สอบถาม ยิ่งนั่งนานยิ่งจับลมไม่ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Fluke1996, 31 กรกฎาคม 2021.

  1. Fluke1996

    Fluke1996 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2021
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +0
    พอดีวันนี้ได้นั่งสมาธิ เจริญอานาปานสติ แล้วยังสงสัยว่า ยิ่งนั่งนานขึ้น เรายิ่งจับลมหายใจไม่ค่อยได้เหมือนช่วงแรกๆ จึงมีช่วงหนึ่ง ผมตัดสินใจว่า ไม่รับรู้ก็ไม่ต้องรับรู้ จะคิดอะไรก็คิดไป พอแล้ว จากนั้นมีอาการเริ่มร้อนวืบๆยังไงบอกไม่ถูก แล้วก็หายใจอึดอัดหน่อยๆ

    ทีนี้ผมเลยอยากถามว่า การเจริญอานาปานสติ ที่ถูกต้อง คือ รู้ลมเข้าออก แล้วพอจิตไปคิดเรื่องอื่น ให้เรารู้เฉยๆ หรือให้เราดึงกลับมาที่ลมครับ

    ขอบพระคุณมากครับ
     
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ฝึกมานานหรือยังครับ

    ฟังพระสักไฟล์แล้วกันครับ

     
  3. -W-

    -W- สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2020
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +2
    ประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ ลองฟังดู

    ลองสังเกตุยิ่งดูๆ รู้ๆ จับลมหายใจ แรกๆ ก็เหมือนจะดี สบายใจขึ้น พอไปๆมาๆ (ลองสังเกตุบางทีต้องข้ามวัน) เริ่มเครียดทุกข์หนัก ฟุ้งซ่านกว่าเดิม ลองดูเป็นไหมครับ

    ผมจะบอกให้นะครับ เดี๋ยวนี้ฝึกผิดกันเยอะทำให้ติดเพ่ง สภาวะรู้ของจริงมันไม่มีตนหรอกครับจึงจะพ้นทุกข์ตราบใดเพ่งเข้าไปดูไปลมหายใจเดี๋ยวก็ทุกข์ เขาต้องฝึกให้รู้ว่าอะไรคือตน แล้วทำยังไงไม่มีตน จะได้พ้นตนได้ พอพ้นแล้วก็เหมือนถอนออกจากกองทุกข์ คราวนี้ไม่ต้องทำอะไรแล้ว ตราบไดยังฟัดในกาย มันก็ทุกข์เรื่อยไป ดูลม อะไรพวกนี้มันก็ช่วยให้ทุกข์เบาบางชั่วคราว แต่เดี๋ยวมันก็ฟุ้ง ไปกดกิเลสมากๆ ระวังจะยิ่งทุกข์กว่าเดิมแบบเอาไม่อยู่เลย

    ระวังติดเพ่งนะครับ มันจะวนระหว่าง เออนี่มันสุขดี กับทำไมกูฟุ้งหนักทุกข์หนัก วนไปวนมา
     
  4. Fluke1996

    Fluke1996 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2021
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +0
    ตอนนี้น่าจะเกือบ 1 เดือนแล้วนะครับ ที่เริ่มแบบจริงจัง เดี๋ยวมีเวลาแล้วจะฟังนะครับ ขอบคุณมากครับ
     
  5. Fluke1996

    Fluke1996 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2021
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +0
    ตนที่พูดถึง ขอความกรุณาอธิบายโดยละเอียดทีครับ พอดีมือใหม่ ยังไม่เข้าใจดี ขอบคุณครับ
     
  6. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,868
    ทีนี้ผมเลยอยากถามว่า การเจริญอานาปานสติ ที่ถูกต้อง คือ รู้ลมเข้าออก
    แล้วพอจิตไปคิดเรื่องอื่น ให้เรารู้เฉยๆ หรือให้เราดึงกลับมาที่ลมครับ ?



     
  7. หมูไม้ละ5

    หมูไม้ละ5 # shawty, set me free

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    1,659
    ค่าพลัง:
    +1,626
    ถ้าทำสมาธิเพื่อความสงบ
    จะเป็นแบบ จขกท. ครับ

    ....เริ่มจาก
    อยู่กับลมหายใจ...อยู่กับคำบริกรรม
    สังเกตุจิตจะเริ่มสงบ
    และความคิดต่างๆจะค่อยๆลดน้อยลง
    ความคิดอกุศลจะระงับลง...
    ....แบบนี้จิตจะเข้าสู่...ฌาน1
    และสังเกตุ
    ถ้ายังคิดไปเรื่อยเปื่อย...อย่างนั้นยังไม่ใช่

