สอบถามเรื่องการฝึกกสิณโดยใช้ลูกแก้วครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย joofjang, 29 กรกฎาคม 2014.

  1. joofjang

    joofjang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +421
    ผมเพิ่งเริ่มฝึกอาโลกสิณโดยใช้ลูกแก้วแต่มีข้อสงสัยคือถ้าเราจำเอาเงาต่างๆที่สะท้อนอยู่บนลูกแก้เช่น ประตูหน้าต่าง สิ่งของ หรือหน้าเราเองนี่ถูกต้องไหมครับ หรือจะต้องฝึกในที่ที่ไม่ทำให้เกิดเงาสะท้อนแบบนี้
    ขอบคุณครับ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สั้นๆ กดเบาๆ ตามนี้ครับ

    <table id="table1" border="0" cellspacing="3" cellpadding="3" width="100%"><tbody><tr><td style="font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: normal; font-size: 12pt; font-family: verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif" align="left" valign="top"> - ฌาน สมาบัติ
    ขณิกสมาธิ, ฌาน, อุปจารสมาธิ, ปฐมฌาน,
    นิวรณ์ ๕, ทุติยฌาน, ตติยฌาน (ฌาณ๓),
    จตุตถฌาน (ฌาน ๔) รูปฌาน, อรูปฌาน,
    สมาบัติ ๘, นิโรธสมาบัติ, เข้าผลสมาบัติ
    -
    นิมิต, -จริต ๖, -อิทธิบาท ๔, -สมาทาน
    - กฎการปฏิบัติกรรมฐาน

    อธิศีลสิกขา, ระงับนิวรณ์ ๕ ,
    เจริญพรหมวิหาร ๔, บารมี ๑๐,
    อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ ๑๐</td> <td style="font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: normal; font-size: 12pt; font-family: verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif" align="left" valign="top"> - วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตัวเองแบบง่ายๆ
    -
    เร่งรัดการปฏิบัติ - อริยะบุคคล
    -
    ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน

    -
    สังโยชน์ 10
    - มหาสติปัฏฐานสูตร
    - คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
    -
    รวมคำสอนหนังสือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    เสียงพระธรรมเทศนา
    -
    พระกรรมฐาน (เรื่องการทำสมาธิ)
    -
    แนวปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหันต์ทั้ง ๔ แบบ</td> </tr> </tbody></table> <table style="border-collapse: collapse" id="AutoNumber15" bgcolor="#F9F9F9" border="0" cellspacing="4" cellpadding="4" width="100%"><tbody><tr> <td colspan="3" height="23" valign="top"> <hr color="#CCCCCC" size="1"></td> </tr> <tr> <td valign="top" width="30%"> </td> <td valign="top" width="30%"> </td> <td valign="top" width="30%"> </td></tr></tbody></table>
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง

    เพื่อให้ผู้ปฏิบัติบรรลุอรหันต์ พุทธองค์มีแบบการปฏิบัติถึง ๔ แบบ คือ (อรหันต์ 4 สาย)

    ๑. สุกขวิปัสสโก ๒. เตวิชโช ๓.ฉฬภิญโญ ๔. ปฏิสัมภิทัปปัตโต
    <hr color="#DFDFDF" size="4"> เรื่องเกี่ยวกับสมาธิ

    <hr color="#DFDFDF" size="4"> <table style="border-collapse: collapse" id="AutoNumber16" border="0" cellspacing="1" width="507"> <tbody><tr> <td width="503">
    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    </td> </tr> </tbody></table> <hr>
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    กสิณ 10 <table style="border-collapse: collapse" bgcolor="#F3F3F3" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>

    Download อธิบายด้วยเสียง วิธีฝึกกสิน10
    กสิน10 ไฟล์ที่1 ขนาด 7 MB. อธิบาย 1ชั่วโมง
    กสิน10 ไฟล์ที่2 ขนาด 7MB. อธิบาย 1ชั่วโมง
    โดย หลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระอรหันต์แห่งวัดท่าซุง

    </td> </tr> </tbody></table> กิจก่อนการเพ่งกสิณ องค์ฌานในกสิณทั้ง ๑๐ กอง อานุภาพกสิณ ๑๐ วิธีอธิษฐานฤทธิ์ แนะกสิณร่วมวิปัสสนาญาณ
    <hr> ปฐวีกสิณ

    กสิณนี้ ท่านเรียกว่า ปฐวีกสิณ เพราะมีการเพ่งดินเป็นอารมณ์ ศัพท์ว่า "ปฐวี" แปลว่า
    "ดิน" กสิณ แปลว่า "เพ่ง" รวมความแล้วได้ความว่า "เพ่งดิน"

    อุปกรณ์กสิณ


    ปฐวีกสิณนี้ มีดินเป็นอุปกรณ์ในการเพ่ง จะเพ่งดินที่เป็นพื้นลานดิน ที่ทำให้เตียนสะอาด
    จากผงธุลี หรือจะทำเป็นสะดึงยกไปยกมาได้ ก็ใช้ได้ทั้งสองอย่าง ดินที่จะเอามาทำเป็นดวงกสิณนั้น
    ท่านให้ใช้ดินสีอรุณอย่างเดียว ห้ามเอาดินสีอื่นมาปน ถ้าจำเป็นหาดินสีอรุณไม่ได้มาก ท่านให้เอาดิน
    สีอื่นรองไว้ข้างล่างแล้วเอาดินสีอรุณทาทับไว้ข้างบน ดินสีอรุณนี้ ท่านโบราณาจารย์ท่านว่าหาได้จาก
    ดินขุยปู เพราะปูขุดเอาดินสีอรุณขึ้นไว้ปากช่องรูที่อาศัย เมื่อหาดินได้ครบแล้ว ต้องทำสะดึงตาม
    ขนาดดังนี้ ถ้าทำเป็นลานติดพื้นดิน ก็มีขนาดเท่ากัน

    ขนาดดวงกสิณ


    วงกสิณที่ทำเป็นวงกลมสำหรับเพ่ง อย่างใหญ่ท่านให้ทำไม่เกินเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ คืบ ๔
    นิ้ว อย่างเล็กไม่เล็กกว่าขอบขัน ระยะนั่งเพ่งบริกรรม ท่านให้นั่งไม่ใกล้ไม่ไกลกว่า ๒ คืบ ๔ นิ้ว
    ตั่งที่รองวงกสิณ ท่านให้สูงไม่เกิน ๒ คืบ ๔ นิ้ว ท่านว่าเป็นระยะที่พอเหมาะพอดี เพราะจะได้
    ไม่มองเห็นรอยที่ปรากฏบนดวงกสิณ ที่ท่านจัดว่าเป็นกสิณโทษ เวลาเพ่งกำหนดจดจำ ท่านให้
    มุ่งจำแต่สีดิน ท่านไม่ให้คำนึงถึงขอบและริ้วรอยต่าง ๆ

    กิจก่อนการเพ่งกสิณ


    เมื่อจัดเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ท่านให้ชำระร่างกายให้สะอาด แล้วนั่งขัดสมาธิที่ตั่ง
    สำหรับนั่ง หลับตาพิจารณาโทษของกามคุณ ๕ ประการ ตามนัยที่กล่าวในอสุภกรรมฐาน ต้องการ
    ทราบละเอียดโปรดเปิดไปที่ บทว่าด้วยอสุภกรรมฐาน จะทราบละเอียด เมื่อพิจารณาโทษของ
    กามคุณจนจิตสงบจากนิวรณ์แล้วให้ลืมตาขึ้นจ้องมองภาพกสิณจดจำให้ดีจนคิดว่าจำได้ก็หลับตาใหม่
    กำหนดภาพกสิณไว้ในใจ ภาวนาเป็นเครื่องผูกใจไว้ว่า "ปฐวีกสิณ" เมื่อเห็นว่าภาพเลือนไปก็ลืมตา
    ดูใหม่ เมื่อจำได้แล้วก็หลับตาภาวนากำหนดจดจำภาพนั้นต่อไป ทำอย่างนี้บ่อยๆ หลายร้อยหลายพัน
    ครั้งเท่าใดไม่จำกัด จนกว่าอารมณ์ของใจจะจดจำภาพกสิณไว้ได้เป็นอย่างดี จะเพ่งมองดูหรือไม่
    ก็ตาม ภาพกสิณนั้นก็จะติดตาติดใจ นึกเห็นภาพได้ชัดเจนทุกขณะที่ปรารถนาจะเห็นติดตาติดใจ
    ตลอดเวลา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "อุคคหนิมิต" แปลว่า นิมิตติดตา อุคคหนิมิตนี้ ท่านว่ายังมีกสิณ
    โทษอยู่มาก คือภาพที่เห็นเป็นภาพดินตามที่ทำไว้ และขอบวงกลมของสะดึง ย่อมปรากฏริ้วรอย
    ต่าง ๆ เมื่อเข้าถึงอุคคหนิมิตแล้ว ท่านให้เร่งระมัดระวังรักษาอารมณ์สมาธิและนิมิตนั้นไว้จนกว่า
    จะได้ปฏิภาคนิมิต ปฏิภาคนิมิตนั้น รูปและสีของกสิณเปลี่ยนจากเดิม คือกสิณทำเป็นวงกลมด้วย
    ดินแดงนั้น จะกลายเป็นเสมือนแว่นแก้ว มีสีใสสะอาดผ่องใสคล้ายน้ำที่กลิ้ง อยู่ในใบบัว ฉะนั้น
    รูปนั้นบางท่านกล่าวว่าคล้ายดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกปิดบัง เอากันง่าย ๆ ก็คือ เหมือน
    แก้วที่สะอาดนั่นเอง รูปคล้ายแว่นแก้ว จะกำหนดจิตให้เล็กโตสูงต่ำได้ตาม ความประสงค์
    อย่างนี้ท่านเรียกปฏิภาคนิมิต เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วท่านให้นักปฏิบัติเก็บตัว อย่ามั่วสุมกับ
    นักคุยทั้งหลาย จงรักษาอารมณ์ รักษาใจให้อยู่ในขอบเขตของสมาธิเป็นอันดี อย่า สนใจใน
    อารมณ์ของนิวรณ์แม้แต่น้อยหนึ่ง เพราะแม้นิดเดียวของนิวรณ์ อาจทำอารมณ์ สมาธิที่กำลัง
    จะเข้าสู่ระดับฌานนี้ให้สลายตัวได้โดยฉับพลัน ขอท่านนักปฏิบัติจงระมัดระวัง อารมณ์รักษา
    ปฏิภาคนิมิตไว้ คล้ายกับระมัดระวังบุตรสุดที่รักที่เกิดในวันนั้น


