สมเด็จโตมหาปราชญ์แห่งรัตนโกสินทร์ ตอน เทศน์ ๑๒นักษัตร

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 17 เมษายน 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    คณาจารย์เรื่องเวทย์โดย จิเจรุนิ ตอนสมเด็จโตมหาปราชญ์แห่งรัตนโกสินทร์ ตอน เทศน์ ๑๒นักษัตร
    [​IMG]
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านจุดเทียนเล่มใหญ่ เข้าไปในบ้านสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) คือ สมเด็จพระประสาท ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เอาคัมภีร์หนีบรักแร้ ตาลปัตรทำหางเสือ จุดเทียนเล่มใหญ่เข้าไปที่บ้าน สมเด็จพระประสาทในเวลากลางวันแสกแสก เดินรอบบ้านสมเด็จพระประสาท (คลองสาร) สมเด็จพระประสาทอาราธนาขึ้นบนหอนั่งแล้วว่า โยมไม่สู้มืดนักดอกเจ้าคุณ อนึ่งโยมนี้มีใจแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนาแน่นอนมั่นคงเสมอ อนึ่งโยมทะนุบำรุงแผ่นดินโดยเที่ยงธรรม และตั้งใจประคับประคองสนองพระเดชพระคุณโดยตรง โดยสุจริต คิดถึงชาติและศาสนา พระมหากษัตริย์เป็นที่ตั้งตรงอยู่เป็นนิตย์ ขอเจ้าคุณอย่าปริวิตกให้ยิ่งกว่าเหตุ นิมนต์กลับได้

    ครั้งหนึ่งหม่อมชั้นเล็ก ตัวโปรดของสมเด็จพระประสาทถึงอนิจกรรมลง สมเด็จพระประสาทรักหม่อมชั้นมาก ถึงกับโสกาไม่ค่อยสร่าง จึงใช้ทนายให้ไปอาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ไปเทศน์ดับโศก ให้ท่านฟัง ทนายก็ไปอาราธนาว่า ฯพณฯ หัวเจ้าท่านให้อาราธนาพระเดชพระคุณ ไปแสดงธรรมแก้โศก ให้ ฯพณฯ ท่านฟังขอรับกระผมในวันนี้ เพลแล้วขอรับกระผม

    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) รับว่า จ๊ะ เรื่องเทศน์แก้โศกนั้น ฉันยินดีเทศน์นักจ๊ะ ฉันจะไปจ๊ะ ครั้นถึงเวลา สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ลงเรือกราบสี ไปถึงบ้านสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์นั่งที่บัญญัติพาสน์

    ฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ออกรับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ปฏิสัณฐานแล้วจุดเทียน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ขึ้นธรรมาสน์ ให้ศีลบอกศักราชแล้วถวายพร แล้วเริ่มนักเขปบทเป็นทำนองเส้นเหล้าในกัณฑ์ชูชกว่า "ตะทากาลิงคะรัฏเฐ ทุนนะวิฏฐะพราหมณวาสี ชูชโกนามพราหมโณ ฯลฯ ตัสสอทาสิ" แปลความว่า "ตะฑากาเล ในกาลเมื่อสมเด็จพระบรม สองหน่อชินวงศ์วิศนุเวทฯ ว่าความพระคลัง ที่สมเด็จพระประสาทแต่งขึ้นนั้น พอกล่าวถึงกำเนิดชูชกของท่านว่า ผูกขึ้นใหม่ ขบขันคมสันมากกว่าความพระคลัง เพราะแหล่นอกแบบ ต้องขำอยู่เอง และแลเห็นความเป็นจริงเสียด้วย คราวนี้สมเด็จพระประสาทก็ยิ้มแป้น พวกหม่อมๆ เหล่านั้น และคนผู้ใหญ่ ผู้หญิง ผู้เด็ก ทนาย ข้าราชการ ฟังเป็นอันมาก ก็พากันยิ้มแป้นทุกคน พอถึงแหล่ขอทาน แหล่ทวงทอง แหล่พานาง คราวนี้ถึงกับหัวเราะกันท้องคัดท้องแข็ง ถึงกับเยี่ยวรดเยี่ยวราดก็มีบ้าง ส่วนสมเด็จเจ้าพระยาก็หัวเราะ ถึงกับออกวาจาว่าสนุกดีจริง ขุนนางและทนายหน้าหอ พนักงานเหล่านั้น ลืมเกรองสมเด็จพระประสาท สมเด็จพระประสาทก็ลืมโศกถึงหม่อมเล็ก ตั้งกองหัวเราะกิ๊กก๊ากไปทั้งบ้าน เทศน์ไปถึงแหล่ยิง แหล่เชิญ แหล่นำทาง แหล่จบ ก็จบกัน ลงท้ายเหนื่อยไปตามๆ กัน รุ่งขึ้นที่บ้านนั้นก็พูดลือกันแต่ชูชก สมเด็จเทศน์ ฝ่ายสมเด็จพระประสาทก็ลืมโศก ชักคุยแต่เรื่องความชูชกตรงนั้นผู้นั้นๆ แต่ง ไม่มีใครร้องไห้ถึงหม่อมเล็กมานาน