    จิตเป็นฌานที่ 1 แล้ว
    เมื่ออยู่กับลมหายใจไปอีกซักพัก
    จะเริ่มสงบมากขึ้น....
    จะเหมือนลืมคำบริกรรม .... เหมือนลืมลม
    ....แบบนี้จิตจะเข้าสู่...ฌาน2
    ตรงนี้จะมีปิติต่างๆเข้ามาแทรก....ให้สังเกตุได้
    รู้สึกตัวโคล้งบ้าง....รู้สึกตัวพองบ้าง
    ขนลุกบ้าง....หรือเกิดนิมิตต่างๆ

    เวลาที่มีปิติ
    ...อย่าสนใจในปิติ....
    หลายคนที่ติดสมาธิอยู่ที่ตรงนี้นับ10ปี
    นั่งสมาธิก็แค่....อยากให้เกิดปิติ
    เราไม่เอา...ไม่สนใจในปิติที่เกิด
    ....จะเกิดก็ช่างมัน
    อีกอย่าง.....ถ้ารู้สึกว่าลืมลมหายใจ
    ...ลืมคำบริกรรม....ก็ไม่ต้องนึกขึ้นมา
    เพราะกลับมาตรึกถึงลมอีกครั้ง
    หล่นกลับไป....ฌาน1

    แต่ไม่ต้องตกใจครับ
    ด้วยกำลังของสมาธิ....หล่นไปฌาน 1ไม่นาน
    มันจะเด้งกลับไปฌาน 2 คือลืมคำบริกรรมอีก

    ถึงตรงนี้....
    ให้ปักจิตไว้นิ่งๆแบบนั้น
    จิตจะข้าม.... ไปสู่สมาธิจิตในฌานที่ 3

    ฌาน3สังเกตุอย่างนี้
    อาการปวดเมื่อยทางกายจะทุเลาลง
    ...แทบจะไม่เจ็บปวดขา
    ถ้าลองไปดูที่ลมหายใจ...
    ...จะพบว่ามัน.... แผ่วเบามาก....แทบไม่มี
    ตรงนี้จิตสงบมาก....
    เสียงรอบข้างแทบไม่ได้ยิน
    ....ถ้าถึงตรงนี้ก็ไม่ต้องตรึกถึงลมอีก....
    เพราะแทบจับลมหายใจไม่ได้
    ให้ปักจิตไว้ที่ความสงบนั้น
    จิตจะไปสู่ความสงบของ....ฌานที่ 4

    จุดสังเกตุของฌาน 4 นี้
    คือจิตที่สงบมาก....
    ...เหมือนลม...พายุที่กำลังอ่อนตัวลง
    ...เกือบสลาย...
    ถ้าลองมาดูที่...ลมหายใจ...
    จะพบว่ามันหายไป.....
    แต่จริงๆมันไม่ได้หายไปไหน
    ร่างกายยังหายใจเป็นปกติ
    ....แต่จิตตรงนี้ละเอียดมาก
    เมื่อไปสังเกตุรูป(ลมหายใจ)....
    ....จะปรากฎเป็นของละเอียด....
    ละเอียดจนคิดว่า...ลมหายใจหายไป
    ถ้ามารู้สึกที่ร่างกาย...
    ก็จะปรากฎเป็นของละเอียด....
    ....เหมือนร่างกายเราหายไป

    บางคนมาถึงตรงนี้ได้โดยบังเอิญ
    ก็อาจจะตกใจ....รีบออกจากสมาธิได้

    ถ้ามาถึงฌาน 4 ตรงนี้
    จะเป็นรอยต่อ....ของอรูปฌาน
    เพราะสัญญาในรูป....เริ่มหายไป
    รูปจะละเอียด.....ปรากฎเหมือนของว่างเปล่า
    ด้วยอำนาจ...ของสมาธิ

    ถ้าใครจะต่อ...ให้ปักจิตถึงความว่างนั้น
    อยู่กับความว่างนั้น...
    ตรงนี้คือ....อากาสานัญฯ
    เมื่อจิตถึงตรงนี้....
    ...จิตจะไปต่อ....
    ความว่างที่ว่าสงบนิ่งแล้ว..
    ...ถ้าผ่าน....
    ....จะปรากฎจิตเด่นดวง....ขึ้นภายใน
    ตรงนี้เรียกว่าพ้น....อากาสานัญฯ
    เข้าสู่....วิญญานนัญฯ

    พอถึงตรงนี้....จิตจะรู้เห็นทุกอย่างชัด
    ในสมาธิขึ้นอื่นที่ว่าชัดแล้ว....
    ก็ไม่เท่ากับตรงนี้....คือชัดมาก
    .....เหมือนมีจิตผู้รู้ตั้งเด่นดวงอยู่ตรงกลาง
    รอบๆ...ปรากฎแต่ความว่าง
    ....เเบบเวิ้งว้าง....
    การรู้เห็นของจิตชัด....มากๆ

    ถ้าจะไปต่อ....
    ให้กำหนด.....รู้ที่จิตเด่นดวงเป็นผู้รู้นั้น
    .....