    จิตเข้าสู่ระดับฌาน

    เมื่อปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว จิตก็เข้าระดับฌาน อารมณ์ของฌานในกสิณทั้ง ๑๐ อย่างนั้น
    มีอารมณ์ดังนี้ ฌานในกสิณนี้ท่านเรียกว่าฌาน ๔ บ้าง ฌาน ๕ บ้าง เพื่อเป็นการป้องกันการ
    เข้าใจผิด ขออธิบายฌาน ๔ และ ฌาน ๕ ให้เข้าใจเสียก่อน

    ฌาน ๔


    ฌาน ๔ ท่านเรียกว่า จตุตถฌาน ท่านถืออารมณ์อย่างนี้
    ๑. ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๒. ทุติยฌานมีองค์ ๓ คือ ละวิตกและวิจารเสียได้ คงดำรงอยู่ในองค์ ๓ คือ ปีติ สุข
    เอกัคคตา
    ๓. ตติยฌานมีองค์ ๒ คือ ละวิตก วิจาร ปีติ เสียได้ ดำรงอยู่ในสุขกับเอกัคคตา
    ๔. จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ ละวิตก วิจาร ปีติ สุข เสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา
    กับเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑
    ฌาน ๔ หรือที่เรียกว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึง ๔ ท่านจัดไว้อย่างนี้ สำหรับในที่บางแห่ง
    ท่านว่ากสิณทั้งหมดทรงได้ถึงฌาน ๕ ท่านจัดของท่านดังต่อไปนี้

    ฌาน ๕


    ๑. ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๒. ทุติยฌานมีองค์ ๔ คือ ละวิตกเสียได้ คงทรง วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๓. ตติยฌานมีองค์ ๓ คือ ละวิตก วิจาร เสียได้ คงทรง ปีติ สุข เอกัคคตา
    ๔. จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ ละวิตก วิจาร ปีติ เสียได้ คงทรงสุขกับเอกัคคตา
    ๕. ฌาน ๕ หรือที่เรียกว่าปัญจมฌาน มีองค์สองเหมือนกันคือ ละวิตก วิจาร ปีติ
    สุขเสียได้ คงทรงอยู่ในเอกัคคตา และเพิ่มอุเบกขาเข้ามาอีก ๑
    เมื่อพิจารณาดูแล้ว ฌาน ๔ กับฌาน ๕ ก็มีสภาพอารมณ์เหมือนกัน ผิดกันนิดหน่อยที่
    ฌาน ๒ ละองค์เดียว ฌาน ๓ ละ ๒ องค์ ฌาน ๔ ละ ๓ องค์ มาถึงฌาน ๕ ก็มีสภาพเหมือน
    ฌาน ๔ ตามนัยนั่นเอง อารมณ์มีอาการเหมือนกันในตอนสุดท้าย อารมณ์อย่างนี้ ท่านแยกเรียก
    เป็นฌาน ๔ ฌาน ๕ เพื่ออะไรไม่เข้าใจเหมือนกัน กสิณนี้ถ้าท่านผู้ปฏิบัติทำให้ถึงฌาน ๔ หรือ
    ฌาน ๕ ซึ่งมีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ และอุเบกขารมณ์ไม่ได้ ก็เท่ากับท่านผู้นั้นไม่ได้เจริญ
    ในกสิณนั้นเอง เมื่อได้แล้วก็ต้องฝึกการเข้าฌานออกฌานให้คล่องแคล่ว กำหนดเวลาเข้า เวลา
    ออกให้ได้ตามกำหนด จนเกิดความชำนาญ เมื่อเข้าเมื่อไร ออกเมื่อไรได้ตามใจนึก การ เข้า
    ฌานต้องคล่องไม่ใช่เนิ่นช้าเสียเวลาแม้ครึ่งนาที พอคิดว่าเราจะเข้าฌานละก็เข้าได้ทันที ต้องยึด
    ฌาน ๔ หรือฌาน ๕ คือเอาฌานที่สุดเป็นสำคัญ เมื่อเข้าฌานคล่องแล้ว ต้องฝึกนิรมิตตามอำนาจ
    กสิณให้ได้คล่องแคล่วว่องไว จึงจะชื่อว่าได้กสิณกองนั้น ๆ ถ้ายังทำไม่ได้ถึง ไม่ควรย้ายไปปฏิบัติ
    ในกสิณกองอื่น การทำอย่างนั้นแทนที่จะได้ผลเร็ว กลับเสียผล คือของเก่าไม่ทันได้ ทำใหม่
    เก่าก็จะหาย ใหม่ก็จะไม่ปรากฏผล ถ้าชำนาญช่ำชองคล่องแคล่วในการนิรมิต อธิษฐานแล้ว
    เพียงกองเดียว กองอื่นทำไม่ยากเลย เพราะอารมณ์ในการฝึกเหมือนกันต่างแต่สีเท่านั้น
    จะเสียเวลาฝึกกองต่อๆ ไป ไม่เกินกองละ ๗ วัน หรือ ๑๕ วัน เป็นอย่างสูง จะนิรมิตอธิษฐานได้
    สมตามที่ตั้งใจของนักปฏิบัติ จงอย่าใจร้อน พยายามฝึกฝน จนกว่าจะได้ผลสูงสุดเสียก่อน
    จึงค่อยย้ายกองต่อไป


    องค์ฌานในกสิณทั้ง ๑๐ กอง

    ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก มีอารมณ์จับอยู่ที่ปฏิภาคนิมิต กำหนดจิตจับภาพปฏิภาคนิมิต
    นั้นเป็นอารมณ์ วิจาร พิจารณาปฏิภาคนิมิตนั้น คือพิจารณาว่า รูปปฏิภาคนิมิตสวยสดงดงาม คล้าย
    แว่นแก้วที่มีคนชำระสิ่งเปรอะเปื้อนหมดไป เหลือไว้แต่ดวงเก่าที่บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากธุลีต่างๆ

    ปีติ มีประเภท ๕ คือ

    ๑. ขุททกาปีติ มีอาการขนพองสยองเกล้าและน้ำตาไหล
    ๒. ขณิกาปีติ มีแสงสว่างเข้าตาคล้ายแสงฟ้าแลบ
    ๓. โอกกันติกาปีติ มีอาการร่างกายกระเพื่อมโยกโคลง คล้ายเรือที่ถูกคลื่นซัด บางท่าน
    ก็นั่งโยกไปโยกมา อย่างนี้เรียก โอกกันติกาปีติ
    ๔. อุพเพงคาปีติ มีกายลอยขึ้นเหนือพื้น บางรายก็ลอยไปได้ไกลหลายๆ กิโลก็มี
    ๕. ผรณาปีติ อาการเย็นซ่าซาบซ่านทั้งร่างกาย และมีอาการคล้ายกับร่างกายใหญ่
    สูงขึ้นกว่าปกติ

