สวัสดีครับผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเเละการใช้ชีวิตถามหน่อยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย aeker11, 11 ตุลาคม 2016.

  1. aeker11

    aeker11 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +3
    ผมสงสัยว่าผมกำหนดพุท โธ เวลาทำงานการต่างๆ เเละต้องพูดคุยกับคนอื่นผม กำหนดรู้หนอ อย่างเดียวได้ไหมครับ

    เเล้วเมื่อคุยเเละทำการงานต่างๆเสร็จก็กำหนดพุท โธ ต่อ

    อย่างที่ 2 คือผมนั่งสมาธิ กำหนดพุท โท ปัญหาหลักๆคือ ปวดขาครับ นั่งได้อย่างมากก็ 1 ช.ม จะขยับได้ไหมครับหรือไม่ต้องสนใจ ยุเเต่กับพุท โธ
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,053
    ค่าพลัง:
    +3,465
    จิตพุทโธ ก็คือ จิตที่ไม่มีกิเลส

    ทำงานในชีวิตประจำวัน คุณต้องกำหนดรู้ ความมีกิเลสในจิต
    ถ้าการกระทำใด ไม่ได้ออกมาจากกิเลส นั่นก็คือ จิตบริกรรมพุทโธ

    ส่วน จิตที่ไปบริกรรมพุทโธ แล้ว ทำงานทำการไม่ได้ อ้างจะปฏิบัติ
    นั่นคือ จิตมีกิเลสอ้างเลห์ ปฏิบัติแบบนั้น ทำให้ตาย ก็มีแต่ นรก หงุดหงิด
    อึดอัด รำคาญใจ ไม่เลิก


    การนั่งปฏิบัติ หากเราว่างจากการงาน งานการไม่คั่งค้าง บ้าน ห้องหับ
    ถูดูแล สะอาดหมดจด น้องพี่ ไม่มีภาระไหว้วานไปรับส่ง เวลาที่สงัด
    สงบจากการงาน ก็เอามา บำเพ็ญสมณะธรรม นั่งปฏิบัติตามรูปแบบ

    พอมานั่งปฏิบัติตามรูปแบบ นั่งไปเลย จิตที่ไม่อ้างปวด อ้างต้องหยุด
    ต้องกิน ต้องขับถ่าย ต้องโน้น ต้องนี่ จิตใส่ใจแต่การปฏิบัติ ยืน
    เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ที่ไม่มีกิเลส ไม่ต้องบริกรรม นั่นคือจิตพุทโธ

    ส่วนจิตที่มันดำริ โน้น นั่น นี่ แล้วอ้างว่า จิตคิดนึกเป็นเสียงในใจ เป็นเสียงออก
    จากปากพุทโธ ไม่ได้ นั่น กิเลส มันหลอก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 ตุลาคม 2016
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    เวลาทำงานให้ตั้งใจทำงานให้เต็มที่ครับ
    เอาหน้าที่การงานจากความตั้งใจของเรานั้นหละครับ
    เป็นการฝึกทั้งสติฝึกสมาธิไปในตัวครับ
    การจดจ่ออยู่กับงาน ก็คือการฝึกสมาธิ
    เพียงแต่ว่าเราไปสนใจอยู่กับงานที่เราทำแทนครับ...

    เราจะภาวนาก็ต่อเมื่อ ร่างกายเรานิ่งๆไม่ได้เคลื่อนไหว
    ถึงจะเหมาะครับ ถ้าร่างกายเคลื่อนไหวให้ใช้การนับร่างกายแทน
    เช่นเดินไปกี่ก้าว อย่างนี้คือฝึกเจริญสติและสมาธิสะสมครับ
    ซึ่งหลักๆแล้วพวกนี้ถ้าเราสังเกตุก็คือ
    การที่เรามีฐานอยู่ที่กายเรานั่นหละครับ...
    เพียงแต่ปรับให้เหมาะสมตามรูปแบบการ
    ใช้พฤติกรรมตนเองครับ