    ส่วนหลังจากนี้ผมไม่รู้แล้ว
    มีประสบการณ์ไปถึงแค่ตรงนั้น

    และนี่คือสมาธิเป็นไปเพื่อความสงบ

    ใครทำสมาธิ....จะได้ยินว่าได้บุญมาก
    บุญนั้นคือ ... กุศลจิต
    เพราะละอกุศลจิตลงชั่วคราว
    ถ้าตายตอนจิตเป็นฌาน...
    ....ก็โน้นไปเป็นพรหม เป็นเทวดา
    หรือในปัจจุบันที่เป็นมนุษย์
    ...ก็จัดว่า...เป็นกรรมหนัก...ฝ่ายกุศล
    ให้ผลเร็ว....แรง

    แต่สมาธินี้...ยังต้องรักษา....
    เพราะมันเสื่อมลง...ไปตามเหตุปัจจัยได้
    ...ยังต้องมีภาระทำให้ฌานเกิดขึ้น...

    สมาธิ...เพื่อความสงบจัดเป็น....ของดี
    แต่มี....
    อานาปานสติ....แบบพระพุทธเจ้า
    ที่เลิศกว่า...พ้นทุกข์ได้ถาวร...
    และพ้นจาก....การเวียนว่ายตายเกิด
    เพราะเกิดทุกที...ก็ทุกข์ทุกทีครับ
     
  8. หมูไม้ละ5

    หมูไม้ละ5 # shawty, set me free

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    1,659
    ค่าพลัง:
    +1,626
    อานาปานสติ....แบบพระพุทธเจ้า
    คือการอาศัย...ลมหายใจนี้..เป็นที่อยู่ให้จิต
    เราไม่มุ่งไปสู่....ความสงบแบบดำดิ่ง
    แต่อาศัย....ลมหายใจนี้...
    เพื่อให้จิต....สงบจากอกุศลจิต
    ใช้ลมหายใจนี้....เพื่อตั้งมั่นอยู่
    ....แล้วสังเกตุ....สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น...
    ...ของนามธรรมภายใน

    สังเกตุ....ความคิดที่ผุดขึ้น
    สังเกตุ....ความคิดที่ดับไป
    เห็นความไม่แน่...ไม่นอนของธรรมชาติภายใน
    เห็นว่ามันก็แค่กระบวนการหนึ่ง
    ปัจจัย....ทำให้เกิดสิ่งนี้....
    และสิ่งนี้ก็เป็นปัจจัย...ให้เกิดอีกสิ่งหนึ่ง
    เรื่อยไปไม่จบ....
    ....เป็นแค่ธรรมชาติสืบเนื่องกัน
    เหนือการควบคุมของเรา
    ....เพราะมันไม่เคยมีเรา.....
    จิตโง่....ไปหลงคิดว่า...เป็นเรา
    ....เราทำโน้น...เราทำนี่...

    อานาปานสติแบบพระพุทธเจ้า
    ...จึงไม่มุ่งไปสู่ความดำดิ่ง
    แต่ใช้เป็นที่อยู่ของจิต....เป็นที่สแตนบาย
    เพื่อเห็นความจริง...ของธรรมชาติ

    จะเห็นว่า....
    เราจะดูลมหายใจ....เข้าออก
    เมื่อจิตเริ่มไหลไปรวมเป็นลมหายใจ
    ให้ยกจิตขึ้น...
    โดยการ...
    สังเกตุ...ลมหายใจสั้น ยาว..อย่างไร
    จิตจะไม่ไหลรวมกับลม....
    แต่จะเป็นผู้รู้อยู่....ถึงลมหายใจ
    ถ้าเป็นม้าอาชานัย...จะเห็นธรรมได้ตรงนี้เลย
    มันสามารถ....เห็นความไม่เที่ยงของลมได้
    เห็นเป็นของที่มีปัจจัยปรุงแต่งให้มีขึ้น
    ....เหนือการควบคุม

    แต่ถ้าไม่เห็นธรรมตรงนี้....
    ก็อาศัยลมหายใจนี้เป็นที่เกาะ....
    ....เป็นที่สแตนบาย
    ....เพื่อดูความคิดปรุงแต่ง..ที่เกิดขึ้นภายใน
    เพราะแม้จิตจะสงบตั้งมั่นแค่ไหน
    .....ก็มีความคิดเกิดขึ้นอยู่ดี...
    ใช้ลมหายใจ....เพื่อเห็นความจริง
    ....ของธรรมชาติ

    เมื่อดูความจริง...วันนึงก็จะเห็นแจ้งความจริง
    .....มันจะเข้าใจธรรมชาติของขันธ์5
    และจะเห็น...รูปนาม...ทั้งโลก....ทั้งจักวาล
    มีสภาพเหมือนกัน....
    ...เกิดปัญญา....เข้าใจว่า
    เพราะการหลงไปมีตัวเรา....
    จึงเกิดการยึดกับสิ่งต่างๆ
    และสิ่งต่างๆนั้น....มันไม่ใช่ของถาวร
    มันไปสู่ความเสื่อมสลาย
    ....เมื่อกอดกับสิ่งนั้น....ย่อมทุกข์แน่
    เมื่อเกิดปัญญา...
    ....จะสามารถปล่อยทุกเรื่องลงได้
    เพราะได้เห็นความจริงแล้ว....ว่า
    ....ไม่มีเรา....อยู่ตรงไหน

