สังโยชน์ 10ประการ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วรณ์นิ, 10 มีนาคม 2019.

  1. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    เอา มาเล่าสู่กันฟัง ครับ
    1.สักกายทิฐิ
    2.วิจิกิจฉา
    3.สีลัพพตปรามาส
    4.กามราคะ
    5.ปฏิฆะ
    6.รูปราคะ
    7.อรูปราคะ
    8.มานะ
    9..อุทธัจจะ
    10.อวิชชา
    ........
     
  2. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ความหมาย..?ว่ายังไง...? เอาเท่านี้ก่อน ไม่ต้องไป ทำความเข้าใจเพื่อ มาเปรียบว่าตนเอง ทำได้ถึงระดับไหน.? เอาแค่ทำความเข้าใจว่า ข้อใด ที่ ยังมีอยู่ ในตัวตน ในจิต ในความคิด ที่เรารู้ของเรา..เท่านี้.พอ

    1.สักกายทิฐิ..มีความยึดมั่นถือมั่น เข้าใจว่า กายใจจิตนี้ เป็นของเรา
    2.วิจิกิจฉา ..มีความสงสัยในพระรัตนตรัย
    3.สีลัพพตปรามาส..คือถือศีลแบบงมงาย ถือดีว่ามีศีล กัดกันเพราะศีล
    4.กามราคะ..คือติดใจในกามคุณทั้ง 5 จาก ตาหูจมูกลิ้นกาย
    5.ปฏิฆะ..คือ ใจเกิดตัณหาอุปทานไปตามกามคุณทั้งห้า
    6.รูปราคะ..คือติดใจในความสงบของกายใจ เมื่อถึงสภาวะจิตดวงเดียว
    7.อรูปราคะ..คือติดใจในความสงบของจิตดวงเดียว
    8.มานะ..คือมีความยึดมั่นถือมั่นในจิตดวงเดียว(ขันธ์ห้า)
    9.อุทธัจจะ..คือมีความหลงฟุ้งซ่านไปกับจิตดวงเดียว(ไปกับขันธ์ห้า)
    10.อวิชชา..คือมีความรู้ไม่จริงในเรื่องของจิตดวงเดียว(เรื่องขันธ์ห้า)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2019
  3. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ในตำรา เขาบอกว่า
    5 ข้อแรกคือ..มรรค ของ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี
    5 ข้อหลังคือ..มรรคของ อรหันต์

    ดังนั้น จะเข้าถึง อรหันต์มรรค ...แสดงว่าท่านต้องผ่าน 5 ข้อแรกมาให้ได้หมดแล้ว นั่นก็คือ ฝึกสติปัฏฐานสี่ จนเข้าใจในกายใจจิต เข้าใจกระบวนการเกิดผัสสะทั้งห้า เข้าใจการทำงานของใจ จนหมดความสงสัย คือหมดความยึดมั่นถือมั่น ในกายใจ มาได้แล้ว ..ถือว่า ได้วิปัสสนาญาณ พระไตรลักษณ์ญาณ มาจริงๆ..จนเข้าถึงอรูปฌาณ...คือจนเหลือเพียงจิตดวงเดียวเท่านั้น ที่ต้อง..รู้ความจริงของมันให้ได้
     
  4. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    การที่บอกว่า เป็นการผ่าน 5ข้อแรกมาได้แล้ว
    ก็คือ ข้อ5ที่..ไม่เหลือปฏิฆะใดใด ในใจ อีกแล้ว
    นั่รแปลว่า..จิตรู้ มันปล่อยวางตัวใจ ได้จริงๆ นั่นเอง

    ตรงนี้สำคัญมาก...เพราะ ถ้าปล่อยวางใจได้จริง..ในการวิปัสสนาญาณ มันจะไม่ต้อง มารักษาสภาวะหรือทรงอารมณ์ฌาณใดใด..เพราะ มันได้ฌาณไปแล้ว
    ดังนั้น ถ้าได้รับ ฟังพระธรรมที่ตรง ที่ถูก..มันถึงจะวิปัสสนาญาณได้ตรงจริง

    ไม่ฟุ้งซ่าน ไปกับ จิตโลกุตระ หรือจิตจักรวาล หรือองค์เทพใดใด
     
  5. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    5 ข้อแรก..เป็นเรื่องของ รูป..คือ ผัสสะของกายใจ
    5 ข้อหลัง..เป็นเรื่องของ อรูป..คือ จิต เจตสิก(ขันธ์ห้าล้วนๆ)
    ถ้าผ่านได้ครบ 10 ข้อ ก็คือ เข้าใจ..นิพพาน

