"สรงน้ำพระ" เสริมมงคลวันสงกรานต์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 13 เมษายน 2010.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ สงกรานต์เชียงใหม่ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ถึงแม้ว่าทางกรุงเทพมหานคร จะออกมาประกาศชัดเจนแล้วก็ตาม ถึงการงดจัดงาน "เทศกาลสงกรานต์" ในหลายพื้นที่ทั่วกรุงฯ เนื่องจากการความวุ่นวายทางการเมืองระหว่างกองกำลังไพร่แดงกับรัฐบาลหน่อมแน้ม
    แต่กระนั้นเทศกาลสงกรานต์ในหลายพื้นที่ตามต่างจังหวัด ก็ยังเดินหน้าจัดงานตามประเพณีอันดีงามของไทย เพราะหลายคนที่อึดอัดกับสถานการณ์บ้านเมือง เลือกที่จะใช้โอกาสนี้ผ่อนคลายความตึงเครียดด้วยการเล่นน้ำ รดน้ำดำหัว เข้าวัด ทำบุญ ไหว้พระ รวมถึงการ "สรงน้ำพระ" เพื่อความเป็นสิริมงคล รับขวัญวันปีใหม่ไทย

    และเมื่อเอ่ยถึงเรื่องการสรงน้ำพระแล้ว ในบ้านเราก็มีหลายๆจังหวัดที่นำพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งปกติจะประดิษฐานอยู่ตามวัดหรือตามสถานที่สำคัญนำออกมาให้ประชาชนได้สรงน้ำกันแบบ 1 ปี มีหน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระพุทธสิหิงค์ กรุงเทพฯ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สำหรับการสรงน้ำพระนั้นเป็นความเชื่อมาแต่ครั้งโบราณกาลว่า "อานิสงส์ถวายเครื่องเถราภิเษก (สรงน้ำพระ)ผู้ใดได้ถวายเครื่องเถราภิเษกจะพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง" ซึ่งนี่ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระพุทธรูปเด่นดัง น่าสนใจ ตามพื้นที่ต่างๆที่มีการนำออกมาให้ประชาชนได้สรงน้ำเนื่องในเทสกาลสงกรานต์กัน

    *สรงน้ำพระพุทธสิหิงค์

    "พระพุทธสิหิงค์" ถือเป็นพระพุทธรูปคู่วันสงกรานต์ มีตำนานเล่าว่า พระพุทธสิหิงค์สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 700 โดยพระมหากษัตริย์ลังกา 3 พระองค์ พร้อมกับพระอรหันต์ในเกาะลังกา

    พระพุทธสิหิงค์ประดิษฐานอยู่ที่กรุงลังกาเป็นเวลา 1,150 ปี กระทั่งในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหง โปรดเกล้าฯ ให้พระยานครศรีธรรมราชแต่งทูตเชิญพระราชสาสน์ไปขอประทานมาจากพระเจ้ากรุงลังกา พระพุทธสิหิงค์จึงได้มาประดิษฐานในสยามประเทศนับแต่นั้นมา

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สำหรับในเมืองไทย มีพระพุทธรูปที่มีนามว่าพระพุทธสิหิงค์องค์สำคัญอยู่ 3 องค์ด้วยกัน คือ

    พระพุทธสิหิงค์ ในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ซึ่งทุกๆปีทางกทม.จะนำออกมาให้ประชาชนได้สรงน้ำกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 เป็นต้นมา สำหรับในปีนี้ กทม.ได้นำพระพุทธสิหิงค์มาให้ประชาชนสรงน้ำที่ลานคนเมืองเช่นกัน

    พระพุทธสิหิงค์ ในวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร หล่อด้วยสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง เป็นศิลปะเชียงแสนยุคแรก ซึ่งทุกๆปีทางจังหวัดเชียงใหม่จะมีขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันสรงน้ำ เนื่องในประเพณีปี๋ใหม่เมืองหรืองานสงกรานต์ล้านนานั่นเอง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พระพุทธสิหิงค์ ในหอพระสิหิงค์ นครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร มีพระพักตร์กลม อมยิ้มเล็กน้อย หล่อด้วยสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ทางจังหวัดนครศรีธรรมราชได้มีการอัญเชิญองค์พระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานที่สวนศรีธรรมาโศกราช ก่อนจะมีพิธีสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ควบคู่ไปกับงานประเพณีสงกรานต์“แห่นางดานเมืองนคร” อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เพราะมีการผนวกประเพณีทั้งพุทธและพราหมณ์เข้าไว้ด้วยกัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระแก้วบุษราคัม วัดศรีอุบลรัตนาราม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> *สรงน้ำพระแก้ว อุบล