    ครั้นล่วงมาอีกปีหนึ่ง สมเด็จพระประสาท จัดการปลงศพหม่อมเล็ก จึงใช้ให้ทนายไปนิมนต์สมเด็จฯ มาเทศนาอริยสัจหน้าศพ ทนายไปถึงสมเด็จฯ ที่วัด แล้วก็กราบเรียนว่า ฯพณฯ ให้อาราธนาพระเดชพระคุณไปแสดงธรรมหน้าศพพรุ่งนี้ เพลแล้ว ขอรับกระผมฝ่ายสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านจึงถามว่า จะให้ฉันเทศน์เรื่องอะไรจ๋า ทนายลืมคำอริยสัจเสีย ไพล่ไปอวดดีเรียนท่านว่า ให้เทศน์เรื่อง ๑๒ นักษัตร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แจ้งชัดแล้วว่าเขาลืม และท่านก็ยิ้มแล้วรับว่า ๑๒ นักษัตรนั้นฉันเทศน์ดีนักจ้ะ ไปเรียนท่านเถิดว่า ฉันรับแล้วจ้ะ

    ครั้นถึงวันกำหนดการตั้งศพหม่อมเล็ก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ไปถึงบ้าน ฯพณฯ ท่านขึ้นบนหอ พอสมเด็จเจ้าพระยาออกหน้ามุข ขุนนางเจ้านายที่เข้าฝากตัว แลจีนเถ้าแก่ เจ้สัว เจ้าเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือมาประชุมในงานนี้มาก สมเด็จพระประสาททายทักปราศรัยบรรดาผู้ที่มา แล้วเข้ากระทำอัญชลี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แล้วท่านกล่าวชักชวนบรรดาผู้ที่มานั้นให้ช่วยกันฟังเทศน์แล้ว สมเด็จพระประสาทจุดเทียนธรรมาสน์เบิกธรรมะ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ให้ศีล บอกศักราช ขอเจริญพระเสร็จแล้ว ท่านก็เริ่มเทศน์กล่าวนิกเขปคาถาบทต้นขึ้นว่า มูสิโก อุสโภ พยัคโฆ สะโส นาโค สัปโป อัสโส เอฬโก มักกุโฏ สุนักโข สุกโร สังวัจฉโร ติวุจจเตติ ท่านแปลขึ้นทีเดียวว่า ชวด หนู ฉลู วัว ขาล เสือเถาะ กระต่าย มะโรง งูใหญ่ มะเส็ง งูเล็ก มะเมีย ม้า มะแม แพะ วอก ลิง ระกา ไก่ จอ หมา กุน หมู นี่แหละ เป็นชื่อของปี ๑๒ เป็นสัตว์ ๑๒ ชนิด โลกบัญญัติให้จำง่าย กำหนดงาย ถ้าไม่เอาสัตว์ ๑๒ ชนิดมาขนานปี ก็จะไม่รู้ปี กี่รอบ