    นี่คือ ป้ายบอกทางจาก...รูป จิต เจตสิก นิพพาน
     
  6. Unexpected

    Unexpected เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +1,513
    นานๆ จะมาอ่านห้องนี้สักที

    วิปัสสนาญานมีฝั่งที่เป็นโลกิยะด้วยนะคะ สติออโต้จริงถ้าได้ญาน แต่ถอยลงมาได้นะถ้าไม่ฝึกต่อ ยกเว้นได้ญานฝั่งโลกุตระ ก็จะไม่ถอย

    เคยพิจารณาจนร่างกายคล้ายๆ คลายความยึดมั่นในขันธ์ลง มองเป็นอสุภะทั้งเรา เขา สัตว์ต่างๆ เป็นสิ่งสกปรก อีกสักพัก จิตพิจารณาตัวเจตสิกที่มองร่างกายอีกทีด้วย พลิกแบบออโต้เลย ก็แปลกดี
     
  7. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,806
    ค่าพลัง:
    +7,940
    จะ จะ จมาพร



    น้าจร!!!............




    ปล. ไม่ต้องถามนะ ..... ทำไม
    รู้ซื่อๆไปเลย ป๋มไม่ได้เข้ามาดู
     
  8. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    มาทำไม...ไปโน่น จะพานางหลอดปิ๊ยิ้มไปไหน
    ก็ตามใจเลยไป
     
  9. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    คือ ก็ดีครับ..แต่สำหรับผมแล้ว...ผมว่าไม่ถูกต้อง
    ถ้าเป็นการพิจารณาที่ถูกต้อง มันต้องไม่เสื่อม ไม่ถอยหลังสิครับ
     
  10. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    อย่างผมไปอ่าน ที่หลวงพ่อฤาษี พูดเรื่อง สังโยชน์ 10..ผมว่าท่านพูดไม่ถูกต้อง
    คือ ท่านอธิบายว่า..(ตามกระทู้ข่างล่าง)
    1.สักกายทิฐิ..ความเห็นว่าร่างกายไม่ไช่เรา ไม่ไช่ของเรา เราไม่มีร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา..

    แบบนี้สำหรับผม เรียกว่า คิดข้ามขั้นตอน ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนในการปฏิบัติ
    จะให้มาพิจารณา เลยว่า ร่างกายไม่ไช่เรา ร่างกายไม่มีในเรา แบบนี้ พิจารณาผิด..เพราะสติปัฏฐานให้ ดูรู้ผัสสะกายใจตามจริง เพื่อให้เห็นตามความจริงเพื่อจะได้ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ได้จริงๆ ไม่ไช่ไปคิดเอา แบบนี้

    ก็เหมือนการโกหกตัวเองว่า กายนี้คืออสุภะคือของเน่า นี่ก็โกหกตัวเอง อสุภะมีเอาไว้แก้ เรื่อง กามราคะ อารมณ์ทางเพศที่รุนแรงโน่น

    กาย ก็แค่ เป็นเลือด เป็นเนื้อ เป็น อวัยวะ น้ำมูกน้ำลาย ขี้ไคล อุจจาระ ปัสสาวะ ก็พอแล้ว...มันเป็นของเรา มีในเรา เรามีสิ่งเหล่านี้ ตามจริง ทั้งหมดทั้งมวลมันไม่เที่ยง ตามจริง

    ไม่ไช่มาสอนให้ว่า ไม่พอใจใน รูปรสกลิ่นเสียง ไปเลย แบบนี้สอนผิดครับ ผิดหลักของพุทธศาสนา ไปโน่นเลย หรือสักกายทิฐิ มาสอนว่า เราไม่หลงไหลในขันธ์ห้า นี่ก็ข้ามขั้นตอนไปละ สอนแบบ ไม่ทำตามพระพุทธเจ้าเล

