สอบถามพระไตรปิฎกที่เกี่ยวกับอานาปานสติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย siratsapon, 23 ธันวาคม 2014.

  1. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    สวัสดีและกราบนมัสการทุกท่านครับ

    ผมกำลังจะทำการรวบรวมสื่อสำหรับผู้เริ่มต้นปฏิบัติใหม่ หรือย้ายศาสนามาใหม่ไปลงเผยแผ่ โดยคัดแยกเนื้อหาในพระไตรปิฎก, วิสุทธิมรรค และคัมภีร์ชั้นอื่นๆ จนถึงหนังสือเฉพาะที่เกี่ยวกับการฝึกอานาปานสติ แบบคัดเฉพาะที่คิดว่าจำเป็นจริงๆ สำคัญจริงๆ ออกจากสื่อธรรมะที่มีมากมายนับไม่ถ้วน ทุกวันนี้ ผมเองก็มีอยู่แต่ยังไม่สมบูรณ์เพียงพอ จึงคิดว่าถามผู้รู้จะดีกว่า คือ ท่านใดเห็นว่ามีพระไตรปิฎกสูตรไหน หนังสือเล่มใด ควรจะต้องอ่านบ้าง สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ ไม่รู้อะไรเลย แต่สนใจจะฝึกอานาปานสติ หรือผู้ที่ย้ายศาสนาเข้ามาก็อ่านได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลาค้นหาอย่างเป็นลำดับไปจนปฏิบัติบรรลุธรรมได้ รบกวนแนะนำได้นะครับ ยกตัวอย่างเช่น

    -- ระดับพื้นฐาน
    ------ ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา => �����ûԮ�������� � - ����Թ�»Ԯ�������� �

    ขอบพระคุณสำหรับธรรมทาน และเข้ามาอ่านครับ
     
  2. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑

    พระสูตรตาม Link ที่ท่านเจ้าของกระทู้ มี link อยู่ด้านบนยกมาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบด้วย

    ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา

    [๑๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์
    ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล
    อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
    อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน
    เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน
    สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น
    คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
    สงบไปโดยฉับพลัน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม อยู่ใน
    สถานที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติบ่ายหน้าสู่กรรมฐาน ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจ
    เข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึก
    ว่าหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่า
    หายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า
    เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อม
    สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งสุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจ
    เข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ
    จิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
    รู้แจ้งซึ่งจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยัง
    จิตให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บรรเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
    เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า
    เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
    พิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยง
    หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก
    พิจารณาเห็นวิราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจเข้า ย่อม
    สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นนิโรธหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็น
    ปฏินิสสัคคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะหายใจออก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้วอย่างนี้แล ทำให้มากแล้ว
    อย่างนี้แล จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
    แล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยฉับพลัน.
     
  3. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    ธรรมขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่สามารถขยายความได้โดยสัตว์โลก หรือผู้ที่ยังไม่หลุดพ้น

    ภูมิธรรมที่จะขยายความได้ คือ ปฏิสัมภิทา เท่านั้น

    พระอรหันต์ที่ไม่ใช่ ปฏิสัมภิทา ก็ไม่สามารถขยายความธรรมขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้เช่นเดียวกัน ท่านเจ้าของกระทู้ลองขยายความพระพุทธวจนะบนดูแล้วจะทราบดีว่าเป็นอย่างไร
     
  4. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    ดังนั้นการจะอ่านพระพุทธะวจนะแล้วให้เข้าถึงการบรรลุธรรมเลย เป็นสิ่งที่เรียกว่า เป็นไปได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้เลย เพราะความเข้าใจของสัตว์โลกที่มีต่อพระพุทธะวจนะนั้นไม่ถูกต้อง

    แม้ยกพระพุทธะวจนะ ที่ถูกต้องง่ายต่อการบรรลุธรรม สัตว์โลกก็ยากยิ่งที่จะรู้ได้และเข้าถึงได้ การเข้าถึงธรรมที่เห็นกันในปัจจุบันนี้เข้าถึงธรรมตามเหตุปัจจัยที่ตนได้สร้างและสั่งสมมาดีแล้ว รวมกับเหตุปัจจัยปัจจุบัน จึงเข้าถึงได้

    ส่วนพระพุทธะวจนะ นั้นมีไว้เทียบเคียงการปฏิบัติของตนว่าถูกต้องเพียงใด และผู้ที่จะเทียบเคียงได้ตรงก็ คือ ผู้ที่มีภูมิธรรมปฏิสัมภิทา อีกเช่นเดียวกัน ผู้ที่เข้าถึงธรรมภูมิอื่นก็ไม่สามารถเทียบเคียงได้กับพระพุทธะวจนะเช่นกัน

    ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงมีสัตว์โลกจำนวนมาก ที่อ่านมาก เป็นศึกษามาก อย่างท่านคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ,ผู้รวบรวมคำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อ ศรีศากยอโศก ก็ดี เมื่ออ่านมากๆก็คิดว่าตนเข้าใจธรรมะดีแล้ว เมื่อไปเจอพระอริยะเจ้าสอนไม่ตรงกับที่ตนเองเข้าใจก็ปรามาสพระอริยะเจ้านั้นเสีย จากนั้นก็เข้าใจไปเองอีกว่าตนนี้ล่ะ คือ พระอริยะเจ้า เป็นผู้พ้นจากอบายภูมิ

    นี้เป็นตัวอย่างเหตุแห่งอบายภูมิของผู้หลงในการศึกษาพระพุทธะวจนะ
    ท่านเจ้าของกระทู้จะรวบรวมคำสอนพระพุทธะวจนะนี้เป็นการดีแล้ว แต่ท่านต้องระวัง สิ่งที่เราได้เน้นเตือน
     
  5. testewer

    testewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +758
    ขออธิบายท่านผู้อ่านเพิ่ม เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด

    เราใช้คำว่า "ขยายความ" ในที่นี่หมายถึง "การอธิบายความหมายของคำสอน ว่าความหมายในภาษาที่เข้าใจง่ายเป็นอย่างไร"
    แต่ถ้า "ขยายความ" หมายถึง เพื่อให้ใจความนั้น สมบูรณ์ยิ่งขึ้นมากไปกว่านี้ ความหมายนี้ไม่สามารถใช้ได้กับธรรมขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า


    เพราะธรรมองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า มีความสมบูรณ์ในตนเอง ไม่สามารถทำให้สมบูรณ์ได้มากกว่านี้ จึงจำเป็นต้องมาอธิบายเพิ่มเพราะผู้อ่านอาจเข้าใจความหมายผิด จะเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น

    องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า เคยสอนไว้ว่า การสอนธรรมะนี้ต้องใช้ ตัวอักษร พยัญชนะ ให้ถูกต้องเพื่อมิให้ความหมายของคำนั้นผิด เพราะถ้าความหมายที่สื่อออกไป ผิด แม้เพียงนิดเดียว ธรรมะ นั้นจะเปลี่ยนไปทันที และอาจเป็นเหตุให้ผู้อ่านเข้าใจผิด และ ไม่สามารถเข้าถึงธรรมที่สอนได้

    แต่ ผู้สอนที่เข้าไม่ถึงธรรมะ สอนธรรมะอย่างไร ใจความก็ผิดเพี้ยน แม้ตัวอักษร พยัญชนะ ถูกต้องหมด ใจความ และความหมายก็ผิดจากธรรมะอยู่ดี ไปฟังสัตว์โลก สอนธรรมเพื่อให้เข้าถึงธรรมะนั้น เป็นสิ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลย ไปหาทางหลุดพ้นเองยังง่ายกว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...