    การเห็นความจริงด้วยจิตเองนี้...
    ...ไปสู่การ....
    ที่จิตปล่อยวางความยึดถือลงได้
    จิตจะไม่หยิบฉวยสิ่งต่างๆ
    ....มาเป็นตัวเรา...ของเราอีก
    นั่นคือ.... การพ้นของทุกข์จริงๆ
    จะเกิด....ความสุขสงบภายใน
    เพราะไม่มีตัณหา...มาบีบคั้น
    เป็นสุขเย็น....ที่ไม่ต้องรักษาความสุขเย็นนั้น
    แต่เป็นสุขเย็น.....ที่เกิดจาก...จิตไม่ดิ้นรน
    นี่เลยเป็น...
    ...ความเลิศที่เหนือกว่า
    ....ความสุขสงบของสมาธิเพียงอย่างเดียว

    ลองเลือกเอาครับ
    ทั้งดี...คือ.... อานาปานสติเพื่อความสุขสงบ
    และทั้งดีมาก....
    คือ.... อานาปานสติเพื่อความพ้นทุกข์ถาวร
    เลือกอะไรก็ดี...ทั้งนั้นครับ
     
  9. Enzo Zen

    Enzo Zen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2021
    โพสต์:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +675
    ฝึกควบไปเลยค่ะ จิตจะเข้าไปรู้ทีเดียวทั้ง 4 ฐาน

    ถ้ากำหนดอายตนะไม่ชัด มาอยู่ที่ลม แต่อย่าพยามแช่นาน มันจะเพลิน จิตจะไหลเข้าความคิด อย่าบังคับลม มันจะอึดอัด

    แล้วสลับรู้ตามอายตนะ เท่าที่ความสามารถเราทำได้ แต่อย่าทำเยอะจนมันเหมือนเป็นความวุ่นวาย จิตจะเบื่อ ระลึกไปทีละน้อยๆ ก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่ม

    เด่วจิตจะมีกำลัง มีความเป็นกลางขึ้นมาเองค่ะ

    พยามเดินจงกรมเยอะๆ สติ สมาธิมันจะอยู่นานกว่านั่ง ไม่ค่อยเสื่อม
     
  10. Fluke1996

    Fluke1996 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2021
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบคุณ สำหรับ บทความและแนวทางเพิ่มเติม ครับ
     
  11. Fluke1996

    Fluke1996 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2021
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอบพระคุณมากครับ สำหรับข้อมูลโดยละเอียด เห็นภาพรวม และเข้าใจ ขึ้นมาเยอะเลยครับ

    ว่าจะหลังจากนี้จะลองฝึก แบบมโนมยิทธิ ต่อครับ ขอบคุณครับ
     
  12. Fluke1996

    Fluke1996 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2021
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +0
    จะลองปฏิบัติควบดูครับ ทั้งนั่งและเดินจงกรม
     
  13. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,366
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,868
     
  14. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ส่วนมาก นักภาวนา ที่หาทางฝึกเอาเอง ไม่ได้ฝึกกับครู
    ขาดการเรียนรู้ จากธรรมที่สมบูรณ์

    เลยทำให้ติดกระดุมเม็ดแรกผิดตั้งแต่ต้น จะเสียเวลาไปนานมาก

    หากตั้งใจเรียน จากธรรมที่สมบูรณ์ตั้งแต่ต้น ก็จะทุ่นเวลาได้ ไม่มากก็น้อย

    การเลือกเรียน เลือกฟัง เอา วิธีการ มันสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับ ผู้ตั้งใจจริง
     
  15. หมูไม้ละ5

    หมูไม้ละ5 # shawty, set me free

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    1,659
    ค่าพลัง:
    +1,626
    เวลาเริ่มต้นจะภาวนา....
    ....ตั้งจิตไว้เลยครับ
    ....เพื่ออะไร?
    ครั้งนี้.....เพื่อความสงบ
    หรือครั้งนี้....เพื่อเห็นความจริง

    มันไม่มีถูก...ไม่มีผิด
    เหมือนคนอยากได้....สุขเฉพาะหน้า
    กับคนที่อยากได้....แบบยั่งยืน
    ....ต้องรอการเก็บเกี่ยว..
    แต่รับรองว่าคุ้มค่า....