    ทีนี้สมเด็จเจ้าพระยา แลไปดูทนายผู้ไปนิมนต์ ขึงตาค้อนไปค้อนมา ทำท่าจะเฆี่ยนทนายผู้ไปนิมนต์ ผิดคำสั่งของท่าน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ชี้แจงอยู่ด้วยเรื่อง ๑๒ นักษัตรง่วนอยู่ ท่านรู้ในกิริยาอาการของสมเด็จเจ้าพระยาว่าไม่พอใจทนายในการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง คำบัญชาการ ท่านจึงย้อนเกร็ด กล่าวคำทับ ๑๒ สัตว์ ให้เป็นอริยสัจจธรรมขึ้นว่า ผู้นิมนต์เขาดี มีความฉลาด สามารถจะทราบประโยชน์แห่งการฟังธรรม เขาจึงขยายธรรมออกไปให้กว้างขวาง เขาจึงนิมนต์รูปให้สำแดง ๑๒ นักษัตร ซึ่งเป็นต้นทางพระอริยสัจจ์ พระอริยสัจจ์นี้ล้ำลึกสุขุมมาก ยากที่ผู้ฟังเผินๆ ถ้าจะฟังให้รู้ ให้เข้าใจจริงๆ แล้ว ต้องรู้นามปีที่ตนเกิด ให้แน่ใจก่อนว่าตนเกิดแต่ปีชวด ถึงปีชวด และถึงชวดอีก เป็น ๓ ชวด ๓ หนู รวมเป็นอายุที่ตนเกิดมานั้น คิดรวมได้ ๒๕ ปี เป็นวันที่ ๑ เรียกว่า ปฐมวัย ในปฐมวัยต้นชั้นนี้ กำลังแข็งแรง ใจก็กล้าหาญ ความทะยานก็มาก ความอยากก็กล้า ถ้าเป็นลูกผู้ดีมีเงิน มีหน้าที่ประกอบกิจการงาน มีที่พึ่งพักอิง สถานที่อาศัย ถ้าเป็นลูกพลคนไพร่ไร้ทรัพย์ กับไม่มีที่พึ่งพาอาศัยสนับสนุนค้ำจุน ซ้ำเป็นผู้มีสติปัญญาน้อย ด้อยอ่อนในการเรียนการรู้ คราวนี้ก็ทำหน้าเศร้าสลด เสียใจ แค้นใจตัวเองบ้าง แค้นใจบิดามารดา หาว่าตั้งฐานะไว้ไม่ดี จึงพาเขาลำบาก ตกทุกข์ได้ยากต้องเป็นหนี้เป็นข้า อายุยี่สิบห้าแล้วยังหาชิ้นดีอะไรไม่ได้ คราวนี้ชาติทุกข์ในพระอริยสัจจ์เกิดปรากฏแก่ผู้ได้ทุกข์เพราะชาติ ความเกิดคราวนี้ ยังมีอีก คนหนึ่งเกิดขึ้นในปีฉลู แล้วถึงฉลูอีก แล้วถึงฉลูอีก รวม ๕ รอบ นับไปดูจึงรู้ว่า ๖๐ ปี จึงรู้ตัวว่าแก่ คนในปูนชรา ตาก็มัว หัวก็มึน หูก็ตึง เส้นเอ็นก็ขัด ท้องไส้ก็ฝืด ผะอืดผะอม ทีนี้ความตงิดว่า เรารู้ตงิด แก่ เราชราอายุถึงเท่านี้ๆ เป็นส่วนเข้าใจว่า ชราทุกข์ถึงเราเข้าแล้ว จะกำหนดได้ก็เพราะรู้จักชื่อปีเกิด ถ้าไม่รู้ชื่อปีเกิดก็ไม่รู้ตัวว่าแก่เท่านั้นเอง เพราะใจอันเป็นอัพยากฤตจิต ไม่รู้แก่ ไม่รู้เกิด จะรู้ได้ก็ต้องตนกำหนดหมายไว้จึงรู้ การที่จะกำหนดหมายเล่า ก็ต้องอาศัยจำปีเกิด เดือนเกิด วันเกิดของตนก่อน จึงจะกำหนดทุกข์ให้เข้าใจเป็นลำดับปีไป เหตุนี้จึงกล่าวว่า ๑๒ นักษัตร เป็นต้นทางของพระอริยสัจจ์ ถ้าไม่เดินต้นทางก่อน ก็จะเป็นผู้หลงทาง ไปไม่ถูกที่หมายเท่านั้น แล้วท่านจึงสำแดงพระอริยธรรม ๔ สัจจ์ โดยปริยายพิจิตรพิสดาร