    ส่วนตอนนั่งสมาธิ ให้ดูระเบียบท่าทางเราด้วยครับ
    ถ้านั่งขาไขว้กัน ปกติมันจะเป็นเหน็บชา
    และเจ็บขาเหนือบริเวณหัวเข้าเราได้ถ้านั่งนานๆ
    เพราะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงขามันไขว้ทับกันครับ
    ให้ลองปรับมาเป็นท่านั่งสมาธิขัดเพชร
    ซึ่งจะปรับให้เส้นเลือดวิ่งได้ตามแนวธรรมชาติร่างกายครับ
    หรือไม่ถ้าไม่ไหวก็นั่งหย่อนขาก็ได้ครับ
    หรือถ้าปวดขา แล้วเราก็พักซะ และถ้าอยากนั่งต่อ
    ก็ให้รักษาลมหายใจเอาไว้ให้เป็นแบบเดิมครับ
    ยกเว้นว่า ถ้านั่งสองท่านี้แล้ว ยังเจ็บอยู่
    ก็จะเป็นการฝึกในเรื่องของการข้ามเวทนา...
    ตรงนี้แนะนำไม่ได้ เพราะส่วนตัวไม่เคยผ่านจุดนี้มาครับ
    มีแต่เป็นเหน็บชา หลังจากที่เลิกนั่งครับ

    ส่วนถ้านั่งๆท่าที่บอกแล้วรู้สึกตัวเกิดเป็นเหน็บชา
    ให้โน้มตัวมาข้างหน้าให้หน้าอกติดเท้าแล้วค้างไว้ซักพักหนึ่ง
    ก็จะช่วยเรื่องเหน็บชาเรื่องเจ็บขาได้

    ส่วนถ้านั่งๆแล้วสับปหงก อย่าลืมตา
    ให้ค่อยๆปรับร่างกายมาสู่ถ้าเดิมแล้วจะ
    สามารถนั่งต่อได้โดยที่ไม่หลุดจากอารมย์ครับ


    ปล.ทริค ถ้าต้องการพัฒนามากกว่านี้ และปรับระบบหายใจ
    ให้ละเอียดขึ้น เพื่อเป็นฐานต่างๆสำหรับการพัฒนากรรมฐาน
    อะไรก็ได้ในอนาคต คือ
    การปรับลมหายใจให้ลึกเอาไว้ครับ หายใจเข้าให้ท้องพอง
    หายใจออกให้ท้องยุบ ส่วนคำภาวนาจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้
    เพราะตอนนี้ คำภาวนาเสมือนเป็นเครื่องเชื่อมโยงจิต
    แต่เราก็ต้องทิ้งเพื่อยกพัฒนาระดับสมาธิเราครับ
    ประเด็นสำคัญก็คือ ให้ระลึกรู้ว่า มีลมเข้าหยุดที่ปลายจมูก
    และระลึกว่า มีลมออกหยุดที่ปลายจมูก โดยไม่ต้องไปตาม
    ลมหายใจครับ การตามลมหายใจทำให้จิตเราเกิด
    และสมาธิเราจะติดขัดไม่สามารถไต่ระดับเกินปฐมฌานได้
    อาจเป็นเหตุให้เราเบื่อและเลิกนั่งสมาธิได้เพราะจะรู้สึกว่า
    นั่งแล้วไม่มีอะไรพัฒนาได้ไม่ว่า ความสามารถรับรู้ทางด้านนามธรรมต่างๆ
    รวมทั้งผลที่ได้จากสมาธิและนำมาใช้ในชีวิตหน้าที่การงานครับ
     
  4. aeker11

    aeker11 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +3
    การปรับลมหายใจให้ลึกเอาไว้ คือพยามยามสูดหายใจลึกๆเข้าไว้หรือปล่าวครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2016
  5. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +2,040
    ผมอ่านเเล้วเเปลกๆนะครับ หรือ ผมเป็นคนเซนสิทีฟมากไป
     