    ที่เมืองดอกบัวงาม อุบลราชธานี ก็มีพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ที่เพิ่งจะนำออกมาให้ประชาชนได้สรงน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์กันเมื่อไม่กี่ปีมานี้

    สำหรับพระพุทธรูปสำคัญในงานสงกรานต์เมืองอุบล เป็นพระแก้ว 4องค์ด้วยกัน

    องค์แรก คือ "พระแก้วบุษราคัม” วัดศรีอุบลรัตนาราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปกรรมเชียงแสน แกะสลักจากแก้วบุษราคัม หน้าตักกว้าง 3 นิ้ว สูง 5 นิ้ว ตามตำนานเป็นสมบัติของเจ้าปางคำราชวงศ์จากเมืองเชียงรุ้งแสนหวีฟ้า ที่แตกหนีภัยสงครามจากพวกฮ่อมาเวียงเชียงรุ้งและสร้างเมือง “เขื่อนขันกาบแก้วบัวบาน”ขึ้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระแก้วไพฑูรย์แห่งวัดหลวง เมืองอุบลฯ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> พระแก้วบุษราคัมตกทอดมาถึงพระเจ้าตาผู้เป็นลูกพระเจ้าปางคำ ในปีพ.ศ.2314 นครเขื่อนขับกาบแก้วบัวบาน ถูกเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ยกทัพต่อตีพระวรราชภักดีหรือพระเจ้าวอและพระเจ้าฝางจึงหนีศึกมาสร้างบ้านแปงเมืองที่บ้านดอนมดแดง จ.อุบลราชธานี และได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาด้วย โดยได้สร้างวัดหลวงไว้ประดิษฐานพระแก้วบุษราคัม

    กระทั่งในรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้สั่งข้าหลวงมากำกับดูแลตามหัวเมือง ทำให้ราชบุตรหนูคำ เจ้าเมืองสมัยนั้นเกรงว่าข้าหลวงจะแสวงหาสมบัติเมืองไปเป็นของตน จึงนำพระแก้วออกจากวัดหลวงไปซ่อนไว้ที่บ้านวังกางฮุง

    กระทั่งอุปราชโท สร้างวัดศรีอุบลรัตนารามขึ้น จึงอัญเชิญพระแก้วบุษราคัมมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีอุบลรัตนาราม จวบจนทุกวันนี้ ในยามปกติพระแก้วบุษราคัมจะประดิษฐานไว้ในตู้แก้วในพระอุโบสถเท่านั้น แต่ในเทศกาลสงกรานต์ ทางวัดจะอัญเชิญลงมาให้ประชาชนได้สรงน้ำกัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระแก้วโกเมน แห่งวัดมณีวนาราม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> องค์ถัดมา "พระแก้วโกเมน" วัดมณีวนาราม เป็นพระพุทธรูปอัญมณีศักดิ์สิทธิ์ของวัดที่มีค่าหาได้ยากยิ่งและเกรงว่าจะสูญหาย ทำให้เจ้าอาวาสแต่ละรุ่นจึงหวงแหนเก็บรักษากันอย่างเป็นความลับเรื่อยมา ครั้นเมื่อสิ้นสมัยหลวงปู่พระธรรมเสนานี (กิ่ง มหับผโล) คณะกรรมการวัดจึงขออนุญาตนำพระแก้วโกเมนลงมาประดิษฐานในพุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้

    ตามตำนานที่เล่าต่อกันมาระบุว่าพระแก้วโกเมนอันเป็นแก้วหนึ่งในตระกูลแก้วเก้าประการนั้นก่อกำเนิดขึ้นพร้อมกับพระแก้วบุษราคัม ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยมีสงครามกับเวียงจันทน์ ผู้รักษาการบ้านเมืองและทายก-ทายิกา ได้พากันเก็บรักษาองค์พระไว้เป็นอย่างดีที่วัดบ้านกุดมะงุม อ.วารินชำราบ คณะผู้รักษาได้นำท่อนไม้จันทน์คว่ำองค์พระพุทธรูปไว้ ด้วยเกรงว่าข้าศึกจะแย่งชิงไป