    ข้อ 2..วิจิกิจฉา สอนว่า ความสงสัยในพระนิพพานไม่มี...อันนี้ก็พาข้ามขั้นตอนอีกละ
    นี่เป็นการเรื่มฝึก ...เขาหมายถึง อย่าสงสัยในพระรัตนตรัย..แต่หลวงพ่อฤาษี กับ ไปพูดเรื่อง นิพพานโน่น...ข้ามขั้นตอน ผิดหลักปฏิบัติไปแล้ว..ข้อนี้ยังเป็นมรรคของ โดาบัน สกทาคามี อยู่เลย จะเอานิพพานมาพิจารณาไปทำไมกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2019
  11. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    สังโยชน์ข้อ3..สีลัพพตปรามาส ของหลวงพ่อฤาษี คือ รักษาศีลอย่างเคร่งครัด ไม่ให้ด่างพร้อย ไม่ทำให้ศีลขาด รักศีลยิ่งกว่าชีวิต.. นี่ก็เว่อร์ไป มันเกินไป ผิดหลักพุทธศาสนาอีกแระ..แบบนี้เขาเรียก ยึดศีล มากกว่า ยึดพระรัตนตรัย
    แค่สอนผิดๆ อยู่นี่ ก็ เป็น สีลัพพตปรามาส ไปแล้ว

    ข้อ4กามฉันทะ..ทำจิตให้เหือดแห้งในความพอใจในกามมารมณ์ ความยินดีในเพศไม่ปรากฏ...นี่ก็ไม่ถูกอีกแหล่ะ...มันจะทำยังไงให้จิตมันเหือดแห้งต่ออารมณ์จากกามคุณห้า..โดยการไม่พอใจต่อ รูปรสกลิ่นเสียง ไม่พอใจในขันธ์ห้าเลย งั้นหรือ
    ข้ามขั้นตอนอีกแล้ว ผิดหลักคำสอนอีกแล้ว ...แล้วคำว่าความยินดีในเพศไม่ปรากฏนี่แปลว่าอะไร มาจากไหน ของหัวข้อเรื่อง กามฉันทะ กามฉันทะคือ พอใจในกามคุณทั้งห้า...การละวาง ไม่ไช่ไม่พอใจ หรือไม่คิดเรื่องเพศ..หรือสนใจจะเพศไหน
    ถ้าจะเลิกหลงในกามคุณทั้งห้า ก็ต้อง เรียนรู้ความจริงของผัสสะทั้งห้า และผัสสะใจด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2019
  12. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ข้อ 5 ปฏิฆะ คือพยาบาท ความผูกโกรธ ขังโกรธไว้ในใจไม่มี ใครมาทำให้โกรธ ก็โกรธนิดหน่อยแล้วสลายไป ไม่พยาบาท ต่อไปก็ทำลายความโกรธให้สิ้นไป.(พะวะ)หรือมายั่วเย้าให้เราเกิดราคะความปรารถนาใน รูรสกลิ่นเสียง ก็ไม่เกิด...

    ถามว่า ความปรารถนาใน รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส เป็นของใคร..?.
    ความโกรธพยาบาทเป็นของใคร..?
    คำตอบ..ใจคิดใจปรุง...จิตเป็นผู้ปรารถนา เป็นผู้โกรธ พยาบาท
    รู้ความจริงในข้อนี้หรือยังครับ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2019
  13. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    มาข้อ 6 รูปราคะ อ่านแล้วก็ฟังดูดี มีคำว่า ฌาณเป็นเหมือนบันไดขั้นตอน เออ มีขั้นตอน ฌาณเป็นบันได เพื่อจะเป็นกำลังของจิดเพื่อเข้าไปใช้อารมณ์ของวิปัสสนาญาณ...มาผิดตรง คำว่า เพื่อเข้าไปใช้ อารมณ์... อารมณ์ของ วิปัสสนาญาณ...
    คำว่าได้วิปัสสนาญาณนี่ มันเป็นสภาวะของมันแล้ว ไม่มีแบบ ไปๆมาๆแบบอารมณ์แล้ว ... วิปัสนาญาณ ไม่ไช่อารมณ์ แต่เป็นสภาวะเป็นฌาณที่ไม่เสื่อมแล้ว

    ข้อ7 อรูปราคะ เห็นว่าอรูปฌาณเป็นของดี...นี่ก็ไม่ตรงอีกละ...ใครมันจะมาเห็นอรูปฌาณ

    อรูปฌาณมันมองไม่เห็น มันเป็นสภาวะของจิตดวงเดียว เอานิมิตร อรูปฌาณจากที่ไหนมาหลอกตัวเอง โดนจิตมันหลอกด้วยนิมิตร หลอกด้วยความผ่องใสบริสุทธิ์หรือเปล่า.? หลอกด้วยความว่างเปล่าที่สว่างๆหรือเปล่า..?