    พระอริยสัจจ์ที่ท่านแสดงในครั้งนั้น มีผู้ได้จำนำลงพิมพ์แจกกันอ่านครั้งหนึ่งแล้ว ในประวัติเรื่องนี้จะไม่มีเทศน์ เพราะไม่ประสงค์จะสำแดงพระอริยสัจจ์ ประสงค์จะเขียนแต่ประวัติข้อที่ว่าผู้นิมนต์ลืมคำสั่งสมเด็จเจ้าพระยา ไพล่ไปบอกสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ว่าเทศนา ๑๒ นักษัตร ท่านจึงวิสัชนาตามคำนิมนต์ ครั้นท่านเห็นไม่ชอบกล นายจะลงโทษบ่าวฐานเปลี่ยนแปลงคำสั่งคำบัญชา ท่านจึงมีความกรุณา เทศน์ยกย่องคำผิดของบ่าวขึ้นให้เป็นความดี จึงเทศนาว่า ๑๒ นักษัตร ๑๒ ปีนี้ เป็นต้นทางของพระอริยสัจจ์ ควรบุคคลจะรู้ก่อน รวมความว่า ท่านเทศน์ทุกขสัจจ์แล้ว เทศน์สมุทัยอริยสัจจ์ แล้วเทศน์มรรคอริยสัจจ์ จบลงแล้ว ใจสมเด็จเจ้าพระยาก็ผ่องแผ้ว ไม่โกรธทนายผู้นิมนต์พลาด ทนายคนนั้นรอดไป ไม่ถูกด่า ไม่ถูกเฆี่ยน เป็นอันแล้วไป

    ครั้นเข้าฤดูบวชนาค ท่านก็บวชนาคเสมอทุกวัน มีผู้เลื่อมใสนิมนต์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั่งที่พระอุปัชฌาย์ และท่านได้ประทานบรรพชาอุปสมบทแก่หม่อมเจ้าทัส อันเป็นพระบุตรสุดพระองค์ ในพระราชวงศ์ วังกรมหลวงเสนีย์บริรักษ์ ก็ทรงพระผนวชในสำนักสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง หม่อมเจ้าพระทัส พระองค์นี้ ภายหลังได้เป็นพระราชาคณะที่หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ ภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็นหม่อมเจ้าพระธรรมเจดีย์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร หม่อมเจ้าพระธรรมเจดีย์ (ทัส) พระองค์นี้ได้ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ผู้เรียบเรียงเรื่องนี้ด้วย ภายหลังทรงเลื่อนจากพระธรรมเจดีย์ ขึ้นเป็นหม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดโพธิ์ (เชตุพน) รับพระสุพรรณบัฏในรัชกาลที่ ๕ กรุงเทพพระมหานคร
    ที่มา http://palungjit.org/threads/เพียง๑๐๐บาทร่วมบุญปิดสมเด็จพระพุฒาจารย์โต๖๙นิ้ว.548123/
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017

แชร์หน้านี้

Loading...