สังฆานุสสติกรรมฐาน หนึ่งในอนุสสติ ๑๐

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย กุศโลบาย, 11 มกราคม 2014.

  1. กุศโลบาย

    กุศโลบาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    323
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,604
    สังฆานุสสติกรรมฐาน หนึ่งในอนุสสติ ๑๐
    ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

    [​IMG]

    สังฆานุสสติกรรมฐาน แปลว่า ตั้งอารมณ์ให้เป็นการเป็นงาน ในการระลึกถึงคุณพระสงฆ์ เป็นอารมณ์ การระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์นี้ ท่านให้คิดถึงความดีของพระสงฆ์ ในส่วนที่เป็นความดี อันเป็นเนื้อแท้ของพระศาสนา
    ...
    ไม่ใช่คิดถึงความดีอันเป็นส่วนประกอบที่ไม่เข้าถึงพระศาสนา เช่น เห็นว่าท่านมีเครื่องรางของขลัง คือของคงกระพันชาตรี ท่านเป็นหมอรดน้ำมนต์ ท่านให้หวยเก่ง ท่านเป็นหมอดูแม่น ท่านทำเสน่ห์เก่ง ท่านเล่นหมากรุกเก่ง ท่านมีวิทยาคมต่างๆ เช่น เสกอะไรต่ออะไรเก่ง ความเก่งอย่างนั้นของท่านเป็นความเก่งนอกความหมายในที่นี้ เพราะเป็นความเก่งที่ยังไม่เข้าถึงจุดเก่งทางศาสนา เป็นความเก่งเปลือกที่ยังเอาตัวไม่รอดยังไม่ควรจะเอามาคิดมานึกให้เป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐาน

    ความเก่งในการที่นักกรรมฐานควรเอามาคิด ก็คือ

    ๑.ท่านเก่งในทางปฏิบัติ จนได้บรรลุพระโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา พระอรหันต์ อย่างนี้ เป็นเนื้อแท้ของความเก่งในเนื้อแท้ของพระสาวกในพระพุทธศาสนา และเป็นความเก่งที่ควรบูชา และระลึกถึงเป็นอารมณ์

    ๒.ความเก่งอีกอย่างหนึ่งของพระสงฆ์ที่ควรเอามาคิดเอามาบูชา ก็คือ ท่านเองได้บรรลุ มรรคผลแล้ว ท่านมิได้แสวงหาความสุขเพราะผลการบรรลุนั้น เฉพาะตัวท่าน ท่านกลับพลีความสุข ที่ท่านควรได้รับนั้น นำพระธรรมคำสั่งสอนที่ท่านได้รับผลแล้ว มาสั่งสอนบรรดาพุทธบริษัท อย่างที่ไม่เห็นแก่ผลตอบแทนใด ๆ

    การที่ระลึกถึงความดีของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามแบบก็คือ

    ๑.สุปฏิปันโน ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

    ๒.อุชุปฏิปันโน ท่านเป็นผู้ปฏิบัติตรง

    ๓.ญายปฏิปันโน ท่านปฏิบัติเป็นธรรม

    ๔.สามีจิปฏิปันโน ท่านเป็นผู้ปฏิบัติสมควร

    ทั้งนี้หมายความว่า ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนจริง ๆ ไม่แก้ไข ดัดแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ท่านปฏิบัติสมควรแก่การบูชาอย่างยิ่ง เพราะท่านปฏิบัติตนจนได้บรรลุมรรคผลที่บุคคลธรรมดาไม่สามารถจะเห็นได้ การบูชาและระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ต้องระลึกตามตามนัยนี้ จึงจะตรงตามความประสงค์ของพระพุทธเจ้า


    ตามที่ท่านสอนให้เจริญใน พุทธานุสสติ ธัมนานุสสติ สังฆานุสสติ ก็เพื่อให้คิดตามความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เพราะการคิดตามความดีของท่านที่มีความดีอยู่เสมอๆ จนขึ้นใจนั้น เป็นเหตุให้เกิดศรัทธา ความเชื่อมั่นในผลของความดี และปสาทะ ความเลื่อมใส ปีติ ความเอิบอิ่มใจ ความคิดคำนึงอย่างนี้เป็นปกติตลอดไป ย่อมเป็นเครื่องจูงใจให้ปฏิบัติตาม เมื่อใดได้ลงมือปฏิบัติตามแล้ว ผลที่มีศรัทธาอยู่แล้ว ย่อมเป็นกำลังใจให้ได้สำเร็จมรรคผลได้อย่างไม่มีอะไร เป็นเครื่องหนักใจนัก

    https://www.facebook.com/#!/BuddhaSattha
     

แชร์หน้านี้

Loading...