    ราคะ แปลว่า กาม ฉันทะ คือ ไปติดใจในความสงบ ความว่าง ว่าผ่องใส บริสุทธิ์..หลงไหลติดใจไปกับจิตดวงเดียว...แต่ไม่เห็นตัวมัน เพราะมันคืออรูป คือขันธ์ห้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2019
  14. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    มาข้อ8 มานะ...นี่ก็แปลไม่ถูก สอนไม่ถูกอีกแระ..ท่านฤาษี แปลว่า..การถือตัวถือตน ถือว่าเราเลวกว่าเขา ถือว่าเราเสมอเขา ถือว่า เราดีกว่าเขา เราต้องตัด เราต้องไม่คิดอย่างนั้น เราต้องคิดว่า ในโลกนี้ไม่มีใครดี คิดว่าไม่มีใครเลว เกิดมาแล้วต้องแก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันหมด...

    ถือว่าเราว่าเขาน่ะ มันเรื่อง สักกายะทิฐิครับ มานะ ในมรรคาขั้นนี้ เป็นอัตตาตัวตน ที่จิตมันหลงตัวเองว่า เป็น....เจตสิก เป็นภพ เป็นตัวๆ ไปโน่น มันเป็นเรื่องของอุปทานขันธ์ห้าล้วนๆครับ

    ส่วนเรื่องที่ว่า คนเราเกิดมาต้อง แก่ เจ็บตาย น่ะ ไม่ต้องคิดพิจารณาหรอกครับ เพราะมันเป็นความจริงของสรรพสัตว์ มันผ่านมาจาก 5 ข้อแรกแล้วครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2019
  15. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ วิปัสสนาญาน "ไม่มีอาการ เป็น โลกิยะ" และไม่มีอาการ "รู้สึก (เวทนา) นึก (สัญญา) + คิด (สังขาร)" เป็นองค์ประกอบ

    +++ วิปัสสนา แปลว่า การเห็นชัดเจน หรือ การเห็นแจ้ง
    +++ ญาณ คำเต็มคือ "ญาณทัศนะ" คือ "สภาวะรู้ (ไม่ใช่ผู้รู้)"
    +++ อาการ คือ "รู้ จนกลายเป็น เห็น" อีกนัยหนึ่ง คือ "เห็น ในสภาวะ รู้" ก็ได้

    +++ วิปัสสนาญาณทัศนะ คือ "สภาวะรู้ ที่เห็นจน แจ่มแจ้ง ชัดเจน"
    +++ ภาษาพระป่า ใช้คำว่า "ตาสติ ตาปัญญา"
    +++ อาการของ "ตาเนื้อ ตาจิต รวมทั้ง ตาที่สาม" จะไม่สามารถ "บังเกิด/ปรากฏ" ได้ในสภาวะนี้

    +++ ยามใด ที่อยู่ใน "วิปัสสนาญาณทัศนะ"
    +++ ณ ขณะนั้น ๆ หาก "ไม่มี" สภาวะใดให้ "ถูกรู้" ยามนั้นจะเป็น "นิโรธ" ปราศจาก รูป/นาม
    +++ ณ ขณะนั้น ๆ หาก "มี" สภาวะใดให้ "ปรากฏให้ ถูกรู้" ยามนั้นจะเป็น "วิมุติ" จะโดนแยก รูป/นาม ทันที

    +++ ดังนั้น หากสำนักใด ระบุว่า "มันต้องนึก มันต้องคิด" จึงจะรู้ธรรมแล้วละก็
    +++ บอกได้เลยว่า มันเป็นได้แค่ "ควายบันลุหัม" เท่านั้น ไม่สามารถ "บันลุธรรม" อะไรได้เลย
    +++ "สติ นั่นแหละคือ ญาณ"
    +++ หากนับ "สติ" ที่การระลึก แล้วละก็ การระลึกนั้นเป็นได้แค่ "สัญญา" เท่านั้น
    +++ ลองทำ "สติ" ให้ระลึกรู้ แล้วทำการระลึกนั้น ซ้ำอีกที จะกลายเป็น "การระลึก ถูกรู้"
    +++ ตรงนี้เท่านั้น จึง "ได้สติ ที่เป็น ญาณ" สามารถ "รู้ สัญญาขันธ์ ที่กำลังระลึกได้"
    +++ จริง ๆ "ไม่มีอะไรถอยได้หรอก" มีแต่ "สติโดนบดบัง ด้วย ขันธ์" นั่นแล...
    +++ ตรงนี้ "เป็นอุบาย ให้เบื่อหน่าย จนไม่สนใจ กาย/รูปหยาบ"
    +++ คำว่า "พิจารณา" ในที่นี้ คง "ไม่ใช่ นึก/คิด เอาเองนะ"
    +++ ถ้าเป็นอาการ "มโนเอาเอง" เมื่อไร อาการ "พลิกแบบออโต้" จะเป็นได้แค่ "เออเอาเอง" เท่านั้น