    สุข มีอารมณ์เป็นสุขเยือกเย็น ในขณะที่พิจารณาปฏิภาคนิมิต
    เอกัคคตา มีจิตเป็นอารมณ์เดียว คือมีอารมณ์จับอยู่ในปฏิภาคนิมิตเป็นปกติ ไม่สอดส่าย
    อารมณ์ออกนอกจากปฏิภาคนิมิต
    ทั้ง ๕ อย่างนี้เป็นปฐมฌาน มีอารมณ์เหมือนกับฌานในกรรมฐานอื่นๆ แปลกแต่กสิณนี้
    มีอารมณ์ยึดนิมิตเป็นอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ให้พลาดจากนิมิต จนจิตเข้าสู่จตุตถฌาน หรือ
    ปัญจมฌาน
    ทุติยฌานมีองค์ ๓ คือ ตอนนี้จะเว้นจากการภาวนาไปเอง การกำหนดพิจารณารูปกสิณ
    จะยุติลง คงเหลือแต่ความสดชื่นด้วยอำนาจปีติ อารมณ์สงัดมาก ภาพปฏิภาคนิมิตจะสดสวยงดงาม
    วิจิตรตระการตามากกว่าเดิม มีอารมณ์เป็นสุขประณีตกว่าเดิม อารมณ์จิตแนบสนิทเป็น สมาธิ
    มากกว่า
    ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ ตัดความสดชื่นทางกายออกเสียได้ เหลือแต่ความสุขแบบเครียดๆ
    คือมีอารมณ์ดิ่งแห่งจิต คล้ายใครเอาเชือกมามัดไว้มิให้เคลื่อนไหว ลมหายใจอ่อนระรวยน้อยเต็มที่
    ภาพนิมิตดูงามสง่าราศีละเอียดละมุนละไม มีรัศมีผ่องใสเกินกว่าที่ประสบมา อารมณ์ของจิตไม่สนใจ
    กับอาการทางกายเลย
    จตุตถฌาน ทรงไว้เพียงเอกัคคตา กับอุเบกขา คือมีอารมณ์ดิ่ง ไม่มีอารมณ์รับความสุข
    และความทุกข์ใดๆ ไม่รู้สึกในเวทนาทั้งสิ้น มีอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ทั้งมวลมีจิตสว่างโพลง
    คล้ายใครเอาประทีปที่สว่างมากหลายๆ ดวงมาตั้งไว้ในที่ใกล้ ไม่มีอารมณ์รับแม้แต่ เสียงลมหายใจ
    สงัด รูปกสิณเห็นชัดคล้ายดาวประกายพรึก ฌานที่ ๔ เป็นฌานสำคัญชั้นยอด ควรกำหนดรู้แบบง่ายๆ
    ไว้ว่า เมื่อมีอารมณ์จิตถึงฌาน ๔ จะไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจ ควรกำหนดไว้ง่ายๆ แบบนี้สะดวกดี
    ท่านทำได้ถึงระดับนี้ ก็ชื่อว่าจบกิจในกสิณ ไม่ว่ากองใดก็ตาม จุดจบของกสิณต้องถึง
    ฌาน ๔ และนิมิตอะไรต่ออะไรตามอำนาจกสิณ ถ้าทำไม่ถึงกับนิมิตได้ตามอำนาจกสิณ ก็เป็น
    เสมือนท่านยังไม่ได้กสิณเลย


    อาโปกสิณ

    อาโปกสิณ อาโป แปลว่า น้ำ กสิณ แปลว่า เพ่ง อาโปกสิณ แปลว่า เพ่งน้ำ
    กสิณน้ำ มีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้ ท่านให้เอาน้ำที่สะอาด ถ้าได้น้ำฝนยิ่งดี ถ้าหาน้ำฝนไม่ได้ท่านให้เอา
    น้ำที่ใสแกว่งสารส้มก็ได้ อย่าเอาน้ำขุ่น หรือมีสีต่างๆ มา ท่านให้ใส่น้ำในภาชนะเท่าที่จะหาได้
    ใส่ให้เต็มพอดี อย่าให้พร่อง การนั่ง หรือเพ่ง มีอาการอย่างเดียวกับปฐวีกสิณ จนกว่าจะเกิด
    อุคคหนิมิต อุคคหนิมิตของอาโปกสิณนี้ปรากฏเหมือนน้ำไหวกระเพื่อม สำหรับปฏิภาคนิมิต
    ปรากฏเหมือนพัดใบตาลแก้วมณี คือใสมีประกายระยิบระยับ เมื่อถึงปฏิภาคนิมิตแล้วจงเจริญ
    ต่อไปให้ถึงจตุตถฌาน บทภาวนา ภาวนาว่า อาโปกสิณัง

    เตโชกสิณ


    เตโช แปลว่า ไฟ กสิณเพ่งไฟเป็นอารมณ์ กสิณนี้ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้
    จุดไฟให้ลุกโชน แล้วเอาเสื่อหรือหนังมาเจาะทำเป็นช่องกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แล้ววางเสื่อหรือหนังนั้น
    ไว้ข้างหน้า ให้เพ่งพิจารณาไปตามช่องนั้น การนั่งสูง หรือระยะไกลใกล้ เหมือนกับปฐวีกสิณ
    การเพ่ง อย่าเพ่งเปลวไฟที่ไหวไปมา ให้เลือกเพ่งแต่ไฟที่มีแสงหนาทึบที่ปรากฏตามช่องนั้นเป็น
    อารมณ์ ภาวนาว่า เตโชกสิณัง ๆๆๆ หลาย ๆ ร้อยหลายพันครั้ง จนกว่านิมิตจะเป็นอุคคหนิมิต
    และปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตปรากฏเป็นดวงเพลิงตามปกติ สำหรับปฏิภาคนิมิตนั้นมีรูปคล้าย
    ผ้าแดงผืนหนา หรือคล้ายกับพัดใบตาลที่ทำด้วยทองหรือเสาทองคำที่ตั้งอยู่ในอากาศ เมื่อได้
    ปฏิภาคนิมิตแล้ว ท่านจงพยายามทำให้ถึงจตุตถฌานเถิด ผลที่ตั้งใจไว้จะได้รับสมความปรารถนา

    วาโยกสิณ


    วาโยกสิณ แปลว่า เพ่งลม การถือเอาลมเป็นนิมิตนั้น ท่านกล่าวว่าจะถือเอาด้วยการ
    เห็นหรือจะถือเอาด้วยการกระทบก็ได้
    การกำหนดถือเอาด้วยการเห็น ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดถูกต้องปลายหญ้าหรือปลายไม้
    เป็นอารมณ์เพ่งพิจารณา
    การถือเอาด้วยการถูกต้อง ท่านให้ถือเอาการที่ลมพัดมากระทบตัวเป็นอารมณ์ สมัยนี้
    การถือเอาลมกระทบจะใช้พัดลมเป่าแทนพัดลม หรือถือเอาการเห็นต้นหญ้าต้นไม้ที่ไหวเพราะ
    ลมพัด จะใช้พัดลมเป่าให้ไหวแทนลมธรรมชาติก็ได้ เมื่อเพ่งพิจารณาอยู่ ให้ภาวนาว่า
    วาโยกสิณัง ๆๆๆ
    อุคคหนิมิตของวาโยกสิณนี้ ปรากฏว่ามีการไหวๆ คล้ายกับกระไอแห่งการหุงต้มที่มี
    ไอปรากฏมากระทบจักษุ พูดให้ชัดเข้าก็คือ มีปรากฏการณ์คล้ายตามองเห็นไอน้ำที่ต้มเดือดแล้ว
    นั่นเอง มีอาการปรากฏขึ้นอย่างนั้น
    สำหรับปฏิภาคนิมิต มีอาการปรากฏภาพเหมือนไอน้ำที่ลอยขึ้น แต่ไม่เคลื่อนไหวหรือ
    คล้ายกับก้อนเมฆบาง ที่ลอยอยู่คงที่นั่นเอง อาการอื่นนอกจากนี้เหมือนในปฐวีกสิณ


    นีลกสิณ

    นีลกสิณ แปลว่า เพ่งสีเขียว ท่านให้ทำสะดึงขึงด้วยผ้าหรือหนัง กระดาษก็ได้ แล้วเอา
    สีเขียวทา หรือจะเพ่งพิจารณาสีเขียวจากใบไม้ก็ได้ ทำเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ

    อุคคหนิมิต


    เมื่อเพ่งภาวนาว่า นีลกสิณัง ๆๆๆๆ อุคคหนิมิตนั้นปรากฏเป็นรูปที่เพ่งนั่นเอง

    ปีตกสิณ


    ปีตกสิณ แปลว่า เพ่งสีเหลือง การปฏิบัติทุกอย่างเหมือนนีลกสิณ แต่อุคคหนิมิตเป็น
    สีเหลือง ปฏิภาคนิมิตเหมือนนีลกสิณ นอกนั้นเหมือนกันหมด บทภาวนา ภาวนาว่า ปีตกสิณังๆๆ

