สร้างรูปเหมือนบูรพาจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ หลวงพ่อปาน โสนันโท หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Amata_club, 11 กรกฎาคม 2012.

  1. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,063
    ค่าพลัง:
    +52,162
    เนื่องจากท่าน อ.แทน ท่านตั้งใจที่จะสร้างสวนป่าบูรพาจารย์ขึ้นในวัดโพธิ์ศรีธาตุ โดยจะใช้พื้นที่บริเวณป่าฝั่งทางทิศตะวันตกของวัดเป็นที่จัดสร้าง

    พื้นที่ป่าส่วนนี้เป็นลักษณะป่าโปร่ง มีความร่มรื่น เหมาะสำหรับใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติภาวนาได้อย่างดี ท่าน อ.แทน ท่านจึงคิดที่จะสร้างป่าบริเวณนี้ให้เป็นสวนป่าบูรพาจารย์ เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนาต่อไป


    โดยปีนี้จะสร้างรูปเหมือนบูรพาจารย์ขึ้น 3 องค์ขนาดเท่าองค์จริง 29 นิ้ว คือ

    1. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) วัดระฆัง
    2. หลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค จ.อยุธยา
    3. หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (พระมหาวีระ ถาวโร) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    โดยตั้งงบประมาณในการจัดสร้างไว้ 35,000 บาท



    โดยรูปเหมือนปูนปั้นทั้ง 3 องค์ นี้จะนำถวายร่วมกับองค์กฐินในวันที่ 11 พฤษจิกายน 2555 ณ วัดโพธิ์ศรีธาตุ อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร์

    จึงขอประชาสัมพันธ์ให้พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกท่านที่มีจิตศรัทธาต่อองค์บูรพาจารย์ในอดีต ได้มาร่วมสร้างบุญ สร้างบารมีร่วมกัน ร่วมจัดสร้างรูปเหมือนบูรพาจารย์ และต่อยอดบุญ สร้างสวนป่าบูรพาจารย์ให้สำเร็จลุล่วงต่อไปครับ


    ธนาคารกรุงไทย สาขาแม็คโคร จรัญสนิทวงศ์ บัญชีออมทรัพย์
    ชื่อบัญชี นายพลกฤษณ์ แข่งขัน

    เลขที่ 864-0-09569-8
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  2. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,063
    ค่าพลัง:
    +52,162
    ......... สาธุครับ .........
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  3. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,063
    ค่าพลัง:
    +52,162
    ......... สาธุครับ .........
     
  4. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,063
    ค่าพลัง:
    +52,162
    แจ้งข่าวเพิ่มเติมครับ

    รูปเหมือนของหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อฤๅษีฯ ได้สั่งปั้นที่โรงหล่อพุทธปฐม ที่อยู่ก่อนถึงวัดท่าซุงครับ นัดรับพระกันตอนเดือนตุลา


    ส่วนรูปเหมือนองค์สมเด็จโต กะว่าจะสั่งปั้นแถว อ.สีคิ้ว โคราชครับ
     
  5. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,063
    ค่าพลัง:
    +52,162
    ......... สาธุครับ .........
     
  6. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,063
    ค่าพลัง:
    +52,162
    ......... สาธุครับ .........
     
  7. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,063
    ค่าพลัง:
    +52,162
    อนุโมทนาด้วยครับ _/\_
     
  8. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,063
    ค่าพลัง:
    +52,162
    ตัวอย่างรูปเหมือนปูนปั้น 3 บูรพาจารย์

    1. สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี (สั่งปั้นแถวสีคิ้ว โคราช)

    [​IMG]

    2. หลวงปู่ปาน โสนันโท (สั่งปั้นที่โรงหล่อพุทธปฐม อุทัยธานี)

    [​IMG]

    3. หลวงพ่อฤาษีลิงดำ (สั่งปั้นที่โรงหล่อพุทธปฐม อุทัยธานี)


    [​IMG]