  6. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    ใช่ครับ และการที่ท้องพองและยุบนั้น
    เปนอุบายอย่างหนึ่งในการบังคับลมในเบื้องต้นนั่นเองครับ
    ตรงนี้ต้องให้เวลาหน่อยนะครับ ถ้าเราทำสม่ำเสมอได้
    ร่างกายจะใช้เวลาอย่างน้อย ๒ สัปดาห์ในการปรับตัวเอง
    และใช้เวลา ๒ เดือนในการที่จะกลายเป็นระบบหายใจปกติของเราครับ
    เพราะปกติทั่วไปเราจะหายใจหยุดแค่ที่หน้าอก
    แต่ว่าไม่ใช่ว่าไม่ดีนะครับ แต่ว่ามันไม่เพียงพอ
    สำหรับความละเอียดของลมหายใจและไม่เพียง
    พอต่อการยกพัฒนาระดับสมาธิในอนาคตครับ
    นอกจะทำให้เราต่อยอดต่างๆได้ช้ามาก
    เทียบนะครับ หายใจถึงหน้าอก ๓ ปี
    จะได้ผลเท่ากับที่หายใจลึกถึงท้องแค่ ๒ เดือนนั่นหละครับ
    พอนึกภาพออกนะครับ..และระบบการหายใจ
    อย่างนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับกรรมฐานทุกๆกองด้วยครับ
    เหตุที่บุคคลต่างๆ ฝึกกรรมฐานอะไรไม่สำเร็จซักอย่าง
    หรือฝึกกรรมฐานอะไรก็ไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง
    ไม่สามารถใช้ให้เกิดประโยชน์อะไรได้ รวมทั้งขาดกำลังจิต
    ในการส่งเสริมการทำงานต่างๆของจิต..
    เป็นเหตุให้ท้อ ให้เบื่อ หรือพาลโทษโน้นนี่นั่นได้นั่นเองครับ
    นั่นก็เพราะมองข้ามพื้นฐานตรงนี้ไปอย่างคาดไม่ถึงนั่นหละครับ
    เพราะชอบไปมองที่ผลของกรรมฐานในระดับที่สำเร็จแล้ว
    ว่ามันทำอะไรได้บ้าง มันดีอย่างไร ไปมองในเชิงที่มันเป็นเรื่อง
    เหนือวิสัย ซึ่งพวกนี้เป็นเหตุให้เกิด อัตตาตัวตนอย่างคาดไม่ถึง
    และจำทำให้ไม่สนใจในเรื่องของการเจริญสติและเดินปัญญา
    ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่สุดเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการฝึก
    กรรมฐานแม้ว่ากองไหนก็ตามครับ
    จนลืมพื้นฐานระบบการหายใจอย่างคาดไม่ถึง

    ทริคคือ ถ้าเราเริ่มต้นอะไรๆแล้วเหมือนง่ายๆต่อไปมันยากหมดครับ
    ถ้าเราเริ่มต้นที่เหมือนยากก่อน ต่อไปทำอะไรมันจะง่ายครับ
    นี่เป็นเหตุบางส่วนว่า ทำไมบางคนฝึกอะไรๆเป็นปีๆ ฝึกเป็นสิบปี
    หรือฝึกทั้งชาติแล้วถึงไม่ประสบความสำเร็จ
    ในกรรมฐานกองนั้นๆนั่นหละครับ ไม่ใช่ว่าบุคคลนั้นไม่เก่ง
    หรือไม่มีความสามารถ หรือไม่ใช่คนไม่ดีนะครับ แต่เมื่อพื้นฐานมันไม่ได้
    มันก็ไม่มีทางที่จะถึงเป้าหมายได้นั่นหละครับ
    หมายเหตุ สำเร็จในที่นี้คือ เกิดผลต่อทั้งตัวเองและบุคคลอื่นๆ
    รวมทั้งมีความสามารถในการแสดงให้บุคคลอื่นๆรับ
    ทราบรับรู้ได้เหมือนตนเองนะครับ ไม่ใช่รู้เองเห็นเอง
    เฉพาะตนเองนะครับ (^_^)
     