    โลหิตกสิณ


    โลหิตกสิณ แปลว่า เพ่งสีแดง บทภาวนา ภาวนาว่า โลหิตกสิณัง ๆๆๆๆ นิมิตที่จัดหา
    มาเพ่ง จะเพ่งดอกไม้สีแดงหรือเอาสีแดงมาทาทับกับสะดึงก็ได้ อุคคหนิมิตเป็นสีแดง ปฏิภาคนิมิต
    เหมือนนีลกสิณ

    โอทาตกสิณ


    โอทาตกสิณ แปลว่า เพ่งสีขาว บทภาวนา ภาวนาว่า โอทาตกสิณัง ๆๆๆๆ สีขาวที่
    จะเอามาเพ่งนั้น จะหาจากดอกไม้หรืออย่างอื่นก็ได้ตามแต่จะสะดวก หรือจะทำเป็นสะดึงก็ได้
    นิมิตทั้งอุคคหะและปฏิภาคก็เหมือนนีลกสิณ เว้นไว้แต่อุคคหะเป็นสีขาวเท่านั้นเอง

    อาโลกกสิณ


    อาโลกกสิณ แปลว่า เพ่งแสงสว่าง ท่านให้หาแสงสว่างที่ลอดมาตามช่องฝาหรือช่อง
    หลังคา หรือเจาะเสื่อลำแพน หรือแผ่นหนังให้เป็นช่องเท่า ๑ คืบ ๔ นิ้ว ตามที่กล่าวในปฐวีกสิณ
    แล้วภาวนาว่า อาโลกกสิณัง ๆๆ อย่างนี้ จนอุคคหนิมิตปรากฏ อุคคหนิมิตของอาโลกกสิณ
    มีรูปเป็นแสงสว่างที่เหมือนรูปเดิมที่เพ่งอยู่ ปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏเป็นแสงสว่างหนาทึบเหมือนกับ
    เอาแสงสว่างมากองรวมกันไว้ที่นั้น แล้วต่อไปขอให้นักปฏิบัติจงพยายาม ทำให้เข้าถึงจตุตถฌาน
    เพราะข้อความที่จะกล่าวต่อไป ก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วในปฐวีกสิณ

    อากาสกสิณ


    อากาสกสิน แปลว่า เพ่งอากาศ อากาสกสิณนี้ ภาวนาว่า อากาสกสิณัง ๆๆ ท่าน
    ให้ทำเหมือนในอาโลกกสิณ คือ เจาะช่องเสื่อหรือหนัง หรือมองอากาศ คือความว่างเปล่าที่ลอดมา
    ตามช่องฝา หรือหลังคา หรือตามช่องเสื่อและผืนหนัง โดยกำหนดว่า อากาศ ๆๆ จนเกิดอุคคหนิมิต
    ซึ่งปรากฏเป็นช่องตามรูปที่กำหนด ปฏิภาคนิมิตนั้นปรากฏคล้ายอุคคหนิมิต แต่มีพิเศษที่บังคับให้
    ขยายตัวออกให้ใหญ่เล็ก สูงต่ำได้ตามความประสงค์ อธิบายอื่นก็เหมือนกสิณอื่นๆ


    อานุภาพกสิณ ๑๐

    กสิณ ๑๐ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ
    เมื่อบำเพ็ญปฏิบัติในกสิณกองใดกองหนึ่งสำเร็จถึงจตุตถฌานแล้ว ก็ควรฝึกตามอำนาจที่กสิณ
    กองนั้น ๆ มีอยู่ให้ชำนาญ ถ้าท่านปฏิบัติถึงฌาน ๔ แล้ว แต่มิได้ฝึกอธิษฐานต่าง ๆ ตามแบบ
    ท่านว่าผู้นั้นยังไม่จัดว่าเป็นผู้เข้าถึงกสิณ อำนาจฤทธิ์ในกสิณต่างๆ มีดังนี้

    ปฐวีกสิณ มีฤทธิ์ดังนี้ เช่น นิรมิตคน ๆ เดียวให้เป็นคนมากได้ ให้คนมากเป็นคน ๆ เดียว
    ได้ ทำน้ำและอากาศให้แข็งได้

    อาโปกสิณ สามารถนิรมิตของแข็งให้อ่อนได้ เช่น อธิษฐานสถานที่เป็นดินหรือหินที่
    กันดารน้ำให้เกิดบ่อน้ำ อธิษฐานหินดินเหล็กให้อ่อน อธิษฐานในสถานที่ฝนแล้งให้เกิดฝนอย่างนี้
    เป็นต้น

    เตโชกสิณ อธิษฐานให้เกิดเป็นเพลิงเผาผลาญหรือให้เกิดแสงสว่างได้ ทำแสงสว่างให้
    เกิดแก่จักษุญาณสามารถเห็นภาพต่าง ๆ ในที่ไกลได้คล้ายตาทิพย์ ทำให้เกิดความร้อนในทุก
    สถานที่ได้

    วาโยกสิณ อธิษฐานจิตให้ตัวลอยตามลม หรืออธิษฐานให้ตัวเบา เหาะไปในอากาศก็ได้
    สถานที่ใดไม่มีลม อธิษฐานให้มีลมได้

    นีลกสิณ สามารถทำให้เกิดสีเขียว หรือทำสถานที่สว่างให้มืดครึ้มได้

    ปีตกสิณ สามารถนิรมิตสีเหลืองหรือสีทองให้เกิดได้

    โลหิตกสิณ สามารถนิรมิตสีแดงให้เกิดได้ตามความประสงค์

    โอทาตกสิณ สามารถนิรมิตสีขาวให้ปรากฏ และทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้ เป็น
    กรรมฐานที่อำนวยประโยชน์ในทิพยจักษุญาณ เช่นเดียวกับเตโชกสิณ

    อาโลกกสิณ นิรมิตรูปให้มีรัศมีสว่างไสวได้ ทำที่มืดให้เกิดแสงสว่างได้เป็น
    กรรมฐานสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง

    อากาสกสิณ สามารถอธิษฐานจิตให้เห็นของที่ปกปิดไว้ได้ เหมือนของนั้นวางอยู่ในที่แจ้ง
    สถานที่ใดเป็นที่อับด้วยอากาศ สามารถอธิษฐานให้เกิดความโปร่ง มีอากาศสมบูรณ์เพียงพอแก่
    ความต้องการได้

    วิธีอธิษฐานฤทธิ์


    วิธีอธิษฐานจิตที่จะให้เกิดผลตามฤทธิ์ที่ต้องการ ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าฌาน ๔
    ก่อน แล้วออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานในสิ่งที่ตนต้องการจะให้เป็นอย่างนั้น แล้วกลับเข้าฌาน ๔ อีก
    ออกจากฌาน ๔ แล้วอธิษฐานจิตทับลงไปอีกครั้ง สิ่งที่ต้องการจะปรากฏสมความปรารถนา

    (จบกสิณ ๑๐ แต่เพียงเท่านี้)

    <hr>
    แนะกสิณร่วมวิปัสสนาญาณ


    ท่านผู้ฝึกกสิณ ถ้าประสงค์จะให้ได้อภิญญาหก ก็เจริญไปจนกว่าจะชำนาญทั้ง ๑๐ กอง
    ถ้าท่านประสงค์ให้ได้รับผลพิเศษเพียงวิชชาสาม ก็เจริญเฉพาะอาโลกกสิณ หรือเตโชกสิณ หรือ
    โอทาตกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วฝึกทิพยจักษุญาณ แต่ท่านที่มีความประสงค์จะเร่งรัดให้เข้าสู่
    พระนิพพานเร็วๆ ไม่มีความประสงค์จะได้ญาณพิเศษเพราะเกรงจะล่าช้าหรืออัชฌาสัยไม่ ปรารถนา
    รู้อะไรจุกจิก ชอบลัดตัดทางเพื่อถึงจุดหมายปลายทางขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