    ถ้าเอาสุข....เฉพาะหน้า
    ก็มุ่งสู่สมาธิ....ชนิดดำดิ่ง
    มุ่งให้จิต....อยู่ในอารมณ์เดียว
    ที่ผมแจกแจง....จุดสังเกตุของฌานต่างๆ
    ตั้งแต่ฌาน1 ....ไปยันอรูปฌาน2

    เวลาทำสมาธิ....ไม่ต้องไปสนใจ....
    ว่า....เราถึงฌานไหนแล้ว
    เมื่อไหร่....หรือคอยดูว่าฌานไหน
    จิตจะเกิดตัณหาขึ้นภายใน....
    ....จิตจะไม่เป็นสมาธิ ....
    ...จะไปไม่ถึงแม้แต่ ฌานที่1

    สิ่งที่ต้องทำ....
    หาอุบายให้จิต....มีอารมณ์เดียว
    จะอาศัย...คำบริกรรม...ก็ได้
    อาศัยการนับ...ลมหายใจก็ได้
    แล้วอยู่กับอุบายนั้นๆ...
    ให้จิต...มีอารมณ์เดียว

    เมื่อจิตเริ่มสงบ....วิเวก
    คือ....จิตเริ่มวางความคิดอกุศล...
    แต่ยังไม่หยุดคิด....ยังมีความคิดอยู่
    แต่ความคิดไม่เป็นไปทางหงุดหงิด
    หรือไม่ฟุ้งซ่าน... ไม่กระวนกระวาย
    จิตจะเริ่มสงบ....
    จะเหมือนลืมคำบริกรรม...ลืมอุบาย
    แบบที่จขกท. ตั้งกระทู้ถาม

    เวลาจิตเปลี่ยนฌาน...
    ..บางครั้งมีอาการ....เหมือนวูบๆ
    ...บางครั้งอาการระหว่างเปลี่ยนฌานก็ราบเรียบ
    เปรียบเหมือน...
    รถยนต์ที่เป็นเกียร์ธรรมดา
    กับ...รถยนต์ที่เป็นเกียร์ออโต้..แบบ cvt
    จะรู้สึกได้...
    ของช่วงเวลาเปลี่ยนเกียร์...
    ....จะสมูทไม่เหมือนกัน

    ถ้าทำจนชำนาญ....
    จะรู้ว่า....
    ควรปล่อยคำบริกรรม...
    ควรปล่อยการรู้ลมหายใจ
    ....ตอนไหน

    เมื่อผ่านฌาน3 เข้าสู่ฌาน4
    จะไม่มีอะไรให้ดูแล้ว...
    จิตละเอียดมาก
    เหมือนลมหายใจ...หายไป
    ตรงนี้ปล่อยการรู้ลมหายใจ
    ...แต่ปักจิตอยู่ในความว่างที่ละเอียดนั้น
    จิตจะเข้าสู่
    สมาธิในอรูปฌาน

    เวลาทำสมาธิใหม่ๆ...ยังไม่ชำนาญ
    ฌานหล่นเป็นธรรมดา
    อย่างเวลาเข้าฌานลึกๆ... ก็ตรึกกลับลม
    ฌานก็หล่น....
    แล้วก็ขึ้นไปอีก...
    นั่งๆอยู่ตัวหาย...ลมหายใจหาย..
    ก็ตรึกไปดูลมซักที....
    ฌานก็หล่น...
    แล้วก็ขึ้นไปใหม่....อย่างนี้

    ถ้าทำจนคล่อง....
    ...จะสามารถจำอารมณ์ฌานได้
    คือจำสภาวะ....
    อย่าง...ร่างกายหาย...ลมหายใจหาย
    นึกสภาวะนั้น
    จิตจะไต่ระดับความสงบ...
    ....ไปถึงตรงนั้นแบบรวดเร็ว...
    ...แต่การเข้าฌานแบบเร็วนี้...
    ฌานก็หล่นง่ายเช่นกัน

    ....ผมจะชอบใช้ตอนทำสมาธิ....
    มันข้ามไปสู่ความสงบได้เร็ว
    จิตจะตัดเวทนาทางกายออกเร็ว
    ....เรียกว่า...ไม่ทันได้มีอาการปวดขา
    จิตก็เข้าสมาธิลึกไปแล้ว

    เป็นทริค...การนั่งสมาธิได้นาน
    แต่ต้องอาศัยความชำนาญในการฝึกหน่อยครับ
    เพราะผมนั่งไม่เคยปวดขา....
    มันลัดไปถึง...ลมหาย...กายหายเลย
    แต่ตอนออกจากสมาธิ...
    ....ปวดขาปรี๊ดขึ้นมาเลยครับ

    ข้อดีของฌาน...คือวิเวก....สงบภายใน
    มันวิเวกอยู่....
    ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายได้
    เมื่อออกจากสมาธิ..ใช้ชีวิตปกติ
    ความวิเวกภายในนี้....
    ....มันทำให้เราควบคุมมสถานการณ์ในชีวิต
    ....ได้ดี