    กำหนดรับพระ ที่นัดกันไว้ก็ประมาณเดือนตุลาคมครับ

    อนุโมทนาบุญครับ
     
  9. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,063
    ค่าพลัง:
    +52,162
    [​IMG]

    ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี พ.ศ.2555 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 2 สิงหาคม และวันเข้าพรรษา ตรงกับวันที่ 3 สิงหาคม

    ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8

    วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี

    ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ

    สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ
    1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
    การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค
    การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

    ดังนั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่

    1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง

    2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
    3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
    4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
    5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
    6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
    7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
    8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
    2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่

    1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด

    2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ
    3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา

    4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น

    กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา
    พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้ คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคที่ค่าครองชีพถีบตัวสูงขึ้นอย่างนี้...

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
     
  10. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,063
    ค่าพลัง:
    +52,162
    ธรรมะวันอาสาฬหบูชา

    ตามที่ปรากฏในประวัติพุทธศาสนา วันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 นี้ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรกเป็นปฐมเทศนาหลังจากที่ตรัสรู้แล้ว เป็นธรรมะที่ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ซึ่งมีเนื้อความกล่าวถึงอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หรือว่า ความจริงของพระอริยะ มี 1.ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ 2.สมุทัย คือสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ 3.นิโรธ คือการดับทุกข์ และ 4.มรรค คือหนทางหรือแนวทางในการดับทุกข์

    มรรคหรืออริยมรรคแปลว่า ทางประเสริฐ หรือว่าทางของพระอริยะ อันเป็นข้อหนึ่งของอริยสัจ 4 นี้ มี 8 ประการ ดังนี้คือ

    1.สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) 2.สัมมาสังกัปปะ (ความดำริที่ถูกต้อง) 3.สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) 4.สัมมากัมมันตะ (การงานที่ถูกต้อง) 5.สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) 6.สัมมาวายามะ (ความพยายามที่ถูกต้อง) 7.สัมมาสติ (สติที่ถูกต้อง) 8.สัมมาสมาธิ (สมาธิที่ถูกต้อง)

    ท่านว่า บุคคลใดผู้ดำเนินแนวทางนี้เป็นพระอริยบุคคลได้ เพราะเป็นแนวทางสายกลางที่ไม่สุดโต่ง คือ ไม่หย่อนเกินไปหรือว่าตึงเกินไป ทางสายกลาง 8 ประการดังที่กล่าวนี้ คือข้อปฏิบัติที่เรียกกันว่า มัชฌิมาปฏิปทา

    พระเดชพระคุณท่านพุทธทาสภิกขุ ขณะที่มีชีวิตอยู่ท่านได้กล่าวถึงธรรม คำว่า สัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้องหรือว่าความเข้าใจถูก อันเป็นข้อแรกของมรรค 8 ทางสายกลางหรือว่า มัชฌิมาปฏิปทา นี้เอาไว้ นานมาแล้วในหนังสือเล่มหนึ่ง

    หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า “ชุมนุมอภิลักขิตกาลพจน์ (ข้อคิดวันสำคัญ) 2482-2500” บังเอิญผมอ่านเจอ ขอนำมาเรียบเรียงให้เป็นข้อคิดกันไว้มีความหนึ่งว่าดังนี้ครับ

    ความไม่เข้าใจกับความเข้าใจผิดนั้นต่างกัน

    ความเข้าใจผิดจะยิ่งมืดเสียกว่าความไม่เข้าใจ เพราะเป็นความมืดที่ถูกย้อมน้ำฝาดอีกต่อหนึ่ง และทั้งเป็นอันตรายกว่า เพราะผู้ที่เข้าใจผิดย่อมไม่ยอมรับคำตักเตือน ซึ่งต่างกับผู้ที่ไม่เข้าใจอันพร้อมที่จะรับคำตักเตือนเสมอ