  7. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796

    รูหนอก็ได้คับ

    พุทโธก็ดีคับ
    เอาที่สบายใจคับ

    ชชิมาปฎิปทาครับ
    ดีที่สุดคับ
    พี่ปวดพี่ก็ขยับนะคับ
    ไว้ถึงจุดหนึ่งเดี๋ยวพี่ก็ปล่อยแล้วคับ
     
  8. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    960
    ค่าพลัง:
    +711
    ลองเข้าไปอ่าน ไปฟังดูครับ

    http://palungjit.org/threads/ธรรมะ-ธรรมชาติ-สภาวะธรรม-และการนำไปใช้-โดย-หลวงปู่-พุธ-ฐานิโย.288027/
     
  9. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,287
    ถ้ากำหนดพุทโธ ตลอดไม่ว่าจะทำอะไรเป็นการฝึกให้จิตรวมอยู่กับคำภาวนา ไม่วอกแวก เป้าหมายคือเวลาต้องการจะนั่งสงบก็ง่าย เพราะจะไม่หลุดจากคำบริกรรม แต่ถ้าต้องการฝึกสติก็คือเวลาทำอะไรเราก็รู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไร ทำอย่างไร ร่างกายจะทำอะไรก็รู้ แบบนี้เป็นการเจริญสติ ส่วนเวลานั่งปวดขาจิตคงไม่สงบมาก เพราะถ้าสงบมากจะไม่ปวด ถ้าปวดก็ขยับขา หรือจะฝึกดูความเจ็บปวด ทำให้อุเบกขาเจริญขึ้นก็ได้
     
  10. ได้คับ

    ได้คับ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +106
    ภาวนายังไงก็ได้ครับแต่สิ่งสำคัญคือการละความพอใจไม่พอใจในโลกครับ นี้คือเป้าหมายของการภาวนาครับ ไม่ว่าจะเกิดสภาวะใดๆก็ให้รู้เฉยๆ มีสติตั้งมั่นเป็นกลางไม่ยินดียินร้าย นะครับ อนุโมทนาสาธุด้วยครับ
     
  11. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ประเด็นคือการฝึกการมีสติเพื่อรับรู้และตอบโต้กับสิ่งต่างๆด้วย....มีสองทางเลือกคือกิเลสหรือปัญญาถ้าไม่รู้ก็ถือว่ายังมองไม่เห็นแต่การฝึกเหมือนการเก็บสะสมไม่ใช่ว่าทำแล้วจะรู้อะไรต่างๆนานาได้เลย...มันเป็นกฎธรรมชาติคับ
     
  12. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    มันผ่านไปแล้วกาลเวลาล้วนเป็นไปตามเงื่อนไขที่เราและท่านมั้งหลายไม่ใช่ผู้กำหนดแต่อาจทำให้ช้าขึ้นหรือเร็วขึ้นได้...ในที่นี้ไม่มีผู้มีอิทธิฤทธิ์อภิญญาใดจึงไม่แปลกใจที่จะไม่เข้าใจในธรรมต่างๆที่พระศาสดาตรัสสอน...มันก็ดูปกติเพราะไม่ว่าอย่างไรก็ตามเขาวัวหรือเขาควายย่อมมีน้อยกว่าขนของมันเสมอ
     