    เมื่อสงครามสงบจึงได้นำพระแก้วโกเมนมาประดิษฐานไว้ ณ วัดมณีวนาราม ซึ่งเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัดเก็บรักษาไว้เป็นความลับสืบต่อกันมา แต่ก็เป็นในเทศกาลสงกรานต์และวันวิสาขบูชาเท่านั้น ที่ทางวัดจะอัญเชิญมาให้ประชาชนได้สรงน้ำพระกัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> องค์ต่อมาคือ "พระแก้วไพฑูรย์" วัดหลวง ที่ปีหนึ่งจะต้องรอให้ถึงช่วงงานสมโภชน์ จึงจะมีการนำออกมาให้ได้สักการะกัน ซึ่งงานสมโภชน์ จะอยู่ในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ สำหรับพระแก้วไพฑูรย์ เป็นหนึ่งในแก้วอันเป็นรัตนชาติ คือ เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม ทองแก่ก่ำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาฬ มุกดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลย์สายไพฑูรย์

    ด้วยองค์พระแววใสส่องเห็นเป็นคล้ายหยาดฝน จึงเชื่อว่าพระแก้วองค์นี้เป็นนิมิตแห่งความอุดมสมบูรณ์ สำหรับพระแก้วองค์นี้ใครเป็นผู้แกะสลักนั่นยังไม่พบข้อมูล แต่เชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปในปกครองของเจ้านายเมืองอุบลมานานแต่บรรพบุรุษของพระปทุมวราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ได้ถวายเป็นสมบัติของวัดหลวงคู่เคียงกับพระแก้วบุษราคัม เมื่อทางข้าหลวงจากกรุงเทพลงมาปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้านายอุบลจึงได้เอาพระแก้วทั้งสองไปซ่อน

    ต่อมาแม้เมื่อมีการถวาย "พระแก้วบุษราคัม" แก่ทางวัดศรีอุบลรัตนารามแล้ว ทายาทของเจ้านายเมืองอุบลก็ยังคงเก็บรักษาพระแก้วไพฑูรย์ไว้ เพราะเป็นสมบัติล้ำค่าของบรรพบุรุษ ต่อมาภายหลังจึงถวายพระครูวิลาสกิจจาทร เจ้าอาวาสวัดหลวงให้เป็นสมบัติของวัดหลวงตามเดิมจนทุกวันนี้

    ปิดท้ายกันที่ "พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง" วัดสุปัฎนาราม ที่จะนำลงมาให้สาธุชนสรงน้ำขอพระในช่วงเทศกาลสำคัญๆเช่นกัน ทั้งในช่วงปีใหม่สากล และช่วงปีใหม่ไทยแบบนี้

    สำหรับพระแก้วขาวเพชรน้ำค้างนั้น เนื้อองค์เป็นแก้วผลึกขาวใสประดุจน้ำค้างยามเช้าเปล่งแสงแวววาวในตัวเองประดุจเพชร จึงได้ชื่อว่า "พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง" ฉลององค์ด้วยทองคำเป็นบางส่วน เป็นพระปางสมาธิสูง 17 ซ.ม. ทำด้วยแก้วผลึกสีขาว

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ขบวนแห่ หลวงพ่อพระใส สงกรานต์หนองคาย </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุล สุดยอดนักประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทย สันนิษฐานว่าวิเคราะห์จากพุทธศิลป์แล้วเป็นพะรอยู่ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น

    ประวัติของพระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ได้ควบคุมการก่อสร้างพระอุโบสถวัดสุปัฎนารามแต่ พ.ศ. 2460-2473 เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้รวบรวมพระพุทธธูปเก่าแก่ไนปางต่างๆ จากหลายที่หลายแห่ง เช่น พระพุทธรูปหินสมัยลพบุรี 3 องค์ และสิ่งอื่นจำนวนมาก โดยเฉพาะพระแก้วขาวองค์นี้เป็นพระประจำองค์ท่าน ท่านได้อย่างไร ไม่ปรากฏชัด

    ในช่วงปี พ.ศ. 2485 เจ้าพระคุณคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ได้ขึ้นมาจำพรรษาที่วัดสุปัฎนาราม ได้มอบพระแก้วขาวองค์ศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของวัดสุปัฎนาราม ผู้รับมอบ คือ พระครูปลัดพิพัฒนวิริยาจารย์ (ณาณ ญาณชาโล) และมอบนโยบาย คือให้จัดกิจกรรมของคณะสงฆ์ขึ้น เมื่อท่านได้รับมอบพระแก้วขาวและนโยบายแล้ว ท่านก็ได้วางหลักเกณฑ์ให้คณะสงฆ์ทำกิจกรรมขึ้นเพื่อเป็นการสนองพระเดชพระคุณของเจ้าพระคุณสมเด็จพระมาหวีรวงศ์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>พระสี่มุมเมือง ราชบุรี</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> *สรงน้ำหลวงพ่อพระใส หนองคาย