    นี่ล่ะครับฌาน....ที่ไว้พักผ่อน...
    ไว้เพื่อความสุข..เฉพาะหน้า
    อาศัย...การทำบ่อย ทำซ้ำๆเอาครับ
     
  16. หมูไม้ละ5

    หมูไม้ละ5 # shawty, set me free

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    1,659
    ค่าพลัง:
    +1,626
    คราวนี้มาดู.....
    การรู้ลมหายใจ...เพื่อนิพพานบ้าง
    วางจิตไว้แต่แรกเลยว่า....
    ....จะใช้ลมหายใจนี้เป็น....ที่อยู่ให้จิต
    ไม่ได้ต้องการ....การสมาธิที่ดำดิ่ง
    แต่....
    เป็นสมาธิ....ที่ตั้งมั่นอยู่
    การรู้ลมหายใจนี้....
    ...ทำได้ทั้งนั่งสมาธิหลับตา
    ...ทำได้ทั้งขณะลืมตา

    จิตตั้งมั่นจริงๆ....เกิดวิเวกที่ภายใน
    เเม้จะลืมตา....ผัสสะกระทบมากแค่ไหน
    ....ก็ตั้งมั่นอยู่ได้

    สิ่งที่ต้องทำ....
    หมั่นรู้ลมหายใจ....
    ระลึกได้...ก็รู้ลม
    ระลึกได้...ก็รู้ลม
    หยิบจับ....ทำงานอะไร...ก็หมั่นมาระลึกที่ลม

    ทำใหม่ๆอาจจะหลงไปนาน
    ...กว่าจะกลับมารู้ลม...ซักหนึ่งที
    เลยต้องอาศัยความเพียร....
    ในสร้างสัญญา...การจดจำสภาวะ
    เมื่อทำบ่อย...ทำซ้ำ
    จิตจะเคยคุ้น....กับอารมณ์อุเบกขา
    ....ที่เกิดจากการรู้ลมหายใจ
    จากการฝืนบังคับรู้ลม....
    ก็จะกลายเป็นรู้ลม...ที่เป็นธรรมชาติ
    จิตจะทิ้งอกุศล....แล้วเกาะกุศล
    คือลมหายใจ....
    ....เปลี่ยนทางจิต....เคยคุ้นกับความสงบ
    อาศัยจิตที่ตั้งมั่น...สงบวิเวกนี้
    เห็น....ขันธ์ห้าภายใน

    ซึ่งจิตที่มีฐานคือความสงบนี้...
    จะเห็นจิต.....ที่มีความคิดปรุงแต่ง
    เหมือนเห็นคลื่นทะเลเบาๆ

    ไม่ใช้การเห็นอารมณ์โกรธ...ที่พุ่งผล่าน
    จะไม่ใช่...การเห็นอารม์ขัดเคืองใจ...
    เพราะเมื่อจิตสงบ วิเวกเป็นอุเบกขาอยู่
    อกุศลจิต...ย่อมไม่กำเริบ
    ....จึงกลายเป็นการเห็น....
    คลื่นทะเลเบาๆ....
    ไม่ใช่การเห็น...คลื่นลมพายุ

    การเห็นว่า....อยู่กับลมหายใจแล้ว
    ก็ยัง....มีความคิดผุดแทรก
    ....จิตจะเห็น....ว่าธรรมชาติภายใน
    ...เป็นของที่ต้องเปลี่ยนแปลง
    ซักพัก...เกิด
    อีกซักพักดับ
    การเห็น....แบบนี้เป็นการตั้งมั่น
    และเห็นอยู่....
    ไม่กระโดด...เข้าไปพยายามรู้อะไร
    ....และจะเห็นความจริง....
    ด้วยใจที่เป็นกลาง...ปราศจากตัณหา
    ...ปราศจากอุปาทาน

    เพราะความที่จิตวิเวกอยู่
    อุเบกขาอยู่....จึงตั้งมั่น...
    ....เห็นความจริงของธรรมนั้นได้

    สามารถรับรสของความปิติสุข...
    ...ระหว่างที่จิตอยู่กับลมหายใจได้
    เพราะเป็นธรรมดา...ที่เมื่อจิตเป็นสมาธิ
    ....ย่อมเกิดปิติ....ย่อมเกิดสุข
    ....แต่ไม่ได้สำคัญใน....ปิติ หรือ สุขนั้น
    แต่ไปเก็บเกี่ยว...ผล
    เป็นสุข....ที่จิตไม่บีบคั้นเพราะตัณหา
    ไปสู่นิพพาน...เป็นผลที่ยั้งยืนครับ
     
  17. Fluke1996

    Fluke1996 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 กรกฎาคม 2021
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +0
    สอบถามท่าน หมูไม้ละ 5 บาท ได้เรียนสมาธิ ที่ไหน แนะนำผมบ้างได้นะครับ ผมจะลองตั้งจิตทำสมาธิเบื้องหน้าก่อนนะครับ
     