  13. kitty_jeemiee

    kitty_jeemiee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2013
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +35
    สวัสดีค่ะ รบกวนสอบถามเพิ่มเติมค่ะ
    ในขณะที่นั่งปฏิบัติถ้าเราปวดขา เหน็บชา มาก ให้เรากำหนดรู้หนอ ปวดหนอ ด้วยหรือป่าวคะ แล้วถ้ากรณีนี้เราสามารถขยับแล้วกำหนด ขยับหนอตาม แล้วปฏิบัติต่อ แบบนี้ถือว่าสมาธิขาดมั๊ยคะ ส่วนอีกกรณีหนึ่งถ้าเรากำหนดรู้แล้วยิ่งปวด มากกว่าเดิมเจ็บไปจนถึงกระดูก ให้ขยับหรือภาวนาต่อดีคะ โดยส่วนตัวแล้วชอบทนไม่ไหวออกก่อนทุกทีเลยค่ะ

    ปล.เดี๋ยวนี้งานเยอะมากไม่ค่อยมีเวลานั่งสมาธิเลยค่ะ ^^ ขอบพระคุณท่านผู้รู้ล่วงหน้านะคะ
     
  14. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    คุณ Jeem เคยลองนั่งท่าขัดเพชรดูหรือยังครับ
    และลองจัดระเบียบร่างกายเราดูหรือยัง ว่าหลังตรงดีไหมอะไรประมาณนี้
    ขาทับกันไปไหม ทำนองนี้นะครับและ
    ลองดูถ้านั่งได้นะครับ และก็นั่งบนเบาะที่มีความหนาหน่อย
    หรือไม่ก็ลองนั่งหย่อนขาสบายๆ หรือเปลี่ยนอริยบทดูหรือยังครับ
    สมาธิไม่จำเป็นต้องอยู่ในท่านั่งอย่างเดียวครับ
    ไม่ว่า ยืน เดิน นอน(แบบต้องไม่อวัยวะบางส่วนมาให้ลม
    ที่ออกจากจมูกกระทบไม่งั้นจะหลับ) นั่งหย่อนขา ได้หมดครับ

    ส่วนการไปกำหนดหนอๆ หรืออะไรต่างๆไม่แนะนำครับ
    ถ้าคุณอยากจะพัฒนายกระดับสมาธิตัวเองนะครับ
    เพราะการที่ยังไปกำหนดหรือรู้โน้นนี่นั่น ให้นั่งทั้งชาติ
    ก็ไม่เกิดระดับปฐมฌานครับ เพราะจิตมันเกิดอยู่ครับ
    (เล่าให้ฟังไว้พิจารณาเอาเองนะครับ)

