทร์ได้ศึกษาอาคมต่างๆ จากเจ้าพระยาบดินทรเดชา และเกจิคณาจารย์อีกหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อทอง วัดราชโยธา ได้พบเอกสารสำคัญจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ฝ่ายเอกสารสำคัญ จึงทำให้เกิดความกระจ่างแจ้งเกี่ยวกับพระวัดบึงพระยาสุเรนทร์ได้อย่างสมบูรณ์ เอกสารจดหมายฉบับนี้พระยาสิงหเสนีได้บรรยายเรื่องการสร้างพระครบครัน เพราะเป็นจดหมายที่นำความกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เพื่อนำเอาพระเครื่องวัดบึงพระยาสุเรนทร์ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสำหรับพระราชทานแก่ทหารที่จะไปร่วมรบสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยจดหมายนี้ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2460 ซึ่งพอรวบรวมความได้ดังนี้
    <DD>พระยาสิงหเสนีไปเยี่ยมพระยาสุเรนทร์ซึ่งบรรพชาอยู่ที่วัดบึงพระยาสุเรนทร์ ได้คิดทำการสร้างพระเครื่องขึ้นมาชุดหนึ่ง ความในจดหมายจารึกปี พ.ศ.2450 ที่พระยาสิงหเสนีไปเยี่ยมพระยาสุเรนทร์ ปรารภว่า คิดจะสร้างพระมานานแล้วแต่ยังไม่สำเร็จ พระยาสิงหเสนีจึงรับเป็นอุปัฏฐากด้วยการถวายเครื่องมือสำคัญในการสร้างพระครั้งนี้ กล่าวคือ แม่พิมพ์ที่ทำจากไม้ชิงชัน โดยเค้าแบบพิมพ์มาจากพระวัดระฆังฯ
    <DD>ส่วนมวลสารนั้น พระยาสุเรนทร์ตระเตรียมไว้อยู่แล้วครบ ประกอบด้วยผงพุทธคุณ ผงนะแผ่นดิน ผงนะพินทุ ผงนะปฐมกัป น้ำมันมนต์แต่งคนเพื่อหนังเหนียวเป็นวิชาประจำตระกูลสิงหเสนี นอกจากนี้ยังมีน้ำตำลึงคั้นบดละเอียด แล้วกดเป็นพระ โดยตั้งใจไว้ว่าพระส่วนหนึ่งแจกแก่บรรดาญาติ อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่วัด ส่วนที่เก็บเอาไว้กับญาติๆ นั้นคราใดที่เกิดศึกสงครามก็ให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
    <DD>ครั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงได้นำพระจำนวน 1,500 องค์ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย สำหรับพระราชทานทหาร (ข้อมูลจากหลักฐานเอกสารที่กลาโหมบันทึกบอกแก่แม่ทัพนายกองว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 รับสั่งเรื่องพระราชทานพระเครื่องแก่ทหาร)
    <DD>พระเครื่องพิมพ์นี้ปัจจุบันเรียกว่า พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ เป็นพระเนื้อผง มวลสารหลักคือผงปูนซีเมนซ์ผสมกับผงพุทธคุณวิเศษต่างๆ และน้ำตำลึงคั้น องค์พระจึงเป็นสีเขียวทำเอาบางคนเรียกว่าพระสมเด็จเขียว แบบพิมพ์ได้เค้าโครงจากพระสมเด็จของหลวงปู่โตวัดระฆังฯ มีแบบพิมพ์ทั้งหมดดังนี้ 1 พิมพ์ฐานแซม 2.พิมพ์ปรกโพธิ์ 3.พิมพ์พระเจ้า 5 พระองค์ (พิมพ์นิยม) 4.พิมพ์เล็บมือ ด้านหลังมียันต์ ติ ติ อุ นิ
    <DD>พระสมเด็จวัดบึงพระยาสุเรนทร์ของแท้ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็ตามเนื้อของพระจะปริแยก เนื่องจากเนื้อพระไม่เกาะติดชิดแน่นเพราะปูนซีเมนซ์ทำปฏิกิริยากับผงต่างๆ ไม่รวมตัวเป็นหนึ่งเดียว อีกทั้งธรรมชาติของพระที่ผ่านกาลเวลามานาน ประเภทแบบพิมพ์พระสมเด็จด้านหน้าไม่ลึกมากและตื้นๆ ขอบพระตัดด้วยตอกไม้ไผ่ มีร่องรอยเป็นทิวๆ ขอบหนามีร่องรอยปริแยกค่อนข้างมาก หลังมีรอยจารยันต์ ติ ติ อุ นิ ด้วยมือของพระยาสุเรนทร์เองทุกองค์ ลักษณะของรอยจารึกจะเป็นเส้นเล็กเรียวบางแต่คมและไม่ลึกมากนัก เป็นรอยลายมือหวัดๆ วรรณะสีของพระมีทั้งเขียวเข้ม เขียวอ่อน สีเทาสีออกนวลขาวก็มี ในพระหนึ่งองค์นั้นสีจะไม่เสมอกัน เช่น หากพระสีเขียวอมเทา ด้านบนของพระอาจจะเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างอาจจะเขียวอ่อน
    <DD>หากเป็นของเทียมรอยจากด้านหลังจะหนาเขียนบรรจง ร่องรอยการปริแยกตามขอบพระทำไม่เหมือน รอยการตัดขอบด้วยตอกไม่มี ที่สำคัญเนื้อของพระโดยรวมดูแล้วจะออกไปทางน้ำมันเล็กน้อย แต่มีความแห้งของพระอยู่ในตัว
    <DD>พระสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์นี้เลิศทางแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรีมีเมตตาด้วย ราคาในการเช่าบูชาอยู่ที่หลักร้อยปลายๆ ถึงหลักพันกลางๆ ประมาณ 800 บาท-3000 บาท นิยมมากสุดคือพิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์และพิมพ์สมเด็จฐานแซม ที่สำคัญพระวัดบึงพระยาสุเรนทร์นี้หลวงปู่ทอง วัดราชโยธาปลุกเสกด้วยแน่นอน จึงนับว่าเป็นพระดีที่ราคาน้อยแต่ไม่ด้อยพุทธคุณ ควรค่าแก่การบูชา.
    <DD>ราช รามัญ
    http://www.thaipost.net/index.asp?bk=tabloid&post_date=11/Nov/2550&news_id=150704&cat_id=220400</DD>
     

แชร์หน้านี้

Loading...