  18. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    การระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกแต่ดันลมหายใจเข้าให้ลึกถึงจนทองพองหายใจออกจนท้องยุบ เป็นระบบลมหายใจพื้นฐานสำหรับการฝึกกรรมฐานทุกกอง(เป็นเหตุที่สำคัญหากต้องการต่อยอดสมาธิหรือจะฝึกกรรมฐานกองใดให้สำเร็จจนถึงขั้นนำมาใช้งานได้จริงในภายภาคหน้า)อีกทั้งยังเป็นการช่วยสร้างเสริมกำลังสมาธิเล็กๆน้อยที่จะไปเสริมการระงับยับยั้ง ความคิดปรุงไม่ให้เกิดไม่ว่าจะขณะนั่งสมาธิหรือการใช้ชีวิตปกติประจำวัน อีกทั้งยังเป็นการเจริญสติไปในตัวแบบมีฐานอยู่ที่กายวิธีหนึ่งซึ่งเหมาะสมในกรณีที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวและว่างจากหน้าที่การงาน

    พอมาในระดับหนึ่งการนั่งสมาธิ เรามักได้ยินคำว่าลมหายใจหายไป(ตามตรรกะลมหายใจหายคือตาย)เป็นภาษาง่ายๆที่ใช้เมื่อระดับสมาธิถึงระดับปฐมฌาน แต่ความจริงลมหายใจไม่ได้หายไปไหนครับ เพียงแต่ว่า ณ เวลานั้นจิตเห็นว่าลมหายใจมันหยาบไปแล้ว จิตจึงไม่ได้สนใจลมหายใจครับ

    ดังนั้นวิธีแก้ตอนนี้ คือ
    ๑ ลมหายใจเราจะรู้สึกได้ไม่ได้ก็ช่างมันอย่าไปสนใจ
    ๒ ดันลมหายใจเข้าให้ลึกจนท้องพองแต่อย่าเผลอเอาจิตไปตามลม แม้ตามได้ แต่สมาธิจะตันที่ปฐมฌานเท่านั้น ยกเว้นว่าเราต้องการกำลังเท่านี้เพื่อมาเดินปัญญาในเวลาปกติไม่เป็นไร
    ๓.อย่าเผลอไปตามลมหายใจอีก เพราะถ้าตามถึงหน้าอกเหมือนที่ผ่านมา จะรู้สึกอึดอัด แน่นหน้าอก นานเข้าจะรู้สึกร้อนที่ผิวกาย หรือถ้าเผลอไปสนใจที่ระหว่างกลางเหนือคิ้วจะรู้สึกหน่วงๆ นานไปจะปวดตึงศรีษะ ดังนั้นให้เลิกซะ
    ๔ .ต่อมาถ้ารู้สึกเผลอไป ไม่รู้สึกถึงลมหายใจ
    เมื่อระลึกรู้ตัวได้ ให้กลับมาตรวจสอบวิธีการหายใจที่เคยบอกไปแล้ว และที่สำคัญห้ามลืมตา แต่สามารถขยับหลังที่งอให้กลับมาตรงแบบปกติได้ หรือ อย่าไปพยายามสนใจเกี่ยวกับลม (เพราะจะทำให้หลุดจากอารมณ์นั้นกลับมาสู่สภาวะปกติก่อนนั่งสมาธิ ได้อย่างคาดไม่ถึง) และก็ระลึกรู้ลมที่ปลายจมูกหายใจลึกต่อไปเรื่อยๆ
    ๕.ถ้าเป็นแบบข้อ ๔ อีก ก็ทำแบบเดิม ทำบ่อยๆ และอย่าไปพยายาม รักษาอารมย์ ที่มันเคยสงบไว้ก่อนจะระลึกรู้ตัวเอาไว้ เพราะจะกลายเป็นจมแช่ในสมาธิ และ มันจะไม่สามารถพัฒนาระดับสมาธิต่อได้เพราะไม่มีกำลังสะสมเพียงพอ

    สุดท้าย เมื่อเกิด ข้อ ๔ บ่อยๆซ้ำแล้วซ้ำอีก จะสามารถพัฒนาระดับสมาธิให้สูงกว่านี้ได้เอง

    ปล หลักสังเกตุ ฌาน ๑ มีปิติต่างๆ ไม่ว่าอะไรอย่าสนใจหรือปล่อยไปให้สุดๆ และจะเหมือนคิดได้แต่ยังอยู่ในอารมณ์นั้น
    ฌาน ๒ คล้ายหนึ่ง แต่จะไม่มีความคิด ฌาน ๓ ไม่มีปิติ ไม่คิด และจิตจะเริ่มรับรู้ถึงแรงดึงดูด เมื่อถอยจากฌาน ๓ มา ๒ ส่วน ฌานหนึ่งแม้ถอยก็ไม่รู้สึกถึงแรงอะไร