    ส่วนที่สำคัญที่สุดของการทำสมาธิไม่ว่าท่าอะไรก็คือ
    ๑.การปรับระบบหายใจของร่างกายตัวเราเองให้ละเอียดขึ้น
    เพื่อใช้สำหรับยกพัฒนาระดับสมาธิของเรา อีกอย่างจะเป็นพื้นฐาน
    สำหรับกรรมฐานอีก ๔๐ กองที่เหลือ ถ้าเราทำได้ซึ่งใช้เวลาหน่อย
    เวลาเราไปฝึกกรรมฐานอะไรที่เหมาะกับวาระเรา ณ ตอนนั้น
    มันจะง่ายครับ ถ้าไม่ปรับพื้นฐานให้ดีๆ จะเสียเวลาเปล่าๆ
    แถมกรรมฐานที่ฝึกก็ไม่สามารถนำมาใช้งานในชีวิตประจำวันได้
    แม้ว่าจะฝึกมาหลายๆปีหรือเป็นสิบปีก็ตาม
    เรียกว่าฝึกแล้วไม่เกิดผลนั่นเองครับ
    ให้หายใจเข้าให้ลึกถึงท้อง คือหายใจเข้าให้ท้องพอง
    หายใจออกให้ท้องยุบ (แต่อย่าไปตามลมหายใจนะครับ
    เด่วจะแป๊กที่ปฐมฌาน)จะภาวนาหรือไม่ภาวนาก็ได้
    แต่ให้ทำความรู้สึกรับรู้ตอนหายใจเข้าว่ามีลมหยุดที่ปลายจมูก
    และหายใจออกก็ทำความรู้สึกรับรู้ว่ามีลมหยุดที่ปลายจมูกครับ
    ๒.การสร้างสติทางธรรมและสมาธิสะสมเพื่อเอาไว้หนุนยกระดับ
    สมาธิเรา ได้มาจากข้อที่ ๑ ที่แนะนำ ซึ่งสามารถทำได้ในขณะที่
    ร่างกายเรานิ่งๆว่างๆงานอยู่ ถ้าร่างกายมีการเคลื่อนไหวให้เปลี่ยน
    มานับอวัยวะเอา เช่น เดินไปตรงนี้กี่ก้าว หรือ เคาะนิ่วเบาๆกี่ครั้ง
    ยังไงก็ได้ขอให้ฐานอยู่ที่กายครับ(กรณีที่ร่างกายเคลื่อนไหวนะครับ)
    ๓.อย่าเปรียบเทียบอดีต อย่าตั้งเป้าอนาคต เอาปัจจุบันได้แค่ไหนแค่นั้นจบ
    ถ้าไม่ไหวลุกไปหาอะไรอย่างอื่นทำ แต่ให้รักษาระบบหายใจเอาไว้
    ๔.ถ้าสัปปะหงก อย่าลืมตา ให้ขยับร่างกายให้ตรง แล้วนั่งต่อไป
    ๕.อุทิศส่วนกุศลก่อนและหลังนั่งให้เป็นนิสัย
    ๖.ทำดีทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
    ๗.อย่าไปยุ่งวุ่นวายเรื่องคนอื่นๆ...
    ๘.นิวรณ์ ๕ ตัดให้ได้โดยเฉพาะข้อเรื่องความพยาบาทต่างๆ
    ในอดีตให้ใช้เมตตาเข้าไปช่วย...
    ข้อ ๘ นี้ช่วยในเรื่องอาการปวดขณะนั่งได้ครับ ถ้าทำได้นะครับ...
    ซึ่งมันจะไม่เกิดขึ้นเลย ในขณะที่นั่งสมาธิ แต่ถ้าเลิกนั่ง
    จะยังเป็นเหน็บชาได้อยู่ครับ ยกเว้นว่านั่งท่าขัดเพชร
    ถ้าปวดมากให้โน้มตัวไปด้านหน้าให้มากที่สุดอาการเหน๊บ
    หรือปวดก็จะหายครับ
    ๑๐.ถ้าอยากจะพัฒนาได้เร็ว ให้จำเอาไว้ว่า ไม่ว่าจะเห็น
    ได้ยิน สัมผัส รับรู้อะไรก็ตาม ไม่ว่าจะด้วยตาเปล่าๆ
    หรือในนิมิต ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ ไม่ว่าจะดีที่สุดหรือไม่ดีที่สุด
    ไม่ว่าจะน่ากลัวหรือไม่น่ากลัว ให้เฉยๆไว้ทุกๆกรณี
    ให้นึกเสียว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเพียงมายา
    แม้เห็นได้ด้วยตาเปล่า ให้พึ่งระลึกว่า
    " กลจิตคือมายาจิตชนิดหนึ่ง .. ''
    สามารถสร้างได้ เกิดได้ ไม่ว่าจะหลับตาหรือลืมตาครับ

    ส่วนถ้ายังต้องการนั่งเพื่อให้ผ่านเวทนาแล้วยกระดับพัฒนา
    สมาธิต่อส่วนตัวไม่มีประสบการณ์ตรงนี้
    ไม่สามารถให้คำแนะนำอะไรได้ครับ
     
  15. kitty_jeemiee

    kitty_jeemiee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2013
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +35
    ขอบพระคุณ คุณ Nopphakan

    พอดีเพิ่งเริ่มปฏิบัติได้ไม่นานนี่เองค่ะ ยังไงจะลองไปปรับใช้ดูนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...