    +++ หากคำว่า "พิจารณา" ณ ขณะนั้น ๆ เป็นอาการของ "สติรู้ ที่ตัว เจตสิก" แล้วละก็
    +++ นั่นแหละ คืออาการ "ตัวดู ถูกรู้" แล้วมันจะ "พลิกแบบออโต้" ได้เอง
    +++ ทำบ่อย ๆ ให้ได้นิสัย นอกจากจะ "ไม่ประมาท" แล้ว ยังเป็น "วิปัสสนาญาณทัศนะ" อีกด้วย
    +++ ลองทำ "ตัวเจตสิกที่มองร่างกาย (ตัวดู ที่ ดูกาย)" ให้ถูกรู้ อีกที แล้วอยู่อย่างนั้น
    +++ จนกว่ามันจะ "แยกตัวออกจากกัน" จนกลายเป็น "มันไม่ใช่ตัวกู มันไม่ใช่ของ ๆ กู"
    +++ เมื่อได้และ "อยู่" ในสภาวะนั้นได้ สภาวะนั้นแหละที่เรียกว่า "วิมุติญาณทัศนะ"

    +++ และจะ รู้ ได้เองว่า "ไม่มี ตาเนื้อ ตาจิต ตาที่ 3" อยู่ได้เลย
    +++ มีแต่ "สติล้วน ๆ เท่านั้น ที่เห็นอาการแบบนี้ได้" นะครับ
     
  16. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ข้อ9. อุธธัจจะ..ท่านฤาษี แปลว่า..ความฟุ้งซ่านรำคาญในจิตไม่มี ตัดเสียได้แล้วคือ อารมณ์อันเดียว คือ เอกัคคตารมณ์ มีจิตใจชุ่มชื่น รู้ได้ตามสภาวะความเป็นจริง...

    สภาวะความเป็นจริง..ของอะไร..? สภาวะไหนครับ..?
    อุธธัจจะข้อนี้คือ ความฟุ้งซ่านของจิตดวงเดียว คือ ขันธ์ที่ หลงอุปทาน
    ดังนั้น..สภาวะอารมณ์เดียว...ก็ไม่ได้แปลว่า เลิกหลงจากอุปทานของขันธ์ห้าได้แล้วนะครับ...เพราะถ้าเลิกหลงได้จริงมันต้อง ไม่มีสภาวะที่ต้องรักษาหรอกครับ เพราะ เปรียบเหมือนมันหายป่วยจากโรคไปแล้วครับ..ที่เหลือ รักษากายใจตามมรรคแปด ก็พอครับ ด้วยความไม่ประมาท

    ส่วนสภาวะความเป็นจริง ...ของจิต เป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่มีจริงครับ..(แปลว่ามีแต่ไม่เที่ยง)
    ความเป็นจริงมีอยู่แต่ใน ผัสสะตามจริงของกายใจที่เป็นปัจจุบัน โดยไม่มีอุปทานจากจิตครับ ไม่มีอุปทานจากขันธ์ครับ
     
  17. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ข้อ 10.อวิชชานี่ ท่านฤาษีก็สอนไม่ถูกต้องอีกแล้ว..ท่านสอนว่า..คือความพอใจในทรัพย์สมบัติของโลก คือในร่างกายของเรา หรือในรูปของคนอื่นไม่มี
    ความกำหนดยินดีในทรัพย์สมบัติของโลก ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต แม้แต่ตัวเองไม่มี อย่างนี้เรียกตัดอุปทานขันธ์เสียได้ ตัดด้วยอวิชชาความโง่เสียได้.

    อวิชชาในมรรคาข้อนี้ คือ ความไม่รู้ความจริง ของการเกิดจิตดวงเดียวนี้ได้อย่างไร ขันธ์ห้ามันอุปทานร่วมกัน เป็นจิตดวงเดียว ได้ยังไง...