    <table style="border-collapse: collapse" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0" width="98%"> <tbody><tr> <td height="809">๑. สักกายทิฏฐิ เห็นตรงข้ามกับอารมณ์นี้ที่เห็นว่า ร่างกายคือขันธ์ ๕ เป็นเรา
    เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเราเสียได้ โดยเห็นว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่
    ของเรา เราไม่มีในขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา เพราะถ้าขันธ์ ๕ มีในเรา เรามีในขันธ์ ๕
    หรือขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕ จริงแล้ว ในเมื่อเราไม่ต้องการความทุกข์อันเกิดจาก
    โรคภัยไข้เจ็บและการเปลี่ยนแปลง ขันธ์ ๕ ก็ต้องไม่มีการป่วยไข้และเปลี่ยนแปลง เราไม่
    ต้องการให้ขันธ์ ๕ สลายตัว ขันธ์ ๕ ถ้าเป็นของเราจริงก็ต้องดำรงอยู่ ไม่สลายตัว แต่นี่หาเป็น
    เช่นนั้นไม่ กลับเต็มไปด้วยความทุกข์ เปลี่ยนแปลงไม่หยุดยั้ง ทั้ง ๆ ที่เราไม่ต้องการ และ
    พยายามเหนี่ยวรั้งด้วยวิธีการต่างๆ ขันธ์ ๕ ก็มิได้เป็นไปตามความปรารถนา ในที่สุดก็สลายตัว
    จนได้ เพราะขันธ์ ๕ เป็นสมบัติของกฎธรรมดา กฎธรรมดาต้องการให้เป็นอย่างนั้น ไม่มีใคร
    มีอำนาจเหนือกฎธรรมดา ฝ่าฝืนกฎธรรมดาไม่ได้ เมื่อจิตยอมรับนับถือกฎธรรมดา ไม่หวั่นไหว
    ในเมื่อร่างกายได้รับทุกข์เพราะป่วยไข้ หรือเพราะการงานหนักและอาการเกิดขึ้นเพราะเหตุ
    เกินวิสัย อารมณ์ใจยอมรับนับถือว่า ธรรมดาของผู้ที่เกิดมาในโลกที่หาความแน่นอนไม่ได้
    โลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขจริงจังมิได้ ที่เห็นว่าเป็นสุขจากภาวะของโลก ก็เป็น
    ความสุขที่มีผีสิง คือสุขไม่จริง เป็นความสุขอันเกิดจากเหยื่อล่อของความทุกข์ พอพบความสุข
    ความทุกข์ก็ติดตามมาทันที เช่น มีความสุขจากการได้ทรัพย์ พร้อมกันนั้นความทุกข์เพราะ
    การมีทรัพย์ก็เกิด เพราะทรัพย์ที่หามาได้นั้นจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม เมื่อได้มาแล้ว ก็ต้องมีทุกข์
    ทันทีด้วยการคอยระวังรักษาไม่ให้สูญหายหรือทำลาย เมื่อทรัพย์นั้นเริ่มค่อย ๆ สลายตัวหรือ
    สูญหายทำลายไป ทุกข์เกิดหนักขึ้นเพราะมีความ เสียดายในทรัพย์ แม้แต่ตัวเองก็แบกทุกข์
    เสียบรรยายไม่ไหว จะเอาอะไรมาเป็นเครื่องบำรุงความสุขได้จริงจัง ไม่ว่าอะไรก็ต้องตกอยู่
    ในอำนาจของกฎธรรมดาสิ้น จิตเมื่อเห็นอย่างนี้ ความสงบระงับจากความหวั่นไหวของการ
    เปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้น เป็นจิตที่ประกอบไปด้วยเหตุผล ไม่มีน้ำตาไหล ในเมื่อได้ข่าวญาติ
    หรือคนที่รักตาย ไม่หนักใจเมื่อความตายกำลัง คืบคลานมาหาตน และพร้อมเสมอที่จะรอรับ
    ความตายที่จะเกิดแก่ตน ตามกฎของธรรมดา รู้อยู่ คิดอยู่ถึงความตายเป็นปกติ ยิ้มต่อความ
    ทุกข์และความตายอย่างไม่มีอะไรหนักใจ จิตมีอารมณ์อย่างนี้ ท่านเรียกว่า ละสักกายทิฏฐิ
    ได้แล้ว ได้คุณสมบัติของพระโสดาบันไว้ได้หนึ่งอย่าง

    ๒. วิจิกิจฉา ละความสงสัยในมรรคผลเสียได้ โดยมีสัทธาเกิดขึ้นเที่ยงแท้มั่นคงว่า
    ผลของการปฏิบัตินี้มีผลที่จะพ้นจากวัฏทุกข์ได้จริง

    ๓. สีลัพพตปรามาส ถือศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด ไม่ยอมให้ศีล
    บกพร่อง เมื่อมีคุณสมบัติครบสามประการดังนี้ ท่านก็เป็นพระโสดาบันแล้ว ไม่ต้องรอให้ใครบอก
    และออกใบประกาศโฆษณา
    องค์ของพระโสดาบัน

    เพื่อสะดวกแก่การพิจารณาตัวเอง ขอบอกองค์ของพระโสดาบันไว้ เพราะรู้ไว้เป็น
    คู่มือพิจารณาตัวเอง
    ๑. รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อยตลอดชีวิต
    ๒. เคารพพระรัตนตรัยอย่างเคร่งครัด ไม่กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย แม้แต่จะพูด
    เล่นๆ ก็ไม่พูด
    ๓. มีอารมณ์รักใคร่ในพระนิพพานเป็นปกติ ไม่มีความปรารถนาอย่างอื่นนอกจาก
    พระนิพพาน

    พระโสดาบันตามปกติมีอารมณ์สามประการดังกล่าวมานี้ ถ้าท่านได้ ท่านเป็น
    พระโสดา ท่านก็จะเห็นว่าอาการที่กล่าวมานี้เป็นความรู้สึกธรรมดาไม่หนัก แต่ถ้าอารมณ์
    อะไรตอนใดในสามอย่างนี้ยังมีความหนักอยู่บ้าง ก็อย่าเพ่อคิดว่าท่านเป็นพระโสดาบันเสียก่อน
    สำเร็จ จะเป็นผลร้ายแก่ตัวท่านเอง ต้องได้จริงถึงจริง แม้ได้แล้วถึงแล้ว ก็ควรก้าวต่อไปอย่า
    หยุดยั้งเพียงนี้ เพราะ มรรคผลเบื้องสูงยังมีต่อไปอีก

    </td> </tr> <tr> <td height="22">
    (จบกสิณ ๑๐)

     
  5. teww

    teww เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    604
    ค่าพลัง:
    +1,534
    ฝึกกสิณโดยใช้ลูกแก้ว ก็ต้องจำลูกแก้วให้ได้ อย่างอื่นที่ไม่ใช่ลูกแก้วไม่ต้องจำ เช่น เงาสะท้อนอย่างที่บอก
     
  6. joofjang

    joofjang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +421
    ขอบพระคุณทุกท่านมากครับ
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ตามที่คุณ teww บอกครับ ให้จำลูกแก้วให้ได้ทั้งลูก ไม่เอาเงา ไม่เอาฐาน นอกจากนั้นฝึกและตรวจสอบสภาวะตามที่หลวงพ่อกล่าวไว้ข้างบนครับ
     
  8. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    ขออนุญาตท่านเจ้าของกระทู้นะครับ ทราบว่าท่านเจ้าของกระทู้กำลังเริ่มฝึกอาโลกกสิณ จึงอยากจะแวะมาคุยด้วยสักเล็กน้อยด้วยคนนะครับ

    สิ่งที่เรียกว่า “อาโลกกสิณ” นั้น หากเรียกเป็นภาษาไทยของเรา ก็จะเรียกว่า “กสิณแสงสว่าง” ดังนั้น การฝึกกรรมฐานในหมวดกสิณกองนี้ การยึดถืออารมณ์ของกรรมฐาน จึงต้องยึดถือเอา “แสงสว่าง” เป็นอารมณ์ของกรรมฐานนะครับ ดังที่ปรากฏรายละเอียดตามความเห็นที่ 4 ที่คุณ Saber ยกมาให้อ่านกัน จะเห็นว่าการอธิบายในหมวดของ “อาโลกกสิณ” นั้น สอดคล้องกับวิธีการตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งถือเป็นวิธีปฏิบัติที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยจะใช้การเพ่งเอาแสงสว่างที่ลอดจากช่องว่าง มาใช้เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน นั่นเอง

    สำหรับวิธีการที่ท่านเจ้าของกระทู้กำลังเริ่มปฏิบัติการ จริงๆแล้วก็เป็นวิธีการในรูปแบบการฝึกสมัยใหม่ ที่มีการคิดค้นขึ้นมาภายหลัง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน คือ การฝึก “อาโลกกสิณ” โดยใช้ลูกแก้ว แต่ไม่ว่าวิธีการฝึกหรืออุปกรณ์การฝึกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบในอดีตอย่างไร สิ่งหนึ่งที่ยังเหมือนเดิม คือ เรื่องของสิ่งที่ต้องยึดถือเป็นอารมณ์สำหรับการปฏิบัติกรรมฐานกองนี้ คือ ต้องยึดถือเอา “แสงสว่าง” เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ก็ยังเป็นเหมือนการปฏิบัติในอดีตที่ผ่านมานะครับ

    ดังนั้น การที่ท่านเจ้าของกระทู้จะใช้การเพ่งลูกแก้วเอาอย่างเดียว เกรงว่าจะไม่ได้อารมณ์ของ “แสงสว่าง” นะครับ เพราะตัวลูกแก้ว ไม่ได้มีแสงสว่างในตัวเอง จึงไม่สอดคล้องกับลักษณะนิมิต ของ “อาโลกกสิณ” และจะมีผลทำให้ท่านเจ้าของกระทู้ประสบความยากลำบากในการตั้งนิมิตของ “อาโลกกสิณ” เพื่อดำเนินการฝึกกรรมฐานกองนี้ในขั้นตอนต่อไปนะครับ