    อีกหนึ่งงานใหญ่ช่วงสงกรานต์ของอีสาน ไปที่ จังหวัดหนองคาย เพื่อสักการะไหว้สา "หลวงพ่อพระใส" เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก มีพระรูปลักษณ์งดงามมาก ขนาดหน้าตัก กว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว ส่วนสูงจากพระสงฆ์เบื้องล่างถึงยอดพระเกศ 4 คืบ 1 นิ้ว ของชางไม้ ปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง) เป็นพระพุทธรูปที่ชาวจังหวัดหนองคายนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก

    ตามประวัติกล่าวไว้ว่า พระธิดา3พี่น้องของกษัตริย์ล้านช้าง ได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปประจำพระองค์ขึ้น 3 องค์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา แล้วขนานนามพระพุทธรูปตามพระนามว่า พระสุก พระเสริม และพระใสมีขนาลดกันตามลำดับ

    หลังศึกกับเวียงจันทน์ในรัชกาลที่ 3 ได้อัญเชิญพระทั้งสามลงแพ แต่ทว่าระหว่างทางล่องเรือมานั้นได้ล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องถึงเวินแท่นได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ การอัญเชิญจึงเหลือเพียงพระเสริมและพระใสมาถึงหนองคาย

    พระเสริมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสประดิษฐานอยู่ที่วัดหอก่อง ( วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ) ต่อมายุครัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอุปราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์สมัยนั้น พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะอัญเชิญพระเสริมมาประดิษฐานยังพระบวรราชวัง

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ขุนวรธานีและข้าหลวง ( เหม็น ) ไปอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนคร เมื่อครั้งอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนครนั้น กล่าวกันว่าพระใสแสดงปาฏิหาริย์ เกวียนที่ประดิษฐานพระใสหักลงตรงหน้าวัดโพธิ์ชัย ซ่อมก็หักอีก วัวลากเกวียนไม่ยอมเดิน ทั้งเชิญและบวงสรวงก็ไม่เป็นผล สุดท้ายทหารจึงอัญเชิญพระใสประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยแทน ส่วนพระเสริมอัญเชิญไปกรุงรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพ ปัจจุบันหลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดหนองคายประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมือง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สรงน้ำพระ ประเพณีดีงามอันเป็นมงคลในเทศกาลสงกรานต์ </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> *สรงน้ำพระสี่มุมเมือง ราชบุรี

    ที่จังหวัดราชบุรีก็มีการชูการสรงน้ำพระในช่วงเทศกาลสงกรานต์เช่นกัน โดยเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านเมือง ของชาวราชบุรี เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานตั้งแต่ปีพ.ศ.2511 ซึ่งประดิษฐานไว้ ณ สี่มุมเมืองของประเทศ ได้แก่ ทิศเหนือ ประดิษฐานไว้ที่จังหวัดลำปาง (ข้างศาลเจ้าพ่อหลักเมือง) ทิศตะวันออก ประดิษฐานไว้ที่จังหวัดสระบุรี (หน้าศาลากลางจังหวัด ในวัดศาลาแดง) ทิศใต้ประดิษฐานไว้ที่จังหวัดพัทลุง (หน้าศาลากลางจังหวัด) และทิศตะวันตก ประดิษฐานไว้ที่จังหวัดราชบุรี (บนยอดเขาแก่นจันทน์)

    โดยองค์ที่อยู่เมืองราชบุรีนี้มีนามว่า "พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ"(พระสี่มุมเมือง) เพื่อความเป็นสิริมงคลเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2553 องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี จึงกำหนดจัดงาน "ประเพณีสรงน้ำพระสี่มุมเมือง" เนื่องในวันสงกรานต์ ประจำปี 2553 ในวันที่ 12 เมษายน 2553 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณวิหารจัตุรมุขบนยอดเขาแก่นจันทน์ราชบุรี

    สงกรานต์ปีนี้ใครเลือกจะเสริมสิริมงคลกันแบบไหนก็แล้วแต่ แต่ยังไงทางทีมงานท่องเที่ยวก็ขออวยพรให้มิตรรักนักอ่านทุกคน ประสบแต่โชคดีเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ไทยนี้

    Travel - Manager Online

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...