    กรณีที่หลวงพ่อใช้คำว่า ตัดอุปทานขันธ์ นี่ หมายถึงตัด ที่เวทนา หรือ ตัดเพราะ มีเอกัคคตารมณ์...เอาสภาวะจิตดวงเดียวมาเป็น เอกัคคตารมณ์ แล้วเข้าใจว่า นี่คือการตัดอุปทานขันธ์ได้แล้ว..ถ้าคิดแบบนี้ ผิดถนัดครับ
     
  18. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ผมก็ แย้งตามที่ผมเข้าใจมาครับ...
    ผมว่า ผมมีเหตุมีผลอยู่นะครับ...ไม่ได้มาจับผิดหรือกล่าวร้ายแต่ประการใด
    ผมพูดตามที่รู้ครับ..
     
  19. Unexpected

    Unexpected เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +1,513
    เรื่องญานฝั่งโลกิ กะฝั่งโลกุด อ่านตามลำดับญานเอาค่ะ (ญาน 16) ถ้าเลย 13 คือโลกุด ถ้าไม่ถึง แล้วไม่ฝึก ขี้เกียจ ก็เสื่อมลงได้ เพราะ 1-12 เป็นโลกิอยู่ (คนในเน็ตบอก)

    ส่วนที่ว่ามองกายเป็นของไม่สวย ไม่ใช่เรา ฝึกมา2 ปีตลอด อยู่ๆ จิตมันเปลี่ยนแปลกๆ ทั้งที่เมื่อก่อนยึดสวยงามมากๆ ไม่เคยคิดไม่แต่งตัว มันจะมองเรา เขา สัตว์ เป็นก้อนธาตุ เป็นดินน้ำลมไฟ เป็นรังโรค มีแต่ทุกข์ ซ้ำไปมาแบบนี้อยู่เกือบปี (ลืมตาหลับตาฟิวนี้อยู่ตลอด)

    จนตอนนี้อิตัวจิตมันไปพิจารณาไอ้ตัวจิตที่มองร่างกายที่ว่าไม่สวย ไม่ดี มีสารคัดหลั่ง โน่นนี่นั่น แถมพิจารณาโลภ โกรธ หลง เพิ่มอีก มันไปเองเลยค่ะ ไม่ได้เคยคิดจะพิจารณาพวกนี้เลย ก็เลยว่าแปลกๆ นี่เรากะนั่งเอาความสบายใจ ทำไมมันพาไปไหนก็ไม่รู้ แตก็ฝึกต่อเนื่องตลอด ไม่หยุดค่ะ หนุกดี
     
  20. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,084
    ค่าพลัง:
    +3,025
    ลืมตาหลับตาก็อยู่ในฟิลลิ่งนี้ตลอด....สุดยอดครับ
    จนตอนนี้จิตมันไปพิจารณาไอ้ตัวจิตที่มองร่างกายที่ว่าไม่สวย...แจ่มแมวเลยครับ

    ...
    ผมขอ วิจาระระระนะนะจาร ด้วยคนนะครับ

    ตัวจิตที่มองดูตัวจิต...คือสติตัวรู้
    ตัวจิตที่ถูกมองดู ....คือความคิดที่ใจมันคิด(มันเปรียบเหมือนคิดเรื่องเดียว เทียบได้กับ เอกัคคตารมณ์.....ตอนแรกที่ตัวจิตมีเพียงตัวดูกาย จิตตอนแรกนี้มีใจคิดมีจิตร่วมรู้ ผมเรียกว่า เจตสิก...จนเมื่อ เกิดมีตัวจิตตัวที่สองอีกตัวแยกออกมา ดูจิตตัวแรกนั้น...จิตตัวที่สองนี้แหล่ะคือ ตัวรู้หรือ จิตดวงเดียวหรือ ตัวขันธ์ห้า หรือตัววิญญาณที่เรียกกันครับ

    ก็ต้องทำแบบนี้เรื่อยๆครับ พักก็รวมกันเข้ามาที่กาย...แยกก็ แยกดูให้มันเป็นจิตดูจิตดูกาย แบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่า จิตตัวรู้ มันไม่ยึดมั่นถือมั่นในกายใจได้จริงๆ จน เหลือแค่จิตพิจารณาตัวเอง เท่านั้นคือ วิปัสสนาญาณในขันธ์ห้าครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มีนาคม 2019

แชร์หน้านี้

Loading...