    แค่เพียงแต่เล่าให้ฟัง



     
  19. หมูไม้ละ5

    หมูไม้ละ5 # shawty, set me free

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2016
    โพสต์:
    1,659
    ค่าพลัง:
    +1,626

    สมัยเด็ก...ผมเรียนโรงเรียนวัด
    ในการฝึกสมาธิของผม
    เลยจำวิธีมาจากการนั่งสมาธิ...
    ตอนช่วงบ่าย...ก่อนเข้าเรียนของทุกวัน
    ไม่มีอะไรมากครับ
    แค่หายใจเข้าพุท.....หายใจออกโท
    ส่วนในช่วงที่มาสนใจศาสนาพุทธใหม่ๆ
    ก็ซื้อหนังสือมาเล่มนึง....
    ผมใช้อุบาย....จากหนังสือนั้น

    คือการดูการกระทบของลมหายใจ
    ตรงจมูก....จุดเดียว...ตรงที่กระทบเข้า-ออก
    ช่วงแรกของการฝึก....ใช้การนับ..ช่วย
    พุท1.....โธ1
    พุท2.....โธ2
    พุท3.....โธ3
    ....4 5 6.....
    เรื่อยไปถึง 20 ....
    แล้วนับย้อนกลับมาที่1
    หลังจากนั้นจะเริ่มสงบ.....

    แต่ถ้ายังไม่สงบ...ทำซ้ำ...อีกชุด
    แต่ส่วนใหญ่...จะสงบลง...
    ไม่ทันจบชุดแรก

    เมื่อจิตเริ่มเป็นสมาธิ.....
    คราวนี้...มาตามลมหายใจ....
    ดูการ....เข้า-ออก ...ของลมหายใจ
    ไม่ได้ดูการกระทบแล้ว
    เป็นการดูรวมๆ.....ถึงลมเข้าออก
    ไม่ได้บริกรรม...

    ถึงความละเอียดของจิตตรงนี้....
    จิตจะไม่ค่อยได้ยินเสียงรอบข้าง
    แต่ถึงเสียงรอบข้างจะดังยังไง
    ....ก็จะไม่เกิดความลำคาญเสียง
    ถึงตรงนี้....
    ....จิตเริ่มวิเวก

    ในสมาธิจะเกิดสุข...เยิบเยิ้มอยู่ภายใน
    จะสุขอยู่แบบนั้น.....
    ....ช่วงแรกๆ
    เราจะ....เอ๊ะใจ...ทำไมลืมลมหายใจ
    แต่นี่คือ....ธรรมดาของสมาธิ
    เพราะ....วิตก...วิจาร... ต้องระงับไป
    คือการตรึกถึงลม...ตรึกถึงคำบริกรรม
    จะหายไปด้วยอำนาจของสมาธิ

    จิตจะเริ่ม....สงบยิ่งขึ้น
    ตรงนี้....ยังสามารถเกาะเพื่อดูลมต่อได้
    แต่เมื่อไปดูลมหายใจ...จะพบว่า
    มันแผ่วเบามาก....
    เป็นสัญญานบอกว่า....จิตละเอียดขึ้น
    ในขณะทำสมาธิ....
    อย่าไปอยากรู้ว่าเราถึงฌานไหน....
    เพราะยิ่งฌานที่สูงขึ้น....
    ตัณหา....ความอยากจะถูกตัดไป
    ความคิดต่างๆ...เบาบางลง

    เมื่อไหร่....เราอยากดันให้ไปถึงฌานสูงๆ
    หรืออยากรู้ว่าเราถึงฌานไหน
    จะตกฌานได้.....

    เพราะงั้น....
    เราดูลมหายใจไปเรื่อยๆ
    ไม่ต้องคาดหวัง...จะถึงฌานไหน
    ทำใจให้สบายๆ
    ใจที่สบายๆ...จะทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย
    ....ทำบ่อยๆ ฝึกบ่อยๆ
    การทำสมถะ...ให้จิตสงบนี้
    อาศัยการทำมาก....จะได้มากครับ

    ส่วนอานาปนสติ....เพื่อความพ้นทุกข์ถาวร
    ผมมีครู....คือพระพุทธเจ้า
    อาศัยการอ่านจากพระสูตร....เอาครับ
    ผมผ่านสมาธิมาทั้งสองอย่าง...
    ตัวอาการของสมาธิ....เหมือนกัน
    แต่การใช้งานต่างกัน
    ....อันนึง...เพื่อความสงบ....ดำดิ่ง
    ....อันนึง...เพื่อความสงบ....ตั้งมั่น

    ลองเริ่ม
    จากการฝึกสมาธิเพื่อความสงบ...ก็ได้ครับ
    ให้จิตมีกำลัง....เป็นฐาน
    ....เพื่อต่อไป...ใช้ฐานนี้....พลิกเป็นวิปัสสนาครับ
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,080
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +69,969

แชร์หน้านี้

Loading...