    สำหรับในทางปฏิบัติ อยากจะเสนอว่า หากพอใจจะใช้ลูกแก้วใสในการปฏิบัติ “อาโลกกสิณ” ก็สามารถกระทำได้ แต่นอกจากตัวลูกแก้วใสแล้ว ควรจะเพิ่มแหล่งกำเนิดแสงสว่าง ให้วางอยู่ใกล้ๆกับลูกแก้วใสนั้น ซึ่งการฝึกอาโลกกสิณ เราจะจับลักษณะของแสงสว่าง มาใช้เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ส่วนลูกแก้วใส จะมีหน้าที่ในการกำหนดขอบเขตของแสงสว่าง ให้อยู่ในสภาพของวงกลม เพื่อนำไปใช้สร้างนิมิตวงกลมของแสงสว่าง ให้เกิดขึ้นในใจ ตามขั้นตอนของการฝึกอาโลกกสิณต่อไป

    ถ้าจะถามว่า ทำไมต้องเป็นทรงกลม อาจจะเป็นเพราะว่า ทรงกลมไม่มีมุม ไม่มีจุดสิ้นสุด มองดูมีความต่อเนื่องกันตลอด ซึ่งจะสอดคล้องกับลักษณะของดวงจิตหรือธรรมชาติของมนุษย์มากกว่ารูปทรงอื่นๆ ดังนั้น ในทางปฏิบัติ จึงมักจะใช้รูปแบบทรงกลมในการฝึกกสิณกองต่างๆ รวมทั้งอาโลกกสิณด้วยเช่นเดียวกัน

    ทีนี้วิธีการฝึกนะครับ อย่างแรกเลย ต้องมองที่ลูกแก้วทรงกลมที่มีแสงสว่างปรากฏอยู่นั้น ในระยะแรก ต้องอาศัย “สัญญา” เป็นตัวนำก่อน แล้วพยายามจำลักษณะ สีสันของลูกแก้วที่มีแสงสว่างนั้นให้ได้ แล้วหลับตาลง พยายามนึกถึงภาพที่ได้มองเมื่อสักครู่ พยายามสร้างภาพของลูกแก้วที่มีแสงสว่างขึ้นมาในใจ (ตอนนี้ที่ลูกตามืดไปแล้ว) ใหม่ๆ การสร้างภาพมักจะไม่มีภาพอะไรเกิดขึ้นหรอกครับ แต่การฝึกแบบนี้ เขาไม่ได้ทำกันเพียงครั้ง สองครั้ง แต่เขาทำกันในจำนวนนับไม่ถ้วน เป็นพัน เป็นหมื่นครั้ง

    การทำซ้ำๆ กันไปนานๆ จะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “ความเคยชินของจิต” เกิดขึ้น ความเคยชินของจิต ที่ทำซ้ำๆกันไปมา จะก่อให้เกิดเป็นภาพของลูกแก้วที่มีแสงสว่างขึ้นมาในใจได้ (ในตอนนี้ที่ลูกตาก็ยังมืดอยู่นะครับ แต่ภาพจะเกิดขึ้นลางๆ แล้วที่ในใจ ซึ่งเป็นคนละส่วน คนละที่กัน ผู้ฝึกจะเริ่มรับรู้การเกิดภาพลูกแก้วที่มีแสงสว่างในใจบ้างแล้ว)

    ทีนี้เมื่อมีความชำนาญมากขึ้น ภาพของลูกแก้วที่มีแสงสว่างที่กำหนดขึ้นในใจ ก็จะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนเหมือนกับภาพของวัตถุต้นแบบ นี่คือสิ่งที่ในตำราท่านเรียกว่า “อุคคหนิมิต” ได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ฝึกอาโลกกสิณ ต้องหมั่นประคองรักษาสิ่งนี้ไว้เพื่อพัฒนาไปสู่ “ปฏิภาคนิมิต” จนกระทั่งจบในอารมณ์ของอาโลกกสิณ (คือฌาน 4 ในอาโลกกสิณ) ได้ต่อไป

    หลักๆ ของการปฏิบัติในอาโลกกสิณ โดยใช้ลูกแก้วใส ก็มีประมาณนี้ครับ สรุปคือเราสนใจเฉพาะลูกแก้วใส ที่มีแสงสว่างเท่านั้น อย่างอื่นๆ เช่นภาพสะท้อนของสิ่งต่างๆ บนลูกแก้วใส นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ต้องสนใจ ซึ่งหากมีภาพสะท้อนของสิ่งต่างๆ อยู่บนลูกแก้วใส สมควรจัดวางมุมมองของลูกแก้วใหม่นะครับ ให้อยู่ในมุมที่ไม่มีภาพสะท้อนของสิ่งต่างๆ อยู่บนลูกแก้วใส เพราะถ้าหากปล่อยให้มีภาพสะท้อนของสิ่งต่างๆ อยู่บนลูกแก้วใส จะก่อให้เกิดสิ่งที่ภาษาของนักปฏิบัติกสิณ ที่กล่าวกันว่า เป็นลักษณะของ “กสิณโทษ” เกิดขึ้นมาได้ และจะทำให้เกิดผลเสียหายในการฝึกของผู้ปฏิบัติอาโลกกสิณได้ต่อไปครับ

    ในส่วนของการเทียบเคียงลักษณะอารมณ์ของกรรมฐาน ก็สามารถเทียบเคียงได้จากข้อความที่คุณ Saber โพสต์ไว้ในความเห็นที่ 4 นะครับ หากจะลองพิจารณาไว้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการปฏิบัติ ก็จะเป็นการเพิ่มความสะดวกสำหรับการฝึกด้วยตัวเองของท่านเจ้าของกระทู้ได้ต่อไปอย่างมากครับ

    ขอยุติการนำเสนอความเห็นในกระทู้ไว้เพียงเท่านี้ครับ และขอขอบคุณสำหรับการตั้งกระทู้ ของท่านเจ้าของกระทู้ในครั้งนี้ด้วยครับ
     
  9. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    จับภาพนิมิตไปด้วย จับลมหายใจและคำภาวนาไปด้วย ใจยิ่งสงบเร็วมากยิ่งขึ้น

    มีอีกเรื่องหนึ่ง ที่ลืมกล่าวกับท่านเจ้าของกระทู้ไป คือ เรื่องการฝึกกสิณนั้น หากผู้ฝึกปฏิบัติในกรรมฐานกองนี้ มีพื้นฐานทางอานาปนสติกรรมฐาน มาก่อน ก็จะช่วยให้สามารถฝึกกสิณ ได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยการเอากำลังใจจากอานาปนสติกรรมฐาน มาใช้ช่วยในการฝึกกสิณอีกทางหนึ่ง ในลักษณะผสมผลานกันไป

    <O:p</O:p
    สำหรับวิธีการปฏิบัติในเบื้องต้นนะครับ คุณเจ้าของกระทู้สามารถใช้วิธีเพ่งมองลูกแก้วทรงกลม แล้วหลับตาลงพยายามคิดถึงภาพลูกแก้วทรงกลม ที่มีแสงสว่างให้เกิดขึ้นภายในใจ ในขณะเดียวกัน ก็คอยตามลมหายใจไปด้วย ใช้คำภาวนาว่า “อาโลกกสิณัง” คอยกำกับลมหายใจเข้าออกไว้ตลอดเวลาการฝึกปฏิบัติ โดยกำหนดให้เมื่อหายใจเข้า รู้อยู่ว่าหายใจเข้า แล้วภาวนาว่า “อาโลก” เมื่อหายใจออก รู้อยู่ว่าหายใจออก แล้วภาวนาว่า “กสิณัง” ทำตามนี้ไปควบคู่กับการจับภาพนิมิตของลูกแก้วทรงกลมที่สร้างขึ้นมาในใจ ก็จะทำให้ใจเข้าสู่ความสงบได้ดีมากยิ่งขึ้น

    <O:p</O:p
    แต่หากคุณเจ้าของกระทู้ ไม่ถนัดในการสร้างนิมิตในใจ และจับลมหายใจพร้อมคำภาวนาควบคู่กันไปด้วย ก็ให้ใช้วิธีจับภาพนิมิตของลูกแก้วทรงกลมในใจ อย่างเดียวไปก่อนก็ได้ครับ แล้วค่อยๆ ทำใจให้สงบต่อไป ตามวิธีการที่ได้นำเสนอไว้ ดังปรากฎในความเห็นที่ 8 นะครับ

    จึงขอแจ้งข้อความเพิ่มเติมมายังท่านเจ้าของกระทู้เพื่อพิจารณาต่อไปด้วยนะครับ ขอขอบคุณครับ<O:p</O:p
     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ของเก่า หรือกรรมฐานเก่า


    ปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน(๖)
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง) หลวงพ่อครับ กสิณนี่เป็นมโนภาพใช่ไหมครับ…?
    กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ ถ้าเราจะตั้งก็ได้ แต่เป๋ ถ้าดูวัตถุยังไม่ค่อยจำ นี่เล่นมโนภาพ ระวังกสิณโทษจะ เกิด อย่างเราเจริญปฐวีกสิณ จะต้องเอาจิตจับไว้เฉพาะปฐวีกสิณอย่างเดียว ถ้าภาพอื่นข้ามาแทรกต้องตัดทิ้งทันที นั่นเขาถือว่าเป็นกสิณโทษ จนกว่ากสิณกองนั้นเข้าถึงฌาน ๔ แล้วก็คล่องตัว จึงจะย้ายไปเป็นกสิณกองอื่นต่อไป








    ผู้ถาม:- “หลวงพ่อครับ กสิณนี่เป็นมโนภาพใช่ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง”
    ผู้ถาม:- “ต้องใช้ดูวัตถุ ใช่ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “ใช่ ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ ถ้าเราจะตั้งก็ได้ แต่เป๋ ถ้าดูวัตถุยังไม่ค่อยจำ นี่เล่นมโนภาพ ระวังกสิณโทษจะเกิด อย่างเราเจริญปฐวีกสิณ จะต้องเอาจิตจับไว้เฉพาะปฐวีกสิณอย่างเดียว ถ้าภาพอื่นข้ามาแทรกต้องตัดทิ้งทันที นั่นเขาถือว่าเป็นกสิณโทษ จนกว่ากสิณกองนั้นเข้าถึงฌาน ๔ แล้วก็คล่องตัว จึงจะย้ายไปเป็นกสิณกองอื่นต่อไป
    ถ้ากสิณกองต้นเราได้แล้ว ถ้าภาพอื่นเข้ามา เราตัดเลย เพราะว่าเราเจริญปฐวีกสิณ ดูดิน ถ้าบังเอิญกสิณอย่างอื่นเข้ามาแทน เช่น กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ มันแจ่มใสกว่า เราจะยึดเอาไม่ได้ ต้องตัดทิ้งทันที จนกว่ากสิณกองนั้นจะจบถึงฌาน ๔ ให้มันคล่องจริง ๆ ไม่ใช่แต่ทำได้นะ
    คำว่าคล่องจริง ๆ หมายความว่า ถ้าเรากำลังหลับอยู่ ถ้าเราตื่นขึ้นมา เราจะจับฌาน ๔ ถ้าคนกระตุกพั้บเราจับฌาน ๔ ได้ทันที กสิณกองนั้นจึงชื่อว่าคล่อง
    ถ้าเหน็ดเหนื่อยมาแต่ไหนก็ตาม ถ้าจะจับฌาน ๔ ต้องได้ทันทีทันใด เสียเวลาแม้แต่ ๑ วินาที ใช้ไม่ได้ ถ้าคล่องแบบนี้ละก็กสิณอีก ๙ กอง เราจะได้ทั้งหมด ไม่เกิน ๑ เดือน เพราะว่าอารมณ์มันเหมือนกัน เปลี่ยนแต่รูปกสิณเท่านั้น
    ฉะนั้น การได้กสิณ กองใดกองหนึ่ง ก็ต้องถือว่าได้ทั้ง ๑๐ กอง เป็นเรื่องง่าย ๆ ไม่ยาก ของเหมือนกัน แต่เพียงแค่เปลี่ยนสีสันวรรณะเท่านั้นเอง มันจะขลุกขลักแค่ครึ่งชั่วโมงแรก เดี๋ยวก็จับภาพได้ แล้วจิตก็เป็นฌาน ๔ นี่เราฝึกกันจริง ๆ นะ ถ้าฝึกเล่น ๆ ก็อีกอย่างหนึ่ง”
    ผู้ถาม:- “การปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าเราจะไม่ใช้กสิณ แต่เราใช้กำหนด อัสสาสะ ปัสสาสะได้ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “ได้ ถือว่าอัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้าออก
    คือ จริตของคน พระพุทธเจ้าทรงจัดแยกไว้เป็น ๖ อย่าง คือ ราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต วิตกจริต ศรัทธาจริต พุทธจริต และก็ พระพุทธเจ้าตรัสพระกรรมฐานไว้ ๔๐
    แต่ว่าเป็นกรรมฐานเฉพาะจริตเสีย ๓๐
    อย่างพวก ราคะจริต ถ้าใช้ อสุภ ๑๐ กับกายคตานุสสติ ๑ เป็น ๑๑
    และพวก โทสะจริต มีกรรมฐาน ๘ คือ มีพรหมวิหาร ๔ แล้วก็กสิณอีก ๔ สำหรับกสิณ ๔ คือ กสิณสีแดง กสิณสีเหลือง กสิณสีเขียว กสิณสีขาว
    สำหรับ วิตกจริตกับโมหะจริต ให้ใช้กรรมฐานอย่างเดียวคือ อานาปานุสสติ อย่างที่โยมว่า อัสสาสะ ปัสสาสะ
    แล้วก็ ศรัทธาจริต ใช้กรรมฐาน ๖ อย่าง คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ แล้วก็เทวตานุสสติ
    ต่อไปเป็น พุทธจริต พุทธจริตนี่ก็มีกรรมฐาน ๔ คือ มรณานุสสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา จตุตธาตุวัตถาน อุปสมานุสสติ
    รวมแล้วเป็น ๓๐ เหลืออีก ๑๐ เป็นกรรมฐานกลาง
    ฉะนั้นการเจริญพระกรรมฐาน ถ้าหากเดินสายสุกขวิปัสสโก จะต้องใช้กรรมฐานให้ถูกกับจริต ถ้าไม่ถูกกับจริต กรรมฐานนั้นจะมีผลสูงไม่ได้ เพราะไม่มีกำลังหักล้าง
    ทีนี้ถ้าหากว่านักเจริญกรรมฐานทั้งหมด ไม่ต้องการอย่างอื่น จะใช้อานาปานุสสติก็ได้ ถ้าคนทุกคนคล่องในอานาปานุสสติกรรมฐาน จะมีประโยชน์
    เมื่อป่วยไข่ไม่สบาย เมื่อทุกขเวทนามันเกิดขึ้น ถ้าใช้อานาปาเป็นฌาน ทุกขเวทนามันจะเบามาก จะไม่มีความรู้สึกเลย นี่อย่างหนึ่ง
    แล้วก็ประการที่สอง คนที่ชำนาญในอานาปาจะรู้เวลาตายของตัว แล้วก็จะรู้ว่าตายด้วยอาการอย่างไร
    แล้วก็ประการที่สาม อานาปานุสสติสามารถควบคุมกำลังฌาน สามารถเข้าฌานได้ทันทีทันใด ประโยชน์ใหญ่มาก”
    ผู้ถาม:- “เมื่อกำหนดลมหายใจด้วย ภาวนาด้วย สมาธิมันวอกแวก ๆ ครับ…”
    หลวงพ่อ:- “ก็ แสดงว่าจริตของคุณโยมหนักไปในด้านวิตกจริต กับ โมหะจริต ฉะนั้นคนที่มีวิตกจริงต้องใช้อัสสาสะ ปัสสาสะ ไม่ต้องภาวนา ขืนภาวนาแล้วยุ่ง พระพุทธเจ้าทรงจำกัดไว้เลยว่า เรามีจริตอะไรเป็นเครื่องนำ ต้องใช้เป็นกรรมฐานอย่างนั้นเฉพาะกิจ ถ้าใช้ผิดก็ไม่ได้ ผลมันไม่มี ที่โยมถามก็เหมาะสำหรับคุณโยม”
    ※ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๒ หน้า ๖๐-๖๒
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)

    ปัญหาการปฏิบัติพระกรรมฐาน(๖)
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง) หลวงพ่อครับ กสิณนี่เป็นมโนภาพใช่ไหมครับ…?
    กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ ถ้าเราจะตั้งก็ได้ แต่เป๋ ถ้าดูวัตถุยังไม่ค่อยจำ นี่เล่นมโนภาพ ระวังกสิณโทษจะ เกิด อย่างเราเจริญปฐวีกสิณ จะต้องเอาจิตจับไว้เฉพาะปฐวีกสิณอย่างเดียว ถ้าภาพอื่นข้ามาแทรกต้องตัดทิ้งทันที นั่นเขาถือว่าเป็นกสิณโทษ จนกว่ากสิณกองนั้นเข้าถึงฌาน ๔ แล้วก็คล่องตัว จึงจะย้ายไปเป็นกสิณกองอื่นต่อไป








    ผู้ถาม:- “หลวงพ่อครับ กสิณนี่เป็นมโนภาพใช่ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง”
    ผู้ถาม:- “ต้องใช้ดูวัตถุ ใช่ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ:- “ใช่ ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ ถ้าเราจะตั้งก็ได้ แต่เป๋ ถ้าดูวัตถุยังไม่ค่อยจำ นี่เล่นมโนภาพ ระวังกสิณโทษจะเกิด อย่างเราเจริญปฐวีกสิณ จะต้องเอาจิตจับไว้เฉพาะปฐวีกสิณอย่างเดียว ถ้าภาพอื่นข้ามาแทรกต้องตัดทิ้งทันที นั่นเขาถือว่าเป็นกสิณโทษ จนกว่ากสิณกองนั้นเข้าถึงฌาน ๔ แล้วก็คล่องตัว จึงจะย้ายไปเป็นกสิณกองอื่นต่อไป
    ถ้ากสิณกองต้นเราได้แล้ว ถ้าภาพอื่นเข้ามา เราตัดเลย เพราะว่าเราเจริญปฐวีกสิณ ดูดิน ถ้าบังเอิญกสิณอย่างอื่นเข้ามาแทน เช่น กสิณน้ำ กสิณลม กสิณไฟ มันแจ่มใสกว่า เราจะยึดเอาไม่ได้ ต้องตัดทิ้งทันที


    .