    ความมืดเพราะความไม่เข้าใจ ท่านพุทธทาสบอกว่า ยังเป็นสิ่งที่พอจะมองเห็นกันได้บ้าง แต่ความมืดอันเนื่องเพราะความเข้าใจผิดนั้นนอกจากจะเห็นได้ยากแล้ว “ยังจะทำให้เขาเข้าใจว่า เขามีความสว่างเสียด้วยซ้ำไป” จึงมองไม่เห็นความมืด

    ความมืดจากความเข้าใจผิดจึงนับว่าเป็นความมืดที่อันตรายที่สุด แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ช่วยอะไรไม่ได้

    “ความมืดเพราะความทะนง ว่าตนได้เล่าเรียนมามาก อาจมีมากจนถึงกับทำความล่มจมให้แก่ตัวเอง หรือผู้ที่ไว้เนื้อเชื่อใจผู้นั้นว่า เป็นคนเล่าเรียนมาแล้ว นี่ก็เป็นความมืดอันมีมาแต่ความเข้าใจผิดนั้นเหมือนกัน” ท่านพุทธทาสว่า

    ดังนั้น ความรู้ที่มากท่วมหัว แต่กลับปรากฏว่าช่วยตัวไม่รอดนั้น ก็เพราะยิ่งมองเห็นยิ่งมืด เป็นความมืดของความเข้าใจผิด ชนิดที่ยิ่งคิดได้มาก ก็ยิ่งผิดออกไปมาก ยิ่งคิดได้ยาว ก็ยิ่งผิดออกไปยาว นับว่าเป็นความมืดอันร้ายกาจชนิดหนึ่ง

    ท่านพุทธทาสชี้ว่า บุคคลประเภทนี้ควรที่จะเป็นผู้ควบคุมความรู้ของตนเอาไว้ให้ดี อย่าให้ตำราหรือว่าตัวหนังสือท่วมหัวจนไม่ยอมเหลียวแลดูข้อเท็จจริงเสียเลย ความอยู่ในอำนาาจของเหตุผลและข้อเท็จจริงเป็นของคนละอย่างจากการเอาแต่ตามตัวหนังสือหรือตามตำราที่ว่า

    “ถ้าเขาเป็นคนมีหลักที่เป็นไปตามอำนาจแห่งเหตุผลและข้อเท็จจริงเป็นใหญ่ ก็จะสามารถควบคุมความรู้หรือตำราไม่ให้ท่วมหัวเขาได้ จึงปลอดภัยและได้รับผลที่มุ่งหมาย” ท่านพุทธทาสกล่าวว่า “นี่คือสิ่งที่เรียกว่า ความเข้าใจถูกหรือสัมมาทิฏฐิ อันเป็นองค์ต้นของอัฎฐังคิกมรรค”...

    สุดท้ายในคำเทศนานี้ท่านพุทธทาสภิกขุ เตือนขอให้พุทธบริษัททั้งหลายได้ระมัดระวังตนต่อสิ่งที่ยึดถือ หรือว่าที่ได้เรียนมา อย่าให้เกิดมามีอาการท่วมหัวเอาตัวไม่รอดดังที่ได้กล่าวนี้

    ขอให้สลัดเลนตมแห่งความเข้าใจผิดเสีย ทั้งนี้เพื่อความเป็นพุทธบริษัทอันถูกต้อง


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.komchadluek.net
     
  11. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,063
    ค่าพลัง:
    +52,162
  12. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,063
    ค่าพลัง:
    +52,162
    พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกท่านที่มีจิตศรัทธาต่อองค์บูรพาจารย์ก็ขอเชิญชวนได้มาร่วมสร้างบุญ สร้างบารมีร่วมกัน ร่วมจัดสร้างรูปเหมือนบูรพาจารย์ และต่อยอดบุญ สร้างสวนป่าบูรพาจารย์ให้สำเร็จลุล่วงต่อไปก็ขอเชิญนะครับ<!-- google_ad_section_end --> คนละ 5 บาท 10 บาทก็ได้ครับ<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  13. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,063
    ค่าพลัง:
    +52,162
    อนุโมทนาด้วยครับ _/\_
     

แชร์หน้านี้

Loading...