    กสิณไม่ใช่มโนภาพนะ กสิณนี่ต้องใช้นิมิตตรง ต้องใช้ดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ใช่มโนภาพ


    .
     
  12. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    สาธุ เห็นควรแล้วทุกประการ ตามที่หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง ท่านได้สอนไว้ ดังที่คุณ Saber ได้หยิบยกคำสอนของท่านมาให้ได้อ่านกัน ตามความเห็นที่ 10 และความเห็นที่ 11 ที่ได้นำเสนอไว้ว่า "การฝึกกสิณต้องใช้นิมิตตรง ต้องดูวัตถุแล้วจำภาพ ไม่ได้ใช้มโนภาพมาทำการฝึกแต่อย่างใด"

    แต่ก็มีบ้าง บางท่าน ที่มีของเก่าเยอะ เมื่อฝึกกสิณกองแรกจนไปถึงสุดอารมณ์ในกสิณกองนั้นแล้ว และทำการซักซ้อมจนชำนาญแล้ว ก็ปรากฎนิมิตของกสิณกองต่อไปขึ้นมา ในกรณีนี้ สามารถทำการฝึกกสิณกองต่อไปได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องย้อนกลับไปดูวัตถุต้นแบบของกสิณกองใหม่ที่ปรากฎขึ้นมาในนิมิตนั้น และทำการไล่เบี้ยกสิณกองที่เหลือไปเรื่อย จนครบทั้ง 10 กอง ได้ในที่สุด อย่างนี้ก็มีเหมือนกัน

    อันนี้เป็นเรื่องของท่านที่มีของเก่าเยอะ ก็ว่ากันไป แต่สำหรับเราๆท่านๆ ที่ยังไม่แน่ชัดว่ามีของเก่าอยู่แค่ไหน เพียงใด สมควรยึดถือขั้นตอนการฝึกกสิณ ตามที่หลวงพ่อท่านได้สอนไว้ จะเป็นการดีที่สุดครับ

    หวังว่า เมื่อมาถึงตอนนี้ ท่านเจ้าของกระทู้คงจะพอเห็นแนวทางการฝึก "อาโลกกสิณ" ของท่าน บ้างแล้วนะครับ แต่ถ้าหากยังมีข้อสงสัยในประเด็นใดๆอีก ขอให้ทำการสอบถามมาได้ต่อไปนะครับ เพื่อที่จะได้ทำการอธิบายรายละเอียดให้ท่านได้รับทราบ และจะขอให้ความช่วยเหลือในระหว่างขั้นตอนการฝึก "อาโลกกสิณ" ของท่านเจ้าของกระทู้ ต่อไป ด้วยความยินดีอย่างยิ่งนะครับ

    ขอขอบคุณครับ
     
  13. joofjang

    joofjang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +421
    ขอบพระคุณมากๆเลยครับ ตอนนี้เพิ่งเริ่ม ยังจำภาพไม่ได้ หลับตาปุ๊บนึกภาพลูกแก้วไม่ออกเลย แต่ผมจะพยายามฝึกต่อไปครับ
     
  14. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154

    เรื่องนี้เป็นเรื่องปกติตามธรรมดาครับ คือเมื่อหลับตาแล้วยังไม่เห็นภาพ นึกภาพไม่ออกอย่างนี้ เนื่องจาก เราจะคุ้นเคยกับการใช้ลูกตามองสิ่งต่างๆ มากกว่า แต่ไม่คุ้นเคยกับการสร้างภาพให้เกิด ให้เห็นขึ้นในใจ เวลาเรามองวัตถุต้นแบบแล้วหลับตาลง ภาพที่เห็นก็จะดำมืดทันที ก็ถูกต้อง เพราะลูกตาไม่มีหน่วยความจำภายใน หลับตาแล้วภาพก็หายไปเป็นธรรมดา ทีนี้ก็ต้องมาควานหากันว่า แล้วภาพในใจที่ว่านั่น อยู่ที่ตรงไหน ตรงนี้ เป็นความลำบากอย่างหนึ่งของผู้ฝึกในระยะเริ่มแรก

    ในเบื้องต้น ขอให้เริ่มต้นการฝึก อย่างที่ผมได้เสนอไว้ ตามความเห็นที่ 8 นะครับ (ขอยกเอามาให้ดูอีกทีล่ะกัน) ตามนี้ครับ

    1.เรื่องของกสิณ ในระยะเริ่มแรก จะต้องอาศัย "สัญญา" เป็นตัวนำก่อน คือการมองวัตถุต้นแบบ แล้วพยายามจำลักษณะ สีสัน วรรณะของวัตถุนั้นให้ได้ แล้วหลับตาลง พยายามนึกถึงภาพที่ได้มองเมื่อสักครู่ พยายามสร้างภาพของสิ่งนั้นขึ้นมาในใจ (ตอนนี้ที่ลูกตามืดไปหมดแล้ว) ใหม่ๆ การสร้างภาพมักจะไม่มีภาพอะไรเกิดขึ้นในใจหรอกครับ แต่การฝึกแบบนี้ เขาไม่ได้ทำกันเพียงครั้ง สองครั้ง แต่เขาทำกันในจำนวนนับไม่ถ้วน เป็นพัน เป็นหมื่นครั้ง

    2.การทำซ้ำๆ ซากๆ ไปนานๆ จะเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่าเป็น "ความเคยชินของจิต" เกิดขึ้น ความเคยชินของจิตที่ทำซ้ำๆ ไปมา จะก่อให้เกิดเห็นเป็นภาพของวัตถุนั้นๆ เกิดขึ้นมาในใจได้ (ในตอนนี้ที่ลูกตาก็ยังมืดอยู่นะครับ แต่ภาพจะเกิดขึ้นลางๆ แล้วที่ในใจ ซึ่งเป็นคนละส่วน คนละที่กัน ผู้ฝึกจะเริ่มรับรู้ได้แล้ว)

    3.เมื่อมีความชำนาญมากขึ้น ภาพที่กำหนดได้ในใจ ก็จะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ จนเหมือนกับภาพของวัตถุต้นแบบ ตอนนี้คือสิ่งที่ในตำราท่านเรียกว่า "อุคคหนิมิต" ได้เกิดขึ้นแล้ว ต้องหมั่นประคองรักษาสิ่งนี้กันต่อไป


    เริ่มต้น ทำกันเพียงเท่านี้ก่อนก็พอครับ อีกอย่างหนึ่ง เวลาตั้งวางลูกแก้วใส ขอให้หาหลอดไฟขนาดพอประมาณ มาวางไว้ข้างๆ ลูกแก้วใสดังกล่าวนี้ จัดให้แสงสว่างจากหลอดไฟ ส่องไปที่ลูกแก้วใสโดยตรง จากนั้น ให้นั่งมองดูภาพลูกแก้วใส ที่มีแสงสว่างนี้ จำไว้ให้ได้ เมื่อจำได้แล้ว ก็หลับตาลง พยายามนึกภาพลูกแก้วใส ที่มีแสงสว่าง ให้เกิดขึ้นในใจ แล้วก็ทำตามตามกระบวนการฝึกไปเรื่อยๆ ต่อไปนะครับ
     
  15. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    249
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,770
    ภาพประตูหน้าต่างที่สะท้อนในลูกแก้ว ท่านเรียกกสิณโทษ
    เวลานึกถึงภาพลูกแก้ว ไม่ต้องนึกรวมเอาเงาสะท้อนเข้าไปด้วย
    ถ้าทำไม่ได้ ให้จัดมุมใหม่ ไม่ให้มีเงาสะท้อน
     

แชร์หน้านี้

Loading...